ประกันสังคมมาตรา 39 และ 40 ต่างกันยังไง

ทั่วไป

06 ก.ย. 2564 เวลา 15:13 น.188.3k

แจ้งข่าวเล่าความ.. "ประกันสังคม" มาตรา 33 มาตรา 39 มาตรา 40 คุ้มครองอะไรบ้าง

สำนักงานประกันสังคม ชี้แจง 3 มาตรา…มาตราไหน คุ้มครองอะไรบ้าง? เพราะประกันสังคมไม่ได้ครอบคลุมแค่กลุ่มมนุษย์เงินเดือนเท่านั้น แต่แบ่งออกเป็น 3 มาตราหลักที่มอบสวัสดิการให้คนทำงานแต่ละกลุ่ม แตกต่างกันดังนี้

มาตรา 33 คือ ลูกจ้างผู้ซึ่งทำงานให้กับนายจ้าง ที่อยู่ในสถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ได้รับความคุ้มครอง 7 กรณี ได้แก่ ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ ตาย สงเคราะห์บุตร ชราภาพ ว่างงาน

มาตรา 39คือ ผู้ประกันตนโดยสมัครใจ โดยเป็นบุคคลที่เคยเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 จ่ายเงินสมทบก่อนออกจากงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือนแล้วลาออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน แต่ต้องการรักษาสิทธิประกันสังคม โดยได้รับความคุ้มครอง 6 กรณี ได้แก่ ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ ตาย สงเคราะห์บุตร ชราภาพ

มาตรา 40คือ บุคคลทั่วไปที่ประกอบอาชีพ หรือแรงงานอิสระ ไม่เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 หรือผู้ประกันตนมาตรา 39 โดยได้รับความคุ้มครองมากที่สุด 5 กรณี ได้แก่ ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย ชราภาพ และสงเคราะห์บุตร ตามเงื่อนไขการเกิดสิทธิ


2 กองทุนของประกันสังคมที่คุ้มครองชีวิตคนทำงาน
เงินที่ประกันสังคมใช้จ่ายเพื่อสิทธิประโยชน์ มาจากกองทุนประกันสังคมและกองทุนเงินทดแทน ซึ่งทั้ง 2 กองทุน คือ หลักประกันแก่ผู้ประกันตนให้ได้รับประโยชน์ทดแทน ต่างกันที่ที่มาของเงินและความครอบคลุมในการคุ้มครองเท่านั้น

กองทุนประกันสังคม นายจ้าง ลูกจ้าง ต้องนำส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมทุกเดือน โดยคำนวณจากค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับ กำหนดฐานค่าจ้างขั้นต่ำที่ 1,650 บาท และสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท โดยรัฐบาลจะออกเงินสมทบเข้ากองทุนด้วยส่วนหนึ่ง สิทธิประโยชน์จากกองทุนประกันสังคมที่ลูกจ้างจะได้รับจะมี 7 กรณี ได้แก่
(1) ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย
(2) คลอดบุตร
(3) ทุพพลภาพ
(4) ตาย
(5) สงเคราะห์บุตร
(6) ชราภาพ
(7) ว่างงาน

ประกันสังคมมาตรา 39 และ 40 ต่างกันยังไง


กองทุนเงินทดแทน
คือ กองทุนที่จ่ายเงินทดแทนให้แก่ลูกจ้างแทนนายจ้าง เมื่อลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอันเนื่องมาจากการทำงานให้แก่นายจ้าง โดยนายจ้างจ่ายเงินเข้ากองทุนเงินทดแทนแต่เพียงฝ่ายเดียว สิทธิประโยชน์จากกองทุนเงินทดแทนที่ลูกจ้างจะได้รับจะมี 4 กรณีได้แก่
(1) ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย
(2) ทุพพลภาพ
(3) ตายหรือสูญหาย
(4) สูญเสียอวัยวะ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม www.sso.go.th หรือโทรสายด่วน 1506 ให้บริการทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง

HIGHLIGHTS

โดยหลักๆแล้วที่เห็นได้ชัดเลยก็คือ 1️⃣ มาตรา 33 (ภาคบังคับ) สำหรับพนักงานเอกชนทั่วไป 2️⃣ มาตรา 39 (ภาคสมัครใจ) สำหรับผู้ที่ ไม่ทำงานประจำแล้ว อยากส่งเองต่อ 3️⃣ มาตา 40 (ภาคสมัครใจ) สำหรับแรงงานนอกระบบ, อาชีพอิสระ

โดยหลักๆแล้วที่เห็นได้ชัดเลยก็คือ

ประกันสังคมมาตรา 39 และ 40 ต่างกันยังไง
มาตรา 33 (ภาคบังคับ) สำหรับพนักงานเอกชนทั่วไป

สำหรับใคร : สำหรับพนักงานเอกชนทั่วไป

การให้ความคุ้มครอง : 7 กรณี ได้แก่ เจ็บป่วย ตาย ว่างงาน คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ทุพพลภาพ ชราภาพ

คุณสมบัติของผู้ประกันตน : ลูกจ้างซึ่งทำงานให้กับนายจ้างที่อยู่ในสถานประกอบการ ที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป

เงินสมทบของผู้ประกันตน : เงินสมทบ คือ 5% ของฐานเงินเดือน (สูงสุด 750 บาท/เดือน)

ฐานเงินที่ไว้คำนวน คือ เงินเดือนจริงที่ได้รับหรือ 15,000 โดยดูว่าจำนวนใดน้อยกว่า

ประกันสังคมมาตรา 39 และ 40 ต่างกันยังไง
ประกันสังคมมาตรา 39 และ 40 ต่างกันยังไง
ประกันสังคมมาตรา 39 และ 40 ต่างกันยังไง
ประกันสังคมมาตรา 39 และ 40 ต่างกันยังไง

ประกันสังคมมาตรา 39 และ 40 ต่างกันยังไง
มาตรา 39 (ภาคสมัครใจ) สำหรับผู้ที่ ไม่ทำงานประจำแล้ว อยากส่งเองต่อ

สำหรับใคร : ผู้ที่เคยเป็นพนักงานเอกชนแล้วลาออก

การให้ความคุ้มครอง : 6 กรณี ได้แก่ เจ็บป่วย ตาย คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ทุพพลภาพ ชราภาพ

คุณสมบัติของผู้ประกันตน :

  • เคยเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือนและออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน
  • ต้องไม่เป็นผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีทุพพลภาพจากกองทุนประกันสังคม

การส่งเงินสมทบ :

  • เงินที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบ คือ เดือนละ 4,800 บาท เท่ากันทุกคน
  • คิดจากอัตราเงินสมทบ 9% (4,800 x 9% = 432 บาทต่อเดือน)
ประกันสังคมมาตรา 39 และ 40 ต่างกันยังไง
ประกันสังคมมาตรา 39 และ 40 ต่างกันยังไง
ประกันสังคมมาตรา 39 และ 40 ต่างกันยังไง
ประกันสังคมมาตรา 39 และ 40 ต่างกันยังไง
ประกันสังคมมาตรา 39 และ 40 ต่างกันยังไง

ประกันสังคมมาตรา 39 และ 40 ต่างกันยังไง
มาตา 40 (ภาคสมัครใจ) สำหรับแรงงานนอกระบบ, อาชีพอิสระ

สำหรับใคร : ประชาชนที่ประกอบอาชีพอิสระทุกอาชีพ

การให้ความคุ้มครอง : 3-4-5 กรณี (ขึ้นอยู่กับทางเลือกในการสมทบ)

คุณสมบัติของผู้ประกันตน :

  • อายุ15 ปีเป็นต้นไป แต่ไม่เกิน 65 ปีบริบูรณ์ (ผู้ที่มีอายุ 60-65 ปี เริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 24 มิ.ย. 2563)
  • ทำงานแบบไม่มีนายจ้าง
ประกันสังคมมาตรา 39 และ 40 ต่างกันยังไง