สนธิสัญญา ที่ ไทย ทำ กับ ชาติ ตะวันตก เป็น ฉบับ แรก ใน สมัย รัตนโกสินทร์ ชื่อว่า อะไร

หนังสือสัญญาเซอยอนโบวริง หรือสนธิสัญญาเบาว์ริง หรือในชื่อทางการว่าหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรีประเทศอังกฤษแลประเทศสยาม เป็นสนธิสัญญาที่ราชอาณาจักรสยามทำกับสหราชอาณาจักร โดยราชทูต เซอร์จอห์น เบาว์ริง ได้รับการแต่งตั้งจากสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย เข้ามาทำสนธิสัญญา 

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สยามอยู่ในสภาวะคับขันเพราะการขยายอำนาจของชาติจักรวรรดินิยมตะวันตก โดยหลังจากที่พระองค์เสด็จขึ้นครองราชสมบัติได้เพียง 3 ปี สหรัฐอเมริกาใช้กำลังทางเรือบีบบังคับญี่ปุ่นให้เปิดประเทศ หลังจากที่ญี่ปุ่นได้ปิดประเทศมากว่า 200 ปี ส่วนอังกฤษใช้อิทธิพลกับจีนและประเทศอื่นๆ ในลักษณะเดียวกัน กอปรกับพระองค์มีพระราชดำริแตกต่างจากพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวผู้เป็นพระเชษฐาหลายประการ โดยทรงเห็นว่าการเปิดให้ค้าข้าวกับต่างประเทศอย่างเสรีจะสร้างประโยชน์แก่บ้านเมืองมหาศาลกว่านโยบาย ‘ปิดข้าว’ ที่สร้างรายได้ให้แก่คนส่วนน้อย 

ขณะเดียวกัน เซอร์จอห์น เบาว์ริง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงติดต่อด้วยเป็นการส่วนพระองค์ แสดงท่าทีชัดเจนที่จะใช้กำลังบีบบังคับไทยให้เปิดประเทศทำนองเดียวกับที่สหรัฐอเมริกาทำกับญี่ปุ่นก่อนหน้านี้

ในปี 2393 รัฐบาลสยามไม่ยอมแก้ไขหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรีและข้อตกลงเกี่ยวกับการค้าขายกับอังกฤษและสหรัฐอเมริกา ทำให้เกิดความตึงเครียด มิชชันนารีทั้งหลายถึงกับเกรงว่าจะเกิดสงครามขึ้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงอันตรายจากการที่ไทยไม่ยอมประนีประนอมกับชาติตะวันตก จึงโปรดเกล้าฯ ให้ต้อนรับคณะทูตอังกฤษอย่างสมเกียรติ และจำเป็นต้องลงนามในสนธิสัญญาทางพระราชไมตรีกับอังกฤษในปี 2398

เนื่องจากในอดีตการค้าของชาวตะวันตกได้รับการจัดเก็บภาษีอย่างหนัก สาระสำคัญของสนธิสัญญาฉบับนี้จึงเป็นการเปิดโอกาสให้มีการค้าเสรีกับต่างประเทศในสยาม มีการปรับเปลี่ยนกฎระเบียบการค้าระหว่างประเทศ สร้างระบบการนำเข้าและส่งออกใหม่เพิ่มเติมจากสนธิสัญญาเบอร์นีในปี 2369 นอกจากนี้ยังอนุญาตให้จัดตั้งกงสุลอังกฤษในกรุงเทพมหานคร และรับประกันสิทธิสภาพนอกอาณาเขต ตลอดจนอนุญาตให้ชาวอังกฤษสามารถถือครองที่ดินในสยามได้ 

สนธิสัญญาเบาว์ริงได้ชื่อว่าเป็น ‘สนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรม’ เนื่องจากสยามไม่อยู่ในสถานะที่จะเจรจาต่อรองได้ โดยมีการวิเคราะห์กันว่าความต้องการสำคัญของอังกฤษคือการเข้ามาค้าฝิ่นได้อย่างเสรีในสยามและไม่ต้องเสียภาษี และอังกฤษพร้อมทำสงครามกับสยามอยู่แล้วหากการเจรจาไม่ประสบผล

สนธิสัญญาเบาว์ริงมีเนื้อหาคล้ายกับสนธิสัญญานานกิง ซึ่งจีนจำเป็นต้องลงนามร่วมกับอังกฤษภายหลังสงครามฝิ่นครั้งที่หนึ่งในปี 2385 และในปี 2397 สหรัฐอเมริกาบีบบังคับให้ญี่ปุ่นเปิดประเทศด้วยการลงนามในสนธิสัญญาคานางาวะโดยใช้สนธิสัญญานานกิงเป็นต้นแบบ

TAGS:  


สนธิสัญญา ที่ ไทย ทำ กับ ชาติ ตะวันตก เป็น ฉบับ แรก ใน สมัย รัตนโกสินทร์ ชื่อว่า อะไร

ที่มามติชนออนไลน์ ผู้เขียนยศวีร์ ศิริผลธันยกร น.ศ.ปี 4 สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ เผยแพร่วันที่ 17 มิถุนายน 2559

จากการออกมาแถลงข่าวของ สทศ. เรื่องข้อสอบข้อ 63 ที่มีโจทย์ว่า “ข้อใดเป็นสนธิสัญญาการค้าฉบับแรกระหว่างไทยกับประเทศในตะวันตก” เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2559 ซึ่ง สทศ.ได้ยืนยันว่าคำตอบที่ถูกต้องคือ ข้อ 4. สนธิสัญญาเบาว์ริง ไม่ใช่ข้อ 2. สนธิสัญญาเบอร์นีย์ ตามที่นักวิชาการและติวเตอร์หลายคนออกมาให้ความเห็นกัน

โดย สทศ. ให้เหตุผลว่า สนธิสัญญาเบอร์นีย์ เป็นสนธิสัญญาฉบับแรกจริง แต่เป็นสนธิสัญญาทำพระราชไมตรี ไม่มีข้อตกลงด้านการค้า แต่คำถามถาม “การค้า” สนธิสัญญาเบาว์ริงที่ว่าด้วยเรื่องการเก็บภาษีระหว่างกัน จึงมีความถูกต้องมากกว่า” พร้อมทั้งยังยืนยันด้วยตัวเลขว่ามีนักเรียนตอบถูกร้อยละ 52 ทำให้ผมในฐานะนักศึกษาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เกิดข้อกังขา เพราะขัดกับหลักฐานชั้นต้นอย่างชัดเจน และสิ่งที่เรียนมาอย่างสิ้นเชิง

ในเบื้องต้นนี้ ผมขอยืนยันว่าจากหลักฐานชั้นต้น สนธิสัญญาเบอร์นีย์ เป็นสนธิสัญญาการค้าฉบับแรกของสยาม/ไทย ซึ่งผมจะยกข้อความจากหนังสือ “เอกสารเฮนรี เบอร์นีย์ เล่ม 2” (มีทั้งหมด 15 เล่ม) พิมพ์โดยกรมศิลปากร เมื่อ 2551 มาให้ลองพิจารณากัน และช่วงท้ายจะยกสนธิสัญญาเบาว์ริงมาเปรียบเทียบด้วย เพื่อให้เห็นว่าสนธิสัญญาทั้งสองฉบับนั้นว่าด้วยเรื่องการค้าอย่างไม่ต้องสงสัย ส่วนพระราชไมตรีนั้นก็ต่างก็มีด้วยกันทั้งสองฉบับ ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติของการทำสนธิสัญญาระหว่างกัน

สนธิสัญญา ที่ ไทย ทำ กับ ชาติ ตะวันตก เป็น ฉบับ แรก ใน สมัย รัตนโกสินทร์ ชื่อว่า อะไร

กรมศิลป์ระบุ ‘เบอร์นีย์’ เป็นสนธิสัญญา ‘พาณิชย์’ สยาม-ตะวันตก ‘ฉบับแรก’

ในหน้าคำนำของเอกสารเฮนรี เบอร์นีย์ ของกรมศิลปากรซึ่งพิมพ์เผยแพร่ใน พ.ศ.2551 พูดไว้ชัดว่า “สนธิสัญญาเบอร์นีย์ที่ไทยตกลงลงนามกับประเทศอังกฤษใน พ.ศ. 2369 นับเป็นสนธิสัญญาทางพระราชไมตรีและการพาณิชย์ฉบับแรกที่ไทยทำกับประเทศตะวันตกสมัยรัตนโกสินทร์”

อังกฤษไม่ได้บังคับสยามด้วยการจับปากกาให้ลงนามในสนธิสัญญา เพราะก่อนหน้านั้นทั้งสองฝ่ายได้มีการร่างสนธิสัญญาระหว่างกัน เป้าหมายเพื่อให้เกิดมิตรภาพอันมั่นคงระหว่างชาติอังกฤษและรัฐสยาม และมีเป้าหมายเพื่อการพาณิชย์อย่างชัดเจน เพราะร้อยเอกเบอร์นีย์ได้ร่าง “กฎและวางระบบอัตราภาษีไว้ฉบับหนึ่ง” ด้วยโดยเพื่อให้ราชสำนักพิจารณา โดยร้อยเอกเบอร์นีย์เขียนไว้ว่า “ถ้าหากคณะเสนาบดีเห็นชอบด้วยกับร่างดังกล่าวก็อาจจะให้ผนวกกฎเหล่านี้เข้ากับสัญญาตามธรรมเนียม”

ดังนั้น นับตั้งแต่ “ร่างสัญญาทางไมตรีและพาณิชย์” แล้วที่ร้อยเอกเบอร์นีย์ตั้งใจทำให้เป็นสนธิสัญญาการค้า

ส่วนสนธิสัญญาเบอร์นีย์ ฉบับลงนามเสร็จสมบูรณ์ เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ.2369 หรือตรงกับสมัยรัชกาลที่ 3 นั้น มีชื่อในภาษาอังกฤษว่า “Treaty between the King of Siam and Great Britain” มีทั้งหมด 14 ข้อ ในจำนวนนี้ตั้งแต่ข้อ 5-10 ว่าด้วยเรื่องการค้าอย่างชัดเจน (ก่อนหน้านั้นเป็นพระราชไมตรี)

สนธิสัญญา ที่ ไทย ทำ กับ ชาติ ตะวันตก เป็น ฉบับ แรก ใน สมัย รัตนโกสินทร์ ชื่อว่า อะไร

บรรทัดต่อบรรทัด หลักฐานชัด เบอร์นีย์ ‘สัญญาการค้า’

ผมขออนุญาตทำตัวทึบเพื่อให้เห็นว่าเป็นเรื่องการค้าชัดขึ้น มีดังนี้

“ข้อ 5 อังกฤษกับไทยได้ทำหนังสือสัญญาเปนไมตรีสุจริตต่อกันแล้ว ถ้าลูกค้าฝ่ายข้างอังกฤษไปมาค้าขาย ณ เมืองไทยที่เมืองมีสินค้ามาก สลุบกำปั่นเรือสำเภาจะไปมาค้าขายได้ ไทยจะทำนุบำรุงให้ซื้อขายโดยสดวก ถ้าลูกค้าฝ่ายข้างไทยไปมาค้าขาย ณ เมืองอังกฤษได้ ๆ เรือสำเภา สลุบกำปั่นจะไปมาค้าขายได้ อังกฤษจะทำนุบำรุงให้ซื้อขายโดยสดวก ไทยจะไปเมืองอังกฤษ ๆ จะไปเมืองไทย ให้ทำตามอย่างธรรมเนียมบ้านเมืองทั้งสองฝ่าย ถ้าไม่รู้อย่างธรรมเนียม ขุนนางไทยให้ขุนนางอังกฤษบอกอย่างธรรมเนียม ให้พวกไทยที่ไปเมืองอังกฤษต้องทำตามกฎหมายอย่างธรรมเนียมเมืองอังกฤษทุกสิ่ง พวกอังกฤษไปเมืองไทยต้องทำตามกฎหมายอย่างธรรมเนียมไทยทุกสิ่ง

ข้อ 6 ถ้าลูกค้าฝ่ายเมืองไทยก็ดี เมืองอังกฤษก็ดี จะไปซื้อขาย ณ เมืองมังกะลาแลหัวเมืองขึ้นแก่อังกฤษ จะไปซื้อขาย ณ กรุงไทยแลหัวเมืองขึ้นแก่กรุงไทย ให้ลูกค้าเสียค่าธรรมเนียมในการค้าขายให้ตามอย่างธรรมเนียมบ้านเมืองทั้งสองฝ่าย ให้ลูกค้าแลไพร่พลเมืองได้ซื้อขายเองในเมืองนั้น ถ้าลูกค้าไทยถ้าลูกค้าอังกฤษจะมีคะดีข้อความสิ่งใด ๆ ก็ดี ให้ฟ้องร้องต่อขุนนางเจ้าเมืองกรมการฝ่ายไทยฝ่ายอังกฤษ ขุนนางเจ้าเมืองกรมการจะชำระตัดสินให้ตามกฎหมายอย่างธรรมเนียมบ้านเมืองทั้งสองฝ่าย ถ้าลูกค้าไทยถ้าลูกค้าอังกฤษก็ดีซื้อขายไม่สืบสวนว่าคนชั่วคนดี ซื้อขายปะคนชั่วพาเอาสิ่งของหลบหนีไป แลเจ้าเมืองกรมการจะสืบสวนเอาตัวมาชำระให้โดยสุจริต ถ้ามีเงินมีของใช้ให้ก็ได้ ถ้าไม่มีเงินมีของให้แลมิได้ตัวผู้หนี ก็เพราะลูกค้าทำผิดเอง

สนธิสัญญา ที่ ไทย ทำ กับ ชาติ ตะวันตก เป็น ฉบับ แรก ใน สมัย รัตนโกสินทร์ ชื่อว่า อะไร
สำเนาสนธิสัญญาเบอร์นีย์ (ภาพจาก wikipedia)

ข้อ 7 ถ้าลูกค้าฝ่ายไทยฝ่ายอังกฤษก็ดีจะไปซื้อขาย ณ เมืองอังกฤษแลเมืองไทย จะขอตั้งห้างตั้งเรือน จะขออาไศรยเช่าที่โรงเรือนใส่สินค้า ถ้าขุนนางไทยถ้าขุนนางอังกฤษแลเจ้าเมืองกรมการไม่ยอมให้อยู่ ก็อยู่ไม่ได้ ถ้ายอมให้อยู่ จึ่งให้ลูกค้าขึ้นอยู่ตามสัญญาว่ากล่าวกัน แลให้ขุนนางไทยแลให้ขุนนางอังกฤษแลเจ้าเมืองกรมการช่วยดูแลเอาใจใส่ อย่าให้ไพร่บ้านพลเมืองทำข่มเหงแก่ลูกค้า อย่าให้ลูกค้าทำข่มเหงแก่ไพร่บ้านพลเมือง ถ้าลูกค้าอังกฤษพวกอังกฤษลูกค้าไทยพวกไทยที่ไม่เกี่ยวข้องจะขนเอาสิ่งของลงเรือสำเภาสลุบกำปั่นลากลับไปบ้านเมืองเมื่อใด ก็ให้ได้กลับไปโดยสดวก

ข้อ 8 ถ้าลูกค้าจะไปค้าขายบ้านใดเมืองใดฝ่ายไทยฝ่ายอังกฤษก็ดี ถ้าสลุบกำปั่นเรือแลสำเภาของอังกฤษของไทยก็ดีจะเปนอันตรายสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ขุนนางไทยแลขุนนางอังกฤษจะช่วยทำนุบำรุงกว่าจะเสร็จ ถ้าสลุบกำปั่นเรือสำเภาของอังกฤษของไทยก็ดีแตกลงที่บ้านใดเมืองใด ไทยอังกฤษเก็บได้สิ่งของในสลุบในกำปั่นเรือสำเภาที่แตกมากน้อยเท่าใด ให้ขุนนางอังกฤษให้ขุนนางไทยชำระไล่เลียงเอาสิ่งของคืนให้แก่เจ้าของ ถ้าเจ้าของตายก็ให้คืนให้แก่พวกพ้อง ให้เจ้าของแลพวกพ้องแทนคุณผู้เก็บได้ตามสมควร ถ้าพวกไทยพวกอังกฤษไปเมืองอังกฤษไปเมืองไทยตาย สิ่งของพวกไทยพวกอังกฤษมีอยู่มากน้อยเท่าใด ให้คืนให้พวกพ้องของอังกฤษของไทย ถ้าพวกพ้องไทยถ้าพวกพ้องอังกฤษไม่มีที่เมืองนั้น อยู่เมืองอื่นมามิได้ จะแต่งคนถือหนังสือมารับเอาสิ่งของ ก็ให้ส่งสิ่งของให้แก่ผู้ถือหนังสือให้สิ้น

สนธิสัญญา ที่ ไทย ทำ กับ ชาติ ตะวันตก เป็น ฉบับ แรก ใน สมัย รัตนโกสินทร์ ชื่อว่า อะไร
สำเนาสนธิสัญญาเบอร์นีย์ (ภาพจาก wikipedia)

ข้อ 9 ถ้าลูกค้าข้างอังกฤษจะใคร่มาค้าขาย ณ เมืองของไทยที่ยังไม่เคยไปมาค้าขาย ให้ลูกค้าเข้าหาพระยาผู้ครองเมืองก่อน ถ้าเมืองไหนไม่มีสินค้า พระยาผู้ครองเมืองก็จะบอกว่า สลุบกำปั่นจะมาค้าขาย หามีสินค้าไม่ ถ้าเมืองไหนมีสินค้าพอจะรับสลุบพอจะรับกำปั่นได้ พระยาผู้ครองเมืองก็จะให้สลุบให้กำปั่นมาค้าขาย

ข้อ 10 อังกฤษแลไทยสัญญาต่อกัน การค้าขายซึ่งจะมีต่อกันโดยสดวกในเมืองอังกฤษ เมืองเกาะหมาก เมืองมลากา เมืองสิงหะโปรา แลเมืองของไทย คือ เมืองนคร เมืองพัทลุง เมืองสงขลา เมืองตานี เมืองถลาง เมืองไทร และหัวเมืองอื่น ๆ ลูกค้าจีนลูกค้าแขกเมืองอังกฤษให้ได้ค้าขายทางบกทางคลองโดยสดวก ถ้าลูกค้าจีนลูกค้าแขกเมืองมฤท เมืองทวาย เมืองตนาว เมืองเยซึ่งขึ้นกับอังกฤษจะเข้ามาค้าขาย ณ เมืองไทย อังกฤษจะมีหนังสือเข้ามาเปนสำคัญ ให้ได้ค้าขายทางบกทางน้ำโดยสะดวก แล้วจะห้ามมิให้ลูกค้าเอาฝิ่นซึ่งเปนของต้องห้ามเข้ามาค้าขาย ณ เมืองไทยเปนอันขาด ถ้าลูกค้าขืนเอาฝื่นเข้ามาขายเมืองใด ให้พระยาผู้ครองเมืองเก็บริบเอาฝิ่นเผาไฟเสียให้สิ้น”

(หากใครสนใจอ่านสนธิสัญญาฉบับเต็มหาอ่านได้จาก ประมวลสนธิสัญญา อนุสัญญา ความตกลง บันทึกความเข้าใจ และแผนที่ ระหว่างสยามประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้านอุษาคเนย์: กัมพูชา – ลาว – พม่า – มาเลเซีย ของมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ หรือในเว็บไซต์ wikisource)

ดังนั้น การที่ สทศ. ออกมาอธิบายว่าสนธิสัญญาเบอร์นีย์ไม่ใช่สนธิสัญญาการค้า จึงขัดแย้งกับหลักฐานชั้นต้นอย่างสิ้นเชิง

สนธิสัญญา ที่ ไทย ทำ กับ ชาติ ตะวันตก เป็น ฉบับ แรก ใน สมัย รัตนโกสินทร์ ชื่อว่า อะไร
ซ้าย เซอร์ จอห์น เบาว์ริ่ง ราชทูตอังกฤษ ขวา สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ขุนนางสยามผู้มีบทบาทในการเจรจาเกี่ยวกับสนธิสัญญาเบาว์ริ่ง

เปิดสมุดข่อย อ่าน ‘เบาว์ริง’ พบสาระสำคัญไม่ต่าง

คราวนี้ลองมาพิจารณาสนธิสัญญาเบาว์ริงกันบ้างซึ่งจะพบว่าแทบไม่ต่างจากสนธิสัญญาเบอร์นีย์ และมีชื่อจริงว่า “หนังสือสัญญาทางพระราชไมตรีประเทศอังกฤษแลประเทศสยาม” สนธิสัญญานี้แบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลัก ส่วนแรกว่าด้วยพระราชไมตรี กฎหมายที่เกี่ยวกับคนในบังคับและการค้า ส่วนที่สองมีชื่อว่า “กฎหมายอย่างพ่อค้าอังกฤษซึ่งมาค้าขายในกรุงฯ ต้องใช้” ส่วนที่สาม “พิกัดภาษีนอกแลในที่จะเรียกเอาตามหนังสือสัญญานี้”

ขอยกข้อความข้อที่ 1 ในสนธิสัญญาส่วนแรกมาให้อ่านกัน ซึ่งจะพบว่าเป็นเรื่องพระราชไมตรี ความว่า

“ข้อ 1 ว่า ตั้งแต่นี้ไป พระเจ้าแผ่นดินกรุงบริตตันไอยยิแลนกับพระเจ้าแผ่นดินที่จะสืบวงษ์ต่อไปภายน่า กับด้วยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ทั้งสองพระองค์ ทั้งสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินไทยที่จะสืบพระราชอิศริยยศต่อไปภายน่า ให้มีไมตรีรักใคร่กันราบคาบไปชั่วฟ้าแลดิน แต่บรรดาคนที่อยู่ในบังคับอังกฤษซึ่งเข้ามาอยู่ ณ กรุงเทพมหานคร เสนาบดีฝ่ายไทยก็จะช่วยบำรุงรักษาให้อยู่เปนศุขสบาย ให้ได้ค้าขายโดยสดวก มิให้ผู้ใดฝ่ายไทยคุมเหงเบียดเบียฬ แต่บรรดาคนที่อยู่ในบังคับไทยที่จะไปอยู่ในแดนอังกฤษ ขุนนางอังกฤษก็จะช่วยบำรุงรักษาให้อยู่เปนศุขสบาย ให้ได้ค้าขายโดยสดวก มิให้ผู้หนึ่งผู้ใดฝ่ายอังกฤษคุมเหงเบียดเบียฬ”

สนธิสัญญา ที่ ไทย ทำ กับ ชาติ ตะวันตก เป็น ฉบับ แรก ใน สมัย รัตนโกสินทร์ ชื่อว่า อะไร
หน้าแรกของสนธิสัญญาเบาว์ริง จากหอสมุดแห่งชาติอังกฤษ (เอื้อเฟื้อภาพโดย คงสัจจา สุวรรณเพ็ชร)

ส่วนในส่วนที่สองคือ กฎหมายอย่างพ่อค้าอังกฤษซึ่งมาค้าขายในกรุงฯ ต้องใช้มีทั้งหมด 6 ข้อ จะยกมาให้เห็นแค่ 2 ข้อเท่านั้น เพื่อไม่ให้ยาวจนเกินไป ที่เหลือสามารถหาอ่านได้ทั่วไปเช่นในอินเตอร์เน็ต

ข้อ 1 กับตันนายกำปั่นซึ่งจะเข้ามาค้าขาย ณ กรุงฯ เมื่อเข้ามาถึงนอกสันดอน จะทอดสมอใช้คนเข้ามาบอกแก่เจ้าพนักงาน ฤๅจะเอากำปั่นเลยเข้ามาเมืองสมุทปราการก็ได้ตามใจ แล้วจะต้องมาบอกเจ้าพนักงานที่ด่านเมืองสมุทปราการว่า เรือมาแต่เมืองใด มีลูกเรือกี่คน มีปื่นกี่บอก ทอดสมอที่เมืองสมุทปราการแล้ว ต้องมอบปืนใหญ่แลดินดำแก่ขุนนางเจ้าพนักงานฝ่ายไทยที่เมืองสมุทปราการ แล้วต้องมีขุนนางกรมการฝ่ายไทยกำกับเรือขึ้นมาจนถึงกรุงฯ

ข้อ 2 ถ้ากำปั่นเลยเกินด่านสมุทปราการขึ้นมา มิได้เอาปืนแลดินดำขึ้นไว้ที่เมืองสมุทปราการตามกฎหมายนี้ ต้องเอากำปั่นกลับลงไป เอาปืนแลดินดำขึ้นไว้เสียที่เมืองสมุทปราการ แล้วต้องปรับไหมเงินแปดร้อยบาท ด้วยไม่ฟังกฎหมายนี้ ถ้าเอาปืนใหญ่แลดินดำขึ้นไว้ที่เมืองสมุทปราการแล้ว ต้องปล่อยให้เรือขึ้นมาค้าขายที่กรุงฯ

สนธิสัญญา ที่ ไทย ทำ กับ ชาติ ตะวันตก เป็น ฉบับ แรก ใน สมัย รัตนโกสินทร์ ชื่อว่า อะไร

จะอิงหลักฐานหรือใช้การ ‘ชี้นกเป็นนก’ ?

ดังที่กล่าวมา จะเห็นได้ว่า สนธิสัญญาเบอร์นีย์และสนธิสัญญาเบาว์ริงนั้น มีเป้าหมายเพื่อเป็นข้อตกลงด้านการค้า ไม่เกินเลยที่จะบอกว่าสนธิสัญญาทั้งสองฉบับมีสาระสำคัญไม่ต่างกัน
แต่ไฉนการให้เหตุผลของ สทศ. ที่เฉลยออกมากลับไม่ได้อ้างอิงอยู่บนหลักฐานชั้นต้นหรือหลักวิชาการ
หรือในท้ายที่สุดแล้วข้าพเจ้าเองจะต้องเป็นคนที่เปลี่ยนความคิด ละทิ้งเหตุผลและข้อมูลที่มี ปล่อยให้ความถูกต้องกลายข้อกำหนดของ “ผู้ใหญ่” ของบ้านนี้เมืองนี้ ที่ชี้เป็นนกเป็นนก ชี้ไม้เป็นไม้ กันแน่?
ตามแบบฉบับของการเป็นนักเรียนนักศึกษาที่ดี ผมขอแนบบรรณานุกรมที่ใช้ประกอบการเขียนมาในที่นี้ด้วยเพื่อให้ทุกท่านได้ค้นคว้ากันต่อไป

สนธิสัญญา ที่ ไทย ทำ กับ ชาติ ตะวันตก เป็น ฉบับ แรก ใน สมัย รัตนโกสินทร์ ชื่อว่า อะไร
ภาพจาก http://www.payer.de/thailandchronik/chronik1855.htm

หนังสือ
ไกรฤกษ์ นานา. เบื้องหลังสนธิสัญญาเบาริ่งและประวัติภาคพิสดาร. กรุงเทพฯ: มติชน. 2555.
นันทพร บันลือสินธุ์. เอกสารเฮนรี เบอร์นีย์ เล่ม 2. กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์การพิมพ์. 2551.
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. ประมวลสนธิสัญญา อนุสัญญา ความตกลง บันทึกความเข้าใจ และแผนที่ ระหว่างสยามประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้านอุษาคเนย์: กัมพูชา – ลาว – พม่า – มาเลเซีย. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. 2554.

เว็บไซต์
http://www.admissionpremium.com/news/1136 วันที่ 15 มิถุนายน 2559 เข้าถึงข้อมูลวันที่ 16 มิถุนายน 2559.
https://th.wikisource.org/wiki/ ค้นหาคำว่า “สนธิสัญญาเบาว์ริง” วันที่ 28 กันยายน 2556 เข้าถึงข้อมูลวันที่ 16 มิถุนายน 2559.
https://th.wikisource.org/wiki/ ค้นหาคำว่า “สนธิสัญญาเบอร์นี” วันที่ 24 พฤษภาคม 2556 เข้าถึงข้อมูลวันที่ 16 มิถุนายน 2559.

เอกสารไฟล์ pdf.
TREATY BETWEEN THE UNITEDKINGDOM AND SIAM
treaties.fco.gov.uk/docs/fullnames/pdf/1909/TS0019%20(1909)%20CD-4703%201909%2010%20MAR,%20BANGKOK%3B%20TREATY%20BETWEEN%20UK%20&%20SIAM.pdf.

สนธิสัญญา ที่ ไทย ทำ กับ ชาติ ตะวันตก เป็น ฉบับ แรก ใน สมัย รัตนโกสินทร์ ชื่อว่า อะไร
ภาพจาก http://www.payer.de/thailandchronik/chronik1855.htm