ร้องเรียนเรื่องกลิ่นเหม็น ได้ ที่ไหน

“ในกรณีที่มีเหตุอันอาจก่อให้เกิดความเดือดร้อน แก่ผู้อยู่อาศัยบริเวณใกล้เคียง หรือผู้ต้องประสบกับเหตุนั้น ดังต่อไปนี้ ให้ถือว่า เป็นเหตุรำคาญ เช่น แหล่งน้ำ ทางระบายน้ำ ที่อาบน้ำ ส้วม หรือที่ใส่มูล หรือเถ้า การเลี้ยงสัตว์ในที่ หรือวิธีใด หรือมีจำนวนเกินสมควร การกระทำใด ๆ อันเป็นเหตุให้เกิดกลิ่น แสง รังสี เสียง ความร้อน สิ่งมีพิษ ความสั่นสะเทือน ฝุ่นละออง เขม่า เถ้า ฯลฯ ซึ่งมีความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ตามบทบัญญัติมาตรา 25”

คำแนะนำในการแจ้งเรื่องร้องเรียนด้านมลพิษ

Posted by กรมควบคุมมลพิษ on Thursday, September 14, 2017

กลิ่นเหม็น แชม์ร้องเรียนมากสุด เทียบปีงบประมาณ 65 คพ. รับร้องเรียนมลพิษ718 เรื่อง ลดลงจากปีงบประมาณปี64 766 เรื่อง

กรณีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.)กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ได้ให้ความสำคัญในการกำกับดูแลองค์การที่ดี การบริหารจัดการที่มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพและธรรมาภิบาล ประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวก

 

นายปิ่นสักก์ สุรัสวดี อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เปิดเผยว่า ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (ตุลาคม 2564 – กันยายน 2565) คพ. ได้รับแจ้งเรื่องร้องเรียนด้านมลพิษ จำนวน 718 เรื่อง น้อยลงจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ที่มีจำนวน 766 เรื่อง ซึ่งพื้นที่ที่มีปัญหาได้รับการแจ้งเรื่องร้องเรียนสูงสุด คือ

 

กรุงเทพมหานคร 189 เรื่อง รองลงมา คือ จังหวัดสมุทรปราการ 54 เรื่อง จังหวัดสมุทรสาคร 44 เรื่อง โดยปัญหากลิ่นเหม็นยังครองอันดับมีการร้องเรียนมากที่สุด จำนวน 527 เรื่อง (ร้อยละ 41) รองลงมา คือ ฝุ่นละออง/เขม่าควัน จำนวน 315 เรื่อง (ร้อยละ 24) และเสียงดัง/เสียงรบกวน จำนวน 215 เรื่อง (ร้อยละ 17)

 

 

ร้องเรียนเรื่องกลิ่นเหม็น ได้ ที่ไหน

ร้องเรียนเรื่องกลิ่นเหม็น ได้ ที่ไหน

 

 

เมื่อพิจารณาแหล่งที่มาของปัญหามลพิษที่ได้รับการแจ้งเรื่องร้องเรียน พบว่า ส่วนใหญ่เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรม ร้อยละ 41 รองลงมา คือ สถานประกอบการ ร้อยละ 33

สำหรับสถิติช่องทางในการรับแจ้งเรื่องร้องเรียนด้านมลพิษที่มีการใช้บริการสูงสุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ โทรศัพท์ ร้อยละ 39 เว็บไซต์กรมควบคุมมลพิษ ร้อยละ 26 และแฟนเพจกรมควบคุมมลพิษ ร้อยละ 21 ตามลำดับ

 

ร้องเรียนเรื่องกลิ่นเหม็น ได้ ที่ไหน

 

 

นายปิ่นสักก์ กล่าวว่า คพ.ได้ให้ความสำคัญในการกำกับดูแลองค์การที่ดี การบริหารจัดการที่มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพและธรรมาภิบาล ประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวกและได้รับการตอบสนองความต้องการ อันจะทำให้ประชาชนเกิดความมั่นใจ และไว้วางใจในการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐ

จึงได้มีการสำรวจความพึงพอใจของผู้ร้องเรียนต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ คพ. จำนวน 2 กรณี คือ 1.กรณีการรับแจ้งและประสานงาน ได้แก่ ความพร้อมให้บริการ การให้ข้อมูลที่ชัดเจนและเป็นประโยชน์ และการติดตามและแจ้งผลดำเนินงานให้ทราบ และ 2.

กรณี คพ.ตรวจสอบข้อเท็จจริง ได้แก่ ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และความเอาใจใส่ในการแก้ไขปัญหาของประชาชน โดยใช้วิธีการส่ง SMS พบว่า ประชาชนมีความพึงพอใจ คิดเป็นร้อยละ 80.20 อยู่ในระดับพอใจมาก

ที่ผ่านมา คพ. ได้จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการพิทักษ์สิ่งแวดล้อม(ศปก.พล.) เพื่อดำเนินการเชิงรุกในการติดตามตรวจสอบแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากมลพิษ

โดยประชาชนสามารถร้องเรียนผ่านช่องทางโทรศัพท์ สายด่วน 1650 หรือ 02-298-2222, 0 2298 2548 ทางเว็บไซต์ www.pcd.go.th และแฟนเพจกรมควบคุมมลพิษ นายปิ่นสักก์ กล่าว