จ่ายประกันสังคม ย้อน หลัง ได้ ที่ไหน ม 40

KTC จะทำการปิดปรับปรุงระบบแอป KTC Mobile ใน วันพุธที่ 14 ธันวาคม 2565 เวลา 01.00 น. – 03.00 น.
ส่งผลให้ไม่สามารถใช้บริการได้ในช่วงเวลาดังกล่าว

หากสมาชิกต้องการความช่วยเหลือ สามารถติดต่อ KTC PHONE 02 123 5000 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ขออภัยในความไม่สะดวก

KTC Mobile application will be temporarily closed for maintenance on December 14, 2022 at 01:00 a.m. - 03:00 a.m.,
and the application will not be able to access during that period.

Should you require any assistance, kindly contact KTC PHONE at 02 123 5000.

We apologize for the inconvenience.

มาดูเงื่อนไข ใครสามารถสมัครเป็นผู้ประกันตามมาตรา 40 ได้บ้าง จะต้องเตรียมเอกสารอะไร ไปสมัครที่ไหน เลือกจ่ายอย่างไร ได้สิทธิประโยชน์มากน้อยแค่ไหน มาดูกันแบบจะๆ ก่อนตัดสินใจ

♦ ที่มา

การขยายประกันสังคมให้ครอบคลุมแรงงานนอกระบบโดยผลักดันร่าง พระราชบัญญัติประกันสังคมพ.ศ. 2533 ฉบับแก้ไข เพื่อรัฐร่วมจ่ายในมาตรา 40 และแก้ไขพระราชกฤษฎีกา เพื่อพัฒนาสิทธิประโยชน์ของมาตรา 40 ให้เป็นที่จูงใจ โดยเป็นระบบสมัครใจ

♦ ความหมาย

ผู้ประกันตนมาตรา 40 หมายถึง บุคคลทั่วไปที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์และไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์ และไม่เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33, มาตรา 39

 ♦ คุณสมบัติผู้สมัคร

อายุ 15-60 ปีบริบูรณ์  ไม่เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33  มาตรา 39  ไม่เป็นข้าราชการหรือบุคคลที่ถูกยกเว้นตามกฎหมายประกันสังคม

♦ บุคคลพิการที่สามารถรับรู้สิทธิประกันสังคม

♦ หลักฐานการสมัคร

− แบบคำขอสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 (สปส.1-40)

− บัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาบัตรประชาชน พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง หรือบัตรอื่นที่ใช้แทนบัตรประจำตัวประชาชน

♦ สถานที่ในการสมัคร

ยื่นได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/สำนักงานประกันสังคมจังหวัด/สาขา ทุกแห่งทั่วประเทศ (ยกเว้นสำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข)

หน่วยบริการเคลื่อนที่ของสำนักงานประกันสังคม

♦ จ่ายเงินสมทบผู้ประกันตนมาตรา 40 มี 2 ทางเลือก ดังนี้

 −ทางเลือกที่ 1  จ่ายเงินสมทบ  100  บาท/เดือน  (จ่ายเอง 70  บาท  รัฐสนับสนุน 30 บาท)

− ทางเลือกที่ 2  จ่ายเงินสมทบ  150  บาท/เดือน  (จ่ายเอง 100 บาท รัฐสนับสนุน 50 บาท)

หมายเหตุ  

รัฐบาลจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง

การจ่ายเงินสมทบของผู้ประกันตนมาตรา 40 จ่ายเป็นรายเดือน ๆ ละ 1 ครั้ง และจ่ายเงินสมทบล่วงหน้าได้ครั้งละไม่เกิน 12 เดือน แต่ไม่สามารถจ่ายเงินสมทบย้อนหลังได้

ผู้ประกันตนที่ประสงค์รับเงินบำเหน็จชราภาพเพิ่มขึ้นสามารถจ่ายเงินสมทบเพิ่มเติมได้ไม่เกินเดือนละ 1,000 บาทต่อเดือน

♦ การแจ้งเปลี่ยนแปลงข้อมูล

เมื่อเป็นผู้ประกันตนแล้วหากมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูล เช่น เปลี่ยนคำนำหน้านาม ชื่อ - สกุล ที่อยู่ที่ติดต่อขอเปลี่ยนทางเลือกจ่ายเงินสมทบ ให้ยื่นแบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงและทางเลือกการจ่ายเงินสมทบกับผู้ประกันตนมาตรา 40 (สปส.1-40/1) พร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้อง

กรณีขอเปลี่ยนทางเลือกจ่ายเงินสมทบจะทำได้ปีละ 1 ครั้ง โดยเมื่อยื่นขอเปลี่ยนแปลทางเลือกแล้วจะมีผลในเดือนถัดไป

หากไม่ประสงค์เป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 ต่อไป (ลาออก) ให้ยื่นแบบแจ้งความจำนงไม่ประสงค์เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 (สปส.1-40/2) และบัตรประจำตัวประชาชน

♦ ประโยชน์ทางภาษี

เงินสมทบในแต่ละปี ใช้ลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยใช้ใบเสร็จรับเงินที่ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบเป็นหลักฐาน หรือขอหนังสือรับรองการชำระเงินสมทบจากสำนักงานประกันสังคม

♦ สิทธิประโยชน์พื้นฐาน

•กรณีประสบอันตราย/เจ็บป่วย 

        เมื่อนอนโรงพยาบาลเป็นผู้ป่วยในตั้งแต่ 1 วันขึ้นไป จะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้จำนวน 200 บาทต่อวันไม่เกิน 30 วันต่อปี เงื่อนไขจ่ายเงินสมทบครบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 4 เดือน (การรักษาพยาบาลใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพ (บัตรทอง) จากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ)

(สิทธิประโยชน์ใหม่ตามที่ ครม.อนุมัติ 25 เม.ย. 60 )

- เพิ่มเงินทดแทนการขาดรายได้กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย เพิ่มเป็นวันละ 300 บาท สำหรับกรณีนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลเบิกได้ตั้งแต่วันแรกที่นอนโรงพยาบาล และ

- กรณีไม่ได้นอนพักรักษาตัวแต่มีใบรับรองแพทย์ให้หยุดพักรักษาตัวตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป ได้วันละ 200 บาท

- กรณีมีใบรับรองแพทย์ ให้หยุดพักรักษาตัว 1-2 วัน ให้ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้วันละ 50 บาท แต่ไม่เกินคนละ 3 ครั้งต่อปี

- เพิ่ม เงินสงเคราะห์กรณีตาย 3,000 บาท เมื่อส่งสมทบมาแล้ว 60 เดือน

− นอกจากนี้ ยังได้เพิ่มทางเลือกใหม่ (ทางเลือกที่ 3) โดยเพิ่มเงินทดแทนการขาดรายได้ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย เมื่อนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลตั้งแต่ 1 วันขึ้นไป ในอัตราวันละ 300 บาท ไม่เกิน 90 วันต่อปี และไม่ได้นอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลแต่แพทย์ให้หยุดพักรักษาตัวตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป ในอัตราวันละ 200 บาท ไม่เกิน 90 วันต่อปี กรณีตายค่าทำศพ 40,000 บาท

 − ส่วนกรณีสงเคราะห์บุตร อัตราคนละ 200 บาทต่อเดือนคราวละ 2 คน

− กรณีชราภาพ เงินบำเหน็จชราภาพ หากส่งเงินสมทบครบ 180 เดือนจะได้รับเงินเพิ่มจำนวน 10,000 บาท

• กรณีทุพพลภาพ

       รับเงินทดแทนการขาดรายได้จำนวน 500 - 1,000 บาทต่อเดือน เป็นเวลานานถึง 15 ปี เงื่อนไข เงินทดแทนการขาดรายได้เมื่อทุพพลภาพขึ้นอยู่กับระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบครบ 6 เดือนขึ้นไป (ต้องเป็นผู้ทุพพลภาพหรือทุพพลภาพเพิ่มขึ้นตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการการ แพทย์)

• กรณีตาย 

       รับเงินค่าทำศพจำนวน 20,000 บาทต่อราย  เงื่อนไข จ่ายเงินสมทบครบ 6 เดือน ภายในระยะเวลา 12 เดือน ก่อนเสียชีวิต  ยกเว้น เสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุ เงื่อนไข จ่ายเงินสมทบครบ 1 เดือน ภายในระยะเวลา 6 เดือน ก่อนเสียชีวิต

• กรณีชราภาพ (เงินบำเหน็จ)

        ผู้ประกันตนสามารถรับเงินก้อนเมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ เงื่อนไข มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ และสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน

♦ ทางเลือกที่คุ้มค่าสำหรับคุณ เพื่อสิทธิประโยชน์ดังกล่าวสำนักงานประกันสังคมขอเสนอทางเลือกที่คุ้มค่าสำหรับคุณด้วย ชุดสิทธิประโยชน์ ดังนี้

ทางเลือกที่ 1  (จ่ายเงินสมทบ 100 บาท/เดือน)

สิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 3 กรณี คือ  กรณีประสบอันตราย/เจ็บป่วย  กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย

ทางเลือกที่  2  (จ่ายเงินสมทบ 150 บาท/เดือน)

สิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 4 กรณี คือ  กรณีประสบอันตราย/เจ็บป่วย  กรณีทุพพลภาพ  กรณีตาย  กรณีชราภาพ (เงินบำเหน็จ)

วิธีการนำส่งเงินสมทบ

จ่ายเงินสมทบได้ที่

สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา

หน่วยบริการเคลื่อนที่ของสำนักงานประกันสังคม

เคาน์เตอร์เซอร์วิส

เคาน์เตอร์ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)

เคาน์เตอร์ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)

ห้างเทสโก้โลตัส

ไปรษณีย์ (ธนาณัติ)

หักผ่านบัญชีธนาคาร

ธนาคารเพื่่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)

ธนาคารออมสิน

ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)

ธนาคารธนชาต

กำหนดให้รัฐบาลร่วมจ่ายเงินสมทบให้กับผู้ประกันตนมาตรา 40 ไม่เกินกึ่งหนึ่งของเงินสมทบที่ได้รับจากผู้ประกันตน

หมายเหตุ

 การชำระเงินสมทบของผู้ประกันตนมาตรา 40 ที่เคาน์เตอร์เซอร์วิส ผู้ประกันตนจะเสียค่าธรรมเนียมจำนวน 10 บาทต่อใบเสร็จ

การชำระเงินสมทบที่เคาน์เตอร์ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เคาน์เตอร์ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) และห้างเทสโก้โลตัส ผู้ประกันตนจะเสียค่าธรรมเนียมจำนวน 10 บาทต่อรายการ

ในส่วนการชำระผ่านการหักธนาคารออมสิน  ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารกสิกรไทย  ธนาคารไทยพานิชย์ ธนาคารกรุงไทย และธนาคารกรุงศรีอยุธยา ผู้ประกันตนจะเสียค่าธรรมเนียมจำนวน 5 บาทต่อรายการ โดยหักจากบัญชีเงินฝากธนาคารของผู้ประกันตน

(หมายเหตุ   สำหรับสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ในกรณีเจ็บป่วย บุคคลที่สมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 หากได้รับสิทธิเบิกจ่ายตรงจากกรมบัญชีกลาง หรือมีสิทธิได้รับจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)  ก็ยังคงได้รับสิทธินั้น ๆ ได้ตามปกติ  เนื่องจากสำนักงานประกันสังคมไม่ได้ให้ความคุ้มครองในเรื่องค่ารักษาพยาบาล แต่ให้เป็นเงินทดแทนการขาดรายได้ กรณีเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลประเภทผู้ป่วยในตั้งแต่ 1 วันขึ้นไป ในอัตราวันละ 200  บาท ปีละไม่เกิน 30 วัน ต่อเมื่อภายในระยะเวลา 4 เดือน ผู้ประกันตนได้จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 เดือน ก่อนเดือนที่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย)

 นอกจากนี้สำนักงานประกันสังคมได้เพิ่มประโยชน์การบริการทางการแพทย์ ในระหว่าง ปี 2558-2559 จำนวน 12 รายการ ดังนี้

  1. ปรับเงื่อนไขคุณสมบัติสถานพยาบาลที่ผ่าตัด ใส่เครื่องกระตุกไฟฟ้าอัตโนมัติเพื่อเพิ่มจำนวนสถานพยาบาล
  2. เพิ่มวงเงินสำหรับการผ่าตัดเตรียมเส้นเลือดเพื่อการฟอกไตหรือวางท่อรับ-ส่งน้ำยาล้างช่องท้อง (เพิ่ม 10,000 บาท จากเดิม 20,000 บาท ต่อ 2 ปี)
  3. เพิ่มการเข้าถึงยากระตุ้นเม็ดเลือดแดงในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายโดยเพิ่มรายการยาจากเดิม 9 รายการ เป็น 11 รายการ
  4. เพิ่มการเข้าถึงยาของผู้ป่วยที่ติดเชื้อ HIV/เอดส์ ในระยะแรกเพื่อให้ผู้ประกันตนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นสามารถทำงานและใช้ชีวิตเช่นคนปกติ
  5. เพิ่มการเข้าถึงยาละลายลิ่มเลือดในผู้ป่วยหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน (Stroke) และผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลับ (STEMI) โดยจ่ายค่ายาให้แก่สถานพยาบาล
  6. การปรับปรุงสิทธิประโยชน์ทันตกรรมกรณี อุดฟัน ขูดหินปูน ถอนฟัน จากเดิม 600 บาท เป็น 900 บาทต่อคนต่อปี และให้ผู้ประกันตนสามารถเข้ารับการรักษา ในสถานพยาบาลที่ทำความตกลงกับสำนักงานประกันสังคมโดยไม่ต้องสำรองเงินจ่าย
  7. เพิ่มอัตราการผ่าตัดอวัยวะกระจกตา จากเดิม 25,000 บาท เป็น 50,000 บาท
  8. ปรับปรุงรายการอุปกรณ์อวัยวะเทียม เพิ่มจาก 31 รายการ เป็น 95 รายการ โดยไม่ต้องสำรองจ่าย
  9. เพิ่มสิทธิประโยชน์เงินทดแทนการขาดรายได้สำหรับผู้ประกันตนที่มีการสูญเสียอวัยวะตั้งแต่ร้อยละ 35 ขึ้นไป จากเดิมตั้งแต่ร้อยละ 50 ขึ้นไป
  10. การตรวจสุขภาพฟรีในสถานพยาบาลตามบัตรฯ
  11. เพิ่มสิทธิประโยชน์กรณีการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดให้ครอบคลุมทั้ง กรณีใช้เนื้อเยื่อของตนเองเนื้อเยื่อของพี่น้อง และเนื้อเยื่อของผู้บริจาค จาก 750,000 บาท เป็น 1,300,000 บาท
  12. กรณีคลอดบุตร เพิ่มสิทธิจากการเบิกได้ไม่เกิน 2 ครั้ง เป็นไม่จำกัดจำนวนครั้ง

จ่ายประกันสังคมย้อนหลัง ม.40 ได้ไหม

ทั้งนี้ ในการจ่ายเงินสมทบของผู้ประกันตนมาตรา 40 จ่ายเป็นรายเดือน ๆ ละ 1 ครั้ง และจ่ายเงินสมทบล่วงหน้าได้ครั้งละไม่เกิน 12 เดือน แต่ไม่สามารถจ่ายเงินสมทบย้อนหลังได้

จ่ายประกันสังคม 40 ย้อนหลังได้ที่ไหน

หากจ่ายในอัตราเดิมเช่นนี้ในงวดเดือนกุมภาพันธ์ และมีนาคม 2565 สามารถดำเนินการยื่นคำร้องขอรับเงินคืนในส่วนที่ชำระไว้เกินจำนวนได้ โดยโหลดแบบฟอร์ม (สปส.1-40/7) ในเว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม www.sso.go.th เเล้วกรอกแบบฟอร์ม

จ่ายเงินประกันสังคมมาตรา 40 ยังไง

การจ่ายเงินสมทบ ผู้ประกันตนมาตรา 40.
สำนักงานประกันสังคมในพื้นที่นั้นๆ.
หน่วยบริการเคื่อนที่ของสำนักงานประกันสังคม.
เคาน์เตอร์เซอร์วิส (ค่าธรรมเนียม 10 บาท).
ธนาคารกรุงไทย.
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา.
ห้างเทสโก้โลตัส.
ไปรษณีย์ (ธนาณัติ).

จ่ายเงินประกันสังคมมาตรา 40 ล่วงหน้าได้ไหม

โดยประกันสังคม ได้ระบุว่า ผู้ประกันตนสามารถจ่ายเงินสมทบล่วงหน้าได้ถึง 12 เดือนแต่ไม่สามารถจ่ายย้อนหลังได้ *กรณีผู้ประกันตนมาตรา 40 ขาดส่งเงินสมทบจะกี่เดือนก็ตาม ยังคงสภาพความเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 อยู่ ระยะเวลาในการนำส่งเงินสมทบ