โรงเรียนเตรียมทหารเหล่าตำรวจอยู่ที่ไหน

โรงเรียนเตรียมทหาร ถือเป็นสถาบันการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่สังกัดสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ กองบัญชาการกองทัพไทย และเป็นสถาบันการศึกษาแห่งเดียวในประเทศไทยที่เป็นศูนย์รวมเบื้องต้นสำหรับผู้ที่จะเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โรงเรียนนายเรือ โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช และโรงเรียนนายร้อยตำรวจเป็นต้น โดยผู้ที่ทำการศึกษาในโรงเรียนเตรียมทหาร จะถูกเรียกว่า นักเรียนเตรียมทหาร (นตท.) นั่นเอง

ประวัติย่อ โรงเรียนเตรียมทหาร

โรงเรียนเตรียมทหาร เริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2500 จากจอมพลถนอม กิตติขจร ขณะที่ดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้เสนอดำริต่อสภากลาโหมว่า หากจะรวมโรงเรียนที่อยู่ในระดับการศึกษาเดียวกันจากกองทัพต่างๆ เป็นสถาบันเดียวกันนั้นจะช่วยเป็นการประหยัดงบประมาณของชาติ ทั้งยังทำให้ผู้ศึกษามีโอกาสได้รู้จักคุ้นเคย มีความสนิทสนมกลมเกลียวกันหรือมีความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน และมีความคิดจิตใจร่วมกันแต่เยาว์วัย ซึ่งจะส่งผลให้บุคคลเหล่านี้สามารถประสานงานกันได้ด้วยดี และปฏิบัติงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ สภากลาโหมจึงได้เห็นชอบในดำรินี้เป็นเอกฉันท์ โดยในขั้นแรกให้รวมโรงเรียนเตรียมนายร้อย โรงเรียนเตรียมนายเรือ และโรงเรียนเตรียมนายเรืออากาศ เป็นโรงเรียนเตรียมทหาร สังกัดกรมการศึกษาวิจัย กองบัญชาการทหารสูงสุด ในวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2501 ด้วยเหตุนี้จึงถือว่าวันที่ 27 มกราคมของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสถาปนาโรงเรียนเตรียมทหาร โดยจะมีผู้บัญชาการคนแรกคือ พลเอก ปิยะ สุวรรณพิมพ์

ในระยะแรกนั้นโรงเรียนเตรียมทหารยังไม่มีที่ตั้งถาวร ได้ใช้อาคารโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ถนนราชดำเนินนอก กรุงเทพมหานคร เป็นสถานที่เรียนชั่วคราวไปก่อน จนกระทั่งในวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2504 โรงเรียนเตรียมทหารได้ถูกจัดให้มีพิธีวางศิลาฤกษ์สร้างโรงเรียนเตรียมทหารขึ้น ณ เลขที่ 1875 ถนนพระราม 4 แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ซึ่งแต่เดิมเป็นที่ตั้งของกองสัญญาณทหารเรือ มีพื้นที่ประมาณ 35 ไร่ 3 งาน 47 ตารางวา หลังจากได้สร้างโรงเรียนเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงได้ย้ายมาอยู่ที่พระราม 4 เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2504 ก่อนที่จะเกิดปัญหาต่างๆมากมายขึ้น จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2543 กองบัญชาการทหารสูงสุดได้มีคำสั่งให้เคลื่อนย้ายโรงเรียนเตรียมทหารมายังที่ตั้งแห่งใหม่ ณ เลขที่ 185 หมู่ 5 ตำบลศรีกะอาง อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก และใช้สถานที่นี้เป็นที่ตั้งของโรงเรียนเตรียมทหารมาจนถึงปัจจุบัน

ตราสัญลักษณ์ประจำโรงเรียนเตรียมทหาร

เครื่องหมายจักรดาว ถือเป็นสัญลักษณ์ของโรงเรียนเตรียมทหาร ที่จะมีความหมายในส่วนต่างๆดังนี้

  • คบเพลิง หมายถึง การศึกษาและความรุ่งโรจน์
  • ช่อชัยพฤกษ์ หมายถึง เครื่องหมายชั้นยศนายพลของกองทัพบกและตำรวจ
  • จักรเวียนซ้าย หมายถึง เครื่องหมายชั้นยศนายพลของกองทัพเรือ
  • ดาวห้าแฉก หมายถึง เครื่องหมายชั้นยศนายพลของกองทัพอากาศ

สีประจำ โรงเรียนเตรียมทหาร

  • สีแดง คือ เหล่าทหารบก
  • สีน้ำเงิน คือ เหล่าทหารเรือ
  • สีฟ้า คือ เหล่าทหารอากาศ
  • สีเลือดหมู คือ เหล่าตำรวจ

หน้าที่และภารกิจ โรงเรียนเตรียมทหาร

โรงเรียนเตรียมทหาร มีหน้าที่ปกครองและบังคับบัญชา รวมถึงการให้การอบรมในด้านพุทธิพิสัย จิตพิสัย ทักษพิสัย กับวิชาทหารและวิชาตำรวจ เพื่อให้ผู้เรียนเป็นคนที่มีคุณสมบัติ และทัศนคติพื้นฐานพร้อมที่จะพัฒนาตนเองให้มีความก้าวหน้า ทั้งในด้านความรู้ อุปนิสัย และคุณสมบัติของผู้นำ โดยตัวโรงเรียนจะมีผู้บัญชาการโรงเรียนเตรียมทหารเป็นผู้บังคับบัญชา

วิสัยทัศน์ โรงเรียนเตรียมทหาร

โรงเรียนเตรียมทหาร ถือเป็นสถาบันหลักของชาติ ในการผลิตนักเรียนเตรียมทหารให้มีความเป็นผู้นำ และเป็นเลิศทางด้านวิชาการในระดับมัธยมศึกษาชั้นนำของประเทศเป็นที่ยอมรับในอาเซียนและระดับสากล

ส่วนการศึกษาในโรงเรียนเตรียมทหาร

การดำเนินงานสนองต่อปรัชญา โรงเรียนเตรียมทหาร “สามมัคคี มีความรู้ คู่คุณธรรม” มีหน้าที่ให้การศึกษาภาควิชาการ ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยจะมีระยะเวลาศึกษา 2 ปี (มัธยมศึกษาปีที่ 5-6) ตามหลักสูตรของโรงเรียนเตรียมทหาร พุทธศักราช 2554 (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2560) ถือเป็นหลักสูตรที่สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และยังสอดคล้องกับการศึกษาต่อในโรงเรียนเหล่าทัพ และโรงเรียนนายร้อยตำรวจอีกด้วย

โรงเรียนเตรียมทหารเหล่าตำรวจอยู่ที่ไหน

สลับเนวิเกชั่น

≡Open menu

  • Home
  • เกี่ยวกับเรา

    • เกี่ยวกับ GCT
    • ทีมงาน GCT
    • แผนที่ของ GCT

      • สำนักงานใหญ่
      • จ.น่าน
      • จ.แพร่
      • สถานที่เข้าค่าย

  • สมัครเรียน

    • หลักสูตรที่เปิดรับสมัคร
    • ขั้นตอนการสมัครเรียน

  • ศิษย์เก่า GCT
  • อัลบั้มภาพน้องที่ติวกับ GCT
  • ผลงานของ GCT
  • บทความ

    • คทาจอมพล
    • การสอบเตรียมทหาร
    • การทำโจทย์คณิตศาสตร์
    • การทำโจทย์วิทยาศาสตร์
    • ภาษาอังกฤษง่ายนิดเดียว
    • วาไรตี้ สาระดีๆ
    • มุมภาษาไทย

  • แจ้งคะแนนทดสอบ

 

  • หลักสูตร GCT
  • ข่าวรับสมัครสอบ
  • บทความ/ความรู้ทั่วไป

หลักสูตร GCT

 

หลักสูตร 

เหมาะสำหรับ 

ระยะเวลาเรียน 

ค่าใช้จ่าย 

  
อยู่ประจำที่ GCT
    1  ครึ่งปีหลัง 65-66 น้องที่เตรียมสอบ นตท. นชท. นร.กฟภ. นายสิบ นจอ. นจร. และปูพื้นฐานเตรียมสอบ และสามารถมาพักอยู่ที่สถาบัน GCT ปทุมธานีได้ ต.ค.65 ถึงสอบภาควิชาการแล้วเสร็จ
  •  หลักสูตรไป รร. 70,000
  • น้องดรอปเรียน 90,000
โบชัวร์  2 อยู่ประจำ ปี 66-67

  น้องที่เตรียมสอบ นตท. นชท. นร.กฟภ. นายสิบ นจอ. นจร. และปูพื้นฐานเตรียมสอบ และสามารถมาพักอยู่ที่สถาบัน GCT ปทุมธานีได้ 

*รับน้องตั้งแต่ ม.1 ขี้นไป

 13 พ.ค.66 ถึงสอบภาควิชาการแล้วเสร็จ หลักสูตรไป รร.

- ปูพื้นฐาน ม.1 ม.2 100,000

- เตรียมทหาร/นายสิบ 120,000

น้องดรอปเรียน 170,000

 โบชัวร์ 
ติวเข้มก่อนสอบ
     คอร์สเข้มข้น 49 วัน น้องที่เตรียมสอบ นายสิบทหารบก + จ่าทหารเรือ + นักเรียนจ่าอากาศ และสามารถมาพักอยู่ที่สถาบัน GCT ปทุมธานีได้  2 ม.ค. - 19 ก.พ.66 45,000โบชัวร์   ติวเข้ม 16 วัน รวมสอบนายสิบ/จ่า ทอ./จ่า ทร.  น้องที่เตรียมสอบ นายสิบทหารบก + จ่าทหารเรือ + นักเรียนจ่าอากาศ และสามารถมาพักอยู่ที่สถาบัน GCT ปทุมธานีได้  4 - 19 ก.พ.66

 22,000

รวมพาไปสอบ

 โบชัวร์  คอร์ส 16 วัน เน้นสอบช่างฝีมือทหาร  น้องที่เตรียมสอบ ช่างฝีมือทหาร มีเวลาเตรียมตัวน้อยและสามารถมาพักอยู่ที่สถาบัน GCT ปทุมธานีได้ 4 - 19 มี.ค.66 22,500
รวมพาไปสอบ โบชัวร์ คอร์ส 9 วัน เน้นนายสิบ น้องที่เตรียมสอบ นายสิบทหารบก มีเวลาเตรียมตัวน้อยและสามารถมาพักอยู่ที่สถาบัน GCT ปทุมธานีได้ 4 - 12 ก.พ.6614,000
รวมพาไปสอบโบชัวร์ คอร์ส 9 วัน เน้นสอบนักเรียนจ่าทหารเรือ และนักเรียนจ่าอากาศ น้องที่เตรียมสอบ นักเรียนจ่าทหารเรือ และนักเรียนจ่าอากาศ มีเวลาเตรียมตัวน้อยและสามารถมาพักอยู่ที่สถาบัน GCT ปทุมธานีได้  11 - 19 ก.พ.6613,500
รวมพาไปสอบโบชัวร์   คอร์ส 9 วัน เน้นสอบช่างฝีมือทหาร น้องที่เตรียมสอบ ช่างฝีมือทหาร มีเวลาเตรียมตัวน้อยและสามารถมาพักอยู่ที่สถาบัน GCT ปทุมธานีได้ 11 - 19 มี.ค.66  11,500
รวมพาไปสอบโบชัวร์       
เรียนวันเสาร์ - อาทิตย์
     คอร์สเสาร์-อาทิตย์ 65น้อง ม.ต้น และ ม.ปลาย ที่เตรียมสอบ นตท. นชท. นร.กฟภ. นายสิบ นจอ. นจร. และปูพื้นฐานเตรียมสอบ แต่มีเวลาว่างแค่ช่วงวันเสาร์อาทิตย์11 มี.ค. - 11 ธ.ค.65 
(เรียนเฉพาะวันเสาร์ - อาทิตย์)

- เรียนที่สถาบัน 14,500 (สาขาปทุม น่าน แพร่)

- เรียนผ่าน Zoom 7,000

โบชัวร์ เตรียมพร้อมก่อนสอบ เน้นเตรียมทหารน้องที่มีวุฒิ ม.4 แล้ว ที่เตรียมตัวสอบ นักเรียนเตรียมทหาร แต่มีเวลาว่างแค่ช่วงวันเสาร์อาทิตย์7 ม.ค. - 19 ก.พ.66
(เรียนเฉพาะวันเสาร์ - อาทิตย์)

- เรียนที่สถาบัน 6,500 (สาขาปทุม น่าน แพร่)

- เรียนผ่าน Zoom 5,500

โบชัวร์ เตรียมพร้อมก่อนสอบ เน้นช่างฝีมือทหาร และช่างการไฟฟ้า กฟภ.น้อง ม.3 ที่เตรียมตัวสอบ ช่างฝีมือทหาร และช่างการไฟฟ้า กฟภ. แต่มีเวลาว่างแค่ช่วงวันเสาร์อาทิตย์7 ม.ค. - 19 ก.พ.66
(เรียนเฉพาะวันเสาร์ - อาทิตย์)

- เรียนที่สถาบัน 6,500 (สาขาปทุม น่าน แพร่)

- เรียนผ่าน Zoom 5,500

โบชัวร์ เตรียมพร้อมก่อนสอบ เน้นนายสิบ/จ่าน้องที่มีวุฒิ ม.6 ที่เตรียมตัวสอบ นักเรียนนายสิบทหารบก นายสิบแผนที่ นักเรียนจ่าทหารเรือ นักเรียนจ่าอากาศ แต่มีเวลาว่างแค่ช่วงวันเสาร์อาทิตย์7 ม.ค. - 19 ก.พ.66
(เรียนเฉพาะวันเสาร์ - อาทิตย์)

- เรียนที่สถาบัน 6,500 (สาขาปทุม น่าน แพร่)

- เรียนผ่าน Zoom 5,500

โบชัวร์       
คอร์สปิดเทอม
     คอร์สปิดเทอมเมษายน 66*คอร์สยอดนิยม เหมาะสำหรับน้อง ม.ต้น และ ม.ปลาย ที่มีเวลาว่างช่วงปิดเทอม และสนใจที่จะเตรียมตัวสอบ นตท. นชท. นร.กฟภ. นายสิบ นจอ. นจร. และปูพื้นฐานเตรียมสอบ22 เม.ย. - 7 พ.ค.66

8,900

เข้าค่ายที่ GCT ปทุม

โบชัวร์

 

 

ข่าวรับสมัครสอบ

Your text...

บทความ/ความรู้ทั่วไป

  • ประวัติของโรงเรียนเตรียมทหาร
  • เส้นทางการศึกษา
  • การอนุมัติการจบหลักสูตรและการมอบประกาศนียบัตร
  • โรคที่ขัดต่อการรับราชการทหาร
  • การเตรียมตัวของผู้สมัครสอบ
  • ตัวอย่างโจทย์ ปริมาตร
  • ตัวอย่างโจทย์ พีชคณิต
  • ตัวอย่างโจทย์ การเรียงลำดับ
  • ตัวอย่างโจทย์ เลขยกกำลัง
  • ตัวอย่างโจทย์ กำไร-ขาดทุน
  • ตัวอย่างโจทย์ ความร้อน
  • ตัวอย่างโจทย์ หาส่วนผสม เหล็ก-ทองคำ
  • ตัวอย่างโจทย์ การเคลื่อนที่
  • ตัวอย่างโจทย์ การกระจัด
  • ตัวอย่างโจทย์ ไฟฟ้า
  • พระราชทาน
  • ราชบัณฑิตยสถาน
  • สุภาษิตไทยที่ขึ้นต้นด้วย ล
  • อักษรไทย
  • คำราชาศัพท์

 

  • เตรียมตัวสอบ นักเรียนช่างการไฟฟ้า กฟภ. (เตรียมตัวสอบ) 2565-12-24 14:33:55
  • วิชาที่ออกข้อสอบตำรวจ (เตรียมตัวสอบ) 2562-03-16 15:28:34
  • คำแนะนำในการเตรียมอ่านหนังสือติวสอบตำรวจ (เตรียมตัวสอบ) 2562-03-16 15:24:06
  • นักเรียนนายสิบแผนที่ (เตรียมตัวสอบ) 2561-12-16 14:23:46
  • เตรียมตัวสอบ นักเรียนนายสิบตำรวจ (เตรียมตัวสอบ) 2561-10-31 15:13:53
  • เตรียมตัวสอบ นักเรียนจ่าอากาศ (เตรียมตัวสอบ) 2561-10-31 14:23:31
  • เตรียมสอบ นายสิบทหารบก (เตรียมตัวสอบ) 2561-10-31 14:20:32
  • เตรียมตัวสอบ นักเรียนจ่าทหารเรือ (เตรียมตัวสอบ) 2561-10-31 13:46:18
  • เตรียมตัวสอบ นักเรียนเตรียมทหาร (เตรียมตัวสอบ) 2561-10-30 14:28:55
  • เตรียมตัวสอบนายร้อยตำรวจหญิง (เตรียมตัวสอบ) 2561-10-30 13:22:34

 

การสอบเตรียมทหาร

  ประวัติโรงเรียนเตรียมทหาร

เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2500 จอมพลถนอม กิตติขจร ขณะนั้นดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้เสนอดำริต่อสภากลาโหมว่า หากจะรวมโรงเรียนที่อยู่ในระดับการศึกษาเดียวกันจากกองทัพต่าง ๆ เป็นสถาบันเดียวกันก็จะเป็นการประหยัดงบประมาณของชาติ ทั้งยังทำให้ผู้ศึกษามีโอกาสได้รู้จักคุ้นเคย มีความสนิทสนมกลมเกลียว มีความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน มีความคิดจิตใจร่วมกันแต่เยาว์วัย ซึ่งจะส่งผลให้บุคคลเหล่านี้สามารถประสานงานกันได้ด้วยดีและปฏิบัติงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ

สภากลาโหมได้เห็นชอบในดำรินี้เป็นเอกฉันท์ ในขั้นแรกให้รวมโรงเรียนเตรียมนายร้อย โรงเรียนเตรียมนายเรือ และโรงเรียนเตรียมนายเรืออากาศ เป็นโรงเรียนเตรียมทหาร สังกัดกรมการศึกษาวิจัย กองบัญชาการทหารสูงสุด เมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2501 จึงถือว่าวันที่ 27 มกราคมของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสถาปนาโรงเรียนเตรียมทหาร ผู้บัญชาการคนแรกคือ พลเอกปิยะ สุวรรณพิมพ์

ในปี พ.ศ. 2506 กรมตำรวจได้ขอให้โรงเรียนเตรียมทหารรับนักเรียนเพื่อเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนนายร้อยตำรวจด้วย โรงเรียนเตรียมทหารจึงเป็นศูนย์รวมเบื้องต้นสำหรับนายทหาร นายตำรวจ โดยสมบูรณ์ ในระยะแรกนั้นโรงเรียนเตรียมทหารยังไม่มีที่ตั้งถาวร ได้ใช้อาคารโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ถนนราชดำเนินนอก กรุงเทพมหานคร เป็นสถานที่เรียนชั่วคราว

ต่อมาเมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2504 โรงเรียนเตรียมทหารได้จัดให้มีพิธีวางศิลาฤกษ์สร้างโรงเรียนเตรียมทหารขึ้น ณ เลขที่ 1875 ถนนพระราม 4 แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ซึ่งเดิมเป็นที่ตั้งของกองสัญญาณทหารเรือ มีพื้นที่ประมาณ 35 ไร่ 3 งาน 47 ตารางวา หลังจากได้สร้างโรงเรียนเสร็จเรียบร้อยแล้ว ได้ย้ายมาอยู่ที่พระราม 4 เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2504

ในปี พ.ศ. 2522 กองพันทหารสื่อสาร กองบัญชาการกองทัพบก และกองร้อยทหารสื่อสารซ่อมบำรุงเขตหลังกองบัญชาการกองทัพบก ได้ย้ายออกจากพื้นที่ที่อยู่ต่อเนื่องกัน โรงเรียนเตรียมทหารจึงได้รับพื้นนที่ทางด้านทิศตะวันตกและทิศเหนือเพิ่มอีก 91 ไร่ 62 ตารางวา รวมเป็น 127 ไร่ 9 ตารางวา

 

 

ในปี พ.ศ. 2537 พลอากาศเอกวรนาถ อภิจารี ผู้บัญชาการทหารสูงสุดในขณะนั้น ได้พิจารณาว่า สภาพแวดล้อมต่าง ๆ ของโรงเรียนเตรียมทหารได้เปลี่ยนแปลงไป พื้นที่โดยรอบกลายเป็นย่านชุมชนหนาแน่น ทั้งยังมีสภาพแวดล้อมเป็นมลพิษ อีกทั้งพื้นที่ของโรงเรียนเตรียมทหารมีข้อจำกัดต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตนักเรียนเตรียมทหารและการพัฒนาโรงเรียนเตรียมทหารด้านต่างๆ ในอนาคต จึงได้ปรึกษากับสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นเจ้าของพื้นที่ตั้งโรงเรียนเตรียมทหาร ถึงการย้ายที่ตั้งโรงเรียนเตรียมทหารไปยังสถานที่ตั้งแห่งใหม่ที่เหมาะสม ซึ่งได้รับการสนับสนุนการก่อสร้างจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ โดยได้มอบให้บริษัท คริสเตียนนีและนีลเส็น (ไทย) จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้ต่าง ๆ ของโครงการย้ายโรงเรียนเตรียมทหาร รวมทั้งเสนอแนะพื้นที่ตั้งโครงการ ในที่สุดได้เลือกพื้นที่ตำบลศรีกะอาง อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก เป็นที่ตั้งโรงเรียนเตรียมทหารแห่งใหม่ ได้รับการสนับสนุนจากกองทัพบกเจ้าของพื้นที่มอบพื้นที่ให้ดำเนินการประมาณ 2,460 ไร่ เป็นผลให้โครงการก่อสร้างโรงเรียนเตรียมทหารแห่งใหม่เกิดขึ้น

โครงการก่อสร้างโรงเรียนเตรียมทหารแห่งใหม่ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2539 และได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันอังคารที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2541

ต่อมากองบัญชาการทหารสูงสุดได้มีคำสั่งให้เคลื่อนย้ายโรงเรียนเตรียมทหารมายังที่ตั้งแห่งใหม่ ณ เลขที่ 185 หมู่ 5 ตำบลศรีกะอาง อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก กำหนดระยะเวลา ตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543 และให้สามารถเปิดการศึกษาได้ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2543 โดยมีพิธีเคลื่อนย้ายโรงเรียนเตรียมทหารเข้าสู่ที่ตั้งในวันพฤหัสบดีที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2543

วันศุกร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2543 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิดโรงเรียน