Fitness tracker ยี่ห้อ ไหน ดี

มือใหม่เริ่มต้นใส่นาฬิกาออกกำลังกายรุ่นไหนดี ?

ถ้าเริ่มออกกำลังกายใหม่ๆตัวช่วยที่ดีสุด คือ นาฬิกาออกกำลังกายที่จะช่วยทำให้คุณออกกำลังกายได้เต็มที่ 
รู้ถึงความหนักเบาของแรงที่เสียไป เก็บสถิติข้อมูลการออกกำลังกายนำมาประเมินวัดผลตั้งแต่วันแรกถึงปัจจุบัน 
เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงที่เชื่อถือได้ มากกว่าคาดเดาจากตัวเองหรือให้คนอื่นมาช่วยวัดให้ ยิ่งคนที่หันมาออกกำลังกายใหม่ๆ
ต้องการแรงจูงใจและเห็นพลังงานแคลอรี่ที่ใช้ไป รวมไปถึงข้อมูลต่างๆ เช่น การเต้นของชีพจร ระยะเวลา จำนวนก้าว และการนอนหลับ

แนะนำผู้เริ่มใช้นาฬิกาออกกำลังกาย ถ้าไม่รู้จะเริ่มที่รุ่นไหนหรือกังวัลจะใช้งานไม่เป็น ลองอ่านคำแนะนำที่จะบอกเล่า นาฬิกาที่ตอบโจทย์ให้คุณ
ได้ใช้งานที่คุ้มค่าใส่ได้ตลอดวัน พร้อมเริ่มต้นเป็นมือโปรคนรักสุขภาพ ลงทุนกับกับการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพไม่มีคำว่าขาดทุน ออกกำลังกายก่อนสุขภาพดีก่อน

 

Fitbit Charge 2 ชมสินค้า

  • ระบบเคาะหน้าจอเพื่อแสดงข้อมูลที่สะดวก
  • โหมดออกกำลังกายทั้งฟิตเนสและกีฬาครบ
  • แอพรูปใช้งานง่ายไม่ซับซ้อน

Mio Fuse ชมสินค้า

  • แสดงผล LED ปุ่มใช้งานระบบสัมผัส
  • สั่นเตือนชีพจรตามที่ตั้งค่าไว้ ถึง 5 โซน
  • แค่ขั้นตอนเดียวพร้อมเริ่มโหมดออกกำลังกาย

Polar A360 ชมสินค้า

  • หน้าจอสีระบบสัมผัสมองเห็นได้ชัดเจน
  • โหมดออกกำลังกายแสดงผลเข้าใจง่าย
  • มีโหมดวัดชีพจรโดยเฉพาะ เหมาะสำหรับผู้สูงอายุ


 

Garmin Viovosmart HR+ ชมสินค้า

  • ติดตามกิจกรรมได้ตลอดวันแค่เลื่อนเปิดดูข้อมูล
  • มีระบบแจ้งเตือนโซเซียลมีเดียครบ
  • โหมดออกกำลังกายใช้ง่ายไม่ยุ่งยาก 


 

Garmin Forerunner 35 ชมสินค้า

  • เหมาะสำหรับผู้เริ่มออกกำลังกายวิ่งและปั่นจักรยาน
  • ตั้งค่าออกกำลังกายสำหรับมือใหม่เข้าใจได้ง่าย
  • ภาษาไทยให้เลือกใช้งาน พร้อมระบบแจ้งเตือนที่จัดเต็ม



พบเทคโนโลยีออกกำลังกายที่ TSMACTIVE
ครบที่สุดในประเทศ พร้อมประกันสินค้า 1 ปีเต็ม

 

การออกกำลังกายในสภาพปกติที่ไม่ต้องการมีเป้าหมายใดๆ เครื่องมือวัดใดๆล้วนไม่มีความจำเป็น อาจจะใช้เพียงแค่โทรศัพท์สมาร์ทโฟนที่มี GPS และแอปออกกำลังกาย เพียงแค่นั้นก็สามารถใช้ได้หลายอย่างแล้ว เช่น นับ ก้าว แทร็คระยะทางในการวิ่ง หรือบางคนอาจมีสมาร์ทวอชท์ ก็สามารถใช้ได้เช่นกัน แต่อุปกรณ์แต่ละชิ้นก็ออกแบบให้มีความสามารถโดดเด่นต่างกันไปตามวัตถุประสงค์ของอุปกรณ์ชิ้นนั้นๆ ไม่มีอุปกรณ์ชนิดไหนที่สามารถทำได้ดีในทุกๆอย่างในตัวเดียวกัน

สำหรับคนที่ต้องการวัดผลสัมฤทธิ์ในการออกกำลังกายแล้วละก็ การใช้อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่หลายอย่างๆในตัวเดียวคงไม่ตอบโจทย์แน่ เพราะสมาร์ทโฟนคงวัดอัตราการเต้นของหัวใจไม่ได้ ไม่สามารถแทร็กและรายงานสภาวะการนอนหลับได้ ไม่สามารถเตือนให้คุณเคลื่อนไหวร่างกายขณะที่หยุดนิ่งนานเกินไปได้ ตัวอย่างเหล่านี้เป็นอะไรที่ต้องมีฮาร์ดแวร์เพิ่มเติมและมีซอฟแวร์หรือโปรแกรมเฉพาะ Fitness Tracker คงเป็นตัวเลือกที่ลงตัวเหมาะสมที่สุด เพราะฉะนั้นมันจึงมีหลากหลายบริษัทออกอุปกรณ์ประเภทนี้ออกมาจำหน่าย ราคาตั้งแต่หลักร้อยถึงหลักหมื่น เราจะเลือกแบบไหนดีนั่นหละเป็นปัญหาโลกแตก

Fitness tracker ยี่ห้อ ไหน ดี
Fitness tracker ยี่ห้อ ไหน ดี

Fitness Tracker ที่ดีที่สุด

 Amy Roberts ได้เลือก Garmin Vívosport เป็น Fitness Tracker ทีดีที่สุดในความคิดเห็นของเขา ด้วยเหตุผลที่ว่ามันทำได้ทุกสิ่งตามที่คาดหวังไว้

จุดเด่นที่สำคัญนอกจากความแม่นยำของการทำงานแล้วก็คือการออกแบบอุปกรณ์ Fitness Tracker ที่มาพร้อมกับ GPS ในตัวได้อย่างเล็กกระทัดรัดลงตัว เมื่อเทียบกับรุ่นอื่นๆแล้วมันเล็กและเบาเหมาะสมสวยงามกว่า  

Fitness Tracker ที่ดีที่สุด

จากการทดสอบของ Amy Roberts กว่า 150 ชั่วโมงในหลากหลายยี่ห้อ ว่าแต่ Amy Robert เป็นใครทำไมต้องเชื่อเธอ เพราะว่าเธอเทรนเนอร์ส่วนบุคคลที่ได้รับการรับรองจาก NASM-CPT เป็นโค๊ชสอนวิ่ง (USATF Level 1 และ RRCA) อีกทั้งยังเป็นนักวิ่งระดับภูมิภาค เป็นคนรีวิวสินค้าในเวปไซต์ wirecutter ตั้งแต่เธอมี fitbit อันแรก และได้สัมภาษณ์ และได้พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เกี่ยวกับการวัดอัตราการเต้นของหัวใจกับ คลินตัน เบรวเวอร์เนอร์ นักสรีรวิทยาการออกกำลังกาย ที่ศูนย์การแพทย์เฮนรีฟอร์ด ในดีทรอยต์ 

Amy Roberts ทำการทดสอบ Fitness Trackers สี่ยี่ห้อสี่รุ่นด้วยกัน ซึ่งประกอบไปด้วย Garmin Vívosport, Samsung’s Gear Fit2 Pro, Huawei Band 2 Pro และ  Fitbit Ionic โดยคัดเลือกพวกที่มีคุณสมบัติที่สามารถตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ได้คือ สามารถตรวจจับการเคลื่อนไหวประจำวันได้ คือ การนับก้าวเดิน การขึ้นบันได การนอนหลับ และแทรคการออกกำลังกายได้ พร้อมด้วยมีเซนเซอร์วัดอัตราการเต้นของหัวใจ มี GPS ในตัว

ทดสอบความแม่นยำการวัดระยะทาง

โดยการทดสอบการวิ่ง 1 ไมล์บนลู่วิ่ง เทียบระยะกันกับ Fitness trackers แต่ละตัว เพราะว่า Fitness Trackers ที่เลือกมาทดสอบนี้มีการติดตั้ง GPS มาด้วยในตัว ดังนั้นจึงต้องทดสอบกันหน่อยว่ามีความแม่นยำมากน้อยขนาดไหน จึงทดสอบด้วยการวิ่งในสนามด้วยระยะทาง 1 ไมล์เช่นกัน ผลการทดสอบออกมาว่า Samsung’s Gear Fit2 Pro และ Garmin Vívosport ทำได้ดีใกล้เคียงกัน

ทดสอบการวัดอัตราการเต้นของหัวใจ

 ในการทดสอบวัดอัตราการเต้นของหัวใจ โดยใช้สายรัดหน้าอกเป็นตัววัดมาตรฐานในการเปรียบเทียบ ทำการวัดอัตราการเต้นของหัวใจในขณะเวลาปกติ ดีที่สุดคือเวลาก่อนที่จะลุกออกจากเตียงนอน ประโยชน์ของการวัดอัตราการเต้นของหัวใจในช่วงเวลาแบบนี้จะเป็นการแสดงผลว่าหัวใจมีความแข็งแรงขนาดไหน และมีประสิทธิภาพในการสูบฉีดเลือดได้ดีขนาดไหน ถ้าอัตราการเต้นของหัวใจต่ำก็แสดงว่าหัวใจมีสุขภาพแข็งแรงดี และมีประสิทธิภาพในการสูบฉีดเลือดได้ดี ทำการทดสอบด้วยการใส่นอนเป็นเวลา 1 คืนโดยแสดงผลผ่าน app บนสมารท์โฟน

และทำการทดสอบขณะการออกกำลังกายด้วย ซึ่งทำการทดสอบในสองลักษณะการออกกำลังกายคือด้วยการวิ่ง 5 นาที และการกระโดดตบ 2 นาที และให้บันทึกค่าทุกๆ 10 วินาที เพื่อเปรียบเทียบกับสายคาดหน้าอกที่ใช้เป็นมาตรฐาน จากการพูดคุยปรึกษากับผู้เชียวชาญ คลินตัน เบรวเวอร์เนอร์ นักสรีระวิทยาการออกกำลังกาย เขาบอกว่า ค่าที่ได้ไม่ควรแกว่งจากมาตรฐานเกินกว่า 5 BPM ผลการทดสอบไม่มีเครื่อง Fitness Trackers เครื่องใดอยู่ในมาตรฐาน โดยมี   Samsung’s Gear Fit2 Pro และ Garmin Vívosport ทำได้ดีที่สุดตามลำดับ

Fitness tracker ยี่ห้อ ไหน ดี
Fitness tracker ยี่ห้อ ไหน ดี
การเปรียบเทียบอัตราการเต้นของหัวใจของ Fitness Tracker ของยี่ห้อต่างๆเมื่อเทียบกับสายคาดหน้าอก

ทดสอบความแม่นยำของการนับก้าว

 Fitness Trackers ใน พ.ศ. นี้ยังไม่มีตัวไหนมีความแม่นยำเป็นที่น่าพอใจ โดยการทดสอบเทียบกับ เครื่องนับก้าว (Pedometer) มีทั้งนับได้มากกว่าในวันแรก และในวันถัดมากลับนับได้น้อยกว่า อย่างไรก็ตามการนับก้าวเป็นฟังค์ชั่นที่อุปกรณ์ชนิดนี้จำเป็นต้องมีแม้จะไม่มีความแม่นยำนัก เพราะว่าอุปกรณ์ Fitness Tracker บันทึกข้อมูลจากการขยับของแขน ดังนั้นถ้าจะให้แน่นอนการขยับแขนและการก้าวเดินต้องมีความสัมพันธ์กัน ซึ่งในการเคลื่อนไหวปกติในชีวิตประจำวันไม่มีใครทำได้สัมพันธ์กัน ดังนั้นการที่จะเซ็ตเป้าหมายในการนับจำนวนก้าวเราต้องใส่ประมาณ 3 วันแล้วก็เคลื่อนไหวตามปกติแล้วดูว่าในเวลาปกติทำได้ประมาณเท่าไร แล้วก็เพิ่มขึ้นไปเพื่อให้ได้เป้าหมาย

Amy Roberts ได้ทำการทดสอบในหลายๆกิจกรรมที่มีความสัมพันธ์ของการเคลื่อนไหวของมือและเท้าแยกจากกัน เพื่อที่จะหาความแม่นยำในการนับก้าวของเครื่องมือ Fitness Tracker อันไหนจะดีกว่ากัน เริ่มด้วยทำการปรบมือตามเพลงโดยที่ขาไม่เคลื่อนย้าย โดยเลือกเอาเพลงร๊อค “We will rock you” ของวง Queen มาทดสอบ ปรากฎว่า  Garmin Vívosport ไม่สามารถนับก้าวได้ แต่ยี่ห้ออื่นๆสามารถนับก้าวได้หมด 

ทดสอบด้วยการเข็นรถเข็นซื้อของในซุปเปอร์มาเก็ตโดยให้มือจับที่รถเข็นตลอดเวลา เป็นเวลา 5 นาทีและเทียบกับเครื่องนับก้าว พบว่า Garmin Vívosport ทำได้ 12.54%  และ Samsung’s Gear Fit2 Pro ทำได้ 4.48% 

และยังทดสอบการวิ่งบนลู่วิ่งในระยะทาง 1 ไมล์ พบว่า Samsung’s Gear Fit2 Pro ผิดพลาดเพียง  8.57% และ Garmin Vívosport ผิดพลาดประมาณ 10.42% 

จากการทดสอบพบว่าถ้าเราขยับแขนและขาอย่างมีความสัมพันธ์กัน Fitness Trackers ก็สามารถนับก้าวได้ค่อนข้างดี

Garmin Vívosport ถูกเลือกให้เป็น Fitness Tracker ที่ดีที่สุด

หลังผ่านการทดสอบมาหลากหลายแบบ Amy Roberts ได้เลือก Garmin Vívosport เป็น Fitness Tracker ทีดีที่สุดในความคิดเห็นของเขา ด้วยเหตุผลที่ว่ามันทำได้ทุกสิ่งตามที่คาดหวังไว้ ไม่ว่าจะเป็นการที่มันมีระบบ GPS ที่แม่นยำในตัว และสามารถแทรกกิ้งกิจกรรมของเราได้อัตโนมัติและก็ทำได้ดีด้วย และยังมีระบบทุกอย่างตามมาตรฐานที่อุปกรณ์ Fitness tracker ควรจะมี เช่น การนับก้าว การวัดระยะทาง การคำนวณการเผาผลาญแคลอรี่ บันทึกสถิติการนอนหลับ และมาด้วยความอึดของแบตเตอร์รี่ ประมาณ 1 สัปดาห์สำหรับการไม่เปิดใช้เ GPS tracking มันยังสามารถกันน้ำได้อีกด้วย ในระดับที่เราสามารถใส่ว่ายน้ำได้เลย 

 จุดเด่นที่สำคัญนอกจากความแม่นยำของการทำงานแล้วก็คือการออกแบบอุปกรณ์ Fitness Tracker ที่มาพร้อมกับ GPS ในตัวได้อย่างเล็กกระทัดรัดลงตัว เมื่อเทียบกับรุ่นอื่นๆแล้วตัวนี้เล็กและเบาเหมาะสมสวยงามกว่า

ด้วยเทคโนโลยี Move IQ ของ Garmin ทำให้ Vívosport มีความโดดเด่นไปกว่าย่อห้ออื่น โดยมันสามารถจับการวิ่งของคุณได้เมื่อเริ่มต้นไปได้เพียง 1 นาทีเท่านั้นโดยคุณไม่ต้องทำอะไร เมื่อเทียบกับ Fitbit หรือ Samsung ที่ใช้เวลาถึง 10 นาที และมันยิ่งล้ำไปอีกที่สามารถรู้ได้ว่าเมื่อใดเราหยุดวิ่ง มันก็จะหยุดทำงานเช่นกัน ระบบ GPS ก็สามารถ Track เส้นทางการวิ่งหรือเดินได้อัตโนมัติโดยไม่ต้องสั่งการใดๆ แค่ใส่และทำกิจกรรมของคุณไป

การใช้เปิดใช้ GPS ขณะทำกิจกรรมไม่ว่าจะวิ่งหรือเดิน จะทำให้ได้ข้อมูลมากขึ้นและแม่นยำมากขึ้นด้วย ไม่ว่าจะเป็นระยะทาง จำนวนก้าว อัตราความเร็ว และเราสามารถตั้งค่าความเร็วในแต่ละก้าวให้อุปกรณ์คอยเตือนเราว่าช้าไปหรือเร็วไป อย่างไรก็ตาม GPS บนอุปกรณ์ fitness tracker นี้ยังทำการเชื่อมต่อได้ช้าอยู่ ไม่เหมือนพวกนาฬิกาที่ใส่วิ่ง หรือการวิ่งด้วยการพกพาโทรศัพท์ที่มี GPS ไปด้วย จากการทดสอบโดยไม่ใช้ GPS ทดสอบวิ่งบนลู่วิ่งระยะทางประมาณ 1 ไมล์ Vívosport สามารถอ่านค่าได้ 1.05 ไมล์ซึ่งมีความแม่ยำมาก แม้ไม่ใช้ GPS โดยมีความแม่นยำพอๆกับ Samsung และ  Huawei ซึ่งทำได้ดีกว่า แต่ดีกว่า Fitbit 

HR การวัดอัตราการเต้นของหัวใจ นี่ก็เป็นฟังค์ชั่นการทำงานที่สำคัญที่ขาดไม่ได้ พบว่ามีความแม่นยำค่อนข้างดี ถ้าเป็นการวิ่งด้วยอัตราคงที่ แต่ความแม่นยำจะลดลงเมื่อทดสอบด้วยการกระโดดตบ เช่นเดียวกันกับยี่ห้อซัมซุง แต่จากการทดสอบยี่ห้อ หัวเหว่ย และ Fitbit พบว่าวัดได้ค่าสูงกว่าปกติมากคือ  180-190 ครั้งต่อนาที เมื่อเทียบกับสายคาดหน้าอกที่วัดได้เพียง 140-150 ครั้งต่อนาที ซึ่งถ้าท่านใดต้องการความแม่นยำของการเต้นของหัวใจขณะออกกำลังกายแล้วละก็แนะนำให้ใช้ชนิดที่เป็นสายคาดหน้าอกจะดีกว่า

Vívosport ยังมีฟังค์ชั่นใหม่ใช้วัดค่าความเครียดได้ด้วย โดยใช้ค่า  heart-rate variability (HRV) ซึ่งเป็นการวัดระยะเวลาช่วงการเต้นของหัวใจ ในขณะที่เรามีกิจกรรมปกติค่า HRV สูงเป็นค่าที่ดี ในช่วงเวลาที่เราออกกำลังกายค่า  HRV ต่ำถือเป็นค่าที่ดี คลิ๊กอ่านรายละเอียดเกี่ยวกับ HR และ  HRV ได้จากลิ๊งค์ได้เลย และ Vívosport ยังสามารถคำนวณ VO2 Max ได้ด้วย

เหมือนกันกับอุปกรณ์ยี่ห้ออื่นๆ ซึ่งมันสามารถบันทึกการนอนหลับได้อัตโนมัต และบ่งบอกลักษณะการนอนได้ เช่นการหลับลึก การหลับธรรมดา และการตื่นระหว่างการนอน เป็นต้น

Vívosport มาพร้อมจอแสดงผลเป็นแบบ transflective memory-in-pixel (MIP) ที่แสดงผลได้ชัดเจนแม้อยู่กลางแดดจ้า หน้าจอจะแสดงผลมื้อพลิกข้อมือหรือใช้การสัมผัส และแน่นอนการแสดงผลสามารถปรับแต่งให้แสดงค่าได้หลายอย่าง ไม่ว่า จำนวนเก้า การเต้นของหัวใจ ระยะทาง การเผาผลาญแคลอรี VO2 Max เป็นต้น

Vívosport  สามารถรับข้อความ การอัปเดต ข้อมูลใหม่ๆ บนสื่อสังคมออนไลน์ อีเมลและอื่น ๆ อีก ค้นหาโทรศัพท์ การเข้าถึงการควบคุมเพลงและการใช้ฟีเจอร์ LiveTrack เพื่อให้เพื่อนๆ ได้ติดตามกิจกรรมของคุณได้ และด้วยการซิงค์แบบอัตโนมัติกิจกรรมของคุณที่ทำเสร็จแล้วก็จะถูกอัปโหลดไปยัง Garmin Connect โดยอัตโนมัติเช่นกัน ส่วนนี้ก็เหมือนกับยี่ห้ออื่นๆ แต่ด้อยกว่าด้วยสังคมหรือกลุ่มของ Garmin ไม่ได้ใหญ่โตเหมือน fitbit 

ข้อเสียเล็กๆน้อยๆของ Vívosport 

แม้ Garmin Connect จะปรับโฉมแอพพลิเคชั่นใหม่แต่มันก็ไม่ตรงประเด็นอยู่ดี สิ่งที่ขาดไปของ Garmin ก็คือชุมชนหรือเครือข่ายผู้ใช้ที่สามารถสื่อถึงกันได้ สามารถสร้างการแข่งขันในการออกกำลังกาย ซึ่งมันเป็นผลดีทำให้ผู้คนได้สร้างความตื่นเต้นท้าทายในการออกกำลังกาย ตรงกันข้ามกับ Fitbit ที่มีเครื่อข่ายและชุมชนของผู้ใช้ขนาดใหญ่ อย่างไรก็ตาม Garmin ก็ได้มีความพยายามรวมเอาเครื่อข่ายของผู้ใช้นาฬิกาติดจีพีเอสเข้ามาร่วมด้วย 

จุดอ่อนอีกอย่างหนึ่งของ Garmin Vívosport มันมีความไวของการเก็บข้อมูลโดยอัตโนมัติมาก ไม่ว่า การก้าว การวิ่ง การออกกำลังกายต่างๆ แต่น่าเสียดายไม่ได้มีการเก็บข้อมูลอัตโนมัติในการขี่จักรยาน คุณต้องสั่งจากแอพพลิเคชั่น  และอีกอย่างหนึ่งคือหน้าจอมีความไวต่อการสัมผัสมาก แค่แขนเสื้อสัมผัสเบาๆ หน้าปัดก็เปลี่ยนแล้วซึ่งมันเป็นการไม่ได้ตั้งใจที่จะเปลี่ยนหน้าจอ ก็ยังดีที่มีระบบล๊อคหน้าจอ เวลาจะกลับเข้าดูหน้าจอก็ใช้การแตะเบาๆ 2 ครั้ง และที่ไม่ง่ายสะดวกสบายเหมือนกับ ซัมซุง หรือ Fitbit อีกอย่างนึงก็คือ คำสั่งเมนูต่างๆของเขาใช้การแตะ 2 ครั้ง มันออกจะไม่คุ้นเคยอยู่บ้าง

Fitness tracker ยี่ห้อ ไหน ดี
Fitness tracker ยี่ห้อ ไหน ดี

Fitness Tracker ที่คุ้มค่าที่สุด

ด้วยความสามารถที่หลากเยี่ยงสายรัดข้อมือราคาแพง ความแม่นยำที่พึงพอใจ จากการใช้งานจริงเราเห็นว่า mi band 2 คุ้มค่าทุกสตางค์ที่เสียไป และมันยังสามารถกันน้ำได้ และมีแบตเตอร์รี่ที่อึดใช้ได้กว่า 20 วันออกจะดูเหนือกว่าแบรนด์ราคาแพงด้วยซ้ำไป

Fitness tracker ยี่ห้อ ไหน ดี
Fitness tracker ยี่ห้อ ไหน ดี
Mi Band 3

Fitness Tracker สายรัดข้อมือที่คุ้มค่าที่สุด MI Band 2

อันนี้เรามาพิจารณาจากการที่เราซื้อมาใช้งานเองจริงๆ ขณะเขียนนี้ก็ใช้งานมาร่วม 3 เดือนแล้ว สิ่งที่ทำให้ตัดสินใจซื้อคือ ฟังค์ชั่นการใช้งาน และราคา และส่วนประกอบอื่นๆ เช่น ความสวยงาม ทันสมัย นั่นเป็นปัจจัยรองลงมา เราได้พิจารณาในหลายยี่ห้อที่มีสนนราคายุติธรรม สุดท้ายมาจบที่ Xiaomi MI Band 2 ก็เลยจัดการสั่งซื้อจาก LAZADA ด้วยสนนราคาค่าตัว 880 บาทจากร้าน Xiaomi Thailand รับประกัน 1 ปีเปลี่ยนเครื่องใหม่ทันที ชอบตรงนี้แหละ ของที่สั่งก็ประมาณ 3-4 วันได้รับแล้ว

MI Band 2 เป็น Fitness Tracker สัญชาติจีน ชนิดราคาประหยัดและสามารถใช้งานได้จริง ไม่ได้ทำไว้ใส่โก้ๆ มันมีความสามารถในการช่วยวัดการออกกำลังกาย และการเคลื่อนไหว ต่างๆมากมาย ตัวอย่างเช่น

  • ซึ่งมาพร้อมด้วยหน้าจอแบบ OLED แม้ว่าไม่ใช่ระบบสัมผัส เพียงแค่ยกข้อมือและพลิกดูก็จะแสดงค่าต่างๆที่เราได้ตั้งไว้ เช่น เวลา จำนวนก้าว และอัตราการเต้นของหัวใจ
  • มีการปรับปรุงอัลกอริทึมของ pedometer ให้แม่นยำมากขึ้น โดยการกรองเอาการเคลื่อนที่ไม่เกี่ยวข้องออกไป
  • มีเซนเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหวในตัว มันจะเริ่มตรวจจับทันทีที่คุณเริ่มออกกำลังกาย และเริ่มการตรวจวัดชีพจรอัตโนมัติโดยไม่ต้องมีการปรับเปลี่ยนโหมดใดๆ การวัดชีพจรทำให้เรารู้ว่าความหนักเบา ของการออกกำลังกายของคุณ และการรู้ว่าเราเข้าสู่เป้าหมายในการออกกำลังกายของเราหรือยัง หรือช่วยให้เราปลอดภัยจากการออกกำลังกายมากเกินไป
  • มีระบบเตือนให้เราขยับร่างกาย เมื่อเรานั่งนานเกินไป มันจะเตือนให้เรา ขยับออกเดินเล็กๆน้อยๆ
  • มันสามารถบันทึกสถิติ และค่าต่างๆ ในขณะที่เราทำกิจกรรมต่างๆ เช่น การวิ่ง การเดิน การวิ่งบนลู่วิ่ง เครื่องจะบันทึกและส่งสัญญาณซิงค์กันกับแอพพลิเคชั่น Mifit มันจะทำการตรวจวัดชีพจรตลอดเวลาที่เราทำกิจกรรม
  • พิเศษสุดสามารถวัดชีพจรในระหว่างการนอน พร้อมทำงานร่วมกันกับแอพพลิเคชั่น Mifit ในการวิเคราะห์การนอนของเรา ว่า หลับลึก หลับธรรมดา หรือมีการตื่นในระหว่างการนอนหรือไม่
  • สามารถส่งการเตือนว่ามีสายเข้าโทร SMS และข้อความจากเฟสบุ๊ค messenger ได้ด้วย
  • มีคุณสมบัติในการกันน้ำได้ IP67 สามารถกันน้ำได้ระดับนึงคือ ล้างมือโดยไม่ต้องถอดได้ ใส่อาบน้ำได้ แต่ไม่น่าจะใส่ว่าน้ำได้
  • แบตเตอร์รี่สามารถใช้งานได้ประมาณ 20 วัน ในกรณีที่ไม่ใช้โหมดการวัดการนอนหลับ
แกะกล่องทดลองใช้ Mi Band 2

ภายในกล่องของ mi band 2 ประกอบได้ด้วย ตัวเครื่อง mi band 2 ขนาดเล็กกระทัดรัด, สายรัดข้อมือที่ให้มาเป็นสีดำ สายชาร์จ และคู่มือ ตัว mi band 2 ที่ให้มานั้นยังไม่ได้ชาร์จไฟ ก่อนจะใช้ก็ทำตามขั้นตอนดังต่อไปนี้ได้เลย

  1. ชาร์จไฟให้เต็ม โดยนำเครื่อง Mi band 2 มาใส่ในสายชาร์จ (มีมาแต่สายที่เป็น USB ไม่มีหัวชาร์จมาด้วย) แล้วนำไปเสียบกับที่ชาร์จของโทรศัพท์อะไรก็ได้ และชาร์จทิ้งไว้ประมาณ 2 ชั่วโมงก็เต็ม
  2. ขณะรอชาร์จไฟ ก็ให้โหลด แอพพลิเคชั่นที่จะใช้เชื่อมต่อระหว่งโทรศัพท์กับ mi band 2 ชื่อแอ๊พว่า mifit โหลดใช้ได้ทั้งจาก play store สำหรับแอนด์ดรอย และ app store สำหรับโทรศัพท์ค่ายแอ๊ปเปิ้ล หลังจากโหลดมาแล้วก็ลงทะเบียนเข้าใช้ให้เรียบร้อย ใช้แค่ email address ก็พอ กรอกข้อมูลที่จำเป็น เช่น ชื่อ น้ำหนัก เป้าหมายในแต่ละวัน (จำนวนก้าว)
  3. หลังชาร์จไฟเต็มแล้วเราต้องนำมาเชื่อมต่อกับโทรศัพท์มือถือผ่านแอ๊พ mifit ด้วยการเปิดสัญญานบลูทูธที่โทรศัพท์ ซึ่งโทรศัพท์นี้ใช้ได้ทั้งระบบ IOS และ androids นำ Mi band 2 ไปวางไว้ข้างๆโทรศัพท์ แล้วเปิด แอ๊พ mifit ขึ้นมาไปที่หน้า profile เพื่อเชื่อมต่อกับ mi band 2 ให้เลือกเพิ่มอุปกรณ์ (add device) แล้วเลือกชนิดอุปกรณ์เป็น band จากนั้นอุปกรณ์จะเริ่มค้นหาเพื่อเชื่อมต่อ หลังจากพบแล้วให้จับคู่อุปกรณ์ โดย mi band 2 จะสั่นเตือน ให้กดปุ่มบนหน้าปัด mi band 2 เพื่อเชื่อมต่อ จากนั้นระบบจะทำการ update firmware อัตโนมัติ วันและเวลาจะถูกตั้งตามโทรศัพท์ของเรา หลังจากมีการ Update firmware เรียบร้อยแล้ว อุปกรณ์ของเราก็พร้อมใช้งาน

Fitness tracker ยี่ห้อ ไหน ดี
Fitness tracker ยี่ห้อ ไหน ดี
อุปกรณ์ในกล่องประกอบด้วบ สายรัด, mi band2, สายชาร์จ และคู่มือ

ทดสอบการใช้งาน Mi Band 2

หลังจากซื้อมาและใช้ไปประมาณ 3 เดือนอย่างต่อเนื่องตั้งแต่วันแรกเลย ไม่เคยเกิดปัญหางอแงแต่อย่างใด ใช้ได้ราบรื่นดี ตัวอุปกรณ์ fitness tracker รุ่นนี้มีฟังค์ชั่นการใช้งานหลายอย่างซึ่งเราก็ยังใช้ไม่ครบ มีดูผลการใช้งานบางอย่างที่สำคัญๆ

https://www.khundee.com/wp-content/uploads/2018/05/video-1526632203.mp4

การวัดชีพจร 

เป็นอะไรที่เราคาดหวังว่ามันต้องใช้ได้ และใช้ได้ดีด้วย การวัดชีพจรนี้เราสามารถวัดได้ด้วยการกด ให้เครื่องวัดในขณะนั้นได้เลย โดยกดที่ปุ่มไปเรื่อยๆจนขึ้นรูปหัวใจ ให้เราอยู่นิ่งสักครู่มันก็จะวัดให้และแสดงผล และมันยังสามารถต่อเนื่องได้อีกด้วย เมื่อเราเลือกเราทำกิจกรรม โดยไปสั่งการที่แอพพลิเคชั่น mifit ในโทรศัพท์ของเรา และเลือก activity ซึ่งมีให้เลือกทั้งวิ่งกลางแจ้ง วิ่งในลู่วิ่ง และการเดิน หลังจากเราเสร็จกิจกรรมแล้วให้กดปิดที่แอพพลิเคชั่นในโทรศัพท์มือถือ แอพก็จะบันทึกและแสดงผลในโทรศัพท์ หมายเหตุในการออกกำลังต้องพกโทรศัพท์ไปด้วยนะ เพราะมันทำงานร่วมกัน จากการทดสอบการใช้มาหลายเดือน ทั้ง วิ่ง และเดิน พบว่าการวัดอัตราการเต้นของหัวใจอยู่ในมาตรฐานเชื่อถือได้ ด้วยการเปรียบเทียบกิจกรรมเดียวกันหลายครั้งพบว่า mi band 2 วัดค่าออกมาได้ใกล้เคียงกันทุกครั้ง โดยมันสามารถแสดงผลออกมาในรูปกราฟ และแปลผลจากการออกกำลังกายออกมาเป็นระดับต่างๆดังนี้ (Heart Rate Zone) 

ก่อนที่จะไปถึงการตีความของระดับการเต้นของหัวใจในโซนต่างๆที่วัดได้จาก mi band2 เรามาทำความเข้าใจกันเล็กน้อยสำหรับคนที่ไม่ทราบและไม่ค่อยคุ้นเคยกับการเล่นกีฬาหรือออกกำลังกาย

เริ่มด้วยค่า VO2 Max (วีโอทูแม๊กซ์) เป็นคำศัพท์ที่ใช้อธิบายการทดสอบสมรรถภาพทางร่างกายแบบหนึ่งที่ใช้กันมากในทางการแพทย์และเวชศาสตร์การกีฬา เป็นการวัดประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้ออกซิเจนของร่างกายว่าร่างกายของผู้ถูกทดสอบมีความสามารถที่จะดึงออกซิเจนจากเลือดเพื่อส่งไปยังกล้ามเนื้อเพื่อใช้เผาผลาญสารอาหารได้สูงสุดเพียงใด VO2 Max มีหน่วยเป็น มิลลิลิตรต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ต่อนาที ซึ่งค่านี้จะขึ้นกับอายุ เพศ และความฟิตของผู้เข้ารับการทดสอบ และสามารถเปรียบเทียบออกมาในหน่วยของ MET (Metabolic Equivalent) ซึ่ง 1 MET มีค่าเท่ากับออกซิเจน 3.5 ml ต่อนํ้าหนักตัว 1 กิโลกรัม ต่อนาที ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยของการใช้ออกซิเจนของคนทั่วไปขณะพัก เพื่อเปรียบเทียบว่าขณะที่ร่างกายมีการใช้ออกซิเจนสูงสุดจะมีค่าเป็นจำนวนกี่เท่าของขณะพัก หรือจำนวน MET

ขณะที่มีการออกกำลัง กล้ามเนื้อต้องการออกซิเจนเป็นแหล่งพลังงาน เมื่อมีการออกกำลังเป็นเวลานาน ๆ และใช้ประสิทธิภาพของกล้ามเนื้อจนถึงขีดสูงสุดจนออกซิเจนไม่เพียงพอในการสร้างพลังงานเพื่อการใช้งานของกล้ามเนื้อ ร่างกายจะเริ่มนำพลังงานจากกระบวนการที่ไม่ใช้ออกซิเจน (Anaerobic Metabolism) มาใช้โดยที่กระบวนการ Anaerobic Metabolism จะทำให้เกิดของเสียคือกรดแลคติกซึ่งทำให้กล้ามเนื้อมีอาการปวดและเมื่อยล้า เพราะฉะนั้นนักกีฬาที่มีความฟิตต่ำหรือมีค่า VO2 Max ต่ำจะผลิตกรดแลกติกเร็วและประสบความเหนื่อยล้าในกล้ามเนื้อมากกว่านักกีฬาที่มีความฟิตสูงหรือมีค่า VO2 Max สูงในการออกกำลังที่ระดับความหนักเดียวกัน (ที่มาเวปไซต์โรงพยาบาลสมิติเวช)

การวัดค่า VO2 Max โดยปกติจะวัดด้วยการทดสอบบนลู่วิ่ง หรือการปั่นจักรยาน โดยใช้เครื่องมือที่มีความยุ่งยากราคาแพง แต่ก็มีอีกวิธีหนึ่งที่ใช้การคำนวณแบบง่ายๆคือใช้ 220 – อายุของตัวเอง ก็จะได้ค่า VO2 Max ออกมาแบบคร่าวๆ ซึ่งตัวเลขนี้จะออกมาเป็นอัตราการเต้นของหัวใจ ณ. จุด VO2 Max  ซึ่ง Mi band2 ก็ใช้วิธีการคำนวณเอา เมื่อได้ค่าแล้วจึงนำมากำหนดช่วงต่างๆเรียกว่า Heart Rate Zone โดย Mi band2 แบ่งออกเป็น 6 โซนคือ

– Relax Zone คือช่วงที่ไม่ได้ออกกำลังกาย อัตราการเต้นของหัวใจก็จะอยู่ในเกณฑ์ปกติของเรา

– Light Zone เป็นโซนที่อัตราการเต้นของหัวใจอยู่ที่ประมาณ 50-60% ของ Max Heart Rate บางคนเรียกโซนนี้เป็นโซน warm up หรือ cool down ซึ่งเป็นระดับที่ง่าย เป็นช่วงของการอุ่นเครื่อง การเผาผลาญมีเพียงเล็กน้อย และการเผาผลาญมาจากไขมันเพียงเล็กน้อยเท่านั้น คือ พลังงานที่ใช้มาจาก ไขมันประมาณ 85% คาร์โบไฮเดรตประมาณ 85% และโปรตีน 5% ใช้พลังงานไป 3-7 แคลลอรีต่อนาที

– Weight Zone เป็นโซนที่มีอัตราการเต้นของหัวใจอยู่ประมาณ 60-70% ของ Max Heart Rate บางครั้งแรก Fat Burn เชื่อว่าการออกกำลังกายในระดับนี้ทำให้เผาผลาญพลังงานสูง คือเริ่มหนักขึ้นหัวใจเต้นเร็วขึ้น ช่วงนี้จึงเหมาะสำหรับการลดน้ำหนักหรือการควบคุมน้ำหนัก พลังงานที่ใช้มาจาก ไขมันประมาณ 85% คาร์โบไฮเดรตประมาณ 85% และโปรตีน 5% ใช้พลังงานไป 7-12 แคลลอรีต่อนาที

– Aerobic Zone เป็นโซนที่มีอัตราการเต้นของหัวใจอยู่ประมาณ 70-80% ของ Max Heart Rate บางที่เรียกช่วง Fit and Firm การออกกำลังกายช่วงนี้เป็นฝึกกล้ามเนื้อ และทำหัวใจสูบฉีดเลือดดี เริ่มเหงื่อออกมากขึ้นหัวใจเต้นเร็วขึ้นอีก การใช้พลังงานมากขึ้น โดยพลังงานที่ใช้จะมาจาก ไขมัน 50% คาร์โบไฮเดรต 50% ใช้พลังงานไป 12-17 แคลลอรีต่อนาที

– Anaerobic Zone  เป็นโซนที่มีอัตราการเต้นของหัวใจอยู่ประมาณ 80-90% ของ Max Heart Rate  เป็นการออกกำลังเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการออกกำลังกาย จะเป็นช่วงที่ร่างกายจะเริ่มนำพลังงานจากกระบวนการที่ไม่ใช้ออกซิเจนมาใช้ ทำให้เกิดกรดแลคติกซึ่งทำให้กล้ามเนื้อมีอาการปวดและเมื่อยล้า การออกกำลังกายช่วงนี้จะทำให้เหงื่อออกมากและเริ่มหายใจไม่ทัน มีการใช้พลังงานมากขึ้นแต่พลังงานที่ใช้ได้มาจาก ไขมัน 15% และคาร์โบไฮเดรต 85% ใช้พลังงานไป 17- 20 แคลลอรีต่อนาที

– VO2 Max เป็นโซนที่มีอัตราการเต้นของหัวใจอยู่ประมาณ 90-100% ของ Max Heart Rate เป็นระดับที่หนักมาก การเต้นของหัวใจอาจจะขึ้นไปถึงระดับ maximum heart rate พลังงานที่ใช้ได้จากคาร์โบไฮเดรต เป็นหลัก เหมาะสำหรับนักกีฬาเพื่อใช้ฝึกประสิทธิภาพของร่างกาย พลังงานที่ใช้มาจากไขมัน 10% และคาร์โบไฮเดรต 90% ใช้พลังงานไป 20 แคลลอรีต่อนาที

หมายเหตุยี่ห้อและรุ่นอื่นๆก็มีฟังค์ชั่นนี้เหมือนกันที่แสดงให้เห็นในตอนนี้ก็เพื่อให้ทราบว่าในรุ่นประหยัดก็มีเช่นกันแต่เป็นการใช้คู่กับ application บนโทรศัพท์สมารท์โฟน ไม่สามารถใช้ได้เดี่ยวเพียงลำพัง เพราะการประเมินลทั้งหมดจะถูกทำโดยแอพลิเคชั่น

Fitness tracker ยี่ห้อ ไหน ดี
Fitness tracker ยี่ห้อ ไหน ดี
ตัวอย่างการแสดงผล ของ mi band 2 บน mifit แอพพลิเคชั่น

การนับเก้า

 mi band2 สามารถนับเก้าได้โดยไม่ต้องอาศัยแอพลิเคชั่น และแสดงผลได้บนหน้าจอ เราได้ทดสอบใช้มาหลายเดือนแล้วและก็ปรากฎผลเป็นที่น่าพอใจประมาณหนึ่งคือค่าไม่ได้กระโดดไปมาก อันนี้เป็นระยะทางที่เราเดินกลับบ้านทุกวันก็ประมาณใกล้เคียงกัน ระยะทาง 3.55, 3.54 และ 3.61 กิโลเมตร วัดก้าวได้ 3,719 3,555 และ 3,474 ก้าว ตามลำดับ ในส่วนตัวเราว่าใช้ได้เลย

การวัดระยะทางเมื่อไม่ใช้ GPS ทดสอบบนลู่วิ่ง 

ทำการวิ่งทดสอบระยะทางบนลู่วิ่ง 1.6 กิโลเมตร mi band 2 วัดได้ 1.5 กิโลเมตร ถือว่าไม่เลวอีกเหมือนกัน

Mi band 2 ยังมีความสามารถทำอะไรได้อีกหลายอย่าง โดยทำผ่าน app mifit เช่น ถ่ายรูป แสดงผลการออกกำลังกายแชร์กับเพื่อนๆได้ และเข้ากลุ่มร่วมกับผู้ใช้ mifit อื่นๆได้ แต่ในชุมชนของ mifit ยังไม่มากเพียงพอ อีกทั้ง app mifit มันยังเก็บข้อมูลการออกกำลังกายของเราไปประมวลผลเพื่อความแม่นยำในการแสดงผลอีกด้วย ด้วยความเห็นส่วนตัวแล้วเป็นสายรัดข้อมือที่คุ้มที่สุด แค่มีนาฬิกา นับก้าว วัดการเต้นของหัวใจได้ก็เหลือจะคุ้มค่าแล้ว ขณะนี้ Xiaomi ได้เข้ามาทำตลาดในไทย วันก่อนไปพบที่พันธ์ทิพย์ ร้านเขาสวยงามทีเดียว กำลังจัดโปรซื้อแล้วแถมสายรัดข้อมือสีสวยๆอีกหนึ่งอันเอาไว้เปลี่ยนก็เลยซื้อให้ภรรยาเสียหนึ่งอัน