ปัจจัย ใด สำคัญ ที่สุด ในการกำหนด ปริมาณอุปสงค์

ปัจจัย ใด สำคัญ ที่สุด ในการกำหนด ปริมาณอุปสงค์

การกำหนดราคาตามอุปสงค์และอุปทาน
             ภายใต้ระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมหรือทุนนิยมกลไกราคาจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการแก้ไขปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ กล่าวคือ
ราคาของสินค้าและบริการ จะเป็นเครื่องชี้ให้หน่วยธุรกิจตัดสินใจว่าจะผลิตสินค้าและบริการอะไรบ้าง อย่างไร และจำนวนมากน้อยเพียง
ใด ซึ่งในทางเศรษฐศาสตร์แล้วราคาจะถูกกำหนดมาจากอุปสงค์และอุปทานของตลาด
1.1  อุปสงค์  (demand)
             อุปสงค์ (demand) หมายถึง ปริมาณความต้องการซื้อสินค้าหรือบริการชนิดใดชนิดหนึ่งที่ผู้บริโภคมีความเต็มใจที่จะซื้อ และสามารถซื้อหามาได้ในขณะใดขณะหนึ่ง ณ ระดับราคาต่างๆที่ตลาดกำหนดมาให้
จากความหมายดังกล่าว จะเห็นได้ว่าการจะเกิดอุปสงค์ได้นั้น ประกอบด้วย 3 ส่วนที่สำคัญ คือ
             -  ความต้องการซื้อ (wants) ลำดับแรกผู้บริโภคจะต้องมีความอยากได้ในสินค้าหรือบริการเหล่านั้นก่อน อย่างไรก็ตาม การมีแต่ความต้อง
การไม่ถือว่าเป็นอุปสงค์ เพราะอุปสงค์จะต้องเป็นความต้องการที่สามารถซื้อได้และเกิดการซื้อขายขึ้นจริงๆ
             -  ความเต็มใจที่จะจ่าย (willingness to pay) คือการที่ผู้บริโภคมีความยินดีที่จะยอมเสียสละเงินหรือทรัพย์สินที่ตนมีอยู่เพื่อแลกเปลี่ยนกับสินค้าหรือบริการต่างๆเหล่านั้นมาเพื่อใช้ในการ
บำบัดความต้องการของตน
             -  ความสามารถที่จะซื้อ (purchasing power or ability to pay) ถือว่าเป็นองค์ประกอบที่มีความสำคัญ คือไม่ว่าบุคคลนั้นจะมีความอยากได้หรือความต้องการในสินค้าหรือบริการมากน้อยเพียงใดก็ตาม ถ้าปราศจากความสามารถที่จะซื้อหรือจัดหามาแล้วการซื้อขายจริงๆจะไม่เกิดขึ้น นั่นคือ จะเป็นแต่เพียงความต้องการที่มีแนวโน้มจะซื้อ (potential
demand) เท่านั้น ซึ่งความสามารถที่จะซื้อโดยปกติจะถูกกำหนดจากขนาดของทรัพย์สินหรือรายได้ที่บุคคลนั้นมีหรือหามาได้ โดยมีความสัมพันธ์
ในทิศทางเดียวกัน กล่าวคือ ถ้ามีรายได้หรือทรัพย์สินมากความสามารถ ที่จะซื้อจะมีสูง ถ้ามีน้อยก็จะมีความสามารถซื้อต่ำ

1.2  กฎของอุปสงค์  (Law of Demand)
             ภายใต้ข้อสมมติว่าปัจจัยตัวอื่นๆที่มีผลต่ออุปสงค์มีค่าคงที่ (other-things being equal) ปริมาณอุปสงค์ของสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่งจะมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้าม (ผกผัน) กับระดับราคาของสินค้าชนิดนั้น (inverse relation) กล่าวคือ เมื่อราคาลดลงปริมาณอุปสงค์จะเพิ่มขึ้น และเมื่อราคาสูงขึ้นปริมาณอุปสงค์จะลดลง ลักษณะทั่วไปของเส้นอุปสงค์จึงเป็นเส้นทอดลงจากซ้ายไป
ขวา (สินค้าปกติ)

ตัวอย่างตารางแสดงอุปสงค์การซื้อเงาะของนาย ก 

ราคา  (บาท) 

ปริมาณอุปสงค์ (กิโลกรัม) 

10

6

20

5

30

4

40

3

50

2

60

1

ที่มา : http://sagehouse.igetweb.com/articles/517676/หน่วยการเรียนรู้ที่

--2--การกำหนดราคาและค่าจ้างในระบบเศรษฐกิจ.html

ปัจจัย ใด สำคัญ ที่สุด ในการกำหนด ปริมาณอุปสงค์

ที่มา : http://sagehouse.igetweb.com/articles/517676/หน่วยการเรียนรู้ที่

--2--การกำหนดราคาและค่าจ้างในระบบเศรษฐกิจ.html

1.3  ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่ออุปสงค์
             เส้นอุปสงค์ที่กล่าวมาแล้วเป็นความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณความต้องการซื้อกับราคาของสินค้าและบริการนั้น โดยกำหนด ให้ปัจจัยอื่นๆคงที่ หากเรานำปัจจัยตัวอื่นเข้ามาพิจารณาจะเห็นว่าปริมาณความต้องการซื้อสินค้าหรือปริมาณอุปสงค์มิได้ขึ้นอยู่กับราคาของสินค้าและบริการนั้นแต่
เพียงอย่างเดียว ยังขึ้นอยู่กับปัจจัยตัวอื่นๆซึ่งได้แก่  
             -  ราคาสินค้าชนิดอื่น ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าเป็นสินค้าที่ใช้ประกอบกันหรือใช้ทดแทนกัน เช่น กาแฟกับน้ำตาลซึ่งเป็นสินค้าที่ใช้ประกอบกัน (complementary goods) ถ้าราคาของกาแฟสูงขึ้น อุปสงค์ในกาแฟจะลดลง ทำให้ปริมาณความต้องการซื้อหรืออุปสงค์ในน้ำตาลลดลงด้วย ในทางกลับกัน ถ้าราคาของกาแฟลดลง อุปสงค์ในกาแฟจะเพิ่มขึ้น ส่งผลให้อุปสงค์ในน้ำตาลเพิ่มขึ้นตาม ดังนั้นสำหรับกรณีสินค้าที่ใช้ประกอบกัน ราคาของสินค้าชนิดหนึ่งเพิ่มขึ้น-ลดลง จะทำให้ปริมาณความต้องการซื้อหรืออุปสงค์ในสินค้าอีกชนิดหนึ่งลดลง-เพิ่มขึ้น ตามลำดับ แต่ถ้าเป็นสินค้าที่ใช้ทดแทนกัน (substitution goods) เช่น เนื้อไก่กับเนื้อหมู เมื่อราคาของเนื้อไก่สูงขึ้น ผู้บริโภคจะหันไปบริโภคเนื้อหมูแทนเนื้อไก่ เนื่องจากราคาเนื้อหมูถูกกว่าเนื้อไก่โดยเปรียบเทียบ นั่นคือปริมาณความต้องการซื้อหรืออุปสงค์ในเนื้อไก่จะลดลง ส่วนของเนื้อหมูจะเพิ่มขึ้น ตรงกันข้าม ถ้าราคาเนื้อไก่ลดลง จะส่งผลให้อุปสงค์ในเนื้อไก่และเนื้อหมูเพิ่มขึ้นและลดลงตามลำดับ นั่นคือ ถ้าเป็นสินค้าที่ใช้ทดแทนกันราคาของสินค้าชนิดหนึ่งเพิ่มขึ้น-ลดลง จะทำให้ปริมาณความต้องการซื้อหรืออุปสงค์ในสินค้าอีกชนิดหนึ่งเพิ่มขึ้น-ลดลง ตามลำดับ
             -  จำนวนของประชากร แน่นอนว่าจำนวนประชากรกับปริมาณความต้องการซื้อหรืออุปสงค์ในสินค้าใดๆจะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียวกัน กล่าวคือ เมื่อประชากรเพิ่มขึ้น-ลดลง ความต้องการในสินค้าและบริการต่างๆก็จะเพิ่มขึ้น-ลดลงตาม
             -  รสนิยมของผู้บริโภค ปริมาณความต้องการซื้อหรืออุปสงค์ในสินค้าใดๆขึ้นอยู่กับ กาลเวลา แฟชั่น วัย เพศ ระดับการศึกษา ความชอบ ฯลฯ ซึ่งเป็นรสนิยมของแต่ละบุคคล ตัวอย่างเช่น อุปสงค์ในกางเกงยีนในกลุ่มวัยรุ่นจะมากกว่าในกลุ่มของผู้ใหญ่ (วัย) อุปสงค์ในเครื่องสำอางของกลุ่มผู้ชายจะน้อยกว่าของกลุ่มผู้หญิง (เพศ) ฯลฯ
             -  ฤดูกาล เช่น ในฤดูร้อน อุปสงค์ในผ้าห่มจะมีน้อยลง ส่วนอุปสงค์ในเครื่องปรับอากาศและ พัดลมจะมีเพิ่มขึ้น หรืออย่างในฤดูหนาว อุปสงค์ในครีมบำรุงผิวจะมีมากกว่าในฤดูร้อน และในฤดูฝนอุปสงค์ในร่มจะเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับฤดูอื่นๆ เป็นต้น
             -  วัฒนธรรม ประเพณี เช่น ผู้บริโภคที่นับถือศาสนาอิสลามจะไม่มีอุปสงค์ในเนื้อหมูเลย หรือผู้บริโภคที่เป็นชาวจีนส่วนใหญ่จะไม่นิยมการบริโภคเนื้อวัว ทำให้ปริมาณความต้องการซื้อหรืออุปสงค์ในเนื้อวัวมีน้อย ฯลฯ
             -  การคาดคะเนราคาในอนาคตของผู้บริโภค กล่าวคือถ้าผู้บริโภคคาดว่าในอนาคตราคาสินค้าจะสูงขึ้น ผู้บริโภคก็จะมีอุปสงค์ในสินค้าเหล่านั้นในปัจจุบันเพิ่มขึ้น ตรงกันข้ามถ้าคาดว่าราคาสินค้าจะลดลง ผู้บริโภคก็จะชะลอการใช้จ่ายในปัจจุบันลง นั่นคืออุปสงค์ของสินค้าเหล่านั้นในปัจจุบันจะน้อยลง

1.4  พฤติกรรมการบริโภคกับทฤษฎีอรรถประโยชน์
             นอกจากปัจจัยต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้ว พฤติกรรมการบริโภคก็เป็นตัวกำหนดหรือมีอิทธิพลต่อปริมาณความต้องการซื้อหรืออุปสงค์ในสินค้าและบริการต่างๆ   ซึ่งมีทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการบริโภค  คือ ทฤษฎีอรรถประโยชน์
คำว่า  อรรถประโยชน์  (Marginal  Utility)  นักเศรษฐศาสตร์ได้ให้ความหมายว่า  ความพอใจที่บุคคลได้รับจากการบริโภคสินค้า
ในทางเศรษฐศาสตร์นั้น  ความต้องการและความสามารถในการซื้อเรียกว่า  อุปสงค์ (Demand) หากสมมติว่า  เราเป็นคนที่มีเหตุมีผลในทางเศรษฐศาสตร์  การตัดสินใจว่าจะซื้อสินค้าและบริการหรือไม่นั้นก็เป็นไปตามหลักการคิดแบบหน่วยสุดท้าย  กล่าวคือต้องมีการเปรียบเทียบความพึงพอใจที่จะได้รับจากการบริโภคเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งหน่วย (Marginal Utility: MU) กับต้นทุนที่เกิดขึ้นจากการบริโภคหน่วยนั้นที่เพิ่มขึ้น (Marginal Cost: MC) หาก MU ที่ได้รับเท่ากันหรือมากกว่า MC ที่เกิดขึ้นจากการบริโภคแล้ว  ก็จะทำการซื้อสินค้าชิ้นนั้น
             อย่างไรก็ดี  MU ที่ได้รับจากการบริโภคนั้นไม่ได้คงที่เสมอไป  ลองนึกถึงความพึงพอใจที่ได้รับจากการได้กินข้าวแกงจานแรกกับความพึงพอใจที่ได้รับจากการกินข้าวแกงจานที่สอง  สาม  และสี่   จะเห็นได้ว่าข้าวจานแกงแรกให้ความพึงพอใจกับเรามากกว่าข้าวจานต่อๆ ไป  การลดลงของความพึงพอใจที่ได้รับจากการบริโภคเมื่อมีการบริโภคสินค้าหรือบริการชนิดเดิมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ  นั้น  เรียกว่า “กฎการลดน้อยถอยลงของอรรถประโยชน์” (Law of Diminishing Marginal Utility)
             ถ้าเราเพิ่มข้อสมมติเข้าไปอีกว่า  ความพึงพอใจสามารถตีค่าออกมาเป็นตัวเงินได้  เช่น  ข้าวจานแรกให้ MU กับเราเท่ากับ 30 บาท  ข้าวจานที่สองให้ MU  กับเราเท่ากับ 20 บาท  ถ้าข้าวแกงราคาจานละ 25 บาท (MC)  หากตัดสินใจตามหลักเศรษฐศาสตร์  เราก็จะซื้อข้าวแกงจานแรกมากินเนื่องจาก MU>MC  แต่จะไม่ซื้อข้างแกงจานที่สองเพราะความพึงพอใจที่ได้รับน้อยกว่าต้นทุนที่เกิดขึ้นจากการบริโภค หากข้าวแกงราคาจานละ 15 บาท  เราก็จะซื้อข้าวแกงเพิ่มขึ้น  จากเดิมที่เคยซื้อแค่จานเดียว     ก็เพิ่มมาเป็นสองจาน  เพราะข้าวแกงจานที่สองนั้น MU>MC
ด้วยสมมติฐานทั้งสองข้อนี้เองที่ทำให้เกิด กฎของอุปสงค์ (Law of Demand)  ที่กล่าวถึงความสัมพันธ์ในเชิงผกผันระหว่างราคาสินค้าและบริการกับปริมาณซื้อสินค้านั้น  เมื่อใดที่ราคาสินค้าเพิ่มขึ้น  การซื้อสินค้าก็จะลดลง  ในทางตรงกันข้าม  เมื่อราคาสินค้าลดลง  ความต้องการซื้อสินค้านั้นก็จะเพิ่มขึ้น

1)  กฎการลดน้อยถอยลงของ          อรรถประโยชน์  (Law  of  Diminishing  Marginal  Utility)
             เมื่อผู้บริโภคได้รับสินค้าหรือบริการเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ  โดยที่รสนิยมและอุปนิสัยของผู้บริโภคไม่เปลี่ยนแปลง  อรรถประโยชน์ของผู้บริโภคจะเพิ่มขึ้นในระยะแรก  แล้วค่อยๆลดลง  จนถึงจุดหนึ่งส่วนที่เพิ่มจะเท่ากับศูนย์  จะลดลงต่ำกว่าศูนย์ซึ่งเป็นไปตามกฎการลดน้อยถอยลงของอรรถประโยชน์
             -  อรรถประโยชน์เพิ่ม  (Marginal  Utility : MU)  คือ อรรถประโยชน์รวม  (Total  Utility : TU)  คือ  ผลรวมของอรรถประโยชน์เพิ่มที่บุคคลได้รับจากการบริโภคสินค้าและบริการชนิดใดชนิดหนึ่งขณะนั้น

             ตัวอย่าง  อรรถประโยชน์ที่เกิดจากการบริโภคน้ำของบุคคลหนึ่ง   

น้ำแก้วที่ 

อรรถประโยชน์เพิ่ม (MU) หน่วย

อรรถประโยชน์รวม (TU)  หน่วย

1

2

3

4

5

6

7

8

10

8

6

4

2

0

-2

-4

10

18

24

28

30

30

28

24

ที่มา : http://sagehouse.igetweb.com/articles/517676/หน่วยการเรียนรู้ที่

--2--การกำหนดราคาและค่าจ้างในระบบเศรษฐกิจ.html

             เราเพิ่มข้อสมมติว่าความพึงพอใจสามารถแทนเป็นค่าได้  จะเห็นได้ว่าอรรถประโยชน์ที่เกิดจากการดื่มน้ำแก้วแรกจะมีค่ามากที่สุด  แต่อรรถประโยชน์ที่เกิดจากการดื่มน้ำแก้วต่อๆไปเริ่มลดลงจนกระทั่งแก้วที่หกรู้สึกอิ่มทันทีคือไม่มีอรรถประโยชน์เลย  คือ  เท่ากับศูนย์  แต่ถ้าเรายังดื่มน้ำเข้าไปต่อแล้วนั้นนอกจากจะไม่มีอรรถประโยชน์แล้วให้โทษอีกด้วยนั่นคืออรรถประโยชน์ติดลบ 
1.4  อุปทาน  (supply)
             อุปทาน (supply) หมายถึงปริมาณความต้องการเสนอขายสินค้าหรือบริการชนิดใดชนิดหนึ่ง ที่ผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการมีความเต็มใจที่จะเสนอขาย และสามารถจัดหามาขายหรือให้บริการได้ในขณะใดขณะหนึ่ง ณ ระดับราคาต่างๆที่ตลาดกำหนดมาให้
จากความหมายของอุปทาน จะเห็นได้ว่าอุปทานประกอบด้วย 2 ส่วนสำคัญ คือ
             -  ความเต็มใจที่จะเสนอขายหรือให้บริการ (willingness) กล่าวคือ ณ ระดับราคาต่างๆ ที่ตลาดกำหนดมาให้ ผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการมีความยินดีหรือเต็มใจที่จะเสนอขายสินค้าหรือให้บริการตามความต้องการซื้อของผู้บริโภค
             -  ความสามารถในการจัดหามาเสนอขายหรือให้บริการ (ability to sell) กล่าวคือ ผู้ผลิต หรือผู้ประกอบการจะต้องจัดหาให้มีสินค้าหรือบริการอย่างเพียงพอที่จะตอบสนองความต้องการซื้อของผู้บริโภค ณ ระดับราคาของตลาดในขณะนั้นๆ (สามารถเสนอขายหรือให้บริการได้) เมื่อกล่าวถึงคำว่า อุปทาน จะเป็นการมองทางด้านของผู้ผลิตซึ่งตรงข้ามกับอุปสงค์ที่เป็นการมองทางด้านของผู้บริโภค ในทางเศรษฐศาสตร์แล้ว ความสัมพันธ์ของราคาสินค้าที่มีต่ออุปทานของสินค้านั้นจะเป็นไปตามกฎของอุปทาน (Law of Supply)
1.5  กฎของอุปทาน  (Law of Supply)
          ภายใต้ข้อสมมติว่าปัจจัยตัวอื่นๆที่มีผลต่ออุปทานมีค่าคงที่ ปริมาณอุปทานของสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่งจะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียวกันกับราคาของสินค้าชนิดนั้น กล่าวคือเมื่อราคาสินค้าสูงขึ้นปริมาณอุปทานจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้ผลิตมีความต้องการที่จะเสนอขายมากขึ้น เพราะคาดการณ์ว่าจะได้กำไรสูงขึ้น ในทางกลับกัน เมื่อราคาสินค้าลดลงปริมาณอุปทานจะน้อยลง เนื่องจากคาดการณ์ว่ากำไรที่ได้จะลดลง ลักษณะทั่วไปของเส้นอุปทานจึงเป็นเส้นที่มีลักษณะที่ลากเฉียงขึ้นจากซ้ายไปขวา

             ตัวอย่างตารางแสดงอุปทาน การขายเงาะของนาย ข

ราคา  (บาท) 

ปริมาณอุปทาน (กิโลกรัม) 

10

1

20

2

30

3

40

4

50

5

60

6

ที่มา : http://sagehouse.igetweb.com/articles/517676/หน่วยการเรียนรู้ที่

--2--การกำหนดราคาและค่าจ้างในระบบเศรษฐกิจ.html

ปัจจัย ใด สำคัญ ที่สุด ในการกำหนด ปริมาณอุปสงค์

ที่มา : http://sagehouse.igetweb.com/articles/517676/หน่วยการเรียนรู้ที่

--2--การกำหนดราคาและค่าจ้างในระบบเศรษฐกิจ.html

1.6  ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่ออุปทาน
             เส้นอุปทานที่กล่าวมาแล้วเป็นความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณความต้องการขายกับราคาของสินค้าหรือบริการนั้น โดยกำหนดให้ปัจจัยอื่นๆคงที่ หากเรานำปัจจัยตัวอื่นเข้ามาพิจารณา จะเห็นว่าปริมาณความต้องการขายสินค้าหรือปริมาณอุปทานมิได้ขึ้นอยู่กับราคาของสินค้าหรือบริการนั้นแต่เพียงอย่างเดียว แต่ยังขึ้นอยู่กับปัจจัยตัวอื่นๆซึ่งได้แก่
             -  ต้นทุนการผลิต เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่าปริมาณความต้องการเสนอขายหรืออุปทาน จะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางกลับกันกับต้นทุนการผลิตของผลผลิตหรือสินค้าหรือบริการนั้นๆ กล่าวคือ ภายใต้ต้นทุนการผลิตระดับหนึ่งถ้าต้นทุนการผลิตต่อหน่วยของสินค้าหรือบริการสูงขึ้น ความสามารถในการเสนอขายหรืออุปทานจะมีปริมาณน้อยลง              -  ราคาปัจจัยการผลิต เนื่องจากราคาปัจจัยการผลิตเป็นตัวกำหนดต้นทุนการผลิตของสินค้าหรือบริการ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของราคาปัจจัยการผลิตทำให้ต้นทุนการผลิตเปลี่ยนแปลงในทิศทางเดียวกัน เช่น ถ้าค่าจ้างแรงงานสูงขึ้นจะทำให้ต้นทุนการผลิตสินค้าโดยทั่วไปสูงขึ้น ส่งผลให้ปริมาณความต้องการเสนอขายหรืออุปทานลดลงได้ และถ้ากลับกันก็จะให้ผลในทางตรงกันข้าม
             -  ราคาสินค้าชนิดอื่น การเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าชนิดหนึ่งอาจมีผลกระทบต่อปริมาณความต้องการเสนอขายหรืออุปทานของสินค้าชนิดหนึ่งได้ เช่น ถ้าราคาส้มลดลง ชาวสวนอาจหันไปปลูกมะนาวแทน ทำให้ปริมาณความต้องการขายส้มลดลง ส่วนของมะนาวเพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้ผลิตรายดังกล่าวคาดว่าตนจะได้รับกำไรเพิ่มขึ้นจากการปลูกมะนาวแทนส้ม
             -  เทคโนโลยีการผลิต ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมีผลทำให้ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยลดลง เนื่องจากปัจจัยการผลิตจำนวนเท่าเดิมผู้ผลิตสามารถผลิตสินค้าได้ปริมาณมากขึ้น นั่นคือ ความสามารถในการเสนอขายหรืออุปทานของสินค้าของผู้ผลิตมีเพิ่มขึ้น
             -  ภาษี จำนวนภาษีที่รัฐบาลจัดเก็บจากการขายสินค้าและบริการเป็นปัจจัยหนึ่งที่เป็นตัวกำหนดต้นทุนการผลิตของสินค้าและบริการ ถ้ารัฐบาลเก็บภาษีในอัตราสูงจะทำให้ต้นทุนการผลิตสินค้าสูงขึ้น ทำให้อุปทานลดลง แต่ถ้ารัฐบาลเก็บภาษีในอัตราลดลง ทำให้ต้นทุนการผลิตสินค้าลดลง และอุปทานจะเพิ่มขึ้น
             -  การคาดการณ์ราคาสินค้าในอนาคต ถ้าผู้ผลิตคาดการณ์ว่าราคาสินค้าในอนาคตจะสูง ขึ้น ผู้ผลิตจะชะลอปริมาณการเสนอขายในปัจจุบันลง เพื่อจะเก็บไว้รอขายในอนาคต (อุปทานลดลง) ในทางกลับกัน ถ้าคาดการณ์ว่าราคาสินค้าในอนาคตจะลดลง ผู้ผลิตจะเพิ่มปริมาณการเสนอขายในปัจจุบันมากขึ้น (อุปทานเพิ่มขึ้น)
             -  สภาพดินฟ้าอากาศ ส่วนใหญ่จะมีอิทธิพลต่อผลผลิตทางการเกษตร ถ้าฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาลผลผลิตก็จะมีมากและอุดมสมบูรณ์ แต่ถ้าสภาพดินฟ้าอากาศไม่ดีปริมาณผลผลิตก็จะมีน้อย
             กล่าวโดยสรุป จะเห็นได้ว่ามีปัจจัยต่างๆมากมายที่เป็นตัวกำหนดหรือมีอิทธิพลต่อปริมาณความต้องการเสนอขายหรืออุปทานของสินค้าและบริการต่างๆ ซึ่งในที่นี้จะขอกล่าวแต่เพียงเท่านี้

ปัจจัย ใด สำคัญ ที่สุด ในการกำหนด ปริมาณอุปสงค์

ปัจจัย ใด สำคัญ ที่สุด ในการกำหนด ปริมาณอุปสงค์

ปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการกำหนดปริมาณอุปสงค์ คือข้อใด

ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอุปสงค์.
ราคาสินค้าและบริการ (ตามกฎของอุปสงค์).
รายได้ของผู้บริโภค.
รสนิยมของผู้บริโภค.
สมัยนิยม.
การโฆษณาและเทคนิคการตลาด.
ราคาสินค้าหรือบริการอื่นๆ ที่ต้องใช้ร่วมกันหรือแทนกันได้.
การคาดคะเนการขึ้นลงของราคาของผู้บริโภค.
การคาดคะเนการขึ้นลงของราคาของผู้บริโภค.

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดอุปสงค์มีอะไรบ้าง

ปัจจัยหนึ่งที่สามารถส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอุปสงค์คือรายได้ของผู้บริโภค หากว่าผู้บริโภคต้องการซื้อชนิดหนึ่งมากขึ้นเมื่อมีรายได้มากขึ้น สินค้าชนิดนั้นเรียกว่าเป็นสินค้าปกติ แต่หากว่าผู้บริโภคต้องการซื้อสินค้าชนิดหนึ่งน้อยลงเมื่อมีรายได้มากขึ้นแล้ว สินค้าชนิดนั้นจะเรียกว่าเป็นสินค้าด้อย

ข้อใดคือปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่เป็นตัวกำหนดอุปทานของผู้ผลิต

ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอุปทาน.
การที่ผู้ผลิตจะผลิตสินค้าเพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภคหรือผู้ซื้อมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ ดังนี้.
1. ราคาสินค้าและบริการในขณะนั้นๆ (กฎของอุปทาน).
2. ต้นทุนการผลิตที่เปลี่ยนแปลง (วัตถุดิบ).
3. เทคโนโลยีการผลิตที่นำมาใช้.
4. ฤดูกาล.

ข้อใดเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกําหนดอุปสงค์และอุปทานให้แตกต่างกัน

ปัจจัยกำหนดอุปสงค์สำคัญที่มักกล่าวถึงได้แก่ รายได้ ราคาของสินค้าอื่นที่เกี่ยวข้อง รสนิยม ความคาดหวัง จำนวนผู้ซื้อ ในขณะที่ปัจจัยที่กำหนดอุปทานมักกล่าวถึง ต้นทุนปัจจัยการผลิต เทคโนโลยี ความคาดหวัง และจำนวนผู้ขาย