ผู้ก่อตั้งแคว้นโยนกเชียงแสนคือใคร

ในปี พ.ศ. 1316 เจ้าสิงหาวัติโอรส พระเจ้ากาลหงษ์แห่งเมืองหนองแส (ตาลีฟู) - (นครไทยเทศ) ได้อพยพข้ามแม่น้ำสาระวิน มาถึงลุ่มแม่น้ำโขงเป็นเขตแดนสุวรรณโคมคำที่ร้างไป เพราะแม่น้ำโขงได้เปลี่ยนทิศทางกัดเซาะตลิ่ง ทำให้เมืองจมลงในแม่น้ำโขงเหลือเป็นเกาะดอนมูลฝั่งเชียงแสน เจ้าสิงหนวัติจึงได้มาพำนักอยู่ริมฝั่งแม่น้ำสาย(ละว้านที) ซึ่งมีพวกลัวะ ขอม เมง  อาศัยอยู่กระจายตามหุบเขาและที่ราบริมแม่น้ำสายสำคัญ พระองค์ได้สร้างเมืองโยนกนาคพันธ์เชียงแสน เป็นที่ตั้งถิ่นฐานของแคว้นโยนกของชาวไตยวน พระองค์ได้รวบรวมเมืองต่าง ๆ ตั้งแต่ลุ่มแม่น้ำสาระวิน แม่น้ำกก แม่น้ำโขง ขับไล่ชาวกร่อม ออกจากอุโมงคเสลานคร และเวียงฝาง-ไชยปราการ ในปี พ.ศ. 1318 ทรงแต่งตั้งขุนไทย-ลัวะ เป็นหัวหน้าปกครองอุโมงคเสลานคร 

พระเจ้าสิงหนวัติ ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้นำชาวไตยวนมาปกครองดินแดนแคว้นโยนกแหล่งกำเนิดล้านนาและล้านช้าง ได้ครองราชย์ พ.ศ. 1316-1367 รวม 51 ปี

  • พระเจ้าพันธติ องค์ที่ 2 ครองราชย์ 1368-1452
  • พระเจ้าอชุตราช องค์ที่ 3 ครองราชย์ 1453

พระมหากัสสะปะเถระ ได้เดินทางมาในปี 1454 ได้นำเอาพระอัฏฐิธาตุ พระธาตุขวัญเบื้องซ้ายมาถวายพระองค์ทรงสร้างสถูปบรรจุพระอัฏฐิธาตุไว้ที่ดอยตุง ทำตุงตะขาบยาว 1000 วาปักไว้ที่บนดอยปู่เจ้าไว้เป็นที่เคารพสักการะกาลเวลาที่สิ้นสุดของเวียงโยนกนาคพันธ์เกิดแผ่นดินไหวเมืองล่มจมเป็นหนองน้ำ เรียกว่า เวียงหนองล่ม อ.เชียงแสน จ.เชียงราย

เวียงปรึกษา - ขุนแต่งเมือง
    เวียงปรึกษา (เบิกสา) ปัจจุบันก็คือ เชียงแสนน้อย ตั้งอยู่ที่บ้านสบคำ ต.เวียง อ.เชียงแสน จ.เชียงราย
    อาณาจักรโยนกนาคนครนี้มีพระเจ้าแผ่นดินหลายพระองค์ เช่น พระเจ้าพังคราช พระเจ้าพรหม พระเจ้าไชยสิริ ต่อมาประมาณ พ.ศ. ๑๕๕๒ อาณาจักรโยนกนาคนครในสมัยพระเจ้ามหาชัยชนะ ได้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน เนื่องมาจากพนังกั้นน้ำหรือเขื่อนเหนือน้ำพังทลายลง จนทำให้ที่ตั้งเมืองกลายเป็นหนองน้ำใหญ่
    บริเวณที่เรียกว่าเวียงหนองล่ม บ้านท่าข้าวเปลือก ซึ่งอยู่ไม่ห่างจากทะเลสาปเชียงแสน และบริเวณที่แม่น้ำกกต่อกับแม่น้ำโขง ใกล้วัดพระธาตุผาเงาและพระธาตุดอยตุง จังหวัดเชียงราย จนเป็นเหตุให้บรรดาราชวงศ์กษัตริย์และขุนนางของโยนกนาคนครเสียชีวิตด้วยเหตุน้ำท่วมเมืองทั้งหมด พวกชาวบ้านที่เหลือรอดชีวิตได้ประชุมปรึกษากันเลือกตั้งให้คนกลุ่มหนึ่งที่มิใช่เชื้อสายราชวงศ์ขึ้นดูแลพวกตน เรียกว่า ขุนแต่งเมือง และเรียกชุมชนแห่งนั้นว่า “เวียงปรึกษา” ปรากฏว่าได้ ขุนลังเป็นผู้นำ ก่อนจะย้ายศูนย์กลางการปกครองมาตั้งบนเวียงริมฝั่งแม่น้ำโขง ปกครองด้วยการประชุมหารือกันในหมู่หัวหน้าชุมชน ทำให้เวียงแห่งใหม่นี้มีชื่อเรียกว่า เวียงปรึกษา วิธีปกครองแบบปรึกษา เป็นจุดเริ่มต้นการปกครองแบบประชาธิปไตยในปัจจุบัน มีการเลือกตั้งขุนแต่งเมืองติดกันถึง 15 คน สามารถใช้มาจนถึงพ.ศ. ๑๑๘๑ เป็นเวลาถึง ๙๓ ปี ก็เป็นอันอวสานของเวียง เนื่องจากเมื่อปีพ.ศ. ๑๑๘๑ พระญากาฬวรรณดิศราช หรือพระเจ้าอนิรุทธ กษัตริย์แห่งทวารวดี ได้เสด็จขึ้นมาสนับสนุนพระญาลวจักรราช ผู้มีเชื้อสายของปู่เจ้าลาวจก ขึ้นเป็นกษัตริย์ของเวียงปรึกษา พระญาลวจักรราช จึงตั้งชื่อให้ราชวงศ์ใหม่ของพระองค์นี้ว่า ราชวงศ์ลวจักรราช หรือราชวงศ์ลาว หลังจากขึ้นครองราชเป็นกษัตริย์ พระองค์จึงทรงเปลี่ยนนามจากเวียงปรึกษา เป็นเมืองหิรัญนครโดยมีศูนย์กลางอยู่แถวๆแถบแม่น้ำสาย และดอยตุง ในเขตอำเภอแม่สาย และดอยตุง ในเขตอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย หลังจากนั้นในสมัยพระเจ้าลาวเคียง พระองค์ได้สร้างเมืองเงินยาง หรือเมืองเชียงแสนหรือตรงเวียงเชียงแสนในปัจจุบัน และย้ายเข้าไปปกครองที่นั่น มีกษัตริย์ปกครองสืบเนื่องมาอีกถึง ๖๒๑ ปี รวม ๒๔ รัชกาล

ดอยตุง : ดอยแห่งพระธาตุเจดีย์
- พระธาตุดอยตุง
    ตำนานเรื่องเล่าประวัติเมืองโบราณ และบุคคลยุคก่อนประวัติศาสตร์ล้านนา มักจะสอดแทรกประวัติพระพุทธศาสนาเป็นพื้นฐาน ในการกำหนดยุคกาลเวลาให้สอดรับพุทธกาล  รวมทั้งสร้างชื่อเมืองและชื่อผู้ปกครองก็รับคติมาจากบุคคลในพระพุทธประวัติ เพื่อให้เกิดความเลื่อมใส ศรัทธา และเกิดสิทธิธรรมต่อเจ้าผู้ปกครองบ้านเมือง ดังตำนานพระธาตุดอยตุงกับปู่เจ้าลาวจกต้นราชวงศ์ลวจักรราช

ดอยแห่งตุง
ตามตำนานเล่าว่าครั้งทำสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ ๑ คือปีที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา องค์ปัจจุบันปรินิพพาน (พ.ศ.๑) มีพระเจ้าอชาตศัตรูมหาราชเป็นองค์อุปถัมภ์ มีพระมหากัสสปะเถระเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ เมื่อเสร็จแล้วพระมหากัสสปะอัญเชิญพระธาตุรากขวัญเบื้องซ้าย (กระดูกไหปลาร้า) มายังเมืองโยนกนาคพันธ์ตรงกับสมัยพระเจ้าอชุตตราช กษัตริย์ลำดับที่ ๓ แห่งราชวงศ์สิงหนวัติ พระองค์อาราธนาพระธาตุไปประดิษฐานบนก้อนหินทรงมะนาวผ่าซีกบนดอยดินแดง พระธาตุจมลงในก้อนหินนั้นแล้วพระมหากัสสปะจึงเนรมิตตุงยาว ๗,๐๐๐ วา กว้าง ๕๐๐ วา เสาตุงสูง ๘,๐๐๐ วา เป็นหมายของพระธาตุ ผู้คนจึงพากันเรียก “ดอยตุง”
    ในครั้งนั้นพระเจ้าอชุตตราชมอบทองคำให้ปู่เจ้าและย่าเจ้าลาวจกผู้เป็นใหญ่แห่งพวกมิลักขุทั้งหลายพร้อมกำหนดอาณาเขตรอบพระธาตุด้านละ ๓,๐๐๐ วาและมิลักขุ ๕๐๐ ครัวอยู่เฝ้าบำรุงพระธาตุปู่เจ้าและย่าเจ้าลาวจกอยู่เฝ้าบำรุงพระธาตุถึง ๒๐๐ ปีด้วยอานิสงค์จึงได้ไปเกิดเป็นเทวบุตรและเทวธิดาบนสวรรค์

ดอยสามเส้า ดอยใต้(ซ้ายมือ) เป็นที่อยู่ของปู่เจ้า ดอยกลางเป็นที่อยู่ของย่าเจ้าและดอยเหนือ(ขวามือ)ชื่อดอยท่า เป็นที่อยู่ของลูกชายสามคน ซึ่งดอยใต้ของปู่เจ้านี่เองคือที่ตั้งของพระธาตุดอยตุงในปัจจุบัน
ต่อมาครั้งกระทำสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ ๒ ในสมัยพระเจ้ากาฬาโศกราช (พญาธรรมกาลาโสกะ) เมื่อ พ.ศ.๑๐๐ ตรงกับพระเจ้ามังรายนราช กษัตริย์ลำดับที่ ๔ แห่งราชวงศ์สิงหนวัติ เมืองโยนกนาคพันธ์ พระมหาวชิรโพธิ์อรหันต์ผู้ร่วมกระทำสังคายนาด้วยนั้นได้อาราธนาพระธาตุจากเมืองราชคฤห์โดยการอธิษฐานให้พระธาตุเหาะมายังโยนกนคร 
    พระเจ้ามังรายนราชจึงอัญเชิญไปประดิษฐานบนดอยตุงเมื่อพระธาตุจมลงบนก้อนหินก้อนเดิมแล้วพระองค์ทรงก่อเจดีย์ครอบก้อนหินนี้ไว้ พระเจดีย์สูง ๗ ศอก บุเงินจังโทจังโกประดับแก้วเจ็ดประการ ใส่ขันหมากพลูคำแล้วสมโภชฉลอง ๓ เดือน

ดอยตุง : พระธาตุเจดีย์สององค์ ครั้นสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชทรงสังคายนาพระไตรปิฎก ครั้งที่ ๓ เมื่อ พ.ศ.๒๑๙ พระมหารักขิตเถระได้อาราธนาพระธาตุ ๙ องค์มายังโยนกนครตรงกับสมัยพระเจ้าเพินธิราช แห่งราชวงศ์สิงหนวัติพระองค์แบ่งพระธาตุเป็น ๓ ส่วน ส่วนแรกพระมหารักขิตอัญเชิญไปดอยโยนบัพตะ ส่วนที่สองอุปราชแสงเมืองอัญเชิญไปภูกวาวหัวเวียงไชยนารายณ์และอีกส่วนพระเจ้าเพินธิราชอัญเชิญขึ้นดอยตุงแต่บรรจุในหินก้อนเดิมที่เคยบรรจุพระธาตุครั้งก่อนไม่ได้เนื่องจากมีพระเจดีย์ครอบทับอยู่ พระองค์จึงทรงบรรจุเรียงริมพระเจดีย์นั้นแล้วก่อพระเจดีย์ขึ้นครอบอีกองค์

การจุติของปู่เจ้าลาวจก
ตามตำนานกำเนิดของปู่เจ้าลาวจกแบ่งเป็นสองภพ ภพที่ 1 กำเนิดในสมัยพระเจ้าอชุตตราชในราชวงศ์สิงหนวัติทรงหมายให้ปู่เจ้าและย่าเจ้ายาจกหัวหน้าชาวลัวะพร้อมทั้งบริวารผู้สืบเชื้อสายมาจากขุนสือไทย ช่วยกันดูแลรักษาบำรุงพระธาตุดอยตุงที่บรรจุพระบรมสาริกธาตุและตุงยาว 7000 วา กำหนดอาณาเขตรอบพระธาตุด้านละ 3000 วา และชาวพื้นเมืองอีก 500 ครัวเรือน เฝ้ารักษาพระธาตุถึง 200 ปีด้วยอานิสงค์จึงได้เกิดเป็นเทพบุตร เทพธิดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

ส่วนบริวารชาวมิลักขุหรือลัวะของปู่เจ้าก็อาศัยอยู่บนดอยตุงตามซอกน้อยราวเขาภูดอย อีกส่วนหนึ่งเริ่มค้นพบแหล่งแร่เหล็กนำมาทำเครื่องมือ มีด พร้า จอบ เริ่มเคลื่อนย้ายลงมาทำเกษตรกรรมสู่ที่ราบลุ่มแม่น้ำเป็นชุมชนเล็ก ๆ กระจายไปทั่วเชิงเขา

เมื่อสิ้นราชวงศ์สิงหนวัติด้วยเหตุที่เกิดแผ่นดินไหว พ.ศ.1552 นครโยนกนาคพันธ์ล่มสลายจมลงไปในหนองน้ำใหญ่เวียงหนองล่ม กล่าวกันว่า เกิดอาเพศเพราะชาวเมืองไปล่าปลาไหลเผือกใหญ่มากิน ฝูงชนที่หลงเหลืออยู่ตามเมืองต่าง ๆ ได้ร่วมกันหารือเลือกผู้นำและย้ายเมือง โดยเลือกคนที่ไม่ใช่ราชวงศ์มาปกครองดูแล เรียกว่า ขุนแต่งเมือง และเลือกชุมชนเมืองนี้ว่า เวียงปรึกษา(เวียงเบิกษา) ขุนลังได้รับเลือกเป็นขุนแต่งเมืององค์แรกถึงองค์ที่ 15 ถึง พ.ศ.1181 เป็นเวลา 93 ปี สิ้นสุดราชวงศ์สิงหนวัตินครโยนกนาคพันธ์และเวียงปรึกษา

ตำนานกำเนิดของปู่เจ้าลาวจก แบ่งเป็นสองภพ ภพที่ 2 ปู่เจ้าลาวจกได้จุติลงมาตั้งราชวงศ์ลวจักรราชต้นราชวงศ์ลาว สร้างเมืองหิรัญนครเงินยางเชียงแสน   

พงศาวดารโยนกอธิบายว่าปู่เจ้าลาวจกเป็นพวกละว้า ตั้งเคหสถานเป็นหมู่ ๆ อยู่ตามแนวภูเขา “มีหัวหน้าเรียกกันว่าปู่เจ้าลาวจก เหตุผู้เป็นหัวหน้ามีจก คือ จอบขุดดินมากกว่า ๕๐๐ เล่มขึ้นไปสำหรับแจกจ่ายให้บริวารเช่ายืมไปทำไร่” ฉะนั้นปู่เจ้าลาวจกก็คือพวกลัวะ (หรือละว้า) ซึ่งเป็นกลุ่มชนอาศัยอยู่บนสูงที่ดอยตุง มีความรู้ในการถลุงแร่เช่นเหล็ก เพราะ “จก” แปลว่าจอบขุดดิน แต่ที่ดอยตุงโดยเฉพาะบริเวณที่ประดิษฐานพระธาตุดอยตุง

เป็นความเชื่อของผู้เขียนตำนานในสมัยหลัง ๆ ที่โยงเรื่องลาวจกที่เป็นลัวะให้เข้ากับพุทธศาสนาคือพระธาตุดอยตุงที่สร้างสมัยหลังตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่กล่าวถึงการเชิญกษัตริย์ของเมืองต่าง ๆ ไปประชุมเพื่อตั้งศักราชใหม่ ประชาชนในเมืองเชียงลาวใกล้แม่น้ำสาย ไม่มีตัวแทนเพราะขาดกษัตริย์ปกครอง “พระอินทร์” จึงส่งลาวจงเทวบุตรลงมากำเนิด ลาวจงไต่บันไดเงิน ลงมาจากสวรรค์ตรงบริเวณดอยตุง พร้อมบริวารหนึ่งพันคน ชาวเมืองเชียงลาวจึงยกลาวจงขึ้นเป็นกษัตริย์องค์แรก นับเป็นการเริ่มต้นของ “ราชวงศ์ลาว” หรือ “ลวจังกราช”

ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ไม่ระบุที่มาของลาวจงชัดเจน กล่าวแต่เพียงว่า การเกิดของลาวจงเป็น “โอบปาติกะ” หมายถึงไม่ทราบว่าเป็นลูกหลานใคร แต่การที่กล่าวว่าลาวจงลงจากสวรรค์ตรงบริเวณดอยตุง อาจจะหมายถึงลาวจงมีถิ่นฐานเดิมอยู่ที่ดอยตุง อีกนัยยะหนึ่งเพื่อสิทธิธรรมในการปกครองยกสถานภาพตนเป็นพระเจ้าแผ่นดินโดยสมบูรณ์ที่สวรรค์ส่งมาจุติในช่วงประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๖ หรือ ๑๗

ลาวจงเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ลาว กษัตริย์ในราชวงศ์นี้จะใช้คำนำหน้าพระนามว่า “ลาว” ศูนย์กลางแห่งแรกของราชวงศ์ลาวเข้าใจว่าอยู่ที่เมืองเชียงลาว ใกล้กับแม่น้ำสาย สังคมในชุมชนมีลักษณะความผูกพันแบบเครือญาติ โดยกษัตริย์ส่งราชโอรสไป “สร้างบ้านแปงเมือง” ตามที่ต่าง ๆ เกิดเป็นเมืองหรือชุมชนแห่งใหม่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ได้รับการส่งเสริมกันมาก นับตั้งแต่สมัยลาวจง ได้เคลื่อนย้ายลงสู่ที่ราบแล้วก่อบ้านสร้างเมืองชื่อ “หิรัญนครเงินยางเชียงแสน” ปู่เจ้าลาวจกจึงได้นามใหม่ว่า “ลวจักราช” ถือเป็น “ต้นตระกูลลาว” ทั้งลาวล้านนาและลาวล้านช้าง มีความรู้และชำนาญในการถลุงโลหะ ดังตำนานบอกว่าปู่เจ้าลาวจกมีจอบ (ทำด้วยโลหะ เช่นเหล็ก) มากกว่าใคร ๆ ส่วนพวกที่ราบมีความรู้และความชำนาญการทำนาปลูกข้าวในที่ลุ่ม ทั้งสองพวกนี้มีการแลกเปลี่ยนสิ่งของกันตลอดเวลา จนถึงระยะเวลาหนึ่งพวกที่สูงก็ลงมาอยู่ที่ราบ ดังตำนานเล่าว่าปู่เจ้าลาวจกเป็นหัวหน้าผู้คนอาศัยอยู่บนที่สูง

เจ้าลวจักราช - ลาวจง ทรงนำชาวลัวะลงมาจากดอยตุงมาประทับที่เวียงเชียงลาว ได้สร้างเมืองหิรัญนครเงินยางเชียงแสน และเมืองฝางเป็นเมืองเอกและเมืองรอง ปู่เจ้าลาวจงได้ส่งโอรสทั้ง 3 องค์ แยกย้ายไปปกครองเมืองต่าง ๆ ดังนี้

  1. ลาวก่อ (ลาวครอบ) ไปครองเมืองเชียงของและเมืองน่าน
  2. ลาวเกื้อ (ลาวช้าง) ไปครองเมืองยอง
  3. ลาวเก้า (ลาวเก้าแผ่นเมืองมา) ครองเมืองเชียงลาว ฝาง และหิรัญนครเงินยาง

2. พระเจ้าพรหมมหาราช แห่งเมืองไชยปราการ (ฝาง) 1583-1659 พญาพรหมกุมารเป็นโอรสองค์หนึ่งของพญาพังคราช (เชื้อสายขุนบรม) เดิมปกครองแคว้นโยนกเชียงแสน ในยุคปลายที่เริ่มเสื่อมลงส่งผลให้พวกกร่อมที่หนีไปอยู่ที่อุโมงคเสลานครซึ่งมีอำนาจมากขึ้น ได้ยกทัพมาตีและยึดโยนกเชียงแสนคืน

พญาพังคราช ต้องลี้ภัยไปหลบตัวที่เวียงสีตวง เป็นเมืองขึ้นที่ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการให้พวกกร่อมด้วยทองคำปีละ 4 ตวง ต่อมามีราชโอรส 2 องค์คือ

  • เจ้าทุกขิตกุมาร ประสูติ พ.ศ. 1581 ปกครองไชยบุรีโยนก หรือโยนกเชียงแสนเดิม
  • เจ้าพรหมกุมาร ประสูติ พ.ศ. 1583 มากด้วยบุญญาบารมี

สามารถปราบขอมได้ และสร้างเมืองไชยปราการ (ฝาง) พระเจ้าพรหมมหาราช ผู้กู้อิสรภาพจากพญากร่อมคำ ตำนานเล่าว่า เจ้าพรหมกุมารไปคล้องช้างเผือกพานคำคู่บารมีได้จากลำน้ำโขง จากนั้นได้ซ่องสุมกองกำลังทหาร อาวุธ สร้างกำแพงป้อมปราการเวียงสีตวง เพื่อต่อสู้พวกกร่อมผู้กดขี่ เมื่อมีกำลังพร้อมก็ยกเลิกการส่งเครื่องราชบรรณาการ พญากร่อมคำยกทัพมีสู้รบกันที่ทุ่งสันทราย ปราบขอมได้สำเร็จ ตามติดตีเข้ายึดเมืองโยนกเชียงแสนและอุโมงคเสลานคร ตีรุกไล่ไปจนถึงหริภุญชัย กำแพงเพชร ศรีสัชชนาลัย เจ้าพรหมกุมารกลับคืนสู่นครสีตวง เชิญพญาพังคราช พระราชบิดาและเจ้าทุกขิตราช ปกครองโยนกนครหลวง เปลี่ยนชื่อเป็น เมืองไชยบุรีโยนก ต้นราชวงศ์พ่อขุนงำเมือง และพ่อขุนมังราย เจ้าพรหมกุมาร ได้ไปสร้างเมืองใหม่ขึ้นใกล้กับเมืองอุโมงคเสลานคร คือเมืองไชยปราการ (เมืองฝาง) และได้เสวยราชสมบัติ ปี พ.ศ. 1600 - 1659 พระเจ้าพรหมได้สมรสกับเจ้านางแก้วสุดา ราชธิดาพระยาเรือนแก้วแห่งไชยนารายณ์ มีราชโอรสคือ เจ้าไชยสิริกุมาร ต้นราชวงศ์อู่ทอง ปฐมกษัตริย์อยุธยา

ในปี พ.ศ. 1702 ขุนเสือฟ้าพระเจ้าเมืองสุธรรมวดีแห่งแคว้นเมง ได้ยกทัพข้ามแม่น้ำตง-สารวิน มาทำสงครามล้ม 3 เมือง คือไชยปราการ ไชยบุรีเชียงแสน นครไชยนารายณ์ ชนะเมืองทั้ง 3 พระเจ้าไชยสิริได้ลี้ภัยมาทางพะเยา ข้ามแม่น้ำยมสู่กำแพงเพชร และอู่ทอง นับเป็นบรรพชนของราชวงศ์อู่ทองปกครองอยุธยาในเวลาต่อมา

  • ช้างพานคำ จาก ม.คำ มีงาสีแดง เล็บสีเขียว เป็นช้างศึกคู่กาย
  • ต้นโพธิ์ประจำเมือง ไม้สะหรีศรีช้างน้าว

3. ขุนเจือง มหาราชแห่งภูกามยาว - พะเยา 1642 - 1735

  • ขุนเจือง สืบเชื้อสายมาจากลาวเงิน พระราชบิดาของพ่อขุนจอมธรรม มีราชธานีอยู่ที่หิรัญนครเงินยาง - เชียงแสน โปรดให้พ่อขุนจอมธรรมนำไพร่พลไปสร้างเมืองใหม่ที่ราบภูกามยาว ลุ่มแม่น้ำอิง คือ แคว้นพะเยา มีอาณาเขตจรดเมืองสุโขทัย และหริภุญชัย มีราชโอรส คือ ขุนเจือง
  • ขุนเจือง ประสูติประมาณปี 1642 เมื่อพระชนมายุ 16 ชันษา ได้นำไพร่พลไปคล้องช้างพานคำ แขวงเมืองนันทบุรี (น่าน) และเมืองแพร่ เจ้าเมืองทั้ง 2 เพื่อสร้างความสัมพันธ์กับเมืองพะเยา ทำให้พระองค์มีชื่อเสียงเลื่องลือไปทั่ว
  • ขุนเจือง ได้ครองพะเยาต่อจากพ่อขุนจอมธรรม ปีพ.ศ. 1663 เมื่อพระชนมายุ 21 ชันษา อีก 6 ปีต่อมาขุนเจืองได้ยกกองทัพไปช่วยขุนชิณ พระเจ้าลุงที่ปกครองหิรัญนครเงินยาง ซึ่งถูกพวกแกว (ญวน) ยกทัพมารุกรานล้อมเมือง ถูกขุนเจืองยกทัพมาช่วยตีพวกแกวแตกพ่ายไป ขุนชิณได้ยกพระราชธิดาชื่อ อั้วคำคอนให้เป็นพระชายากลับคืนสู่เมืองพะเยา

การขยายการศึกเพื่อความเป็นปึกแผ่นของแผ่นดิน

  • ขุนเจือง ตระหนักถึงหัวเมืองรอบภูกามยาว ซึ่งประกอบด้วยพวกขอม พวกข่า พวกแกว และชาวจีน เริ่มจะยกพลเข้ามารุกรานเสมอ จึงได้สั่งสมไพร่พล อาวุธ ยุทธวิธีรบ หลังจากนั้น ขุนเจืองได้ประกาศแสนยานุภาพ ยกตราทัพไปตีล้านช้าง และเมืองแกวได้ทั้งหมด พระเดชานุภาพแผ่ไปทุกทิศ เป็นที่ยอมรับของหัวเมืองทั้งปวง รวมทั้งกรุงจีนแผ่นดินซ้องพระยาฮ้อ เจ้าฟ้าเก๊าพิมาน เป็นประธานทำพิธีกรรมปราบดาภิเษกให้ขุนเจืองเป็นพระยาจักรพรรดิ์เมืองแก้ว พ.ศ. 1677
  • พระองค์ประทับอยู่ 17 ปี ทรงแบ่งแผ่นดินให้ราชโอรสครอง
  • ขุนเจือง ในวัย 77 ชันษา ได้ยกกองทัพไปตีเมืองต่าง ๆ ของขอม พระยาแมนตาตอกขอกฟ้าภายืน

สงครามประชิดกันเป็นแรมปี ผู้นำออกอุบายท้าชนช้างกันโดยขุนเจืองใสช้างข้ามสะพานเชื่อมโขดหินผาเข้ามาแล้วตัดเชือกทำให้ทั้งคนและช้างตกลงไปจนสิ้นพระชนม์ พ.ศ. 1735 ได้ถวายพระเพลิงศพและบรรจุอัฐิไว้ที่เมืองหิรัญนครเงินยาง