The voice kid thailand 2023 6 ม นาคม 2559

The Voice Thailand เสียงจริง ตัวจริง (อังกฤษ: The Voice Thailand) คือรายการประกวดร้องเพลง โดย บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) ซื้อลิขสิทธิ์รายการ เดอะวอยซ์ (The Voice) จากทัลปา มีเดีย กรุ๊ป ประเทศเนเธอร์แลนด์ มาให้ เอ็กซ์ซิท สาม หก ห้า และทริปเปิลเพลย์ ภายใต้การร่วมทุนโดยแพลน บี มีเดีย และ อินดิเพนเดนท์ อาร์ตทิสต์ เมเนจเมนต์ ดำเนินการผลิตเป็นเวอร์ชันภาษาไทย ก่อนหน้านี้รายการถูกซื้อลิขสิทธิ์โดย ทรู มิวสิค และ พีพีทีวี และผลิตรายการโดย โต๊ะกลมโทรทัศน์ และ เอพีแอนด์เจ โปรดักชัน ตามลำดับ

Oops something went wrong:

เมื่อปี 2012 คนไทยได้รู้จักและติดหนับกับ The Voice Thailand รายการประกวดร้องเพลงที่แหวกวงล้อมรายการประกวดและเกมโชว์ที่มีอยู่แล้วมากมายในวงการโทรทัศน์ไทย

เพียงซีซั่นแรก The Voice Thailand ก็ดังเป็นพลุแตก ทำให้ 6 โมงเย็นวันอาทิตย์กลายมาเป็นเวลาที่หลายครอบครัวมานั่งดูทีวีร่วมกัน สร้างปรากฏการณ์ให้วงการโทรทัศน์ไทยที่เคยมีแต่เวลาหลังข่าวเป็นไพรม์ไทม์ (เวลาที่คนดูโทรทัศน์มากที่สุดและเป็นเวลาที่ผู้ลงโฆษณาเชื่อมั่นมากที่สุด – ผู้เขียน)

The Voice Thailand สร้างศิลปินนามสกุล The Voice ออกมาในตลาดมากมาย รวมไปถึงโค้ชทั้ง 4 ที่กลายเป็นพระเอก-นางเอกของรายการที่ตรึงคนดูเอาไว้กับโซฟาที่บ้าน เป็นอรรถรสของวันพักผ่อนที่กลมกล่อมและอบอุ่น

ความสำเร็จนี้ ทำให้ The Voice Thailand มีซีซั่นใหม่รายปี แล้วก็ยังมี Sub Brand เป็น The Voice Kids และ The Voice Senior ออกมาเพื่อขยายฐานคนดูซึ่งก็ได้รับความนิยมไปไม่แพ้กัน

วันเวลาที่รุ่งเรืองที่สุดของ The Voice คือซีซั่น 3 เป็นซีซั่นที่เรตติ้งพุ่งทะยานไปถึง 12 เป็นเรตติ้งที่สูงที่สุดของ The Voice Thailand สูงพอ ๆ กับเรตติ้งละครหลังข่าวตอนอวสาน

มีแบรนด์สินค้าหลายแบรนด์ยอมควักเงินสูงถึง 20 ล้านบาทเพื่อเข้าร่วมสนับสนุนรายการ และก็ยังมีผู้สนใจยอมต่อแถวยาวเหยียด เพื่อเข้าร่วมการออดิชั่นทั่วประเทศจนกลายเป็นกระแสในทุกที่ที่ทีม The Voice ไป

หากแต่คืนวันดี ๆ ไม่อาจคงอยู่ตลอดไปได้

กระแสความดังของ The Voice ค่อย ๆ หายไปตามกาลเวลาตั้งแต่ซีซั่นที่ 4

ซีซั่น 7 The Voice ย้ายบ้านจากช่อง 3 ไปที่ PPTV HD 36 และหยุดผลิตไปหลังจากจบซีซั่นที่ 8

ปี 2022 นี้ The Voice Thailand กลับมาใหม่ในรูปแบบ The Voice All Stars ทางช่อง one31

การกลับมาทวงบัลลังก์ 6 โมงเย็นวันอาทิตย์รอบนี้ถูกตั้งคำถามด้วยความห่วงใยจากหลาย ๆ คน กลัวว่าจะเป็นการหาทำ เพราะเป็นที่รู้กันว่าฉากทัศน์ของสื่อที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้เงินสนับสนุนจากสปอนเซอร์ถูกกระจายไปในหลายสื่อมากขึ้น แล้วก็ยังเป็นเม็ดเงินที่น้อยลงด้วย จากพิษเศรษฐกิจที่รุมเร้าทั้งสถานการณ์โลก และโรคระบาด เรียกได้ว่าไม่ใช่ยุคที่น่าดึงดูดใจให้กลับมาทำรายการทีวีที่ต้องลงทุนสูงแบบนี้นัก

แต่กระแสและการตอบรับที่เราได้เห็นในรอบ Blind Audition ที่ผ่านมาจนถึงรอบ Battle ที่เพิ่งผ่านไป ก็ทำให้เห็นว่ามนต์เสน่ห์ของ The Voice ยังมีอยู่ แม้เรตติ้งและสปอนเซอร์จะไม่ครึกครื้นเหมือนซีซั่นแรก ๆ แต่ก็เป็นรายการที่เต็มไปด้วยความอบอุ่น มิตรภาพ และความรู้สึกขอบคุณของผู้เข้าแข่งขันและโค้ชที่เวียนกลับมาร่วมรายการกันอีกครั้ง

The voice kid thailand 2023 6 ม นาคม 2559

The Cloud ถือโอกาสนี้ ชวน โอ๋-พัฒนี จรียะธนา Executive Producer และผู้ถือลิขสิทธิ์ The Voice Thailand ตั้งแต่วันแรกจนถึงวันนี้ มาเล่าให้เราฟังถึงการเดินทางตั้งแต่วันเริ่มต้น วันที่พุ่ง วันที่แผ่ว และวันที่ตัดสินใจกลับมาทำใหม่อีกครั้ง ท่ามกลางการผันผวนของวงการสื่อที่กระทบไปทุกภาคส่วน

นอกจาก โอ๋ พัฒนี หรือที่ทีมงานเรียกว่า ‘พี่โอ๋เล็ก’ แล้ว ยังมี โอ๋-อาจกิจ สุนทรวัฒน์ หรือ ‘พี่โอ๋ใหญ่’ ผู้ไม่สะดวกมาร่วมกับเราในวันนี้ เป็นอีกหนึ่งกุนซือผู้เสนอไอเดียการซื้อลิขสิทธ์จากบริษัทแม่ในเนเธอร์แลนด์มาทำในประเทศไทยหลังจากได้ดูการออกอากาศที่สหรัฐอเมริกา และก็ทำหน้าที่เป็นฝ่ายกลยุทธ์ด้านการผลิตรายการ เป็นเบื้องหลังความสำเร็จของมาตลอด 8 ซีซั่นอีกคนที่จะเราจะลืมไม่ได้

รายการประกวดร้องเพลงที่ไม่เหมือนใคร

รูปแบบรายการที่คัดเลือกผู้เข้ารอบจากเสียงเพียงอย่างเดียว มีโค้ชที่เป็นตัวจริงในแนวเพลงต่าง ๆ และกติกาที่ทำให้ลุ้นทุกนาที จะการันตีความสนุกอยู่แล้ว

แต่การหากลยุทธ์เข้ามาเสริมเพื่อให้เข้ากับตลาดผู้ชมประเทศไทยก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้รายการใหม่เอี่ยมอ่อง ในช่วงเวลาที่ไม่เคยเป็นที่นิยมมาก่อนประสบความสำเร็จได้ตั้งแต่ซีซั่นแรก

“กระดุมเม็ดแรกที่เราติดถูกคือการเลือกโค้ช” โอ๋เล่าย้อนถึงจุดเริ่มต้น

“เราเลือกโค้ชโดยอ้างอิงคาแรกเตอร์โค้ชใน The Voice USA ที่ต้องมีแรปเปอร์ ดีว่า ร็อก และนักร้องเพลงป๊อปรุ่นใหม่ ซึ่ง โจอี้บอย, เจนนิเฟอร์ คิ้ม, ก้อง สหรัถ, และ แสตมป์ อภิวัชร์ เป็นศิลปินที่เหมาะกับหน้าที่นี้มาก ทั้งในแง่ความเป็นตัวจริงด้านการร้องเพลง ความสนุกที่จะช่วยสร้างสีสันให้รายการ และความเป็นที่รู้จักในระดับที่เหมาะกับรายการทีวี”

กระดุมเม็ดต่อมาที่ทำให้ The Voice Thailand แตกต่างจากรายการประกวดร้องเพลงรายการอื่นคือการทุ่มทุนด้านการผลิต

โอ๋บอกว่า “เราไม่ได้ทำ The Voice เหมือนรายการทีวีปกติ แต่เราทำคอนเสิร์ตในรายการทีวี”

ด้วยความเป็นคนในวงการดนตรีมายาวนาน และมีประสบการณ์ในสายการพัฒนาศิลปิน ทำให้โอ๋จัดเต็มกับการทำโชว์ให้ผู้เข้าแข่งขันแต่ละคน เพื่อให้ไม่ว่าโค้ชจะกดหันเก้าอี้มาหรือไม่ โชว์ในวันนั้นจะต้องเป็นโชว์ที่ดีที่สุดสำหรับผู้เข้าแข่งขันและผู้ชม

The voice kid thailand 2023 6 ม นาคม 2559

“ไม่รู้ว่าจะเชื่อกันไหม รายการเราไม่มีการเซ็ตหรือล็อกว่าโค้ชจะต้องกดหรือไม่กดให้ใคร ทุกอย่างเป็นไปตามความจริง เพราะเราเชื่อว่าการเช็ตจะทำให้รายการสนุกอยู่ได้ไม่นาน แล้วเราใช้งานโปรดักชันเข้ามาช่วย

“ทุกโชว์ตั้งแต่รอบ Blind Audition จะมีการออกแบบเวที เลือกเพลง เรียบเรียง วางกิมมิก เอฟเฟกต์ มุมกล้อง เหมือนกับผู้เข้าแข่งขันทุกคนเป็นศิลปินที่เราจัดคอนเสิร์ตให้”

อีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้รายการเป็นที่รักของคนดู โอ๋เชื่อว่าเป็นเพราะทีมงานที่เปรียบประหนึ่งทีม Avengers ที่รวมตัวกันมาจากหลากหลายวงการ

“ทีมงานที่เราชวนมาทำไม่ใช่การตั้งงบแล้วหาบริษัทใดบริษัทหนึ่งมาเหมาไป แต่เราไปชวนคนที่เป็นตัวจริงในแต่ละวงการมาทำด้วยกัน แล้วก็มีบางตำแหน่งที่เพิ่มขึ้นมาจากการรายการทีวีปกติ ไม่ว่าจะเป็นมิวสิกไดเรกเตอร์ โชว์ไดเรกเตอร์ มีหน้าที่ทำเรื่องเพลงและการแสดงโดยเฉพาะ เสริมจากผู้กำกับที่ดูภาพรวมของรายการ ทีมเวที ทีมฉาก ซึ่งเป็นทีมที่ทำคอนเสิร์ตมาก่อน ทีมกล้องที่มี 13 ตัวเพื่อความละเอียดในการจับเหตุการณ์ อารมณ์ และบรรยากาศ รวมทั้งทีมคัดเลือกผู้เข้าประกวดซึ่งใช้งบประมาณไปเยอะมาก”

เราอดถามไม่ได้ว่าต้นทุนการผลิตอยู่ที่ซีซั่นละเท่าไหร่

“ซีซั่นแรก ๆ ต้นทุนประมาณ 150 ล้าน” โอ๋กล่าว

The voice kid thailand 2023 6 ม นาคม 2559

วงจรที่แยกไม่ขาดของคุณภาพ เรตติ้ง และเงินโฆษณา

ต้นทุนที่สูงทำให้ได้รายการที่มีคุณภาพโดดเด่นกว่ารายการอื่นในตลาด

แต่ช่วงเวลาและช่องที่ออกอากาศก็เป็นปัจจัยสำคัญที่จะนำคุณภาพนั้นให้ไปถึงสายตาผู้ชม ซึ่งเป็นกลยุทธ์ชิ้นเด็ดอีกชิ้นที่ทำให้ The Voice Thailand เข้าตาผู้ชมตั้งแต่ซีซั่นแรก

เวลา 6 โมงเย็น วันอาทิตย์ ทางช่อง 3 เป็นการวางแผนที่ถูกต้องเป๊ะ เพราะเป็นเวลาครอบครัวที่สถานีโทรทัศน์อื่นไม่ได้เอารายการสไตล์วาไรตี้ซึ่งดูได้ทุกวัยแบบนี้มาลง ทำให้มีคู่แข่งไม่มาก

และช่อง 3 ก็ได้รับความนิยมในหมู่คนเมืองซึ่งเข้ากันได้ดีกับรูปแบบรายการที่มาจากต่างประเทศแบบนี้

The Voice จึงเรียกเรตติ้งมาประดับรายการได้อย่างสวยงาม อันนำไปสู่การถาโถมของเงินจากสปอนเซอร์

แต่ความไก่กับไข่ก็คือ กว่าสปอนเซอร์จะควักเงินก็หลังจากมั่นใจกับเรตติ้งที่รายการได้รับมา ซึ่งก็เป็นผลมาจากเงินลงทุนที่จะได้มาเพื่อคุณภาพ

โอ๋จึงต้องเลือกยอมขาดทุนในซีซั่นแรก เพื่อแลกกับคุณภาพที่จะสร้างทั้งเรตติ้งและความมั่นใจ

“เราลงทุนเต็มที่ตั้งแต่การออดิชัน ซึ่งใช้งบประมาณเยอะมากกับการหาทีมที่เชี่ยวชาญด้านการหาศิลปิน 7 – 8 ทีม ไปลงพื้นที่ทั่วประเทศ ชวนให้คนมาออดิชันด้วยรถแห่ จนมาถึงการออกแบบโชว์ที่ถึงขั้นสร้างฝนตกในสตูดิโอเพื่อให้โชว์ได้อรรถรสสูงสุด”

ผลก็คือ The Voice ดังเป็นพลุแตก และกลายมาเป็นรายการที่นักวางแผนสื่ออยากช่วงชิงมาใส่ไว้ในแผนเพื่อขายลูกค้ามากที่สุดอย่างแทบไม่เกี่ยงราคาในซีซั่นถัด ๆ มา

“ตอนนั้นเราขายสปอนเซอร์เจ้าละ 20 ล้าน ก็มีคนแย่งกันซื้อ” โอ๋เล่า

พอเงินมา บวกกับความสามารถของทีมงาน ซีซั่นที่ 3 ก็เป็นซีซั่นที่ประสบความสำเร็จที่สุดของ The Voice Thailand ทั้งเรื่องรายได้และเรตติ้ง

เรตติ้งที่สูงที่สุดของ The Voice คือช่วงซีซั่น 3 ที่เรตติ้งพุ่งไปแตะเลข 12 – 13

ถ้านึกไม่ออกว่ามันเยอะแค่ไหน เราขอเทียบกับคอนเทนต์ที่เป็นตำนานเรตติ้งของช่อง 3

ละคร บุพเพสันนิวาส ออกอากาศช่วงไพรม์ไทม์ เคยได้เรตติ้งสูงที่สุด 18.6

รายการ โหนกระแส ออกอากาศช่วงเที่ยง และกลายมาเป็นรายการที่สร้างช่วงเวลาเรตติ้งสูงใหม่ ๆ เหมือนกัน เคยได้เรตติ้งสูงที่สุด 2.98

พอรายการคุณภาพดี เรตติ้งก็มา เงินจากสปอนเซอร์ก็เพิ่มพูน แล้วก็วนกลับมาเป็นงบในการทำรายการที่คุณภาพดี ให้ได้เรตติ้งดี สปอนเซอร์เพิ่มเงิน วนลูปไปอย่างนี้จนยิ้มแก้มปริกันไปอย่างมีความสุข

หากแต่เส้นทางก็ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ The Voice Thailand และวงการโทรทัศน์บ้านเราต้องมาเผชิญความท้าทายก้อนใหญ่ ในช่วงการเปลี่ยนการออกอากาศโทรทัศน์มาเป็นระบบดิจิทัล และการหยิบชิ้นปลามันในช่วงการเปลี่ยนผ่านไปโดยสื่อออนไลน์

The voice kid thailand 2023 6 ม นาคม 2559

ยุคท้าทายของวงการทีวี

The voice kid thailand 2023 6 ม นาคม 2559

ตั้งแต่ปี 2014 – 2016 เป็นช่วงที่วงการโทรทัศน์ไทยปั่นป่วนที่สุดเท่าที่เคยมีมา

จากที่เคยมีฟรีทีวีให้ชมเพียง 5 ช่องมาหลายทศวรรษ ก็กลายมาเป็นฟรีทีวี 28 ช่อง ไม่ใช่แค่ผู้ผลิตจะลำบากเพราะคู่แข่งเพิ่มขึ้น แต่ผู้ชมก็ลำบากเพราะต้องมีอุปกรณ์เสริมในการรับชมและช่องที่เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล ทำให้บางบ้านถึงกับต้องจดเลขช่องโปรดแปะเอาไว้หน้าทีวี

ซ้ำเติมด้วยการรัฐประหารที่เข้ามาควบคุมการออกอากาศวิทยุ-โทรทัศน์ทุกช่องทาง

และปิดท้ายด้วยช่วงไว้อาลัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ที่มีการงดรายการปกติไปหลายช่วง

ในช่วงที่วงการโทรทัศน์เผชิญความยากลำบากนั้น อุปกรณ์ที่รองรับการใช้แพลตฟอร์มออนไลน์อย่างสมาร์ทโฟน สมาร์ททีวี ก็มีราคาถูกลงมาก แพลตฟอร์มออนไลน์เลยได้โอกาสเข้าถึงผู้คนมากขึ้น พร้อมนำเสนอเนื้อหาที่มีอิสระมากกว่า ผู้ชมทั้งหลายเลยปันใจไปหาช่องทางออนไลน์กันแบบกู่ไม่กลับ

ในช่วงปีนั้นคนในวงการโทรทัศน์ต่างรู้กันว่า หลังจากนี้วงการทีวีไทยจะไม่กลับไปเป็นเหมือนเดิมอีกแล้ว

หลังจาก ซีซั่น 4 ซึ่งเป็นช่วงปี 2015 ที่ช่อง Digital TV เริ่มมีรายการใหม่ ๆ ซึ่งเป็นวาไรตี้เหมือนกัน กลุ่มผู้ชมกลุ่มเดียวกัน และออกอากาศช่วงเวลาเดียวกันมาแย่งความนิยม เรตติ้งและกระแสของ The Voice Thailand ก็ตกลงเรื่อย ๆ

โอ๋ยอมรับว่าไม่ใช่แค่ปัจจัยภายนอกเท่านั้น แต่ด้วยการต้องเปลี่ยนโค้ช และรูปแบบรายการที่ไม่ได้มีอะไรใหม่แบบก้าวกระโดด การหาผู้เข้าแข่งขันที่จะทำให้คนดูตื่นเต้นได้เหมือนซีซั่นแรก ๆ ก็ยากขึ้น จึงทำให้ความนิยมไม่มากมายเหมือนเก่า พอเรตติ้งตก เงินโฆษณาก็ลดลง จนจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่

“ตอนซีซั่นที่ 7 ปี 2018 เราตัดสินใจลดต้นทุนด้วยการย้ายจากช่อง 3 ไป PPTV HD 36 เนื่องจากเขาเสนอจะร่วมลงทุนด้วย แต่เวลาที่ได้จะไม่ได้เป็นวันอาทิตย์ 6 โมงเย็นเหมือนเดิม เนื่องจากมีรายการกีฬาซึ่งเป็นรายการหลักออนแอร์ช่วงนั้นพอดี

“เวลาที่เราคิดว่าดีที่สุดตอนนั้นจึงเป็นตอน 2 ทุ่มวันจันทร์ แม้จะเป็นวันธรรมดาแต่ก็เป็นไพรม์ไทม์ และเป็นวันที่คนน่าจะอยู่บ้านมากที่สุด” โอ๋เล่าถึงการตัดสินใจที่จำเป็นต้องเลือกตัวเลือกที่แม้ไม่ดีที่สุด แต่ก็มีข้อเสียน้อยที่สุด

การเปลี่ยนแปลงนั้นส่งผลมากกว่าที่คิด เรตติ้งเฉลี่ยในซีซั่นที่ 7 ของ The Voice Thailand ลดลงไปอยู่ที่ 0.7 แม้จะเป็นเรตติ้งที่สูงสำหรับช่อง PPTV HD 36 แต่ก็เป็นตัววัดว่ารายการไม่สามารถแทรกตัวเข้าไปเป็นตัวเลือกแข่งกับเนื้อหาช่วงไพรม์ไทม์ของช่องอื่น ๆ ได้

แต่โอ๋ก็บอกว่า “ยังโชคดีที่กลุ่มคนดูเป็นกลุ่มคนในเมือง ซึ่งเป็นกลุ่มที่ย้ายไปดูสื่อออนไลน์ และยังตามดูเราในออนไลน์ เราก็เลยยังพอจะมีตัวเลขเอาไปคุยกับผู้ลงโฆษณาได้บ้าง”

“คนย้ายไปดูออนไลน์ ก็ไปทำรายการในออนไลน์อย่างเดียวสิ”

แม้เรตติ้งทางทีวีจะลด แต่ยอดวิวใน YouTube ของ The Voice Thailand กลับสูงมากถึง 400 – 500 ล้านวิวต่อซีซั่น หลายคนจึงสงสัยว่าในเมื่อกลุ่มคนดูย้ายไปดูในออนไลน์แล้ว ทำไมถึงไม่ไปทำเป็นรายการออนไลน์เสียเลย

เรื่องนี้โอ๋อธิบายว่า “เงินโฆษณาที่ได้จากออนไลน์มันน้อยมาก ไม่พอจะเอามาผลิตรายการในรูปแบบนี้ ทั้งค่าลิขสิทธ์ ค่าผลิต ค่าทีมงาน แม้ในซีซั่นหลัง ๆ เราจะพยายามลดต้นทุนด้านต่าง ๆ ก็ยังต้องมีไม่น้อยกว่า 90 ล้านอยู่ดี”

โอ๋เล่าว่าในขณะที่มีผู้ยินดีสนับสนุนรายการทางทีวี 20 ล้านบาท แต่ในออนไลน์ผู้ลงโฆษณายินดีจ่ายเพียง 2 – 3 แสนบาทเท่านั้น (เนื่องจากระดับราคาของสื่อออนไลน์ถูกกว่าทีวีมาก และมีตัวเลือกในการลงโฆษณาเพื่อให้ถึงกลุ่มเป้าหมายเดียวกันเยอะมาก – ผู้เขียน) แม้จะรับได้หลายเจ้ามากขึ้น แต่ใน 1 ซีซั่นค่าโฆษณาทางออนไลน์ก็รวบรวมมาได้ไม่ถึง 10 ล้าน

หลังจากจบซีซั่น 8 ในปี 2019 โอ๋ตัดสินใจเลิกทำด้วยทั้งปัจจัยด้านความนิยม และข้อจำกัดด้านการถ่ายทำในช่วงโควิด-19 ทำให้รายการห่างหายไป 2 ปี

โอ๋บอกว่า “คิดว่าเลิกแล้วแน่ ๆ ถึงขนาดกำจัดอุปกรณ์ พร็อพ สัญลักษณ์รายการไปหลายอย่างแล้ว เหลือแต่เก้าอี้โค้ชที่ยังเก็บไว้”

The voice kid thailand 2023 6 ม นาคม 2559

The voice kid thailand 2023 6 ม นาคม 2559

การกลับมาในเวลาที่ใช่

เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา The Voice Thailand ก็ได้กลับสู่หน้าจอโทรทัศน์อีกครั้ง

การกลับมาของรอบนี้ เกิดจากการกระตุกต่อมความรักความคิดถึงรายการที่ปลุกปั้นมากับมือ

โอ๋เล่าว่า บอย-ถกลเกียรติ วีรวรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มของบริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) และผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์ช่อง one31 เป็นผู้ชวนให้กลับมาทำรายการด้วยการให้สิ่งที่อยากได้มากที่สุด

“เขาบอกว่า ผมมีเวลา 6 โมงเย็นวันอาทิตย์ให้ได้นะ” โอ๋เล่าถึงประโยคที่ทำให้ตั้งใจกลับมาสู้อีกสักตั้ง

“คิดว่ามันเป็นโอกาสที่จะปล่อยไปไม่ได้ เราได้เวลาที่มั่นใจที่สุดกลับมา มันเป็นเวลาของเรา ประกอบกับ The Voice ปล่อยรูปแบบใหม่เป็นการเอาผู้เข้าร่วมแข่งขันจากซีซั่นก่อน ๆ มารวมกันแข่งใหม่เป็น The Voice All Stars ซึ่งเหมาะกับการกลับมาทำใหม่รอบนี้มาก”

การทำ The Voice ท่ามกลางยุคสมัยที่เปลี่ยนไปนี้ มีหลายกลยุทธ์ที่โอ๋และทีมงานต้องปรับตาม

สิ่งแรกคือ ต้องลดต้นทุน

“The Voice All Stars นี่เราลดต้นทุนจากทุกส่วน ตั้งแต่การลดขอบเขตลิขสิทธ์เพื่อให้เจ้าของลิขสิทธ์ลดราคาให้ ลดต้นทุนเรื่องโปรดักชัน โชคดีที่ค่าอุปกรณ์และเทคโนโลยียุคนี้ถูกลงมาก ทีมงานหลายคนก็ยอมรับค่าตัวในราคาเป็นมิตร เพราะเขาอยากกลับมาทำรายการด้วยกันอีกครั้ง” โอ๋เล่า

“แต่รวม ๆ แล้วก็ยังเป็นต้นทุนการทำรายการทีวีที่สูงมาก คือ 50 ล้านบาท”

การกลับมาทำ The Voice ครั้งนี้ โอ๋ทำในนามบริษัท Exit365 ซึ่งเธอเป็นเจ้าของเอง และหาทุนด้วยการหานายทุนมาร่วมลงทุน ซึ่งก็เป็นเรื่องไม่ง่ายสำหรับรายการที่คนจำไปแล้วว่าเป็นรายการที่ ‘เคยดัง’

“ตอนแรกมีคนตกลงร่วมทุนแล้ว คุณบอยก็แถลงข่าวแล้วว่าจะมี The Voice ฉายทางช่อง one31 แต่นักลงทุนเจ้านั้นก็มาถอนตัวตอนนาทีสุดท้าย

“ตอนนั้นเครียดมาก ถึงกับเดินน้ำตาตก เพราะเราแบกต้นทุนคนเดียวไม่ไหว และเวลาก็งวดเข้ามาแล้ว จะต้องตัดสินใจว่าจะทำต่อหรือพอแค่นี้” โอ๋เล่าถึงความเครียดที่ทำให้เธอรู้ว่าการไหว้พระขอพรที่จำเป็นที่สุดคือการไหว้ขอให้มีสติ

“ตอนนั้นคิดว่า ถ้าเลิกปัญหามันก็จะหมดไปแหละ แต่ความน่าเชื่อถือทั้งหมดที่สะสมมาในชีวิตการทำงานก็คงจะเสียหาย ช่อง one31 จะหาอะไรมาออนแอร์แทนได้ในเวลากระชั้นแบบนี้ แล้วก็ยังมีผู้ชมที่รอคอยการกลับมาของ The Voice อีก เลยตัดสินใจเดินหน้าหานายทุนต่อ โชคดีที่ได้บริษัท PlanB เข้ามาร่วมลงทุน”

บริษัท PlanB เป็นบริษัทเจ้าของสื่อนอกบ้าน ซึ่งอยู่นอกเกมการแข่งขันสื่อออนแอร์ (โทรทัศน์) และ ออนไลน์ (อินเทอร์เน็ต) เพราะยังไงคนก็ยังคงใช้ชีวิตตามท้องถนนอยู่

การมีบริษัท PlanB มาร่วมหุ้นก็เป็นช่องทางใหม่ ๆ ให้ The Voice เข้าถึงกลุ่มผู้ชมที่เป็นคนเมืองที่ทุกวันนี้ดูโทรทัศน์น้อยลง ซึ่งเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่โอ๋เลือกมาใช้ให้เข้ากับยุคสมัย

“ซีซั่นนี้เราคิดใหม่ทำใหม่กับการโปรโมตเยอะ ใช้ทั้งสื่อนอกบ้านและสื่อออนไลน์มาช่วย แล้วก็ทำเนื้อหาโปรโมตให้เข้ากับคนดูยุคนี้ ที่ไม่ชอบรอลุ้น แต่อยากรู้เลยว่าจะได้ดูอะไร เราก็หยิบเนื้อหาในรายการมาโปรโมต บอกเลยว่าใครจะมาให้เขาคอยรอดู”

ใครไถ TikTok แล้วเจอคอนเทนต์จาก The Voice All Stars Official แล้วหยุดดูทุกครั้งเหมือนเราบ้าง ยกมือขึ้น

All the Love for The Voice All Star

การรวมดาวชาว The Voice ในรอบนี้มีความหมายมากกว่าการกลับมาของรายการที่คนดูชื่นชอบ แต่ยังเป็นเหมือนงานคืนสู่เหย้าของผู้เข้าแข่งขัน ทีมงาน และโค้ช ที่แยกย้ายกับไปเติบโต

‘ที่ผ่านมาไปทำอะไรมาบ้าง’ เป็นหนึ่งในเนื้อหาที่รายการพยายามเล่าถึงผู้เข้าแข่งขันที่กลับมาร่วมงานกัน ทำให้รู้ว่านามสกุล The Voice สร้างฝันของหลายคนให้เป็นจริง ให้โอกาสหลายคนได้ลืมตาอ้าปาก และสร้างศิลปินมากความสามารถประดับวงการบันเทิงไทยมากมาย

ในช่วงสถานการณ์โรคระบาดอาชีพศิลปินก็ได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก การกลับมาของ The Voice All Stars ก็ถือว่าได้เห็นอีกหนึ่งช่องทางให้ศิษย์เก่าทั้งหลายกลับมาอยู่ในสปอตไลต์อีกครั้ง

“ทีมงานที่อยู่กับเรามาตั้งแต่ซีซั่นแรกอย่างทีมมิวสิกไดเรกเตอร์ ที่ออกแบบโชว์และเพลงให้ผู้เข้าแข่งขันทุกคนตั้งแต่รอบออดิชัน ไปจนถึงคนส่งไมค์ให้ศิลปินก่อนขึ้นเวทีก็มาทำกับเราในซีซั่นนี้ด้วย เวลาได้เห็นพวกเขาได้กลับมาเจอกัน ทักทายกัน เรารู้สึกว่ามันเป็นความพิเศษของรายการที่ทำให้ทุกคนผูกพันกันแบบนี้” โอ๋เล่าบรรยากาศการถ่ายทำที่แม้จะเหนื่อยเพราะต้องถ่ายจำนวนมาก ๆ ในเวลาจำกัดเพื่อลดต้นทุน แต่ก็อบอวลไปด้วยความอบอุ่นจากทีมงานและผู้เข้าแข่งขัน

แล้วก็ยังบอกด้วยว่า “เรตติ้งก็ค่อย ๆ กลับมา เริ่มมีกระแสคนพูดถึง เริ่มมียอดผู้ชมในออนไลน์มากขึ้นเรื่อย กำลังใจก็กลับมา สปอนเซอร์ก็เริ่มมาสนับสนุน”

การแข่งขันที่รวมผู้ผ่านรอบ Blind Audition จากทั้ง 8 ซีซั่นรวมทั้ง The Voice Kids นั้นเหมือนการรวมเอายอดฝีมือมาแข่งกันเอง ซึ่งเป็นทั้งโอกาสสำหรับคนที่ไม่ได้มีชื่อเสียงมาก และความเสี่ยงสำหรับคนที่กลายเป็นศิลปินชื่อดังแล้ว แต่โอ๋ยืนยันว่าทุกคนยินดีและมีความสุขที่ได้กลับมา

การกลับมาครั้งนี้นอกจากกลยุทธ์ในการลดต้นทุนและคิดใหม่ทำใหม่เรื่องการโปรโมตแล้ว โอ๋ยังบอกว่าเธอได้เรียนรู้เรื่องการสร้างสมดุลของการจัดเต็มกับโปรดักชันกับสิ่งที่คนดูต้องการด้วย

เธอบอกว่า “คนดูทีวีไม่ได้ต้องการดูโปรดักชันที่อลังการมากเหมือนดูคอนเสิร์ต แต่ต้องการความตลก ความบันเทิง อะไรที่ดูง่าย ๆ ไม่เครียด คราวนี้เราเลยลดความอลังการของแสงสีเสียง และมีการเชิญ โค้ชโจ๊ก โซคูล กับ โค้ชซานิ จาก The Voice Kids มาสร้างสีสัน”

และเราก็รู้สึกว่าหลังจากร่วมงานกันมาหลายปี โค้ชทั้ง 3 ก็มีลีลาแพรวพราวมากขึ้นมาก ยิ่งพอมี โค้ช ป๊อบ ปองกูล มาร่วม ก็ทำให้รายการตลก สนุกมากขึ้น โดยยังคงแก่นความเป็นตัวจริงเสียงจริงอยู่

หลังจากรอบ Battle เทปแรก ความสนุกของ The Voice ก็ยิ่งงวดขึ้นเรื่อย ๆ โอ๋แอบบอกว่าการรวมดาวครั้งนี้จะมีอะไรสนุก ๆ มากขึ้นอีกมาก

“คนเคยคิดว่าเมื่อจบรอบ Blind Audition แล้ว The Voice ก็ไม่มีอะไรให้ลุ้น เรายืนยันว่าจะไม่เกิดสิ่งนั้นใน The Voice All Stars” โอ๋ป้ายยาเอาไว้ทิ้งท้าย