กล มอาหาร เกษตร และเทคโนโลย ช วภาพ ม อาช พอะไรบ าง

การเรียนรู้เพื่อเป็นผู้ประกอบการทางเทคโนโลยีชีวภาพอย่างมืออาชีพ เป็นการผสมผสานความรู้ทางเทคโนโลยีชีวภาพกับเครื่องมือทางด้านธุรกิจ เพื่อเปลี่ยนการวิจัยด้านนวัตกรรมให้เป็นโอกาสทางธุรกิจ

กล มอาหาร เกษตร และเทคโนโลย ช วภาพ ม อาช พอะไรบ าง


สู่การเป็นผู้ประกอบการ

ทางเทคโนโลยีชีวภาพ


คุณกำลังคิดเพื่อก้าวต่อไปสำหรับอาชีพในอนาคตของคุณใช่หรือไม่ ? การสร้างนวัตกรรมและการเป็นผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยีชีวภาพอาจเป็นสิ่งที่เหมาะสมสำหรับคุณ

กล มอาหาร เกษตร และเทคโนโลย ช วภาพ ม อาช พอะไรบ าง


การฝึกงาน


นักศึกษาจะได้รับประสบการณ์การฝึกงานตรงกับอุตสาหกรรมที่มีชื่อเสียงและห้องปฏิบัติการวิจัยทั่วโลก การฝึกอบรมภาคปฏิบัติมากกว่า 300 ชั่วโมง กับเครือข่ายความร่วมมือของเราทั้งในและต่างประเทศ

เทคโนโลยีชีวภาพอุตสาหกรรมมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ โดยเป็นกลจักรสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศสู่การเปลี่ยนผ่านจากอุตสาหกรรมเดิม (First S-Curve) ไปสู่อุตสาหกรรมใหม่ (New S-Curve) ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่มีความยั่งยืน มูลค่าสูง และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ในปัจจุบันการขยายตัวของการใช้ทรัพยากรชีวภาพเพื่อเพิ่มมูลค่าทางอุตสาหกรรมกำลังเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และจำเป็นต้องใช้นักเทคโนโลยีชีวภาพอุตสาหกรรมที่มีความเชี่ยวชาญในด้านต่างๆ เช่น การแปรรูปอาหาร การเกษตร พันธุวิศวกรรม เป็นต้น นอกจากนี้เทคโนโลยีชีวภาพอุตสาหกรรมยังเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันของประเทศในตลาดการค้าโลก ดังนั้นอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีทางด้านนี้จึงได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีโดยหน่วยงานภาครัฐและเอกชน บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรเทคโนโลยีชีวภาพอุตสาหกรรม ที่สจล. เน้นการเรียนการสอนเทคนิคทางชีววิทยาระดับโมเลกุล พันธุวิศวกรรม การประยุกต์เทคโนโลยีเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ขึ้นมาใหม่เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมหลัก ได้แก่ เทคโนโลยีชีวภาพด้านอาหาร ด้านเกษตรหรือเกษตรชีวภาพ ด้านเซลล์พืชและเซลล์สัตว์ ด้านพลังงานชีวภาพและสิ่งแวดล้อม ด้านการแพทย์และสาธารณสุข และเทคโนโลยีชีวภาพด้านอุตสาหกรรมการผลิตสารเคมีชีวภาพตลอดจนมาตรฐานทางอุตสาหกรรมที่สำคัญทั้ง ISO GMP HACCP ความปลอดภัยด้านอาหาร ตลอดจนเสริมทักษะการตลาดดิจิตอล และการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ ตัวอย่างรายวิชาที่น่าสนใจ เช่น นวัตกรรมทางเทคโนโลยีชีวภาพและการตลาด พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวสารสนเทศ เทคโนโลยีชีวภาพอาหารปลอดภัย คุณภาพและมาตรฐานการผลิตผลิตภัณฑ์ทางเทคโนโลยีชีวภาพ

ในยุคที่วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมเข้ามามีบทบาทมาก นอกจากจะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนแล้ว ยังเป็นฐานที่สำคัญอย่างหนึ่งในการพัฒนาประเทศด้วย ซึ่งการพัฒนาในกลุ่มอุตสาหกรรมต้องใช้ความรู้ด้านวิศวกรรมศาสตร์มาเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญในการขับเคลื่อน พี่วีวี่เลยจะพาน้อง ๆ มาดูยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมไทย 4.0 ในระยะ 20 ปี คือ พ.ศ. 2560-2579 ว่ามีอะไรบ้าง เพื่อให้น้อง ๆ ได้ศึกษาเรื่องเหล่านี้ไว้เป็นข้อมูลในการประกอบการตัดสินใจเลือกคณะหรือสาขาที่จะเรียน เพราะจะเชื่อมโยงต่อการประกอบอาชีพในอนาคตของน้อง ๆ นั่นเอง ถ้าพร้อมแล้ว มาเริ่มกันเลย ในอนาคตจะมีการสนับสนุนอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ ดังนี้

การต่อยอดอุตสาหกรรมเดิมที่มีศักยภาพ

(First S-curve)

อุตสาหกรรมอนาคต

(New S-curve)

  • อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่
  • ##### อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ
  • ##### อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร
  • ##### การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ
  • ##### อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดี และการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
  • ##### อุตสาหกรรมดิจิทัล
  • ##### อุตสาหกรรมหุ่นยนต์
  • ##### อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร
  • ##### อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์
  • ##### อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ

10 อุตสาหกรรมเหล่านี้เป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต ซึ่งมีเทคโนโลยีและนวัตกรรม 5 กลุ่ม เป็นตัวช่วยสนับสนุน ได้แก่

  • 1. กลุ่มอาหาร เกษตร และเทคโนโลยีชีวภาพ เป็นการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเกษตร เทคโนโลยีอาหาร เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ใช้วัตถุดิบจากชีวภาพ หรือมีการแปรรูปวัสดุชีวภาพ เช่น การเกษตรแปรรูป การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร
  • 2. กลุ่มสาธารณสุข สุขภาพ และเทคโนโลยีทางการแพทย์ การใช้เทคโนโลยีสุขภาพ เทคโนโลยีการแพทย์ในการผลิตสินค้าและบริการด้านสุขภาพ เช่น อุปกรณ์ทางการแพทย์
  • 3. กลุ่มเครื่องมืออุปกรณ์อัจฉริยะ หุ่นยนต์ และระบบเครื่องกลที่ใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ควบคุม การพัฒนาเทคโนโลยีหุ่นยนต์ แบ่งได้ 2 กลุ่ม คือ 1.หุ่นยนต์บริการ เช่น หุ่นยนต์ช่วยเหลือผู้สูงอายุ 2.หุ่นยนต์ในอุตสาหกรรม เช่น เทคโนโลยีการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่
  • 4. กลุ่มดิจิทัล เทคโนโลยี อินเตอร์เน็ตที่เชื่อมต่อและบังคับอุปกรณ์ต่าง ๆ ปัญญาประดิษฐ์ และเทคโนโลยีสมองกลฝังตัว เช่น การพัฒนาด้านคลังข้อมูล สมาร์ทฟาร์มที่ใช้ระบบสารสนเทศในการเก็บข้อมูลการผลิตพืชผล จนถึงการจำหน่าย
  • 5. กลุ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ วัฒนธรรม และบริการที่มีมูลค่าสูง เช่น การสร้างบรรจุภัณฑ์ที่สื่อถึงวัฒนธรรม การออกแบบอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

จากแนวโน้มการพัฒนานี้อาจส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงอาชีพในอนาคต น้อง ๆ จึงควรศึกษาข้อมูลให้หลากหลายรอบด้าน เพราะจะเป็นประโยชน์กับน้อง ๆ สำหรับวันนี้พี่วีวี่ขอลาไปก่อน สวัสดีค่ะ ☺☺