ภ ม อากาศภาคตะว นออกเฉ ยงเหน อ ว นน

เผยแพร่: 27 ม.ค. 2558 16:10 โดย: MGR Online

เอเอฟพี – ประธานาธิบดี บารัค โอบามา ปิดฉากภารกิจเยือนอินเดียในวันนี้(27) โดยเน้นย้ำถึงค่านิยมประชาธิปไตยที่ทั้งสหรัฐฯ และอินเดียต่างเชิดชู พร้อมระบุว่าวอชิงตันพร้อมจะเป็น “หุ้นส่วนที่ดีที่สุด” ให้กับนิวเดลี

โอบามา ได้กล่าวปราศรัยต่อผู้ฟังซึ่งเป็นคนหนุ่มสาวที่หอประชุม สิริ ฟอร์ต (Siri Fort Auditorium) ในกรุงนิวเดลี โดยย้ำว่าความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ และอินเดียจะ “ให้คำนิยามของความเป็นหุ้นส่วนในศตวรรษนี้” พร้อมเตือนว่า การแก้ไขปัญหาความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศจะไม่มีทางสำเร็จได้ หากปราศจากความร่วมมืออย่างเต็มที่จากแดนภารตะ

สุนทรพจน์ของ โอบามา ในวันนี้(27) นับเป็นอีกหนึ่งไฮไลต์สำคัญในภารกิจเยือนอินเดียเป็นเวลา 3 วัน ซึ่งทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เคยเสื่อมถอยกลับอบอุ่นขึ้นทันตาเห็น

โอบามาได้ลงนาม “ปฏิญญามิตรภาพ” ร่วมกับนายกรัฐมนตรี นเรนทรา โมดี ผู้นำหัวขวาจัดของอินเดีย ซึ่งเมื่อไม่ถึง 1 ปีที่แล้วยังเป็น “บุคคลไม่พึงประสงค์” (persona non grata) ที่วอชิงตันสั่งห้ามเข้าประเทศ

หลังจากที่พรรคภารติยะชนตะของ โมดี ชนะเลือกตั้งเมื่อปีที่แล้ว สหรัฐฯ ก็ไม่รีรอที่จะขอคืนดีและผูกมิตรกับ โมดี โดยหวังที่จะดึงอินเดียเป็นพันธมิตรเพื่อคานอำนาจกับจีน

“อินเดียกับสหรัฐฯ ไม่เพียงเป็นหุ้นส่วนกันโดยธรรมชาติ แต่ผมเชื่อว่าอเมริกาสามารถเป็นหุ้นส่วนที่ดีที่สุดของอินเดียได้” ผู้นำสหรัฐฯ กล่าว ท่ามกลางการต้อนรับอย่างอบอุ่นจากผู้ฟังชาวอินเดียราว 1,500 คน

“แน่นอนว่า บทบาทของอินเดียในเวทีโลกจะต้องให้ชาวอินเดียเท่านั้นเป็นผู้ตัดสิน แต่ผมมาที่นี่เพราะผมเชื่อมั่นเหลือเกินว่า พลเมืองเราทั้ง 2 ประเทศจะมีงานทำและมีโอกาสมากขึ้น ประเทศของเราจะปลอดภัยยิ่งขึ้น และโลกจะมีความสันติสุขและเป็นธรรมมากขึ้น หากเราซึ่งเป็นชาติประชาธิปไตยด้วยกันทั้งคู่ได้ร่วมมือกัน”

โอบามา ได้รับเชิญเป็นแขกพิเศษในพิธีสวนสนามฉลองวันสถาปนาสาธารณรัฐอินเดีย 26 มกราคม ซึ่งถือเป็นเกียรติสูงสุดที่รัฐบาลอินเดียมอบให้แก่ผู้นำต่างชาติ

ทั้ง โอบามา และ โมดี พยายามที่จะแสดงออกถึงความเป็นมิตรที่สนิทชิดเชื้อ และยังประกาศฝ่าทางตันว่าด้วยเรื่องข้อตกลงนิวเคลียร์พลเรือนเมื่อวันอาทิตย์(25) ซึ่งรัฐบาลอินเดียชุดที่แล้วไม่สามารถทำได้ แต่นอกจากนั้นก็ยังไม่มีคำประกาศอื่นๆ ที่บ่งบอกถึงความร่วมมืออย่างเป็นรูปธรรม

โอบามา ซึ่งเคยเป็นเจ้าภาพต้อนรับ โมดี ที่ทำเนียบขาวเมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้ว ระบุว่า “ดวงดาวทั้งหลายได้เรียงตัว” เพื่อเปิดทางให้วอชิงตันและเดลีได้กลายเป็นพันธมิตรระดับโลก

สหรัฐฯ ต้องการสร้างเครือข่ายพันธมิตรในเอเชีย-แปซิฟิกตามยุทธศาสตร์ “ปักหมุด” เอเชียของ โอบามา และมองออกว่า โมดี มีจุดยืนที่แข็งกร้าวต่อจีนมากกว่าผู้นำอินเดียคนก่อน

ปักกิ่งอ้างอธิปไตยของตนเหนือน่านน้ำในทะเลจีนใต้ซึ่งเป็นเส้นทางเดินเรือสินค้าที่สำคัญของโลก และนั่นทำให้จีนต้องพัวพันข้อพิพาทกับหลายประเทศแถบนี้

“สหรัฐฯ ยินดีที่อินเดียจะก้าวขึ้นมามีบทบาทมากยิ่งขึ้นในเอเชีย-แปซิฟิก ซึ่งเสรีภาพในการเดินเรือจะต้องได้รับการปกป้อง และมีการคลี่คลายข้อพิพาทกันอย่างสันติ” ผู้นำสหรัฐฯ กล่าว

โมดี ประกาศเมื่อวันอาทิตย์(25)ว่า อินเดียไม่พร้อมที่จะถูกชาติใดกดดันเรื่องปัญหาสภาพอากาศ โดยมีนัยยะถึงกรณีที่จีนยอมทำข้อตกลงลดก๊าซเรือนกระจกกับสหรัฐฯ เมื่อปีที่แล้ว

อย่างไรก็ดี โอบามา เตือนว่า การแก้ไขภาวะโลกร้อนไม่อาจบรรลุผลได้ หากประเทศกำลังพัฒนายังไม่ลดการพึ่งพาพลังงานฟอสซิล

“ผมทราบดีว่าใครบางคนอาจกำลังโต้แย้งว่า ไม่เป็นธรรมเลยที่สหรัฐฯ จะขอร้องให้ประเทศกำลังพัฒนาอย่างอินเดียลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิล ทั้งที่สหรัฐฯ เองก็เคยพึ่งพลังงานชนิดนี้จนเติบโตมานานกว่าร้อยปี... แต่ความเป็นจริงก็คือ ต่อให้สหรัฐฯ ปลดปล่อยคาร์บอนน้อยลง เราก็ไม่อาจเอาชนะโลกร้อนได้ ตราบใดที่ประเทศกำลังพัฒนาและมีความต้องการใช้พลังงานสูงอย่างอินเดียยังไม่หันไปพึ่งพลังงานสะอาด”

ขณะที่การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะเปิดฉากขึ้นที่กรุงปารีสในเดือนธันวาคมนี้ รัฐบาลเดลียังคงปฏิเสธที่จะให้คำมั่นในเรื่องก๊าซเรือนกระจก โดยระบุว่า อินเดียจะไม่ตั้งเป้าหมายใดๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการยกระดับคุณภาพชีวิตพลเมือง 1,200 ล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่ยังมีฐานะยากจน

เผยแพร่: 21 มิ.ย. 2548 22:38 โดย: MGR Online

“แก้วสรร” ลุ้นล่าอีก 23 รายชื่อ-วอน ส.ว.ที่มีชีวิต-ยังเดินได้ ให้เข้าร่วมเปิดอภิปรายทั่วไป ด้าน “ไสว” ไม่เห็นด้วยหากเปิดชื่อ-หวั่นตกเป็นเครื่องมือของใครบางคน พร้อมเผยรายชื่อ ส.ว.ทั้งหมดทั้งที่ร่วมลงชื่อ-ไม่เห็นด้วย

วันนี้ (21 มิ.ย.) นายแก้วสรร อติโพธิ ส.ว.กทม. น.พ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ ส.ว.อุบลราชธานี นายมนตรี สินทวิชัย ส.ว.สมุทรสงคราม พล.ต.อินทรัตน์ ยอดบางเตย ส.ว.เชียงใหม่ นายนภินทร ศรีสรรพางค์ ส.ว.ราชบุรี นางนิพัทธา อมรรัตนเมธา ส.ว.ปทุมธานี ซึ่งเป็น 12 แกนนำร่วมล่ารายชื่อเพื่อเปิดญัตติอภิปรายรัฐบาลแบบไม่ลงมติตามรัฐธรรมนูญมาตรา 187 ได้แถลงข่าวถึงความคืบหน้าในการล่ารายชื่อ ส.ว.เพื่อเปิดญัตติอภิปรายรัฐบาลแบบไม่ลงมติ โดยนายนภินทร กล่าวว่า ตามที่คณะทำงานได้มีการยื่นมติเพื่อเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล ซึ่งได้เริ่มดำเนินการล่ารายชื่อ ส.ว.ให้ครบจำนวน 120 ชื่อ ตามที่รัฐธรรมนูญได้บัญญัติไว้นั้น ขณะนี้ทางคณะทำงานได้รายชื่อ ส.ว.ทั้งหมดแล้ว 97 คนจากจำนวน ส.ว.ทั้งหมด 199 คน ซึ่งที่ประชุมมีความเห็นว่าจะยืดเวลาออกไปจน 15.00 น. ของวันที่ 22 มิ.ย.นี้ และคิดว่าญัตติที่พวกเราได้ตั้งไว้ให้เพื่อน ส.ว.ได้ร่วมลงชื่ออภิปรายนั้น เป็นญัตติที่คลอบคลุม และแสดงให้เห็นถึงความเดือดร้อนของประชาชนที่มีจริงในปัจจุบันนี้ ทางคณะทำงานมีคำชี้แจงถึงความจำเป็นต่างๆ ที่จะต้องร่วมลงชื่อแนบไปกับหนังสือขอยื่นญัตติ ซึ่งมีความชัดเจนมากแล้วก็เลยไม่ทราบว่า ส.ว.ที่เหลือมีเหตุผลอะไรถึงไม่ลงชื่อ

ด้าน นายแก้วสรร กล่าวว่า คณะทำงานได้คัดปัญหาบ้านเมืองที่สำคัญ 7 ปัญหา และการลงมติของเพื่อน ส.ว.ในครั้งนี้จะคล้ายกับกระทู้ถามหมู่ จึงไม่มีความจำเป็นที่ต้องเห็นด้วยทั้ง 7 กระทู้ แค่กระทู้เดียวก็สามารถร่วมลงชื่อด้วยได้แล้ว ทั้งนี้ ทางคณะทำงานจึงยังมีความหวังว่าจะได้ครบทั้ง 120 คน แต่ตอนนี้ก็ยังสรุปอะไรไม่ได้มาก คงต้องรอให้ถึงพรุ่งนี้ เพราะจากสมาชิกทั้งหมดที่ลงรายชื่อได้ 187 คน ไม่ร่วมที่ป่วยอยู่ ซึ่งได้มา 97 คน ก็คิดว่าเกินพอแล้ว แต่ในเมื่อรัฐธรรมนูญกำหนดให้มีจำนวน 120 คน เราก็ต้องทำให้ได้ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด

“ผมอยากฝากท่านที่ไม่เซ็นชื่อ และยังเดินได้อยู่ในประเทศที่เหลือนั้น คงหันกลับมาทบทวนมติที่พวกผมได้ยื่นในครั้งนี้ ซึ่งทั้งหมดก็เพื่อผลประโยชน์ของชาติ ขนาด อ.สุรใจ ศิรินุพงศ์ ส.ว.สงขลา ที่นอนป่วยอยู่ยังพยายามมาเพื่อที่จะเซ็นชื่อในครั้งนี้ให้ได้เลย และตอนนี้เหลืออีกแค่ 23 คนก็ครบแล้ว” นายแก้วสรร กล่าว

ขณะที่ น.พ.นิรันดร์ กล่าวว่า ส.ว.คือผู้ที่ต้องปฏิบัติหน้าที่แทนประชาชน ทำหน้าที่เป็นกระบอกเสียงเพื่อที่จะช่วยแก้ปัญหาความเดือดร้อนต่างๆ เพื่อให้ตัวแทนที่เลือกเราเข้ามาก็คือประชาชน อีกทั้งรัฐธรรมนูญบัญญัติให้เราเป็นตัวกลาง เราก็ต้องทำหน้าที่ตัวกลางของประชาชนให้ได้อย่างเต็มที่ เพราะความผิดพลาดต่างๆ ที่เกิดขึ้นนั้น รัฐบาลควรจะได้มาชี้แจง ฉะนั้นรัฐบาลน่าจะใช้เวทีนี้ให้เป็นประโยชน์กับตัวเอง

รายงานข่าวแจ้งว่า กลุ่ม ส.ว.ที่มีกระแสข่าวเข้ารับประทานอาหารกับนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.คมนาคม ที่โรงแรมเอสซีปาร์คนั้น ส่วนใหญ่ล้วนใกล้ชิดกับพรรคไทยรักไทย อาทิ นายศรีเมือง เจริญศิริ ส.ว.มหาสารคาม นายถาวร เกียรติไชยากร ส.ว.เชียงใหม่ นายอนุชาติ บรรจงศุภมิตร ส.ว.อุตรดิตถ์ นายอดุลย์ วันไชยธนวงศ์ ส.ว.แม่ฮ่องสอน พล.ท.โอภาส นายมุขตาร์ มะทา ส.ว.ยะลา พล.ท.โอภาส รัตนบุรี ส.ว.นครศรีธรรมราช นายมนู วณิชชานนท์ ส.ว.สุราษฎร์ธานี ซึ่งไม่ได้เข้าร่วมลงชื่อในครั้งนี้ด้วยแต่อย่างใด ยกเว้นเพียงนางอรัญญา สุจนิล ส.ว.หนองคาย

อย่างไรก็ตาม ผู้สื่อข่าวได้ติดต่อไปยัง ส.ว.กลุ่มดังกล่าว แต่ปรากฏว่าโทรศัพท์มือถือปิดกันเกือบหมด ส่วนนายศรีเมืองนั้นได้ปฏิเสธที่จะให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวโดยอ้างว่าติดประชุม

ด้าน นายอดุลย์กล่าวว่า ตอนนี้ลงพื้นที่ไปทำธุระที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ยังไม่ทราบเรื่อง และไม่ได้เห็นญัตติที่จะใช้อภิปราย จึงยังไม่แน่ใจว่าจะร่วมลงชื่อในครั้งนี้ด้วยหรือไม่

ขณะที่ นายไสว กล่าวว่า ที่ยังไม่ได้ตัดสินใจลงชื่อในวันนี้เพราะอยากศึกษาญัตติให้ละเอียดก่อน ซึ่งโดยส่วนตัวไม่เห็นด้วยถ้า ส.ว.คนใดไม่ลงชื่อแล้วจะนำรายชื่อ ส.ว.คนนั้นมาเปิดเผย ทำให้ไม่ค่อยสบายใจ และจากการที่ได้พูดคุยกับ ส.ว.หลายๆ คนแล้วกลัวว่าการลงรายชื่อในครั้งนี้เกรงว่าจะกลายเป็นเครื่องมือของใคร และในทางตรงกันข้ามถ้าไม่ลงรายชื่อก็กล่าวหาว่าเป็นฝ่ายรัฐบาล ซึ่งจริงๆ แล้วมันไม่ใช่ เพราะมีบางกลุ่มที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด และ ส.ว.บางคนก็มาปรึกษาว่ากลัวญัตติบางเรื่องไปซ้ำซ้อนกับการอภิปรายของฝ่ายค้าน

สำหรับรายชื่อ ส.ว.ล่าสุดมีจำนวน 97 คน ที่ได้ร่วมลงชื่อในญัตติเพื่อขอให้มีการเปิดอภิปรายทั่วไปรัฐบาลตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 187 ประกอบด้วย 1.นายกมล มั่นภักดี ส.ว.ชุมพร 2.พล.อ.กานต์ สุรกุล ส.ว.ตรัง 3.นายการุณ ใสงาม ส.ว.บุรีรัมย์ 4.นายกำพล ภู่มณี ส.ว.ปราจีนบุรี 5.ม.ร.ว.กำลูนเทพ เทวกุล ส.ว.เลย 6.นายแก้วสรร อติโพธิ ส.ว.กทม. 7.พล.ต.ต.เสกสรรค์ อุ่นสำราญ ส.ว.สระแก้ว 8.นายไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ ส.ว.นครราชสีมา 9.นายคำนวณ เหมาะประสิทธิ์ ส.ว.อุตรดิตถ์ 10.นายแคล้ว นรปติ ส.ว.ขอนแก่น 11.นายจรูญ ยังประภากร ส.ว.สมุทราปราการ 12.นายจอน อึ๊งภากรณ์ ส.ว.กทม. 13.นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ส.ว.กทม. 14.นายอานันต์ ดาโลดม ส.ว.สุราษฎร์ธานี 15.คุณหญิงชดช้อย โสภณพนิช ส.ว.กทม. 16.นายสุนีย์ อินฉัตร ส.ว.ศรีสะเกษ 17.นายชุมพล ศิลปอาชา ส.ว.กทม. 18.พล.ต.ท.ชูชาติ ทัศนเสถียร ส.ว.ปัตตานี 19.ร.ต.ท.เชาวริน ลัทธศักดิ์สิริ ส.ว.ราชบุรี 20.นายณรงค์ นุ่นทอง ส.ว.นครศรีธรรมราช

21.นายเด่น โต๊ะมีนา ส.ว.ปัตตานี 22.นางเตือนใจ ดีเทศน์ ส.ว.เชียงราย 23.นายถวิล ไพรสณฑ์ ส.ว.นครศรีธรรมราช 24.นายทวีป ขวัญบุรี ส.ว.ระยอง 25.นายนภินทร ศรีสรรพางค์ ส.ว.ราชบุรี 26.นางนิพัทธา อมรรัตนเมธา ส.ว.ปทุมธานี 27.นายนิรันดร์ พิทักษ์วัชระ ส.ว.อุบลราชธานี 28.นายนิวัฒน์ พ้นชั่ว ส.ว.ระยอง 29.นายบรรฑูรย์ เกริกพิทยา ส.ว.สระบุรี 30.พล.อ.บัณฑิต มลายอริศูนย์ ส.ว.กาญจนบุรี 31.นายบุญทัน ดอกไธสง ส.ว.นครราชสีมา 32.นายบุญเลิศ ไพรินทร์ ส.ว.ฉะเชิงเทรา 33.พล.ต.อ.ประทิน สันติประภพ ส.ว.กทม. 34.นางประทีป อึ้งทรงธรรม ส.ว.กทม. 35.นายประสิทธิ์ พิฑูรกิจจา ส.ว.นครสวรรค์ 36.นายปราโมทย์ ไพชนม์ ส.ว.ราชบุรี 37.นายปราโมทย์ ไม้กลัด ส.ว.กทม. 38.นายปรีชา ปิตานนท์ ส.ว.จันทบุรี 39.นายปรีดี หิรัญพฤกษ์ ส.ว.ปทุมธานี 40.นายพนัส ทัศนียานนท์ ส.ว.ตาก

41.นายพิชัย ขำเพชร ส.ว.เพรบุรี 42.นายพิเชฐ พัฒนโชติ ส.ว.นครราชสีมา 43.พ.ต.อ.ไพจิตร ศรีคงคา ส.ว.สงขลา 44.นายไพบูลย์ อุปัติศฤงค์ ส.ว.ภูเก็ต 45.นายภิญญา ช่วยปลอด ส.ว.สุราษฎร์ธานี 46.นางพรหมจารีย์ รัตนเศษฐ์ ส.ว.นครราชสีมา 47.นายมนตรี สินทวิชัย ส.ว.สมุทรสงคราม 48.พล.ต.มนูญกฤต รูปขจร ส.ว.สระบุรี 49.นางมลิวัลย์ เงินหมื่น ส.ว.อุบลราชธานี 50.นายมารุต โรจนาปิยาวงศ์ ส.ว.นคนายก 51.พ.ญ.มาลินี สุขเวชชวรกิจ ส.ว.นครสวรรค์ 52.นางมาลีรัตน์ แก้วก่า ส.ว.สกลนคร 53.พล.ต.อ.มีชัย นุกูลกิจ ส.ว.นครสรีธรรมราช 54.นายมีชัย วีระไวทยะ ส.ว.กทม. 55. นายวงศ์พันธ์ ณ ตะกั่วทุ่ง ส.ว.พังงา 56.พล.อ.วัฒนา สรรพานิช ส.ว.กาญจนบุรี 57.นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ ส.ว.กทม. 58.นายวิชัย ครองยุติ ส.ว.อุบลราชธานี 59.นายวีเชียร เปาอินทร์ ส.ว.สมุทรสาคร 60.นายวิญญู อุฬารกุล ส.ว.สกลนคร

61.นางวิลาวัลย์ ตันวัฒนะพงศ์ ส.ว.มุกดาหาร 62.นายวีรพงศ์ สกลกิตติวัฒน์ ส.ว.กระบี่ 63.พล.ต.อ.วีระ อนันตกูล ส.ว.ชลบุรี 64.นายวีรพล วัชรประทีป ส.ว.นครราชสีมา 65.นายศิลป์ชัย เชษฐศิลป์ ส.ว.อุทัยธานี 66.นายวรวิทย์ เชื้อเพ็ชร ส.ว.ลพบุรี 67.นายสมเกียรติ ศรลัมพ์ ส.ว.นครสวรรค์ 68.นายสมเกียรติ อ่อนวิมล ส.ว.สุพรรณบุรี 69.พ.อ.สมคิด ศรีสังคม ส.ว.อุดรธานี 70.นายสมบูรณ์ ทองบุราณ ส.ว.ยโสธร 71.นายสมพงษ์ สระกวี ส.ว.สงขลา 72.นายสมพร คำชื่น ส.ว.แพร่ 73.นายสมศักดิ์ โล่ห์สถาพรพิพิธ ส.ว.ตรัง 74.นายสมศักดิ์ ศิริเจริญไชย ส.ว.สุรินทร์ 75.นายสราวุธ นิยมทรัพย์ ส.ว.นครปฐม 76.พล.ต.อ.สวัสดิ์ อมรวิวัฒน์ ส.ว.เชียงใหม่ 77.นายสัก กอแสงเรือง ส.ว.กทม. 78.นายสันติภาพ อินทรพัฒน์ ส.ว.น่าน 79.นายประโภชน์ สภาวสุ ส.ว.อยุธยา 80.นายสุทัศน์ จันทแสงศรี ส.ว.เพชรบูรณ์

81.นายสุนทร จินดาอินทร์ ส.ว.กำแพงเพชร 82.นายสุพร สุภสร ส.ว.อุดรธานี 83.นายสุรเดช ยะสวัสดิ์ ส.ว.พะเยา 84.พ.ต.อ.สุรพงศ์ ไผ่นวล ส.ว.บุรีรัมย์ 85.นายเสรี สุวรรณภานนท์ 86.นายโสภณ สุภาพงษ์ ส.ว.กทม. 87.พล.อ.หาญ ลีนานนท์ ส.ว.สตูล 88.ร.ต.อ.นุกูล สุภาไชยกิจ ส.ว.พัทลุง 89.นายอมร นิลเปรม ส.ว.อุบลราชธานี 90.นางอรัญญา สุจนิล ส.ว.หนองคาย 91.พล.อ.อาทิตย์ กำลังเอก ส.ว.เลย 92.พล.ต.อินทรัตน์ ยอดบางเตย ส.ว.เชียงใหม่ 93.นายอุดร ตันติสุนทร ส.ว.ตาก 94.นายอูมาร์ ตอยิบ ส.ว.นราธิวาส 95.นายโอภาส รองเงิน ส.ว.พัทลุง 96.นายสวัสดิ์ กฤตรัชตานันท์ ส.ว.นครศรีธรรมราช และ 97.นายทองใบ ทองเปาด์ ส.ว.มหาสารคาม

ส่วน 88 ส.ว.ที่ยังไม่ตัดสินใจร่วมลงชื่อญัตติในครั้งนี้ประกอบด้วย 1.นางกรองกาญจน์ วีสมหมาย ส.ว.ศรีสะเกษ 2.นายโกเมศ ฑีฆธนานนท์ ส.ว.ขอนแก่น 3.นายเกษม ชัยสิทธิ์ ส.ว.เพชรบุรี 4.นายเกษม มาลัยศรี ส.ว.ร้อยเอ็ด 5.นายปริญญา กรวยทอง ส.ว.สุรินทร์ 6.นายคำนวณ ชโลปถัมภ์ ส.ว.สิงห์บุรี 7.นายคำพันธุ์ ป้องปาน ส.ว.อุดรธานี 8.นายจำเจน จิตรธร ส.ว.สุโขทัย 9.นางจิตรา อยู่ประเสริฐ ส.ว.อุดธานี 10.คุณหญิงจินตนา สุขมาก ส.ว.นนทบุรี 11.นายจิโรจน์ โชติพันธุ์ ส.ว.ศรีสะเกษ 12.นายชัชวาล คงอุดม ส.ว.กทม. 13.นายชิต เจริญประเสริฐ ส.ว.ศรีสะเกษ 14.นายเชิดพงษ์ อุทัยสาง ส.ว.หนองคาย 15.พล.ต.ท.ณรงค์ อมาตยกุล ส.ว.พิษณุโลก 16.นายณรงค์สิทธิ์ เครือรัตน์ ส.ว.ศรีสะเกษ 17.นายถวิล จันทประสงค์ ส.ว.นนทบุรี 18.นายถาวร เกียรติไชยากร ส.ว.เชียงใหม่ 19.พล.ต.ท.ทวี ทิพยรัตน์ ส.ว.กทม. 20.นายวิกรม อัยศิริ ส.ว.ระนอง

21.นายธวัชชัย เมืองนาง ส.ว.หนองบัวลำภู 22.นายนพดล สมบูรณ์ ส.ว.ลำปาง 23.นางนันทนา สงฆ์ประชา ส.ว.ชัยนาท 24.นายนิคม เชาวกิตติโสภณ ส.ว.ลำปาง 25.นายนิตินัย นาครทรรพ ส.ว.หนองคาย 26.นายนิพนธ์ สุทธิเดช ส.ว.อำนาจเจริญ 27.นายนิรัตน์ อยู่ภักดี ส.ว.ชัยภูมิ 28.นายนิเวศ พันธุ์เจริญวรกุล ส.ว.อยุธยา 29.นายบุญญา หลีเหลด ส.ว.สงขลา 30.นายบุญยืน ศุภสารสาทร ส.ว.พิษณุโลก 31.นางบุศรินทร์ ติยะไพรัช ส.ว.เชียงราย 32.นายประเกียรติ นาสีมา ส.ว.ร้อยเอ็ด 33.นายประสงค์ โฆษิตานนท์ ส.ว.เพชรบูรณ์ 34.นายประสิทะ ปทุมารักษ์ ส.ว.นครปฐม 35.พล.ต.ท.ปรีชา ปฏิบัติสรกิจ ส.ว.ชลบุรี 36.พล.ท.ปัญญา อยู่ประเสริฐ ส.ว.อุดรธานี 37.นายผ่อง เล่งอี้ ส.ว.กทม.38.นายพัฒนา ศิริวันสาณฑ์ ส.ว.นครสวรรค์ 39.นายพา อักษรเสือ ส.ว.ขอนแก่น 40.นายสนิท กุลเจริญ ส.ว.สมุทรปราการ

41.นายพิชิต ชัยวิรัตนะ ส.ว.ชัยภูมิ 42.นางเพ็ญศักดิ์ จักษุจินดา ส.ว.สกลนคร 43.นายเพิ่มพูน ทองศรี ส.ว.บุรีรัมย์ 44.ฟัดรุดดีน บอตอ ส.ว.นราธิวาส 45.นายมนัส รุ่งเรือง ส.ว.สุพรรณบุรี 46.พล.อ.มนัส อร่ามศรี ส.ว.สุพรรณบุรี 47.นายมนู วณิชชานนท์ ส.ว.สุราษฏร์ธานี 48.นายมุขตาร์ มะทา ส.ว.ยะลา 49.นางระเบียบรัตน์ พงษ์พานิช ส.ว.ขอนแก่น 50.นายระวี กิ่งคำวงศ์ ส.ว.มุกดาหาร 51.นายลำพอง พิลาสมบัติ ส.ว.นครราชสีมา 52.นายวิจิตร มโนสิทธิศักดิ์ ส.ว.ร้อยเอ็ด 53.พล.อ.วิชา ศิริธรรม ส.ว.จันทบุรี 54.นายวิบูลย์ แช่มชื่น ส.ว.กาฬสินธุ์ 55.พล.ต.อ.วิรุฬ ฟื้นแสน ส.ว.เชียงราย 56.นายวิโรจน์ อมตกุลชัย ส.ว.ชลบุรี 57.นายวีรวร สิทธิธรรม ส.ว.นครพนม 58.นายสนิท จันทวงศ์ ส.ว.อุบลราชธานี 59.นายศรีเมือง เจริญศิริ ส.ว.มหาสารคาม 60.พล.อ.ศิริ ทิวะพันธุ์ ส.ว.พิษณุโลก

61.พล.ต.ต.สนาม คงเมือง ส.ว.เชียงใหม่ 62.นายสม ตะยศ ส.ว.น่าน 63.นายสมควร จิตแสง ส.ว.ขอนแก่น 64.พล.ต.อ.สมชาย ไชยเวช ส.ว.ขอนแก่น 65.นายสมบัติ วรามิตร ส.ว.กาฬสินธุ์ 66.นายสมัย ฮมแสน ส.ว.ยโสธร 67.นายสวัสดิ์ ทรัพย์เจริญ ส.ว.นครพนม 68.นายสวัสดิภาพ กันทาธรรม ส.ว.แพร่ 69.นายสันต์ เทพมณี ส.ว.ลำพูน 70.พล.ต.สาคาร กิจวิริยะ ส.ว.ตราด 71.นายสามารถ รัตนประทีปพร ส.ว.หนองบัวลำภู 72.นายสุรชัย ดนัยตั้งตระกูล ส.ว.ร้อยเอ็ด 73.นายสุรสิทธิ์ ฉัตรชัยเดช ส.ว.พิจิตร 74.นายสุริยน ภูมิรัตนประพิณ ส.ว.ชัยภูมิ 75.นายไสว พราหมณี ส.ว.นครราชสีมา 76.นายอดุลย์ วันไชยธนวงศ์ ส.ว.แม่ฮ่องสอน 77.นายอนันต์ ผลอำนวย ส.ว.กำแพงเพชร 78.นายอนันตชัย คุณานันทกุล ส.ว.สมุทรปราการ 79.นายอนุชาติ บรรจงศุภมิตร ส.ว.อุตรดิตถ์ 80.นานอาคม ตุลาดิลก ส.ว.เชียงใหม่ 81.ร.ต.อำนวย ไทยานนท์ ส.ว.ประจวบคีรีขันธ์ 82.นายอำนาจ เธียรประมุข ส.ว.สุรินทร์ 83.พล.ต.ต.อำพล งามจิต ส.ว.ลำปาง 84.นายอิมรอน มะลูลีม ส.ว.กทม.85.นายอุทัยพันธุ์ สงวนเสริมศรี ส.ว.สุรินทร์ 86.นายอุบล เอื้อศรี ส.ว.นครราชสีมา 87.นางอุษณีย์ ชิดชอบ ส.ว.บุรีรัมย์ 88.พล.ท.โอภาส รัตนบุรี ส.ว.นครศรีธรรมราช

ในส่วนของ ส.ว.ที่ไม่สามารถทาบทามร่วมลงชื่อได้ เนื่องจากลาป่วยและไปราชการต่างประเทศ มี 12 คน ประกอบด้วย1.นายดำรง พุฒตาล ส.ว.กทม.2.พล.อ.พนม จีนะวิจารณะ ส.ว.สุโขทัย 3.นายพร เพ็ญพาส ส.ว.บุรีรัมย์ 4.นายสงวน นันทชาติ ส.ว.พะเยา 5.พล.อ.ยุทธนา คำดี ส.ว.นนทบุรี 6.นายรส มะลิผล ส.ว.ฉะเชิงเทรา 7.นางบัวล้อม พูลลาภ ส.ว.พิจิตร 8.นายวิทยา มะเสนา ส.ว.มหาสารคาม 9.นายวิสิษฐ์ เตชะธีราวัฒน์ ส.ว.เชียงราย 10.นายชงค์ วงศขัน ส.ว.ลพบุรี 11.นายสุรใจ ศิรินุพงศ์ ส.ว.สงขลา

นอกจากนี้มีเพียง 3 คนที่ไม่ได้มีการทาบทามร่วมลงชื่อ คือ นายสุชน ชาลีเครือ ประธานวุฒิสภา ส.ว.ชัยภูมิ นายสหัส พินทุเสนีย์ รองประธานวุฒิสภา ส.ว.สระแก้ว และนายนิพนธ์ วิสิษฐยุทธศาสตร์ รองประธานวุฒิสภา ส.ว.อ่างทอง

ทั้งนี้ ยอดจำนวน ส.ว.ทั้งหมดในปัจจุบันมี 199 คน สรุปว่ามี ส.ว.ลงชื่อทั้งสิ้น 97 คน ยังไม่ตัดสินใจ 88 คน และทาบทามไม่ได้ 11 คน และอีก 3 ส.ว.ที่ไม่ได้ทาบทาม