ม.ร.ว.เก ยรต ค ณ ก ต ยากร น องก บ

หม่อมราชวงศ์อดุลกิติ์ กิติยากร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

หม่อมราชวงศ์

อดุลกิติ์ กิติยากร

ป.จ., ม.ป.ช., ม.ว.ม., ภ.ป.ร.2

องคมนตรีดำรงตำแหน่ง 9 เมษายน พ.ศ. 2535 – 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2547ข้อมูลส่วนบุคคลเกิด2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2473 จังหวัดพระนคร ประเทศสยามเสียชีวิต5 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 (73 ปี) กรุงเทพมหานคร ประเทศไทยคู่สมรสท่านผู้หญิงพันธุ์สวลี กิติยากรบุตรพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ หม่อมหลวงสราลี กิติยากรบุพการี

  • พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ (บิดา)
  • หม่อมหลวงบัว กิติยากร (มารดา)

หม่อมราชวงศ์อดุลกิติ์ กิติยากร (2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2473 – 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2547) เป็นอดีตรองประธานศาลฎีกา เป็นพระโอรสในพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ กับหม่อมหลวงบัว กิติยากร และเป็นพระเชษฐาในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

ประวัติและครอบครัว[แก้]

หม่อมราชวงศ์อดุลกิติ์ กิติยากร มีชื่อเล่นว่า คุณชายอ้วน เป็นพระโอรสในพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ กับหม่อมหลวงบัว กิติยากร (ราชสกุลเดิม สนิทวงศ์) เกิดเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2473 มีพี่ชายหนึ่งคน คือ หม่อมราชวงศ์กัลยาณกิติ์ กิติยากร มีน้องสาวหนึ่งพระองค์กับหนึ่งคน คือ หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร (ต่อมาคือสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง) และหม่อมราชวงศ์บุษบา สธนพงศ์

หม่อมราชวงศ์อดุลกิติ์สมรสกับท่านผู้หญิงพันธุ์สวลี กิติยากร (เดิม หม่อมเจ้าพันธุ์สวลี ยุคล; พระธิดาในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล กับหม่อมหลวงสร้อยระย้า ยุคล (ราชสกุลเดิม สนิทวงศ์)) ทั้งสองพบกันครั้งแรกในงานเลี้ยงสังสรรค์ของหมู่นักเรียนไทยในอังกฤษ และเป็นจุดเริ่มต้นของความสัมพันธ์ ต่อมาหม่อมเจ้าพันธุ์สวลีได้ขอพระราชทานกราบถวายบังคมลาออกจากฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์เมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2499 เพื่อสมรสกับหม่อมราชวงศ์อดุลกิติ์ เมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2499 มีธิดาหนึ่งพระองค์กับหนึ่งคน ได้แก่

  1. พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ (เดิม หม่อมหลวงโสมสวลี กิติยากร; ประสูติ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2500) อภิเษกสมรสและหย่ากับพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชธิดาหนึ่งพระองค์คือ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา
  2. หม่อมหลวงสราลี กิติยากร (เกิด 8 เมษายน พ.ศ. 2509) สมรสและหย่ากับธีรเดช จิราธิวัฒน์ มีบุตรชายสองคนคือ สุทธกิตติ์และสิทธิกิตติ์ จิราธิวัฒน์

หม่อมราชวงศ์อดุลกิติ์ กิติยากร ถึงแก่อสัญกรรมด้วยโรคชราเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 สิริอายุ 73 ปี พระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2548

การศึกษา[แก้]

  • โรงเรียนเซนต์คาเบรียล
  • วิชากฎหมายจากสำนักอบรมกฎหมายมิดเดิลเทมเปิล ประเทศอังกฤษ
  • เนติบัณฑิตไทย จากสำนักอบรมเนติบัณฑิตยสภา

การทำงาน[แก้]

  • ผู้ช่วยผู้พิพากษา รับตำแหน่งผู้พิพากษาศาลจังหวัดเชียงใหม่
  • ผู้อำนวยการสถานพินิจและคุ้มครองเด็กกลาง
  • ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์
  • อธิบดีศาลคดีเด็กและเยาวชนกลาง
  • รองประธานศาลฎีกา
  • องคมนตรี

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

ลำดับสาแหรก[แก้]

ลำดับสาแหรกของหม่อมราชวงศ์อดุลกิติ์ กิติยากร 16. (=20) พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 8. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 17. สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี 4. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ 18. พระยาพิสณฑ์สมบัติบริบูรณ์ (ยิ้ม พิศลยบุตร) 9. เจ้าจอมมารดาอ่วม ในรัชกาลที่ 5 19. ปราง สมบัติศิริ 2. พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ 20. (=16) พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 10. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ 21. สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา 5. หม่อมเจ้าอัปษรสมาน กิติยากร 22. เจ้าพระยาสิริรัตนมนตรี (หงส์ สุจริตกุล) 11. หม่อมใหญ่ เทวกุล ณ อยุธยา 23. คุณหญิงตาด สิริรัตนมนตรี 1. หม่อมราชวงศ์อดุลกิติ์ กิติยากร 24. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท 12. พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ 25. หม่อมแย้ม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา 6. เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์) 13. หม่อมเขียน สนิทวงศ์ ณ อยุธยา 3. หม่อมหลวงบัว กิติยากร 14. รวย บุญธร 7. ท้าววนิดาพิจาริณี (บาง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา) 30. ทัด ณ บางช้าง 15. แหว บุญธร

อ้างอิง[แก้]

  • หม่อมราชวงศ์กิติวัฒนา ปกมนตรี. เขียนถึงสมเด็จ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ:เลมอนที. 2547, หน้า 74
  • ""รักของท่านหญิง" สำรวจความรัก-การแต่งงานของเจ้านายสตรีที่เปลี่ยนไปหลัง 2475". ศิลปวัฒนธรรม. 19 มีนาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 23 ตุลาคม 2562.
  • ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักพระราชวัง ที่ ๓/๒๔๙๙ เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ลาออกจากฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์ (หม่อมเจ้าพันธุ์สวลี ยุคล), เล่ม ๗๓, ตอน ๕๙, ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๙ หน้า ๒๑๒๖
  • กิติวัฒนา (ไชยันต์) ปกมนตรี, หม่อมราชวงศ์. สายพระโลหิตในพระพุทธเจ้าหลวง. กรุงเทพฯ : ดีเอ็มดี, พ.ศ. 2551. 290 หน้า. ISBN 978-974-312-022-0
  • ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนา พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร, เล่ม ๙๔, ตอน ๑๓ ก, ๒๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๐, หน้า ๖๒
  • ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เฉลิมพระนาม (พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ), เล่ม ๑๐๘, ตอน ๑๔๐ก ฉบับพิเศษ, ๑๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๔, หน้า ๑
  • พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งองคมนตรี (หม่อมราชวงศ์อดุลกิติ์ กิติยากร)
  • ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เล่ม ๑๐๘ ตอน ๗๘ ฉบับพิเศษ ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๔ หน้า ๑
  • ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (ชั้นสายสะพาย)เล่ม ๑๐๖ ตอน ๒๑๔ ง ฉบับพิเศษ ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๒ หน้า ๑
  • แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2019-08-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๓, ตอน ๑๒ ฉบับพิเศษ, ๒๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๙, หน้า ๔ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เหรียญรัตนาภรณ์ (หม่อมราชวงศ์อดุลกิติ์ กิติยากร, ท่านผู้หญิงบุษบา กิติยากร สธนพงศ์, คุณกัญดา ธรรมมงคล), เล่ม ๑๑๐, ตอน ๒ ง, ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๖ ๔, หน้า