ตัวอย่าง การ เขียน แผนการ สอน ปฐมวัย

การจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ระดับชั้นปฐมวัย [ตามแนวหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ. ๒๕๖๐]

การจัดทำแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ระดับชั้นปฐมวัย

ขั้นตอนการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์

ตัวอย่าง การ เขียน แผนการ สอน ปฐมวัย

การจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ให้บรรลุจุดหมายของหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย ผู้สอนควรดำเนินตามขั้นตอน ต่อไปนี้

1. ศึกษาทำความเข้าใจหลักสูตรสถานศึกษา ควรศึกษาหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยอย่างละเอียดจนเกิดความเข้าใจว่าจะต้องพัฒนาเด็กอย่างไร เพื่อให้บรรลุตามจุดหมายที่กำหนดไว้ การศึกษาหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยช่วยให้ผู้สอนสามารถออกแบบการจัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย นอกจากนี้ ควรศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมเพื่อให้มีความเข้าใจยิ่งขึ้น เช่น คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ข้อมูลพัฒนาการเด็ก เป็นต้น

2. ออกแบบการจัดประสบการณ์ ผู้สอนควรออกแบบการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์ที่กำหนดไว้ในหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย ในกรณีที่สถานศึกษากำหนดรูปแบบการจัดประสบการณ์แบบหน่วยการจัดประสบการณ์ ผู้สอนต้องกำหนดหัวเรื่องเพื่อใช้เป็นแกนกลางในการจัดประสบการณ์และกำหนดรายละเอียดของหน่วยการจัดประสบการณ์ โดยนำมาจากการวิเคราะห์สาระการเรียนรู้รายปีในหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย ดังนี้

2.1 กำหนดหัวเรื่องหรือชื่อหน่วยการจัดประสบการณ์ การกำหนดหัวเรื่องเพื่อใช้ในการจัดประสบการณ์ พิจารณาจากสาระที่ควรเรียนรู้ ซึ่งระบุไว้ในการวิเคราะห์สาระการเรียนรู้รายปี ในหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย หัวเรื่องที่กำหนดควรมีลักษณะ ดังนี้

- เหมาะสมกับวัยและพัฒนาการของเด็ก

- ตรงตามความต้องการและความสนใจของเด็ก

- สอดคล้องกับสภาพและบริบทในการดำเนินชีวิตประจำวันของเด็ก

- บูรณาการสาระการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสม

- ผนวกคุณธรรมและจริยธรรมเข้าไปได้อย่างผสมกลมกลืน

การกำหนดหัวเรื่องสามารถทำได้ 3 วิธี ดังนี้

วิธีที่ 1 ผู้สอนเป็นผู้กำหนด ผู้สอนจะเป็นผู้กำหนดหน่วยการจัดประสบการณ์ โดยพิจารณาจากสาระการเรียนรู้ในหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยและความสนใจของเด็ก

วิธีที่ 2 ผู้สอนและเด็กร่วมกันกำหนด ผู้สอนจะกระตุ้นให้เด็กแสดงความคิดเห็นแล้วนำเรื่องที่สนใจมากำหนดเป็นหน่วยการจัดประสบการณ์

วิธีที่ 3 เด็กเป็นผู้กำหนด ผู้สอนจะเปิดโอกาสให้เด็กเป็นผู้กำหนดหัวเรื่องได้ตามความสนใจของเด็ก

ผู้สอนสามารถนำหัวเรื่องหน่วยการจัดประสบการณ์ที่กำหนดไว้มาจัดทำเป็นกำหนดการจัดประสบการณ์ประจำปีการศึกษา โดยคำนึงถึงฤดูกาล แหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น เทศกาล ประเพณี และวันสำคัญต่างๆ เพื่อเป็นการเตรียมว่าจะจัดประสบการณ์หัวเรื่องใดในช่วงเวลาใด ให้ครบตามเวลาเรียนที่กำหนดในหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย ทั้งนี้ ผู้สอนควรจัดเตรียมให้มีช่วงเวลาสำหรับจัดประสบการณ์ตามความสนใจของเด็ก และตระหนักว่าสามารถเปลี่ยนแปลงหรือยืดหยุ่นกำหนดการจัดประสบการณ์ได้ตามความสนใจของเด็ก

2.2 กำหนดรายละเอียดของหน่วยการจัดประสบการณ์ ผู้สอนควรกำหนดรายละเอียดของหน่วยการจัดประสบการณ์ ประกอบด้วย มาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ตัวบ่งชี้ สภาพที่พึงประสงค์ จุดประสงค์การเรียนรู้ และสาระการเรียนรู้ทั้งประสบการณ์สำคัญและสาระที่ควรเรียนรู้ ให้สัมพันธ์กันทุกองค์ประกอบ โดยนำมาจากการวิเคราะห์สาระการเรียนรู้ในหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย ซึ่งอาจยืดหยุ่นได้ตามความเหมาะสมกับหัวเรื่องหรือชื่อหน่วยการจัดประสบการณ์ พร้อมทั้งกำหนดเวลาเรียนของแต่ละหน่วยการจัดประสบการณ์ 1 - 2 สัปดาห์ ตามความเหมาะสมกับสาระการเรียนรู้ของหน่วยการจัดประสบการณ์

รายละเอียดของหน่วยการจัดประสบการณ์ : (1) มาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ตัวบ่งชี้ สภาพที่พึงประสงค์ (2) จุดประสงค์การเรียนรู้ [ ผู้สอนสามารถพิจารณาจากสภาพที่พึงประสงค์ \> ปรับเป็นจุดประสงค์การเรียนรู้ สามารถกำหนดให้สัมพันธ์กับสาระที่ควรเรียนรู้ของหน่วยฯ หรือ ปรับให้สอดคล้องกับความสามารถในขณะนั้นของเด็ก หรือกำหนดตามสภาพที่พึงประสงค์ โดยพิจารณาจากความสามารถของเด็กที่ผู้สอนรับผิดชอบเป็นหลัก - การกำหนดจำนวนจุดประสงค์การเรียนรู้ไม่ควรมากเกินไป เพื่อให้สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง = เกิดพฤติกรรมที่พึงประสงค์ ] (3) สาระการเรียนรู้ ประกอบด้วย ประสบการณ์สำคัญ และ สาระที่ควรเรียนรู้

การกำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้

- พิจารณาจากตัวบ่งชี้ หรือสภาพที่พึงประสงค์

- กำหนดให้สัมพันธ์กับสาระการเรียนรู้ของหน่วย

- พิจารณาความสามารถของเด็กในขณะนั้น

- ครอบคลุมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน

- จำนวนเหมาะสม สามารถปฏิบัติได้จริง

การกำหนดประสบการณ์สำคัญ

- คัดเลือกจากหลักสูตรสถานศึกษา

- สัมพันธ์กับสาระที่ควรเรียนรู้ของหน่วย

- ครอบคลุมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน

การกำหนดสาระที่ควรเรียนรู้

- คัดเลือกจากหลักสูตรสถานศึกษา

- กำหนดรายละเอียดเพิ่มเติมให้สัมพันธ์กับหน่วย (แนวคิด เนื้อหา ทักษะ หรือเจตคติ)

- คำนึงถึงสิ่งที่เด็กรู้แล้ว สิ่งที่เด็กต้องการรู้ และสิ่งที่เด็กควรรู้

- ระดับความยากง่ายเหมาะสมกับวัย และ สิ่งแวดล้อมในชีวิตจริงของเด็ก

เมื่อกำหนดครบทุกหน่วยแล้ว ต้องครบถ้วนตามหลักสูตรสถานศึกษา

ส่วนประกอบของแผนการจัดประสบการณ์

ส่วนประกอบของแผนการจัดประสบการณ์ที่สำคัญ มีอะไรบ้าง

หัวข้อสำคัญที่ควรมีในแผนการจัดประสบการณ์ มีดังนี้

  1. ชื่อหน่วยการจัดประสบการณ์ ระบุชื่อหัวเรื่องที่ใช้ในการจัดประสบการณ์ จากหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยที่กำหนดไว้แล้ว หรือยืดหยุ่นปรับตามความสนใจของเด็ก

จุดประสงค์ทั่วไป (บางแผนไม่มี) ระบุเป้าหมายพฤติกรรมที่ต้องการให้เด็กเกิด เมื่อเด็กทำกิจกรรมครบตามระยะเวลาที่ผู้สอนวางแผนไว้ ทั้งนี้ควรอยู่บนพื้นฐานพัฒนาการเด็กและจุดหมายที่กำหนดไว้ในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย/สถานศึกษาปฐมวัย

  1. วันที่และเวลา ระบุวันที่ทำการสอน และระบุเวลาตามตารางกิจกรรมประจำวัน
  1. สาระสำคัญ / ความคิดรวบยอด เป็นข้อสรุปหรือความคิดครั้งสุดท้ายที่เกิดแก่ผู้เรียน ควรเขียนในลักษณะที่สั้น กระชับ เป็นสาระหรือแก่นแท้ของเนื้อหาที่ต้องการให้ผู้เรียนได้รับ/เรียนรู้ โดยใช้วิธีเขียนในลักษณะที่สั้น-ง่าย-ใจความเดียว โดยเขียนให้สัมพันธ์กับจุดประสงค์และเนื้อหา หรือเขียนแบบ 3ค. “คือ-ควร-คุณค่า”

สาระสำคัญ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ 1. นิยามความหมาย หรือความคิดรวบยอด 2. หลักการ ทฤษฎี กฎ 3. สัจพจน์ คติพจน์ (สุภาษิตสอนใจ)

ตัวอย่างการเขียนสาระสำคัญให้สัมพันธ์กับจุดประสงค์การเรียนรู้และเนื้อหา เรื่อง “…………”

จุดประสงค์

(พฤติกรรมการเรียนรู้)

เนื้อหา

สาระสำคัญแบบ 3 ค.

1. บอกส่วนประกอบของ “……………”ได้

1. ส่วนประกอบของ “…………”

“………..…” มีส่วนประกอบ ได้แก่ .............................

2. อธิบายขั้นตอน / หลักการทำงาน และการดูแลรักษา“…………” ได้อย่างถูกต้อง

2. ขั้นตอน / หลักการทำงานและ

การดูแลรักษา “…………”

ควรมีความรู้ ความเข้าใจขั้นตอน / หลักการทำงานและการดูแลรักษา “…………”

3. บรรยายประโยชน์ของ

“…………” ได้

3. ประโยชน์ของ “…………”

“…………” เป็นสิ่งที่มีประโยชน์ ถ้ารู้จักใช้อย่างเหมาะสม จะเป็นประโยชน์มีคุณค่า และทำให้มีความสุข

  1. ชื่อกิจกรรม ระบุชื่อกิจกรรมตามตารางกิจกรรมประจำวัน (แต่ละหน่วยงานอาจเรียกต่างกัน) เช่น กิจกรรมเสริมประสบการณ์
  1. จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม / ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ระบุเป้าหมายพฤติกรรมที่ต้องการให้เกิดกับเด็ก เมื่อทำกิจกรรมในหน่วยแล้ว และควรอยู่บนพื้นฐานพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน

จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม คือ สิ่งที่มุ่งหวังหรือเป้าหมายที่จะให้เกิดกับผู้เรียนหลังจากที่ได้เรียนตามแผนการจัดการเรียนรู้นั้น อยู่บนพื้นฐานพัฒนาการเด็ก ควรเขียนระบุพฤติกรรมให้ชัดเจน สั้นและเข้าใจง่าย ทำให้กำหนดกิจกรรมและวัดผลได้

การเขียนต้องครอบคลุมพฤติกรรมทั้งความรู้ (K) ทักษะ (P) เจตคติ (A) หรือครอบคลุมพัฒนาการของผู้เรียนตามมาตรฐานและประสบการณ์สำคัญ นอกจากนี้การเขียนต้องครอบคลุมองค์ประกอบของจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม ได้แก่ สถานการณ์ พฤติกรรม และเกณฑ์

  1. สาระการเรียนรู้ ประกอบด้วยประสบการณ์สำคัญและสาระที่ควรรู้ เป็นสาระที่ถูกกำหนดไว้

ในหลักสูตรของสถานศึกษาที่บุคลากรสถานศึกษาร่วมกันจัดทำ เป็นประสบการณ์สำคัญที่คาดว่าจะได้ใช้ในการเรียนสาระและถูกกำหนดไว้แล้วในหลักสูตรของสถานศึกษาที่บุคลากรสถานศึกษาร่วมกันจัดทำ เช่น หน่วยอาหารดีมีประโยชน์ ครูให้เด็กเรียนรู้โดยผ่านประสบการณ์การทำอาหาร (การวางแผน ตัดสินใจเลือก และลงมือปฏิบัติ)

  1. วิธีดำเนินกิจกรรม ระบุกิจกรรมเป็นขั้นตอนตั้งแต่ต้นจนจบ โดยคำนึงถึงวัย พัฒนาการ ช่วงความสนใจของเด็กและจุดประสงค์ที่ต้องการ (รายละเอียดของของขั้นตอน สามารถใช้ตามรูปแบบเทคนิควิธีการสอน/การจัดประสบการณ์ ที่ครูนำมาใช้ดำเนินกิจกรรม เช่น การจัดประสบการณ์โดยการเล่านิทาน การจัดประสบการณ์โดยใช้การไปทัศนศึกษา การจัดประสบการณ์โดยใช้ศูนย์การเรียน เป็นต้น)
  1. สื่อ ระบุสื่อที่ใช้ในการดำเนินกิจกรรม ควรเริ่มจากของจริง ของจำลอง รูปภาพ ฯลฯ โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของเด็กเป็นสำคัญ [สื่อ หมายถึง วัสดุอุปกรณ์การเรียนการสอน สื่อ บุคคล แหล่งการเรียนรู้ เทคนิควิธีที่ครูและผู้เรียนใช้ในกิจกรรม ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ประเภทของสื่อ : สื่อบุคคล วัสดุอุปกรณ์ เทคนิควิธีการ (กระบวนการ) ประเภทของแหล่งการเรียนรู้ : แหล่งการเรียนรู้ที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติ และแหล่งการเรียนรู้ที่มนุษย์สร้างขึ้น - แหล่งการเรียนรู้ภายในสถานศึกษา (ใน-นอกอาคารเรียน) เช่น ห้องสมุด ห้องคอมพิวเตอร์ ห้องวัฒนธรรมไทย สวนสมุนไพร สวนวรรณคดี สวนสุขภาพ สวนธรรม - แหล่งการเรียนรู้ภายนอกสถานศึกษา 1) แหล่งการเรียนรู้ที่เป็นธรรมชาติ 2) มนุษย์สร้างขึ้น 3) ภูมิปัญญาท้องถิ่น วิถีการดำรงชีวิต เช่น แม่น้ำ ลำธาร / ร้านค้า วัด โบสถ์ สุเหร่า มัสยิด สถานที่ราชการ / ผู้รู้ ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้นำทางศาสนา ขนบธรรมเนียม ประเพณี ความเชื่อ เป็นต้น]
  1. การประเมิน ระบุวิธีการประเมินและสิ่ง/พฤติกรรมที่ประเมิน ซึ่งวิธีการประเมินสำหรับเด็กปฐมวัยมีหลายวิธี วิธีที่เหมาะสม คือ การสังเกต การสนทนา ฯ อาจเขียนให้ครอบคลุมถึงเครื่องมือประเมินผล เกณฑ์การวัดและการประเมินด้วย
  1. บันทึกหลังสอน ระบุผลการจัดกิจกรรมที่เกิดขึ้น (เด็ก/ครู) และปัญหาการจัดการในชั้นเรียน พร้อมแนวทางการพัฒนา/ปรับปรุง

    ตัวอย่างการตรวจสอบเครื่องมือประเมินผล

หน่วยที่ 1: ตัวเรา ชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 2 อายุ 5 ปี

สัปดาห์

หน่วย

การจัด

ประสบการณ์

สาระการเรียนรู้

เครื่องมือ

ประเมินผล

มาตรฐาน

คุณลักษณะ

ที่พึงประสงค์

สาระที่ควร

เรียนรู้

ประสบการณ์สำคัญ

1

ตัวเรา

- อาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย

- ความปลอดภัย

- การปฏิบัติตนตามสุขอนามัย

- การรักษาความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่น

แบบสังเกตพฤติกรรมขณะรับประทาน

- แบบบันทึกคำพูดและพฤติกรรมขณะเล่น

ด้านร่างกาย ร่างกายเจริญเติบโตตามวัยและมีสุขนิสัยที่ดี

- ความรับผิดชอบในห้องเรียน

- การเล่นในและนอกห้องเรียน

- แบบบันทึกพฤติกรรม

ขณะเล่น

ด้านอารมณ์จิตใจ

- มีคุณธรรมจริยธรรมและจิตใจที่ดีงาม

- การแต่งกาย

- การรับประทานอาหาร

- การปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของตนเอง

- แบบบันทึกพฤติกรรม

ในขณะปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน

ด้านสังคม

- ช่วยเหลือตนเองได้เหมาะสมกับวัย

- อวัยวะของร่างกาย

- การรู้จักสิ่งต่าง ๆ ด้วยการมอง ฟัง สัมผัส ชิมรส และดมกลิ่น

- แบบสังเกตการตอบคำถาม แบบบันทึกการทดลองประสาทสัมผัส

ด้านสติปัญญา

- มีความสามารถในการคิดและการแก้ปัญหาได้เหมาะสมกับวัย

จากตัวอย่าง ครูสามารถประเมินผู้เรียนครบพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ในแต่ละหน่วยการจัดประสบการณ์ ครูควรนำเครื่องมือการประเมินผลทุกข้อในแต่ละหน่วยมาตรวจสอบ จากตัวอย่าง หน่วยที่ 1 : ตัวเรา เป็นเพียงบางข้อเท่านั้นยังไม่ครบถ้วนตามหน่วย ซึ่งแต่ละหน่วยการจัดประสบการณ์ เครื่องมือประเมินผลไม่จำเป็นต้องวัดมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ครบทุกข้อ

แผนการจัดประสบการณ์ปฐมวัย 6 กิจกรรม มีอะไรบ้าง

การจัดกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม 1. กิจกรรมเสรี 2. กิจกรรมสร้างสรรค์ 3. กิจกรรมเคลื่อนไหว และจังหวะ 4. กิจกรรม เสริมประสบการณ์ 5. กิจกรรมกลางแจ้ง 6. กิจกรรมเกม การศึกษา

ขั้นตอนการเขียนแผนการสอน มีอะไรบ้าง

  1. เขียนจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมได้ชัดเจน 2) รวมเนื้อหาและขอบเขตได้ชัดเจน 3) ค้นคว้าเนื้อหาได้ตรงจุดและสะดวก 4) ออกแบบและเขียนแผนการเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น 5) เลือกวิธีการเรียนรู้ได้ง่ายและเหมาะสม 6) สามารถสรุปความคิดรวบยอดส าคัญได้ดี 7) การวัดและประเมินผลมีความเที่ยงตรง

องค์ประกอบของแผนการจัดประสบการณ์มีอะไรบ้าง

การจัดทำแผนการจัดกิจกรรมและประสบการณ์ องค์ประกอบสำคัญของแผนการจัดการเรียนรู้ อย่างน้อยต้องมีสิ่งต่อไปนี้ 1. สาระสำคัญ 2. จุดประสงค์การเรียนรู้ 3. สาระการเรียนรู้ 4. กิจกรรมการเรียนรู้ 5. สื่อ / อุปกรณ์/ แหล่งการเรียนรู้ 6. การวัดและประเมินผล 7. บันทึกผลหลังสอน

พัฒนาการด้านการอ่านของเด็กปฐมวัย มีกี่ขั้น

ขั้นที่ 1 - วาดแทนเขียน เด็กที่จะสื่อความคิดโดยใช้การวาดภาพแทนการเขียน ขั้นที่ 2 - ขีดเขี่ยแทนเขียน เด็กพยายามที่จะเขียนหนังสือแบบผู้ใหญ่ ขั้นที่ 3 - เขียนโดยการทำเครื่องหมายคล้ายตัวหนังสือ เด็กพยายามเขียนตัวหนังสือ ขั้นที่ 4 - เขียนตัวอักษรที่รู้จักด้วยวิธีที่คิดขึ้นเอง