ภาวะผู้ นํา ทางวิชาการ 2564

ACADEMIC LEADERSHIP OF SCHOOL ADMINISTRATORS IN EMERGING INFECTION DISEASE ERA UNDER THE SECONDARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE SURIN

  • อนงค์ ปาสานะตัง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • วิมลพร สุวรรณแสนทวี มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด

Abstract

           บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคโรคอุบัติใหม่ 2)เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูผู้สอนต่อภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคโรคอุบัติใหม่ จำแนกตามเพศ วุฒิการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน 3)เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคโรคอุบัติใหม่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูผู้สอน จำนวน 181 คน เครื่องมือในการวิจัยเป็นสถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าที (t-test) และวิเคราะห์ความแปรปรวน (F–test)


           ผลการวิจัยพบว่า 1)ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคโรคอุบัติใหม่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน โดยรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดไปหาต่ำสุด ได้แก่ ด้านการจัดการเรียนการสอนการนิเทศการประเมินผล ด้านการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ด้านการประสานงานด้านหลักสูตร และด้านการกำหนดเป้าหมายของโรงเรียน 2)ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคโรคอุบัติใหม่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ จำแนกตามเพศ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน โดยภาพรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งสอดคล้องกับสมมุติฐานที่ตั้งไว้ ยกเว้นด้านการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ จำแนกตามเพศ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 3)ข้อเสนอแนะเกี่ยวการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคโรคอุบัติใหม่ มีการกำหนดเป้าหมายอย่างชัดเจน มีส่วนร่วมในการประชุมวางแผนร่วมกับคณะครูส่งเสริมครูผู้สอนให้พัฒนาตนเองให้มีความพร้อม ปรับปรุงรูปแบบการนิเทศและการประเมินผล จัดหาสื่อให้ครูใช้สื่อเทคโนโลยีมากขึ้น ใช้แหล่งเรียนรู้ที่มีความทันสมัยและหลากหลาย

References

เกตุสุดา กิ้งการจร. (2560). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 สระบุรี. วิทยานิพนธ์คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ชลนิชา ศิลาพงษ์. (2564). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารวิชาการในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

โชษิตา ศิริมั่น. (2564). ทักษะการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารในภาวะวิกฤตโควิด-19 ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31. วารสารคณะศึกษาศาสตร์. 1(8). 408-415.

บุญพา พรหมณะ. (2559). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.

พัชราภรณ์ ดวงชื่น. (2561). การบริหารจัดการศึกษารับความปกติใหม่หลังวิกฤตโควิด–19. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน. 6(8). 785-791.

รัตนา กาญจนพันธุ์. (2563). การบริหารสถานศึกษาในสถานการณ์วิกฤตไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). วารสารดุษฏีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. 10(3). 545–556.

ศราวุธ ทองอากาศ. (2560). การศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดจันทบุรี ระยอง และตราด. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารบริหารการศึกษา. คณะครุศาสตร์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552-2561). กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์. (2563). ความพึงพอใจต่อการนิเทศ ติดตามการดำเนินงานของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ ปีการศึกษา 2565. สุรินทร์ : กลุ่มนิเทศติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์.

ภาวะผู้ นํา ทางวิชาการ 2564

  • PDF

Published

2022-10-28

How to Cite

ปาสานะตัง, อนงค์; สุวรรณแสนทวี, วิมลพร. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคโรคอุบัติใหม่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์. วารสารการบริหารการศึกษา มมร.วิทยาเขตร้อยเอ็ด, [S.l.], v. 2, n. 3, p. 13-23, oct. 2022. ISSN 2730-4132. Available at: . Date accessed: 19 jan. 2023.

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์ หาอำนาจพยากรณ์ และหาแนวทางยกระดับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้างานวิชาการ และครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ประจำปีการศึกษา 2563 รวมทั้งสิ้น 339 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ด้านภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .781- .885 มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .936 และประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .800- .837 มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .930 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้การวิเคราะห์ F-test (One way ANOVA) ใช้ค่าสหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน

ผลการวิจัย พบว่า

1. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้างานวิชาการ และครูผู้สอน โดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด

2. ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้างานวิชาการ และครูผู้สอน โดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด

3. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้างานวิชาการ และครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพ และจำแนกตามอำเภอที่โรงเรียนตั้งอยู่ โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  จำแนกตามประสบการณ์ในการทำงาน และขนาดของโรงเรียน โดยรวมไม่แตกต่างกัน

3. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้างานวิชาการ และครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพ และจำแนกตามอำเภอที่โรงเรียนตั้งอยู่ โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำแนกตามประสบการณ์ในการทำงาน และขนาดของโรงเรียน โดยรวมไม่แตกต่างกัน

4. ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้างานวิชาการ และครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพ ประสบการณ์ในการทำงาน และอำเภอที่โรงเรียนตั้งอยู่ โดยรวมไม่แตกต่างกัน และจำแนกตามขนาดของโรงเรียน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

5. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา และประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้างานวิชาการ และครูผู้สอน มีความสัมพันธ์กันทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

6. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา มีอำนาจพยากรณ์ ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน ได้แก่ ด้านการพัฒนาหลักสูตรและจัดการเรียนการสอน และด้านการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนด้านการพัฒนาครูและบุคลากรด้านวิชาการ และด้านการสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

7. แนวทางการยกระดับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน ดังนี้ 7.1) ผู้บริหารสถานศึกษาควรเป็นผู้ที่มีความรู้ทางด้านวิชาการ มีการวิเคราะห์หลักสูตรแกนกลาง จัดทำหลักสูตรสถานศึกษา และนำหลักสูตรไปใช้ 7.2) ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีแผนในการพัฒนาครูและบุคลากรด้านวิชาการที่ชัดเจน ยุติธรรม ส่งเสริมให้ครูพัฒนาตนเอง เช่น การประชุม อบรม และศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น 7.3) ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีการกำหนดเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ทั้งด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คุณธรรมและจริยธรรม และ 7.4) ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีการสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ทั้งทางด้านกายภาพและจิตวิทยา

Abstract

The purposes of this research were to study, compare, find out the predictive power and establish the guidelines to improve instructional leadership of school administrators affecting the effectiveness of academic administration in schools under the Office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 1. The samples, consisted of 339 administrators’ academic heads and teachers in the academic year 2020. The instruments for data collection were a set of 5-level rating scale questionnaires with discrimination power values ranged from .781 to .885 and reliability in terms of the instructional leadership of school administrators at .936 and with discrimination power values ranged from .800 to .837 and reliability in terms of the effectiveness of academic administration in schools at .930. Data were analyzed through percentage, mean, and standard deviation. The hypothesis testing used was F-test (One way ANOVA), Pearson Product-Moment Correlation and Stepwise Multiple Regression Analysis.

The results were as follows:

1. The instructional leadership of school administrators as perceived by administrators, academic heads and teachers as whole was at a highest level.

2. The effectiveness of school academic administration as perceived by administrators, academic heads and teachers as whole was at a highest level.

3. The instructional leadership of school administrators as perceived by administrators, academic heads and teachers, classified by status and the district is located in the school as a whole was at a statistical significant difference of the .05 level, classified by work experience and school sizes as a whole was no significant statistical difference.

4. The effectiveness of school academic administration as perceived by administrators, academic heads and teachers, classified by status, work experience and the district is located in the school as a whole was no significant statistical difference, classified by school sizes as a whole was at a statistical significant difference of the .01 level.

5. The instructional leadership of school administrators affecting the effectiveness of academic administration as perceived by administrators, academic heads and teachers had a positive relationship at a statistical significance level of .01

6. The instructional leadership of school administrators had the predictive power toward the effectiveness of academic administration in schools, including curriculum development and teaching and learning and students quality development was at a statistical significant difference of the .01 level and teacher and academic development and creating the environment for learning was at a statistical significant difference of the .05 level.

7. Guidelines for improving the instructional leadership of school administrators affecting the effectiveness of academic administration in schools are as follows : 7.1) Administrators should be persons with academic knowledge, core courses are analyzed, create an educational institution curriculum and apply the course 7.2) Administrators should have a plan to develop teachers and academic personnel that are clear, fair, encouraging teachers to develop themselves such as meetings, training and further education at a higher level. 7.3) Administrators should set goals for improving the quality of learners in terms of academic achievement, morality and ethics 7.4) Administrators should create the environment for learning of physical and psychological learning

คำสำคัญ

ภาวะผู้นำทางวิชาการ, ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน

Keyword

Academic Leadership Effectiveness of academic administration in schools

Copyright (c) 2021 วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำเท่านั้น