ผล งาน ของ พระ มหา ธรรมราชา ที่ 1 ด้าน การปกครอง

We’ve updated our privacy policy so that we are compliant with changing global privacy regulations and to provide you with insight into the limited ways in which we use your data.

You can read the details below. By accepting, you agree to the updated privacy policy.

Thank you!

View updated privacy policy

We've encountered a problem, please try again.

ประวัติพระมหาธรรมราชาที่๑ (พญาลิไท)

พระมหาธรรมราชาที่ ๑ ทรงเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าเลอไท และเป็นพระนัดดาของพระเจ้ารามคำแหงมหาราช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ ราชวงศ์พระ ร่วง ครองกรุงสุโขทัย เมื่อ พ.ศ. ๑๘๙๐ - พ.ศ. ๑๙๑๒ (๑๙๑๔) ก่อนขึ้นครองราชสมบัติทรงดำรงตำแหน่งอุปราช ครองเมืองศรีสัชนาลัย ตั้งแต่ พ.ศ. ๑๘๘๓ - พ.ศ.๑๘๙๐ ใน พ.ศ. ๑๘๙๐ เมื่อพระยางั่วนำถม พระมหากษัตริย์ครองราชสมบัติ ณ กรุงสุโขทัย ได้เสด็จสวรรคตได้เกิดการจราจลชิงราชสมบัติกรุงสุโขทัยขึ้น พระมหาธรรมราชาที่ ๑ (พระยาลิไท) ทรงสามารถยกกองทัพมาปราบปรามศัตรูได้หมดสิ้น และเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ เป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ ๖ แห่งราช วงศ์พระร่วงเฉลิมพระนามว่า ศรีสุริยพงศ์รามมหาธรรมราชาธิราช

เมื่อพระมหาธรรมราชาที่ ๑ (พระยาลิไท) เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ พระเจ้าอู่ทอง ได้ส่งกองทัพจากศรีอยุธยามาโจมตี และยึดเมือง พิษณุโลก (สองแคว) ไว้ได้ ทำให้อาณาจักรสุโขทัยเกิดความไม่มั่นคง และไม่ปลอดภัย เพราะเมืองพิษณุโลกอยู่ใกล้กับสุโขทัยมาก ดังนั้น พระมหาธรรมราชาที่๑ (พระยาลิไท) จึงทรงส่งคณะราชฑูต ไปขอเจริญพระราชไมตรีกับสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง)และได้ขอเมืองพิษณุโลกคืนจากสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) ซึ่งก็ทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทานให้ หลังจากนั้นพระมหาธรรมราชาที่ ๑ (พระยาลิไท) ก็ทรงเสด็จไปประทับอยู่ ณ เมืองพิษณุโลก เป็นเวลา ๗ ปี คือ ตั้งแต่ พ.ศ. ๑๙๐๕ - พ.ศ. ๑๙๑๒ เพื่อป้องกันมิให้ทางกรุงศรีอยุธยา ส่งกองทัพไปรุกรานกรุงสุโขทัยและทรงมอบให้พระขนิษฐาองค์หนึ่งของ พระองค์ปกครอง กรุงสุโขทัยแทน
           ในปี พ.ศ. ๑๙๑๒ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) เสด็จสวรรคต พระมหาธรรมราชาที่ ๑ (พระยาลิไท) ได้เสด็จกลับไปครองกรุงสุโขทัยดังเดิม

พระราชกรณียกิจ

พระราชกรณียกิจที่สำคัญในรัชสมัยของพระองค์มีดังนี้

๑. ทรงรวบรวมราชอาณาจักรสุโขทัยให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และขยายพระราชอำนาจออกไปได้เมืองระหว่างแควจำปาสักกับแม่น้ำปิง จนจดแม่น้ำน่านทาง ทิศเหนือ มาไว้ในราชอาณาจักรสุโขทัย
๒. ด้านศาสนา พระมหาธรรมราชาที่ ๑ (พระยาลิไท) ทรงมีบทบาทสำคัญในการทำนุบำรุงและเผยแพร่พระพุทธศาสนา กล่าวคือ ได้ส่งพระ สงฆ์ออกไปเผยแพร่ พระพุทธศาสนายังที่ต่าง ๆ เช่น ที่เมืองเชียงใหม่ พิษณุโลก อยุธยา และหลวงพระบาง ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ซ่อมพระเจดีย์เมืองนครชุม (กำแพงเพชร) พ.ศ. ๑๙๐๒ ทรงประดิษฐานรอยพระพุทธบาทที่เขาสุมนกุฏ ซึ่งอยู่นอกเมืองสุโขทัย พ.ศ. ๑๙๐๔ โปรดให้สร้างวัด ป่ามะม่วง (สุโขทัย) พระองค์ทรงมีความเคารพเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนามาก ได้ผนวชเป็นสามเณรในพระราชมณเฑียร และผนวชเป็นพระภิกษุที่วัดป่ามะม่วง ในกรุง สุโขทัย ทรงโปรดให้หล่อพระพุทธรูปปางมารวิชัย มีขนาดเท่ากับองค์พระพุทธเจ้า ถวายพระนามว่า พระศรีศากยมุนี ประดิษฐานที่พระวิหารวัดพระ ศรีรัตนมหาธาตุ สุโขทัย
๓. ด้านภาษาและวรรณคดี พระองค์ทรงมีความเชี่ยวชาญในด้านภาษาและวรรณคดีเป็นพิเศษ ดังมี หลักฐานปรากฏในหนังสือไตรภูมิพระร่วง ว่าพระมหาธรรมราชาที่ ๑ (พระยาลิไท) ทรงนิพนธ์ขึ้นใน พ.ศ.๑๘๘๘ ครั้งยังดำรงพระยศเป็นพระมหาอุปราช ครองเมืองศรีสัชนาลัย หนังสือไตร ภูมิพระร่วงนี้ ซึ่งเป็นวรรณคดี ที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา นับเป็นวรรณคดีไทยชั้นเยี่ยมเล่มแรกของไทย และทรงโปรดเกล้าฯ ให้จารึกเรื่องราวต่าง ๆ ในรัชสมัยของพระองค์ลงในแผ่นศิลา โดยเฉพาะศิลาจารึกกรุงสุโขทัยหลักที่ ๔ ซึ่งมีคุณค่ายิ่งต่อการศึกษาประวัติศาสตร์ไทยในสมัยสุโขทัย และประวัติศาสตร์ เมืองพิษณุโลกเป็นอย่างยิ่งพระราชกรณียกิจขณะทรงประทับอยู่ ณ เมืองพิษณุโลก

            

พระมหาธรรมราชาที่ ๑ (พระยาลิไท) ทรงประทับอยู่ ณ เมืองพิษณุโลก เป็นเวลา ๗ ปี ได้ทรงสร้างเมืองพิษณุโลก และพระราชวังขึ้น ทางฝั่งตะวันตกของ แม่น้ำน่าน คือ พระราชวังจันทน์ ทรงสร้างปูชนียสถานและปูชนียวัตถุที่สำคัญ คือ ทรงสร้างวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร หล่อพระพุทธชินราช ซึ่งเป็น พระพุทธรูปที่งดงามที่สุดในประเทศไทย พระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา ทรงโปรดเกล้าฯ ให้นำต้นโพธิ์จากลังกามาปลูกไว้ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร พิษณุโลก จากพระราชกรณียกิจที่พระมหาธรรมราชาที่ ๑ (พระยาลิไท) ได้ทรงกระทำแล้ว นับว่าพระองค์เป็นพระมหากษัตริย์องค์แรกที่ทรงวางรากฐาน และสร้าง ความเจริญในจังหวัดพิษณุโลกพระราชกรณียกิจ

การศาสนา
พระยาลิไทยทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมากนโยบายการปกครองที่ใช้ศาสนา เป็นหลักรวมความเป็นปึกแผ่นจึงเป็นนโยบายหลักในรัชสมัยนี้ ด้วยทรงดำริว่าการจะขยายอาณาเขตต่อไปเช่นเดียวกับในรัชการพ่อขุนรามคำแหง พระอัยกา ก็จักต้องนำไพร่พลไปล้มตายอีกเป็นอันมาก พระองค์จึงทรงมีพระราชประสงค์ที่จะปกครองบ้านเมืองเช่นเดียวกับพระเจ้าอโศกมหาราชที่ทรงปกครองอินเดียให้เจริญได้ด้วยการส่งเสริมพระพุทธศาสนา และสั่งสอนชาวเมืองให้ตั้งอยู่ในศีลธรรมอันจะเป็นวิธีรักษาเมืองให้ยั่งยืนอยู่ได้

ทรงสร้างเจดีย์ที่เมืองนครชุม (กำแพงเพชร) ผนวชในพระพุทธศาสนาเมื่อ พ.ศ. 1905 ที่วัดป่ามะม่วงการที่ทรงออกผนวช นับว่าทำความมั่นคงให้พุทธศาสนามากขึ้น ดังกล่าวแล้วว่า หลังรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชแล้ว บ้านเมืองแตกแยก วงการสงฆ์เองก็แตกแยก แต่ละสำนักแต่ละเมืองก็ปฏิบัติแตกต่างกันออกไป เมื่อผู้นำทรงมีศรัทธาแรงกล้าถึงขั้นออกบวช พสกนิกรทั้งหลายก็คล้อยตามหันมาเลื่อมใสตามแบบอย่างพระองค์ กิตติศัพท์ของพระพุทธศาสนาในสุโขทัยจึงเลื่องลือไปไกล พระสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่หลายรูปได้ออกไปเผยแพร่ธรรมในแคว้นต่าง ๆ เช่น อโยธยา หลวงพระบาง เมืองน่าน แม้แต่พระเจ้ากือนาธรรมิกราชแห่งอาณาจักรล้านนาก็นิมนต์พระสุมณเถระจากสุโขทัยไปเพื่อเผยแพร่ธรรมที่ล้านนา

นอกเมืองสุโขทัยทางทิศตะวันตก ทรงอาราธนาพระสามิสังฆราชจากลังกาเข้ามาเป็นสังฆราชในกรุงสุโขทัย เผยแพร่เพิ่มความเจริญให้แก่พระศาสนามากยิ่งขึ้น ทรงสร้างและบูรณะวัดมากมายหลายแห่ง รวมทั้งการสร้างพระพุทธรูปเป็นจำนวนมาก เช่น พระพุทธชินสีห์ พระศรีศาสดา และพระพุทธรูปองค์สำคัญองค์หนึ่งของประเทศคือ พระพุทธชินราช ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร

พระยาลิไทย ทรงปราดเปรื่องในความรู้ในพระพุทธศาสนา ทรงมีความรู้แตกฉานในพระไตรปิฎก พระองค์ได้ทรงแบ่งพระสงฆ์ออกเป็น 2 ฝ่ายคือฝ่าย "คามวาสี" และฝ่าย "อรัญวาสี" โดยให้ฝ่ายคามวาสีเน้นหนักการสั่งสอนราษฎรในเมืองและเน้นการศึกษาพระไตรปิฎก ส่วนฝ่ายอรัญวาสีเน้นให้หนักด้านการวิปัสสนาและประจำอยู่ตามป่าหรือชนบท ด้วยทรงเป็นองค์อุปถัมภ์พระศาสนาตลอดพระชนม์ชีพ ราษฎรจึงถวายพระนามว่า "พระมหาธรรมราชา"

พระยาลิไท ได้สร้างและบรรจุพระบรมสารีริกธาตุในพระธาตุช่อแฮ (วัดพระธาตุช่อแฮพระอารามหลวง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ ปัจจุบัน) เมื่อปี พ.ศ. ๑๙๐๒

นอกจากศาสนาพุทธแล้ว พญาลิไทยยังทรงอุปถัมภ์ศาสนาพราหมณ์ด้วยโดยทรงสร้างเทวรูปขนาดใหญ่หลายองค์ซึ่งยังเหลือปรากฏให้ศึกษาในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติในกรุงเทพมหานครและที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจังหวัดพิษณุโลก

ภาษาและวรรณคดี แก้ไข
ด้านอักษรศาสตร์ทรงพระปรีชาสามารถนิพนธ์หนังสือไตรภูมิพระร่วงที่นับเป็นงานนิพนธ์ที่เก่าแก่ที่สุดเรื่องหนึ่งในประวัติศาสตร์ไทย ด้วยทรงเชี่ยวชาญในพระไตรปิฎกจึงทรงนิพนธ์ถึงเรื่องราวเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ประเพณีในพระพุทธศาสนา โลกมนุษย์ สวรรค์ และนรก

นอกจากพระเจ้าลิไทยจะทรงนิพนธ์วรรณคดีเล่มแรกของไทยแล้ว ยังทรงดัดแปลงการเขียนหนังสือไทยที่พ่อขุนรามคำแหงทรงสร้างไว้ โดยกำหนดให้มีสระข้างบน ข้างล่าง ข้างหน้า ข้างหลัง รวมทั้งแก้ไขรูปพยัญชนะให้อ่านเขียนสะดวกขึ้น

การสร้างเมือง
ทรงทำนุบำรุงบ้านเมืองให้เจริญหลายประการ เช่น สร้างถนนพระร่วงตั้งแต่เมืองศรีสัชนาลัยผ่านกรุงสุโขทัยไปถึงเมืองนครชุม (กำแพงเพชร) บูรณะเมืองนครชุม

ทรงสร้างเมืองสองแคว (พิษณุโลก) เป็นเมืองลูกหลวงโดยการย้ายเมืองซึ่งเคยอยู่ที่สองแควซึ่งเดิมอยู่ทางใต้ (วัดจุฬามณีในปัจจุบัน) แต่ยังคงเรียกว่าเมืองสองแควตามเดิม

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
นับแต่พระยาลิไทยได้ครองราชย์มา 2 ปี พระเจ้าอู่ทองผู้ครองกรุงศรีอยุธยา ได้ให้ขุนหลวงพระงั่วยกทัพมาตีเมืองชัยนาท หัวเมืองชั้นในของกรุงสุโขทัยด้วยขณะนั้นกรุงสุโขทัยอ่อนแอจากทุพภิกขภัย ข้าวกล้าในนาเสียหาย ชาวเมืองอดอยาก

ต่อมาพระยาลิไทยได้ส่งทูตไปเจรจาให้กรุงศรีอยุธยาคืนเมืองชัยนาทแต่โดยดี และจะยินยอมให้เป็นประเทศอิสระและมีไมตรีกันเช่นเดียวกับขอมที่ครองเมืองลพบุรี กรุงศรีอยุธยาเห็นควรด้วยเกรงว่าขอมจะร่วมมือกับกรุงสุโขทัยจัดทัพกระหนาบมาตี กรุงศรีอยุธยาจึงคืนเมืองชัยนาทให้พระยาลิไทย

หลังจากสัมพันธไมตรีระหว่าง 2 กรุงดำเนินมาได้ราว 10 ปี เมื่อพระเจ้าอู่ทองสวรรคต ไมตรีระหว่างกรุงสุโขทัยกับกรุงศรีอยุธยาก็เริ่มตึงเครียดขึ้น และเมื่อขุนหลวงพระงั่ว (พระบรมราชาธิราช) ได้ราชสมบัติครองกรุงศรีอยุธยา ก็ได้กรีธาทัพไปตีกรุงสุโขทัย สงครามระหว่าง 2 กรุงดำเนินไปถึง 6 ปีเศษ ขุนหลวงพระงั่วก็ไม่อาจเอาชัยทัพพระยาลิไทย กรุงสุโขทัยได้

ที่มา : http://www.prapucha36.com/article/8/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%91-%E0%B8%9E%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B9%84%E0%B8%97

ผลงานของพระมหาธรรมราชาที่ 1 มีอะไรบ้าง

ทรงทำนุบำรุงบ้านเมืองให้เจริญหลายประการ เช่น สร้างถนนพระร่วงตั้งแต่เมืองศรีสัชนาลัยผ่านกรุงสุโขทัยไปถึงเมืองนครชุม (กำแพงเพชร) บูรณะเมืองนครชุม ทรงสร้างเมืองสองแคว (พิษณุโลก) เป็นเมืองลูกหลวงโดยการย้ายเมืองซึ่งเคยอยู่ที่สองแควซึ่งเดิมอยู่ทางใต้ (วัดจุฬามณีในปัจจุบัน) แต่ยังคงเรียกว่าเมืองสองแควตามเดิม

ผลงานของพระมหาธรรมราชาลิไทด้านการปกครองมีอะไรบ้าง

พระมหาธรรมราชาที่ ๑ (พระยาลิไท) ทรงประทับอยู่ ณ เมืองพิษณุโลก เป็นเวลา ๗ ปี ได้ทรงสร้างเมืองพิษณุโลก และพระราชวังขึ้น ทางฝั่งตะวันตกของ แม่น้ำน่าน คือ พระราชวังจันทน์ ทรงสร้างปูชนียสถานและปูชนียวัตถุที่สำคัญ คือ ทรงสร้างวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร หล่อพระพุทธชินราช ซึ่งเป็น พระพุทธรูปที่งดงามที่สุดในประเทศไทย ...

พระมหาธรรมราชาที่ 1 ใช้หลักธรรมใดในการปกครองประชาชน

2. การปกครองแบบธรรม ราชา - พระมหาธรรมราชาที่1 - 4 - ใช้หลักศาสนาคือ พุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ ในการปกครอง โดยยึด หลักธรรมที่เรียกว่า ทศพิธราชธรรม - เปลี่ยนคานาหน้า พระนามของกษัตริย์เป็น พระมหาธรรมราชา

พระมหาธรรมราชาที่ 1 มีการปกครองอย่างไร

หลักธรรมของพระพุทธศาสนาในการปกครองบ้านเมืองคือ ทรงปกครองด้วยหบักทศพิธราชธรรม ซึ่งมิได้มุ่งเน้นที่พระมหากษัตริย์เท่านั้น แต่หมายรวมถึงข้ารราชบริพาร ที่ทำหน้าที่แทนพระองค์ในกิจการทั้งหลายอันเกี่ยวกับการปกครอง มีการชักชวนสงเสริมให้ประชาชนเลื่อมใสศัทธาในหลักธรรมและนำไปปฏิบัติเพื่อให้อยู่ร่วมกันอย่างสันติ