คํา อธิบาย รายวิชา เพิ่มเติม ภาษาไทย ประถม

คํา อธิบาย รายวิชา เพิ่มเติม ภาษาไทย ประถม
คำอธิบายรายวิชาทุกกลุ่มสาระ ปรับปรุงปี 2562
คํา อธิบาย รายวิชา เพิ่มเติม ภาษาไทย ประถม
คํา อธิบาย รายวิชา เพิ่มเติม ภาษาไทย ประถม
คำอธิบายรายวิชาภาษาไทย
คํา อธิบาย รายวิชา เพิ่มเติม ภาษาไทย ประถม
ดาวน์โหลดไฟล์   ขนาดไฟล์ 37.46 KB
คํา อธิบาย รายวิชา เพิ่มเติม ภาษาไทย ประถม
คำอธิบายรายวิชาคณิตศาสตร์
คํา อธิบาย รายวิชา เพิ่มเติม ภาษาไทย ประถม
ดาวน์โหลดไฟล์   ขนาดไฟล์ 29.14 KB
คํา อธิบาย รายวิชา เพิ่มเติม ภาษาไทย ประถม
คำอธิบายรายวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คํา อธิบาย รายวิชา เพิ่มเติม ภาษาไทย ประถม
ดาวน์โหลดไฟล์   ขนาดไฟล์ 47.78 KB
คํา อธิบาย รายวิชา เพิ่มเติม ภาษาไทย ประถม
คำอธิบายรายวิชาสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
คํา อธิบาย รายวิชา เพิ่มเติม ภาษาไทย ประถม
ดาวน์โหลดไฟล์   ขนาดไฟล์ 57.09 KB
คํา อธิบาย รายวิชา เพิ่มเติม ภาษาไทย ประถม
คำอธิบายรายวิชาสุขศึกษาและพละศึกษา
คํา อธิบาย รายวิชา เพิ่มเติม ภาษาไทย ประถม
ดาวน์โหลดไฟล์   ขนาดไฟล์ 29.45 KB
คํา อธิบาย รายวิชา เพิ่มเติม ภาษาไทย ประถม
คำอธิบายรายวิชาศิลปะ
คํา อธิบาย รายวิชา เพิ่มเติม ภาษาไทย ประถม
ดาวน์โหลดไฟล์   ขนาดไฟล์ 31.27 KB
คํา อธิบาย รายวิชา เพิ่มเติม ภาษาไทย ประถม
คำอธิบายรายวิชาการงานอาชีพ
คํา อธิบาย รายวิชา เพิ่มเติม ภาษาไทย ประถม
ดาวน์โหลดไฟล์   ขนาดไฟล์ 21.84 KB
คํา อธิบาย รายวิชา เพิ่มเติม ภาษาไทย ประถม
คำอธิบายรายวิชาภาษาอังกฤษ
คํา อธิบาย รายวิชา เพิ่มเติม ภาษาไทย ประถม
ดาวน์โหลดไฟล์   ขนาดไฟล์ 42.25 KB
คํา อธิบาย รายวิชา เพิ่มเติม ภาษาไทย ประถม
คำอธิบายรายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม-มัธยม
คํา อธิบาย รายวิชา เพิ่มเติม ภาษาไทย ประถม
ดาวน์โหลดไฟล์   ขนาดไฟล์ 42.79 KB
คํา อธิบาย รายวิชา เพิ่มเติม ภาษาไทย ประถม
คำอธิบายรายวิชาวิทยาศาสตร์เพิ่มเติม-มัธยม
คํา อธิบาย รายวิชา เพิ่มเติม ภาษาไทย ประถม
ดาวน์โหลดไฟล์   ขนาดไฟล์ 41.42 KB
คํา อธิบาย รายวิชา เพิ่มเติม ภาษาไทย ประถม
คำอธิบายรายวิชางานอาชีพ-งานเกษตรเพิ่มเติม-มัธยม
คํา อธิบาย รายวิชา เพิ่มเติม ภาษาไทย ประถม
ดาวน์โหลดไฟล์   ขนาดไฟล์ 28.97 KB
คํา อธิบาย รายวิชา เพิ่มเติม ภาษาไทย ประถม
คำอธิบายรายวิชาคอมพิวเตอร์เพิ่มเติม-มัธยม
คํา อธิบาย รายวิชา เพิ่มเติม ภาษาไทย ประถม
ดาวน์โหลดไฟล์   ขนาดไฟล์ 18.33 KB
คํา อธิบาย รายวิชา เพิ่มเติม ภาษาไทย ประถม
คำอธิบายรายวิชาอิสลามศึกษา-เพิ่มเติม
คํา อธิบาย รายวิชา เพิ่มเติม ภาษาไทย ประถม
ดาวน์โหลดไฟล์   ขนาดไฟล์ 48.56 KB
คํา อธิบาย รายวิชา เพิ่มเติม ภาษาไทย ประถม
คำอธิบายรายวิชาพุทธศาสนา-เพิ่มเติม
คํา อธิบาย รายวิชา เพิ่มเติม ภาษาไทย ประถม
ดาวน์โหลดไฟล์   ขนาดไฟล์ 37.76 KB
คํา อธิบาย รายวิชา เพิ่มเติม ภาษาไทย ประถม
คำอธิบายรายวิชาหน้าที่พลเมือง-เพิ่มเติม
คํา อธิบาย รายวิชา เพิ่มเติม ภาษาไทย ประถม
ดาวน์โหลดไฟล์   ขนาดไฟล์ 105.5 KB

คำอธิบายรายวิชา 

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

รายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติม

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

รายวิชาพื้นฐาน

ท 11101

ภาษาไทย

จำนวน   200  ชั่วโมง

ท 12101

ภาษาไทย

จำนวน   200  ชั่วโมง

ท 13101

ภาษาไทย

จำนวน   200  ชั่วโมง

ท 14101

ภาษาไทย

จำนวน   160  ชั่วโมง

ท 15101

ภาษาไทย

จำนวน   160  ชั่วโมง

ท 16101

ภาษาไทย

จำนวน   160  ชั่วโมง

ท  11101  ภาษาไทย

รายวิชาพื้นฐาน                                                                                                                                กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย   

ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1                                                                                                              เวลา   200  ชั่วโมง

                ศึกษา  เรียนรู้  การอ่านออกเสียงคำและบอกความหมายของคำ  คำคล้องจอง ข้อความที่ประกอบด้วยคำพื้นฐานที่ใช้ในชีวิตประจำวันไม่น้อยกว่า  600  คำ  รวมทั้งคำที่ใช้เรียนรู้ในกลุ่มสาระอื่น  การอ่าน           จับใจความจากสื่อต่าง ๆ  จากหนังสือตามความสนใจเหมาะสมกับวัย  และหนังสือที่ครูกับนักเรียนกำหนดร่วมกัน การอ่านเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ต่าง ๆ   เครื่องหมายแสดงความปลอดภัย  และแสดงอันตราย

                ศึกษา  เรียนรู้  การคัดลายมือด้วยตัวบรรจงเต็มบรรทัดตามรูปแบบตัวอักษรไทย  การเขียนสื่อสาร ด้วยคำที่ใช้ในชีวิตประจำวัน  คำพื้นฐานในบทเรียน  คำคล้องจอง  และประโยคง่าย  ๆ 

                ศึกษา  เรียนรู้  การฟังและปฏิบัติตามคำแนะนำ  คำสั่งง่าย ๆ  การจับใจความและพูดแสดงความคิดเห็น  ความรู้สึก  จากเรื่องที่ฟังและดู ทั้งที่เป็นความรู้และความบันเทิง  การพูดสื่อสารในชีวิตประจำวัน  การแนะนำตนเอง  การขอความช่วยเหลือ  การกล่าวคำขอบคุณ  การกล่าวคำขอโทษ

                ศึกษา  เรียนรู้  การใช้พยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์  เลขไทย  การสะกดคำและบอกความหมาย       ของคำ  การแจกลูก และการอ่านเป็นคำ มาตราตัวสะกดที่ตรงตามมาตรา  และไม่ตรงตามมาตรา  การผันคำ    การแต่งประโยคและการต่อคำคล้องจอง

                ศึกษา  เรียนรู้  การบอกข้อคิดจากวรรณกรรมร้อยแก้ว และร้อยกรองสำหรับเด็ก  บทอาขยานตามที่กำหนด  และบทร้อยกรองตามความสนใจ

                โดยใช้กระบวนการอ่าน  กระบวนการเขียน   การฟัง  การดู และการพูดอย่างมีวิจารณญาณ และสร้างสรรค์  บอก  เขียน  สะกดคำ  แจกลูก  ผันคำ  แต่งประโยค  ต่อคำคล้องจอง  และท่องจำ  เพื่อให้มีความรู้  ความเข้าใจ เกี่ยวกับการอ่าน  การเขียน  การฟัง  การดูและการพูด  หลักการใช้ภาษา  วรรณคดีและวรรณกรรม 

                มีมารยาทในการอ่าน  การเขียน  การฟัง  การดู  และการพูด  มีนิสัยรักการอ่าน  เหมาะสมกับระดับชั้น 

สาระท้องถิ่น

                คำเมืองวันละคำ,  อ่านและฟังนิทานพื้นบ้าน,  เพลงคำเมือง

รหัสตัวชี้วัด

                ท 1.1      ป 1/1    ป 1/2    ป 1/3     ป 1/4    ป 1/5     ป 1/6    ป 1/7    ป 1/8

                ท 2.1      ป 1/1    ป 1/2    ป 1/3

                ท 3.1      ป 1/1    ป 1/2    ป 1/3     ป 1/4    ป 1/5

                ท 4.1      ป 1/1    ป 1/2    ป 1/3     ป 1/4

                ท 5.1      ป 1/1    ป 1/2

รวม  22  ตัวชี้วัด

ท  12101  ภาษาไทย

รายวิชาพื้นฐาน                                                                                                                                  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย   

ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2                                                                                                                เวลา   200  ชั่วโมง

                ศึกษา  เรียนรู้  การอ่านออกเสียงคำ และความหมายของคำ  คำคล้องจอง ข้อความ บทร้อยกรองง่าย ๆ   ที่ประกอบด้วยคำพื้นฐานเพิ่มจากชั้นประถมศึกษาปีที่ 1  ไม่น้อยกว่า  800  คำ  รวมทั้งคำที่ใช้ในกลุ่มสาระ    การเรียนรู้อื่น ๆ  อ่านจับใจความจากสื่อต่าง ๆ  จากหนังสือตามความสนใจ  หนังสือที่ครูและนักเรียนกำหนดร่วมกัน  การอ่านข้อเขียนเชิงอธิบาย  และปฏิบัติตามคำสั่งหรือข้อแนะนำ

                ศึกษา  เรียนรู้  การคัดลายมือด้วยตัวบรรจงเต็มบรรทัดตามรูปแบบการเขียนตัวอักษรไทย  การเขียนเรื่องสั้น ๆ  เกี่ยวกับประสบการณ์ และตามจินตนาการ

                ศึกษา  เรียนรู้  การฟังและปฏิบัติตามคำแนะนำ  คำสั่งที่ซับซ้อน  การจับใจความ  และการพูด

แสดงความคิดเห็น  ความรู้สึก จากเรื่องที่ฟังและดู  ทั้งที่เป็นความรู้และความบันเทิง  การพูดสื่อสารในชีวิตประจำวัน

                ศึกษา  เรียนรู้  การเขียนพยัญชนะ  สระ  วรรณยุกต์  และเลขไทย  การเขียนสะกดคำและบอกความหมายของคำ   การแจกลูก  การอ่านเป็นคำ  มาตราตัวสะกดที่ตรงตามมาตราและไม่ตรงตามมาตรา

การผันอักษรกลาง อักษรสูง  และอักษรต่ำ  คำที่มีตัวการันต์  คำที่มีพยัญชนะควบกล้ำ  คำที่มีอักษรนำ          คำที่มีความหมายตรงข้าม  คำที่มี  รร  การแต่งประโยค  การเรียบเรียงประโยคเป็นข้อความสั้น ๆ  การบอกลักษณะของคำคล้องจอง   และการเลือกใช้ภาษาไทยมาตรฐานและภาษาถิ่น

                ศึกษา  เรียนรู้   การระบุข้อคิดที่ได้จากการอ่าน หรือการฟังวรรณกรรมสำหรับเด็ก  บทร้องเล่นสำหรับเด็กในท้องถิ่น  การท่องจำบทอาขยานที่กำหนดและบทร้อยกรองที่มีคุณค่า

                โดยใช้กระบวนการอ่าน  กระบวนการเขียน   การฟัง  การดู  และการพูด  อย่างมีวิจารณญาณ

และสร้างสรรค์  บอก  ระบุ   เขียน  สะกดคำ  แจกลูก  อ่านเป็นคำ  ผันอักษร  แต่งประโยค  เลือกใช้  

และท่องจำ  นำความรู้  ข้อคิด ที่ได้จากการอ่าน  การฟัง  ไปใช้ในชีวิตประจำวัน 

                 เพื่อให้มีความรู้  ความเข้าใจ  เกี่ยวกับการอ่าน  การเขียน  การฟัง  การดูและการพูด หลักการใช้ภาษา  วรรณคดีและวรรณกรรม  มีมารยาทในการอ่าน  การเขียน  การฟัง  การดู  และการพูด  มีนิสัยรักการอ่าน  เหมาะสมกับ ระดับชั้น 

สาระท้องถิ่น

                อ่านนิทานพื้นบ้าน  อ่านเขียนภาษาท้องถิ่น ร้องเพลงพื้นเมือง การเล่นปริศนาคำทายอะหยังเอ๊าะ กิจกรรมจำลองประเพณีท้องถิ่น และการเล่าเจี้ยก้อม

รหัสตัวชี้วัด

                ท 1.1      ป 2/1    ป 2/2    ป 2/3    ป 2/4    ป 2/5    ป 2/6     ป 2/7    ป 2/8

                ท 2.1      ป 2/1    ป 2/2    ป 2/3    ป 2/4

                ท 3.1      ป 2/1    ป 2/2    ป 2/3    ป 2/4    ป 2/5    ป 2/6    ป 2/7

                ท 4.1      ป 2/1    ป 2/2    ป 2/3    ป 2/4    ป 2/5

                ท 5.1      ป 2/1    ป 2/2    ป 2/3

รวม    27   ตัวชี้วัด

ท  13101  ภาษาไทย

รายวิชาพื้นฐาน                                                                                                                                  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย   

ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3                                                                                                                เวลา   200  ชั่วโมง

                 ศึกษา  เรียนรู้  การอ่านออกเสียงคำและบอกความหมายของคำ   คำคล้องจอง  ข้อความและ

บทร้อยกรองง่าย ๆ ที่ประกอบด้วยคำพื้นฐาน  เพิ่มจากชั้นประถมศึกษาปีที่ 2  ไม่น้อยกว่า 1,200  คำ 

รวมทั้งคำที่ใช้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น ๆ  การอ่านจับใจความจากสื่อต่าง ๆ  การอ่านหนังสือตามความสนใจ  หนังสือที่ครูและนักเรียนกำหนดร่วมกัน  การอ่านข้อความเชิงอธิบาย  และปฏิบัติตามคำสั่งหรือข้อแนะนำ  การอ่านข้อมูลจากแผนภาพ  แผนที่และแผนภูมิ 

                 ศึกษา  เรียนรู้  การคัดลายมือด้วยตัวบรรจงเต็มบรรทัดตามรูปแบบการเขียนอักษรไทย  การเขียนบรรยายเกี่ยวกับลักษณะของคน สัตว์ สิ่งของ สถานที่  การเขียนบันทึกประจำวัน จดหมายลาครู  การเขียนเรื่องตามจินตนาการ

                ศึกษา  เรียนรู้  การจับใจความสำคัญ  การพูดแสดงความคิดเห็น  การบอกความรู้สึกจากเรื่องที่ฟังและดู  ทั้งที่เป็นความรู้และความบันเทิง  การพูดสื่อสารในชีวิตประจำวัน

                 ศึกษา  เรียนรู้  การเขียนสะกดคำและบอกความหมายของคำ  การแจกลูก  การอ่านเป็นคำ  มาตราตัวสะกดที่ตรงตามมาตราและไม่ตรงตามมาตรา  การผันอักษรกลาง  อักษรสูง  และอักษรต่ำ  คำที่มีพยัญชนะควบกล้ำ  คำที่มีอักษรนำ  คำที่ประวิสรรชนีย์และไม่ประวิสรรชนีย์  คำที่มี  ฤ  ฦา  คำที่ใช้  บัน  บรร  คำที่ใช้  รร   คำมี่มีตัวการันต์  การระบุชนิดและหน้าที่ของคำในประโยค  การใช้พจนานุกรมค้นหาความหมายของคำ  การแต่งประโยคเพื่อการสื่อสาร  การแต่งคำคล้องจอง  คำขวัญ  การเลือกใช้ภาษาไทยมาตรฐานและภาษาถิ่น

                ศึกษา  เรียนรู้  การระบุข้อคิดที่ได้จากการอ่านวรรณกรรม  วรรณคดีและเพลงพื้นบ้าน  การท่องจำ

บทอาขยานและบทร้อยกรองที่มีคุณค่า

                โดยใช้กระบวนการอ่าน  กระบวนการเขียน  การฟัง  การดู และการพูดอย่างมีวิจารณญาณ และสร้างสรรค์  บอก  ระบุ   เขียน  สะกดคำ  แจกลูก  ผันอักษร  แต่งประโยค  แต่งคำคล้องจองและคำขวัญ  เลือกใช้  แสดงความคิดเห็น  ศึกษา  เรียนรู้ปฏิบัติ  และท่องจำ  เพื่อให้มีความรู้  ความเข้าใจ เกี่ยวกับการอ่าน  การเขียน  การฟัง  การดูและการพูด หลักการใช้ภาษา  วรรณคดีและวรรณกรรม  นำความรู้  ข้อคิด  จากการอ่าน  ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

                มีมารยาทในการอ่าน  การเขียน  การฟัง  การดู และการพูด  มีนิสัยรักการอ่าน  เหมาะสมกับระดับชั้น  

สาระท้องถิ่น

                 การฟัง พูด อ่าน และเขียน คำภาษาไทย-ภาษาถิ่นในชีวิตประจำวัน (คำเมือง) โดยฟัง พูด อ่าน เปรียบเทียบคำไทยกับคำภาษาถิ่น บอกความหมายของคำเมือง คัดตัวบรรจง คำเมือง แล้วจัดทำพจนานุกรม คำเมือง และศึกษา  เรียนรู้อ่านคำเมืองวันละคำ

รหัสตัวชี้วัด

        ท 1.1      ป 3/1    ป 3/2     ป 3/3     ป 3/4     ป 3/5     ป 3/6     ป 3/7    ป 3/8    ป 3/9

        ท 2.1      ป 3/1    ป 3/2     ป 3/3     ป 3/4     ป 3/5     ป 3/6  

        ท 3.1      ป 3/1    ป 3/2     ป 3/3     ป 3/4     ป 3/5     ป 3/6  

        ท 4.1      ป 3/1    ป 3/2     ป 3/3     ป 3/4     ป 3/5     ป 3/6  

        ท 5.1      ป 3/1    ป 3/2     ป 3/3     ป 3/4 

รวม  31    ตัวชี้วัด

ท  14101  ภาษาไทย

รายวิชาพื้นฐาน                                                                                                                              กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย   

ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4                                                                                                             เวลา   160  ชั่วโมง

                 ศึกษา  เรียนรู้  การอ่านออกเสียงและอธิบายความหมายของบทร้อยแก้วและบทร้อยกรอง  การอ่าน

บทร้อยกรองเป็นทำนองเสนาะ   การจับใจความจากสื่อต่าง ๆ  การแยกข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็น คาดคะเนเหตุการณ์   การสรุปความรู้และข้อคิดจากเรื่องที่อ่าน  การอ่านหนังสือตามความสนใจ  หนังสือที่ครูและนักเรียนกำหนดร่วมกัน         

    ศึกษา  เรียนรู้  การคัดลายมือตัวบรรจงเต็มบรรทัด  และครึ่งบรรทัดตามรูปแบบการเขียนตัวอักษรไทย  การเขียนสื่อสาร  การเขียนแผนภาพโครงเรื่องและแผนภาพความคิดเพื่อใช้พัฒนางานเขียน  การเขียนย่อความจากเรื่องสั้น ๆ  การเขียนจดหมายถึงเพื่อน และบิดามารดา   การเขียนบันทึก และเขียนรายงานจากการศึกษาค้นคว้า   การเขียนเรื่องตามจินตนาการ

                ศึกษา  เรียนรู้  การจำแนกข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็นจากเรื่องที่ฟังและดู  การจับใจความและพูดแสดงความรู้ความคิดในเรื่องที่ฟังและดูจากสื่อต่าง ๆ   การรายงานเรื่องหรือประเด็นที่ศึกษาค้นคว้าจากการฟัง

การดู  และการสนทนา  

    ศึกษา  เรียนรู้  การสะกดคำ และบอกความหมายของคำในแม่  ก กา  มาตราตัวสะกด  การผันอักษร  คำเป็นคำตาย  คำพ้อง   ความหมายของสำนวนที่เป็นสุภาษิตและคำพังเพย   การระบุชนิดของคำนาม  

คำสรรพนาม  คำกริยา  คำวิเศษณ์   หน้าที่ของคำในประโยค  การใช้พจนานุกรมค้นหาความหมายของคำ 

การแต่งประโยค   การแต่งกลอนสี่และคำขวัญ  การเปรียบเทียบภาษาไทยมาตรฐานและภาษาถิ่น

                 ศึกษา  เรียนรู้  การระบุข้อคิดจากวรรณคดีและวรรณกรรม  การร้องเพลงพื้นบ้าน  การท่องจำบทอาขยานที่กำหนดและบทร้อยกรองที่มีคุณค่าตามความสนใจ

                โดยใช้กระบวนการอ่าน  กระบวนการเขียน   การฟัง  การดู และการพูดอย่างมีวิจารณญาณ และสร้างสรรค์  บอก  สรุป  ระบุ  อธิบาย  เขียน  สะกดคำ  แจกลูก  แต่งประโยค  แต่งบทร้อยกรองและคำขวัญ   เปรียบเทียบ   ศึกษา  เรียนรู้ปฏิบัติ  และท่องจำ  เพื่อให้มีความรู้  ความเข้าใจ  เกี่ยวกับการอ่าน  การเขียน    การฟัง  การดูและการพูด หลักการใช้ภาษา  วรรณคดีและวรรณกรรม  นำความรู้  ข้อคิด จากการอ่านไปใช้  ในชีวิตประจำวัน

                มีมารยาทในการอ่าน  การเขียน  การฟัง  การดู  และการพูด มีนิสัยรักการอ่าน  เหมาะสมกับระดับชั้น 

สาระท้องถิ่น

                การฟัง พูด อ่านและเขียน คำบ่ะเก่า ที่ใช้พูด และเขียนในท้องถิ่น ซึ่งเป็นคำที่มีคุณค่าควรอนุรักษ์ไว้สืบไป  โดยการฟังจากสื่อ ศึกษา  เรียนรู้  พูดคำบ่ะเก่าวันละคำ  อ่านคำบ่ะเก่าจากวรรณกรรมท้องถิ่น  เขียนคำบ่ะเก่า และความหมายของคำ   จัดทำสมุดบันทึกคำบ่ะเก่าเก็บไว้เพื่อศึกษาและอนุรักษ์ด้วยความภูมิใจในท้องถิ่นของตน

รหัสตัวชี้วัด

        ท 1.1      ป 4/1    ป 4/2    ป 4/3    ป 4/4    ป 4/5    ป 4/6    ป 4/7    ป 4/8

        ท 2.1      ป 4/1    ป 4/2    ป 4/3    ป 4/4    ป 4/5    ป 4/6    ป 4/7    ป 4/8

        ท 3.1      ป 4/1    ป 4/2    ป 4/3    ป 4/4    ป 4/5    ป 4/6  

        ท 4.1      ป 4/1    ป 4/2    ป 4/3    ป 4/4    ป 4/5    ป 4/6    ป 4/7   

        ท 5.1      ป 4/1    ป 4/2    ป 4/3    ป 4/4 

รวม   33   ตัวชี้วัด

ท  15101  ภาษาไทย

รายวิชาพื้นฐาน                                                                                                                                 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย   

ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5                                                                                                               เวลา   160  ชั่วโมง

                ศึกษา  เรียนรู้  การอ่านออกเสียงและบอกความหมายของบทร้อยแก้วและบทร้อยกรอง  การอ่าน  

บทร้อยกรองเป็นทำนองเสนาะ  การอ่านจับใจความจากสื่อต่าง ๆ  การแยกข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็นจากเรื่อง ที่อ่าน  การอ่านงานเขียนเชิงอธิบาย  คำสั่ง  ข้อแนะนำ  และปฏิบัติตาม  การอ่านหนังสือที่มีคุณค่าตามความสนใจ  หนังสือที่ครูและนักเรียนกำหนดร่วมกัน  และแสดงความคิดเห็นจากเรื่องที่อ่าน

                 ศึกษา  เรียนรู้  การคัดลายมือด้วยตัวบรรจงเต็มบรรทัดและครึ่งบรรทัด  ตามรูปแบบการเขียน

ตัวอักษรไทย  การเขียนสื่อสาร  การเขียนแผนภาพโครงเรื่องและแผนภาพความคิดเพื่อใช้พัฒนางานเขียน  การเขียนย่อความจากเรื่องที่อ่าน  การเขียนจดหมายถึงผู้ปกครองและญาติ  การเขียนแสดงความรู้สึกและ ความคิดเห็น  การกรอกแบบรายการต่าง ๆ  และการเขียนเรื่องตามจินตนาการ

                ศึกษา  เรียนรู้  การจับใจความสำคัญและการพูดแสดงความรู้  ความคิดเห็น  ในเรื่องที่ฟังและดู       จากสื่อต่าง ๆ  การวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือจากเรื่องที่ฟังและดูในชีวิตประจำวัน  การพูดรายงานเรื่องหรือประเด็นที่ศึกษาค้นคว้าจากการฟัง  การดู  และการสนทนา 

                ศึกษา  เรียนรู้  การระบุชนิดและหน้าที่ของคำในประโยค   การจำแนกส่วนประกอบของประโยค   การเปรียบเทียบภาษาไทยมาตรฐานและภาษาถิ่น  การใช้คำราชาศัพท์  คำที่มาจากภาษาต่างประเทศ 

การแต่งกาพย์ยานี 11  การใช้สำนวนที่เป็นคำพังเพยและสุภาษิต                       

                ศึกษา  เรียนรู้  การสรุปเรื่องจากวรรณคดีหรือวรรณกรรม  การระบุความรู้   ข้อคิด   คุณค่าของวรรณคดีและวรรณกรรม  การท่องจำบทอาขยานตามที่กำหนดและบทร้อยกรองที่มีคุณค่า                       

                โดยใช้กระบวนการอ่าน  กระบวนการเขียน  การฟัง  การดู และการพูดอย่างมีวิจารณญาณ และสร้างสรรค์  บอก  สรุป  ระบุ  อธิบาย  เขียน  สะกดคำ  แจกลูก  แต่งประโยค   แต่งบทร้อยกรอง  จำแนก  วิเคราะห์   เปรียบเทียบ   ศึกษา  เรียนรู้ปฏิบัติ และท่องจำ  เพื่อให้มีความรู้  ความเข้าใจ  เกี่ยวกับการอ่าน     การเขียน  การฟัง  การดูและการพูด  หลักการใช้ภาษา  วรรณคดีและวรรณกรรม  นำความรู้   ข้อคิดจาก     การอ่านไปใช้ในชีวิตประจำวัน    

                มีมารยาทในการอ่าน  การเขียน  การฟัง  การดู และการพูด มีนิสัยรักการอ่าน  เหมาะสมกับระดับชั้น  เห็นคุณค่าของภูมิปัญญาทางภาษา  วรรณคดีและวรรณกรรมไทย 

สาระท้องถิ่น

                    การเขียนอักษร ล้านนา  ตัวเลข  ค่าว   ซอ   คำฮ่ำ

รหัสตัวชี้วัด

        ท 1.1      ป 5/1    ป 5/2    ป 5/3     ป 5/4     ป 5/5    ป 5/6    ป 5/7    ป 5/8

        ท 2.1      ป 5/1    ป 5/2    ป 5/3     ป 5/4     ป 5/5    ป 5/6    ป 5/7    ป 5/8    ป 5/9     

        ท 3.1      ป 5/1    ป 5/2    ป 5/3     ป 5/4     ป 5/5 

        ท 4.1      ป 5/1    ป 5/2    ป 5/3     ป 5/4     ป 5/5    ป 5/6    ป 5/7

        ท 5.1      ป 5/1    ป 5/2    ป 5/3     ป 5/4

 รวม  33  ตัวชี้วัด

ท  16101  ภาษาไทย

รายวิชาพื้นฐาน                                                                                                                         กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย   

ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6                                                                                                      เวลา   160  ชั่วโมง

                 ศึกษา  เรียนรู้   การอ่านออกเสียงและอธิบายความหมายของบทร้อยแก้วและบทร้อยกรอง  การอ่านบทร้อยกรองเป็นทำนองเสนาะ  การอ่านจับใจความจากสื่อต่าง ๆ  การแยกข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็นจากเรื่อง

ที่อ่าน  การนำความรู้ความคิดจากเรื่องที่อ่านไปตัดสินใจแก้ปัญหา  การอ่านเร็ว  การอ่านงานเขียนเชิงอธิบาย  คำสั่ง  ข้อแนะนำ  และปฏิบัติตาม  การอ่านข้อมูลจากแผนผัง  แผนที่  แผนภูมิ  และกราฟ  การอ่านหนังสือตามความสนใจ  หนังสืออ่านที่ครูและนักเรียนกำหนดร่วมกัน

                ศึกษา  เรียนรู้  การคัดลายมือด้วยตัวบรรจงเต็มบรรทัดและครึ่งบรรทัด  ตามรูปแบบการเขียน             ตัวอักษรไทย   การเขียนสื่อสาร   การเขียนแผนภาพโครงเรื่อง   แผนภาพความคิด   การเขียนเรียงความ 

การเขียนย่อความจากเรื่องที่อ่าน  การเขียนจดหมายส่วนตัว  การกรอกแบบรายการต่าง ๆ  การเขียนเรื่อง

ตามจินตนาการและสร้างสรรค์

                ศึกษา  เรียนรู้  การพูดแสดงความรู้  ความเข้าใจ  ในจุดประสงค์ของเรื่องที่ฟังและดูจากสื่อต่าง ๆ 

การวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือจากการฟังและดูสื่อโฆษณา  การพูดรายงานเรื่องหรือประเด็นที่ศึกษาค้นคว้า

จากการฟัง  การดู  และการสนทนา  การพูดโน้มน้าวในสถานการณ์ต่าง ๆ 

                ศึกษา  เรียนรู้  การวิเคราะห์ชนิดและหน้าที่ของคำนาม  คำสรรพนาม  คำกริยา   คำวิเศษณ์  คำบุพบท  คำเชื่อม  ในประโยค  การใช้คำราชาศัพท์  ระดับภาษา  ภาษาถิ่น  ความหมายของคำภาษาต่างประเทศที่ใช้ในภาษาไทย  สำนวนที่เป็นคำพังเพยและสุภาษิต  ลักษณะของประโยคสามัญ  ประโยครวม  ประโยคซ้อน  กลุ่มคำหรือวลี  การแต่งกลอนสุภาพ

                 ศึกษา  เรียนรู้  การแสดงความคิดเห็นจากวรรณคดีและวรรณกรรม   การเล่านิทาน  การท่องบทอาขยานและบทร้อยกรองที่มีคุณค่า

                 โดยใช้กระบวนการอ่าน  กระบวนการเขียน   การฟัง  การดู และการพูดอย่างมีวิจารณญาณ และสร้างสรรค์  บอก  สรุป  ระบุ  อธิบาย  เขียน  สะกดคำ  แจกลูก  แต่งประโยค  แต่งบทร้อยกรองและคำขวัญ  จำแนก  วิเคราะห์  เปรียบเทียบ  แสดงความคิดเห็น  ศึกษา  เรียนรู้  ปฏิบัติและท่องจำ  เพื่อให้มีความรู้  ความเข้าใจ  เกี่ยวกับการอ่าน  การเขียน  การฟัง  การดูและการพูด  หลักการใช้ภาษา  วรรณคดีและวรรณกรรม  นำเอาความรู้  ข้อคิดจากการอ่าน  ไปตัดสินใจแก้ปัญหาในการดำเนินชีวิตประจำวัน    

                 มีมารยาทในการอ่าน  การเขียน  การฟัง  การดูและการพูด  มีนิสัยรักการอ่าน  เหมาะสมกับระดับชั้น  เห็นคุณค่าของภูมิปัญญาทางภาษา  วรรณคดีและวรรณกรรมไทย 

สาระท้องถิ่น

                อ่านนิทานพื้นบ้าน อ่านและเขียนตั๋วเมือง อ่านและเขียนสำนวนกำบ่าเก่า ฟังค่าว  ซอ  กำฮ่ำ  กะโลง(โคลง) และกาพย์ แต่งค่าว  เล่าเจี้ยก้อม ร้องเพลงคำเมือง ปริศนาคำทายอะหยังเอ๊าะ  โดยศึกษา  เรียนรู้ทักษะการอ่านนิทานพื้นบ้าน การอ่านและเขียนตั๋วเมือง การอ่านและเขียนสำนวนกำบ่าเก่า การฟังค่าว ซอ กำฮ่ำ กะโลงและกาพย์ การแต่งค่าว การเล่าเจี้ยก้อม การร้องเพลงคำเมือง การทายปริศนา  คำทายอะหยังเอ๊าะ

รหัสตัวชี้วัด

        ท 1.1      ป 6/1    ป 6/2     ป 6/3     ป 6/4     ป 6/5     ป 6/6     ป 6/7    ป 6/8     ป 6/9

        ท 2.1      ป 6/1    ป 6/2     ป 6/3     ป 6/4     ป 6/5     ป 6/6     ป 6/7     ป 6/8    ป 6/9               

        ท 3.1      ป 6/1    ป 6/2     ป 6/3     ป 6/4     ป 6/5     ป 6/6

        ท 4.1      ป 6/1    ป 6/2     ป 6/3     ป 6/4     ป 6/5     ป 6/6  

        ท 5.1      ป 6/1    ป 6/2     ป 6/3     ป 6/4

รวม  34   ตัวชี้วัด