บริษัท บางกอก แคน ดี ไหม

บริษัท บางกอกแคน แมนนูแฟคเจอริ่ง จำกัด เป็นบริษัททำธุรกิจผลิตกระป๋องบรรจุเครื่องดื่ม เปิดดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2531 โดยการร่วมทุนระหว่างผู้ประกอบการของไทยกับผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์รายใหญ่ของญี่ปุ่น บริษัท โตโยไซกัน ไกชา ผลิตกระป๋องอลูมิเนียม 2 ชิ้น สำหรับบรรจุเครื่องดื่มเป็นรายแรกของประเทศไทย

มีโรงงานตั้งอยู่ที่เลขที่ 1 ซอย รังสิต-นครนายก 46 ตำบลประชาธิปัตย์ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี ในปี พ.ศ. 2544 หลังจากวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจในประเทศไทย หรือที่เรียกว่า วิกฤต”ต้มยำกุ้ง” บริษัทโตโยไซกัน ไกชา ได้เพิ่มทุนในบริษัทฯและขยายการผลิตกระป๋องเหล็ก 3 ชิ้น ฝากระป๋องและก้นกระป๋องขึ้น จนถึงปัจจุบัน ซึ่งบริษัทได้ดำเนินธุรกิจภายใต้วิสัยทัศน์ที่ว่า…

“มุ่งมั่นที่จะผลิตบรรจุภัณฑ์ที่มีคุณภาพตรงตามที่ลูกค้าคาดหวัง ส่งมอบได้ตรงเวลา ภายใต้ราคาที่แข่งขันได้  และตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อสังคมในเรื่องของสิ่งแวดล้อม และการหมุนเวียนใช้เศษวัสดุ (Recycle) ตลอดจนการดูแลด้านความปลอดภัยในการปฏิบัติงานของพนักงานรวมทั้งเสริมสร้างทักษะความชำนาญให้กับพนักงานอย่างต่อเนื่อง”

ด้วยวิสัยทัศน์ที่มุ่งมั่นของผู้บริหารชาวญี่ปุ่น ได้ส่งต่อมาสู่ผู้บริหารชาวไทยที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบในการบริหารองค์กร เพื่อให้เป็นไปตามนโยบาย และมีแนวทางการบริหารอย่างลงตัวระหว่างผู้บริหารชาวญี่ปุ่น และผู้บริหารชาวไทย ที่มุ่งเน้นการพัฒนางานและกระบวนการผลิตควบคู่ไปกับการพัฒนาคนให้มีคุณภาพ รวมทั้งความรับผิดชอบต่อสังคม จนก่อเกิดเป็นวัฒนธรรมองค์กรที่ชาวบางกอกแคนยึดถือปฏิบัติสืบมา

 

แนวทางนโยบายการบริหารองค์กร

ภายใต้วิสัยทัศน์ของผู้บริหารที่เน้นทั้งคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ควบคู่ไปกับคุณภาพชีวิตคนทำงาน และความรับผิดชอบต่อสังคม ได้หล่อหลอมพัฒนาเป็นค่านิยมขององค์กร  เป็นสิ่งที่พนักงานทุกคนยึดถือปฎิบัติสืบต่อกันมานั่นก็คือ  “BCM…HA ( บีซีเอ็ม…เฮ้) – H : Happiness” คือการพยายาม สร้างความสุขในการทํางานในทุกๆ มิติ พยายามที่จะทําให้ที่ทํางานเป็นเหมือนบ้านที่อบอุ่น เป็นบ้านหลังที่สองของพนักงาน

ค่านิยม บริษัท บางกอกแคน แมนนูแฟคเจอริ่ง จำกัด

BCM HA…

B = Borderless/Brave                       ไร้กำแพงกล้าก้าวอย่างกล้าหาญ

C = Communication/Challenge           ด้วยสื่อสารตั้งเป้าหมายท้าทายผล

M = Mutual Relationship/Multi Skill  พัฒนาหลายทักษะใส่ใจคน

H = Happiness                                    พบความสุขมากล้นในการงาน

A = Attitude                                      ทุกชีวิตสุขสำราญ ด้วยการคิดดี

การมุ่งเน้นในเรื่องผลประกอบการที่ต้องได้กำไรเพื่อความอยู่รอด เป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับองค์กรภาคธุรกิจ แต่ด้วยกระแสความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้หลายองค์กรหันกลับมาทบทวนการพัฒนาทุนของตนเอง การพัฒนาที่ว่านี้คือการพัฒนาทุนมนุษย์  ถึงแม้ว่าจะมีระบบประกันคุณภาพ มีมาตรฐานการทำงานรองรับอยู่แล้วก็ตาม แต่สิ่งสำคัญนอกจากระบบแล้วต้องอยู่ที่การเปลี่ยนแปลงเจตคติภายในของคนในองค์กร ซึ่งกระบวนการนี้จะทำให้คนในองค์กรมีความรู้สึกว่า  มีความสุขเกิดความภาคภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งขององค์กร เกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของ มีความหวงแหนรักองค์กร  กระบวนการดังกล่าวเกิดขึ้นได้ก็ด้วยความร่วมมือร่วมใจของคนในองค์กรเป็นสำคัญ อีกทั้งผู้บริหารของบริษัท บางกอกแคน แมนนูแฟคเจอริ่ง จำกัด ตระหนักเรื่องนี้ จึงพยายามพัฒนาและส่งเสริมให้ที่ทำงานเป็นเหมือนบ้านหลังที่สองของพนักงาน

 

บริษัท บางกอก แคน ดี ไหม
 

กระบวนการส่งเสริมและพัฒนาคนในองค์กร

ภายใต้วิสัยทัศน์ขององค์กร ซึ่งผู้บริหารชาวไทยได้แปลงออกมาเป็นค่านิยมขององค์กรดังกล่าว โดยนำรากฐานทางวัฒนธรรมของไทยมาเป็นหัวใจหลักในการดำเนินธุรกิจ นั่นก็คือการนำหลักธรรมะทางพุทธศาสนาเข้ามาเป็นแนวทางสำคัญในการบริหารคนในองค์กร เนื่องจากพนักงานส่วนใหญ่เป็นคนไทยนับถือศาสนาพุทธ ดังนั้น การนำเอาหลักธรรมะทางพุทธศาสนา หรือการนิมนต์พระสงฆ์มาร่วมให้ความรู้ก็ไม่ได้เป็นเรื่องไกลตัวสำหรับพนักงาน เป้าหมายสำคัญคือการส่งเสริมให้พนักงานทำงานอย่างมีความสุข มีความรักองค์กร และให้เกิดความรู้สึกว่าองค์กรแห่งนี้คือบ้านอีกหนึ่งหลังของพนักงานนั่นเอง ด้วยเหตุนี้ บริษัท จึงได้เข้าร่วมกับหน่วยงานในจังหวัดปทุมธานี ในโครงการ “โรงงานรักษาศีล 5” ต่อมา ก็เข้าร่วมกับโครงการ“สถานประกอบการสว่างด้วยศีลและธรรม” ของจังหวัดปทุมธานี

โครงการนี้จึงเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ได้นำหลักธรรมทางพุทธศาสนามาเป็นหลักการดำเนินชีวิตของพนักงาน  ช่วงแรกของการเข้าโครงการโรงงานรักษาศีล 5 นั้น วัตถุประสงค์หลักคือการต้องการให้พนักงานได้เข้าใจเรื่องศีล 5 และคาดหวังว่าพนักงานจะสนใจรักษาศีล 5 แต่ก็ไม่ได้กำหนดเป็นตัวชี้วัดพฤติกรรมของพนักงานแต่อย่างใด เมื่อจบโครงการไปทางหน่วงงานภาครัฐร่วมกับมหาเถรสมาคม ได้จัดโครงการสถานประกอบการสว่างด้วยศีลและธรรม การร่วมโครงการครั้งนี้ทำให้พนักงานได้ประโยชน์มากขึ้น และได้เข้าใจหลักธรรมคำสอนทางพุทธศานาเพิ่มขึ้น โดยได้นำมาเป็นหลักปฎิบัติในการดำเนินชีวิต ซึ่งมีรูปเบบการทำกิจกรรมที่ชัดเจน สามารถวัดเป็นตัวเลขได้ โครงการนี้จะเน้น 7 กิจกรรมหลัก มีการจัดทำเป็นสมุดคู่มือพนักงานที่เข้าร่วมโครงการ  จะมีเนื้อหาบอกรายละเอียดว่าแต่ละวันต้องทำกิจกรรมอะไรบ้าง เช่น

  • กิจกรรมที่ 1 การรักษาศีล 5  วันนี้คุณรักษาศีล 5 ได้ครบหรือไม่ ซึ่งก็มีตารางสำหรับลงบันทึก
  • กิจกรรมที่ 2 การสวดมนต์ นั่งสมาธิ ถ้าได้สวดมนต์ก็บันทึกข้อมูล ถ้าไม่ได้สวดก็ไม่ต้องบันทึก
  • กิจกรรมที่ 3 การจัดเก็บที่นอนห้องน้ำให้สะอาดมีระเบียบ
  • กิจกรรมที่ 4 การจับดีคนรอบข้าง (คิดดี) วันนี้เราได้ชื่นชมคนรอบข้างหรือไม่ ได้จับดีคนรอบไหม ถ้าทำก็บันทึกไว้
  • กิจกรรมที่ 5 การพูดจาไพเราะ(พูดดี) วันนี้เราได้พูดดีไพเราะหรือไม่ พูดคำหยาบหรือไม่
  • กิจกรรมที่ 6 การบำเพ็ญประโยชน์/ออมบุญ(ทำดี) ทบทวนดูว่าวันนี้เราได้ทำบุญหรือบำเพ็ญประโยชน์อะไรไหม
  • กิจกรรมที่ 7 การร่วมกิจกรรมชั่วโมง “สุขจริงหนอ” ที่นำแนวปฏิบัติทั้ง ๖ กิจกรรม มาประเมินตัวเอง ให้พนักงานทำกันเองทุกวันพระ ซึ่งจะมีพระมาติดตามผลและบรรยายธรรมให้เกือบทุกครั้ง ชั่วโมงสุขจริงหนอก็คือทุกคนที่เข้าร่วมโครงการจะมีสมุดพวกนี้อยู่ ก็จะมารวมตัวกันที่ห้องประชุม และร่วมกันไหว้พระ สวดมนต์ นั่งสมาธิหลังจากนั้นก็มาแบ่งปันว่าในสัปดาห์ที่ผ่านมาตัวเองได้ทำดีอะไรบ้าง ชื่นชมใครบ้าง มีใครที่รู้สึกว่าเป็นคนที่น่าชื่นชมบ้าง จับดีคนรอบข้าง เป็นการเสริมทัศนคติในเชิงบวก

บริษัท บางกอก แคน ดี ไหม

นอกจากการเสริมเสริมคุณภาพชีวิตของคนแล้ว ยังส่งเสริมให้พนักงานใส่ใจต่อสภาพแวดล้อมและการแบ่งปันแก่ผู้อื่น เป็นการสร้างบรรยากาศความสุขจากภายในไปสู่สังคมภายนอก องค์กรแห่งนี้ยังมุ่งมั่นที่จะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น มีความตระหนักถึงผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมโดยพร้อมจะเสียสละและแก้ไขพฤติกรรม เพื่อลดผลกระทบดังกล่าว รวมทั้งน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาบูรณาการในการดำเนินธุรกิจ  ในการสร้างความสำเร็จและประโยชน์สุขทั้งแก่องค์กรและสังคม ผ่านการดำเนินโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ ที่ออกแบบขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โครงการ “ขาเทียมพระราชทาน ฯ ” ถือเป็นความภูมิใจของคนในองค์กร ที่สามารถถักทอเครือข่ายทางสังคมแห่งการให้ การแบ่งปัน ให้มีความเหนียวแน่นได้อีกด้วย

มีหลายองค์กรในกลุ่มธุรกิจคล้ายกับบริษัทบางกอกแคนฯ รวมทั้งเครือข่าย ทีมจักรยานที่เขาปั่นเพื่อสุขภาพ หรือเพื่อการท่องเที่ยวชมรมต่างๆ นำเศษอลูมิเนียมที่เหลือจากการผลิต มามอบให้กับบริษัทบางกอกแคนฯ เพื่อส่งต่อให้กับมูลนิธิขาเทียมฯ ซึ่งทำให้ทุกคนที่ได้มีส่วนร่วมรู้สึกว่านอกจากได้ทำบุญกับผู้พิการร่วมกันแล้วแล้วยังได้รักษาสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้นอีกด้วย

 

ผลลัพธ์และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงาน

ผลที่เกิดจากการขับเคลื่อนโครงการผ่านกิจกรรมต่าง ๆ พบว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมในเชิงบวกของพนักงานที่เข้าร่วมโดยส่วนใหญ่ มีความรักความสามัคคีและรู้จักใกล้ชิดกันมากขึ้น พนักงานหลายคนได้พัฒนาตนเองมากขึ้น อย่างเช่นบางคนไม่กล้าพูด ไม่กล้าแสดงออก แต่หลังจากเข้าร่วมกิจกรรมทำให้กล้าพูดคุย กล้าแสดงออกมากขึ้น ทำให้เข้าใจ เปิดใจต่อกัน  เห็นคุณค่าของตนเองและของผู้อื่น ที่สำคัญคือการเป็นคุณค่าของบริษัท   จากการส่งเสริมให้พนักงานสร้างบุญสร้างกุศลผ่านกิจกรรมต่าง ๆ โดยไม่เสียเวลางาน หลายคนได้นำวิธีการปฏิบัติที่ได้จากการเข้าร่วมกิจกรรมไปปรับใช้กับครอบครัว ซึ่งก็เกิดผลลัพธ์ที่ดีกับคนในครอบครัวเช่นกัน ส่งผลให้บริษัทได้รับการยกย่องเชิดชูจากหน่วยงานภาครัฐ เป็นที่รู้จัก บางกอกแคน แมนนูแฟคเจอริ่ง จำกัด ว่าเป็นหนึ่งในองค์กรต้นแบบด้านการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมแก่พนักงานในจังหวัดปทุมธานี

 

บริษัท บางกอก แคน ดี ไหม

บทเรียนที่ได้การดำเนินงาน

บริษัท บางกอกแคน แมนนูแฟคเจอริ่ง จำกัด ได้ประสานทั้งสองวัฒนธรรมเข้าด้วยกันอย่างลงตัว โดยมีคนเป็นศูนย์กลาง ซึ่งเริ่มจากทำให้คนในองค์กรมีความสุขก่อน โดยใช้หลักการของ Happy Work Place และหลักธรรมของพุทธศาสนา ผ่านกิจกรรมส่งเสริมการมีวินัย การมีจิตอาสา ความซื่อสัตย์สุจริต อันเป็นคุณธรรมพื้นฐานคนในองค์กร

การพัฒนาอารมณ์ สังคม และจิตใจ  โดยการส่งเสริมให้มนุษย์รู้จักคุณค่าในตนเอง มีจิตสำนึกที่ดี ซึ่งจะส่งผลให้คนที่อยู่ในองค์กรหรือในสังคมได้อย่างมีความสุข   โดยคุณลักษณะสำคัญของคนต่อประโยชน์ขององค์กร  ได้แก่ ความเห็นอกเห็นใจกัน ความเสียสละช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ความซื่อสัตย์ต่อองค์กร   ดังนั้นฟันเฟืองที่มีคุณค่าในการพัฒนาองค์กรคือคนทำงาน  ไม่ว่าจะทำงานอยู่ตำแหน่งใด รายได้เท่าใด ก็สามารถสร้างความภาคภูมิใจในตนเองและองค์กร พร้อมมีส่วนร่วมในการนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จได้ตามที่คาดหวังไว้ สามารถขยายผลไปยังองค์กรอื่น และขยายสู่สังคมต่อไปอีกด้วย