อายุ 18 เปลี่ยนนามสกุลเองได้ไหม

ตอบข้อสงสัย หากหย่ากันแล้วอยากให้ลูกกลับมาใช้นามสกุลของแม่ หรือ ยังไม่จดทะเบียนแต่อยาก เปลี่ยนนามสกุลลูก จากเดิมเป็นนามสกุลพ่อให้กลับมาเป็นนามสกุลแม่ทำได้ไหม อย่างไร?

เปลี่ยนนามสกุลลูก กลับมาใช้นามสกุลของแม่ทำอย่างไร?

การ เปลี่ยนนามสกุลลูก จากเดิมที่ใช้นามสกุลของบิดาอยู่ ให้กลับมาใช้นามสกุลเดิมของมารดานั้น สามารถทำได้และไม่ใช่เรื่องยุ่งยาก ทีมงาน Amarin Baby & Kids จึงได้รวบรวมกรณีต่าง ๆ ในการ เปลี่ยนนามสกุลลูก และวิธีการเปลี่ยนดังต่อไปนี้

กรณีที่ 1 การเปลี่ยนนามสกุลลูกหลังจดทะเบียนหย่า

ในกรณีที่มีการจดทะเบียนสมรสกัน ต่อมาได้หย่าร้างกัน หลังจากจดทะเบียนหย่าแล้ว คุณแม่ต้องการเปลี่ยนนามสกุลลูกจากเดิมเป็นนามสกุลของบิดา ให้กลับมาเป็นนามสกุลเดิมของมารดา สามารถทำได้หรือไม่?

ตอบ  หากมีการหย่าต้องรู้ว่าอำนาจปกครองอยู่ที่ใคร

  • ถ้าอำนาจปกครองอยู่ที่บิดา การขอใช้นามสกุลมารดาก็ต้องให้บิดามาให้ความยินยอมด้วย
  • ถ้าอำนาจปกครองอยู่ที่มารดา การขอใช้นามสกุลของมารดาให้มารดายื่นขอใช้นามสกุลได้ ณ สำนักทะเบียนอำเภอ/เขต ที่บุตรมีชื่ออยู่
อายุ 18 เปลี่ยนนามสกุลเองได้ไหม
เปลี่ยนนามสกุล

กรณีที่ 2 การเปลี่ยนนามสกุลลูกหลังจดทะเบียนหย่า อำนาจปกครองบุตรเป็นของมารดา แต่บิดาสลักหลังให้ค่าเลี้ยงดูบุตรอยู่

ตอบ  กรณีที่บันทึกท้ายการหย่าระบุให้มารดามีอำนาจปกครองบุตรแต่ผู้เดียวนั้น มารดาสามารถไปติดต่อสำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอใกล้บ้านเพื่อขอเปลี่ยนนามสกุลบุตรได้ทันที โดยไม่ต้องให้บิดาเด็กให้ความยินยอมแต่อย่างใด และไม่ต้องสนใจว่าบิดาเด็กจะส่งเสียเลี้ยงดูบุตรอยู่หรือไม่ ในวันไปเปลี่ยนควรนำใบหย่าติดตัวไปด้วย 

กรณีที่ 3 การเปลี่ยนนามสกุลลูกในกรณีที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส ในใบเกิดมีชื่อบิดาเป็นพ่อของเด็ก แต่ติดต่อบิดาไม่ได้แล้ว

ตอบ หากติดต่อไม่ได้แนะนำให้เข้าพบพนักงานสอบสวนเพื่อออกเอกสารยืนยันว่าไม่สามารถติดตามตัวได้ เพื่อยื่นขอเปลี่ยนนามสกุลต่อไป

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

อายุ 18 เปลี่ยนนามสกุลเองได้ไหม
เปลี่ยนนามสกุลลูก

เอกสารที่ใช้ในการเปลี่ยนนามสกุลลูก

เอกสารที่ใช้ในการขอเปลี่ยนนามสกุลบุตร ได้แก่

  1. สูติบัตรของบุตร
  2. สำเนาทะเบียนบ้านที่บุตรมีชื่ออยู่
  3. หลักฐานการจดทะเบียนหย่า
  4. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ยื่นคำขอ
  5. สำเนาทะเบียนบ้าน
  6. ใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อสกุล (ช.2) หรือใบเปลี่ยนชื่อสกุล (ช.5) หรือบันทึกข้อตกลงในการใช้ชื่อสกุล โดยให้นำใบเกิดของลูกไปยืนยันตัวตนกับเจ้าหน้าที่เพิ่มเติม

ค่าธรรมเนียม : ฉบับละ 100 บาท กรณีการออกใบแทน  ฉบับละ 25 บาท

ยื่นคำร้องได้ที่ฝ่ายทะเบียน สำนักงานเขตที่ผู้ยื่นคำขอมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน

อายุ 18 เปลี่ยนนามสกุลเองได้ไหม
เปลี่ยนนามสกุลบุตร

เอกสารที่ใช้ในการขอเปลี่ยนนามสกุล (ภรรยา) ในกรณีสิ้นสุดการสมรส

เอกสารที่ใช้ในการขอเปลี่ยนนามสกุล กรณีสิ้นสุดการสมรส ได้แก่

  1. บัตรประจำตัวประชาชนผู้ยื่นคำขอ
  2. สำเนาทะเบียนบ้าน
  3. บันทึกข้อตกลงการใช้ชื่อสกุล กรณีคู่สมรสประสงค์จะใช้ชื่อสกุลของอีกฝ่ายหนึ่ง หรือหลักฐานสิ้นสุดการสมรส หรือหลักฐานที่เกี่ยวข้อง เช่น สูติบัตร, สำเนาทะเบียนรับบุตรบุญธรรม, สำเนาทะเบียน  รับรองบุตร ฯลฯ

ค่าธรรมเนียม

  1. การเปลี่ยนชื่อสกุลครั้งแรกเมื่อจดทะเบียนสมรส ไม่เสียค่าธรรมเนียม
  2. การเปลี่ยนชื่อสกุลเพราะการสมรสสิ้นสุด ไม่เสียค่าธรรมเนียม
  3. การเปลี่ยนชื่อสกุลภายหลังการจดทะเบียนสมรสครั้งต่อๆ ไป ฉบับละ 50 บาท
  4. การเปลี่ยนชื่อสกุลเพราะเหตุอื่นๆ ฉบับละ 100 บาท

ยื่นคำร้องได้ที่ฝ่ายทะเบียน สำนักงานเขตที่ผู้ยื่นคำขอมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน

และสำหรับกรณีที่บุตรบรรลุนิติภาวะแล้ว คืออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ สามารถตัดสินใจได้เองว่าต้องการที่จะใช้นามสกุลพ่อหรือแม่ จึงสามารถยื่นคำร้องเพื่อขอเปลี่ยนนามสกุลได้ด้วยตนเองเลย ไม่จำเป็นต้องดูว่าอำนาจการปกครองอยู่ที่ใคร

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

แจ้งเกิดลูก ไม่มีพ่อ ไม่ระบุชื่อพ่อได้ไหม? อนาคตจะมีปัญหาหรือไม่?

8 เคล็ดลับ สู่การเป็น Single Momอย่างมืออาชีพ!

คุณแม่ควรรู้ไว้!! ประโยชน์ของ ทะเบียนสมรส ที่คุณอาจไม่เคยรู้

ไม่จดทะเบียนสมรส ลูกเป็นของใคร ถ้าพ่อแม่เลิกกัน?

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง, www.decha.com, สำนักงานเขตบางกะปิ, ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐฯ สายด่วน 1111

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

ครอบครัว สิทธิประโยชน์เพื่อครอบครัว

เปลี่ยนนามสกุล เปลี่ยนนามสกุล กลับไปใช้นามสกุลเดิม เปลี่ยนนามสกุลบุตร เปลี่ยนนามสกุลลูก เอกสารเปลี่ยนนามสกุลลูก

           ในกรณีที่บิดาเปลี่ยนชื่อสกุล ในช่วง ก.ค. 2547 ผู้เป็นบุตร(ในขณะนั้นยังเป็นผู้เยาว์)ซึ่งอยู่ในทะเบียนบ้านเดียวกับบิดาและเป็นบุตรโดยชอบธรรมตามกฏหมาย(บิดามารดาจดทะเบียนสมรสตามกฏหมาย) การแก้ไขชื่อสกุลตามบิดา กรณีที่บิดาตั้งชื่อสกุลใหม่ ก่อนระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการทะเบียนชื่อบุคคล พ.ศ. 2551 ซึ่งมีผลบังคับใช้ (9 ส.ค. 2551) สามารถขอหนังสือสำคัญการเปลี่ยนชื่อสกุลของตนเองได้หรือไม่ และกฏหมายบังคับให้ต้องเปลี่ยนชื่อสกุลตามบิดาหรือไม่ (อ้างอิง ประมวลกฏหมายแพ่งและพานิชย์ มาตรา 1561)  ทำให้ไม่มีหลักฐานหนังสือสำคัญการเปลี่ยนชื่อสกุลของตนเอง(มีแต่เฉพาะแต่ ใบ แบบ ช.๒ ซึ่งเป็นของบิดาเท่านั้น) จึงอยากถามว่าทำอย่างไรจึงจะได้ หนังสือสำคัญการเปลี่ยนชื่อสกุลของตนเอง(ตอนนี้บรรลุนิติภาวะแล้ว)เนื่องจากมีปัญหามาก โดยเฉพาะเวลาไปทำธุรกรรมการเงินกับทางธนาคาร

อายุ 18 เปลี่ยนชื่อเองได้ไหม

กรณีผู้ขอเปลี่ยนชื่อที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ จะต้องให้มารดาเป็นผู้ยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนในท้องที่ที่มีชื่อเด็กอยู่ แต่ถ้าให้บิดาเป็นผู้ยื่นคำร้องต่อนายทะเบียน บิดาต้องนำใบจดทะเบียนสมรสกับมารดาไปยืนยันด้วย ครับ สำหรับหลักเกณฑ์และเอกสารในการยื่น -หลักเกณฑ์ / เงื่อนไข

อายุเท่าไรถึงจะเปลี่ยนนามสกุลได้

แต่ถ้าหากลูกของคุณพ่อคุณแม่มีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์เมื่อไหร่ คุณพ่อคุณแม่จะไม่สามารถดำเนินการแทนได้อีกแล้ว ลูกจะมีสิทธิในการตัดสินใจว่าจะใช้นามสกุลของใคร และสามารถยื่นคำร้องเพื่อเปลี่ยนนามสกุลได้ด้วยตนเอง

เปลี่ยนชื่อเองได้ไหม

ขั้นตอน * ผู้ยื่นคำขอตามแบบ ช1 ต่อนายทะเบียนท้องที่ที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน * นายทะเบียนท้องที่ตรวจสอบคำขอกับทะเบียนบ้าน และชื่อที่ขอเปลี่ยนให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ * กรณีอนุญาตสำหรับบุคคลสัญชาติไทย นายทะเบียนท้องที่จะออกหนังสือสำคัญแสดงการเปลี่ยนชื่อตัวชื่อรอง (แบบช.3) ให้เป็นหลักฐาน

เปลี่ยนชื่อต้องใช้อะไรบ้าง อายุไม่ถึง20

เอกสารการเปลี่ยนชื่อลูก อายุไม่ถึง 20 ปี ใบสูติบัตรสำหรับเด็กเล็ก หรือบัตรประชาชน สำหรับเด็กที่มีอายุ 15 ปี ขึ้นไป สำเนาทะเบียนบ้านที่มีชื่อลูก บัตรประจำตัวผู้ดำเนินการแทน (มารดา) กรณีที่เป็นบิดาทำการแทนผู้เยาว์ต้องมีทะเบียนสมรสมาแสดง