ตัวอย่างการบริหารจัดการชั้นเรียน

เอกสารประกอบการสอน

การบรหิ ารจัดการช้ันเรยี น

เรยี บเรียงโดย
อาจารยจ์ ีระนนั เสนาจกั ร์
อาจารย์ ดร. รุ่งลาวัลย์ ละอำคา
อาจารยว์ ัชรา เสนาจกั ร์
ครุศาสตร์ มหาวทิ ยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

1

บทท่ี 6
การบรหิ ารจดั การชนั้ เรียน

การบริหารจัดการช้ันเรียน เป็นวิธีการดำเนินการให้ช้ันเรียนได้อยู่ในสภาพความพร้อมท่ี
จะดำเนินการเรียนการสอนให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เพ่ือให้เกิดประสิทธิผลในการเรียนรู้ของ
ผ้เู รียนอย่างแทจ้ ริง เน่ืองดว้ ยชน้ั เรียนเป็นแหลง่ การเรียนรู้พน้ื ฐานในรายวชิ าตา่ ง ๆ ทั้งภาคทฤษฎแี ละ
ภาคปฏิบัติ ทั้งประกอบด้วยผู้เรียนท่ีมีความแตกต่างกันในด้านต่าง ๆ อย่างชัดเจน หรืออาจเรียกว่า
“ความแตกต่างระหว่างบุคคล” (Individual Difference) ชั้นเรียนท่ีมีการบริหารจัดการดีเป็น
ความสามารถของผู้สอนทส่ี ่งผลต่อบรรยากาศการเรียนรู้ของผ้เู รียนเป็นปัจจัยสำคัญของการเรียนการ
สอน และหมายความรวมถึง ผ้เู รียนมีความสขุ ในขณะท่ีอยู่ในช้นั เรียน ความสุขของผเู้ รียนเป็นสิ่งท่ีสุด
ยอดปรารถนาของผู้สอน และผู้รับผิดชอบทางการศกึ ษาต้องพยายามจดั ให้มขี ึ้นโดยทัว่ กัน การบรหิ าร
จดั การช้ันเรียนเป็นองค์รวมของการบูรณาการความรู้ ความสามารถของครูผู้สอน พร้อมทั้งก่อให้เกิด
แรงจูงใจใหผ้ ้เู รยี นได้มาโรงเรยี นทกุ วันอยา่ งมคี วามสขุ

หลักการ แนวคิดการบริหารจัดการช้นั เรยี น

1. ความหมายของการบริหารจดั การชน้ั เรียน

การบริหารจัดการชั้นเรียนเป็นส่วนสำคัญท่ีจะจูงใจให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างมี
ประสิทธภิ าพ ซ่งึ มผี ู้ให้ความหมายเกย่ี วกับการบรหิ ารจัดการชัน้ เรียนไว้ ดงั นี้

อรจรีย์ ณ ตะก่ัวทุ่ง (2545, หน้า 10) ได้ให้ความหมายว่า การจัดการชั้นเรียน หมายถึง
การปฏิบัติและกลยุทธ์ที่ใช้เพ่ือจัดระเบียบ (Order) ในห้องเรียน หากต้องการจัดการห้องเรียน
จำเป็นต้องประยกุ ตห์ ลกั การหลายขอ้ ได้แก่

1. การเตรียมจดั การสอน เป็นการเตรยี มความพร้อมสำหรับปกี ารศึกษา จัดระเบียบ
หอ้ งเรียน เลอื กและสอนกฎระเบียบและวิธีปฏบิ ตั ิ

2. การวางแผนการจัดการ เป็นการวางแผนการเรียนการสอนโดยมีหลักการจัดการ
อยู่ในใจตลอดเวลา วางแผนเพ่ิมแรงจูงใจ วางแผนจัดการกับนักเรียนท่ีแตกต่างกัน และวางแผน
รว่ มมอื กับผูป้ กครอง

3. การดำเนินการในชั้นเรียน เป็นการสร้างความร่วมมือ และความรับผิดชอบ
กระตนุ้ และเสรมิ แรงพฤติกรรมท่เี หมาะสม และดำเนินการเรียนการสอนตามแผน

ศศิธร ขันติธรางกูร (2551, หน้า 9) ได้ให้ความหมายของการบริหารจัดการช้ันเรียน ว่า
หมายถึง การจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพในช้ันเรียน การจัดการกับพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของ
ผู้เรียน การสร้างวินัยในชั้นเรียนตลอดจนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของผู้สอนและการพัฒนา
ทกั ษะการสอนของผู้สอนให้สามารถกระตุ้นความพร้อมท้ังแรงจูงใจในการเรียนเพ่ือให้ผู้เรียนสามารถ
เรยี นรูไ้ ดอ้ ยา่ งมปี ระสทิ ธิภาพ

เอกสารประกอบการสอน รายวิชา วทิ ยาการจดั การเรยี นรู้

2

กุลนิษฐ์ชา รานอก (2554, หน้า 9) สุรางค์ โค้วตระกูล (2556, หน้า 470) และ ปรียา
ภรณ์ ตงั้ คุณานันต์ (2557, หน้า 6) ท่ีได้ให้ความหมายของการบรหิ ารจัดการชั้นเรียนสอดคล้องกันว่า
เป็นการสร้างและการรักษาสิ่งแวดล้อม การจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและจิตวิทยา เพ่ือสร้าง
บรรยากาศให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์กับผู้สอน
และเพ่ือนอย่างมีความสุข การสร้างกฎระเบียบวินัยในชั้นเรียน กลวิธีในการจัดการพฤติกรรมของ
ผู้เรียน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของผู้สอนให้สามารถกระตุ้นพร้อมทั้งสร้างแรงจูงใจในการ
เรียน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้ตาม
วตั ถุประสงคท์ ่ีต้ังไว้

สันติ บุญภิรมย์ (2557, หน้า 114) ได้ให้ความหมายว่า การจัดการช้ันเรียน หมายถึง
กระบวนการดำเนินการในช้ันเรียน ประกอบด้วย 1) การเตรียมการ 2) การวางแผนจัดการ 3) การ
ดำเนนิ การในชัน้ เรยี น สำหรับในแตล่ ะขน้ั มีรายละเอยี ดประกอบ ดังน้ี

1. การเตรียมการ หมายถึง การจัดเตรียมการเรียนไว้ให้พร้อมที่จะมีการเรียนการ
สอนในปีการศกึ ษานน้ั ๆ ซง่ึ เป็นการเตรียมความพรอ้ มในดา้ นศักยภาพ

2. การวางแผนการเรียนการสอน หมายถึง การวางแผนการเรียนการสอนในช้ัน
เรียนและการวางแผนการเลือกใช้กิจกรรมต่าง ๆ มาใช้ประกอบการเรียนการสอนที่คาดว่าน่าจะ
บรรลุผลสำเร็จตามวัตถปุ ระสงค์ของรายวิชานั้น ๆ

3. การดำเนินการในช้ันเรียน หมายถึง การดำเนินการเรียนการสอนให้เป็นไปตาม
กระบวนการที่ได้กำหนดไว้มีวัตถุปะสงค์เพ่ือผู้เรียนได้มีความรู้ ความสามรถตามสมรรถนะของ
รายวิชาพร้อมท้ังมีปฏิกิริยาร่วมระหว่างผู้สอนกับผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียนได้รับประโยชน์สูงสุดต่อการ
ดำเนินการเรียนการสอนในแต่ละคร้ัง และก่อใหเ้ กิดความพึงพอใจท้ังสองฝา่ ยในระดับที่ยอมรบั ได้เพื่อ
มงุ่ สูค่ วามเปน็ เลศิ ในช้นั เรียน

ณิรดา เวชญาลักษณ์ (2561, หน้า 25) ได้ให้ความหมายว่า การบริหารจดั การชน้ั เรียน
หมายถึง การดำเนินงานของผู้สอนในการสร้างสรรค์สภาพแวดล้อมทั้งในเชิงกายภาพและจิตวิทยา
สร้างกฎระเบียบวินัยในชั้นเรียน มีกลวิธีในการจัดการพฤติกรรมของผู้เรียน โดยอาศัยหลักการและ
แนวคิดโดยยึดหลักกระบวนการบริหารจัดการ ประกอบด้วย 1) การเตรียมการ 2) การวางแผน
จัดการ และ 3) การดำเนินการในชั้นเรียน เพ่ือสร้างบรรยากาศให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการ
เรียนรู้ และสร้างสรรค์สภาพแวดล้อมเพื่อสนับสนุนอำนวยความสะดวกท้ังในด้านการเรียนรู้เชิง
วิชาการและการเรียนรู้ด้านปฏิสัมพันธ์แก่ผู้เรียน เพ่ือให้การสอนได้สามารถบริหารจัดการชั้นเรียนได้
อย่างมปี ระสิทธิภาพ

กล่าวโดยสรุปว่า การบริหารจัดการชั้นเรียน หมายถึง การสร้างและการรักษา
สง่ิ แวดล้อมของห้องเรียนทั้งด้านกายภาพและจติ วิทยา เพื่อเอ้ือตอ่ การเรียนรู้ของนักเรียน รวมทั้งการ
สร้างระเบียบวนิ ัยในหอ้ งเรยี น กลวธิ ีในการจัดการพฤติกรรมของผู้เรียน การจัดกิจกรรมการเรียนการ
สอนของผู้สอนให้สามารถกระตุ้นพร้อมท้ังสร้างแรงจูงใจในการเรียน โดยอาศัยหลักการและแนวคิด
กระบวนการบริหารจัดการ ประกอบด้วย 1) การเตรียมการ 2) การวางแผนจัดการ และ 3) การ
ดำเนินการในชั้นเรียน เพ่ือรักษาสภาพบรรยากาศในห้องเรียน ช่วยให้การเรียนการสอนดำเนินไป

เอกสารประกอบการสอน รายวิชา วทิ ยาการจดั การเรียนรู้

3

อย่างราบรื่น เกิดความร่วมมือในกิจกรรมการเรียนรู้ และผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้ตาม
วัตถุประสงคท์ ี่ตง้ั ไว้

2. ความสำคญั ของการบริหารจัดการชนั้ เรียน

การบรหิ ารจัดการชั้นเรียน มีความสำคัญต่อการเรียนการสอนของผู้เรียน เพราะจะทำให้
ผู้เรียนได้รับการพัฒนาศักยภาพได้ตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้ และช่วยส่งเสริมพฤติกรรมท่ีพึง
ประสงค์ของผู้เรียนเพ่ือการเป็นสมาชิกท่ีดีของสังคมในอนาคต ซ่ึงมีนักวิชาการศึกษาได้กล่าวถึง
ความสำคัญของการบริหารจัดการช้ันเรียนไว้ ดงั น้ี

ศศธิ ร ขนั ติธรางกูร (2551, หน้า 2-3) กล่าวว่า การบริหารจัดการข้ันเรียนมีความสำคัญ
ด้วยตผุ ลหลายประการ คอื

1. การเรียนรู้จะเกิดขนึ้ ไม่ได้หรอื เกดิ ได้น้อยถา้ มสี ่ิงรบกวนในช้ันเรียนอยู่ตลอดเวลา
ดว้ ยปญั หาทางพฤตกิ รรมของผู้เรยี น

2. ผู้เรียนท่ีอยู่ในช้ันเรียนที่ไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย สิ่งแวดล้อมในช้ันเรียนมีเสียง
ดังและส่ิงรบกวน หรือการจัดท่ีนั่งไม่เหมาะสมอาจเป็นสาเหตุให้เกดิ ปัญหาทางวินัย นำไปสู่การแสดง
พฤตกิ รรมก้าวร้าว หรือทำใหผ้ ู้เรียนไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ส่งผลให้ผู้เรียนไม่สามารถเรียนรู้ได้
อยา่ งเต็มท่ี

3. การกำหนดคุณลักษณะพฤติกรรมท่ีพึงประสงค์ของผู้เรียนไว้ล่วงหน้าจะมี
ประโยชน์อย่างย่ิงต่อการบริหารจัดการช้ันเรียน เพราะจะทำให้ผู้เรียนมีแนวทางในการควบคุม
พฤติกรรมของตนเอง โดยไม่แสดงอาการหรือพฤติกรรมท่ีจะเปน็ การรบกวนการเรยี นของผู้อืน่

4. ชั้นเรียนทีม่ ีการจัดการกับพฤติกรรมของผเู้ รียนไดอ้ ย่างเหมาะสม จะทำให้ผู้สอน
สามารถดำเนนิ การสอนได้อยา่ งเตม็ ทโ่ี ดยไม่เสียเวลากบั การแก้ไขปัญหาพฤตกิ รรมของผ้เู รยี น

5. การบริหารจัดการชั้นเรียน ทำให้ผู้เรียนมีวินัยในการเรียนรู้และการอยู่ร่วมกัน
ด้วยความเอ้ืออาทร โดยคำนึงถึงกฎระเบียบของช้ันเรียนอย่างต่อเน่ือง นอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อ
การเรยี นรู้แล้ว ยงั มผี ลในระยะยาวคือเป็นการปลูกฝังลกั ษณะนิสยั เพื่อการเป็นพลเมอื งดีในอนาคตอีก
ด้วย

สันติ บุญภิรมย์ (2557, หน้า 115) กล่าวว่า ความสำคัญของการบรหิ ารจัดการชั้นเรียน
มคี วามสำคัญตอ่ ผ้เู รยี นดงั นี้

1. ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความอบอุ่นในขณะอยู่ในชั้นเรียน และมีความสุขในขณะท่ีมี
การเรยี นการสอน

2. ช่วยให้ส่งเสริมสนับสนุนบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งใน
เวลาเรยี นปกติและนอกเวลาเรียน

3. ช่วยให้ผู้เรียนและผู้สอนได้มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันตามธรรมชาติของรายวิชา
นน้ั ๆ

4. ช่วยสง่ เสริมให้ผเู้ รยี นได้ตระหนักในเร่ืองของวินยั ในชน้ั เรียน

เอกสารประกอบการสอน รายวชิ า วทิ ยาการจดั การเรียนรู้

4

5. ชว่ ยป้องกันสง่ิ รบกวนท่ีเป็นสภาพแวดล้อมภายนอกที่มตี ่อการเรียนการสอนและ
การทำกจิ กรรมต่าง ๆ ของผู้เรียน

ณิรดา เวชญาลักษณ์ (2561, หน้า 26) กล่าวถึงความสำคัญของการบริหารจดั การชั้น
เรียนต่อผ้สู อนและผูเ้ รียนไวด้ งั น้ี

1. เป็นการจัดกระบวนการต่าง ๆ ท่ีสง่ เสริมตอ่ การเรียนรแู้ ละพฤติกรรมของผ้เู รียน
ทำใหผ้ ู้เรยี นมีวนิ ัยในการอยู่ร่วมกัน

2. ผู้สอนสามารถจัดการกับพฤติกรรมของผู้เรียนได้ การเรียนการสอนดำเนินไป
อย่างราบรื่น สร้างความสนใจบทเรียนและส่งเสริมบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ให้ผู้เรยี นมากยิ่งขึ้น เกิด
ความอบอุ่นและมคี วามสุขในขณะท่มี กี ารเรยี นการสอน

3. ผู้เรียนและผู้สอนได้มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันตามธธรรมชาติของรายวิชานั้น ๆ
และสามารถสง่ เสริมสุขภาพทีด่ ีใหแ้ ก่ผเู้ รยี น

4. ชั้นเรียนท่ีไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย สิ่งแวดล้อมในชั้นเรียนมีเสียงดังและ
ส่ิงรบกวน หรือการจัดที่น่ังไม่เหมาะสมอาจเป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาทางวินัย นำไปสู่การแสดง
พฤตกิ รรมท่กี า้ วร้าวหรือทำใหผ้ ู้เรียนไมส่ ามารถช่วยเหลอื ตนเองได้

ไสว ฟักขาว (2561, หน้า 142-143) กล่าวถึงความสำคัญของการจัดการช้ันเรียนต่อ
ผสู้ อนและผเู้ รยี นโดยให้ความสำคัญต่อผสู้ อนไวด้ งั น้ี

1. ทำให้ผู้สอนตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ของตนในการจัดการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้
ตามเป้าหมายของหลักสูตร

2. ทำใหผ้ สู้ อนสามารถจัดการเรยี นรใู้ นช้ันเรียนใหด้ ำเนนิ ไปอยา่ งราบรื่น
3. ทำให้ผสู้ อนมีทักษะในวิชาชีพครเู กยี่ วกับการออกแบบการเรยี นการสอนและการ
จดั การชนั้ เรียน
4. ครูได้เพ่ิมพูนความรู้และทักษะในการจัดการชั้นเรียนในสถานการณ์ที่ผู้เรียนมี
พฤตกิ รรมทไ่ี ม่เหมาะสมหรือไมพ่ ึงประสงค์ในลักษณะตา่ ง ๆ
5. ทำใหผ้ ้สู อนเกิดความภาคภูมใิ จที่ได้ชว่ ยใหผ้ ูเ้ รียนประสบความสำเร็จ
สรุปได้ว่า การบริหารจัดการช้ันเรียนน้ัน มีความสำคัญต่อผู้เรียนเป็นอย่างมาก เพราะ
เป็นการจัดกระบวนการต่าง ๆ ในการบริหารจัดการช้ันเรียนได้อย่างราบรื่นช่วยส่งเสริมและสร้าง
เสริมผู้เรียนในการพัฒนาศักยภาพได้เต็มตามศักยภาพ ท้ังด้านสติปัญญา ร่างกาย อารมณ์ และสังคม
ได้เป็นอย่างดี ทำให้ผู้เรียนเรียนด้วยความสุข รักการเรียน และเป็นคนใฝ่เรียนใฝ่รู้ในท่ีสุด อีกทั้งช่วย
ให้ผู้เรียนพัฒนาในการควบคุมตนเองเพ่ือให้มีชีวิตท่ีทำงานร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างมีความสุข และ
พัฒนาความรู้ได้เต็มประสิทธิภาพ จึงเป็นการช่วยให้การเรียนรู้ของผู้เรียนและการสอนของผู้สอนได้
เอื้ออำนวยต่อกิจกรรมการเรียนการสอน ซึ่งเป็นกิจกรรมท่ีมีความสำคัญที่สุดในขณะนั้นให้บรรลุผล
สำเร็จตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้ หากชั้นเรียนท่ีไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย ส่ิงแวดล้อมในช้ันเรียนมี
เสียงดังและส่ิงรบกวน หรือการจัดท่ีนั่งไม่เหมาะสมอาจเป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาทางวินัย นำไปสู่การ
แสดงพฤตกิ รรมทกี่ า้ วรา้ วหรอื ทำให้ผู้เรยี นไมส่ ามารถเรยี นรไู้ ด้อย่างเตม็ ที่

เอกสารประกอบการสอน รายวิชา วทิ ยาการจดั การเรียนรู้

5

3. องค์ประกอบของการบริหารจดั การช้ันเรยี น

การบริหารจัดการช้ันเรียนเพ่ือให้การเรียนการสอนบรรลุวัตถุประสงค์ นอกจากตัว
ผสู้ อนแล้วยังมอี งค์ประกอบที่สำคญั ดงั นักวิชาการไดก้ ล่าวไวด้ ังนี้

สันติ บุญภิรมย์ (2557, หน้า 115-116) ไดก้ ลา่ วถึงองค์ประกอบของการจัดการช้ันเรียน
ไว้ดังนี้ องค์ประกอบของการจัดการช้ันเรียน (Element of Classroom Management) เพื่อให้ช้ัน
เรียนได้เกิดประโยชน์สูงสุดกับผู้เรียน ดังน้ัน จึงมีการจัดองค์ประกอบของการจัดการช้ันเรียน
ดงั ต่อไปน้ี

1. องค์ประกอบด้านกายภาพ หมายถึง ส่ิงอำนวยความสะดวกภายในชั้นเรียนจัด
ให้มีไว้อย่างเพียงพอ พร้อมใช้งานได้ตลอดเวลา ซึ่งประกอบด้วย โต๊ะ เก้าอี้ ทั้งของผู้เรียนและผู้สอน
กระดานดำ บอร์ดสำหรับจัดนิทรรศการ หรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า การจัดเตรียมการในด้านวัสดุ
อปุ กรณ์ ส่ิงอำนวยความสะดวกอืน่ ไวอ้ ยา่ งครบถ้วน และมคี ณุ ภาพดพี ร้อมใชง้ านตลอดเวลา

2. องค์ประกอบด้านสังคม หมายถึง การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนใน
รูปแบบต่าง ๆ ตามกิจกรรมประกอบการเรียนการสอนในแต่ละรายวิชา ผู้สอนกับผู้เรียนได้ช่วยกัน
ทำงาน ผู้เรียนทำงานกันเป็นกลุ่ม ผสู้ อนสาธติ ให้ผู้เรียนไดศ้ ึกษาสังเกต

3. องค์ประกอบด้านการศึกษา หมายถึง การจัดลำดับเนื้อหาสาระ ความรู้ให้
เหมาะสมกับวุฒิภาวะของผู้เรียน พร้อมท้ังให้ผู้เรียนมีกาสวางแผนการเรียนร่วมกับผู้สอน และให้
ผู้เรียนได้ตระหนักในคุณค่าของความรู้ ความสามารถท่ีได้รับจากผู้สอน หรือการศึกษาค้นคว้าตามท่ี
ได้รับมอบหมายให้เต็มตามอัตภาพ ทั้งน้ี เนื่องด้วยการจัดการศึกษาในส่วนของการจัดการชั้นเรียน
เป็นเป้าหมายสูงสุดในการเรียนรู้ คือ ให้ผู้เรียนได้รับความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ให้
เป็นไปตามอัตภาพและผู้เรียนสามารถพัฒนาได้โดยให้ความสำคัญไปที่การบริหารจัดการชั้นเรียน
เนื่องจากช้ันเรียนเป็นสถานที่อยู่ของผู้เรียนตลอดระยะเวลาของการมาเรียนที่โรงเรียน สำหรับ
องค์ประกอบด้านกายภาพและด้านสังคม เป็นส่วนส่งเสริม สนับสนุนให้องค์ประกอบด้านการศึกษา
ของผู้เรยี นไดม้ คี วามสมบรู ณค์ รบถ้วน

ณิรดา เวชญาลักษณ์ (2561, หน้า 31-32) ได้กล่าวถึงองค์ประกอบของการบริหาร
จดั การชั้นเรียน เป็นกระบวนการทำงานโดยอาศัยการจัดส่ิงอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เพื่อส่งเสรมิ ให้
ผูเ้ รยี นเกิดการเรยี นรู้ ประกอบดว้ ย 2 องคป์ ระกอบ ดังนี้

1. องค์ประกอบการเรียนรู้ทางกายภาพ เก่ียวข้องกับอุปกรณ์การเรียนการสอน
ประตหู น้าต่าง ผนงั ห้อง เพดาน ขนาดของหอ้ ง สภาพของสถานทโ่ี ดยท่วั ไป

2. องค์ประกอบการเรียนรู้ทางจิตภาพและสังคมภาพ ท่ีทำให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึก
ในทางบวกหรือทางลบ อาจเกิดข้ึนจากส่ิงท่ีเป็นกายภาพหรือเกิดจากบุคคล เช่นผู้สอน เพ่ือนร่วมชั้น
หรือบุคลากรอ่ืน ๆ สภาพแวดลอ้ มอันเน่ืองมาจากความสัมพันธร์ ะหว่างบุคคล การเรียนรู้ททางสังคม
ภาพ ได้แก่ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียนด้วยกัน ระหว่างผู้สอน
ดว้ ยกนั และระหวา่ งผเู้ รยี นกบั บคุ ลาการทเ่ี ก่ียวขอ้ ง

ไพฑูรย์ ศรีฟ้า (ม.ป.ป., ออนไลน์) ได้นำเสนอแนวคิดองค์ประกอบของการบริหาร
จดั การช้ันเรียน แบง่ ได้เป็น 3 องค์ประกอบดงั นี้

เอกสารประกอบการสอน รายวชิ า วทิ ยาการจดั การเรยี นรู้

6

1. องค์ประกอบทางด้านกายภาพ เป็นสภาพแวดล้อมท่ีมนุษย์สร้างขึ้น ได้แก่
อาคารสถานที่ โต๊ะ เก้าอี้ สื่อ อุปกรณ์การสอนต่าง ๆ รวมท้ังส่ิงต่าง ๆ ที่อยู่ตามธรรมชาติ ได้แก่
ต้นไม้ พืช ภูมิอากาศ ภูมิประเทศ สภาพแวดล้อมทางการเรยี นด้านกายภาพจะส่งผลต่อการเรียนการ
สอนและผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนของผู้เรียน แบ่งออกเป็นสภาพแวดล้อมในช้ันเรียนและ
สภาพแวดล้อมภายนอกชนั้ เรยี น

1.1 ส่ิงแวดล้อมภายในชั้นเรียน ประกอบด้วย ชั้นเรียนและอุปกรณ์การเรียน
ตา่ ง ๆ แสงสวา่ ง สี เสยี ง อุณหภมู ิ ฯลฯ

1.2 ส่ิงแวดล้อมภายนอกช้ันเรียน ได้แก่ แหล่งความรู้ต่าง ๆ เช่น แหล่งวิทย
บรกิ าร หอ้ งปฏบิ ัติการ ห้องทดลอง โรงฝึกงาน ห้องสมุด ศูนยว์ ฒั นธรรมตา่ ง ๆ ซึ่งส่ิงต่าง ๆ เหลา่ นีจ้ ะ
มีความสมั พันธ์เก่ยี วเนื่องกับการเรยี น และการศกึ ษาคน้ คว้าเพ่มิ เตมิ นอกเหนือจากในช้นั เรียน

2. องค์ประกอบทางด้านจิตภาพ ได้แก่ สิ่งแวดล้อมท่ีมีผลกระทบต่อ ความรู้สึก
จิตใจ เจตคติของนักเรียน ที่มีต่อการเรียนการสอน แบ่งออกเป็นองค์ประกอบสำคัญใหญ่ ๆ 2
องคป์ ระกอบคอื

2.1 องคป์ ระกอบด้านผู้เรียน
2.1.1 บุคลิกภาพและพฤติกรรมของนักเรียน จะมีความสัมพันธ์และอิทธิพล

ตอ่ ผลสมั ฤทธิท์ างการเรียน บุคลิกภาพและพฤตกิ รรมของผู้เรียนท่ีสำคัญ ได้แก่ การรว่ มกิจกรรม การ
เป็นส่วนหนึ่งของหมู่คณะ การสมาคมภายในกลุ่ม ความมีระเบียบในการทำงาน ความเป็น
ประชาธิปไตย

2.1.2 ระดับสติปัญญา ระดับสติปัญญาของนักเรียนมีความสัมพันธ์และมี
อิทธิพลต่อผลสัมฤทธ์ิทางการเรียน ดังน้ัน ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนควรเลือกเน้ือหาและ
กิจกรรมใหเ้ หมาะสมกบั ระดบั สติปญั ญาของผเู้ รียนด้วย

2.1.3 สถานภาพทางครอบครัว จากงานวจิ ัยพบว่า พื้นฐานทางครอบครวั จะ
ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และยังพบว่าอาชีพและรายได้ของบิดามารดามีความสัมพันธ์กับ
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รวมทั้งการเอาใจใส่ของผู้ปกครองจะส่งผลทางตรงกับผลสัมฤทธ์ิทางการ
เรียน ดังน้ัน การจัดการสึกาษก็ควรคำนึงถึงในส่วนน้ีด้วย หากพบว่าผู้เรียนมาจากสภาพครอบครัว
อย่างไรแล้วกจ็ ะไดจ้ ดั สภาพแวดลอ้ มทางการเรยี นทเ่ี หมาะสม

2.2 องคป์ ระกอบด้านผู้สอน
2.2.1 บุคลิกภาพและพฤติกรรมของครูผู้สอนบุคลิกภาพและพฤตกิ รรมของ

ผู้สอนมีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน จากงานวิจัยพบว่า บุคลิกภาพและ
พฤติกรรมของผู้สอนท่ีผู้เรียนต้องการ ได้แก่ อารมณ์ดี ร่าเริง ย้ิมแย้มแจ่มใส ไม่ดุด่าผู้เรียนโดยไม่มี
เหตุผล พดู จาไพเราะอ่อนหวาน

2.2.2 ความรู้และประสบการณ์ มีความสัมพันธ์และมีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธ์ิ
ทางการเรียน จากงานวิจัยพบว่า วุฒิผู้สอนมีความสัมพันธ์สกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กล่าวคือ
ผู้เรยี นท่ีเรยี นกบั ผู้สอนท่มี ีวุฒสิ ูง จะมผี ลสัมฤทธิ์ทางการเรยี นสูงกว่าผู้เรยี นที่เรียนจากผู้สอนท่มี ีวุฒิต่ำ
ท้ังน้ีเนื่องจากผู้สอนท่ีมีวุฒิสูงกว่าย่อมจะผ่านกระบวนการและเทคนิควิธีการสอน และวิชาการ

เอกสารประกอบการสอน รายวิชา วทิ ยาการจดั การเรียนรู้

7

มากกว่า และยิ่งได้สอนตรงหรือสอดคล้องกบั สาขาท่ีเรียนมาด้วยแล้วจะทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรยี น
สงู ขน้ึ

2.2.3 เทคนิคการสอน การสอนของผู้สอนเร่ิมตั้งแต่การวางแผนการสอน
การดำเนินการสอนและการประเมินผล จากงานวิจัยพบว่า การวางแผนการสอนเป็นตัวแปรสำคัญท่ี
ส่งผลต่อผลสัมฤทธ์ิทางการเรียน หากผู้สอนมีการวางแผนท่ีดีจะทำให้การสอนดำเนินไปอย่างมี
ประสทิ ธิภาพและทำให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธ์ิสูงขึ้น

3. สภาพแวดล้อมทางด้านสังคม ได้แก่ สภาพแวดล้อมท่ีเกิดจากปฏิสัมพันธ์ระหว่าง
บุคคล เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียนด้วยกัน ผู้เรียนกับผู้สอน รวมถึงกฎระเบียบและ
ขอ้ บังคับตา่ ง ๆ ของโรงเรียน องคป์ ระกอบของสภาพแวดลอ้ มทางการเรยี นด้านสังคม

3.1 การสร้างบรรยากาศในช้นั เรยี น
3.2 การสร้างแรงจูงใจ หากผู้เรียนเกิดแรงจูงใจท่ีจะเรียนจะทำให้ผลการเรียนดี
ขึ้น แรงจูงใจมีทั้งภายนอกและภายใน สำหรับแรงจูงใจภายนอกน้ันผู้สอนสามารถกระตุ้นเพื่อให้
ผู้เรยี นสามาระแสดงพฤตกิ รรมอย่างใดอย่างหนึ่งตามทีต่ ้องการได้
3.3 ความสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน คุณภาพความสัมพันธ์และการให้ความ
สนบั สนุนร่วมมอื กันส่วนบคุ คลในชั้นเรียน มีผลต่อระดับความต้องการของผูเ้ รียนแต่ละคนจนสามารถ
สร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันได้ และความสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียนมีผลโดยตรงต่อ
ความสำเรจ็ ในการทำกิจกรรมด้านการเรยี น
สรุปได้ว่า องค์สประกอบในการบริหารจัดการช้ันเรียน เป็นกระบวนการทำงานโดย
อาศัยการจัดส่ิงอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ประกอบด้วย 3
องค์ประกอบใหญ่ ๆ ได้แก่ 1) องค์ประกอบด้านกายภาพ เป็นส่ิงแวดล้อมที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ของ
ผู้เรียนประกอบด้วยสภาพแวดล้อมท่ีมนุษย์สร้างข้ันและสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติท้ังภายในและ
ภายนอกช้ันเรียน 2) องค์ประกอบด้านจิตภาพ เป็นสภาพท่ีมีผลต่อความรู้สึกจิตใจในทางบวกหรือ
ทางลบ เจตคติของผู้เรียนท่ีมีต่อการเรียนการสอน และ 3) องค์ประกอบด้านสังคมภาพ เป็น
สภาพแวดล้อมอันเนื่องมาจากความสัมพันธร์ ะหว่างบุคคล ได้แก่ ปฏิสัมพันธร์ ะหวา่ งผู้สอนกับผู้เรียน
ผเู้ รียนด้วยกัน ผู้สอนด้วยกัน รวมถึงกฎระเบียบของสถานศึกษา รวมไปถึงการสร้างบรรยากาศในชั้น
เรียน และการสร้างแรงจูงใจท้ังภายนอกและภายในของผู้สอนที่สามารถกระตุ้นให้ผู้เรียนแสดง
พฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึง่ ตามทตี่ ้องการได้

4. หลกั การบรหิ ารจดั การชั้นเรียน

พวงรตั น์ เกษรแพทย์ (อา้ งถงึ ใน สพุ ิน บุญชูวงศ์, 2544, หน้า 128-129) ได้สรปุ หลักการ
จัดการช้ันเรยี นไว้ดงั น้ี

1. ชั้นเรียนควรมีสีสันที่น่าดูสบายตา มีอากาศถ่ายเทได้ดี แสงสว่างเพียงพอ ไม่มี
เสียงรบกวน อากาศไม่เป็นพิษ ไม่ร้อนจนเกินไป มีต้นไม้ ดอกไม้ประดับ และมีขนาดกว้างขวางอย่าง
เพยี งพอ

เอกสารประกอบการสอน รายวิชา วทิ ยาการจดั การเรยี นรู้

8

2. สะอาดถูกสุขลักษณะ เป็นระเบียบเรียบร้อย น่าอยู่มีบรรยากาศและส่ิงแวดล้อม
คล้ายคลงึ กบั ชีวิตในบา้ น ในครอบครวั ของนักเรียน

3. ส่ิงที่อยู่ในช้ันเรียน ไม่ว่าจะเป็นโต๊ะ เก้าอี้ มุมหนังสือ ป้ายนิเทศ สื่อการสอน
ประเภทต่าง ๆ สามารถเคลื่อนไหว เคลื่อนที่ได้ สามารถจัดหรือดัดแปลงช้ันเรียนให้มีลักษณะ
เออ้ื อำนวยตอ่ การสอนและกิจกรรมประเภทตา่ ง ๆ ได้

4. นักเรยี นเรยี นรู้ในช้ันเรยี นอยา่ งมีความสุข มอี ิสระ เสรีภาพในเรอ่ื งการเรียนรู้และ
ในขณะเดียวกันก็มีวินัยในการดูแลตัวเองและการอยู่ร่วมกับผู้อ่ืน ปฏิสัมพันธ์ของนักเรียนและครูกับ
นกั เรยี นเป็นไปด้วยดี ทั้งสง่ เสริมบรรยากาศและมคี วามเข้าใจในบทบาทของตนเอง

5. จัดมุมหนังสือ มุมประสบการณ์ ส่ือการสอนบางประเภทให้เพียงพอ และมี
ประโยชนต์ ่อการเรยี นรู้ของนักเรียน

6. ช้ันเรียนที่ดีไม่จำกัดเฉพาะในห้องสี่เหลี่ยมที่กำหนดให้เท่านั้น แต่ยังมีชั้นเรียน
แบบเปดิ แบบธรรมชาติเป็นการศึกษานอกช้นั เรียนท่ีนักเรยี นมคี วามต้องการและสนใจเชน่ เดียวกนั

7. การเปล่ียนแปลงส่ิงแวดล้อม เน้ือหาสาระ กระบวนการเรียนรู้ที่ต้องกระทำอยู่
เสมอ ตามเหตกุ ารณ์ขา่ วคราวความเคลอื่ นไหว ส่งิ ทเ่ี กย่ี วขอ้ งกบั การเรียนรูข้ องนกั เรียน

8. ควรมีการจัดการเตรียมพร้อมต่อการสอนแต่ละคร้ัง เพ่ือพัฒนาทักษะสำคัญ ๆ
บางประการ

9. ครูต้องระมัดระวังและควบคุมอารมณ์ ความรู้สึกของตนให้ดี ไม่ก้าวร้าวแสดง
อาการไมพ่ อใจให้เกดิ ขนึ้ ในชน้ั เรียน

อาภรณ์ ใจเท่ียง (2553, หน้า 251-252) ชั้นเรียนมีความสำคัญต่อผู้เรียนเน่ืองจาก
ผู้เรียนต้องใช้เวลาอยู่ในชั้นเรียนวันละประมาณ 5-6 ช่ัวโมง อิทธิพลของช้ันเรียนจึงมีมากพอท่ีจะ
ปลูกฝังคณุ ลักษณะตา่ ง ๆ ทด่ี ขี องผู้เรียนได้ สำหรบั หลักการจัดการชัน้ เรียนที่สนา่ สนใจมดี ังน้ี

1. การจัดชั้นเรียนควรให้ยืดหยุ่นได้ตามความเหมาะสม ชั้นเรียนควรเป็นห้องใหญ่
หรือกว้างเพื่อสะดวกในการโยกย้ายโต๊ะเก้าอี้ จัดเป็นรูปต่าง ๆ เพ่ือประโยชน์ในการเรียนการสอนถ้า
เป็นหอ้ งเล็ก ๆ หลาย ๆ ห้องตดิ กนั ควรทำฝาเล่อื นเพื่อเหมาะแก่การทำใหห้ ้องกวา้ งข้ึน

2. ควรจัดช้ันเรียนเพ่ือสร้างเสริมความรู้ทุกด้าน โดยจัดอุปกรณ์ในการทำกิจกรรม
หรอื หนังสืออ่านประกอบท่ีน่าสนใจไว้ตามมุมหอ้ งเพอื่ นกั เรียนจะได้ค้นคว้าทำกิจกรรมควรตดิ อุปกรณ์
รปู ภาพและผลงานไว้เพอื่ ให้เกิดการเรยี นรู้

3. ควรจัดชั้นเรียนให้มีสภาพแวดล้อมที่ดี ได้แก่ สภาพแวดล้อมทางกาย สติปัญญา
อารมณ์และสังคม ซึ่งมีอิทธิพลต่อความเป็นอยู่และการเรียนของนักเรียนเป็นอันมาก ครูมีส่วนช่วย
เสริมสร้างสภาพแวดล้อมให้ดีได้ เช่น ให้นักเรียนจัดหรือติดอุปกรณ์ให้มีสีสวยงาม จัดกระถางต้นไม้
ประดับชั้นเรียนจัดที่ว่างของช้ันเรียนให้นักเรียนทำกิจกรรม คอยให้คำแนะนำในการอ่านหนังสือ
ค้นคว้าแก้ปัญหา และครูควรสร้างบรรยากาศในช้ันเรียนไม่ให้เครียด เป็นกันเองกับนักเรียน ให้
นกั เรียนรสู้ ึกมคี วามปลอดภยั สะดวกสบายเหมือนอยูท่ บี่ ้าน

4. ควรจัดชั้นเรียนเพ่ือเสริมสร้างลักษณะนิสัยท่ีดีงาม ช้ันเรียนจะน่าอยู่ก็ตรงท่ี
นักเรียนรู้จกั รักษาความสะอาด ตงั้ แต่พ้นื ชนั้ เรียน โตะ๊ มา้ นั่ง ขอบประตูหน้าต่าง ขอบกระดาน ชอล์ก

เอกสารประกอบการสอน รายวชิ า วทิ ยาการจดั การเรยี นรู้

9

แปรงลบกระดาน ฝาผนัง เพดาน ซอกมุมของห้อง ถังขยะต้องล้างทุกวันเพ่ือไม่ให้มีกล่ินเหม็น และ
บริเวณทตี่ ั้งขยะตอ้ งดแู ลเป็นพเิ ศษเพราะเป็นแหล่งบ่อเกิดของเช้อื โรค

5. ควรจัดช้ันเรียนเพื่อสร้างความเปน็ ระเบยี บ ทกุ อย่างจดั ใหเ้ ป็นระเบียบทั้งอปุ กรณ์
ของใช้ต่าง ๆ เช่น การจัดโต๊ะ ตู้ ช้ันวางของ และหนังสอื แม้แต่การใช้ส่ิงของก็ให้นักเรียนได้รจู้ ักหยิบ
ใช้ เก็บในทเี่ ดมิ จะชว่ ยใหน้ ักเรียนเคยชินต่อความเปน็ ระเบียบ

6. ควรจัดชัน้ เรียนเพือ่ สรา้ งเสริมประชาธิปไตย โดยครูอาจจดั ดังนี้
6.1 จัดให้นักเรียนเข้ากลุ่มทำงาน โดยให้มีการหมุนเวียนกลุ่มกนั ไป เพื่อให้ได้ฝึก

การทำงานรว่ มกบั ผูอ้ น่ื
6.2 จัดท่ีน่ังของนักเรียนให้สลับท่ีกันเสมอ เพ่ือให้ทุกคนได้มีสิทธิท่ีจะนั่งในจุด

ตา่ ง ๆ ของห้องเรยี น
6.3 จัดโอกาสให้นักเรียนได้หมุนเวยี นกันเป็นผู้นำกลุ่ม เพื่อฝึกการเป็นผู้นำและผู้

ตามทดี่ ี
7. ควรจัดช้นั เรียนใหเ้ ออื้ ต่อหลักสูตร หลักสูตรการศึกษาข้ันพื้นฐานฉบับปัจจุบัน

เน้นการจัดการเรียนการสอนโดยให้ผู้เรียนเป็นศนู ย์กลาง และให้ใช้กระบวนการสอนตา่ ง ๆ ดังน้ัน ครู
จึงควรจัดสภาพห้องเรียนให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ เช่น จัดท่ีนั่งเป็นรูปแบบต่าง ๆ อาจเป็นรู้ตัวยู
ตัวที รูปครึ่งวงกลม หรือจัดเป็นแถวตอนลึกให้เหมาะสมกับกิจกรรมการเรียนการสอนและการจัด
บรรยากาศทางด้านจิตวิทยาให้ผู้เรียนรู้สึกกล้าถามกล้าตอบ กล้าแสดงความคิดเห็น เกิดความใคร่รู้
ใครเ่ รียน ฯลฯ ซ่งึ จะส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาตน พัฒนาอาชีพ พัฒนาสังคม และเป็นคนเก่ง ดี
มคี วามสุขได้ในที่สดุ

จากที่กล่าวมาทั้งหมด สรุปได้ว่า หลักการบริหารจดั ช้ันเรียน คือ การจัดบรรยากาศทาง
ดา้ ยกายภาพและการจัดบรรยากาศทางด้านจิตวิทยาในช้ันเรียนให้เอ้ืออำนวยต่อการเรียนรู้ และเพื่อ
การพัฒนาผู้เรียนท้ังด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพของ
ประเทศชาติต่อไป

5. แนวคดิ การบริหารจัดการช้ันเรยี น

การบริหารจัดการชั้นเรียน มีความมุ่งหมายท่ีจะให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามแผน
กิจกรรมการเรียนการสอนท่ีผู้สอนได้กำหนดไว้ตามวัตถุประสงค์แต่ละเน้ือหาวิชา รวมถึงการ
สร้างสรรค์สภาพแวดล้อม ท้ังในเชิงกายภาพและจิตวิทยาเพื่อสร้างแรงจูงใจให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมใน
กิจกรรมการเรยี นรูใ้ นชน้ั เรียน ดงั นกั การศึกษาได้ใหแ้ นวคดิ เกีย่ วกบั การบรหิ ารจดั การช้นั เรยี นไวด้ งั นี้

สุพิน บุญชูวงศ์ (2544, หน้า 159) ได้เสนอแนวคิดที่สำคัญในการบริหารจัดการ
หอ้ งเรียน ไวด้ งั นี้

1. การสร้างบรรยากาศสิ่งแวดล้อมท่ดี ีของหอ้ งเรยี น มีผลต่อพัฒนาการลกั ษณะนิสัย
เจตคติทด่ี ีของนักเรียนเปน็ อยา่ งมาก

2. หอ้ งเรียนควรมีลกั ษณะยืดหยุ่น ปรับให้เหมาะกับสภาพการณ์และสถานการณ์ใน
การจดั การเรยี นการสอนไดเ้ สมอ

เอกสารประกอบการสอน รายวชิ า วทิ ยาการจดั การเรยี นรู้

10

3. ห้องเรียนควรเปิดในเรื่องของเสรีภาพความเป็นอิสระของการเรียนรู้ การอยู่
ร่วมกันและความเคล่ือนไหวในกิจกรรมการเรยี นการสอนทุกประเภท

4. การจัดส่ือการสอนโสตทัศนูปกรณ์และหนังสือบางประเภทมีความจ าเปน็ ต่อการ
เสรมิ การเรยี นร้ใู นห้องเรยี นเป็นอันมาก

พวงรัตน์ เกษรแพทย์ (อ้างถึงใน ศิริบูรณ์ สายโกสุม, 2548, หน้า 223-240) ได้กล่าวถึง
จุดมุ่งหมายในการบริหารจัดการช้ันเรียน เพ่ือช่วยรักษาสภาพแวดล้อมในการเรียนให้เป็นไปใน
ทางบวกและเสรมิ สร้างในการบริหารจัดการช้ันเรียนได้อย่างมีประสทิ ธภิ าพ คอื

1. เพ่ือให้มีเวลาในการเรียนรู้เพิ่มมากข้ึน คือการขยายเวลาแต่ละเส้ียววินาทีให้มี
สำหรับการเรียนรู้เพิ่มมากข้ึน ควรหลีกเลี่ยงการเข้าสายและออกก่อนเวลา ขจัดการขัดจังหวะการ
รบกวนขณะท่ีมีครสู อน ครูควรจัดการสอนให้มลี ำดับต่อเน่ืองกัน ให้เด็กทำกิจกรรมที่มีความหมาย ให้
เด็กมีความตน่ื ตวั ทำกิจกรรมท่ีเหมาะสมและคุม้ ค่า

2. วิธกี ารในการเรียนรู้ การจะให้กิจกรรมทุกอย่างดำเนินไปโดยราบรื่น ครตู ้องแน่ใจ
วา่ เด็กมีส่วนร่วมในกิจกรรมเฉพาะอย่างไร ครูมีเกณฑ์และความคาดหวังอย่างไร ท่ีเป็นท่ีเข้าใจดี การ
ให้สัญญาณเพื่อให้นักเรียนมีส่วนร่วม มีความชัดเจนสม่ำเสมอ หรือไม่ครูควรวางกฎเกณฑ์ไวช้ ัดตั้งแต่
ต้นปีการศึกษา

3. การบริหารเพ่ือให้นักเรยี นสามารถบริหารตนเองได้ดีขึ้นและสามารถพึ่งพาตนเอง
ได้ กระตุ้นให้เดก็ มีการจดั การกบั ตัวเอง ครูจะตอ้ งใช้เวลาเป็นพิเศษเพอื่ สอนให้เกิดส่ิงเหล่านี้ เป็นการ
สอนให้เกิดจิตสำนึกและความรับผดิ ชอบ

กุญชรี ค้าขาย (2551 อ้างถึงใน ณิรดา เวชญาลักษณ์, 2561, หน้า 33-35) ได้ให้
แนวคิดเก่ียวกับการบรหิ ารจดั การช้ันเรยี นดงั ตอ่ ไปน้ี

1. มง่ั ไปยังการช่วยใหผ้ ู้เรียนมีวินัยแหง่ ตนเองและมคี วามรับผดิ ชอบต่อตนเอง
ผู้สอนส่วนใหญ่มักจะกลัวการควบคุมช้ันเรียนไม่ได้ ซ่ึงมีผลให้ชั้นเรียนวุ่นวาย ไร้

ระเบียบ ทำให้ผู้สอนส่วนใหญ่ยึดกฎ ระเบียบ รางวัล และการลงโทษในการบริหารจัดการช้ันเรียน
และผู้เรียนจะมีพฤติกรรมคล้อยตาม แต่แมคาสลินและกูด (McCaslin and Good, 1998 อ้างถึงใน
ณิรดา เวชญาลักษณ์, 2561, หน้า 33-34) ชี้ให้เห็นว่าการใช้รูปแบบการสร้างพฤติกรรมคล้อยตามน้ี
จะขึ้นอยู่กับความสม่ำเสมอของผู้สอนในการติดตามพฤติกรรมผู้เรียน หมายถึงว่าการท่ีผู้สอนจะต้อง
จบั ตาดูพฤติกรรมผู้เรียนตลอดเวลา หากไม่อยู่ในสายตาผู้สอนพฤติกรรมท่ีไม่ต้องการจะเกิดขึ้นซ้ำอีก
นอกไปจากน้ันท้ังสองคนยังเห็นว่ารูปแบบน้ีให้ความสนใจต่อส่ิงควบคุมภายนอกซ่ึงไม่สอดคล้องกับ
แนวคิดของการจัดการเรียนรู้ในยุคปัจจุบัน เน่ืองจากไม่กระตุ้นความเป็นอิสระ การแก้ไขปัญหาและ
การคิดวิพากษ์ ดังน้ันหากจะให้ผู้เรยี นมีพฤติกรรมตามข้อตกลงผู้สอนควรช่วยให้ผูเ้ รียนเข้าใจข้อตกลง
นนั้ มีพฤติกรรมอย่างเหมาะสมด้วยการควบคาตนเองมใิ ชภ่ ายใต้ความกลัวการลงโทษ

2. สร้างความสัมพันธ์ทด่ี ีกับผูเ้ รียนและการจัดการการเรียนร้เู ป็นระบบ
สำหรับข้อท่ี 2 น้ีจากข้อเท็จจริงในชั้นเรียนและมีงานวิจัยจำนวนมากยืนยันว่า

หากผู้สอนและผู้เรียนมีสัมพันธภาพท่ีดีต่อกันแล้วพฤติกรรมที่ไม่พึงปรารถนาของผู้เรียนจะลดลง
เนื่องจากผเู้ รียนรบั รวู้ ่าผู้สอนเปน็ ผู้สนบั สนุน ให้ความดแู ลเอาใจใส่ ด้วยเหตุน้ีผูเ้ รยี นจึงมีแนวโน้มท่ีจะ

เอกสารประกอบการสอน รายวชิ า วทิ ยาการจดั การเรยี นรู้

11

ให้ความช่วยเหลือมากขึ้น มีพฤติกรรมรับผิดชอบมากข้ึนและปฏิบัติตามขอ้ ตกลงของชั้นเรียนมากข้ึน
เช่น งานวจิ ัยของ วรรณา ขาวน่ิม (2548 อ้างถึงใน ณิรดา เวชญาลักษณ์, 2561, หน้า 34) ได้ศึกษา
องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อเจตคติต่อเพื่อนที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวเพียงใดสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียน
กบั ผ้สู อนเป็นองค์ประกอบที่มอี ิทธิพสูงสดุ และยิ่งไปกว่านัน้ หากผู้สอนจดั การเรยี นรู้ไว้อย่างเปน็ ระบบ
ผู้เรียนจะรับรู้ว่าการเรียนการสอนมีความหมายน่าสนใจและท้าทายความสามารถ พฤติกรรมการฝัน
กลางวนั เหมอ่ ลอย หรือรบกวนการเรียนการสอนจะลดลง

3. วิธีคดิ และความเช่ือของผู้สอน มีอิทธิพลอยา่ งย่ิงกบั พฤติกรรมการบริหารจัดการ
ช้ันเรยี น

ในข้อที่ 3 เป็นการยืนยันความสัมพันธ์ระหว่างการคิด ความเชื่อ และการกระทำ
ของบุคคลตัวอยา่ งเช่น หากผู้สอนเช่ือว่าการทำให้ผเู้ รียนกลวั จะทำให้ช้ันเรียนอยู่ในระเบียบ ผู้สอนจะ
ใชก้ ารลงโทษและการเสริมแรงลบเปน็ กลยุทธ์สำคัญ ผู้สอนจะจัดการชน้ั เรียนต่างออกไปจากแรก คาร์
เตอร์ (Carter, 1985 cited by Wienstein, 2007 อ้างถึงใน ณิรดา เวชญาลักษณ์, 2561, หน้า 34)
ได้ศึกษาความแตกต่างระหว่างการบริหารจัดการช้ันเรียนที่มีประสิทธิภาพต่ำพบว่า ผู้สอนท้ัง 2
ประเภทนั้น คิดถึงการบริหารจัดการช้ันเรียนในแง่มุมท่ีต่างกัน ผู้สอนที่มีประสิทธิภาพสูงในการ
บริหารจัดการชน้ั เรยี น จะรับรู้บทบาทตนเองว่าเป็นผู้ผลกั ดัน คือ ช่วยให้กิจกรรมทงั้ หลายในชนั้ เรียน
ดำเนินไปได้อย่างราบร่ืน ช่วยให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ และไม่ยอมให้เหตุการณ์
เล็ก ๆ น้อย ๆ มาขัดขวางการเรียนรู้ ในทางตรงข้าม พบว่า ผู้สอนที่จัดการช้ันเรียนอย่างไม่มี
ประสิทธิภาพ จะรับรู้ตนเองว่ามีบทบาทในการป้องกันเขตแดน มักใช้วิธีขู่หรือออกคำสั่งกับผู้เรียน
เอาจริงเอาจังกับความผิดที่เกิดข้ึนทั้งหมดแม้ว่าจะเป็นส่ิงไม่สำคัญ ใช้การดุและวางอำนาจเป็น
เครอ่ื งมือในการควบคุมผเู้ รียนให้แสดงพฤติกรรมท่ีเหมาะสม

4. ให้ความสำคัญกบั การเรียนรู้อยา่ งมคี วามหมายมากกว่าการอยใู่ นระเบียบ
แม้ว่าการเรียนรู้จะเกิดได้ไม่ดีนักในสถานการณ์ไร้ระเบียบ แต่การที่สนใจสร้าง

สภาพแวดล้อมท่ีมีระเบียบมากจนเกิดไป บางครั้งอาจขัดขวางการเรียนรู้ได้ (Doyle, 2006 อ้างถึงใน
ณิรดา เวชญาลักษณ์, 2561, หน้า 35) ตัวอย่างเช่น การฝึกประสบการณ์วิชาชีพของนักศึกษา
ฝึกสอน ต้องการแบ่งกลุ่มย่อยในการทำงาน กลุ่มละ 4 คน เมื่อผู้เรียนแยกกลุ่มเป็นปกติที่ต้องมีเสียง
ดัง และลุกออกจากทีน่ ่ัง ผู้สอนกระวนกระวายมากกับสภาพทเี่ กิดข้ึน พยายามบอกให้ผู้เรียนนงั่ ที่ แต่
ผู้เรียนยังคงลุกเดินไปหาเพื่อนท่ีตนอยากททำงานกลุ่มด้วย สุดท้ายผู้สอนจึงบอกเลิกการทำงานกลุ่ม
ให้ทุกคนกลับมานั่งที่แล้วแจกแบบฝึกเป็นรายบุคคลแทน ซ่ึงกรณีน้ีจะเห็นว่าผู้สอนยึดติดอยู่กับช้ัน
เรยี นทสี่ งบเปน้ ระเบยี บจนละเลยจุดประสงคเ์ ดมิ คอื ฝึกให้ผูเ้ รียนไดเ้ รยี นรู้การทำงานเปน็ กลุ่ม

5. การบริหารจัดการชั้นเรียนจะต้องใส่ใจกับความแตกต่างของภูมิหลังและ
ประสบการณ์สังคมของผู้เรียน โดยชั้นเรียนในปัจจุบันพบว่าผู้เรียนมีความหลากหลายด้านภูมิหลัง
และประสบการณ์สังคมมากขึ้น และมาจากวัฒนธรรมท่ีแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด ในหลายโอกาส
ความแตกต่างเหล่าน้ีก่อให้เกิดความขัดแย้งทั้งในระหว่างผู้เรียนด้วยกันหรือระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน
ในฐานะที่ผู้สอนต้องพยายามตระหนักถึงส่ิงท่ีทุกคนนำติดตัวมาและส่งผลต่อพฤติกรรมเม่ือมี
ปฏิสัมพันธ์กับผ้อู ่ืน ผู้สอนต้องศึกษาวิธีการทำความรู้จักผู้เรียนให้มากข้ึนเพื่อนำเอาข้อมูลและความรู้

เอกสารประกอบการสอน รายวชิ า วทิ ยาการจดั การเรยี นรู้

12

นน้ั มาใช้ในการช่วยเหลือผู้เรยี นในด้านตา่ ง ๆ ขณะเดียวกันก็ยงั ต้องสรา้ งวัฒนธรรมของช้ันเรยี นข้ึนมา
เพอ่ื การอยู่รว่ มกนั อยา่ งกลมกลนื

จากที่กล่าวมาท้ังหมด สรุปได้ว่า แนวคิดการบริหารจัดการช้ันเรียน เป็น
กระบวนการทกวานโดยอาศัยแนวทางการจัดสภาพแวดล้อมตา่ ง ๆ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตาม
แผนกจิ กรรมการเรียนการสอน ควรใหค้ วามสำคัญท้ังด้านกายภาพและจิตภาพในการจัดการชั้นเรียน
ท่ีมีความเข้าใจการเรียนรู้ การส่งเสริมในจิตใจของผู้เรียน เพ่ือพัฒนาการเรียนการสอนให้ประสบ
ความสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี โดยจัดการสิ่งต่าง ๆ ท่ีมีผลต่อการส่งเสริมความเข้าใจ ความกระตือรือร้น
ในการเรียนรู้ รวมถึงขจัดส่ิงต่างท่ีเป็นส่ิงรบกวนออก ซึ่งส่ิงเหล่าน้ีเป็นหน้าท่ีของผู้สอนท่ีต้องบริหาร
จดั การชัน้ เรยี นเป็นการปฏิบัติเกยี่ วกับการกำกับดูแล สร้างกฎระเบียบข้อตกลงในชั้นเรียน การจัดการ
พฤติกรรมของผู้เรียน การแก้ไขปัญหาร่วมกันในช้ันเรียน การจัดบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่ดี
ช้ันเรียนควรมีลักษณะยืดหยุ่นเป็นแหล่งวิชาการมีปฏิสัมพันธ์ที่ดี ส่งเสริมชีวิตแบบประชาธิปไตย
ส่งเสริมลักษณะนิสัยท่ีดี ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้อย่างมีความหมายมากกว่าการอยู่ในระเบียบ
และจะต้องใสใ่ จกับความแตกต่างของภมู หิ ลังและประสบการณส์ ังคมของผเู้ รยี น

6. การสร้างบรรยากาศการเรยี นรใู้ นช้ันเรยี น

ในการจัดการเรียนการสอน ผู้สอนและผู้เรียนพึงปรารถนาที่จะให้มีกิจกรรมการเรียน
การสอนอย่างราบร่ืน เป็นไปตามวัตถุประสงค์ท่ีกำหนดไว้ในหลักสูตร ดังมนี ักวิชาการได้หล่าวถึงการ
สรา้ งบรรยากาศการเรียนรใู้ นช้ันเรยี นทสี ง่ ผลสำเร็จในการเรียนการสอนดังน้ี

พรรณี ชูทัย เจนจิต (2545 อ้านถึงใน ณิรดา เวชญาลักษณ์, 2561, หน้า 37-38)
กลา่ วถงึ บรรยากาศสภาพแวดล้อมในชัน้ เรยี นทจี่ พงึ ปรารถนาจัดแบง่ ได้ 6 ลักษณะ สรุปได้ ดงั นี้

1. บรรยากาศทีท่ ้าทาย (Challenge) เป็นบรรยากาศท่ีครกู ระตนุ้ ให้กำลังใจนักเรยี น
เพื่อให้ประสบผลสำเร็จในการทำงาน นักเรียนจะเกิดความเช่ือม่ันในตนเองและพยายามทำงานให้
สำเรจ็

2. บรรยากาศที่มีอิสระ (Freedom) เป็นบรรยากาศที่นักเรียนมีโอกาสได้คิด ได้
ตัดสินใจเลือกสิ่งที่มีความหมายและมีคุณค่า รวมถึงโอกาสที่จะทำผิดด้วย โดยปราศจากความกลัว
และวติ กกังวล บรรยากาศเช่นน้ีจะส่งเสริมการเรียนรู้ ผู้เรียนจะปฏิบัติกิจกรรมด้วยความตั้งใจโดยไม่
รสู้ กึ ตงึ เครยี ด

3. บรรยากาศท่ีมีการยอมรับนับถือ (Respect) เป็นบรรยากาศท่ีครูรู้สึกว่านักเรียน
เปน็ บุคคลสำคัญ มคี ุณค่า และสามารถเรยี นได้ อนั ส่งผลให้นกั เรียนเกิดความเช่ือมัน่ ในตนเองและเกิด
ความยอมรับนบั ถือตนเอง

4. บรรยากาศท่ีมีความอบอุ่น (Warmth) เป็นบรรยากาศทางด้านจิตใจ ซึ่งมีผลต่อ
ความสำเร็จในการเรียน การท่ีครูมีความเข้าใจนักเรียน เป็นมิตร ยอมรับให้ความช่วยเหลือ จะทำให้
นกั เรียนเกิดความอบอุ่น สบายใจ รักครู รกั โรงเรยี น และรักการมาเรียน

เอกสารประกอบการสอน รายวิชา วทิ ยาการจดั การเรียนรู้

13

5. บรรยากาศแห่งการควบคุม (Control) การควบคุมในท่ีนี้ หมายถึง การฝึกให้
นักเรียนมีระเบียบวินัย มิใช่การควบคุม ไม่ให้มีอิสระ ครูต้องมีเทคนิคในการปกครองช้ันเรียนและฝึก
ให้นักเรยี นรู้จกั ใชส้ ทิ ธิหน้าทีข่ องตนเองอย่างมขี อบเขต

6. บรรยากาศแห่งความสำเร็จ (Success) เป็นบรรยากาศท่ีผู้เรียนเกิดความรู้สึก
ประสบความสำเรจ็ ในงานทท่ี ำ ซง่ึ สง่ ผลให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ไดด้ ีขน้ึ ผสู้ อนจงึ ควรพูดถึงสง่ิ ทีผ่ ู้เรยี น
ประสบความสำเร็จให้มากกว่า การพูดถึงความล้มเหลว เพราะการท่ีคนเราคำนึงถึง แต่สิ่งท่ีล้มเหลว
จะมีผลทำให้ความคาดหวังตำ่ ซงึ่ ไมส่ ่งเสรมิ ให้การเรียนรดู้ ีข้ึน

พมิ พ์พันธ์ เดชะคุปต์ (2545, หน้า 5 - 6) กล่าวว่า สภาพแวดล้อมท่ีเอ้ือต่อการเรียนรู้ซ่ึง
เป็นตัวแปรสำคัญที่ช่วยส่งเสริมสนับสนุนให้การเรียนมีประสิทธิผลอย่างมีประสิทธิภาพโดยลักษณะ
บรรยากาศทางกายภาพที่เหมาะสมควรเป็นดังนี้

1. ห้องเรียนมีสีสันน่าดูและเหมาะสม สบายตา อากาศถ่ายเทได้ดี ปราศจากเสียง
รบกวนและมีขนาดกว้างขวางเพียงพอกับจำนวนผู้เรียน

2. ห้องเรียนควรมีบรรยากาศความเป็นอิสระของการเรียน การทำงานร่วมกันเป็น
กล่มุ ตลอดจนการเคลอ่ื นไหวในกิจกรรมการเรียนการสอนทกุ ประเภท

3. ห้องเรียนตอ้ งสะอาดถกู สขุ ลักษณะ นา่ อยู่ ตลอดจนมคี วามเป็นระเบยี บเรยี บร้อย
4. ส่ิงทอ่ี ยูภ่ ายในหอ้ งเรยี น เช่น โต๊ะ เกา้ อี้ ส่ือการสอนประเภทต่าง ๆ เชน่ กระดาน
จอรบั ภาพ เครื่องฉายภาพขา้ มศรี ษะ สามารถเคลอื่ นไหวไดแ้ ละสามารถดดั แปลงใหเ้ ออื้ อำนวยต่อการ
สอนและการจดั กจิ กรรมประเภทต่าง ๆ ได้
5. ควรจัดเตรียมห้องเรียนให้พร้อมต่อการสอนในแต่ละครั้ง เช่น ให้มีความ
เหมาะสมต่อการสอนวิธีต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น เหมาะต่อวิธีสอนโดยกระบวนการกลุ่ม วิธีการบรรยาย
และวิธีการแสดงละคร เปน็ ต้น
ณิรดา เวชญาลักษณ์ (2561, หน้า 38) ไดก้ ล่าวถึงการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ในชั้น
เรียนสรปุ ไดว้ า่ ผูส้ อนควรสรา้ งบรรยากาศในการเรยี นร้ใู นชั้นเรยี นดงั น้ี
1. เพอ่ื กระตุ้นใหก้ ำลังใจผเู้ รียนเพอื่ ประสบผลสำเร็จในการทำงาน
2. สร้างบรรยากาศสภาพแวดล้อมที่มีอิสระ มีโอกาสได้คิด ได้ตัดสินใจลือกสิ่งที่มี
ความหมายและคุณคา่ โดยปราศจากความกลวั และวติ กกงั วล
3. บรรยากาศสภาพแวดล้อมท่ีมีการยอมรับนับถือ อันส่งผลให้ผู้เรียนเกิดความ
เช่ือมั่นและเกดิ การยอมรับนับถอื ตนเอง
4. สร้างบรรยากาศที่มีความเข้าใจผู้เรียน เป็นมิตร ยอมรับให้ความช่วยเหลือจะทำ
ใหผ้ ู้เรียนเกดิ ดความอบอุ่นสบายใจ รกั ผสู้ อน รักโรงเรยี น และรกั การทจ่ี ะมาเรยี น
5. การฝึกให้ผู้เรียนมรี ะเบียบวนิ ัย ร้จู ักใช้สทิ ธิหน้าทข่ี องตนเองอยา่ งมีขอบเขต ควร
พดู ถงึ สิ่งทผ่ี เู้ รยี นประสบความสำเรจ็ ใหม้ ากกวา่ การพูดถึงความล้มเหลวเพื่อสง่ เสริมให้การเรยี นรู้ดีขน้ึ
จากแนวคิดการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ในช้ันเรียน สรุปได้ว่า ผู้สอนควรสร้าง
บรรยากาศในการเรียนรู้ในชั้นเรียนที่ท้าทายเพื่อกระตุ้นให้กำลังใจผู้เรียนเพื่อประสบผลสำเร็จในการ
ทำงาน บรรยากาศที่มีอิสระ มีโอกาสได้คิดเพ่ือผู้เรียนจะปฏิบัติกิจกรรมด้วยความตั้งใจโดยไม่รู้สึกตึง

เอกสารประกอบการสอน รายวชิ า วทิ ยาการจดั การเรยี นรู้

14

เครียด บรรยากาศที่มีการยอมรับนับถือที่ส่งผลให้ผู้เรียนเกิดความเช่ือม่ันและเกิดการยอมรับนับถือ
ตนเอง บรรยากาศที่มีความพร้อมทั้งอุปกรณ์การเรียนการสอน และวิธีการจัดการเรียนการสอนแบบ
ตา่ ง ๆ เพื่อส่งเสริมความเขา้ ใจผเู้ รียน เปน็ มิตร อบอุ่นและรักการเรียนรู้ ตลอดถึงการสร้างบรรยากาศ
ในการฝกึ ระเบียบวินัยของผู้เรียน

รูปแบบและเทคนิคการบรหิ ารจดั การชนั้ เรยี น

1. รูปแบบการบริหารจดั การชั้นเรยี น

การบริหารจัดการช้ันเรียนมีความสำคัญย่ิงกว่าระเบียบวินัยหรือการบังคับผู้เรียนให้
ประพฤติตัวให้ดเี ป็นอันมาก การบริหารจัดการช้นั เรยี นมีความสำคัญว่าครูคอื ผู้นำครูสรา้ งสถานการณ์
ขึ้น ทำให้เหตุการณ์ดำเนินไปช่วยคุ้มครองให้ผู้เรียนปลอดภัยส่ิงท่ีสำคัญ คือ การบริหารจัดการ
ห้องเรียนเชิงบวกเป็นเร่ืองสร้างสรรค์ ผู้เรียนได้เรียนรู้และผู้สอนได้สอน ถ้าจัดรูปแบบท่ีเลวท่ีสุดก็จะ
เกิดการบริหารจดั การห้องเรียนในทางลบและทำให้ผสู้ อนเปน็ ศัตรกู ับผู้เรียน ดังนั้นรูปแบบการบริหาร
จดั การชั้นเรียนที่มีการจดั การแบบเออ้ื สงั คมการเรยี นรูพ้ ฤติกรรม

รูปแบบการบรหิ ารจัดการช้ันเรียนมี 3 รปู แบบ (กระทรวงศกึ ษาธิการ, 2545, หน้า 33 -
49) แต่ละรปู แบบการบรหิ ารจัดการหอ้ งเรยี น มรี ายละเอยี ด ดงั ต่อไปนี้

1. รูปแบบพฤติกรรม (Behaviorist Model) การใช้ทฤษฎีการปรับพฤติกรรมในการ
บริหารจัดการช้ันเรียนตั้งอยบู่ นพ้ืนฐานความเช่ือท่ีว่าครูสามารถควบคุมสิ่งที่เกิดข้ึนทุก ๆ อย่างในชั้น
เรยี นด้วยการใชว้ ิธีการเสรมิ แรง ผู้สอนให้ความสำคัญกบั สง่ิ ท่เี กิดข้ึนภายในช้ันเรียนว่าเป็นผลจากการ
กระทำของผู้เรียนแทนที่จะค้นหาสาเหตุว่าอาจเป็นผลจากท่ีบ้านหรือชุมชน ผู้สอนจะดูเฉพาะ
พฤติกรรมผู้เรียนท่ีเกิดขึ้นในช้ันเรียนเท่านั้น ผู้สอนจะแยกแยะพฤติกรรมที่ต้องการให้ผู้เรียนเปล่ียน
และสังเกตพฤติกรรมท่ีผู้สอนต้องการให้ผู้เรยี นประพฤติ แลว้ จึงวางแผนข้นั ตอนเพ่ือควบคมุ พฤตกิ รรม
ผู้เรียนโดยผู้เรียนจะได้รับการบอกอย่างชัดเจนถึงพฤติกรรมท่ีเป็นท่ีพึงประสงค์และทำตามอย่าง
เครง่ ครัดเม่ือผู้สอนและผู้เรียนรู้วา่ พฤติกรรมที่พึงประสงค์เป็นเชน่ ใด ผู้สอนจะไม่สนใจพฤติกรรมท่ีไม่
เหมาะสมและพฤติกรรมที่เหมาะสม หรรษา นิลวิเชียร (2535 อ้างถงึ ใน อทุ ุมพร พรายอินทร์, 2542,
หน้า 31) ใหข้ ้อเสนอแนะวา่ เน่ืองจากผู้สอนไม่อาจเมินเฉยต่อพฤตกิ รรมทีไ่ มเ่ หมาะสมทกุ พฤตกิ รรมได้
จงึ ควรใช้เทคนคิ 4 วธิ ีตอ่ ไปนี้

1.1 ถ้าเกิดปัญหาข้ึนเป็นสิ่งท่ีเกิดขึ้นช่ัวคราวและหยุดไปแล้วผู้สอนไม่ควรให้
ความสนใจอีกตอ่ ไป

1.2 ถ้าปญั หาน้ันไมร่ ้ายแรงและไม่มีอนั ตรายผู้สอนควรเมินเฉยเสียแต่ควรใชเ้ วลา
และพลงั งานกบั พฤตกิ รรมทีเ่ กยี่ วข้องกับความปลอดภยั ที่ไมส่ ามารถเมนิ เฉยได้

1.3 ถ้าปฏิกิริยาของผู้สอนที่มีต่อผู้เรีนทำให้ดึงความสนใจของผู้เรียนอื่น ๆ และ
ทำให้บรรยากาศการเรยี นหยุดชะงกั ผู้สอนก็ไม่นา่ จะใหค้ วามสนใจต่อพฤติกรรมนัน้

1.4 ถ้าเหตุการณ์น้ันเกิดข้ึนกับผู้เรียนซึ่งปกติเป็นผู้ประพฤติดีอยู่แล้วและไม่มี
ท่าทีว่าผู้เรียนจะกระทำผิดอีกต่อไป ผู้สอนควรจะเมินเฉยเสียอย่างไรก็ตามมีข้อสังเกตว่าการเมินเฉย

เอกสารประกอบการสอน รายวชิ า วทิ ยาการจดั การเรยี นรู้

15

ต่อพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์จะไม่ช่วยแก้ปัญหาการประพฤติผิด จึงจำเป็นอย่างยิ่งท่ีจะต้องใช้วิธีให้
แรงเสริมพฤตกิ รรมทน่ี ำไปสพู่ ฤตกิ รรมที่พึงประสงค์

2. รูปแบบจิตวิทยา (Psychological Model) แนวคิดการบริหารจัดการชั้นเรียน
ตามรูปแบบจิตวิทยา ต้ังอยู่บนพ้ืนฐานความคิดที่ว่าการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจะเกิดข้ึนก็ต่อเมื่อ
ผสู้ อนเข้าใจถึงสาเหตุของพฤติกรรมผเู้ รยี นเข้าใจว่าอะไรเป็นแรงจูงใจทำให้ผู้เรียนมีพฤติกรรมเช่นนั้น
เข้าใจถึงความคิด ความต้องการ และความตั้งใจ (หรรษา นิลวิเชียร, 2535 อ้างถึงใน อุทุมพร พราย
อินทร์, 2542, หน้า 33) กล่าวว่าการแก้ปัญหาพฤติกรรมในช้ันเรียนด้วยความร่วมมือกันระหว่าง
ผู้สอนและผู้เรียนซึ่งต้องอาศัยความจำเป็นพ้ืนฐานทางด้านจิตวิทยาสองประการ คือ ความรักและ
ความรู้สึกมีค่า หมายถึงผู้สอนจะต้องช่วยขจัดปัญหาทางอารมณ์ของผู้เรียนที่มีปัญหาด้านการ
ปกครองอันจะส่งผลต่อความประพฤติของผู้เรียน คือทำให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบและได้รับ
การศกึ ษาดีข้นึ

3. รูป แ บ บ ก ารจั ด แ บ บ ก ลุ่ ม (Group Management Model) ช้ั น เรีย น จ ะ
เปรียบเสมือนตัวอย่างกลุ่มเฉพาะกลุ่มหน่ึงที่ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมและเปลี่ยนแปลงไปตาม
สถานการณ์ของชีวิตของคนในชั้นเรียน พรรณี ช. เจนจิต (2541, หน้า 35) ได้ศึกษาการบริหาร
จัดการช้ันเรียนและได้เสนอแนะแนวทางท่ีเป็นประโยชน์ต่อการมองระบบสังคมในห้องเรียนพบว่า
พฤตกิ รรม 4 ชนดิ ของผูส้ อนที่สัมพนั ธ์กบั ประสิทธิภาพในการบริหารจดั การช้ันเรยี นมีดงั ต่อไปน้ี

3.1 ความรู้รอบ (Wittiness) คือ ผู้สอนผู้ที่เปรียบเสมือนมีตาอยู่ข้างหลังจะ
มองเห็นทุกส่ิงทุกอย่างที่เกิดขึ้นภายในห้องเรียนตลอดเวลาใครจะทำอะไร เม่ือไร กับใคร ท่ีไหน
ผู้สอนรู้ว่าอะไรกำลังเกดิ ขึ้นและผู้เรยี นกร็ ู้ว่าไม่มีอะไรจะรอดสายตาของผู้สอนได้

3.2 ความคาบเกี่ยว (Overlappingness) คือ ความสามารถของผู้สอนที่จะให้
ความสนใจต่อเหตุการณ์มากกว่าหนึ่งอย่างในเวลาเดยี วกนั คุณสมบัติของการกระทำพฤติกรรมสองสิ่ง
ในเวลาเดียวกันเป็นสิ่งจำเป็นมากเพราะผู้สอนสามารถมองเห็นหรือรับรู้ถ้าหากมีการประพฤติผิด
เกิดขน้ึ ในส่วนใดสว่ นหนง่ึ ของชนั้ เรยี น

3.3 ความราบรื่น (Transition Smoothness) คือ การเปล่ียนกิจกรรมแต่ละ
กิจกรรมมีความสำคัญมากในกระบวนการบริหารจัดการชั้นเรียนความราบรื่นหมายถึงประสิทธิผลใน
การเริ่มตน้ และการดำรงสภาพการทำกจิ กรรมจนกระทั่งเสรจ็ สน้ิ

3.4 ความหลากหลาย (Learning-related Variety) คือ ข้อคิดในการจัดเตรียม
กิจกรรมหลาย ๆ อย่างมาให้ผู้เรียนทำก็คือ ประการแรกกิจกรรมเหล่านั้นเหมาะกับระดับ
ความสามารถทางสติปัญญาของผู้เรียนหรือไม่ประการท่ีสองรูปแบบการสอนของครูมีการอนุญาตให้
ผู้เรียนทำกิจกรรมอิสระตามความสนใจหรือเปล่า รวมทั้งผู้เรียนได้มีโอกาสเลือกทำกิจกรรมที่มี
ลักษณะเป็นรูปธรรมคอื มวี ัสดุอุปกรณ์ทีเ่ ขาสามารถสมั ผัสได้

เจนภพ วัฒนธเนศ (2553, หน้า 22-23) กล่าวถึง รูปแบบการบริหารจัดการชั้นเรียน
โดยแบ่งตามวิธีสอนท่ีสอดคล้องกันว่า สามารถบริหารจัดการให้ช้ันเรียนมีความเหมาระสมกับการ
เรียนการสอน แบ่งได้ 2 รูปแบบ คือ ชั้นเรียนแบบธรรมดา และช้ันเรียนแบบนวัตกรรม ดัง
รายละเอียดตอ่ ไปน้ี

เอกสารประกอบการสอน รายวิชา วทิ ยาการจดั การเรียนรู้

16

1. ช้ันเรียนแบบธรรมดา
ชั้นเรียนแบบธรรมดาเป็นชั้นเรียนที่มีครูเป็นศูนย์กลางเป็นผู้นำการเรียนรู้ โดยมี

ผู้เรยี นเป็นผู้รับความรู้จากผูส้ อน การจัดชนั้ เรยี นแบบนจี้ ะมโี ต๊ะผสู้ อนอยูห่ น้าชั้นเรียน และมีโตะ๊ เรยี น
วางเรยี งกนั เปน็ แถว โดยหันหน้าเข้าหาผูส้ อน

1.1 ลักษณะการจัดชั้นเรียน การจัดช้ันเรียนแบบธรรมดาน้ี โต๊ะเรียนของผู้เรยี น
อาจเป็นโต๊ะเด่ียวหรือโต๊ะคู่ก็ได้ ผนังห้องเรียนอาจจะมีกระดานป้ายนิเทศ หรือสื่อการสอน เช่น
แผนภูมิรูปภาพ แผนท่ีติดไว้ ซึ่งส่ือการสอนเหล่าน้ีจะไม่เปลี่ยนบ่อยนัก การตกแต่งผนังห้องเรียนจะ
แตกตา่ งกนั ออกไปตามแต่สถานทตี่ งั้ ของโรงเรียน โรงเรียนทอ่ี ยู่ในตวั เมืองอาจจะมกี ารตกแตง่ มากกว่า
โรงเรียนที่อยู่ห่างไกลออกไปตามชนบทเพราะหาสื่อการอสอนได้ยากกว่า บางห้องเรียนอาจจะมีมุม
ความสนใจแตก่ ไ็ มถ่ อื เปน็ สว่ นหน่งึ ของกระบวนการเรยี นการสอน

1.2 บทบาทของผู้สอนและผู้เรียน บทบาทของผู้สอนและผู้เรียนในช้ันเรียนแบบ
ธรรมดานี้ผู้สอนจะเป็นผู้รอบรู้ในด้านต่าง ๆ ใช้วิธีการสอนแบบป้อนความรู้ให้แก่ผู้เรียนโดยการ
บรรยาย และอธิบายให้ผู้เรียนฟังอยู่ตลอดเวลา ผู้สอนจะเป็นผู้แสดงกิจกรรมต่าง ๆ เอง แม้กระทั่ง
การทดลองอย่างงา่ ย ๆ ไม่เปิดโอกาสให้ผู้เรยี นได้หยิบจบั หรือแตะต้องส่อื การสอนทผี่ ู้สอนนำมาแสดง
ผู้เรียนจึงต้องฟังผู้สอน ไม่มีโอกาสได้พูด หรือทำงานเป็นกลุ่มเพ่ือค้นหาคำตอบใด ๆ ส่ือการสอนที่ใช้
สว่ นมาก ไดแ้ ก่ ชอล์ก กระดานดำ และแบบเรียน

การจดั ชั้นเรยี นแบบนี้ไม่เอ้ือต่อการสอนตามหลกั สูตรใหม่ นักการศึกษาจึงไม่แนะนำ
ให้ใช้มากนัก อาจใช้ได้บ้างเป็นบางครั้งเท่านั้นถ้าจำเป็นต่อวิธีการสอนวิธีใดวิธีหน่ึง แต่ไม่ควรยึดถือ
เป็นแบบอย่างตลอดไป

2. ชน้ั เรยี นแบบนวัตกรรม
ช้ันเรียนแบบนวัตกรรม เป็นช้ันเรียนที่เอ้ืออำนวยต่อการจัดกิจกรรมการเรียน

การสอนโดยใช้เทคนิควิธีสอนใหม่ๆ เช่น การเรียนรู้แบบร่วมมือ แบบโฟร์แมท แบบสตอร่ีไลน์ แบบ
โครงงาน เป็นต้น ซ่ึงผู้เรียนจะมีอิสระในการเรียน อาจเรียนเป็นกลุ่มหรือเป็นรายบุคคล โดยมีผู้สอน
เป็นผู้ให้คำปรึกษาการจัดชั้นเรียนจึงมีรูปแบบการจัดโต๊ะ เก้าอี้ในลักษณะต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องเรียง
แถวหันหนา้ เข้าหาผู้สอน เช่น จดั เป็นรูปตวั ที ตัวยู วงกลม หรอื จดั เปน็ กล่มุ

2.1 ลักษณะการจัดช้ันเรียน การจัดช้ันเรียนแบบนวัตกรรมน้ี โต๊ะผู้สอนไม่
จำเป็นต้องอยู่หน้าช้ัน อาจเคลื่อนย้ายไปตามมุมต่าง ๆ การจัดโต๊ะนักเรียนจะเปลี่ยนรูปแบบไปตาม
ลักษณะการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของผู้สอน ส่วนใหญ่นิยมจัดโต๊ะเป็นกลุ่มเพื่อให้ผู้เรียน
ปฏิบัติกิจกรรมร่วมกัน มีการจัดศูนย์สนใจ มีส่ือการสอนในรูปของชุดการสอน หรือเคร่ืองช่วยสอน
ต่าง ๆ ไว้ให้ผู้เรียนศึกษาด้วยตนเอง หรือศึกษาร่วมกับเพื่อน มีการตกแต่งผนังห้องและเปล่ียนแปลง
สภาพแวดล้อมใหเ้ หมาะสมกับเรอ่ื งทผี่ ู้เรียนกำลงั เรยี น

2.2 บทบาทของผู้สอนและผู้เรียน การจัดช้ันเรียนแบบน้ีผู้สอนจะเป็นผู้กำกับ
และแนะแนว ผู้เรียนเป็นผู้แสดงบทบาท ผู้สอนจะพูดน้อยลง ให้ผู้เรียนได้คิด ได้ถาม ได้แก้ปัญหา
และได้ทำกิจกรรมด้วยตนเองเป็นสำคัญ ผู้เรียนอาจจะเรียนด้วยตนเองจากสื่อประสม เช่น บทเรียน
แบบโปรแกรม ชุดการสอน คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ฯลฯ ผู้สอนจะเป็นผู้ใหญ่ให้คำแนะนำ และ

เอกสารประกอบการสอน รายวิชา วทิ ยาการจดั การเรยี นรู้

17

ช่วยเหลือเม่ือจำเป็น ดังนั้น การจัดช้ันเรียนแบบนี้จึงเป็นการจัดชั้นเรียนท่ีสอดคล้องกับเจตนารมณ์
ของหลักสูตรที่ต้องการให้ผู้เรียนได้คิด ค้นคว้า วิเคราะห์วิจารณ์ และลงมือปฏิบัติจริงทุกขั้นตอนจน
สามารถเรยี นรู้ได้ด้วยตนเอง

กล่าวโดยสรุป ในการจัดชัน้ เรียน ผู้สอนสามารถจัดได้ 2 แบบ ท้ังแบบธรรมดา และ
แบบนวัตกรรม แต่เพื่อให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของหลักสูตรการจดั ช้ันเรียนแบบนวตั กรรมจะเป็น
แบบท่ีเหมาะสมเพราะสะดวกแก่การท่ีผู้เรียนจะค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง สะดวกแก่การทำงาน
กลุ่มกับเพ่ือน สะดวกแก่การทดลองหรือการทำกิจกรรมต่าง ๆ ผู้สอนจึงควรจัดชั้นเรียนแบบ
นวัตกรรมเพื่อให้สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนการสอน

จากรูปแบบการบริหารจัดการชั้นเรียนท่ีกล่าวมา สรุปได้ว่า ผู้สอนสามารถบริหาร
จัดการช้ันเรียนได้ตามวิธีสอน แบ่งเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ 1) ช้ันเรียนแบบธรรมดา เป็นชั้นเรียนี่มี
ผู้สอนเป็นศูนย์กลาง เป็นผู้นำการเรียนรู้ โดยมีผู้เรียนเป็นผู้รับความรู้จากผู้สอน 2) ช้ันเรียนแบบ
นวัตกรรม เป็นช้ันเรียนที่เอ้ืออำนวยต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยใช้เทคนิควิธีสอนใหม่ ๆ
และหากแบ่งตามกาบริหารจัดการชั้นเรียนเฉพาะวิชา แบ่งได้ 3 รูปแบบ ได้แก่ 1) รูปแบบพฤติกรรม
เป็นการจัดการช้ันเรียนที่ผู้สอนต้องการปรับเปล่ียนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของผู้เรียน 2) รูปแบบ
จติ วิทยา เป็นการบรหิ ารจัดการชนั้ เรียนท่เี น้นบรรยากาศด้านสังคมและความสมั พันธ์ในช้ันเรียน และ
3) รูปแบบการจัดการแบบกลุ่ม เป็นการบริหารจัดการช้ันเรียนที่เน้นให้ผู้เรียนทำงานร่วมกัน สร้าง
ปฏสิ ัมพันธ์ทางสงั คมในช้ันเรียน ซง่ึ การบรหิ ารจดั การชั้นเรยี นแต่ละรปู แบบมีความแตกตา่ งกัน ดังนั้น
ผูส้ อนควรเลือกรูปแบบท่ีเหมาะสมกับวธิ ีสอนและธรรมชาติของวิชาน้ัน ๆ เพอื่ ให้ผู้เรียนเกดิ การเรียนรู้
ไดอ้ ย่างมีประสิทธิภาพสูงสดุ

2. เทคนิคการบริหารจดั การชนั้ เรียนเพ่ือสง่ เสรมิ การเรยี นรู้

ก า ร น ำ รู ป แ บ บ ก า ร บ ริ ห า ร จั ด ก า ร ชั้ น เรี ย น ท่ี ห ล า ก ห ล า ย ข อ ง ผู้ ส อ น ม า ใช้ อ ย่ า งมี
ประสิทธิภาพจะมีผลต่อผู้เรียนในเชิงบวก เกิดจากการวิเคราะห์ผู้เรียน ดังน้ัน ผู้สอนต้องใช้เทคนิค
อยา่ งหลากหลายวิธี ดงั นกั วชิ าการไดก้ ล่าวไวด้ ังนี้

ฆนัท ธาตุทอง (2552, หน้า 93-100) ได้กล่าวถึงเทคนิคการบริหารจัดการช้ันเรียนไว้
ดังนี้

1. ปรบั ความคิดเกี่ยวกับสาเหตขุ องความล้มเหลวและความสำเร็จ ผู้เรยี นบางคนท่ี
เคยมีประสบการณ์กลัวความสำเร็จ ผู้เรียนเหล่าน้ีจะวิตกกังวลว่าการประสบความส ำเร็จทำให้
สัมพันธภาพที่ดกับเด่ือน ๆ หมดไปโดยผู้เรียนจะอ้างสาเหตุของความสำเร็จหรือล้มเหลว ผู้เรียนที่มี
ผลสัมฤท ธ์ิต่ำมั กอ้างสาเห ตุขอ งค วามล้ มเห ลวว่าเป็น เพ ราะขาดความสาม ารถและจะ ประส บ
ความสำเร็จได้ต้องอาศัยโชคเท่านั้น ในขณะที่ผู้เรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงจะอ้างสาเหตุของ
ความล้มเหลวว่าเปน็ เพราะไม่มีความพยายาม ผู้สอนจงึ จำเป็นต้องหาวิธกี ารท่ีทำให้ผ้เู รียนปรับเปลี่ยน
การคดิ ของตนเองเก่ียวกบั สาเหตขุ องความล้มเหลวและความสำเร็จ

2. การสร้างแรงจูงใจในการเรียน ชั้นเรียนเป็นส่วนหน่ึงในมาตรฐานความรู้และ
ประสบการณ์วิชาชีพครู ซึ่งคุรุสภาได้กำหนดสมรรถนะของผู้สอนเก่ียวกับการบริหารจัดการช้ันเรียน

เอกสารประกอบการสอน รายวิชา วทิ ยาการจดั การเรียนรู้

18

ว่า ผู้สอนตอ้ งมีภาวะผู้นำ มีทักษะในการจัดการช้ันเรียน เข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง โดยบทบาท
ของผู้สอนในการจัดการช้ันเรียนเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาพฤติกรรมผู้เรียน ดังน้ัน การจูงใจให้
ผู้เรียนสนใจในสิ่งที่ผู้สอนถ่ายทอด เพื่อให้ผู้เรียนได้รับประโยชน์สูงสุดในการสอนและทำให้ผู้เรียน
ได้รับความรู้ ประสบการณ์ จึงเป็นส่ิงสำคัญซ่ึงอาจเรียนว่ากลยุทธ์การสร้างแรงจูงใจ ดังที่ อรจรีย์ ณ
ตะกวั่ ทุง่ (2545, หน้า 25-41) ไดก้ ล่าวไว้ดังน้ี

2.1 การสรา้ งเป้าหมายหลักในช้ันเรียน
2.1.1 การทำงานเป็นหลัก หมายถึง ผู้สอนเป็นผู้จัดการกำหนดให้ผู้เรียน

ได้ทำงานตามท่ีได้รับมอบหมาย ซึ่งถือว่าการทำงานเป็นการทดสอบความสามารถของผู้เรียน ใน
ลกั ษณะการเปรียบเทยี บผลงานกบั ผู้เรียนคนอื่น ๆ

2.1.2 การเรียนรู้เป็นหลัก หมายถึง ผู้สอนต้องมีความสามารถในการจัด
สภาพแวดล้อมภายในช้ันเรียน มีการกระตุ้นและจูงใจให้ผู้เรยี นได้ร่วมมือกันทำกจิ กรรรมแบบร่วมมือ
และแบบไตร่ตรองโยมุ่งให้ผู้เรียนได้แสวงหาความรู้ ทำความเข้าใจ และการเกิดทักษะในสิ่งใหม่ ๆ ซึ่ง
ให้ผู้เรียนได้ใช้ความเพยี รพยายามท่ีจะนำไปสู่ความสำเรจ็ ของผ้เู รยี น

2.2 กลยุทธ์การส่งเสรมิ การเรยี นรู้
2.2.1 ให้โอกาสผู้เรียนได้เรียนรู้โดยผู้สอนมีบทบาทสำคัญในกระบวนการ

เรียนการสอน การจัดลำดับความยากง่ายของเน้ือหาสาระของความรู้ การเช่ือมโยงความรู้เดิมกับ
ความรู้ใหม่ ทั้งในส่วนที่ต่างและส่วนที่เหมือน พร้อมทั้งแนะนำให้ผู้เรียนได้สนำความรู้จากหนังสือ
เรียนไปใช้ประโยชน์ในการดำเนินชีวติ

2.2.2 ให้ผู้เรียนได้คิด เป็นการส่งเสริมการเรียนรู้โดยให้ผู้เรียนได้อธิบาย
คำสำคัญ (Key Word) ในเนอ้ื หาสาระท่ผี สู้ อนได้สอนในแตล่ ะหัวขอ้ ของการเรียนในแต่ละบทเรยี น

2.2.3 การสนับสนุนความพยายามในการทำความเข้าใจของผู้เรียนกับ
เน้ือหาสาระในบทเรยี นน้ัน ๆ เป็นการส่งเสรมิ ให้ผู้เรียนสได้รจู้ ักคิด ถือว่าเป็นการพัฒนาการเรยี นร้ใู น
ระดับที่สูงข้ึนจาก้ันของความรู้-ความจำ เป็นข้ันตอนของพฤติกรรมการเรียนรู้ในด้านพุทธิพิสัย
(Cognitive Domain)

2.2.4 การประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียนโดยท่ีผู้สอนซึ่งเป็นบุคคลที่มี
บทบาทสำคัญต่อการส่งเสรมิ การเรยี นรู้ จะต้องทำสการตรวจสอยว่าผูเ้ รียนเกดิ การเรียนรู้หรือไม่ โดย
การสังเกตพฤติกรรมของผ้เู รยี นวา่ ไดเ้ ปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปตามเนอ้ื หาสาระของบทเรียนที่ได้รับไป
หรือไม่อย่างไร และการวัดผลการเรียนรู้ควรกระทำในรูปแบบท่ีหลากหลายแล้วจึงนำข้อมูลเหล่าน้ัน
มาทำการประมวลผลก่อนท่ีจะทำการประเมนิ ผลต่อไป

3. การเรียนรูค้ ือเป้าหมายหลัก การเน้นการเรียนรู้เป็นหลัก ผู้สสอนตอ้ งรับผิดชอบ
ต่อการสร้างเป้าหมายหลักในห้องเรียนของตนเอง จัดกรอบบทเรียนโดยคำนึงถึงว่าผู้เรียนจะรู้อะไร
จากงานที่ตนเองมอบหมาย และจะเน้นความสำคัญของการคิดและการสร้างความเข้าใจมากกว่าการ
เน้นคำตอบท่ีถกู ต้องหรือการทำดใบงานให้เสรจ็ ผสู้ อนจะออกแบบกจิ กรรมที่เปิดกว้างและนำไปใช้ได้
จรงิ สร้างสภาพแวดลอ้ มที่ช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนมสี ่วนร่วมในกิจกรรม ซ่ึงห้องเรียนแบบการเรียนรูเ้ ป็น

เอกสารประกอบการสอน รายวชิ า วทิ ยาการจดั การเรียนรู้

19

หลัก ผู้สอนจะให้โอกาสผู้เรียนได้เรียนรู้ให้ผู้เรียนได้คิด สนับสนุนความพยายามของผู้เรียนในการทำ
ความเข้าใจ และประเมินการเรยี นรู้ของผู้เรยี นอยา่ งมีสประสทิ ธภิ าพ

พงษ์พัชรนิ ทน์ พุธวัฒนะ (2558, หน้า 12) ได้กล่าวถึงเทคนิคการบริหารจัดการช้ันเรียน
เพ่ือให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ โยผู้สอนเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนผู้เรียน เป็น
การกระตุ้นให้ผู้เรียนอยากเรียน สร้างสภาพแวดล้อมในชั้นเรียนให้น่าเรียน จัดกิจกรรมท่ีเหมาะสม
จัดโต๊ะ ท่ีน่ัง ทีส่ ามารถตรวจสอบผู้เรียนได้อย่างท่ัวถึง ใช้ส่ือการเรียนการสอนท่ีสามารถมองเห็นได้ไม่
เป็นอปุ สรรคในการเรียนรู้ การจดั และตกแต่งชั้นเรียนที่เหมาะสม มรี ะเบยี บ ร้าความสนใจดังลกั ษณะ
ต่อไปน้ี

1. การจัดสภาพห้องเรียนต้องคำนึงถึงบรรยากาศที่ต้องการให้เกิดข้ึน ในบางคร้ัง
การจัดช้ันเรียน ควรจะคำนึงถึงความสะดวกและยดื หยุ่นของการใช้งานดว้ ย

2. โต๊ะ เก้าอ้ี ควรเป็นแบบท่ีเบา ไม่เทอะทะ เพ่ือสะดวกต่อการเคล่ือนย้าย หรือ
ปรับปรุงลักษณะภายในห้องเรียน และการจัดวางจะต้องอยู่ในลักษณะที่เหมาะสม ไม่สร้างปัญหาใน
ระหวา่ งการเรยี นการสอน เช่น การบงั กนั

3. เสียง จะต้องให้ได้ยินอย่างทั่วถึง และถ้าใช้เคร่ืองขยายเสียงจะต้องคำนึงถงึ เสียง
สะทอ้ นด้วย

4. ไฟฟ้าและแสงสว่าง แสงสว่างภายในห้องเรียนจะได้จากแสงธรรมชาติ หรือแสง
จากหลอดไฟจะต้องมีความสว่างพอเหมาะ ควรจะมีสการติดดตั้งหลอดไฟในตำแหน่งที่เหมาะสมกับ
การใช้งาน ตลอดดจนการติดตั้งปล๊ักไฟ ต้องอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมเพื่อสะดวกต่อการใช้งานและ
ความปลอดภัย

5. การระบายอากาศในหอ้ งเรียน จำเปน็ ต้องมกี ารถ่ายเทอากาศได้ดี
6. การใช้อุปกรณ์โสตทัศนศึกษา จะต้องจัดวางในที่เหมาะสมโดยคำนึงถึงการ
กำหนดลักษะณะการใชง้ านและประสทิ ธิภาพของการใชง้ าน
จากแนวคิดเทคนิคการบริหารจัดการชั้นเรียนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ สรุปได้ว่า เป็น
วิธีการที่ผู้สอนใช้ปรับความคิดเก่ียวกับสาเหตุของความล้มเหลวและความสำเร็จของผู้เรียน เพ่ือลด
ความกังวล สร้างแรงจูงใจในการเรียนรูข้ องผูเ้ รยี น สรา้ งเป้าหมายหลักในชน้ั เรยี น สง่ เสรรมิ การเรียนรู้
ให้ผู้เรียนมีสว่ นร่วมในกจิ กรรมการเรียนการสอน สรา้ งสภาพแวดล้อมและจัดบรรยากาศท่ีชว่ ยกระตุ้น
ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรม สนบั สนุนให้ผู้เรียนได้รู้จักคิดและนำความรู้ไปใช้ได้จริง รวมถึงการจัด
สิ่งอำนวยความสะดวกในชั้นเรียนอย่างเหมาะสม มีการวัดผลการเยนรู้ของผู้เรียนในรูปแบบท่ี
หลากหลายและประเมินการเรียนรู้ของผเู้ รยี นอย่างมีประสทิ ธภิ าพ

3. เทคนคิ การบริหารจดั การช้นั เรียนโดยการสร้างแรงจูงใจ

การสร้างแรงจูงใจในช้ันเรียนของผ฿สอน ถือเป็นเทคนิคและกลยุทธ์เพื่อกระตุ้นให้
ผู้เรยี นสนใจในบทเรียน ดังท่ีนกั วิชาการ วูลโฟลก์ (Woolfolk, 2004 อ้างถึงใน ณิรดา เวชญาลกั ษณ์,
2561, หน้า 57-59) ได้กล่าวถึงการสร้างแรงจูงใจของผู้สอนว่า เป็นการใชก้ ลยุทธจ์ ูงใจและกระตุ้นให้
ผู้เรียนตั้งใจเรียน และจะประสบความสำเร็จได้ก็ต่อเม่ือในช้ันเรียนน้ัน มีปัจจัยพื้นฐานท่ีครบถ้วน

เอกสารประกอบการสอน รายวิชา วทิ ยาการจดั การเรียนรู้

20

ประกอบด้วย 1) ชั้นเรียนต้องมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ปราศจากเสียงรบกวน หรือหันเหความ
สนใจของผู้เรียนจากส่ิงท่ีเรียนหรือสภาพท่ีก่อให้เกิดความยุ่งยากในการเรียนรู้ 2) ผู้สอนตต้องมีความ
อดทนและไม่รู้สึกรำคาญกับข้อผิดพลาดต่าง ๆ ของผู้เรียน ให้การสนับสนุนและทำให้ผู้เรียนเห็นว่า
ข้อผิดพลาดท่ีเกิดข้ึนและเป็นโอกาสให้ผู้เรียนได้ปรับปรุงและพัฒนาตนเองให้ดีข้ึน 3) ส่ิงที่เรียนต้อง
เป็นงานท่ีท้าทายความสามารถและมีความเป็นไปได้ที่จะทำสำเร็จ คือไม่ง่ายเกินไปหรือยากเกินไป
และ 4) ส่ิงที่เรียนต้องมีประโยชน์และสามารถนำไปใช้ในชีวิตจริงได้ ดังนั้น จะเห็นว่าปัจจัยที่สำคัญ
ท่ีททำให้ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจในการเรียนจะต้องประกอบด้วยชั้นเรียนท่ีมีบรรยากาศท่ีเอ้ือต่อการ
เรียนรู้ ผู้สอนให้การสนับสนุนอย่างเต็มท่ี และเนื้อหาสาระที่น่าสนใจมีประโยชน์สามารถนำไปใช้ใน
ชวี ิตจริงได้

เมื่อชั้นเรียนเป็นไปตามเง่ือนไขดังกล่าวข้างต้นผู้เรียนจะสนใจในส่ิงที่เรียนและเกิด
แรงจูงใจในการเรียน ผู้เรียนจะเกิดข้อสงสัยในตนเองตามมา 3 ข้อ คือ 1) ฉันจะเรียนเรื่องนี้ได้สำเร็จ
หรือไม่ 2) ฉันต้องการที่จะเรียนเรื่องนี้สำเร็จหรือไม่ 3) ฉันต้องทำอย่างไรจึงจะเรียนเร่ืองนี้ได้สำเร็จ
จากข้อสงสัยท้ัง 3 ข้อ ผู้สอนควรพยายามทำให้ผู้เรียนเกิดความเช่ือม่ันในความสามารถของตนเอง
และกระตุ้นให้เกิดความต้องการที่จะเรียน รวมทั้งให้ผู้เรียนเห็นความสำคัญของสิ่งท่ีเรียน ตลอดจน
คอยช้ีแนะวธิ ีการท่ีจะช่วยให้ผ้เู รียนประสบผลสำเร็จ สิ่งสำคญั คือตอ้ งให้ผลป้อนกลับเพ่ือให้ผู้เรยี นเกิด
การปรับปรุงพัฒนาการปฏิบัติงานของตนเอง นอกจากนี้ ควรให้กำลังใจผู้เรียนเพ่ือให้เกิดพลังและ
ความภาคภูมใิ จในตนเอง เพ่ือทีจ่ ะจูงใจให้ผู้เรียนมีความกระตอื รือรน้ ในการเข้าชน้ั เรียน

การจูงใจให้ผู้เรียนมีความกระตอื รอื ร้นในการเรียนการสอนผู้สอนควรจะศกึ ษาถงึ วิธีการ
ต่าง ๆ ที่มีประสิทธภิ าพในการจูงใจผู้เรียน ดังต่อไปน้ี

1. บคุ ลิกภาพและพฤติกรรมการสอนของผู้สอนท่ีมีบุคลิกภาพท่ีดี เช่น การแต่งกาย
เรียบร้อย การยืน การเดิน ท่าทาง น้ำเสียง การใช้คำพูด การแสดงออกททางสีหน้า จะช่วยส่งเสริม
บรรยากาศการเรียนรู้ได้ดี ตลอดดจนพฤติกรรมการสอนของผู้สอน มีบทบาทในการสรา้ งความรู้สึกท่ี
ดีให้แก่ผู้เรียน เช่นเดียวกับบุคลิกภาพของผู้สอน ในการสอนผู้สอนจะต้องใช้เทคนิคและทักษะในการ
สอนท่ีสอดคล้องเหมาะสมกับผู้เรียนและบทเรียนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความรู้และทักษะตามที่หลักสูตร
กำหนด

2. เทคนิคการปกครองผู้เรียนในช้ันเรียน ผู้สอนควรส่งเสริมการสร้างบรรยากาศ
ทางจิตวิทยา คือ การสรา้ งความเป็นกลางหรือความยุติธรรม ยึดหลักประชาธิปไตยโดยใช้กฎระเบียบ
กฎเกณฑท์ ทท่ี ุกคนยอมรับได้ ผเู้ รยี นกจ็ ะเรยี นได้อยา่ งมคี วามสขุ

3. การสร้างบรรยากาศหรือสิ่งแวดล้อมทางการเรียนท่ีดี เป็นการสร้างบรรยากาศ
ทางกายภาพให้ห้องเรียน เช่น เครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ ต้องอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานได้ ห้องเรียนมี
อากาศเย็นสบาย สะอาด และแสงสว่างเหมาะสมกับการเรียน ซ่ึงจะทำให้ผู้เรียนมีความสุขท่ีได้อยู่ใน
ชั้นเรยี น

4. ทำให้ผู้เรียนมีความพร้อมและต้องการจะเรียนรู้ การวางเง่ือนไขและการสร้าง
สถานการณ์ของการเรียนรู้ในรปู แบบต่าง ๆ การใชเ้ ทคนิควธิ ีการสอนท่ีทำให้ผู้เรียนมีความพร้อมและ
ต้องการจะเรียนรู้ เป็นความสามารถของผู้สอน การใช้จังหวะ เวลา สถานการณ์ เหตุการณ์สที่เป็นอยู่

เอกสารประกอบการสอน รายวิชา วทิ ยาการจดั การเรียนรู้

21

เป็นแรงกระตุ้นและสร้างความต้องการเรียนรู้ จะทำให้การเรียนมีประสทิ ธิภาพและประสิทธิผลอย่าง
มาก

5. ใช้วิธีเสริมแรงตามความเหมาะสมและตามความจำเป็น เพื่อให้ผู้เรียนมี
พฤติกรรมในการเรียนท่ีดี เช่น การเพิ่มคะแนนหรือการหักคะแนน การให้คำชมเชย การยิ้ม การให้
ความเอาใจใส่ นบั เป็นตวั เสรมิ แรงท่ีมีอิทธพิ ลต่อผู้เรยี นอยา่ งมาก

6. การใช้การทดสอบ จะเป็นเครื่องกระตุ้นให้ผู้เรียนสเอาใจใส่ต่อบทเรียนและมี
ความตน่ื ตวั ในการเรียนอยู่ตลอดเวลา

7. ให้ทราบผลการทดสอบอย่างทันท่วงที เพราะการให้สผู้เรียนทราบผลการ
ทดสอบอย่างทันท่วงทีว่าส่ิงที่ตนได้เรียนรู้ไปน้ันมีความเข้าใจอย่างถ้องแท้เพียงใด มีสิ่งมดที่ต้อง
ปรับปรุงแก้ไข จะทำใหผ้ ู้เรียนเอาใจใสต่ ิดตามเนื้อหาอยู่ตลอดเวลา

8. การพาผู้เรียนออกไปทัศนศึกษา ดูงาน ตลอดจนเชิญวิทยากรภายนอกท่ี
เก่ยี วข้องกบั วชิ าท่ีสอนมาให้ความรู้ จะเป็นแรงกระตุ้นความสนใจของผู้เรียนไดเ้ ปน็ อยา่ งดี

9. การมอบหมายกิจกรรมหรืองานให้ผู้เรียนรับผิดชอบหรือปฏิบัติและติดตามผล
จนผู้เรียนทำงานน้ันเสร็จ นับว่าเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการเรียนการสอนของผู้สอน เพราะจะเป็นแรง
กระตุ้นให้ผู้เรยี นสนใจ เพ่ือทำงานท่ีได้รับมอบหมายให้เสร็จส้ิน

10. การส่งเสริมให้มีการจัดหาและใช้ส่ือการสอนและเทคโนโลยีการศึกษา สื่อการ
สอนและเทคโนโลยีการศึกษาทไ่ี ด้รับการออกแบบ และมกี ารบรหิ ารจดั การในการใช้อย่างดี จะสมารถ
กระตุ้นความสนใจและสร้างแรงจงู ใจใฝ่เรียนรู้ได้ นอกจากนั้น สื่อทส่ี ามารถสร้างแรงจูงใจใหผ้ ู้เรียนได้
ดีนั้นต้องสามารถทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ ได้เข้าใจ และได้เห็นความแตกต่างทำให้เกิดการเปรียบเทียบ
ความคิดหรอื ความรจู้ ากแหลง่ อื่นทเี่ ก่ยี วข้อง

พงษ์พัชรินทน์ พุธวัฒนะ (2558, หน้า 56-57) ในการเรียนการสอนนั้น ส่ิงท่ีสำคัญ
ประการหน่ึงคอื สง่ เสริมให้ผูเ้ รยี นเกดิ แรงจงู ใจ ผู้สอนท่ัวไปมักจะใช้แรงจงู ใจดังต่อไปนี้

1. รางวัล การให้รางวัลมหี ลายอย่าง เช่น การให้รางวลั เป็นของ การให้เครื่องหมาย
อันเป็นสัญลักษณ์ให้ความดี เช่น ให้ดาวหรือให้เกียรติบัตรบางอย่าง หรือให้สิทธิพิเศษบางอย่าง การ
ให้รางวัลน้ีผู้สอนทุกคนปฏิบัติอยู่แล้ว และเม่ือให้รางวัลไปแล้ว ผู้เรียนจะรู้สึกต่ืนเต้นและเรียนดีข้ึน
แต่นักจติ วทิ ยาและนักการศึกษาบางท่านไมเ่ ห็นดว้ ยกบั การใหร้ างวลั เน่ืองจากการให้รางวลั น้ัน มีทาง
ทำให้ผู้เรียนต้ังใจเรียนเพื่อเอารางวัลมากกว่าการเรียนเพ่ือให้เกิดความรู้ ดังน้ัน ถ้าครูให้รางวัลบ่อย
เกินไป นอกจากผู้เรียนจะได้รับรางวัลไปแล้ว อาจจะไม่ทำให้ผู้เรียนกระตือรือร้นอย่างเดิมอีก ฉะนั้น
การให้รางวัลผู้เรียนไม่ควรให้บ่อยเกินไป หรือเป็นของที่มีราคาแพงเกินไป และควรให้ผู้เรียนได้รับ
รางวัลอยา่ งท่วั ถงึ ไมใ่ ช่ให้อยู่เพียง 2-3 คนเท่านัน้

2. ความสำเร็จในการเรียน การที่ผู้เรียนได้รับความรู้และทักษะเพิ่มขึ้นจากการ
เรียน จะเป็นแรงจูงใจให้ผู้เรียนน้ันเรียนดีข้ึนกว่าเดิม อย่างไรก็ตาม ผู้สอนต้องคำนึงถึงความแตกต่าง
ระหว่างบุคคล นั่นคือผู้สอนต้องจัดการสอนให้สอดคล้องกับระดับความสามารถของผู้เรียนทุกคน
เพ่อื ให้ผู้เรยี นแต่ละคนได้รบั ความสำเร็จตามระดับของตน การสอนที่เราทำกันเป็นปกตินนั้ ได้แก่ การ
สอนแบบกลาง ๆ ไม่ได้พยายามปรับบทเรียนให้เขา้ กบั ทกุ รระดับ ซ่งึ อาจทำให้ผเู้ รียนอ่อนอาจเรียนไม่

เอกสารประกอบการสอน รายวชิ า วทิ ยาการจดั การเรยี นรู้

22

ทันเพราะผสู้ อนสอนเร็วเกนิ ไป ความสำเรจ็ ที่ผู้เรยี นได้รบั แมเ้ ปน็ ความสำเรจ็ เล็ก ๆ น้อย ๆ ก็ตาม แต่
ก็จะทำใหผ้ ้เู รียนเกิดความเช่ือมั่นในตนเอง มีความภูมใิ จในตนเอง มกี ำลังใจทจี่ ะเรียนมากขน้ึ

3. การยกย่องชมเชย คำชมท่ีเหมาะสมกับโอกาสและเหมาะสมกับการกระทำของ
ผู้เรียนย่อมเป็นแรงจูงใจให้ผู้เรียนตั้งใจเรียนเป็นอย่างดี แต่ถ้าผู้สอนชมอย่างใจริงใจ และผู้เรียนรู้กัน
ทว่ั ไปว่า คำชมเชยของผู้สอนไม่มีความหมายพเิ ศษ ผู้เรยี นจะไม่เอาใจใส่ต่อคำชมเชยน้นั ดังน้นั ผสู้ อน
ไม่ควรใช้คำชมพร่ำเพร่ือ สำหรับผู้เรียนท่ีเรียนอ่อนนั้นแม้เรียนดีข้ึนเพียงเล็กน้อยก็ควรชมเชย ส่วน
ผู้เรียนที่เรียนเก่งจะชมก็ต่อเม่ือทำงานยาก ๆ ได้สำเร็จ คำชมของผู้สอนจึงจะมีค่าสำหรับผู้เรียนยทุก
คน ในแง่ของจิตวิทยาพบว่าการชมเชยผู้เรียนท่ีเก็บตัวมักได้ผลดีในการจูงใจมากกว่าชมผู้เรียนท่ี
เปิดเผย และการชมผูเ้ รยี นท่ีเรยี นเกง่ มาก ๆ ไดผ้ ลนอ้ ยกว่าการชมเด็กอ่อน

4. การตำหนิ ถ้าผู้สอนใช้การตำหนิแต่เพียงเล็กน้อย ไม่พร่ำเพร่ือเกินไปแล้วการ
ตำหนิก็มีผลในการสร้างแรงจูงใจใจการเรียนได้มากเหมือนกัน ในการตำหนินั้น ผู้สอนต้องทำให้
เหมาะสมกับความบกพร่อง และตำหนิให้เหมาะสมกับโอกาส ผู้สอนไม่ควรตำหนิผู้เรียนโดยไม่มี
หลักฐาน และต้องทำให้ผู้เรียนว่าตนเองควรแก้ไขอย่างไร การตำหนิก็เหมือนการรับการชมเชย ต้อง
เลือกใช้ให้เหมาะสมกับบุคคล ถ้าผู้สอนตำหนิผู้เรียนท่ีเรียนอ่อนมาก ๆ คำตำหนิน้ันจะไม่มีผลในการ
สร้างแรงจูงใจ ถ้าตำหนผิ ู้เรียนที่เก่งให้ตรงกบั ขอ้ บกพร่องของผู้เรียน คำตำหนขิ องผู้สอนจะมีผลดีมาก
แต่ที่ปฏิบัติกันอยู่น้ัน มักทำตรงข้ามกับคำกล่าวน้ี คือผู้สอนมักตำหนิผู้เรียนที่เรียนอ่อน และยกย่อง
ผเู้ รียนที่เรยี นเก่ง

5. การแข่งขันในชั้นเรียน ถ้าเป็นไปได้ในทำนองเป็นมิตรก็เป็นการจูงใจในการเรียน
ท่ีดีอย่างหนึ่ง ผู้สอนควรเปิดเผยให้ผู้เรียนแข่งขันในหลาย ๆ ทาง ซ่ึงการแข่งขันนั้นนักจิตวิทยาแบ่ง
ออกเป็น 3 วิธี คือ 1) แข่งขันระหว่างนักเรียนทั้งหมด 2) แข่งขันระหว่างกลุ่มต่อกลุ่ม และ 3)
แขง่ ขันกับตนเอง

6. ความช่วยเหลือจากความร่วมมือ ความร่วมมือน้ันนับเป็นแรงจูงใจท่ีดีอย่างหน่ึง
ตามปกติผู้เรียนย่อมมีความต้องการฐานะทางสังคม และความต้องการความรักอยู่แล้ว ความร่วมมือ
เปน็ การสนบั สนุนใหผ้ ู้เรียนสนองตอบต่อความตอ้ งการทั้งสองอยา่ งน้ีเปน็ อยา่ งดี

7. การรู้จักความก้าวหน้าของตนเอง ซึ่งมีลกั ษณะคล้ายคลงึ กับความสำเร็จ แต่การ
ที่ผู้เรียนจะทราบถึงความก้าวหน้าของตนน้ัน ต้องอาศัยการบอกกล่าวของผู้สอน ถ้าผู้เรียนทราบ
ความกา้ วหน้าของตนอยู่เสมอ จะมกี ำลังใจทจ่ี ะเรียนมากขึน้

8. การรู้จักวัตถุประสงค์ของการเรียน การทราบวัตถุประสงค์ของการเรียนเรื่องใด
เรื่องหนึ่งจะทำให้ผู้เรียนเข้าใจในแนวการปฏิบัติกีข้ึน และจะทำให้มีการจูงใจมากข้ึน วัตถุประสงค์ที่
ผู้เรยี นควรทราบ ประกอบด้วยวัตถปุ ระสงคร์ ะยะใกล้ ได้แก่ ประโยชนป์ ัจจุบันของการเรียนในเรื่องใด
เรื่องหนึ่ง และวัตถปุ ระสงคใ์ นระยะไกล ได้แก่ การเรยี นในอนาคตของเดก็ เอง

จากแนวคิดเทคนิคการจูงใจผู้เรียน สรุปได้ว่า การจูงใจในชั้นเรียนให้ผู้เรียนเกิดการ
อยากเรียนรู้จนประสบความสำเร็จ เป็นเทคนิค วิธีการหรือการใช้กลยุทธ์ของผู้สอนในการปฏิบัติต่อ
ผ้เู รียนอยา่ งเป็นมติ ร การสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่สนุกสนาน ใช้ส่ือการเรียนรู้ที่หลากหลาย สรา้ ง
กฎระเบียบ การเสริมแรงผู้เรียนทั้งทางบวกและทางลบ เช่น การให้รางวัล ยกย่องชมเชย การตำหนิ

เอกสารประกอบการสอน รายวิชา วทิ ยาการจดั การเรียนรู้

23

การร่วมมือและให้ความช่วยเหลือ การแจ้งวัตถุประสงค์การเรียนและการให้ผู้เรียนได้ทราบถึง
ความก้าวหน้าของตนเพือ่ ให้ผู้เรยี นไดพ้ ฒั นาและยอมรบั ตนเอง

การบริหารจัดการหอ้ งเรยี นนวัตกรรม

1. ความหมายห้องเรียนนวตั กรรม

นวัตกรรมทางการเรียนการสอน คือ สิ่งใหม่ๆ ที่สร้างข้ึนมาเพ่ือช่วยแก้ปัญหาเกี่ยวกับ
การเรียนการสอนหรือพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ แนวคิด รูปแบบ
วิธีการ กระบวนการ และสื่อใหม่ ๆ ที่เกี่ยวกับการศึกษาและพัฒนาคุณลักษณะผู้เรียน รวมไปถึง
ห้องเรยี น กถ็ อื เป็นนวัตกรรมอย่างหนึ่งท่ีต้องมีความสอดคล้องกับรูปแบบการบริหารจัดการชั้นเรียนที่
เป็นการเปลย่ี นแปลงในศตวรรษที่ 21

ห้องเรียนนวัตกรรม หมายถึง ห้องเรียนรูปแบบใหม่ที่สร้างข้ึนให้สอดคล้องกับรูปแบบ
การเรียนการสอนท่ีเปล่ียนแปลงในศตวรรษที่ 21 ซ่ึงมีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี ด้านการศึกษามาใช้
เพอื่ ตอบสนองการเรียนรใู้ ห้ไดต้ ามวตั ถุประสงค์ทต่ี ้ังไว้

2. รปู แบบการบรหิ ารจัดการหอ้ งเรยี นแบบบูรณาการนวัตกรรม

ในยุคการศึกษาในศตวรรษที่ 21 การบริหารจัดการช้ันเรียนต้องเปลี่ยนไปจากยุคเดิม
เพราะความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะทางด้านการเป็นยุคดิจิทัล ทำให้
นักวชิ าการทุกฝ่ายท่ีเก่ียวข้องกบั การศึกษาต่างก็ตื่นตัวท่จี ะพัฒนางานดา้ นการศกึ ษา คดิ คน้ นวัตกรรม
ต่าง ๆ เพ่ือนำไปใช้กับระบบการจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน ซ่ึงนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดการ
เรียนรู้น้ันมีหลายประเภทแตกต่างกันออกไป นวัตกรรมในการบริหารจัดการชั้นเรียนเพ่ือพัฒนา
ผู้เรียนให้มีทักษะในศตวรรษท่ี 21 มีหลายอย่าง เช่น ห้องเรียนกลับด้าน ห้องเรียนเสมือนจริง
หอ้ งเรียนอัจฉริยะ เปน็ ตน้

2.1 หอ้ งเรยี นกลับด้าน
2.1.1 ความหมายของห้องเรยี นกลบั ดา้ น
ความหมายของห้องเรียนกลับด้าน หรือ Flipped Classroom เป็นแนวคิดท่ีมีช่ือ

เรยี กคอ่ นข้างหลากหลาย โดยนกั การศึกษาหลาย ๆ ทา่ นได้ให้ความหมายไว้ดังนี้
วิจารณ์ พานิช (2556, หน้า 45-47) กล่าวถึง ห้องเรียนกลับด้าน (Flipped

Classroom) ว่าคือการเรียนตัววิชาท่ีเรียกว่า Acquire Knowledge ที่บ้าน แล้วมาทeการบ้าน หรือ
ประยุกต์ความรู้ท่ีเรียกว่า Apply Knowledge ที่โรงเรียน เป็นการเรียนที่ครูจะเน้นช่วยให้นักเรียน
เข้าใจหลักการ ไม่ใช่ท่องจำ หัวใจคือ ครูเน้นทำหน้าท่ีช่วยแนะนำการเรียนของเด็ก ไม่ใช่ทำหน้าที่
ถ่ายทอดความรู้ ครเู ปลี่ยนจากบทบาทปฏิสัมพนั ธ์กับนักเรียนท้ังชั้น เป็นมปี ฏิสัมพันธก์ ับนักเรียนเป็น
รายคน

Bergmann and Sams (2012, p.13) ผู้นำเสนอแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน และ
เป็นผู้เริ่มใช้ช่ือรูปแบบการเรียนนี้ว่า Flipped Classroom กล่าวถึงหลักพ้ืนฐานของห้องเรียนกลับ
ด้านว่าเป็นการเรียนท่ีนำเอารูปแบบการเรียนแบบดั้งเดิม (Traditional Learning) ที่ปกติเรียนในช้ัน

เอกสารประกอบการสอน รายวชิ า วทิ ยาการจดั การเรยี นรู้

24

เรียนให้ไปเรียนที่บ้าน และนำการบ้านซึ่งเดิมต้องทำให้เสร็จสิ้นที่บ้านมาทำท่ีโรงเรียน จากการศึกษา
จึงสรุปได้ว่าห้องเรียนกลบั ด้าน เปน็ การจัดการเรียนรู้ทค่ี รูมอบหมายให้นักเรียนศกึ ษาส่ือการเรียนร้ใู น
รูปแบบต่าง ๆ ก่อนการเรียนในชั้นเรียน จากน้ันเม่ืออยู่ในช้ันเรียนจริงนักเรียนจะได้รับการจัด
กิจกรรมการเรียนรู้ เพ่ือต่อยอดจากเนื้อหา ทำแบบฝึกหัด และถามตอบจากสิ่งท่ีได้เรียนผ่านส่ือ
มาแล้ว และโดยมคี รเู ปน็ ผชู้ ้ีแนะ ให้คำแนะนำหรอื ให้ความชว่ ยเหลอื

ลัลนล์ ลิต เอยี่ มอำนวย (2556, หน้า 17) กลา่ วว่าหอ้ งเรียนกลบั ด้านเป็นการนำส่ิงท่ี
เคยทำในห้องไปทำท่ีบ้านและนำส่ิงท่ีเคยถูกมอบหมายให้ทำที่บ้านมาทำในช้ันเรียนแทน ซ่ึงชั้นเรียน
ตามปกตินั้น ผู้สอนจะเป็นผู้บรรยายเนื้อหาต่าง ๆ ในช้ันเรียนแล้วมอบงานให้ผู้เรียนกลับไปทำเป็น
การบา้ น

สพุ ินดา ณ มหาไชย (2556, หน้า 17) กล่าววา่ หอ้ งเรียนกลับด้านเปน็ การให้ผ้เู รยี น
ได้เรียนรู้เนื้อหาล่วงหน้าท่ีบ้านแล้วมาพูดคุยกันในช้ันเรียน เป็นการจัดการเรียนแบบเน้นผู้เรียนเป็น
ศูนย์กลางมากขึ้น ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีข้ึนโดยเฉพาะทักษะการคิด วิเคราะห์ ช่วยเพ่ิมพูน
ความรู้ให้กว้างขวางขึ้น

ณิรดา เวชญาลักษณ์ (2561, หน้า 68) กล่าวว่าห้องเรียนกลับด้านเป็นเครื่องมือ
อย่างหนึ่งในการเรียนรู้ ซึ่งเป็นรูปแบบที่ผู้เรียนจะได้เรียนรู้ จากการบ้านท่ีได้รีบผ่านการเรียนด้วย
ตนเองจากสอ่ื วิดีทศั น์นอกช้ันเรียนหรือที่บ้าน เป็นการเรียนแบบสืบค้นหาความรู้ท่ีได้รบั ร่วมกับเพ่ือน
ร่วมช้ันโดยมีครูเป็นนผู้คอยให้ความช่วยเหลือช้ีแนะและเป็นผู้บรรยายเนื้อหาต่าง ๆ ในชั้นเรียนแล้ว
มอบหมายงานใหผ้ ู้เรียนกลบั ไปทำเป็นการบ้าน เปน็ การให้ผูเ้ รียนได้เรียนรูเ้ นื้อหาล่วงหน้าท่ีบ้าน แล้ว
มาพูดคุยกันในชั้นเรียน เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางมากขึ้นจะทำให้ผู้เรียนมีทักษะการคิดวิเคราะห์มาก
ข้ึน

จากแนวคิดข้างต้นสรุปได้ว่า ห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) เป็นการ
จดั การเรียนรู้ท่ีครูมอบหมายให้นักเรยี นศึกษาส่ือการเรียนรู้ในรูปแบบต่าง ๆ ก่อนการเรียนในช้นั เรียน
จากน้ันเม่ืออยู่ในช้ันเรียนจริงนักเรียนจะได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพ่ือต่อยอดจากเนื้อหา ทำ
แบบฝึกหัดและถามตอบจากสิ่งท่ีได้เรยี นผ่านส่ือมาแลว้ และโดยมีครูเปน็ ผู้ช้ีแนะ ให้คำแนะนำหรือให้
ความชว่ ยเหลือ ดงั ภาพท่ี 1

ภาพท่ี 1 การจดั การเรยี นร้แู บบหอ้ งเรียนกลับดา้ น
ท่มี า : https://www.washington.edu/teaching/teaching-resources/engagingstudents-in-
learning/flipping-the-classroom/

เอกสารประกอบการสอน รายวิชา วทิ ยาการจดั การเรียนรู้

25

2.1.2 ขอ้ ดแี ละข้อจำกดั ของหอ้ งเรยี นกลับดา้ น
1) ข้อดีของห้องเรียนกลับด้าน มีนักการศึกษาหลายท่านได้กล่าวถึงข้อดีและ

ข้อจำกัดของการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านโดยสรุปได้ดังน้ี (ธนภรณ์ กาญจนพันธ์, 2559
ลัพธพล ดา่ นสกุล, 2558 และ วิจารณ์ พานิช, 2556) ไดก้ ล่าวถึงข้อดขี องการเรยี นแบบห้องเรียนกลับ
ดา้ นมีดงั น้ี

1.1) วิธีการเรียนแบบห้องเรียนกลับด้านเน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลางของการ
เรียนรู้ นักเรียนเป็นผู้รับผิดชอบในการดูวีดีโอ ศึกษาเน้ือหาจาก web ต้ังประเด็นคำถาม และทำ
กิจกรรมหรืองานที่ได้รับมอบหมายด้วยตนเอง ครูทำหน้าที่คอยแนะนำช่วยเหลือนักเรียน มีการ
แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพ่ือนในชั้น เพิ่มทักษะการจดบันทึกและการสื่อสาร ได้ฝึกวินัยตนเองและความ
รบั ผิดชอบ

1.2) ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ผา่ นวีดีโอหรือส่ืออ่ืน ๆ นอกห้องเรยี นก่ีครั้งก็ได้จน
เขา้ ใจ เป็นไปตามความสามารถที่แตกต่างกันของผู้เรียน ในช้ันเรียนสามารถจัดกิจกรรมที่หลากหลาย
ตามศักยภาพผู้เรียนได้

1.3) เหมาะสมกับนักเรียนยุคปัจจุบัน นักเรียนในยุคนี้เติบโตมาพร้อมกับ
เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต (Internet) เฟสบุ๊ค (Facebook) ยูทูป (YouTube) และแหล่งสืบค้นข้อมูล
ต่าง ๆ มากมาย จึงมีความคุ้นเคยและมีทักษะในการใช้ส่ือเหล่านี้อย่างดี ดังน้ันควรใช้เทคโนโลยีนี้มา
ใชเ้ ปน็ เคร่ืองมอื ในการเรยี นรู้

1.4) ปฏิสัมพันธ์ในชั้นเรียนมีมากขึ้น ผู้สอนใช้เวลาพูดคุยกับนักเรียน ตอบ
คำถาม ร่วมทำงานกับกลุ่มย่อยและสนใจนักเรียนเป็นรายบุคคลมากข้ึน ในขณะท่ีนักเรียนก็ร่วม
ทำงานไปดว้ ย หารอื แลกเปล่ยี นความคิดเหน็ และช่วยเหลือกันในการเรียนรู้มากขึน้ ผสู้ อนจะเน้นช่วย
ให้นักเรยี นเข้าใจหลักการไม่ใช่ท่องจำ หัวใจคือผู้สอนเนน้ ทำหนา้ ทช่ี ่วยแนะนำการเรยี นของเด็ก ไม่ใช่
ทำหน้าทถ่ี ่ายทอดความรู้ ผู้สอนเปลี่ยนจากบทบาทปฏิสัมพันธ์กับนักเรียนทั้งช้ัน เป็นมีปฏิสมั พันธ์กับ
นกั เรยี นเปน็ รายคน

1.5) ช่วยให้ครูรู้จักนักเรียนดีขึ้น หน้าท่ีของครูไม่ใช่เพียงช่วยให้ศิษย์ได้วิชา
เน้ือหา แต่ต้องกระตุ้นแรงบันดาลใจ (Inspire) ให้กำลังใจรับฟัง และช่วยส่งเสริมให้เด็กฝันถึงอนาคต
ของตน น้ันคือ มิติของความสัมพันธ์ท่ีช่วยส่งเสริมพัฒนาการของศิษย์ นอกจากน้ียังทำให้ศิษย์ที่มี
ปญั หาส่วนตัวกล้าปรึกษาครผู ่านทางชอ่ งทางสอ่ื สารสมยั ใหมม่ ากขึ้นอกี ดว้ ย

1.6) ช่วยให้เห็นคุณค่าของความแตกต่าง ซ่ึงโดยธรรมชาติ เด็กในชั้นเรียน
เดยี วกนั มีความแตกต่างกนั มาก มีความถนัดและความชอบท่ีแตกต่างกนั การกลับด้านชนั้ เรียนช่วยให้
ครูเหน็ จดุ แข็งและจดุ อ่อนของนกั เรียนแต่ละคน เพื่อนนักเรียนด้วยกันก็เห็น และช่วยเหลือกันด้วยจุด
แข็งของแต่ละคน เนื่องจากครูเดินไปเดินมาทั่วห้อง ครูจะสังเกตเห็นเด็กท่ีกำลังพยายามดิ้นรนช่วย
ตนเองในการเรียน และสามารถเข้าไปช่วยเด็กที่ไม่ถนัดเรื่องนั้นให้เอาใจใส่ เรียนเฉพาะส่วนที่จำเป็น
ไม่ต้องทำแบบฝึกหัดทั้งหมด คือไม่ต้องทำแบบฝึกหัดส่วนท่ีเป็นความรู้ก้าวหน้าหรือท้าทายมาก ซึ่ง

เอกสารประกอบการสอน รายวชิ า วทิ ยาการจดั การเรยี นรู้

26

เหมาะสำหรับเด็กท่ีมีความสามารถพิเศษในวิชาน้ันเท่าน้ัน ช่วยให้นักเรียนที่อ่อนในด้านนั้นไม่รู้สึกมี
ปมด้อย

2) ข้อจำกดั ของห้องเรยี นกลับด้านมีดังนี้
2.1) ครูผู้สอนสว่ นใหญ่กงั วลว่าถา้ ตัวเองไม่ไดพ้ ูด ไม่ได้ยืนสอนอยูห่ น้าชน้ั แล้ว

เดก็ จะไม่ได้รบั ความรู้ เดก็ จะไมเ่ รยี น หรอื เรยี นรูไ้ มไ่ ด้ และรู้สกึ วา่ ตนเองไม่ได้ทำหนา้ ทส่ี อน
2.2) ครูส่วนใหญ่ยังขาดความเข้าใจในส่วนที่เป็นหัวใจสำคัญของการจัดการ

เรยี นการสอนแบบน้ี คอื "เรียนที่บ้าน ทำการบ้านทโี่ รงเรยี น"
2.3) ถ้าผู้เรียนขาดความรับผิดชอบในการศึกษาคน้ ควา้ ด้วยตนเองมาก่อน จะ

ทำให้บรรลุวัตถุประสงคข์ องการเรียนไดย้ าก
2.13 แนวทางการบรหิ ารจัดการห้องเรียนกลบั ด้าน
หอ้ งเรยี นกลับดา้ นมีแนวคดิ การบริหารจดั การห้องเรยี นกลับดา้ นดงั น้ี
1) การปรับรูปแบบการเรียนการสอน จากเดิมสิ่งทำในช้ันเรียนเอาไปทำที่บ้าน

และส่ิงที่มอบหมายไปทำท่ีบ้านนำมาทำในช้ันเรียน กล่าวคือ ในการเรียนการสอนรูปแบบเดิมน้ัน
ผู้สอนเป็นผู้บรรยายเน้ือหาต่าง ๆ ในชั้นเรียน แล้วมอบหมายงานให้นักเรียนนำกลับไปทำเป็น
การบ้าน ในขณะที่ทำการบ้านนั้นนักเรียนอาจจะมีข้อสงสัย ไม่เข้าใจ แต่ไม่มีคนตอบข้อสงสัย หรือ
คอยให้คำแนะนำช่วยเหลือ จึงไม่สามารถทำการบ้านได้ ในการเรียนแบบห้องเรียนกลับด้านนั้น การ
บรรยายของผู้สอนจะถกู บันทึกเป็นวีดีทัศนเ์ พื่อให้นักเรียนได้น าไปดูล่วงหน้าทบี่ ้านตอนกลางคืน เมื่อ
มาเข้าชั้นเรียนในวันรุ่งขึ้นนักเรียนจะซักถามประเด็นข้อสงสัยต่าง ๆ จากการดูวีดีทัศน์ จากน้ันก็จะ
ทำงานท่ีได้รบั มอบหมายเป็นรายบุคคลหรือกลุ่ม โดยมีผูส้ อนคอยให้คำแนะนำช่วยเหลือ และตอบข้อ
สงสยั ในระหว่างทำงานนน้ั

2) การปรับจดุ เนน้ ความสำคัญของการจัดการเรียนรู้ จากการให้ความสำคญั ที่ครู
ไปให้ความสำคญั ต่อการเรยี นรู้ของนักเรียน และจะทำให้บทบาทและความสำคญั ในชนั้ เรียนเปลี่ยนไป
จากผู้สอน

2.2 ห้องเรียนเสมอื น
ห้องเรียนเสมือนเป็นการสอนท่ีจำลองแบบเสมือนจริง เป็นนวัตกรรมทางการศึกษา

ท่ีสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ท่ัวโลกกำลังให้ความสนใจและจะขยายตัวมากข้ึนในศตวรรษท่ี 21 การ
เรียนการสอนในระบบน้ีอาศัยส่ืออิเล็กทรอนิกส์โทรคมนาคม และเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นหลักท่ี
เรียกว่า Virtual Classroom หรือ Virtual Campus นับว่าเป็นการพัฒนาการ บริการทางการศึกษา
ทางไกลที่เข้าถึงผู้เรียนในระยะไกลได้ เป็นรูปแบบใหม่ของสถาบันการศึกษาในโลกยุคไร้พรมแดน ใน
ที่นี่จะกล่าวถึงความหมายของห้องเรยี นเสมือน ประเภทของห้องเรียนเสมือน ข้อดีและข้อจำกัด และ
แนวทางการบริหารจัดการหอ้ งเรียนเสมอื น

2.2.1 ความหมายของห้องเรียนเสมือน
ห้องเรียนเสมือน (Virtual Classroom) หมายถึง การเรียนการสอนที่ผ่านระบบ

เครือข่ายคอมพิวเตอร์ท่ีเช่ือมโยงคอมพิวเตอร์ของผู้เรียน เข้าไว้กับเคร่ืองคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการ
เครือข่าย (File Server) และเครื่องคอมพิวเตอร์ผู้ให้บริการเว็บ (Web Server) อาจเป็นการเช่อื มโยง

เอกสารประกอบการสอน รายวิชา วทิ ยาการจดั การเรียนรู้

27

ระยะใกล้หรือระยะไกลผ่านทางระบบการสื่อสารและอินเทอร์เน็ตด้วย กระบวนการสอนผู้สอนจะ
ออกแบบระบบการเรียนการสอนไว้โดยกำหนดกิจกรรมการเรียนการสอน สื่อต่าง ๆ นำเสนอผ่าน
เว็บไซต์ประจำวิชา จัดสร้างเว็บเพจในแต่ละส่วนให้สมบูรณ์ ผู้เรียนจะเข้าสู่เว็บไซต์ประจำวิชาและ
ดำเนินการเรียนไปตามระบบการเรยี นที่ผู้สอนออกแบบไว้ในระบบโดยสรุปกล่าวไดว้ ่าได้ว่า ห้องเรียน
เสมือน (Virtual Classroom) หมายถึง วิธีการเรียนการสอนท่ีกรำผ่านระบบเครอื ข่ายคอมพิวเตอร์ท่ี
เช่ือมโยงคอมพิวเตอร์ของผ้เู รียนเขา้ ไวก้ ับเครื่อง คอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการเครือข่าย (File Server)
และคอมพิวเตอร์ผู้ให้บริการเว็บ (Web server) เป็นการเรียนการสอนท่ีจะมีการนัดเวลาหรือไม่นัด
เวลาก็ได้ และนัดสถานที่ นัดตัวบุคคล เพ่ือให้เกิดการเรียนการสอน มีการกำหนดตารางเวลาหรือ
ตารางสอน เข้าสู่กระบวนการเรียนการสอนพรอ้ ม ๆ กันหรือไม่พร้อมกัน มีการใชส้ ื่อการสอนท้ังภาพ
และเสียงผู้เรยี นสามารถรว่ มกิจกรรมกลุ่มหรอื ตอบ โต้แลกเปล่ียนความคดิ เห็นกับผู้สอนหรือกับเพ่ือน
ร่วมช้ันได้เต็มท่ี (คล้าย chat room) ส่วนผู้สอนสามารถตั้งโปรแกรมติดตามพัฒนาการประเมินผล
การเรียนรวมท้ังประสิทธภิ าพของหลกั สูตรได้ ท้ังนี้ไมจ่ ำกัดเรือ่ งสถานท่ีและเวลาของผู้เรยี นในชนั้ และ
ผ้สู อน

ภาพท่ี 2 หอ้ งเรียนเสมือน
ท่มี า : https://www.slideshare.net/edutec3637/virtual-classroom-58777992

2.2.2 ประเภทของห้องเรียนเสมือนจริงถูกจำแนกประเภทการเรียนในห้องเรียน
เสมอื นจรงิ ได้ 2 ลกั ษณะ คอื

1) จัดการเรียนการสอนในห้องเรียนธรรมดา แต่มีการถ่ายทอดสดภาพและเสียง
เกี่ยวกับบทเรียน โดยอาศัยระบบโทรคมนาคมและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไปยังผู้เรียนที่อยู่นอก
ห้องเรยี นนักศกึ ษาก็สามารถรบั ฟงั และติดตามการสอนของผู้สอนได้จากเคร่ืองคอมพิวเตอร์ของตนเอง
อีกท้ังยังสามารถโต้ตอบกับอาจารย์ผู้สอน หรือเพื่อนักศึกษาในชั้นเรียนได้ ห้องเรียนแบบน้ียังอาศัย
ส่ิงแวดลอ้ มทางกายภาพท่เี ปน็ จริง

2) การจัดห้องเรียนจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์สร้างภาพเสมือนจริงเรียกว่า
Virtual Reality โดยใช้สื่อท่ีเป็นตัวหนังสือ (Text-Based) หรือภาพกราฟิก (Graphical-Based) ส่ง
บทเรียนไปยังผู้เรียนโดยผ่านระบบโทรคมนาคมและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ห้องเรียนลักษณะนี้

เอกสารประกอบการสอน รายวิชา วทิ ยาการจดั การเรียนรู้

28

เรียกว่า Virtual Education Environment ซึ่งเป็น Virtual Classroom ที่แท้จริง การจัดการเรียน
การสอนทางไกลทั้งสองลักษณะน้ีในบางมหาวิทยาลัยก็ใช้ร่วมกัน คือมีท้ังแบบท่ีเป็นห้องเรียนจริง
และห้องเรียนเสมือนจริง การเรียนการสอนก็ผ่านทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เช่ือมโยงกันอยู่ท่ัวโลก
เช่นอนิ เทอรเ์ น็ต ขณะน้ีได้มีผพู้ ยายามจัดตงั้ มหาวิทยาลยั เสมือนจรงิ ขึ้นแล้ว โดยเชื่อมโยงผ่านเว็บไซต์
ต่าง ๆ ท่ีให้บริการ ด้านการเรียนการสอนทางไกลแบบ Virtual Classroom ต่าง ๆ เข้าด้วยกัน และ
จัดบริเวณอาคาร สถานท่ีห้องเรียน ห้องสมุด ภาควิชาต่าง ๆ ศูนย์บริการต่าง ๆ ตลอดจนคณาจารย์
นกั ศึกษา กิจกรรมทุกอย่างเสมือนเปน็ ชุมชนวิชาการจริง ๆ แต่ข้อมูลเหล่านี้จะอยู่ท่ีศูนย์คอมพิวเตอร์
ของแต่ละแห่งผู้ประสงค์จะเข้าร่วมในการเปิดบริการก็จะต้องจองเนื้อที่และเขียนโปรแกรมใส่ข้อมูล
เข้าไว้ เมื่อนักศึกษาติดต่อเข้ามา โปรแกรมคอมพิวเตอร์ก็จะแสดงภาพ เสียง ภาพเคล่ือนไหว และ
สามารถโตต้ อบได้เสมอื นหนงึ่ เปน็ มหาวทิ ยาลัยจริง ๆ

2.2.3 ขอ้ ดแี ละขอ้ จำกดั ของการเรียนการสอนแบบห้องเรยี นเสมือน
1) ขอ้ ดขี องการเรยี นการสอนแบบหอ้ งเรียนเสมือนมีดังน้ี
1.1) ผู้เรียนสามารถศึกษาอยู่ที่ใดก็ได้ ไม่มีความจำเป็นต้องเดินทาง ศึกษา

เวลาใดก็ได้ มีความสะดวกสบายประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง
1.2) ผู้เรียนสามารถแลกเปล่ียนข้อมูลข่าวสารกันได้ง่าย ในขณะที่การ

แลกเปล่ียนข้อมูลในห้องเรียนปกติ กระทำได้ยาก ผู้เรียนในระบบห้องเรียนเสมือนจะสามารถอธิบาย
ปญั หาร่วมกนั แลกเปล่ยี นโครงงานซึ่งกนั และกนั ได้

1.3) ผู้เรียนทุกคนมีโอกาสเท่าเทียมกัน ในการถามคำถาม การให้ข้อสังเกต
และการทำกิจกรรมรว่ มกันโอกาสการมสี ่วนรว่ มดว้ ยระบบสื่อสารด้วยคอมพวิ เตอร์เป็นส่อื กลาง

2) ข้อจำกดั ของการเรียนการสอนแบบห้องเรยี นเสมือนมีดงั น้ี
2.1) อปุ กรณ์และซอฟแวร์ ในการเรียนการสอนแบบหอ้ งเรียนเสมือน มีราคา

แพง ดังนั้น การเรียนการสอนด้วยวิธีนี้จึงมีข้อจำกัดในกลุ่มนักเรียนและโรงเรียนหรือ
สถาบันการศกึ ษาที่มฐี านะคอ่ นขา้ งดี

2.2) มีความล่าช้าในการรอข้อมูลย้อนกลับ การเรียนการสอนแบบห้องเรียน
เสมือนมักจะเป็นการเรียนต่างเวลาตามความพร้อมของผ้เู รยี นและผ้สู อน ดังน้ันนักเรยี นจึงไมส่ ามารถ
ได้รับคำตอบโดยทันทีเม่ือต้องการซักถามผู้สอน ซึ่งแตกต่างจากการเรียนการสอนในห้องเรียนแบบ
ปกติทีส่ ามารถโต้ตอบกันได้โดยทันที

2.3) ผู้เรียนต้องมีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี มิฉะน้ันสิ่งเหล่านี้
จะเป็นอุปสรรคสำคัญในการเรียนการสอนแบบห้องเรียนเสมือนปฏิสัมพันธ์ทางการเรียนไม่มีความ
เปน็ ธรรมชาตแิ ละมนี ้อยเกนิ ไปแมว้ ่าการเรยี นการสอนแบบห้องเรียน

2.4) ห้องเรียนเสมอื นจะมชี อ่ งทางที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถตดิ ต่อสอ่ื สาร
กับผู้เรียนอ่ืน ๆ ได้ แต่มนุษย์ก็ยังต้องการการติดต่อสื่อสารที่เห็นหน้า เห็นตา ท่าทาง และการ
แสดงออกในลักษณะต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความรู้สึก ความเข้าใจและความเชื่อม่ันทางความคิด ซ่ึงการ
เรียนการสอนแบบห้องเรียนเสมือนไม่สามารถตอบสนองข้อสงสัยหรือให้คำช้ีแนะโดยทันทีอย่างไม่มี
อุปสรรค

เอกสารประกอบการสอน รายวชิ า วทิ ยาการจดั การเรียนรู้

29

2.5) ผู้เรียนส่วนใหญ่ยังขาดความรับผิดชอบในการเรียนด้วยตนเองซึ่งเป็น
คณุ ลักษณะทส่ี ำคญั ในการเรียนการสอนแบบห้องเรยี นเสมือน

แม้ว่าต้นทุนในการจัดการเรียนการสอนแบบห้องเรียนเสมือนจะสูงมาก แต่ถ้า
หากมีการบริการจัดการจนมีประสิทธิภาพและเป็นท่ีแพร่หลายแล้ว ผลกำไรจะเกิดข้ึนกับสังคมและ
ประเทศชาติในรูปของคนส่วนใหญ่ของประเทศได้รับความรู้ซ่ึงเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาส่วน
ตา่ ง ๆ ของประเทศให้มคี วามเจริญกา้ วหนา้ ตอ่ ไปในอนาคต

2.2.4 แนวทางการบริหารจัดการห้องเรยี นเสมือน
การจัดการเรียนการสอนห้องเรียนเสมือนในท่ีน่ีเสนอเป็นการสอนผ่านเว็บ การ

เรียนการสอนแบบนี้ผู้สอนและผู้เรียนจะต้องมีปฏิสัมพันธ์กันโดยผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่
เช่ือมโยง คอมพิวเตอร์ของผู้เรียนเข้าไว้กับเครอ่ื งคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการเครือข่าย (File Server)
และเครื่องคอมพิวเตอร์ของ ผู้ให้บริการ เว็บ (Web Server) อาจเป็นเป็นการเช่ือมโดยระยะใกล้หรือ
เช่ือมโยงระยะไกลผ่านทางระบบการส่ือสาร และอินเทอร์เน็ตการจัดการเรียน การสอนทาง
อินเทอร์เน็ตที่เป็นเว็บน้ัน ผู้สอนจะต้องมีขั้นตอนการจัดการเรียนการสอน ดังนี้ (ปทีป เมธาคุณวุฒิ,
2540)

1) ขน้ั ตอนการจัดการเรยี นการสอนทางอนิ เทอร์เน็ต มีขัน้ ตอนดังน้ี
1.1) กำหนดวตั ถปุ ระสงคข์ องการเรียนการสอน
1.2) การวเิ คราะห์ผู้เรียน
1.3) การออกแบบเนอ้ื หารายวชิ า
1.4) การกำหนดกิจกรรมการเรียนการสอนผ่านเว็บ โดยใช้คุณสมบัติของ

อินเทอรเ์ น็ตท่เี หมาะสมกับกิจกรรมการเรยี นการสอนนั้น ๆ
1.5) การเตรียมความพร้อมสิ่งแวดล้อมการเรียนการสอนทางอินเทอร์เน็ต

ไดแ้ ก่ สำรวจแหล่งทรพั ยากรสนบั สนนุ การเรยี นการสอนทผี่ ู้เรียนสามารถเชื่อมโยงได้ กำหนดสถานท่ี
และอุปกรณ์ท่ีให้บริการและท่ีต้องใช้ในการติดต่อทางอินเทอร์เน็ต สร้างเว็บเพจเนื้อหาความรู้ตาม
หัวข้อของการเรียนการสอนรายสัปดาห์ สร้างแฟ้มข้อมูลเนื้อหารายวิชาเสริมการเรียนการสอน
สำหรบั ถ่ายโอนแฟม้ ขอ้ มูล

1.6) การปฐมนิเทศผู้เรียน ได้แก่ แจ้งวัตถุประสงค์ เนื้อหา และวิธีการเรียน
การสอน สำรวจความพร้อมของผู้เรียน และเตรียมความพร้อมของผู้เรียน ในข้ันตอนน้ีผู้สอนอาจจะ
ต้องมีการทดสอบ หรือสร้างเว็บเพจเพิ่มขึ้นเพื่อให้ผู้เรียนที่มีความรู้พ้ืนฐานไม่เพียงพอได้ศึกษา
เพ่ิมเติม ในเว็บเพจเรียนเสริม หรือให้ผู้เรียนถ่ายโอนข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ไปศึกษาเพิ่มเติมด้วย
ตนเอง

1.7) จัดการเรยี นการสอนตามแบบที่กำหนดไว้โดยในเว็บเพจจะมีเทคนิคและ
กิจกรรมต่าง ๆ ที่สามารถสร้างข้ึน ได้แก่ การใช้ข้อความเร้าความสนใจท่ีอาจเป็นภาพกราฟิก
ภาพเคลือ่ นไหว แจง้ วตั ถุประสงคเ์ ชิงพฤตกิ รรมของรายวชิ า หรอื หัวข้อในแตล่ ะสัปดาห์ สรปุ ทบทวน
ความรู้เดิมหรือโยงไปหัวข้อท่ีศึกษาแล้ว เสนอสาระของหัวข้อต่อไป เสนอแนะแนวทางการเรียนรู้
เช่น กิจกรรมสนทนาระหว่างผู้สอนกับผู้เรียนและ ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน กิจกรรมอภิปรายกลุ่ม

เอกสารประกอบการสอน รายวิชา วทิ ยาการจดั การเรียนรู้

30

กิจกรรมค้นคว้าหาข้อมูลเพ่ิมเติม กิจกรรมการตอบคำถาม กิจกรรมการประเมินตนเอง กิจกรรมการ
ถ่ายโอนข้อมูล เสนอกิจกรรมดังกล่าวมาแล้ว ให้ทำแบบฝึกหัด ค้นหาหนังสือ ส่งการบ้าน การทำ
รายงานเดี่ยว รายงานกลุ่ม ในแต่ละสัปดาห์ และแนวทางในการประเมินผลในรายวิชาน้ี ผู้เรียนทำ
กิจกรรม ศึกษา ทำแบบฝึกหัด และการบ้าน ส่งผู้สอนทั้งทางเอกสารทางเว็บเพจผลงานของผู้เรียน
เพื่อให้ผู้เรียนคนอ่ืน ๆ ได้รับทราบด้วย และผู้เรียนส่งผ่านทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ผู้สอนตรวจ
ผลงานของผู้เรียนส่งคะแนนและข้อมูลย้อนกลับเข้าสู่เว็บเพจประวัติของผู้เรียน รวมท้ังการให้ความ
คิดเห็นและข้อเสนอแนะต่าง ๆ ไปสูเ่ วบ็ เพจผลงานของผู้เรยี นด้วย

1.8) การประเมินผล ผู้สอนสามารถใช้การประเมินผลระหว่างเรียนและการ
ประเมินผลเมื่อสิ้นสุดการเรียน รวมทั้งการที่ผู้เรียนประเมินผลผู้สอน และการประเมินผลการจัดการ
เรยี นการสอนทงั้ รายวชิ า เพ่อื ให้ผ้สู อนนำไปปรบั ปรุงแก้ไข ระบบการเรียนการสอนทางอินเทอร์เนต็

2) ยุทธวิธีในการใช้การเรียนการสอนผ่านเว็บสามารถกระทำได้อย่างกว้างขวาง
โดยท าให้เกิดปฏิสัมพันธ์และเป็นการสร้างความหยืดหยุ่นในการเรียนการสอนระหว่างผู้สอนกับ
ผู้เรียน โดยผ่านกระบวนการท่ีสามารถกระทำได้บนเว็บ Hughes and Hewson (1998) ได้กำหนด
วธิ กี ารในการเรยี นการสอนผ่านเว็บ วา่ ควรมีสงิ่ ทพ่ี งึ ปฏบิ ัติดังตอ่ ไปน้ี

2.1) การแจง้ ล่วงหน้า (Notices) เป็นการใช้เวบ็ โดยกำหนดพ้ืนท่เี ฉพาะท่ีเป็น
บอร์ดในเว็บสำหรับอาจารย์กำหนดนัดหมายหรือส่ังงาน ซึ่งผู้เรียนอาจจะได้รับการแจ้งล่วงหน้าผ่าน
อีเมล์ หรอื การเผยแพรใ่ นกล่มุ เปน็ กจิ กรรมส่ือสารกันระหว่างผู้สอนและผูเ้ รยี น

2.2) การนำเสนอ (Presentations) เป็นการนำเสนอด้วยเว็บท่ีทำข้ึนท้ัง
ผู้สอนและผู้เรียนโดยนำเสนองานที่ได้รับมอบหมาย จัดทำแบบสัมมนาหรือประชุม นำเสนอผ่าน
เว็บไซต์ หรอื โดยอีเมล์ หรอื การเผยแพรใ่ นกล่มุ เป็นกิจกรรมสือ่ สารกันระหวา่ งผสู้ อนและผู้เรียน

2.3) การอภิปรายปกติ (Formal Discussions) เป็นการอภิปรายกันบนเว็บ
โดยการใช้อีเมล์และการประชุมสนทนาแบบกลุ่ม ซงึ่ เป็นเครือ่ งมือบนเว็บเหมือนประชุมสมั มนาซึง่ เป็น
กลุ่มสนทนาที่แสดงเป็นรูปภาพแทนผู้ใช้หรอื ผแู้ ทนชอื่ ของผู้ใชก้ ็ได้

2.4) การใช้คำถามโดยรอคำตอบ (Questioning) เป็นการกำหนดคำถามขึ้น
โดยผู้สอนใช้คำถามนำและให้ผู้เรยี นหาคำตอบ โดยคำตอบทีต่ อบมาถ้าตรงกับคำถามท่ีกำหนด ก็จะมี
การปอ้ นกลบั ไปยังผู้เรยี นเพ่ือการตอบสนองและประเมนิ ผล

2.5) การระดม (Brainstorms) เปน็ การออกแบบเพื่อให้เกดิ การตอบสนองต่อ
คำถามโดยผู้เรียนต้องร่วมกันคน้ หาคำตอบ กระตุ้นให้เกิดการอภิปรายภายในเว็บจากคำถามที่กำหนด
ในกิจกรรมเดยี วกนั

2.6) การกำหนดสภาพงาน (Task Setting) เป็นการกำหนดกระบวนการใน
การทำงานสง่ ตามกิจกรรมซ่งึ อาจจะเปน็ รายงานหรืองานกลุ่มย่อย ซึง่ อยู่ในรูปของเว็บไซต์ หรอื อเี มล์

2.7) แบบฝึกหัด (Class Quizzes) เป็นการทดสอบผลท้ังช้ันเรียน หรือถาม
เพ่ือประเมินผลของการเรียน ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี เช่น เป็นแบบตัวเลือก หรือคำถามส้ัน ๆ ท่ีจะ
มีการป้อนกลบั ตลอดเวลา และประเมนิ ผลตามวัตถปุ ระสงค์

เอกสารประกอบการสอน รายวิชา วทิ ยาการจดั การเรยี นรู้

31

2.8) การอภิปรายรายคู่นอกระบบหรอื การศึกษาเป็นกลุ่ม แบบการออกแบบ
พน้ื ที่ของการเรยี นการสอนผา่ นเว็บให้มีพ้ืนท่ีเฉพาะสำหรับการพบปะสนทนาอยา่ งไม่เป็นทางการ ราย
คู่หรือกลุ่มนอกเหนือจากขั้นตอนปกติในการสอน ซ่ึงสามารถทกเป็นสภากาแฟ ห้องสัมมนา ห้องพัก
ผ่อนห้องสมุด ฯลฯ ซ่ึงผู้ใช้เว็บสามารถเข้าไปทกกิจกรรมได้อิสระในเว็บไซต์ที่จัดไว้ และสร้าง
ความสัมพันธร์ ะหวา่ งผู้ใช้อย่างอิสระ

3) กิจกรรมของการเรียนการสอนผ่านเว็บ การเรียนการสอนผ่านเว็บจะต้อง
อาศยั คุณลักษณะของอินเทอร์เน็ต 3 ประการ (Doherty,1998 อ้างถึงใน สรรรัชต์ หอ่ ไพศาล, 2545)
ดงั น้ี

3.1) การนำเสนอ (Presentation) ในลักษณะของเว็บไซต์ท่ีประกอบไปด้วย
ข้อความกราฟิก ซึ่งสามารถนำเสนอได้อย่างเหมาะสมในลักษณะของสื่อ คือ 1) การนำเสนอแบบสื่อ
ทางเดียว เช่น ข้อความ 2) การนำเสนอแบบสื่อคู่ เช่น ข้อความกับกราฟิก 3) การนำเสนอแบบ
มัลตมิ เี ดยี ประกอบด้วย ข้อความ กราฟิก ภาพเคล่ือนไหวเสยี ง และภาพยนตร์ หรอื วีดโิ อ

3.2) การสื่อสาร (Communication) การส่ือสารจำเป็นที่จะต้องใช้ทุกวัน ซ่ึง
เป็นลักษณะสำคัญของอินเทอร์เน็ต โดยมีการส่ือสารหลายแบบ เช่น 1) การสื่อสารทางเดียว โดยดู
จากเว็บเพจ 2) การส่ือสารสองทาง เช่น การส่งอีเมล์ โต้ตอบกัน การสนทนาผ่านอินเทอร์เน็ต 3)
การส่ือสารแบบหน่ึงแหล่งไปหลายที่ เป็นการส่งข้อความจากแหล่งเดียวแพร่กระจายไปหลายแห่ง
เช่น การอภิปรายจากคนเดียวให้คนอ่ืน ๆ ได้รับฟังด้วยหรือการประชุมทางคอมพิวเตอร์ 4) การ
ส่ือสารหลายแหล่งไปสู่หลายแหล่ง เช่น การใช้กระบวนการกลุ่มในการส่ือสารบนเว็บ โดยมีคนใช้
หลายคนและคนรบั หลายคน

3.3) การก่อเกิดปฏิสัมพันธ์ (Dynamic Interaction) เป็นคุณลักษณะสำคัญ
ของอินเทอร์เน็ต มี 3 ลักษณะ คือ 1) การสืบค้น 2) การหาวิธีการเข้าสู่เว็บ 3) การตอบสนองของ
มนษุ ยใ์ นการใช้เว็บ

2.3 หอ้ งเรียนอจั ฉริยะ
ห้องเรียนอัจฉรยิ ะ (Smart Classroom) หมายถึง ห้องเรียน หรือแหล่งการเรียนที่

จัดทำขึ้นในลักษณะพิเศษท่ีแตกต่างไปจากห้องเรียนปกติโดยท่ัวไป เพ่ือใช้สำหรับการเสริมสร้างและ
พัฒนาประสบการณ์ทางการเรียนการสอน การฝึกอบรมรวมท้ังการฝึกทักษะ และความรู้ในด้าน
ต่าง ๆ ท่ีผู้เรยี นจะสามารถนำไปปรับใช้ในอนาคตได้ โดยมีจุดเน้นในด้านของการมปี ฏสิ ัมพันธ์ทางการ
เรียนร่วมกันกบั เทคโนโลยีที่หลากหลายของส่ือในรูปแบบต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดเป็นการเรียนการสอนทั้ง
ในระบบชั้นเรียนและนอกชั้นเรียนในการเรียนการสอนแบบทางไกลที่มีประสิทธิภาพ โดยผังมโนทศั น์
ของห้องเรียนอจั ฉรยิ ะ ดงั น้ี

Junfeng Yang (2013 อ้างถึงใน Huang et.al, 2013, online) ได้มีการกำหนด
มโนทัศน์ (Concept) ท่ีบ่งบอกถึงความหมายของคำว่า SMART Classroom ซ่ึงมาจากคำสำคัญที่
แสดงใหเ้ หน็ ในมิตใิ นดา้ นต่าง ๆ ดังตอ่ ไปนี้

เอกสารประกอบการสอน รายวชิ า วทิ ยาการจดั การเรียนรู้

32

ภาพท่ี 3 ผังมโนทศั น์ของห้องเรียนอจั ฉริยะ Junfeng Yang (2013)
ที่มา : Huang et.al (2013, online)

“Optimizing Classroom Environment to Support Technology Enhanced Learning”
1) S : Showing ความสามารถในการนำเสนอข้อมูลสารสนเทศในการเรียนการสอน

ผา่ นสื่อเทคโนโลยกี ารสอน
2) M : Manageable ความสามารถในเชิงการบริหารจัดการด้านการจัดระบบการ

สอน สอ่ื อุปกรณ์ ทรัพยากร แหลง่ ทรัพยากร และสภาพแวดลอ้ มในห้องเรยี นอัจฉรยิ ะ
3) A : Accessible ความสามารถในการเข้าถึงแหล่งข้อมูลทางการเรียนจากการใช้

สือ่ ,เครอื่ งมือ และอุปกรณใ์ นหอ้ งเรียนอจั ฉริยะ
4) R : Real-time Interactive ความสามารถในการมีปฏิสัมพันธ์เชิงโต้ตอบขณะ

สร้างประสบการณ์ทางการเรียนการสอน รวมท้ังการเรียนผ่านส่ือ เครื่องมือ และอุปกรณ์เทคโนโลยี
เชงิ โต้ตอบในหอ้ งเรยี นอจั ฉริยะ

5) T : Testing ความสามารถด้านการทดสอบ หรือการตรวจสอบเชิงคุณภาพ
สำหรับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และการตรวจสอบพฤติกรรมทางการเรียนจากการใช้
หอ้ งเรยี นอจั ฉริยะ

แนวคิดทางการศกึ ษากบั ห้องเรียนอจั ฉรยิ ะ
ห้องเรียนอัจฉริยะเป็นหนึ่งในนวัตกรรมท่ีสอดคล้องกับแนวคิดทางด้าน

เทคโนโลยีการศึกษาสำหรับการจัดการศึกษาไทยทางไกลรูปแบบหน่ึงที่ต้องการมุ่งเน้นให้ผู้เรียน
สามารถเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อการเรียน โดยสามารถจัดการเรียนการสอนท่ีผู้เรียน
สามารถเรียนได้ด้วยตนเองผ่านช่องทางของเทคโนโลยีต่าง ๆ และระบบอินเทอร์เน็ต (วันวิสาข์ เคน,
2556) ซึ่งนับว่าเป็นนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษาที่มกี ารผสมผสานกนั อย่างลงตวั ซึง่ แนวคิดของ
นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษากับการเรียนการสอนแบบห้องเรียนอัจฉริยะ (ณมน จีรังสุวรรณ,
2556) สามารถสรปุ ได้ ดงั นี้

1) แนวคิดด้านความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different) การ
จัดการเรียนการสอนห้องเรียนอัจฉริยะที่ผู้เรียนสามารถเรียนด้วยตนเองนั้น ผู้เรียนจะเกิดการ
แลกเปล่ียนข้อมูลความรู้ และประสบการณ์ทางการเรียนท่ีผู้เรียนแต่ละบุคคลสามารถเรียนรู้ได้จาก

เอกสารประกอบการสอน รายวชิ า วทิ ยาการจดั การเรียนรู้

33

ช่องทางต่าง ๆ แล้วนำความรู้ที่ได้มาน้ันมาร่วมแลกเปลี่ยน วิเคราะห์ สังเคราะห์ และประมวลผล
เพื่อให้เกิดเป็นองค์ความรู้ใหม่ และสามารถนำความรู้ท่ีได้ไปประยุกต์ใช้กับการเรียนรายวิชาต่าง ๆ
หรอื ในชวี ิตประจำวัน

2) แนวคิดด้านความพร้อม (Readiness) การจัดรายวิชาสำหรับการเรียนการ
สอนห้องเรียนอัจฉรยิ ะสามารถเช่ือมโยงกับหลักจติ วิทยาการเรียนรู้ท่ีช้ีให้เห็นความพร้อมในการเรียน
ของแต่ละบุคคลน้ันเป็นส่ิงที่สามารถสร้างขึ้นเองได้ หากได้มีการจัดการกับรายวิชาให้เหมาะสมกับ
ระดับความสามารถของผู้เรียนในแต่ละบุคคล โดยการเรียนการสอนห้องเรียนอัจฉริยะจะมีความ
หลากหลาย และเหมาะสมกับความพร้อมของผเู้ รยี นแต่ละบุคคล

3) แนวคิดด้านการเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (Learner Centered) แนวคิดน้ีจะ
เกี่ยวข้องกับบทบาทของผู้เรียนเป็นอย่างมากในการค้นหา การคิดวิเคราะห์ และการคิดสังเคราะห์
ข้อมูลความรู้น้ันด้วยตนเอง และผู้เรียนยังมีส่วนสำคัญท่ีผู้สอนจะต้องจัดแผนการศึกษา รูปแบบ
วธิ ีการสอนและกจิ กรรมในการเรยี น รวมถึงการประเมินผลให้รอ้ ยรดั กับความสามารถของผู้เรยี น โดย
ทัง้ หมดขน้ึ อยกู่ บั ผเู้ รียนเปน็ สำคญั

4) แนวคิดด้านการเรียนแบบร่วมมือ (Cooperative Learning) แนวคิดนี้จะ
ช่วยให้ผู้เรียนเกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ รวมถึงความกล้าในการซักถาม หรือการแลกเปลี่ยนความรู้
ระหว่างกัน และสร้างบรรยากาศในการเรียนเพ่ือลดความวิตกกังวลในการจัดการเรียนการสอน โดย
การนำเทคโนโลยีการศึกษามาใช้ในการออกแบบและสร้างช่องทางในการแลกเปลี่ยนข้อมูล การ
ติดต่อส่ือสารระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน ผู้เรียนกับผู้สอน และผู้เรียนกับสื่อต่าง ๆ ได้หลากหลายช่อง
ทางผา่ นระบบอนิ เทอร์เน็ต

5) แนวคิดด้านการลดปัญหาความเหล่ือมล้าทางการศึกษา (To reduce
inequality in education) เนื่องจากในปัจจุบันการปฏิสัมพันธ์ทางความรู้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจาก
เทคโนโลยีและระบบอนิ เทอร์เน็ต ดังนั้นการท่ีผู้สอนจะถ่ายทอดให้ผเู้ รียนอย่างเดียวอาจจะไม่ทันกาล
และความรู้ใหม่เกิดขึ้นตลอดเวลา ดังน้ันวิธีการทีผู้สอนจะถ่ายทอดให้ผู้เรียนได้ดีที่สุด คือ เคร่ืองมือ
สำหรับการเข้าถึงความรู้เหล่านั้นได้ด้วยตนเอง โดยมีผู้สอนทำหน้าท่ีเป็นผู้คอยให้คำแนะนำ และ
บริหารจัดการอย่างรัดกุมจากที่กล่าวมาข้างต้นห้องเรียนอัจฉริยะจึงเป็น รูปแบบการเรียนการสอนที่
บูรณาการแนวคิดของนวตั กรรมและเทคโนโลยีการศกึ ษาที่หลากหลาย ซ่งึ จะส่งผลให้ผู้เรียนเกดิ ความ
ใฝเ่ รยี นใฝ่รอู้ ย่างต่อเนื่อง และยังสามารถพัฒนาทักษะต่าง ๆ ท่ีเกยี่ วขอ้ งกับการเรยี นในศตวรรษท่ี 21
อีกดว้ ย

ดังน้ันแนวคิดของการศึกษากับห้องเรียนอัจฉริยะ จึงเป็นหนึ่งในนวัตกรรมท่ี
สอดคล้องกับแนวคิดทางด้านเทคโนโลยีการศึกษาสำหรับการจัดการศึกษาไทยทางไกลรูปแบบหน่ึงท่ี
ต้องการมุ่งเน้นให้ผู้เรียนสามารถเพ่ิมประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อการเรียน โดยสามารถจัดการ
เรียนการสอนท่ีผู้เรียนสามารถเรียนได้ด้วยตนเองผ่านช่องทางของเทคโนโลยีต่าง ๆ และระบบ
อนิ เทอร์เนต็

เอกสารประกอบการสอน รายวชิ า วทิ ยาการจดั การเรียนรู้

34

แนวทางการบริหารจดั การช้ันเรียน

1. แนวทางการบรหิ ารจดั การช้ันเรียนเพื่อการเรยี นร้ทู มี่ ีความสุข

การบริหารจัดการช้ันเรียนเพื่อการเรียนรู้ที่มีความสุขน้ัน ควรจัดให้สภาพแวดล้อมท่ี
ส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ด้วย เนื่องจากปัจจุบันเป็นยุคแห่งเทคโนโลยี ผู้เรียนสามารถ
เรียนรู้ได้ตลอดเวลา ผู้เรียนสามารถหาประสบการณ์ด้วยตนเอง ส่งเสริมให้รู้จักคิด วิเคราะห์
แก้ปัญหาอยา่ งสร้างสรรค์ มีคณุ ลักษณะอันพึงประสงค์ ณิรดา เวชญาลักษณ์ (2261, หนา้ 40-41) ได้
เสนอกลยุทธ์การจัดชนั้ เรียนดงั ต่อไปนี้

1. การวางแผนการเรียนการสอนในช้ันเรียนจัดเตรียมองค์ประกอบที่มีผลต่อการ
เรียนรู้ ได้แก่ เน้ือหาวิชา วิธสี อน การวดั และประเมินผล สภาพแวดล้อมในชั้นเรียน และควรวางแผน
ร่วมกับบุคลากรท่ีเกี่ยวข้องใหผ้ ้รู ับผิดชอบในแต่ละพื้นท่ีเพอ่ื การบริหารจัดการท่ีมีประสิทธิภาพและจัด
ชนั้ เรียนดังน้ี

1.1 จัดช้ันเรียนให้มีความยืดหยุ่นตามความเหมานะสม ควรเป็นห้องใหญ่
กว้างขวาง สะดวกในการโยกย้าย เพื่อประโยชน์การจดั การเรยี นการสอนแบบกลุ่ม

1.2 จดั ช้นั เรียนให้มีอุปกรณ์ในการทำกิจกรรมอย่างสร้างสรรค์ เช่น หนังสืออ่าน
ประกอบทน่ี ่าสนใจตามมมุ ห้อง

1.3 จัดช้ันเรียนให้มีสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ที่ส่งเสริมสติปัญญา อารมณ์
และ สังคม เชน่ การจัดสวนดอกไม้ ต้นไมใ้ หญท่ ่ีร่มรื่น

1.4 จดั ชั้นเรียนให้เหมาะสม สามารถดูแลความสะอาดได้งา่ ย
1.5 จัดชนั้ เรียนให้เอื้อต่อหลักสูตร การจัดการเรียนการสอนโดนเน้นผู้เรียนเป็น
ศนู ย์กลาง
1.6 จัดช้ันเรียนที่มีความทันสมัยด้านเทคโนโลยีและระบบอินเทอร์เน็ต เพื่อ
การศกึ ษาคน้ ควา้
2. ดำเนินการสอนโดยการเน้นการจัดกิจกรรรมการเรียนการสอนตามสภาพจริง
การเรียนรู้ดว้ ยตนเอง การเรียนรู้รว่ มกัน การเรียนรู้จากธรรมชาติ การเรยี รู้จากการปฏบิ ัติจรงิ ผู้สอน
กระตุ้นแรงจูงใจผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนได้รับประโยชน์สูงสุดต่อการดำเนินการเรียนการสอนในแต่ละ
คร้งั
3. ประเมนิ ผลการจดั การเรยี นการสอนจากพฤติกรรม และวัตถุประสงคม์ รแผนการ
สอนเปรียบเทียบกับเปา้ หมายท่ีวางไว้
4. การปฏบิ ตั หิ ลังการประเมินผลเพ่อื ปรบั ปรงุ กิจกรรมการเรยี นการสอน
ความสัมพันธ์ของการจดั ช้ันเรียนและการจัดการเรียนการสอน ไมส่ ามารถแยกจากกนั ได้
ดังนั้น ผู้สอนจึงเป็นผู้นำการเรียนรู้สู่ช้นั เรียนให้ผู้เรียนรู้สึกอยากเรียน และจดั บรรยากาศช้ันเรียนท่ีทำ
ให้ผ้เู รียนกระตอื รอื ร้น ฝึกให้ผู้เรียนตระหนักถึงกระบวนการเรยี นรู้ ส่งเสรมิ ให้ผ้เู รียนสามารถเรียนรู้ได้
ตลอดชีวิตในชั้นเรียนท่ีเอื้อต่อหลักสูตร มีอุปรกณ์ที่ทันสมัย สามารถทำกิจกรรมร่วมกันในช้ันเรียน
อย่างมีความสุข

เอกสารประกอบการสอน รายวชิ า วทิ ยาการจดั การเรยี นรู้

35

2. แนวทางการบรหิ ารจัดการชั้นเรยี นตามมาตรฐานหอ้ งเรียนคณุ ภาพ

ห้องเรียนคุณภาพ (สำนักงานเขตพ้ืนที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 1, 2556, หน้า
51-52) หมายถงึ ห้องเรยี นท่ีมบี รรยากาศที่เอือ้ ต่อการเรียนรู้ มีการดำเนินงานธรุ การชัน้ เรยี นครบถ้วน
ถูกต้องเป็นปัจจุบัน มีสื่อการเรียนการสอนท่ีเหมาะสม มีการรายงานพัฒนานักเรียนและมีระบบดูแล
ชว่ ยเหลือนักเรียนในห้องเรียน

ห้องเรียนคุณภาพ (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาข้ันพื้นฐาน และคณะครุศาสตร์
จฬุ าลงกรณ์มหาวิทยาลยั , 2558, หน้า 11 ; สำนักงานเขตพ้ืนท่ีการศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2,
2558, หน้า 3) หมายถึง ห้องเรียนที่มีการจัดสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกท่ีเอื้อที่เอื้อต่อ
คุณภาพนักเรียนเกิดข้ึนในช้ันเรียนอย่างแท้จริง มีครูผู้สอนจัดการเรียนรู้ได้คุณภาพตามมาตรฐาน
และนักเรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาและมาตรฐานตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้น
พ้นื ฐานพทุ ธศักราช 2551

สรุปแลว้ ห้องเรยี นคุณภาพ หมายถงึ หอ้ งเรียนท่มี ีบรรยากาศท่ีเอ้อื ต่อการเรยี นรู้ มีครู
เป็นผูจ้ ัดการเรียนรู้ทเี่ น้นคุณภาพให้เกดิ ข้ึนในห้องเรียนและนกั เรียนมีคณุ ภาพตามมาตรฐานการศึกษา
และมาตรฐานตามหลกั สูตรแกนกลางการศกึ ษาข้นั พน้ื ฐาน พุทธศกั ราช 2551

ศุภรัตน์ อุปถะ (2555, หน้า 1-2), สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน และ
คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (2558, หน้า 14-55) ได้ให้แนวทางการพัฒนาห้องเรียนให้
ได้มาตรฐานเป็นห้องเรียนคุณภาพ ท่ีสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพ้ืนฐานกำหนด เป็น
แนวทางสำหรับครูโดยตรงที่จะเป็นผู้จัดการเรียนรู้ท่ีเน้นคุณภาพให้เกิดข้ึนในช้ันเรียนอย่างแท้จริง
ภายใตแ้ นวทาง มี 5 ประการ คอื

1. นำการเปลี่ยนแปลงสู่ห้องเรียนคุณภาพ จะต้องเปล่ียน/ยกระดับคุณภาพของ
ผู้เรียนให้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่เป็นรูปธรรมชัดเจน (ผลสัมฤทธิ์ตามหลักสูตรจะต้องเกิดการ
เปลย่ี นแปลงในทางที่ดีข้ึน)

2. ออกแบบการจัดการเรียนรู้อิงมาตรฐาน ส่ิงสำคัญของการจดั ทำหน่วยการเรียนรู้
องิ มาตรฐาน มีดังน้ี

2.1 การจัดการเรียนรู้ในแต่ละหน่วยการเรียนรู้ ต้องนำพาผู้เรียนให้บรรลุ
มาตรฐานและตัวชี้วัดช้ันปที ีร่ ะบใุ นหน่วยการเรียนรู้นน้ั ๆ

2.2 การวัดและประเมินผลชิ้นงานหรือภาระงานที่ก าหนดในหน่วยการเรียนรู้
ควรเปน็ การประเมนิ การปฏบิ ตั ิหรอื การแสดงความสามารถผ้เู รียน (Performance Assessment)

2.3 ช้ินงานหรือภาระงานท่ีกำหนดให้นักเรียนปฏิบัติ ควรเชื่อมโยงมาตรฐาน
และตัวชี้วัด 2-3 มาตรฐาน/ตัวชวี้ ัด

2.4 มีความยืดหยุ่นในกระบวนการ และข้ันตอนการจัดทำหน่วยการเรียนรู้ เช่น
อาจเร่ิมต้นจากการวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดช้ันปี หรืออาจเริ่มจากความสนใจของ
นักเรยี นหรอื สภาพปญั หาของชมุ ชนก็ได้

แนวคิดการออกแบบหน่วยการเรียนรู้อิงมาตรฐานท่ีสำคัญคือ แนวคิดการออกแบบ
ย้อนกลับ (Backward Design) การออกแบบย้อนกลับ (Backward Design) หมายถึง การสร้าง

เอกสารประกอบการสอน รายวิชา วทิ ยาการจดั การเรยี นรู้

36

หลกั สูตรและหนว่ ยการเรียนรู้ (Unit of Learning) ดว้ ยการเร่ิมจากการประเมนิ สู่การจดั กิจกรรมการ
เรียนรู้ นักหลักสูตรเรียก Backward Design ว่า กระบวนการพัฒนาหลักสูตรด้วยการออกแบบ
ย้อนกลับ (Backward development process) ซึ่งการออกแบบย้อนกลับในการพัฒนาหลักสูตรอิง
มาตรฐานนั้น เริ่มมาจากการก าหนดเป้าหมาย (O) ว่าผู้เรียนต้องเรียนอะไร สามารถคิดและปฏิบัติ
เร่ืองใด รวมทั้งต้องมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์อะไร โดยให้สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้และ
ตัวช้ีวัด แล้วกำหนดการประเมินการเรียนรู้ (E) ที่เน้นหลักฐานที่แสดงความเข้าใจ (Evidences of
Understanding) ตามมาตรฐานการเรียนรู้ จากนั้นจึงจัดประสบการณ์การเรียนรู้ (L) ให้ได้ตรงตาม
เป้าหมายทก่ี ำหนดข้างต้น

3. การวิจัยในช้ันเรียน (Classroom Action Research- CAR) ) ให้ความสำคัญกับ
การสร้างนวัตกรรมท่ีเหมาะสมกับธรรมชาติของผู้เรียนหรือเน้ือหาวิชาเพื่อยกระดับคุณภาพการเรียน
การสอนอยา่ งต่อเนื่อง

การวิจัยในช้ันเรียน เป็นการวิจัยปฏิบัติการท่ีครูผู้สอนเป็นผู้ดำเนินการวิจัย โดย
ดำเนินการควบคู่ไปกับการเรียนการสอน เพื่อการแก้ปัญหาหรือพัฒนาผู้เรียน โดยมีเป้าหมายเพื่อนำ
ผลไปปฏิบตั ิงานจริงเพื่อพัฒนาการเรียนรทู้ ้ังของผสู้ อนและผู้เรยี นเหตุและปัจจัยทที่ ำใหค้ รูต้องทำวจิ ัย
ปฏิบัติการในช้นั เรียน มีเหตผุ ลหลายประการที่เก่ียวขอ้ งกับกฎหมายทางการศกึ ษาและข้อกำหนดของ
คุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพครูและเพ่ือให้เป็นไปตามเกณฑ์ในการประเมินตรวจสอบทบทวน
คุณภาพภายในของ สพฐ. และการประเมนิ คุณภาพภายนอกของ สมศ.

4. การใช้ ICT เพ่ือการสอนและสนับสนุนการสอน การนำ ICT ไปใช้ในการเรียน
การสอนอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นเรื่องที่ได้รับการกล่าวถึงอย่างกว้างขวางในวงการศึกษา ทั้งน้ี
เนื่องจาก ICT เป็นเคร่ืองมือที่ได้รับการยอมรับว่ามีศักยภาพสูงกว่าเครื่องมือการสอนอื่น ๆ เรา
สามารถใช้ ICT เพ่ือปรับปรุงคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนได้ คำว่า “ICT” ย่อมาจาก Information
and Communication Technologies ซ่ึง I ย่อมาจากคาว่า Information คือ ระบบสารสนเทศ
C ย่อมาจากคำว่า Communication คือ การส่ือสาร และ T ย่อมาจากคำว่า Technology คือ
เทคโนโลยี ในที่น้ี คือ คอมพิวเตอร์

ความสำคญั การใช้ ICT เพอื่ การสอนและสนบั สนุนการสอน ดงั นี้
1) การเรียนมิได้มีเฉพาะในห้องเรียน การเรียนไม่ใช่ส่ิงท่ีเกิดขึ้นเฉพาะใน

ห้องเรียนและอยู่ภายใต้การควบคุมก ากับของครูเท่าน้ัน ในโลกยุคปัจจุบันคนสามารถท่ีจะเรียนได้
จากแหลง่ ความรู้ ที่หลากหลาย โดยเฉพาะทางดว่ นข้อมูล (Information Superhighway)

2) ผู้เรียนมีความแตกต่างระหว่างบุคคล เด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน จึง
จำเป็นจะต้องจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความแตกตา่ งระหวา่ งบุคคล เพราะเด็กแต่ละคนมี
ความรู้ ความเข้าใจ ประสบการณ์ และการมองโลกแตกตา่ งกนั ออกไป

3) การเรียนทตี่ อบสนองความต้องการรายคน การจดั การศกึ ษาทส่ี อนเดก็ จำนวน
มาก (Mass Production Education) โดยรูปแบบท่ีจัดเป็นรายช้ันเรียนในปัจจุบัน ไม่สามารถท่ีจะ
ตอบสนองความต้องการของเด็กเป็นรายคนได้ แต่ด้วยพลังอำนาจและประสิทธิภาพของเทคโนโลยี

เอกสารประกอบการสอน รายวชิ า วทิ ยาการจดั การเรียนรู้

37

คอมพิวเตอร์การเรียนตามความต้องการของแต่ละคน (Tailor-made Education) สามารถจะเป็น
จรงิ ได้ โดยมคี รูคอยใหก้ ารดูแลชว่ ยเหลอื และแนะนำ

4) การเรียนโดยใช้สื่อประสม ในอนาคตห้องเรียนทุกห้องจะมีสื่อประสม
(Multimedia) จากเครือข่ายคอมพวิ เตอร์ท่เี ด็กสามารถเลือกเรียนเรื่องต่าง ๆ ไดต้ ามความต้องการซึ่ง
ในปัจจุบันได้มีบริษัทธุรกิจต่าง ๆ ผลติ ส่ือประสมไว้มากมายหลายรูปแบบ และสอดคล้องกับเน้ือหาท่ี
จะเรยี น สื่อประสมจะเข้ามาในรูปของซีดีรอม (CD - Rom) บนทางด่วนข้อมูลโดยต่อเชื่อมโยงเข้ากับ
Internet ท่ีเป็นระบบ World Wide Web ช่วยให้เด็กสามารถเห็นภาพ ฟังเสียง ดูการเคล่ือนไหว
ฯลฯ และมีสถานการณ์สมมตุ ิต่าง ๆ ที่ช่วยใหเ้ ด็กเรียนรกู้ ารแก้ปัญหาดว้ ยตนเองได้

5) บทบาทของทางด่วนข้อมลู กับการสอนของครู ปัจจบุ ันครูต้องทำงานหนักเพื่อ
เตรียมการสอนตลอดเวลา แต่ด้วยระบบเครือข่ายทางด่วนข้อมูลจะทำให้ได้ครูท่ีสอนเก่งจากที่ต่าง ๆ
มากมายมาเป็นต้นแบบ และสิ่งที่ครูสอนน้ันแทนที่จะใช้กับเด็กเพียงกลุ่มเดียวก็สามารถ สร้าง Web
Site ของตนหรือของโรงเรยี นขึน้ มาเพื่อเผยแพร่ออกไปให้โรงเรียนอื่นไดใ้ ช้ดว้ ย ทางดว่ นข้อมลู ทที่ ำให้
สือ่ สารระหว่างกนั ได้ (interactive network) จะช่วยปฏิวัติเร่ืองการเรียนการสอน

6) บทบาทของครูท่ีเปลี่ยนไป ครูจะมีหลายบทบาทหน้าท่ีคือบทบาทที่ 1 ทำ
หน้าที่เหมือนกับผู้ฝึก (Coach) ของนักศึกษา คอยช่วยเหลือให้คำแนะนำบทบาทที่ 3 เป็นทางออกที่
สร้างสรรค์ (Creative Outlet) ให้กับเด็กบทบาทท่ี 4 เป็นสะพานการสื่อสารที่เชื่อมโยงระหว่างเด็ก
กบั โลก ซงึ่ อันนี้ก็คือบทบาทท่ียิ่งใหญ่ ของครู ถ้าครูทำบทบาทอย่างน้ีได้ การเรียนการสอนจะมีความ
สนกุ สนานขน้ึ อย่างมาก

7) คอมพวิ เตอร์กับความเป็นมนุษย์ ในการนำระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้น้ัน ครู
และนักเรียนสามารถอยู่กับคอมพิวเตอร์ได้โดยไม่ทำศักด์ิศรีหรือความเป็นมนุษย์ เพราะบทบาทของ
ครกู ็ยงั คงอยู่ และจะมคี วามสำคญั ยง่ิ ขน้ึ ถ้าเราสามารถปรบั บทบาทของครูให้เข้าใจในเรื่องน้ีได้

5. การสร้างวนิ ยั เชิงบวก (Positive Discipline) เนน้ การปลูกฝังคณุ ธรรมจริยธรรม
หรอื คุณลักษณะด้วยกระบวนการเสรมิ แรงเชิงบวก

วินัยเชิงบวก หมายถึง การอบรมสั่งสอนเด็กโดยปราศจากความรุนแรงและเคารพ
ศักด์ิศรีในความเป็นมนุษย์ของเด็กในฐานะผู้เรียนรู้ เป็นวิธีการสอนที่ช่วยให้เด็กประสบความสำเร็จ
ได้รับข้อมูลที่จำเป็นตอ่ การเรียนรู้ และส่งเสรมิ การพัฒนาตนเองของเดก็

บางครั้งการสร้างวินยั มกั เป็นคำท่ีใช้กันมาอยา่ งผิด ๆ โดยเอาไปสบั สนกับการลงโทษ
สำหรับครูหลายคน คำว่าสร้างวินัยก็คือการลงโทษน่ันเอง เช่นที่ครูบอกว่า “เด็กคนนี้ต้องเอามาฝึก
วินัย” มักจะหมายความว่า “เด็กคนน้ีตอ้ งตีเสยี ให้เข็ด” หรือเอามาลงโทษด้วยวิธรี ุนแรงอื่น ๆ น่ันเอง
แต่ความจริงแล้ว การสร้างวินัยเป็นการขัดเกลาพฤติกรรมของเด็ก และช่วยให้เด็กได้เรียนรู้การ
ควบคุมตนเองไปพร้อม ๆ กับการให้กำลังใจ ไม่ใช่วิธกี ารอ่ืนท่ีไม่เอื้อต่อการเรียนรู้ ซึ่งการสร้างวินยั จะ
มุ่งพัฒนาพฤติกรรมมากกว่าโดยเฉพาะอย่างย่ิงในด้านการมีความประพฤติท่ีเหมาะสม และเคารพ
กฎระเบียบในสังคม โดยเน้นท่ีพฤติกรรมท่ีเด็กจำเป็นต้องเรียนรู้ ปฏิบัติต่อเด็กโดยปราศจากการใช้
ความรุนแรงและให้ความเคารพในศักด์ิศรี สิทธิของตนเองและผู้อื่นการสร้างวินัยเชิงบวก เป็นเร่ือง
ของการแก้ปัญหาในระยะยาวเพ่ือพัฒนาการสร้างวินัยในตนเองของเด็ก มีการสื่อสารอย่างชัดเจน

เอกสารประกอบการสอน รายวชิ า วทิ ยาการจดั การเรียนรู้

38

เกี่ยวกับความคาดหวัง กฎระเบียบและการกำหนดขอบเขตพฤติกรรมอยา่ งมเี ป้าหมาย การสร้างวินัย
เชิงบวกท่ีได้ผลดีต้องสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้ใหญ่กับเด็กให้ความเคารพซึ่งกันและกัน เสริมสร้าง
ความสามารถและความมั่นใจให้เด็กสามารถที่จะจัดการกับสถานการณ์ที่ท้าทาย สอนให้รู้จักมี
มารยาท การไม่ใช้ความรุนแรง การเข้าถึงจิตใจผู้อ่ืน การเคารพในศักดิ์ศรีของตนเอง สิทธิมนุษยชน
และเคารพผู้อ่ืน มีทักษะการดำรงชีวิตที่ดีให้เด็กได้ใช้ไปตลอดชีวิตการสร้างวินัยเชิงบวกในห้องเรียน
เด็กจำเป็นต้องได้รับการอบรมส่ังสอน เพื่อให้เข้าใจและปฏิบัติตามระเบียบของสังคม แต่ไม่มีความ
จำเป็นอะไรท่ีจะต้องเฆ่ียนตีหรือทารุณทำร้ายเด็กเพราะจะเกิดความเสียหายต่อเด็กเป็นอย่างมาก
หลักฐานจากการวิจัยแสดงให้เห็นว่าเด็กท้ังหญิงและชายจะตอบสนองต่อวิธีการเชิงบวกได้ดีกว่า ซ่ึง
หมายรวมถึงการต่อรอง และการสร้างระบบการให้รางวัลมากกว่าการลงโทษด้วยการทำร้ายร่างกาย
หรือใช้วาจาทำร้ายจิตใจ

3. แนวทางการบริหารจดั การชั้นเรียนในยคุ ดิจิทัล

การเปลี่ยนแปลงของสังคมแห่งโลกเทคโนโลยีและจากสภาพงานใหม่ ๆ ท่ีเกิดขึ้นใน
ปัจจุบันและอนาคต จะเห็นว่าต้องใช้ทักษะนอกเหนือจากการคิดวิเคราะห์แล้ว ณิรดา เวชญาลักษณ์
(2561, หน้า 189-191) ได้กล่าวว่า การบริหารจัดการชั้นเรียนควรเปลี่ยนแปลงไปตามวิธีการสอน
หรือการออกแบบการเรียนรู้ของผู้สอนให้สอดคล้องกับสิ่งท่ีผู้เรียนต้องการเรียนรู้เพ่ือให้ผู้เรียนพร้อม
รับต่อสงั คมลกั ษณะงานและสาขาอาชีพในอนาคต

การบริหารจัดการช้ันเรียนต้องเปลี่ยนรูปแบบทท้ังด้านการสอนและสภาพในช้ันเรียน
จากเดิมและต้องเป็นการเรียนและการประเมินผลรูปแบบใหม่ เช่น PBL หรือ CBL เพ่ือพัฒนาทักษะ
สำคญั 3 ด้านของผเู้ รยี น คือ

1. ทักษะในการค้นควา้ หาความรู้ สังคมปัจจุบันและอนาคต ที่เป็นสังคมแห่งข้อมูล
ข่าวสาร การสสอนแบบเดิมคือการบอกเล่าและเป็นการฝึกให้ผู้เรียนทำตามจึงไม่ทำให้ผู้เรียนนได้คิด
วิเคราะห์ ไม่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมใหม่ทางด้านอาชีพและสังคมท่ีต้องการคนที่มีทักษะ การ
บริหารจัดการชน้ั เรยี นเพอ่ื รองรับอนาคตจะช่วยให้ผู้เรยี นรจู้ ักแยกแยะขอ้ มลู ท่ีมีอยู่มากมายวา่ เรอ่ื งใด
จึงมีความน่าเช่ือถือเพียงใด ช่วยให้ผู้เรียนคุ้นเคยต่อการค้นหาความรู้ต่าง ๆ ที่นอกเหนือจากตำรา
และทำให้รู้ว่าความรู้ต่าง ๆ น้ัน มีการเปลี่ยนแปลงจึงต้องเตรียมตัวที่จะเรียนรู้เรื่องราวใหม่ ๆ ชั้น
เรียนแห่งอนาคตควรท่ีจะออกแบบให้ผู้เรียนได้ฝึกฝนอาชีพ กระตือรือร้น และเรียนรู้ในเรื่องที่ผู้เรียน
สนใจ

2. ทักษะในการทำงาน การบริหารจัดการช้ันเรียนเพื่อส่งเสริมผู้เรียนให้ได้เรียนรู้
ทักษะในการทำงาน เช่น การส่ือสาร การนำเสนอ การทำงานเป็นทีม รวมท้ังการใช้เครื่องมือและ
เทคโนโลยตี า่ ง ๆ อย่างชาญฉลาด ซ่ึงการสอนและการจัดการเรียนการสอนแบบเดิมไม่สามารถจะชว่ ย
ให้ผู้เรียนมีทักษะเหล่านี้ได้ เนื่องจากไม่มีส่ิงอำนวยความสะดวกและเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาประยุกต์ใช้
ดงั นั้นชัน้ เรียนแหง่ อนาคต คือ ห้องฝึกงาน

3. ทักษะในการคิด การบริหารดจัดการช้ันเรียนเพ่ือให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาทักษะ
ด้านการคิด สามารถทำได้ด้วยการเรียนการสอนแบบ CBL จะทำให้ผู้เรียนเกิดดความคิดดสร้างสรรค์

เอกสารประกอบการสอน รายวชิ า วทิ ยาการจดั การเรียนรู้

39

ต้องการค้นหาคำตอบที่หลากหลายจากมุมมองแนวคิดที่แตกกต่างกัน เมื่อเปรียบเทียบกับการเรียน
การสอนแบบเดิมท่ีให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์ เพ่ือหาคำตอบท่ีถูกต้องทุกวิชา โดยจะกำหนดเน้ือหาและ
สมมติฐานไว้แบบเดยี ว ทำให้ผู้เรียนต้องทำโจทย์ดว้ ยวิธกี ารเดียวกนั เพ่ือให้ได้คำตอบท่ีถูกต้อง เท่ากับ
ว่าวิธีการหาคำตอบน้ันไม่ช่วยพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ให้ผู้เรียนเลย เพราะได้มาจากวิธีการคิดวิธี
เดียวเท่านั้น การบริหารจัดการช้ันเรียนให้เป็นชั้นเรียนในอนาคต จึงเป็นสิ่งท่ีช่วยพัฒนาความคิด
สรา้ งสรรคไ์ มว่ า่ ผเู้ รียนจะเรยี นวิชาอะไรกต็ าม

ในระบบการบริหารจัดการชั้นเรียนแบบเดิมนั้น ผู้เชี่ยวชาญและนักการศึกษาจะเป็นผู้
กำหนดว่าสิ่งใดสำคัญ ความรู้ใดมีประโยชน์ และเหหมาะสมกกับผู้เรียน เร่ืองใดควรใช้เวลาเรียน
เท่าไร ผู้เรียนมีหน้าที่รอรับการป้อนข้อมูลจากผู้สอนในชั้นเรียน เนื่องจากใช้หลักสูตรเป็นศูนย์กลาง
ทำให้ผู้เรียนเบื่อหน่ายที่จะต้องจำใจเรียนในเนื้อหาที่ตนเองไม่สนใจ และที่สำคัญความรู้ในตำราก็
ห่างไกลจากชีวิตจริง ดงั น้ัน การจัดชั้นเรียนเพื่อการเรียนรู้แห่งอนาคตเป็นชั้นเรียนท่ีจะสรา้ งความสุข
เพราะผเู้ รยี นได้คน้ ควา้ เร่อื งราวท่ีผู้เรยี นสนใจ นำเสนอททางแกไ้ ขปญั หาอย่างสรา้ งสรรค์

การปรับเปลี่ยนการบรหิ ารจดั การช้ันเรยี นในปัจจุบนั มขี อ้ จำกดั ของหลักสตู ร และจำนวน
ผูเ้ รียนทำให้ผู้สอนตอ้ งใช้เวลาทั้งหมดในการบรรยาย โอกาสทผ่ี ู้เรียนจะไดเ้ รียนรู้ค้นคว้า แนะนำเสนอ
งานต่าง ๆ จึงเป็นไปได้ยาก แตห่ ากสามารถปรับเปล่ียนให้จำนวนผ้เู รียนในช้ันเรียนไม่เกนิ 20 คน จะ
ทำให้ผู้เรียนจะได้เพลิดเพลินกับการเรียนรู้ การค้นคว้า การคิดวิเคราะห์ การคิดสร้างสรรค์ และ
นำเสนอผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยโปรแกรมการเรยี นรู้ท่ีเช่ือมโยงเคร่ืองมือสื่อสารตา่ ง ๆ ช่วย
ใหก้ ารเรียนรู้สนกุ สนานด้วยมลั ติมีเดียและกระตุ้นการเรยี นรู้ การแข่งขนั ระหวา่ งกลุ่ม การทำโครงงาน
ซ่ึงจะช่วยฝึกทกั ษะในการส่ือสาร การทำงานเปน็ ทมี และการบรหิ ารเวลา

4. แนวทางการบริหารจดั การช้ันเรียนแบบมสี ว่ นรว่ ม

การบริหารจัดการช้ันเรียนโดยความร่วมมือกันของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย เป็นแนวคิดที่
ณิรดา เวชญาลักษณ์ (2561, หน้า 191-192) เห็นว่าเป็นการกำหนดเป้าหมาย บทบาทหน้าท่ี ความ
รับผิดชอบร่วมกัน ระหว่างผู้สอน ผู้เรียน ผู้ปกครอง ผู้บริหารและชุมชน อันจะส่งผลต่อผู้เรียนให้มี
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีข้ึน มีทัศนคติท่ีดีต่อการเรียน ผู้เรียนมีการช่วยเหลือกัน รับฟังความคิดเห็น
ซ่ึงกันและกัน ปรับตัวและสามารถทำงานร่วมกันได้ ทำให้บรรยากาศชั้นเรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมี
ประสิทธิภาพ สร้างความร่วมมือระหว่างผู้สอน ผู้เรียน ผู้ปกครอง และชุมชน เป็นการวางเป้าหมาย
รว่ มกันในการพัฒนาผ้เู รียนตามบทบาทของแตล่ ะกลุ่ม ดังน้ี

1. บทบาทของผู้เรียน
1.1 ผู้เรยี นไว้ใจซึ่งกันและกนั พฒั นาทกั ษะการสื่อความหมายของตนเอง
1.2 แบ่งหน้าที่ใหผ้ ู้เรียน และมอบหมายให้สมาชกิ ในกลุ่มทำหน้าท่ีประสานงาน

เลขานุการ เพ่ือรบั และส่ือสารข้อมลู ท่ีตรงกัน ไม่มีสมาชิกในกลุ่มถูกทอดท้ิงและกระตุ้นให้ทกุ คนมสี ว่ น
เสริมสรา้ งความสำเร็จของกลุ่มรว่ มกัน

1.3 ผู้เรยี นต้องรับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน สามารถแสดงความคิดเห็นและ
วิพากษว์ จิ ารณไ์ ด้

เอกสารประกอบการสอน รายวชิ า วทิ ยาการจดั การเรียนรู้

40

1.4 ผู้เรียนต้องรับผิดชอบการเรียนรู้ของตนเองและเพื่อน ๆ ในกลุ่ม ร่วมมือกัน
ทำกิจกรรม กำหนดเป้าหมายของกลุ่มและแลกเปลี่ยนความรู้ อุปกรณ์ ประสบการณ์ รวมทั้งให้
กำลงั ใจ ดูแลซึ่งกนั และกันในการปฏบิ ัตหิ นา้ ท่ีตามที่ไดร้ บั มอบหมาย

2. บทบาทของผ้สู อน
2.1 ผู้สอนแบ่งผู้เรียนในช้ันเรียนออกเป็นกลุ่มย่อย โดยให้แต่ละกลุ่มมีสมาชิกมี

ความสามารถท่ีแตกต่างกันในด้านเพศ ฐานะครอบครัว เชื้อชาติ หรือความแตกต่างด้านอื่น ๆ แบบ
คละกนั

2.2 จัดช้ันเรียนที่สามารถเคล่ือนย้ายเก้าอี้ อุปกรณ์ ที่มีน้ำหนักเบา ย้ายสะดวก
และบริเวณทีผ่ ู้สอนสามารถสังเกตพฤติกรรมและตดิ ตามความกา้ วหน้าในการทำงานของแต่ละกลุ่มได้
ง่าย

2.3 ผู้สอนชี้แจงกระบวนการทำกิจกรรมให้ผู้เรียนทุกคน ทุกกลุ่ม เข้าใจอย่าง
ละเอียด

2.4 ผู้สอนสร้างบรรยากาศท่ีเสริมสร้างการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น กระตุ้นให้
ผเู้ รยี นไดแ้ สดงความคดิ เห็น

2.5 ผู้สอนทำหน้าที่เป็นท่ีปรกึ ษาของทุกกลุ่มย่อย และติดตามความก้าวหน้าใน
การทำกิจกรรมของแตล่ ะกลุ่ม

2.6 ผู้สอนเสริมแรงโดยการให้รางวัล และคำชมเชยให้แก้ผู้เรียน และกลุ่มที่
ทำงานไดส้ ำเร็จตามเป้าหายของกลุ่ม

2.7 ผู้สอนกำหนดระยะเวลาในการทำกจิ กรรมให้ผ้เู รียนรบั ทราบทุกกลุ่ม
2.8 ผู้สอนร่วมมือกับผู้สอนคนอ่ืน ๆ ในการนำเทคนิคการเรียนรู้โดยร่วมมือมา
ใชใ้ นการจดั การเรยี นการสอน
2.9 ผู้สอนต้องตระหนักเสมอว่าการใช้เทคนิคการทำกิจกรรมร่วมกัน เพื่อ
ส่งเสริมบรรยากาศในช้นั เรียน ใหผ้ เู้ รยี นเกดิ การเรยี นรู้ แต่ไมไ่ ด้หมายถงึ การเรียนแทนกนั
3. บทบาทของผู้ปกครองและชุมชน ผู้ปกครองควรช่วยกระตุ้น ให้คำปรึกษา และ
ให้กำลังใจผู้เรียน ตามโอกาสสมควรหรือเมื่อผู้เรียนต้องการ ให้ความสนใจและคำชมเชยในการทำ
กิจกรรม ส่งเสริมและสร้างจิตสำนึกที่ดีให้แก่ผู้เรียน รวมทั้งให้ความร่วมมือในการเข้าร่วมกิจกรรม
ต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอ เน่ืองจากผู้ปกครองสามารถวางแผน สนับสนุนกิจกรรมของผู้เรียนและ
สถานศกึ ษาเพื่อใหป้ ระสบความสำเรจ็ ได้

5. แนวทางการบริหารจัดการช้ันเรียนเพื่อสง่ เสรมิ การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
การบริหารจดั การชน้ั เรียนในศตวรรษที่ 21 ตา่ งจากการบรหิ ารจดั การชนั้ เรียนในยคุ เดิม

ทเี่ น้นการจดั ชนั้ เรียนทใ่ี ห้ผเู้ รียนมีความเปน็ ระเบยี บ อยู่ในความสงบ ตั้งใจเรยี น แต่การบริหารจดั การ
ชน้ั เรยี นในศตวรรษท่ี 21 ผู้เรยี นเปลี่ยนแปลงจากยุคเดมิ มาก เทคโนโลยีปรบั เปล่ยี นอย่างรวดเร็ว ซึ่งมี
ผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพห้องเรียน การบริหารจัดการช้ันเรียนเพ่ือพัฒนาทักษะการเรียนรู้ใน
ศตวรรษท่ี 21 นอกจากจะดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนให้บรรลุตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้แล้ว

เอกสารประกอบการสอน รายวิชา วทิ ยาการจดั การเรยี นรู้

41

ยังต้องเน้นการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ให้กับผู้เรียนด้วยหลักการบริหารจัดการช้ัน
เรียนเพื่อพฒั นาทกั ษะการเรียนรูใ้ นศตวรรษที่ 21 มดี งั น้ี

1. มีการจัดการชั้นเรียนเพ่ือส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้ จัดสภาพแวดล้อมต่าง ๆ
ทั้งในและนอกชั้นเรียน เพื่อกระตุ้นหรือส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกอยากเรียน มีความ
กระตือรือร้นสนใจใน สร้างบรรยากาศตามลักษณะที่สอดคล้องกับรุ่นวัย (generation) ลักษณะ
ผเู้ รียน

2. มีการจัดการช้ันเรียนด้านส่ิงแวดล้อมทางกายภาพ การจัดสิ่งแวดล้อมทาง
กายภาพท่ีอำนวยความสะดวกโดยเฉพาะด้าน ICT ในยุคดิจิทัล สิ่งแวดล้อมทางกายภาพท่ีดีใน
หอ้ งเรียนจะเป็นปจั จัยหนึง่ ท่ีจะทำให้การจดั การเรียนการสอนมีประสทิ ธิภาพมากขึ้น สร้างบรรยากาศ
แหง่ การเรยี นรู้เพ่ิมข้ึน

3. มีการจัดการชั้นเรียนทางด้านจิตวิทยา เน้นการจัดการเก่ียวกับความรู้สึก เจตคติ
และพฤติกรรมของผู้เรียนโดยมีเป้าหมายที่จะส่งเสริมระเบียบวินัยในการจัดการเรียนรู้ เพื่อมุ่งให้
ผเู้ รียนสามารถพัฒนาการเรียนรไู้ ด้อย่างสูงสดุ

4. มีการใช้เทคนิค ทักษะการสอน นวัตกรรมการเรียนการสอนอย่างเหมาะสมกับ
ห้องเรียนและลักษณะผู้เรียน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เทคนิคและทักษะการสอนของครู
ล้วนมีอิทธิพลต่อบรรยากาศในชั้นเรียนได้ทั้งสิ้น การสร้างแรงจูงใจ การแปรเปล่ียนความสนใจ การ
เปล่ียนกจิ กรรมการเรียนการสอนทีห่ ลากหลายจะทำให้เดก็ ไมเ่ บื่อเม่อื เทียบกับการที่ครใู ช้วิธีสอนแบบ
เดียวเปน็ ระยะเวลายาวนานจนเกนิ ไป

5. มีการสร้างกฎระเบียบรว่ มกนั ระหว่างครูกบั ผู้เรยี น การกำหนดกฎระเบียบของชั้น
เรียน ถือเป็นส่ิงจำเป็นและเคร่ืองมือท่ีสำคัญในการจัดการในชั้นเรียนของครู เน้นความความ
รับผิดชอบของผู้เรียน การอยู่ร่วมกันเป็นสังคมจำเป็นที่จะต้องมีกฎกติกาของการอยู่ร่วมกัน การ
เคารพสิทธิของผู้อื่น การปฏิบัติหน้าท่ีของตนเองด้วยความรับผิดชอบ ตลอดจนการปฏิบัติตามกฎ
กติกาที่ได้กำหนดไว้ด้วยความเต็มใจ ทั้งนี้ครูต้องชี้แจงให้ผู้เรียนเข้าใจและยอมรับว่า การปฏิบัติตาม
กฎระเบียบในช้นั เรยี นจะทำให้ผ้เู รยี นสามารถท่จี ะเรียนรู้อย่างราบรื่นปราศจากอุปสรรคดว้ ยศกั ยภาพ
สงู สุดทมี่ ีอยูใ่ นตนเอง ท้งั ยงั เป็นการวางพนื้ ฐานของการอยรู่ ่วมกัน

สภาพแวดลอ้ มทางการเรียนหรอื บรรยากาศการเรยี นรูว้ ่ามอี งค์ประกอบหลักท่ีสำคญั 3
ประการ คือ องค์ประกอบด้านกายภาพ (Physical Environment) องค์ประกอบด้านจิตภาพ
(Psychological Environment) และองคป์ ระกอบดา้ นสังคม (Social Environment)

1.องค์ประกอบด้านกายภาพ (Physical Environment) เป็นสภาพแวดล้อมทาง
กายภาพ ท่ีส่งผลกระทบต่อการเรียน แบ่งเป็นสภาพแวดล้อมในห้องเรียน และสภาพแวดล้อมนอก
หอ้ งเรียน

1.1 สภาพแวดล้อมในห้องเรียน ประกอบด้วย ห้องเรียนและอุปกรณ์ ได้แก่ พ้ืน
ห้อง ผนังห้อง ประตู หน้าต่าง ขนาดและพ้ืนที่ว่างภายในห้องเรียน โต๊ะ เก้าอี้ กระดานดำ อุปกรณ์
ตกแต่งห้องเรียน เช่น แจกันดอกไม้ ภาพวาด เป็นต้น รวมท้ังองค์ประกอบการเรียนรู้ด้านกายภาพ
ประกอบด้วย แสงสว่าง สี เสียง บริเวณท่ีว่างเฟอร์นิเจอร์และลักษณะของสถานท่ีท่ีใช้เรียน การจัด

เอกสารประกอบการสอน รายวชิ า วทิ ยาการจดั การเรยี นรู้

42

ห้องเรียนและจัดท่ีน่ังผู้เรียนมีอิทธิพลต่อผลการเรียนรู้ของผู้เรียน ถ้าให้ผู้เรียนเลือกที่น่ังเอง ผู้ท่ีนั่ง
หนา้ จะมีผลการเรียนดกี ว่าผู้ท่นี ง่ั หลัง แต่ถ้าสุ่มให้นั่งพบวา่ คะแนนผลสมั ฤทธิ์ออกมาไม่ตา่ งกัน และผูท้ ่ี
น่ังหน้าชั้นจะมีปฏิสัมพันธ์มากกว่า ซ่ึงในด้านการมีปฏิสัมพันธ์ Adams and Biddle (1970) พบว่า
การพูดจะเกิดขึ้นมากบริเวณด้านหน้าและบริเวณกลางห้อง เรียกว่า Action Zone การจัดการเรียน
การสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ มีการออกแบบกิจกรรมการเรียนที่ให้ผู้เรียนทำงานเป็นกลุ่มหรือ
ทำงานเป็นรายบุคคลเปลี่ยนกลับไปมาอย่างรวดเร็ว ดังน้ันการจัดท่ีนั่งโต๊ะและเก้าอ้ีควรปรับเปลี่ยน
รูปแบบไดส้ ะดวก และจดั ให้สอดคลอ้ งกบั กิจกรรมการเรียนการสอน

สีของห้องเรียน สีมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมและจิตใจของมนุษย์ ผนังของห้องเรียน
ควรทาด้วยสีอ่อน โดยสีอ่อนจะให้ความรู้สึกว่ามีขนาดใหญ่ กว้างขวาง สีเข้ม จะให้ความรู้สึกว่ามี
ขนาดเล็ก คับแคบ สีวรรณะร้อน จะให้ความรู้สึกเร่าร้อน ต่ืนเต้น ไม่สบายตา สีวรรณะเย็น จะให้
ความรู้สึกสบาย เรยี บ สงบ

เสียงในห้องเรียน ได้แก่ เสียงบรรยายของผู้สอน เสียงสนทนาระหว่างผู้สอนกับ
ผู้เรียนหรือผูเ้ รยี นกับผู้เรียนเสียงจากเครื่องขยายเสยี ง เป็นตน้ เสียงตา่ ง ๆ เหล่านจ้ี ะต้องมีระดับความ
ดังที่เหมาะสม ไม่ก้อง ไม่ซ่า และเสียงกวนจากภายนอกห้องเรียน เสียงมีความสำคัญต่อการเรียนรู้
มาก ผู้เรียนควรได้ยินอย่างชัดเจนในส่ิงท่ีต้องการ การให้ได้ยินเสียงรบกวนที่มากเกินไปจะเป็น
อุปสรรคต่อการเรียนรู้ แต่เสียงรบกวนบางอย่างถ้านำมาใช้อย่างเหมาะสมก็มีประโยชน์ต่อการเรียน
การสอน เช่น Background Music ซ่ึงไม่เพียงแต่จะสามารถช่วยกำจัดส่ิงรบกวนอื่น ๆ ให้หมดไป
เท่าน้นั ยังมีผลตอ่ พฤตกิ รรมการเรียนอีกด้วย

แสงสวา่ งสำหรับห้องเรยี นเปน็ ส่ิงจำเปน็ ในการมองเห็นของผู้เรียน ห้องเรียนต้อง
มีแสงสว่างเพียงพอโดยใช้แสงจากธรรมชาติ เป็นแสงสว่างจากดวงอาทิตย์ ถ้าไม่เพียงพอต้องใช้แสง
จากดวงไฟเพ่ิมเติม ตามเกณฑ์มาตรฐานแสงสว่างของสมาคมแสงสว่างแห่งประเทศไทย (TIEA) ท่ีได้
กำหนดปริมาณแสงสว่างในห้องเรียนไว้ 300-500 Lux แต่ปริมาณแสงสว่างดังกล่าว แต่สำหรับห้องท่ี
มีการใช้สื่อการสอนหลายรูปแบบต้องจัดให้สามารถควบคุมปริมาณแสงสว่างในห้องเรียน เพื่อให้
ผู้เรียนสามาถมองเห็นกระดานได้อย่างสบายตา และสามารถอ่านและเขียนหนังสือได้เม่ือมีการฉาย
จอภาพ

การระบายอากาศของห้องเรียน ท่ีเป็นการระบายอากาศจากธรรมชาติ คือ ลม
และการระบายอากาศจากอุปกรณ์อ านวยความสะดวก ได้แก่ พัดลมและเคร่ืองปรับอากาศ สภาพ
การระบายอากาศจะต้องมีการถ่ายเทอากาศมีอุณหภูมิที่พอเหมาะและมีความชื้นท่ีพอเหมาะด้วย
อณุ หภูมิ

1.2 สภาพแวดล้อมทางการเรยี นนอกห้องเรียน ครอบคลุมแหล่งวิทยบริการและ
ห้องปฏิบัติการต่าง ๆ ท่ีมีความสัมพันธ์เกี่ยวเน่ืองกับการเรียน เป็นแหล่งท่ีผู้เรียนจะไปศึกษาค้นคว้า
หาความรู้เพิ่มเติมและเป็นแหล่งปฏิบัติทางภาษา ห้องทดลองทางวิทยาศาสตร์แขนงต่าง ๆ
สภาพแวดล้อมทางกายภาพในการเรียนนอกห้องเรยี นจะครอบคลุมเกี่ยวกับอุปกรณส์ ำหรับการศึกษา
ค้นคว้า

เอกสารประกอบการสอน รายวิชา วทิ ยาการจดั การเรยี นรู้

43

2.องค์ประกอบด้านจิตภาพ (Psychological Environment) เป็นองค์ประกอบของ
สภาพแวดล้อมทางการเรียนที่ทำให้เกิดความรู้สึกในทางบวกหรือลบ สภาพแวดล้อมทางจิตภาพใน
การเรียนการสอนอาจจำแนกได้เป็น 2 แบบ คือ สภาพแวดล้อมทางจิตภาพท่ีเป็นกายภาพ และ
สภาพแวดลอ้ มทางจิตภาพที่เปน็ บคุ คล

2.1 สภาพแวดลอ้ มทางจิตภาพที่เป็นกายภาพ เป็นสภาพแวดลอ้ มทางกายภาพที่
ก่อให้เกิดทางบวกหรือลบ ตัวแปรที่ก่อให้เกิดความรู้สึกดังกล่าว อาทิ สี พ้ืนท่ีว่าง และสภาพแออัด
เป็นต้น สีกับความรู้สึก สีมีอิทธิพลต่อความรูส้ ึกของมนุษย์ สีท าให้เกิดความรู้สึกที่แตกต่างกัน บางสี
ทำให้รู้สึกสบายตาสบายใจ นา่ สนใจ รู้สึกสดช่ืน แต่บางสีท าให้รสู้ ึกเร่าร้อน เช่น สีแดง เปน็ ต้น พื้นที่
ว่างกับความใกล้ชิด โดยทั่วไปแล้วบุคคลจะมีพื้นที่ว่างส่วนบุคคลประมาณ 2 – 3 ตารางฟุต ของ
แต่ละคน ถ้าหากมีบุคคลอ่ืนล่วงล้ำเข้าไปในอาณาเขตส่วนบุคคล บุคคลน้ันย่อมจะรู้สึกอึดอัด และ
พยายามปกป้องไม่ให้มีการล่วงล้ำเข้าในอาณาเขตส่วนบุคคล สภาพแออัดกับความรู้สึกอึดอัด สภาพ
พ้ืนที่ห้องท่ีแคบ ทำให้คนรู้สึกอึดอัด ความรู้สึกอึดอัดนี้เป็นความรู้สึกของบุคคลที่อยู่ในสภาพแออัด
เกิดความรู้สึกไม่พึงพอใจ ไม่พึงปรารถนา มีความต้องการหลีกเล่ียง ผลจากความรู้สึกอึดอัดน้ีอาจ
กอ่ ใหเ้ กิดความเครียด และมีอาการประสาท ตอ้ งการหนีจากสภาพเปน็ อยู่ได้

2.2 สภาพแวดล้อมทางจิตภาพท่ีเป็นบุคคล เป็นสภาพแวดล้อมที่มีผลเน่ืองมา
จากบุคลิกภาพของบุคคลที่เก่ียวข้องกับการเรียนการสอน ได้แก่ บุคลิกภาพของครูท่ีมีอิทธิพลต่อ
ความรู้สึกของผู้เรียนท้ังในทางบวกและทางลบบุคลิกภาพของบุคคลเป็นลักษณะเฉพาะตัวของบุคคล
ซ่ึงแบ่งเป็นลักษณะภายนอก และลักษณะภายใน สำหรับบุคลิกภาพท่ีเป็นลักษณะภายนอกนั้น เป็น
ลักษณะรูปร่างที่มองเห็นได้ สัมผัสได้ เช่น ลักษณะสูงใหญ่ หูยาน มือยาว หน้าขาว ริมฝีปากแดง
เป็นต้น ลักษณะภายนอกนี้อาจก่อให้เกิดความรู้สกท้ังทางบวก คือความรู้สึกช่ืนชม น่านับถือน่าเข้า
ใกล้ สำหรับบุคลิกภาพ ท่ีเป็นลักษณะภายใน เป็นลักษณะนิสัยซึ่งสัมผัสด้วยประสาทสัมผัสโดยตรง
ไม่ได้ อาทิความใจกว้าง ความซ่ือสัตย์ ความโอบอ้อมอารี ความเห็นอกเห็นใจผู้อ่ืน การยอมรับตนเอง
และผู้อื่น ความยุติธรรมความอดทน ความอดกลั้น ความละอายต่อการทำบาป และความสงบเยือก
เย็น เป็นตน้

สภาพแวดล้อมทางจิตภาพที่เป็นบุคคล ซ่ึงมีผลเน่ืองมาจากบุคลิกภาพของบุคคล
และลักษณะนิสัยของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน จะมีอิทธิพลต่อการจัดการเรียนการสอน
ในด้านประสิทธิภาพ และประสิทธิผลของการเรียนการสอนได้ทั้งทางบวกและทางลบ การกำหนด
ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในสังคมมีผลมาจากความพยายามในการป้องกันความสัมพันธ์ระหว่าง
บุคคลและสังคมที่จะส่งผลทางลบ โดยมีการก าหนดข้อตกลงเพื่อเป็นแนวปฏิบัติในสังคม ได้แก่ การ
กำหนดกฎระเบียบ กำหนดกฎหมาย ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรม ซ่ึงเป็นแนวทางท่ี
กำหนดไว้ว่า จะปฏิบัติตนอย่างไร มีเง่ือนไขอะไรบ้าง ถ้าหากไม่ปฏิบัติอย่างนั้น ในด้านการเรียนการ
สอนก็มีการกำหนดระเบียบข้อปฏิบัติ ซ่ึงการกำหนดจะต้องสอดคล้องกฎระเบียบ ของสังคมด้วย
สำหรับ Walbery, (1987) ได้กล่าวถึงองค์ประกอบของบรรยากาศการเรียนรู้ด้านจิตภาพว่า
ประกอบด้วย บรรยากาศของห้องเรียนซ่ึงเปรียบเสมือนกลุ่มของสังคมท่ีมีอิทธิพลต่อผู้เรียน เป็น

เอกสารประกอบการสอน รายวิชา วทิ ยาการจดั การเรยี นรู้

44

สภาพแวดล้อมที่ทำให้เกิดความรู้สึกทั้งทางบวกและทางลบ เช่น สภาพแวดล้อมทางจิตภาพท่ีเป็น
บุคคล ซงึ่ ไดแ้ ก่ ผู้เรียน และครูผู้สอน

3. องค์ประกอบด้านสังคม (Social Environment) องค์ประกอบของสภาพ
แวดล้อมทางการเรียนด้านสังคมโดยเฉพาะสภาพแวดล้อมในห้องเรียน ผู้ท่ีมีอิทธิพลต่อการออกกฎ
ระเบียบก็คือผู้สอน สำหรับสภาพแวดล้อมทางสังคมในโรงเรียน ผู้ท่ีมีอิทธิพลต่อการออกกฎระเบียบ
คือผู้บริหารโรงเรียนในการกำหนดกฎระเบียบน้ีจะมีลักษณะเป็นอย่างไรน้ัน ปัจจัยหนึ่งเกดิ จากความ
เชื่อ ถ้าหากผู้บริหารหรือผู้สอนเช่ือว่าบุคคลในบังคับบัญชา หรือผู้เรียนมีลักษะเป็นคนข้ีเกียจไม่
รับผิดชอบ การออกกฎระเบียบจะมีลักษณะเข้มงวด ข่มขู่ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลจะห่างเหิน
ลกั ษณะผู้ใหญ่กับเดก็ นายกบั บ่าว นกั โทษกับผู้ควบคุม เป็นต้น แต่ถา้ หากผู้บริหารหรอื ผ้สู อนเชื่อว่าผู้
อย่ใู ต้บงั คบั บญั ชา หรือผูเ้ รียนเป็นคนขยนั มีความรบั ผิดชอบ การกำหนดกฎระเบียบจะมีลักษณะที่ให้
การสนับสนุน อำนวยความสะดวก และให้เสรีภาพ มีความเป็นประชาธปิ ไตย กฎระเบยี บในลักษณะน้ี
ความสมั พนั ธ์จะเปน็ มติ ร มีความเปน็ กันเอง มคี วามร่วมมอื กัน ฟังความคิดเห็นกันและกนั เป็นต้น ซึ่ง
สุรศักด์ิ หลาบมาลา (2541) ได้กล่าวไว้ว่าการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดีในตัวผู้เรียนท่ีมีความพร้อมท้ัง
ร่างกายและจิตใจ ในบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่สงบปราศจากความกงั วลใจ มีแต่ความอบอุ่นใจ
และความเป็นกัลยาณมติ รถ้วนทวั่ ทุกตวั คนที่เกีย่ วข้อง

สรุป การบริหารจัดการชั้นเรียนเพื่อพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 ต้องมีการจัด
บรรยากาศในช้ันเรียนท่ีช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนและส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถรับผิดชอบ
ควบคุมดุแลตนเอง ได้ในอนาคต การจัดบรรยากาศมีทั้งด้านกายภาพ เป็นการจัดสภาพแวดล้อมใน
ห้องเรียนท้ังการจัดตกแต่งในห้องเรียน จัดท่ีนั่ง จัดมุมเสริมความรู้ต่าง ๆ ให้สะดวกต่อการเรียนการ
สอน และสิ่งอำนวยความสะดวกทางด้าน ICT สำหรับทางด้านจิตวิทยา เป็นการสร้างความอบอุ่น
ความสุขกายสบายใจให้กับผู้เรียน คำนึงถึงช่วงวัยของผู้เรียน ผู้สอนควรจัดบรรยากาศท้ัง 2 ด้านนี้ให้
เหมาะสม นอกจากน้ีการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ให้เกิดความสุขแก่ผู้เรียนเป็นองค์ประกอบสำคัญ
ประการหน่ึงท่ีจะสร้างคุณลักษณะนิสัยของการใฝ่เรียนรู้ การมีนิสัยรักการเรียนรู้ การเป็นคนดี และ
การมีสุขภาพจิตท่ีดี สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขทั่งในปัจจุบันและอนาคตต่อไป ซ่ึงบุคคล
สำคัญที่จะสร้างบรรยากาศการเรียนรู้อย่างมีความสุขให้เกิดขึ้นได้คือ ครูผู้นำทางแห่งการเรียนรู้
น่นั เอง

เอกสารประกอบการสอน รายวชิ า วทิ ยาการจดั การเรยี นรู้

45

บทสรุป

การบริหารจัดการชั้นเรียน เป็นการดำเนินงานของผู้สอนในการสร้างและการรักษา
สง่ิ แวดล้อมของห้องเรียนท้ังด้านกายภาพและจติ วิทยา เพื่อเอ้ือตอ่ การเรยี นรู้ของนักเรยี น รวมท้ังการ
สร้างระเบียบวนิ ัยในห้องเรียน กลวิธีในการจัดการพฤติกรรมของผเู้ รียน การจัดกิจกรรมการเรยี นการ
สอนของผู้สอนให้สามารถกระตุ้นพร้อมท้ังสร้างแรงจูงใจในการเรียน โดยอาศัยหลักการและแนวคิด
กระบวนการบริหารจัดการ ประกอบด้วย 1) การเตรียมการ 2) การวางแผนจัดการ และ 3) การ
ดำเนินการในช้นั เรียน ซ่ึงมีองคป์ ระกอบที่สำคญั 2 องค์ประกอบใหญ่ ๆ ไดแ้ ก่ 1) สภาพแวดล้อมการ
เรยี นรูท้ างกายภาพ 2) สภาพแวดล้อมการเรียนรทู้ างจติ ภาพและสังคมภาพ

แนวคิดเกี่ยวกับรูปแบบการบริหารจัดการช้ันเรียน เป็นการนำเสนอวิธีการบริหารจัดการชั้น
เรียนตามความเหมาะสม โดยอาจแบ่งตามวธิ ีสอน แบ่งเปน็ 2 รูปแบบ ได้แก่ 1) ชั้นเรยี นแบบธรรมดา
2) ช้ันเรียนแบบนวัตกรรม และหากแบ่งตามกาบริหารจัดการช้ันเรียนเฉพาะวิชา แบ่งได้ 3 รูปแบบ
ได้แก่ 1) รูปแบบพฤติกรรม 2) รูปแบบจิตวิทยา และ 3) รูปแบบการจัดการแบบกลุ่ม ซ่ึงแต่ละ
รปู แบบผูส้ อนสามารถนำมาประยุกต์ใช้ตามความเหมาะสม และบริบทของผู้เรยี นที่แตกต่างกนั เพ่ือให้
ผเู้ รียนเกิดการเรียนร้อู ย่างมีประสิทธิภาพมากท่ีสดุ ส่วนเทคนิคการบริหารจัดการชั้นเรยี นเพอ่ื ส่งเสริม
การเรียนรู้ เป็นวิธีการที่ผู้สอนใช้ปรับความคิดเก่ียวกับสาเหตุของความล้มเหลวและความสำเร็จของ
ผู้เรียน เพื่อลดความกังวล ของผู้เรียน และเทคนิคการจูงใจผู้เรียน เป็นการจูงใจในชั้นเรียนให้ผู้เรียน
เกิดการอยากเรียนรู้จนประสบความสำเร็จ เป็นเทคนิค วิธีการหรือการใช้กลยุทธ์ของผู้สอนในการ
ปฏิบัติต่อผู้เรียนอย่างเป็นมิตร การสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่สนุกสนาน ใช้ส่ือการเรียนรู้ที่
หลากหลาย สร้างกฎระเบียบ การเสรมิ แรงผู้เรียนทง้ั ทางบวกและทางลบ

รูปแบบการบริหารจัดการห้องเรียนแบบบูรณาการนวัตกรรมยุคการศึกษาในศตวรรษท่ี 21
ซึ่งการบริหารจัดการช้ันเรียนเปล่ียนไปจากยุคเดิม เพราะความเปล่ียนแปลงอย่างรวดเร็วในยุค
ปจั จบุ ัน โดยเฉพาะทางด้านการเปน็ ยุคดจิ ิทลั ทำใหน้ กั วชิ าการทุกฝ่ายท่เี ก่ียวขอ้ งกับการศึกษาต่างก็
ต่ืนตัวท่ีจะพัฒนางานด้านการศึกษา คิดค้นนวัตกรรมต่าง ๆ เพ่ือนำไปใช้กับระบบการจัดการเรียนรู้
ให้กับผู้เรียน ซึ่งนวัตกรรมท่ีเก่ียวข้องกับการจัดการเรียนรู้น้ันมีหลายประเภทแตกต่างกันออกไป
นวัตกรรมในการบริหารจัดการชั้นเรียนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะในศตวรรษที่ 21 มีหลายอย่าง
เชน่ หอ้ งเรียนกลับดา้ น หอ้ งเรียนเสมือนจรงิ หอ้ งเรียนอัจฉรยิ ะ เปน็ ตน้

แนวทางการบริหารจัดการชั้นเรียนมีหลากหลายแนวทาง ซึ่งผู้เขียนได้เน้นแนวทางการ
บริหารจัดการช้ันเรียนเพื่อการเรียนรู้ท่ีมีความสุข เป็นไปตามมาตรฐานห้องเรียนคุณภาพ สอดคล้อง
ในยุคดิจิทัล แบบมีส่วนร่วม และเพ่ือส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษท่ี 21 เพื่อให้ผู้สอนนำองค์ความรู้
ไปประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการชั้นเรียนให้เกิดประโยชน์แก่ผู้เรียน ซ่ึงประเด็นสำคัญที่ต้องปฏิบัติ
คอื การจัดกฎระเบียบ วนิ ัยชน้ั เรยี น การสรา้ งความสัมพันธ์และบรรยากาศทางบวก ผสู้ อนสามารถใช้
นวัตกรรมใหม่ ๆ หรือใช้เทคโนโลยใี นการจดั การเรียนการสอนโดยการออกแบบการเรยี นรู้ในช้ันเรยี น
ทใ่ี ช้เทคโนโลยีหรือส่ือมัลติมีเดยี มาสนบั สนุนการเรียนรู้ เพอ่ื ให้ผู้เรยี นสนกุ กับการเรยี น โดยมีผูส้ อนทำ
หน้าท่ีเป็นผูส้ นบั สนนุ ให้ผเู้ รียนได้เรียนรู้

เอกสารประกอบการสอน รายวิชา วทิ ยาการจดั การเรียนรู้


ด้านการบริหารจัดการชั้นเรียน มีอะไรบ้าง

ด้านที่ 2 ด้านการบริหารจัดการชั้นเรียน หมายถึง การจัดกิจกรรม สิ่งอำนวยความสะดวก จัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม ที่ส่งเสริม สนับสนุน และช่วยเหลือผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีความสุข และเป็นผู้เสริมแรง ชี้แนะแนวทางให้ผู้เรียนศึกษาแสวงหาความรู้ คิดวิเคราะห์ ปฏิบัติ และค้นพบคำตอบด้วยตนเอง ความหมายของการจัดการชั้นเรียน

การบริหารจัดการในชั้นเรียนคืออะไร

การบริหารจัดการชั้นเรียนเป็นการพัฒนาหลักสูตร การพัฒนาหลักสูตรเป็นกระบวนการวาง แผนการจัดกิจกรรมให้มีความพร้อมสำหรับการเรียนรู้และส่งเสริมการเรียน อีกทั้งการเรียนการสอน เป็นไปอย่ามีประสิทธิ์ภาพของการศึกษา โดยจะเน้นการนำเทคโนโลยีใหม่มาเป็นสื่อการเรียนรู้ เพื่อให้ เกิดประสิทธิ์ผลในการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างเห็นได้ชัด และ ...

การบริหารจัดการชั้นเรียนคืออะไรและมีความสำคัญอย่างไรบ้าง

ความสำคัญ ของ การบริหารจัดการชั้นเรียน (Importance of Classroom Management) ที่มีต่อผู้เรียน ดังต่อไปนี้ 1. ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความอบอุ่นในขณะอยู่ในชั้นเรียน และมีความสุขในขณะที่มีการเรียนการสอน 2. ช่วยให้ส่งเสริมสนับสนุนบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งในเวลาเรียนปกติและนอกเวลาเรียน

การบริหารการจัดการชั้นเรียนมีจุดมุ่งหมายสำคัญคืออะไร

เป้าหมายของการบริหารจัดการชั้นเรียน เป็นช่วยให้นักเรียนพัฒนาในการควบคุมตนเองเพื่อให้มีชีวิตและทำงานร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างมีความสุข แนวคิดเกี่ยวกับการบริหารจัดการชั้นเรียน