วิกฤติ 1930 Depression สรุป

สถานการณ์ภาวะเศรษฐกิจในปลายทศวรรษ 1930


วิกฤติ 1930 Depression สรุป
หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ประเทศในยุโรปได้ประสบกับปัญหาความยุ่งยากทางเศรษฐกิจกันทั่วหน้า ปัญหาทางเศรษฐกิจที่สำคัญโดยเฉพาะในช่วงค.ศ. 1914-1925 คือ เศรษฐกิจตกต่ำ ซึ่งมีสาเหตุสำคัญมาจากการลดต่ำลงของการส่งออกเพราะความต้องการสินค้าและบริการจากยุโรปลดต่ำลง เพราะส่วนหนึ่งในหลายประเทศนอกทวีปยุโรปได้ดำเนินการพัฒนาอุตสาหกรรมภายในประเทศเพื่อลดการพึ่งพาสินค้านำเข้าจากยุโรป สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นได้กลายเป็นประเทศคู่แข่งสำคัญของประเทศในยุโรป นอกจากนี้ หลายประเทศในยุโรปก็ไม่ได้มีการติดต่อค้าขายระหว่างประเทศมากเหมือนก่อนเกิดสงครามโลก เช่น กลุ่มประเทศสังคมนิยมคอมมิวนิสต์มักจะค้าขายกันเองมากกว่าที่จะนำเข้าสินค้าและบริการจากสหราชอาณาจักรและประเทศยุโรปอื่นๆ ยุโรปได้สูญเสียความเป็นผู้นำทางการผลิตและการค้าของโลกนับแต่สงครามโลกยุติในค.ศ.1918 เป็นต้นมามา ระดับของผลผลิตของประเทศในยุโรปในช่วง ค.ศ. 1915 – 1924 อยู่ในระดับต่ำกว่าก่อนหน้าที่จะเกิดสงคราม จนกระทั่ง ค.ศ. 1925 ผลผลิตเริ่มมีระดับขยายตัวในระดับสูงกว่าเมื่อเทียบกับช่วงก่อนเกิดสงคราม

วิกฤติ 1930 Depression สรุป
ในปลายค.ศ.1929 ภาวการณ์ขยายตัวทางเศรษฐกิจในระดับสูงของโลกได้ยุติลง เพราะผลผลิตส่วนเกินมีอยู่เป็นจำนวนมากโดยเฉพาะสินค้าอุตสาหกรรม ส่งผลให้ระดับราคาลดลงอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะสินค้าเพื่อการส่งออก จึงมีผลต่อการขาดดุลการค้าและดุลการชำระเงินของประเทศอุตสาหกรรม เพราะเงินทุนไหลเข้าได้ลดลง ซึ่งส่งผลต่อภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก และปัญหาได้ทวีความรุนแรงขึ้น แม้ว่าจะมีการผลิตบางประเภทที่มีการขยายตัวในระดับสูง โดยเฉพาะสินค้าเกษตรเพื่อการบริโภคจำนวนมาก (mass consumption goods) แต่ผลที่ตามก็คือ ระดับราคาสินค้าประเภทอาหารโดยทั่วไปมีแนวโน้มลดลง โดยเฉพาะแป้ง น้ำตาล และกาแฟ ซึ่งมีผลซ้ำเติมต่อการเกิดปัญหาวิกฤตทางเศรษฐกิจในระยะต่อมา ในหลายพื้นที่การผลิตของประเทศต่างๆ โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนา แม้อัตราการขยายตัวการผลิตสินค้าจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่อัตราการเพิ่มของประชากรที่อยู่ในระดับสูง ประกอบการเพิ่มขึ้นอย่างช้าของระดับรายได้ หรือในบางกรณีมีการลดลงของระดับรายได้ ส่งผลต่อการลดลงของอำนาจซื้อ ของประเทศกำลังพัฒนาเหล่านี้ ซึ่งมีผลต่อการลดลงของอุปสงค์ต่อสินค้าอุตสาหกรรมจากประเทศอุตสาหกรรมทั้งสหรัฐอเมริกาและในยุโรป

วิกฤติ 1930 Depression สรุป
การเก็งกำไรในสหรัฐอเมริกามีผลต่อการพังทลายของระบบการเงินของสหรัฐฯ และส่งผลต่อการพังทลายของระบบการเงินของประเทศอื่นๆ และผลต่อการขยายตัวของวิกฤติเศรษฐกิจในทศวรรษ 1930 จนเกิดเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก สหรัฐอเมริกาในฐานะเป็นศูนย์กลางในการผลิตและการลงทุนของโลก มีสัดส่วนของผลผลิตเหล็กถึง 1 ใน 2 ของโลก มีสัดส่วนการผลิตน้ำมันถึง 2 ใน 3 ของโลก อุปกรณ์ไฟฟ้าเท่ากับผลผลิตที่ผลิตในประเทศยุโรปทั้งหมด นอกจากนี้สหรัฐฯ ยังมีส่วนแบ่งของสินค้าประเภทถ่านหิน เครื่องจักร รถยนต์ และสินค้าเพื่อการบริโภคอื่นๆ ในสัดส่วนที่สูงมาก

วิกฤติ 1930 Depression สรุป
ในค.ศ.1928 สัญญาณของเศรษฐกิจตกต่ำเริ่มปรากฏชัดเจนขึ้น ดัชนีราคาสินค้าขายปลีกเริ่มลดลง ผลเกิดมาจากการผลิตล้นเกินของสินค้าหลายชนิด สินเชื่อหาง่าย มีการลงทุนของทรัพย์สินส่วนใหญ่ในการเก็งกำไรในหลักทรัพย์และพันธบัตรในตลาดหุ้นมากกว่าที่จะลงทุนในการเพิ่มผลิตภาพการผลิต (productive investment)ราคาของหุ้นได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วใน ค.ศ.1929 ดัชนีหุ้นเพิ่มขึ้นอยู่ในช่วง 200-216 จุด

วิกฤติ 1930 Depression สรุป
แม้ว่าธนาคารกลางของนิวยอร์ค (The Federal Reserve Bank of New York) จะพยายามขึ้นดอกเบี้ยเพื่อป้องกันการเก็งกำไร แต่ทว่ามาตรการดังกล่าวกลับส่งเสริมให้มีการไหลเข้าของเงินทุนจากต่างประเทศเป็นจำนวนมาก และไม่สามารถควบคุมให้เกิดการเก็งกำไรได้ในหลายประเทศโดยเฉพาะในยุโรปก็ได้รับผลกระทบจากการขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐฯ และปัญหาเงินทุนได้ไหลออกจากประเทศในยุโรปเป็นจำนวนมากในรูปของทองคำและดอลลาร์ (เพราะในขณะนั้นระบบอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศ คือระบบอัตราแลกเปลี่ยนมาตรฐานทองคำ ผู้นำเงินทุนออกจะต้องมาแลกเป็นรูปของทองคำ และดอลลาร์) เงินทุนเหล่านี้ได้ไหลออกไปเพื่อไปลงทุนในรูปของการเก็งกำไรในตลาดหุ้นนั่นเอง เงินทุนที่ไหลออกเป็นจำนวนมากส่งผลให้เกิดการลดลงของปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ และสินเชื่อภายในประเทศตึงตัว จึงมีผลให้อัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และเริ่มกระทบกับความอ่อนแอของภาคเศรษฐกิจอื่นๆ ภายในประเทศ ผลดังกล่าวได้กระทบต่อกันไปเป็นลูกโซ่ ในช่วงเดือนตุลาคม ค.ศ.1929 ตลาดหุ้นในนิวยอร์กได้ตกต่ำลงอย่างหนัก (ในค.ศ.1932 ดัชนีราคาของหลักทรัพย์ได้ลดลงอยู่ในช่วง 30-40 จุด) มูลค่าการกู้ยืมเงินระหว่างประเทศของสหรัฐฯ ได้ลดลง ส่งผลให้ปริมาณการค้าระหว่างประเทศลดลงในปี ค.ศ.1932 มูลค่าการค้าระหว่างประเทศมีเพียง 1 ใน 3 ของปี ค.ศ.1929 เท่านั้น การลดลงของการค้าระหว่างประเทศของสหรัฐฯ ได้ส่งผลต่อปัญหาลดลงของการค้าระหว่างประเทศกับประเทศยุโรปโดยเฉพาะสหราชอาณาจักรส่งผลให้ประเทศส่วนใหญ่ในยุโรป (ยกเว้นฝรั่งเศส) ประสบกับปัญหาดุลการชำระเงินขาดดุล และความเชื่อมั่นในค่าเงินสกุลหลักคือ ปอนด์สเตอร์ริงก็ได้มีผลซ้ำเติมต่อภาวะเศรษฐกิจตกต่ำเป็นอันมาก เงินปอนด์ในฐานะเงินสกุลหลักที่ใช้ในการติดต่อซื้อขายและทำธุรกรรมอื่นๆ ระหว่างประเทศได้ประสบกับปัญหาการยอมรับในต่างประเทศ เพราะเศรษฐกิจที่เริ่มถดถอยค่าเงินปอนด์ได้มีค่าอ่อนลง และได้ส่งผลต่อฐานะการเป็นผู้นำของธนาคารระหว่างประเทศ ในที่สุดสหราชอาณาจักรได้ออกจากระบบมาตรฐานทองคำจึงส่งผลให้ค่าเงินปอนด์ตกต่ำลงไปอีก และผลกระทบที่ตามมาก็คือ หลายๆ ประเทศได้ออกจากระบบมาตรฐานทองคำ และมีผลให้ค่าเงินได้ลดลงอย่างรวดเร็วใน ค.ศ.1932 ซึ่งส่งผลต่อเศรษฐกิจตกต่ำในทศวรรษ 1930

วิกฤติ 1930 Depression สรุป