อัตราภาษีหัก.

ภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย หรือ หัก ณ ที่จ่าย คือเงินที่คน “จ่าย” ที่จดทะเบียนเป็นบริษัทหรือนิติบุคคลต้อง “หัก” ไว้ก่อนที่จะจ่ายเงินให้กับคนรับที่เป็นนิติบุคคล หรือคนธรรมดาก็ได้ แล้วนำส่งเป็นภาษีให้กรมสรรพากรไม่เกินวันที่ 7 ของเดือนถัดไป


สวัสดีครับ วันนี้ผมจะมาพูดถึงภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย คืออะไร ทำไมเราจะต้องถูกหัก และทำไมในแต่ละครั้งถึงถูกหักไม่เท่ากัน โดยจะขอเล่าคร่าวๆ ว่า


เลือกอ่านได้เลย!

  • ให้เราอ่านให้ฟัง
  • ภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย คืออะไร
  • ค่าใช้จ่ายที่ต้องทำ หัก ณ ที่จ่าย มีอะไรบ้าง
    • หัก 1% สำหรับค่าขนส่ง
    • หัก 2% สำหรับค่าโฆษณา
    • หัก 3% สำหรับจ้างรับเหมาหรือบริการต่างๆ
    • หัก 5% สำหรับค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์
    • ไม่หัก สำหรับยอดที่ไม่เกิน 1,000 บาท

ให้เราอ่านให้ฟัง



ภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย คืออะไร


ภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย หรือ หัก ณ ที่จ่าย คือเงินที่คน “จ่าย” ที่จดทะเบียนเป็นบริษัทหรือนิติบุคคลต้อง “หัก” ไว้ก่อนที่จะจ่ายเงินให้กับคนรับที่เป็นนิติบุคคล หรือคนธรรมดาก็ได้ แล้วนำส่งเป็นภาษีให้กรมสรรพากรไม่เกินวันที่ 7 ของเดือนถัดไป



ในการทำหัก ณ ที่จ่ายจะต้องรู้ 2 เรื่องคือ


  1. คนรับเงินคือใคร (กระทบต่อแบบที่ยื่น)
  2. จ่ายค่าอะไร (กระทบอัตราภาษีที่หัก)

ทุกครั้งที่ทำการหักไว้ คนที่หักต้องออกหนังสือรับรองหัก ณ ที่ จ่าย ให้กับคู่ค้าของเราไว้ด้วยทุกครั้ง โดยออกอย่างน้อย 4 ฉบับ คือ ต้นฉบับและสำเนา 2 ฉบับแรกออกให้คู่ค้า เพื่อให้คู่ค้าเก็บไว้ใช้ขอคืนภาษีฉบับหนึ่ง และเก็บไว้เป็นหลักฐานฉบับหนึ่ง ส่วนฉบับที่ 3 และ 4 เราเก็บไว้เอง โดยฉบับที่ 3 เอาไว้สำหรับส่งภาษี (โดยปกติก็จะส่งฉบับนี้ให้กับสำนักงานบัญชีเป็นผู้ทำให้) และฉบับที่ 4 เราเก็บไว้เป็นหลักฐาน 

อัตราภาษีหัก.
หนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย พร้อมยื่นต่อกรมสรรพากร ผ่านโปรแกรม FlowAccount

ผู้ออกหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่ายสามารถใช้โปรแกรมบัญชีช่วยในการออกเอกสารได้อย่างง่ายๆ แล้ว ลองใช้โปรแกรมบัญชีสำหรับธุรกิจ  FlowAccount ซึ่งสามารถออกหนังสือรับรอง หัก ณ ที่จ่ายนี้ได้ทั้งทางเว็บไซต์และแอปมือถือ    

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย เป็นการจัดเก็บภาษีล่วงหน้ากำหนดให้ผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่หักภาษีจากเงินที่จ่ายให้แก่ผู้รับทุกครั้งที่จ่าย ซึ่งการหักภาษีต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนด หลังจากนั้นให้นำเงินส่งกรมสรรพากร 
                ในกรณีมีข้อสงสัยใด ๆ โปรดติดต่อสอบถามได้ที่กองกฎหมายและระเบียบ หรือฝ่ายประชาสัมพันธ์กรมสรรพากร สำนักงานสรรพากรเขต สำนักงานสรรพากรเขตพื้นที่ สำนักงานสรรพากรจังหวัด สำนักงานสรรพากรอำเภอหรือเขต แห่งหนึ่งแห่งใดก็ได้