เรียงความอาชีพในฝัน โปรแกรมเมอร์

บทความงาน > บทความตามสายงาน > เจาะลึก นักพัฒนาซอฟต์แวร์ (Software Developer) อาชีพในฝันของคนรุ่นใหม่

เจาะลึก นักพัฒนาซอฟต์แวร์ (Software Developer) อาชีพในฝันของคนรุ่นใหม่

  • 23 January 2022

เรียงความอาชีพในฝัน โปรแกรมเมอร์
เรียงความอาชีพในฝัน โปรแกรมเมอร์
เรียงความอาชีพในฝัน โปรแกรมเมอร์
เรียงความอาชีพในฝัน โปรแกรมเมอร์
เรียงความอาชีพในฝัน โปรแกรมเมอร์
เรียงความอาชีพในฝัน โปรแกรมเมอร์
เรียงความอาชีพในฝัน โปรแกรมเมอร์

           นวัตกรรมที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินชีวิตของมนุษย์ในยุคปัจจุบันนี้คงหนีไม่พ้น สมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต สื่อดิจิทัล และเครือข่ายทางสังคมต่าง ๆ เพราะสิ่งเหล่านี้กลายมาเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยทำให้สิ่งที่มนุษย์จินตนาการเกิดขึ้นได้จริง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการส่งข้อมูลข่าวสาร ระบบการขนส่ง การเงิน ก็สามารถเชื่อมต่อและดำเนินการได้อย่างรวดเร็วเพียงปลายนิ้วสัมผัส ดังนั้นหลายหน่วยงานจึงหันมาให้ความสนใจการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ ต้องการซอฟต์แวร์ที่มีคุณภาพและมีเสถียรภาพมากยิ่งขึ้น ตำแหน่งสำคัญอย่าง Software developer จึงเป็นตำแหน่งที่หลายองค์กรให้ความสำคัญเป็นอย่างมากในกลุ่มสายไอทีหรือเทคโนโลยี นอกจากนี้ยังเป็นที่ต้องการของตลาดในปัจจุบันและในอนาคตอีกด้วย จึงกลายมาเป็นเป็นอาชีพในฝันของคนรุ่นใหม่เลยก็ว่าได้

เรียงความอาชีพในฝัน โปรแกรมเมอร์

           ดังนั้นจึงทำให้หลายคนเริ่มหันมาสนใจว่า Software developer คืออะไร? ทำหน้าที่เกี่ยวกับอะไร? ต้องมีทักษะอะไรบ้างถึงจะทำงานด้านนี้ได้? แล้วจำเป็นสำหรับองค์กรประเภทไหน? วันนี้ JobsDB มีข้อมูลมาฝากทุกคนกัน

 

           Software developer หรือ นักพัฒนาซอฟต์แวร์ คือ ผู้ที่ความเชี่ยวชาญในการออกแบบ การวางแผนพัฒนา เน้นในเรื่องของการเขียนโปรแกรมโดยใช้ภาษาโปรแกรมใดภาษาหนึ่ง รวมไปถึงการบริหารโปรเจกต์และออกแบบฟีเจอร์ต่าง ๆ ให้กับบริษัทอีกด้วย ซึ่งขอบเขตงานจะกว้างกว่าการเขียนโปรแกรม โดยอาจมีส่วนร่วมในทั้งโปรเจค มากกว่าดูแลส่วนของชิ้นงาน ซึ่งในกลุ่มนี้อาจรวมถึงโปรแกรมเมอร์ฟรีแลนซ์

 

ลักษณะงานหลัก ๆ ที่ทำ

  1. วิจัย วิเคราะห์ และพัฒนาระบบซอฟต์แวร์
  2. ศึกษากระบวนการ ตลอดจนเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง
  3. ออกแบบกระบวนการในการทำระบบซอฟต์แวร์ให้เป็นมาตรฐาน
  4. ทดสอบ ตรวจสอบความถูกต้องของกระบวนการให้เป็นไปตามความต้องการ
  5. ประเมินผลการทำงานของแต่ละขั้นตอนในกระบวนการ พร้อมประเมินผลความเสี่ยง
  6. สนับสนุนการพัฒนาซอฟต์แวร์ระบบใหญ่ให้มีคุณภาพสูง
  7. ดูแลแก้ไขข้อมูลด้านซอฟต์แวร์ของสถานประกอบการ
  8. แนะนำและสอนเทคนิคการใช้โปรแกรมให้พนักงาน และงานอื่นๆที่ได้รับมอบหมาย
  9. ปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชา

 

ลำดับขั้นตอนในการทำงาน

           การมองเห็นปัญหาของซอฟต์แวร์ >  วิเคราะห์เพื่อหาแนวทางการพัฒนา > การออกแบบฟอร์ม รูปแบบ หน้าตาของแพลตฟอร์ม รวมถึงการดีไซน์ด้านต่าง ๆ > ทำโค้ดและสร้างซอฟต์แวร์ที่สามารถนำไปใช้ได้จริง > ทดลองระบบ

 

ทักษะที่ต้องมี

           หากอยากเป็นนักพัฒนาซอฟต์แวร์ที่องค์กรไหนก็ต้องการ ทักษะที่จำเป็นต้องมี ควรมีทั้ง Hard Skill และ Soft Skill

  • Hard Skill ที่เน้นจะเป็นเรื่องของการ Coding เป็นหลัก เนื่องจากเป็นคนที่ต้องรู้จักภาษาโปรแกรมเป็นอย่างดี ทักษะพื้นฐานด้านภาษาโปรแกรมที่ควรมี คือ ภาษา C, C+, Java, COBAL, IOS, Android , Java, Python, Lisp นอกจากนี้ยังรวมไปถึงทักษะในเรื่องของการวิเคราะห์ข้อมูลและวางแผนงานได้อย่างแม่นยำ
  • Soft Skill ที่จำเป็นต้องใช้คือเรื่องของการสื่อสาร รวมทั้งต้องรับฟังความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะจากผู้อื่น ต้องใส่ใจในรายละเอียด มีความคิดสร้างสรรค์เป็นคนที่คิดนอกกรอบ และมีแง่มุมหลายมุมมอง มีทัศนคติที่ดี มีการบริหารเวลาที่ดี มีความรับผิดชอบสูงทั้งต่อลูกค้าและสังคม มีความซื่อสัตย์ในอาชีพ ไม่ใช้ความรู้ ความสามารถในการดัดแปลงข้อมูลเพื่อประโยชน์ส่วนตัว มีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย มีความสามารถในการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ และพร้อมที่จะพัฒนาตนเองอยู่เสมอ 

 

จำเป็นสำหรับองค์กรประเภทไหน

           เนื่องจากโลกกำลังเปลี่ยนเป็นยุคดิจิทัล ส่งผลให้เกือบทุกหน่วยงานพยายามที่จะมีเว็บไซต์ของตนเองเพื่อการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ทำธุรกิจ กิจกรรมหรือสินค้าของตนเองสามารถเข้าถึงง่ายมากยิ่งขึ้น รวมทั้งการสร้างเว็บไซต์ของบุคคลธรรมดาหรือกลุ่มบุคคลก็มีเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน ทำให้การจ้างงานตำแหน่งนักพัฒนาซอฟต์แวร์เป็นที่ต้องการในตลาดเป็นอย่างมาก

           ตำแหน่งนี้จึงจำเป็นทั้งองค์กรขนาดเล็กไปถึงขนาดใหญ่เลยก็ว่าได้ องค์กรขนาดใหญ่ที่ต้องการมีเว็บไซต์ของตนเองอาจจะให้หน่วยงานทางด้านคอมพิวเตอร์ซึ่งมีบุคลากรที่ชำนาญทางด้านนี้ออกแบบและสร้างเว็บไซต์ได้เอง สำหรับองค์กรขนาดเล็กหรือองค์กรที่ไม่มีหน่วยงานหรือบุคลากรชำนาญในการออกแบบและสร้างเว็บไซต์ อาจจะจัดจ้างบริษัทหรือจัดจ้างผู้ประกอบอาชีพอิสระที่มีความชำนาญงานทางด้านนี้ออกแบบและบำรุงรักษาเว็บไซต์ขององค์กรของตนก็ย่อมได้ รวมไปถึงการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับการนำเสนอในเว็บไซต์เพื่อโฆษณาสินค้าและบริการ

           ดังนั้นนักพัฒนาซอฟต์แวร์จึงเป็นสายอาชีพที่มีความต้องการสูงและมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นทุกวัน อัตรารายได้สูง และที่สำคัญบุคลากรในสายไอทียังคงมีไม่เพียงต่อตลาด และ JobsDB เชื่อว่านักพัฒนาซอฟต์แวร์จะเป็นหนึ่งในกลุ่มงานสายไอทีที่เป็นที่ต้องการของตลาดในปัจจุบันและในอนาคตแน่นอน หากใครเริ่มสนใจอยากจะทำตำแหน่งนี้ สามารถเข้าไปสมัครงานด้านไอทีจากบริษัทชั้นนำที่แอปพลิเคชัน JobsDB กันได้เลย

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทั้ง iOS และ Android

เรียงความอาชีพในฝัน โปรแกรมเมอร์

เลือกงานที่ใช่ ใช้ชีวิตที่ชอบ ด้วยการค้นหางานที่ง่ายและรวดเร็ว พร้อมทั้งจัดการเรซูเม่อย่างมีประสิทธิภาพ ให้คุณอัปโหลด ดู และลบได้ทุกเมื่อที่ต้องการ เพลิดเพลินไปกับประสบการณ์การใช้งานแสนง่าย ด้วยระบบ AI ใหม่ ช่วยค้นหางานที่ตรงใจมากขึ้นถึง 6 เท่า​

นักวิเคราะห์ธุรกิจด้านไอที กับเส้นทางด้านอาชีพที่คุณควรรู้
นักภาษาศาสตร์คอมพิวเตอร์ (Computational Linguistics) ผู้เปลี่ยนคอมพิวเตอร์ให้กลายเป็นระบบปฏิบัติการสุดฉลาด
AI Engineer บุคคลสำคัญผู้นำปัญญาประดิษฐ์มาพัฒนาองค์กร

developer  hard skill  python  soft skill  Software  Software Developer  นักพัฒนาซอฟต์แวร์

บทความยอดนิยม

เรียงความอาชีพในฝัน โปรแกรมเมอร์

20 ประเภทเพื่อนร่วมงานชวนป่วน พร้อมวิธีรับมือ

ในหนึ่งวันชาวออฟฟิศอย่างเรา ๆ ใช้เวลาอยู่ที่ออฟฟิศไม่น้อยกว่า 9 ชั่วโมงเป็นอย่างต่ำ ถ้าไม่นับเวลาที่เราต้องนอนในแต่ละวัน...