ตัวอย่าง จดหมายธุรกิจ ภาษาไทย


จดหมายธุรกิจ

สาระสำคัญ


                       จดหมายธุรกิจถือเป็นการสื่อสารธุรกิจรูปแบบหนึ่งที่ใช้ติดต่อระหว่างกันในวงธุรกิจโดยมี จุดประสงค์อยางใดอย่างหนึ่งในการดำเนินธุรกิจเช่น เสนอขายสิ้นค้าหรือบริการ สั่งซื ้อ สินค้าและ ตอบรับการสั่งซื้อ ติดตาม ร้องเรียนเกี่ยวกับข้อผิดพลาดหรือความเสียหายเป็นต้น จดหมายธุรกิจ ส่วนใหญ่มีรูปแบบและการใช้ภาษาเป็นทางการ หรือคอนข้างเป็นทางการ


ความหมายของจดหมายธุรกิจ

                      จดหมายธุรกิจ หมายถึง จดหมายที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างบริษัท ห้างร้าน หน่วยงานต่างๆ  ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่งเกี่ยวกับธุรกิจ ทั้งด้านการเงิน การค้าขาย ตลอดจน การบริการต่างๆ

จดหมายธุรกิจก่อให้เกิดประโยชน์ดังนี้
1. ประหยัดเวลาแรงงานและคาใช้จ่าย
2. เป็นเอกสารป้องกันความคลาดเคลื่อน
3. เป็นสื่อกลางที่ก่อให้เกิดไมตรีจิต ระหว่างผู้ประกอบการและลูกค้า
4. เป็นหลักฐานเพื่อความเข้าใจที่ชัดเจน ถูกต้อง
5. เป็นสื่อในการแจ้งขาวสารใหม่ๆระหว่างธุรกิจกับลูกค้า
6. ใช้เก็บเป็นหลักฐานอ้างอิงในกรณีที่เกิดปัญหาขัดแย้ง ตกลงกันไม่ได้



ลักษณะจดหมายธุรกิจที่ดี ลักษณะของจดหมายธุรกิจทีดีมีดังนี้
 1.กะทัดรัด ชัดเจน เป็นการเลือกสรรถ้อยคําการใช้ภาษาการลําดับความ  มีวัตถุประสงค์ ในการเขียนแน่นอน ไมเยิ่นเย้อ ผู้อ่านสามารถเข้าใจได้ทันที
2. สุภาพ คือการใช้สํานวนภาษาที่สุภาพ แสดงความเป็นมิตรที่ดีต่อกัน
3. สมบูรณ์คือเนื้อหาครอบคลุมเรื่องราวทั้งหมด ทั้งสาเหตและจุดประสงค์ ที่ต้องการแจ้ง ให้ผู้รับทราบ
4. แนบเนียน คือการใช้ภาษาเหมาะสม ถูกต้องตามกาลเทศะ รู้ว่าสงใดควรเขียน ควรหลีกเลยงในการเขียน
5. คํานงถ งผึ ู้อ่าน คือ ต้องให้ความสนใจผู้อ่านเสมอวาอ่ านแล ่ ้วรู้สึกอย่างไรอันจะนํามาซึ่ง สัมพนธภาพท ั ี่ดีต่อกัน
6. สะอาดและเป็นระเบียบ ควรคํานงถึ ึงเร ื่ องการพิมพ์เช่น ต้องสะอาด การเว้นระยะบรรทัด กั้นหน้ากั้นหลัง มีการจดขั ้อความให้เป็นระเบียบสวยงาม เพ ื่อให้ผู้รับเกิดความประทบใจ

รูปแบบของจดหมายธุรกิจ

จดหมายธุรกิจมี 3 ประเภท

1.จดหมายธุรกิจแบบไทย

แบบฟอร์มจดหมายธุรกิจแบบไทย


ตัวอย่าง จดหมายธุรกิจ ภาษาไทย




ตัวอย่างแบบฟอร์มจดุหมายธุรกิจแบบไทย

ตัวอย่าง จดหมายธุรกิจ ภาษาไทย


2.จดหมายธุรกิจแบบราชการ

แบบฟอร์มจดหมยธุรกิจแบบราชการ


ตัวอย่าง จดหมายธุรกิจ ภาษาไทย



ตัวอย่างแบบฟอร์มธุรกิจแบบราชการ


ตัวอย่าง จดหมายธุรกิจ ภาษาไทย




3.จดหมายธุรกิจสากล มี 3 ประเภท

3.1 จดหมายธุรกิจแบบ Full Block

แบบฟอร์มจดหมายธุรกิจแบบ Full Block


ตัวอย่าง จดหมายธุรกิจ ภาษาไทย




ตัวอย่างจดหมายธุรกิจแบบ Full Block 


ตัวอย่าง จดหมายธุรกิจ ภาษาไทย



3.2 จดหมายธุรกิจสากลแบบ Modify Block

แบบฟอร์มจดหมายธุรกิจแบบ Modify Block


ตัวอย่าง จดหมายธุรกิจ ภาษาไทย



ตัวอย่างจดหมายธุรกิจแบบ Modify Block


ตัวอย่าง จดหมายธุรกิจ ภาษาไทย





3.3จดหมายธุรกิจสากลแบบ Sami Block

แบบฟอร์มจดหมายธุรกิจแบบ Sami Block


ตัวอย่าง จดหมายธุรกิจ ภาษาไทย


ตัวอย่างจดหมายแบบ Sami Block


ตัวอย่าง จดหมายธุรกิจ ภาษาไทย



























ความหมายของการเขียนจดหมายธุรกิจ

ตัวอย่าง จดหมายธุรกิจ ภาษาไทย



                จดหมายธุรกิจถือเป็นการสื่อสารธุรกิจรูปแบบหนึ่ง เป็นจดหมายที่ใช้ติดต่อระหว่างกันในวงธุรกิจโดยมีจุดประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่งในการดำเนินธุรกิจ เช่น
เสนอขายสินค้าหรือบริการ สั่งซื้อ สินค้าและตอบรับการสั่งซื้อ ติดตามหนี้ ร้องเรียนเกี่ยวกับข้อผิดพลาดหรือความเสียหาย เป็นต้น จดหมายธุรกิจมีความแตกต่าง
จากจดหมายส่วนตัวบ้างในด้านรูปแบบและการใช้ถ้อยคำภาษา กล่าวคือจดหมายธุรกิจส่วนใหญ่มีรูปแบบและการใช้ภาษาเป็นทางการหรือค่อนข้างเป็นทางการ
ไม่ใช้ภาษาปากหรือภาษาพูดดังที่มักปรากฏในจดหมายส่วนตัว

จดหมายธุรกิจมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อวงการธุรกิจ ซึ่งสรุปประเด็นสำคัญได้ดังนี้
๑. ด้านการประหยัด เป็นการประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย เนื่องจากไม่ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปติดต่อด้วยตนเอง
๒. ด้านความสะดวกและรวดเร็ว เป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ติดต่อ ในกรณีที่ผู้ที่ต้องการติดต่อธุรกิจด้วยมีงานมากหรืออยู่ไม่เป็นที่เป็นทาง จึงไม่สะดวก
ที่จะโทรศัพท์ติดต่อหรือขอเข้าพบด้วยตนเอง
๓. ด้านการให้รายละเอียดข้อมูล เป็นการเอื้อต่อการสื่อข้อความ สามารถให้รายละเอียดข้อมูลได้มาก ชัดเจน และมีระบบ เพราะผู้เขียนมีเวลาเตรียมการเขียนก่อน
ลงมือเขียนอีกทั้งยังสามารถตรวจสอบข้อมูลอีกครั้งก่อนส่งไปยังผู้รับจดหมาย
๔. ด้านการใช้เป็นหลักฐานในการอ้างอิง ค้นเรื่อง และที่สำคัญที่สุดคือเป็นหลักฐานทางกฎหมาย เนื่องจากเป็นลายลักษณ์อักษรที่ชัดเจน
๕. ด้านการเป็นสื่อสัมพันธ์ที่ดีในการติดต่อธุรกิจ เป็นการส่งเสริมให้มีความสัมพันธ์ที่ดีและการติดต่อกันอย่างต่อเนื่อง ในการติดต่อธุรกิจซื้อขาย บางครั้งลูกค้า
อาจขาดการติดต่อไป บริษัทจำเป็นต้องมีจดหมายไปถึงลูกค้าเพื่อขอทราบสาเหตุที่แท้จริงพร้อมทั้งแสดงความพร้อมที่จะแก้ไขปัญหาหรือเสนอบริการพิเศษ
ต่าง ๆเพื่อจูงใจให้ลูกค้ากลับมาติดต่อสั่งซื้อสินค้าหรือบริการจากบริษัทอีก

ประเภทของจดหมายธุรกิจ

จดหมายธุรกิจแบ่งตามจุดประสงค์ของการเขียนได้ ๓ ประเภท ดังนี้

๑. จดหมายสอบถามและจดหมายตอบ

๑.๑ จดหมายสอบถาม หมายถึง จดหมายที่ติดต่อระหว่างบริษัทห้างร้านด้วยกัน หรือที่เอกชนติดต่อกับบริษัทห้างร้าน เพื่อสอบถามเรื่องราวต่าง ๆ ที่ต้องการ
ทราบ ซึ่งอาจจะเป็นข้อมูลในการตัดสินใจซื้อสินค้านั้นหลังจากได้คำตอบ
๑.๒ จดหมายตอบสอบถาม หมายถึง เป็นจดหมายลักษณะเดียวกันแต่แทนที่จะสอบถาม ก็จะเขียนตอบข้อเท็จจริงของผู้ที่สอบถาม เพื่อให้ผู้ที่ติดต่อมาได้
ทราบในสิ่งที่ตนต้องการ
๒. จดหมายสั่งซื้อสินค้าและตอบรับการสั่งซื้อสินค้า
๒.๑ จดหมายสั่งซื้อสินค้า หมายถึง จดหมายที่บอกรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าที่ต้องการจะสั่งซื้อ เพื่อผู้ขายจะได้ส่งสินค้าให้แก่ผู้สั่งซื้อได้ถูกต้อง
๒.๒ จดหมายตอบรับการสั่งซื้อสินค้า หมายถึง จดหมายที่ทางบริษัทตอบให้ผู้ซื้อทราบว่าได้รับการสั่งสินค้าแล้ว
๓. จดหมายสมัครงาน หมายถึง จดหมายที่บุคคลต้องการจะสมัครทำงานเขียนไปถึงบริษัทห้างร้าน เพื่อขอสมัครเข้าทำงานในตำแหน่งที่ตนต้องการ
จะเห็นได้ว่าความหมายของจดหมายแต่ละประเภทมีความสอดคล้องกับจุดประสงค์ทางธุรกิจ หรือประโยชน์ทางธุรกิจในการเขียนจดหมายนั้น
วิธีใช้จดหมายดังกล่าวจะสอดคล้องของประเภทของจดหมาย แต่เพื่อให้มองเปรียบเทียบได้ ชัดเจนขึ้นขอให้ดูตารางหน้าถัดไป
รูปแบบและส่วนประกอบของจดหมายธุรกิจ
หน่วยงานแต่ละแห่งในปัจจุบัน นิยมใช้จดหมายธุรกิจรูปแบบที่หลากหลาย สุดแล้วแต่ว่ารูปแบบใดจะอำนวยความสะดวกรวดเร็วและเหมาะสมที่สำคัญคือควรใช้กระดาษปอนด์อย่างดีเป็นกระดาษที่พิมพ์หัวจดหมายของบริษัทและจัดวางรูปแบบให้สวยงาม ไม่เอียงไปด้านใดด้านหนึ่งจนเกินไป
จดหมายธุรกิจมีรูปแบบและส่วนประกอบแต่งต่างจากบันทึก เพราะมีรายละเอียดมากกว่า รูปแบบและส่วนประกอบหลักของจดหมายธุรกิจมีดังนี้
๑. รูปแบบของจดหมายธุรกิจ รูปแบบของจดหมายธุรกิจที่นิยมใช้กันทั่วไป พอสรุปได้มี ๓ รูปแบบ ดังนี้
๑.๑ แบบบล็อก (block style) เป็นรูปแบบที่พิมพ์ให้ทุกบรรทัดชิดเส้นกั้นหน้า ยกเว้นเฉพาะที่อยู่ผู้ส่ง (กรณีที่ใช้หัวจดหมายที่พิมพ์สำเร็จรูปไว้) ดังภาพประกอบที่ ๑
๑.๒ แบบกึ่งบล็อก (modified block style) เป็นรูปแบบที่พิมพ์ให้ส่วนเลขที่จดหมาย ที่อยู่ของผู้รับ คำขึ้นต้น และสิ่งที่ส่งมาด้วย อยู่ชิดเส้นกั้นหน้าและส่วนที่อยู่ของผู้ส่ง วัน เดือน ปี คำลงท้าย ลายมือชื่อ ชื่อเต็ม และตำแหน่ง อยู่กลางหน้ากระดาษหรือค่อนไปทางขวาเล็กน้อย ส่วนเรื่อง จะพิมพ์กึ่งกลางหน้ากระดาษ นอกจากนี้ ในส่วนข้อความต้องพิมพ์ให้บรรทัดแรกของข้อความแต่ละย่อหน้าร่นเข้าไปประมาณ ๕–๑๐ ระยะตัวอักษร ดังภาพประกอบที่ ๒
๑.๓. แบบย่อหน้า (indented style) เป็นรูปแบบเหมือนกับแบบกึ่งบล็อก แต่อาจนำเอาส่วนเรื่อง พิมพ์อยู่เหนือคำขึ้นต้นก็ได้ ดังภาพประกอบที่ ๓

ตัวอย่าง จดหมายธุรกิจ ภาษาไทย