อธิบาย ความ หมาย ของ bottle Server

หลายๆ ท่านคงเคยได้ยินคำว่า Server ผ่านหูกันมาบ้างไม่มากก็น้อย โดยเฉพาะใครที่เล่นเกมออนไลน์เป็นประจำ น่าจะคุ้นเคยกันดีเวลาที่ไม่สามารถเข้าเกมได้เพราะว่าเซิร์ฟเวอร์มีการปิดปรับปรุง หรือไม่ว่าจะเป็นตอนเริ่มต้น สำหรับบาง Game จะมีให้เลือกว่าต้องการเล่นเซิร์ฟเวอร์ไหนด้วย ในส่วนขององค์กร ถ้ามีการต้องจัดการข้อมูล ก็มักจะมี Server Computer อย่างน้อยๆ 1 เครื่อง เป็นศูนย์กลางของบริษัท บทความนี้จะมาแจกแจงให้ทราบกันครับ ว่า Server คืออะไร และมีความพิเศษอย่างไรบ้าง

สารบัญ

Server คืออะไร

นิยามของ Server นั้น คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ ที่ทำหน้าที่ Service ให้กับ Computer ตัวอื่นๆ และผู้ใช้งาน ในภาษาไทยนั้น คำว่าเซิร์ฟเวอร์แปลว่า คอมพิวเตอร์แม่ข่าย ทำงานเพื่อ Support เครื่อง PC ตัวอื่นๆ ทั่วไปในระบบ เรียกว่าเครื่องลูก โดยคำที่นิยมใช้เรียกเครื่องลูก คือ เครื่อง Client นั่นเอง

อธิบาย ความ หมาย ของ bottle Server

ในกลุ่ม Data Center นั้น คอมพิวเตอร์ Hardware ที่มีโปรแกรมของ Server ทำงานอยู่ จะถูกเรียกรวมกันเลยว่า Server Computer ซึ่งเซิร์ฟเวอร์แต่ละเครื่อง จะมีทั้งรูปแบบที่อุทิศตัวเครื่องทั้งหมดในการทำหน้าที่ทั้งหมด และรูปแบบที่ใช้งานทำหน้าที่เป็นเซิฟเวอร์แค่บางส่วน คือ งานที่ได้รับมอบหมายเท่านั้น

ในการทำงานร่วมกันของ Server และ Client นั้น ในสถานะปกติ โปรแกรมเซิร์ฟเวอร์จะทำหน้าที่ Standby รองรับคำสั่งจากเครื่อง Client ซึ่งอาจจะมาจากคอมพิวเตอร์เครื่องเดียวกันหรือคนละเครื่องก็เป็นได้ และโปรแกรมที่ใช้ในการเซอร์วิสของเซิร์ฟเวอร์กับเครื่องลูก นั้น อาจจะมาจาก Software หรือ Application ตัวเดียวกันหรือคนละตัวก็เป็นไปได้เช่นกัน

ขายServer ราคาถูก

โดยตัวแทนจำหน่ายโดยตรง

อธิบาย ความ หมาย ของ bottle Server

HPE Server

เลือกซื้อ

อธิบาย ความ หมาย ของ bottle Server

Dell Server

เลือกซื้อ

อธิบาย ความ หมาย ของ bottle Server

Lenovo Server

เลือกซื้อ

เลือกซื้อ Server ทั้งหมด >

มีวิธีการทำงานยังไง

คำว่า Server นั้น สามารถหมายความถึงอุปกรณ์ที่จับต้องได้, อุปกรณ์จำลอง หรือ Software ก็ได้ การทำงานของเซิร์ฟเวอร์นั้นขึ้นอยู่กับชนิดและสถานะของมันด้วย ซึ่งมีความแตกต่างกันดังนี้

Physical Servers

Physical Server นั้น เรียกได้ง่ายๆ ว่าเป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้ทำงานประมวลผล Server Software นั่นเอง ข้อแตกต่างของเซิร์ฟเวอร์กับคอมพิวเตอร์ทั่วไปจะกล่าวถึงในหัวข้อต่อไป ซึ่งในปัจจุบันนี้ เราสามารถแบ่งประเภทของ Physical Server ได้ตามลักษณะ Form Factor ของตัวเครื่อง ซึ่งคือรูปทรงและขนาดของมันนั่นเอง ประกอบด้วย 4 รูปแบบหลัก ดังนี้

อธิบาย ความ หมาย ของ bottle Server

Tower Servers – เซิร์ฟเวอร์แบบฟอร์มทาวเวอร์นั้น มีลักษณะเป็นเครื่องแนวตั้ง วางเดี่ยวๆ แบบ Standalone ซึ่งก็มีรูปทรงเหมือน Desktop Computer ทั่วไปนี่เอง ต่างกันที่ Server ทรงนี้จะมีการระบายอากาศที่ถ่ายเทดีกว่า เนื่องจากมีการออกแบบมาให้ชิ้นส่วนแต่ละชิ้นประกอบกันไม่หนาแน่นจนเกินไป

Form Factor รูปทรงนี้ยังถือว่ามีราคาที่ประหยัดที่สุดเมื่อเทียบกับรูปทรงอื่น จังเหมาะกับธุรกิจขนาดเล็กไปถึงกลาง (SMB) ที่มีงบประมาณจำกัด อย่างไรก็ตาม ข้อเสียของมันก็มี คือกินพื้นที่เยอะเมื่อเทียบกับรูปทรงอื่นๆ

> เลือกซื้อ Tower Servers กับเรา

อธิบาย ความ หมาย ของ bottle Server

Rack Servers – เซิร์ฟเวอร์แบบ Rack นั้น ออกแบบมาเพื่อติดตั้งในตู้ Rack ในห้อง Data Center มักทำหน้าที่จัดการระบบคอมพิวเตอร์ทั้งหมดในศูนย์ข้อมูล รองรับปริมาณงานจำนวนมาก ใช้พื้นที่ในการติดตั้งน้อยกว่าแบบ Tower ออกแบบมาเป็นรูปทรงแนวนอนมาตรฐาน เพื่อให้เซิร์ฟเวอร์, UPS หรือ Switch จากแบรนด์ที่แตกต่างกัน สามารถวางติดตั้งทับซ้อนกันในตู้ Cabinet ได้

ฟอร์มแบบ Rack นี้จะใช้หน่วยเรียกขนาดว่า U ซึ่งวัดจากความสูงของตัวเครื่องเท่านั้น (1U = ความสูงประมาณ 4.4 cm) สายไฟที่ใช้เสียบมักถูกจัดการอย่างเรียบง่าย เพื่อให้สะดวกต่อการติดตั้งและถอดออกเพื่อซ่อมบำรุง

> เลือกซื้อ Rack Servers กับเรา

อธิบาย ความ หมาย ของ bottle Server

Blade Servers – เบลดเซิร์ฟเวอร์คือ Device ขนาดกะทัดรัด ที่มีลักษณะเป็นกล่อง Composable ภายในเป็นตัว Blade Server ขนาดเล็กติดตั้งอยู่รวมกันหลายๆ ตัว แต่ละตัวมีระบบระบายอากาศ Cooling System ของตนเอง ทุกตัวมักอุทิศตนทำงานให้ Application อย่างเดียวร่วมกัน

เซิร์ฟเวอร์ประเภทนี้ มีประสิทธิภาพในการทำงานสูงกว่า Form Factor แบบอื่น จึงมาพร้อมกับราคาที่สูงกว่า อีกหนึ่งข้อดีคือง่ายต่อการซ่อมแซม เพราะสามารถถอดเปลี่ยน Blade แต่ละอันได้เลย นิยมใช้ในองค์กรระดับ Enterprise

อธิบาย ความ หมาย ของ bottle Server

Mainframes – เมื่อช่วงยุค 1990 เมนเฟรมคอมพิวเตอร์นั้น ถูกคาดการณ์ว่าจะทำหน้าที่เป็น Server ในอนาคต แต่ปัจจุบันกลับไม่ค่อยเป็นที่นิยมเนื่องจากราคาที่สูง และโครงสร้างที่ใหญ่ ต้องลงทุนเยอะ ทำให้รูปแบบเซิร์ฟเวอร์ Tower, Rack และ Blade เป็นที่นิยมมากกว่า

อย่างไรก็ตาม ในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ขององค์กรระดับ Enterprise บางที่ยังคงนิยมใช้เมนเฟรมเป็นเซิฟเวอร์อยู่ อาทิเช่น บริษัทการเงินที่ต้องมีการคำนวนมากๆ หรือ ร้านค้าออนไลน์ขนาดใหญ่ที่มี Tracsaction ตลอดเวลา เป็นต้น

Virtual Servers

Server แบบ Virtual นั้น คือการจำลองระบบขึ้นมาให้ทำหน้าที่เสมือน Physical Server ซึ่งก็ต้องมีระบบปฏิบัติการและ Application เป็นของตนเองเช่นกัน การสร้าง Virtual Machines นั้น ต้องมีการติดตั้ง Software กลุ่มหนึ่งที่เรียกว่า Hypervisor (หรือ VMware) ลงบท Physical Server ซึ่งเจ้า Hypervisor นี้จะทำหน้าที่ช่วยให้ Physical Server สามารถทำหน้าที่เป็น Host ที่จำลองเครื่องเซิร์ฟเวอร์เสมือนจริงขึ้นมาอีกตัว

อธิบาย ความ หมาย ของ bottle Server

เจ้าเซิร์ฟเวอร์จำลองที่สร้างมานี้ จะมีองค์ประกอบเหมือนกับ Server จริงๆ ทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็น CPU, Memory, Storage หรือ Network เป็นต้น ซึ่งจำนวนที่จำลองได้ ทำได้อย่างไม่มีจำกัด แต่ก็จะกินทรัพยาการเครื่อง Host ไปตามสัดส่วนที่แบ่งออกมา

เราสามารถใช้ Console ในการช่วยจัดสรรแบ่งทรัพยากรต่างๆ ไปยัง Virtual Server แต่ละตัวตามความต้องการของสเปคที่ใช้ได้ วิธีนี้ช่วยให้ลดค่าใช้จ่ายในส่วน Hardware อย่างสูง เพราะ Physical Server เพียงตัวเดียว ก็สามารถสร้าง Virtual Servers ขึ้นมาหลายๆ ตัว ช่วยกันทำงานต่างๆ มากมายหลายๆ ประเภท แล้วแต่ที่เครื่อง Host ออกคำสั่งเลยครับ

การทำ VMware ถือว่าเป็นการส่งเสริม เพิ่มค่า High Availability ด้วย โดยจะส่งเสริมให้ระบบโครงสร้างไอทีขององค์กรมีความเสถียรมากขึ้น โดยเฉพาะถ้าใช้ระบบโครงสร้างแบบ Storage เดียวกัน

> อ่านบทความ High Availability คืออะไร

Server Software

เซิร์ฟเวอร์นั้น ต้องการองค์ประกอบที่เป็น Software ขั้นต่ำ 2 ส่วน ได้แก่ ระบบประมวลผล (Operating System หรือ OS) และแอพพลิเคชั่น (Application) ตัว OS นั้นจะทำหน้าที่เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับดำเนินการทำงาน Application ต่างๆ โดยช่วยให้เข้าถึงทรัพยากร Hardware พร้อมช่วยรองรับความต้องการต่างๆ ที่แอพพลิเคชั่นต้องการ

เจ้า Operating System ยังทำหน้าที่จดจำและเป็นสื่อกลางในการสื่อสารระหว่างเครื่อง Client และ Server Application ยกตัวอย่างเช่น การกำหนด IP Address หรือ ชื่อโดเมน ต่างก็ถูกประมวลผลและกำหนดตั้งแต่ระดับ OS

ต่างกับ Computer ทั่วไปยังไง

Desktop Computer และ Server นั้น มีทั้งสิ่งที่เหมือนกัน และไม่เหมือนกัน โดยเซิร์ฟเวอร์ส่วนใหญ่จะใช้ระบบประมวลผลแบบ X86X64 CPUs และสามารถทำงานในรูปแบบ Code เดียวกันกับคอมพิวเตอร์ทั่วไปที่ใช้ X86/X64 ได้ แต่สิ่งที่แตกต่างกันคือ Physical Server ส่วนใหญ่จะรองรับการติดตั้ง CPU หลายๆ Socket และรองรับปริมาณการใส่ Ram ได้จำนวนมากกว่าเยอะเลยครับ

อีกหนึ่งข้อได้เปรียบของเซิฟเวอร์คือตัวเครื่องจะมีความแข็งแรงทนทานกว่า PC ทั่วไป มีการออกแบบมาให้สามารถระบายอากาศได้อย่างดีเยี่ยม และสามารถเปิดใช้งานได้ 24 ชั่วโมงต่อเนื่องกันหลายๆ วัน หรือเป็นเดือนเป็นปีเลยทีเดียวครับ

การทำ Redundant

เพราะ Server Hardware นั้นมักใช้ทำงานกับข้อมูลที่มีความสำคัญสูงจำนวนมากๆ เซิร์ฟเวอร์ส่วนใหญ่จึงถูกออกแบบมาให้รองรับการทำ Redundant (สำรองอุปกรณ์) ทั้งตัวมันเอง และชิ้นส่วนสำคัญต่างๆ ภายในตัวเครื่อง

ตัวเครื่องอาจจะประกอบด้วย Redundant Power Supply, Harddisk (RAID) และ Network Interfaces ซึ่งระบบการรีดันแดนท์นี้ช่วยให้ Server ยังสามารถทำงานต่อไปได้แม้ชิ้นส่วนหลักเกิดความเสียหายขึ้นมา

> อ่านบทความ Redundant Server คืออะไร
> อ่านบทความ RAID คืออะไร

อธิบาย ความ หมาย ของ bottle Server

Form Factor

นอกจากนี้ อีกหนึ่งข้อแตกต่างของ Server กับ Desktop Computer คือ Form Factor โดยปัจจุบันคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะมักจะออกแบบมาในรูปทรง Mini Tower หรือ Small Form ซึ่งออกแบบมาให้ติดตั้งกับโต๊ะทำงานได้อย่างสะดวก ประหยัดเนื้อที่ ในส่วนของเซิร์ฟเวอร์นั้น แม้จะมีบางรุ่นที่ออกแบบมาในรูปทรง Tower คล้ายๆ คอมพิวเตอร์เช่นกัน แต่ส่วนใหญ่แล้วจะมีดีไซน์เป็นรูปแบบ Rack Mounted เสียมากกว่า ระบบ Rack นั้นจะมีมาตรฐานขนาดที่ตายตัว แตกต่างกันเพียงแต่ความสูง ซึ่งใช้หน่วยเป็น 1U, 2U หรือ 4U เป็นต้น

Operating System

อีกหนึ่งข้อแตกต่างที่สำคัญของเซิร์ฟเวอร์และคอมพิวเตอร์ทั่วไป คือระบบปฏิบัติการ นั่นเอง โดย OS ของ Desktop Computer นั้น สามารถรองรับฟีเจอร์การทำงานของ Server ได้แค่บางฟังก์ชั่นเท่านั้น แต่ไม่ได้ออกแบบมาให้ Support ทุกๆ การใช้งานครับ ยกตัวอย่างเช่น Windows 10 Pro ทั่วไป ก็มีฟีเจอร์ Hyper-V ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มในการสร้าง Virtual Machine ของ Microsoft ให้ใช้งานเหมือนกัน แต่ Hypervisor ของ Windows 10 Pro จะไม่สามารถใช้งานฟีเจอร์บางส่วนของ Virtual Servers ได้เหมือน Windows Server

อธิบาย ความ หมาย ของ bottle Server

ถึงแม้ว่าองค์กรทั่วไปจะสามารถทำ Virtual Server ผ่าน Hyper-V ของ Windows 10 Pro แต่จะมีปัญหาเรื่อง License เมื่อ Microsoft ตรวจสอบเจอ

นอกจากนี้ Hyper-V ของ Windows Server ยังมีฟีเจอร์ที่ครบถ้วนกว่าของ Window 10 Pro อาทิเช่น รองรับการล้มเหลวของ Clustering, การทำ Virtual Machine Replication และ Feature Virtual Fibre Channel เป็นต้น

Windows 10 ทั่วไปนั้น สามารถสร้างไฟล์ให้กับอุปกรณ์อื่นๆ ในเครือข่ายได้เหมือนกัน แต่ไม่สามารถทำการแชร์ไฟล์แบบสเกลใหญ่ได้ ในขณะที่ Windows Server สามารถปรับแต่งให้ทำหน้าที่เป็น File Sever ได้อย่างเต็มรูปแบบ ในองค์กรระดับ Enterprise ขนาดใหญ่ การบริหารระบบไฟล์ข้อมูลสามารถจัดการได้ผ่าน Server Farm เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ, ความยืดหยุ่น และความเสถียรให้กับระบบ แทนที่จะใช้เซิร์ฟเวอร์เพียงเครื่องเดียว

> อ่านบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับ OS Server ได้ที่นี่

วิดีโอ Servers vs Desktop PCs โดย Techquickie

อธิบาย ความ หมาย ของ bottle Server

เลือกซื้อ Server HPE

ประเภทของเซิร์ฟเวอร์

หากแบ่งชนิดของ Server ตามการใช้งานแล้ว สามารถแตกกลุ่มไปได้อีกหลายประเภทมากมาย ซึ่งในแต่ละเครือข่าย Network ก็อาจมีเซิร์ฟเวอร์มากกว่า 1 ชนิดในการทำงานร่วมกันก็ได้ วันนี้ผมจะมายกตัวอย่างชนิดของเซิฟเวอร์ที่เป็นที่นิยมใช้งานกัน ดังนี้

File Servers

ไฟล์เซิร์ฟเวอร์ทำหน้าที่เก็บข้อมูล และแจกจ่ายไฟล์ข้อมูลต่างๆ ซึ่งเครื่องลูกหรือ Client หลายๆ ตัวสามารถแชร์ไฟล์ และจัดเก็บข้อมูลลงบน Server ประเภทนี้ นอกจากนี้ ข้อดีของ File Server คือสามารถทำการ Backup ไฟล์ข้อมูลสำคัญได้อย่างง่ายดายพร้อมดูแลปกป้องให้ปลอดภัย โดยที่ไม่ต้องมาทยอยตั้งค่า Security และเข้ารหัสไฟล์ต่างๆ ในอุปกรณ์ลูกทุกๆ ตัวขององค์กร

คอมพิวเตอร์แม่ข่ายชนิดนี้ ควรจะออกแบบให้รองรับความเร็วการอ่านและเขียนสูงสุดเพื่อเพิ่ม Performance ในการทำงาน

อธิบาย ความ หมาย ของ bottle Server

ปริ้นเซิร์ฟเวอร์นั้นออกแบบมาเพื่อจัดการ และแจกจ่ายคำสั่งทุกอย่างที่เกียวข้องกับการ Print ทั้งหมด โดยแทนที่จะต้องทำการติดตั้ง Printer และตั้งค่ากับทุกๆ พื้นที่การทำงาน การใช้ Print Server เพียงตัวเดียวสามารถรองรับคำสั่งพิมพ์งานจากเครื่อง Client จำนวนมากได้ทั้งหมด ปัจจุบันนี้ เครื่องพิมพ์ระดับ High-End ราคาสูงบางรุ่นมาพร้อมกับ Built-in Print Server ในตัว ทำให้ไม่ต้องใช้ Hardware แยก คือ Computer Server ในการทำหน้าที่นี้อีกต่อไป

> อ่านบทความประเภทของ Printer

Application Server

แอพพลิเคชั่นเซิร์ฟเวอร์ทำหน้าที่ประมวลผล Application ต่างๆ แทนเครื่องลูก โดยใช้ทรัพยากรของเครื่อง Server ในการทำงานให้กับ App ที่มีการแชร์ผู้ใช้งานร่วมกันเยอะๆ ทำให้เครื่อง Client แต่ละเครื่องไม่จำเป็นต้องใช้สเปคที่แรงมากในการรองรับแอพต่างๆ นอกจากนี้ยังทำให้ไม่ต้องคอยติดตั้งหรือคอยอัพเกรด Software กับเครื่องลูกทุกๆ ตัวเพราะสามารถใช้งานผ่านตัว Server ตัวเดียวได้อีกด้วย โดยผมขอยกตัวอย่าง Application Server ที่เป็นที่นิยมใช้งานกันดังนี้

อธิบาย ความ หมาย ของ bottle Server

DNS Server (Domain Name System Servers) คือแอพพลิเคชั่นเซิร์ฟเวอร์ที่ทำหน้าที่จัดการเรื่องการจัดจำชื่อของเครื่องลูก ด้วยวิธีการปรับเปลี่ยนชื่อให้เครื่องในเครือข่ายทั้งหมดเป็นเลข IP Address ที่เราคุ้นเคยกันดีนั่นเอง

DNS System นี้เป็นที่นิยมงานใช้งานกันมาก ในการจัดการระบบอุปกรณ์ต่างๆ ในองค์กร เพราะช่วยให้ง่ายต่อการจำกัดการเข้าถึงข้อมูลต่างๆ เมื่อเครื่อง Client ต้องการใช้งานระบบ System จะทำการส่ง Request ไปด้วยชื่อ IP ที่ถูกตั้ง หลังจากนั้นตัว Server จะทำการตรวจสอบสิทธิการเข้าถึงเพื่อดำเนินการต่อไป

> อ่านบทความ วิธีเช็ค IP Address

ดีเอ็นเอสเซิร์ฟเวอร์นั้น ถือเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยสำหรับระบบอินเตอร์เน็ต Web Browser สำหรับท่านที่สนใจศึกษาเพิ่มเติม
อ่านบทความ DNS Server คืออะไรได้ที่นี่

Application Server ที่มีการใช้งานกันอย่างแพร่หลายอีกชนิดหนึ่ง ได้แก่ Mail Server ทำหน้าที่รับอีเมลล์ และส่งต่อให้ผู้รับ พร้อมจัดเก็บ โดยเครื่องที่จะทำหน้าที่เป็นเมลล์เซิร์ฟเวอร์ จะต้องใช้อุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับระบบ Network ตลอดเวลา เพื่อให้รองรับการส่งรับอีเมลล์โดยที่ไม่จำเป็นต้องให้เครื่อง Client มีระบบ Email Subsystem เป็นของตนเองทุกเครื่อง

Web Servers

หนึ่งในประเภทเซิร์ฟเวอร์ที่เป็นที่นิยมใช้งานมากที่สุดได้แก่เว็บเซิฟเวอร์นี่เองครับ โดย Web Server คือ คอมพิวเตอร์แม่ข่ายที่ทำหน้า Host การเข้าถึงโปรแกรมและข้อมูลต่างๆ ของ User ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต Web Server จะทำการตอบสนองการ Request จาก Internet Browser ที่เปิดใช้งานบนเครื่อง Client องค์ประกอบมาตรฐานเว็บเซิร์ฟเวอร์ทั่วไปนั้นจะประกอบด้วย Apache Web Servers, Microsoft Information Services (IIS) Servers และ Nginx Servers

สำหรับท่านที่สนใจศึกษาเพิ่มเติม อ่านบทความ Web Server คืออะไร ได้ที่นี่

Database Servers

สำหรับองค์กรทุกๆระดับ จำนวนข้อมูลที่ถูกใช้งานนั้น มีหลากหลายมากมาย ซึ่ง Data จะถูกเก็บไว้ใน Databases ซึ่งจำเป็นต้องถูกเข้าถึงได้ตลอดเวลาด้วยเครื่อง Client จำนวนมาก และต้องมีพื้นที่เพียงพอต่อการจัดเก็บข้อมูลทั้งหมด

ความต้องการทั้งหมดนี้ รองรับได้อย่างง่ายดายด้วยการจัดเก็บ Databases ที่เซิร์ฟเวอร์ เพราะ Database Server นั้นมีการใช้ Database Application ในการตอบสนองการเข้าถึงมหาศาลจากอุปกรณ์ลูกทั้งหมด อาทิเช่น Oracle, Microsoft SQL Server หรือ DB2 เป็นต้น

อธิบาย ความ หมาย ของ bottle Server

Proxy Server

สำหรับ Proxy Server นั้น จะทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างเครื่อง Client และ Server หลัก จุดประสงค์คือทำการแยกตัวเครื่องเซิร์ฟเวอร์กับเครื่องลูกออกจากกันอย่างเด็ดขาด เพื่อเหตุผลด้านความปลอดภัย หน้าที่หลักคือทำหน้าที่รับ Request จากเครื่อง Client และส่งต่อไปยัง Server หลักเพื่อดำเนินการต่อ หลังจากนั้นจึงรับการตอบสนองจากเซิร์ฟเวอร์และนำมาส่งต่อให้กับเครื่องลูก ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้เครื่อง Client และ Server หลักไม่จำเป็นต้องเชื่อมต่อหากันแม้แต่นิดเดียวครับ

ส่วนประกอบของเซิร์ฟเวอร์

เซิร์ฟเวอร์นั้นถูกสร้างขึ้นมาด้วยชิ้นส่วนต่างๆ มากมาย ในส่วนของระดับ Hardware ตัว Server ส่วนใหญ่จะสร้างจากโครง Rack Mount ประกอบไปด้วย Power Supply, System Board, CPU, แรม, ฮาร์ดดิสก์ และ Network Interface โดยวันนี้เราจะมาเจาะลึกแต่ละชิ้นส่วนให้ท่านผู้อ่านได้เรียนรู้กันดังนี้ครับ

Processor

ระบบประมวลผลหรือที่เรียกกันว่า CPU นั้น เป็นองค์ประกอบพื้นฐานที่ทำหน้าที่ประมวลผลโปรแกรมและบริหารจัดการข้อมูล Server บางรุ่นอาจจะมี Processor หลายตัว ติดตั้ง 1 ตัวต่อ 1 Socket หรือบางรุ่นอาจจะใช้ตัวเดียว แต่ประกอบด้วยจำนวน Core หลายคอร์เพื่อรองรับการประมวลผลพร้อมๆ กัน ณ ช่วงเวลาเดียว

สิ่งที่ผู้ใช้งานต้องคำนึงถึงในการเลือกใช้ คือจำนวน Core, CPU Clock Speed, Cache และจำนวน Socket

อธิบาย ความ หมาย ของ bottle Server

Memory

หน่วยความจำหรือแรมของ Server มีความสำคัญอย่างยิ่งในการดึงศักยภาพสูงสุดของระบบ System มาใช้งาน ยิ่งมีการรองรับความจุ Ram เยอะ ก็ยิ่งทำให้ทำงานและรองรับ Workload ขององค์กรได้ดียิ่งขึ้น ปัจจัยอื่นๆ ที่มีผล ได้แก่ความเร็วและคุณภาพของชนิดแรม

Storage

ความจุของ Server นั้น ขึ้นกับ Application ที่ใช้ และปริมาณงานที่ต้องรับผิดชอบ เช่น Database Server จะมีความต้องการความจุที่แตกต่างจาก Web Server เป็นต้น

อธิบาย ความ หมาย ของ bottle Server

เซิร์ฟเวอร์ส่วนใหญ่จะรองรับชนิดฮาร์ดดิสก์แบบ SSD และ Hard Drive แบบดั้งเดิม เพราะฉะนั้นต้องทำการตรวจสอบให้ดีว่าการนำไปใช้งานต้องใช้ HDD ประเภทไหนถึงจะเหมาะสม ซึ่งอาจจะรวมไปถึง Serial-Attached SCSI, Serial Advanced Technology Attachment และ NVMe

ประเภทงานที่ทำจะเป็นตัวกำหนดเองว่าเทคโนโลยี Storage แบบไหนถึงจะเหมาะสม ยกตัวอย่างเช่น องค์กรที่ต้องการ Database ขนาดใหญ่ ควรเลือกใช้ Local Instance Drive เช่น NVMe PCI Express เป็นต้น นอกจากนี้ ต้องคำนึงถึง Disk Space และ Drive Speed ด้วยครับ

Connectivity

การเชื่อมต่อระบบ Network ก็เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของ Server เช่นกัน ควรจะมีการกำหนดความต้องการการเชื่อมต่อให้เรียบร้อยแล้วจึงมาเลือกจัดสรร Spec ของตัวเครื่องอีกทีหนึ่ง อาทิเช่น จำนวน Ehernet Port, จำนวนและชนิด USB Port หรือ Storage-area Network เป็นต้น

ส่วนประกอบอื่นๆ

มีองค์ประกอบอื่นๆ อีกมากมายที่สำคัญต่อตัวเครื่อง เช่น ความจุในการรองรับ Hot Swap, ระดับในการทำ Redundancy ของส่วนประกอบต่างๆ คือ Hard Drive, Power Supply และ พัดลม เป็นต้น ในองค์กรใหญ่ๆ ระบบ Security ก็เป็นสิ่งสำคัญที่เซิร์ฟเวอร์ขาดไม่ได้

วิธีเลือกซื้อ

ปัจจัยในการเลือกใช้เซิร์ฟเวอร์นั้น มีมากมายขึ้นอยู่กับการใช้งานและประเภทของตัวเครื่อง เมื่อเราทำการเลือกซื้อ ต้องทำการประเมินความสำคัญของฟีเจอร์ที่จะใช้งานเป็นหลัก

ระดับความปลอดภัยหรือ Security ก็เป็นสิ่งสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นการป้องกัน, ตรวจจับการเข้าถึงของผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาตหรือไวรัสต่างๆ, ฟีเจอร์ในการกู้คืนไฟล์ที่เสียหาย ไปจนถึงการเข้ารหัสข้อมูลสำคัญ ถ้า Server มีการใช้งานจาก Storage ภายในตัวมันเอง ประเภทของ Disk และความจุ ก็เป็นสิ่งสำคัญเพราะจะส่งผลกระทบต่อการรับเข้า, ส่งออก ข้อมูล และความเสถียร

อธิบาย ความ หมาย ของ bottle Server

ปัจจุบัน หลายๆ บริษัทพยายามลดจำนวน Physical Server ในองค์กรตนเอง และแทนที่ด้วย Virtual Server นอกจากนี้ การถือกำเนิดของ Cloud Computing ยังเป็นอีกปัจจัยที่ทำให้จำนวนของเซิร์ฟเวอร์ที่จำเป็นต้องมีลดลงอย่างเห็นได้ชัด การที่ลดปริมาณฮาร์ดแวร์ลง ช่วยให้ลดความต้องการในจำนวน Hardware ลง ส่งผลให้องค์กรสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในส่วนต้นทุนและค่าดูแลรักษามากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นในส่วนราคาอุปกรณ์ พื้นที่ใช้สอย พลังงานไฟฟ้า หรือ ระบบควบคุมอุณหภูมิ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การที่ผลักข้อมูลไปจัดการใน Virtual หรือ Cloud ก็มีความเสี่ยงต่อธุรกิจ เพราะปริมาณ Workload จะถูกกระทบมากขึ้นถ้าเซิร์ฟเวอร์ล่ม หรือจำเป็นต้องทำการปิดปรับปรุง

เลือกซื้อ HPE ProLiant Server

อธิบาย ความ หมาย ของ bottle Server

HPE ProLiant MicroServer

  • Server ฟอร์ม Micro
  • Processor Intel
  • Ram สูงสุด 32GB
  • ประกัน 3 ปี Onsite
เลือกซื้อสินค้า

อธิบาย ความ หมาย ของ bottle Server

HPE ProLiant ML Series

  • Server ฟอร์ม Tower
  • Processor Intel
  • Ram สูงสุด 3TB
  • ประกัน 3 ปี Onsite
เลือกซื้อสินค้า

อธิบาย ความ หมาย ของ bottle Server

HPE ProLiant DL Series

  • Server ฟอร์ม Rack
  • Processor Intel หรือ AMD
  • Ram สูงสุด 3TB
  • ประกัน 3 ปี Onsite
เลือกซื้อสินค้า

เลือกซื้อ HP Server ทั้งหมด

ตารางสิ่งที่ต้องคำนึงก่อนเลือกซื้อ

ประเภทชนิดองค์ประกอบปัจจัยที่ต้องคำนึงForm FactorTowerเหมาะกับองค์กรที่พื้นที่และข้อจำกัดเยอะ มีงบประมาณน้อย Rackมาในฟอร์มหลายแบบ เลือกใช้ขนาด 1U, 2U และ 4U รองรับการทำงานหนักๆ Bladeสำหรับปริมาณงานระดับสูง แต่ราคาก็สูง Mainframeสำหรับ Workloads ระดับ EnterpriseSystem ResourcesProcessingยิ่ง CPUs และ Cores เยอะ ยิ่งมีประสิทธิภาพ Memoryยิ่งมีความจุ Ram เยอะ ยิ่งทำงานได้ดีขึ้น Storageความจุและประสิทธภาพฮาร์ดดิสก์ต้องรองรับ Workload การรองรับทำ RAID ก็สำคัญ Networkingชนิดและความเร็วของ Network Adapter, Port เชื่อมต่อต่างๆ ต้องมีพร้อมServer OperationsPower, CoolingPower Supply และจำนวน Watt ก็สำคัญ รวมถึงความสามารถในการระบายความร้อน การต่อขยายการเพิ่ม Slot, Port, Storage และ Media Bay AvailablityBuilt-in Redundancy เพื่อให้มั่นใจในการใช้งาน ในทุกๆ องค์ประกอบ ManagementBuilt-in Management Support เช่น Intelligent Playform Management เป็นต้น

Maintenance Cheklist

สำหรบใครที่มีการใช้งาน Server อยู่แล้ว ควรหมั่นตรวจสอบสถานะของตัวเครื่องเสมอๆ ให้ครอบคลุมเพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นโดยไม่ได้คาดคิด วันนี้เราขอทำ Checklist สำหรับตรวจสภาพตัวเครื่องที่ควรทำเป็นประจำให้ 14 ข้อดังนี้

HANDYPREVENTIVESERVERMAINTENANCECHECKLIST

ตรวจสอบหัวข้อทั้ง 14 ข้อนี้ ตรวจสอบให้หมดเพื่อให้มั่นใจว่าเซิร์ฟเวอร์ของคุณจะทำงานได้อย่างปกติราบรื่น

อธิบาย ความ หมาย ของ bottle Server

  1. Schedule Maintenance Window
  2. รีวิว Logs สำหรับ Event สำคัญ, การแจ้งเตือน และ เทรนด์
  3. Migrate Workloads Off Server
  4. ตรวจสอบชิ้นส่วนภายนอก (Physical)
  5. เช็คระบบระบายอากาศ
  6. เปลี่ยนหรือเพิ่มชิ้นส่วน Hardware ที่ต้องการ
  7. ดำเนินการสแกน Hard-Disk
  8. ประเมินผลและทดสอบ Patch หรือ Update
  9. อัพเดต Firmware (ถ้าจำเป็น)
  10. Update ระบบประมวลผล (OS)
  11. Update Monitoring/Management Agents (ถ้าจำเป็น)
  12. ทดสอบระบบก่อนเปิดใช้งานต่อ
  13. ตรวจสอบ CMDB, Backup และ DR Status ของระบบ
  14. กำหนดวันตรวจสอบครั้งต่อไป

อนาคตของ Server

สำหรับอนาคตของเซิร์ฟเวอร์นั้น เทรนด์ที่กำลังมาแรงคือรูปแบบลักษณะของ Cloud Computing

โดยจากการสำรวจของ Techaisle พบว่าปัจจุบันนี้ 85% ของบริษัทขนาดเล็กที่ USA มีการใช้บริการคลาวด์ และ 10% มีแผนจะเริ่มทดลองใช้ภายใน 1 ปีข้างหน้า ในส่วนขององค์กรระดับ Enterprise ก็มีแนวโน้มที่จะปรับตัวเข้าสู่ Cloud เช่นกัน

> อ่านบทความ Cloud คืออะไร

อธิบาย ความ หมาย ของ bottle Server

อย่างไรก็ตาม ธุรกิจขนาดเล็ก และ Corporate Data Centers ยังคงเป็นเจ้าของ Computer Server ของตนเองอยู่ แม้จะมีการใช้งาน Cloud ควบคู่กันไป จากแบบสำรวจโดย Omdia พบว่ากว่า 65% ของ Servers ทั้งหมดในอังกฤษ จะทำการปรับตัวเข้าทำงานควบคู่ไปกับ Cloud ในปี 2020 และทางบริษัททำนายว่าในปี 2024 75% ของเซิร์ฟเวอร์ทั้งหมดจะใช้งานควบคู่กับ Cloud เลยทีเดียว

Server จะยังคงความสำคัญอยู่ แต่การบริโภคเทคโนโลยีจะมีการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก TechTarget

Add In Business

จำหน่ายอุปกรณ์ไอทีราคาถูก

ภายใต้บริษัท แอด อิน บิซิเนส จำกัด ตัวแทนจำหน่าย
ได้รับการแต่งตั้งโดยตรงจากแบรนด์ชั้นนำ
ราคา พิเศษ ส่งฟรี

ดูสินค้าทั้งหมด

สนใจสั่งซื้อหรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่หน้า Contact

หรือ

อธิบาย ความ หมาย ของ bottle Server
 
อธิบาย ความ หมาย ของ bottle Server
 
อธิบาย ความ หมาย ของ bottle Server
 
อธิบาย ความ หมาย ของ bottle Server
 

สรุป

หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้ท่านผู้อ่านเข้าใจมากขึ้นว่า Server คืออะไร พร้อมข้อดีข้อเสียและวิธีการเลือกซื้อ เว็บไซต์เรานอกจากจะมีบทความดีๆ แบบนี้ให้เลือกอ่านแล้ว ยังมีสินค้าไอทีให้เลือกซื้ออีกมากมาย หากท่านผู้อ่านมีความสนใจเพิ่มเติมในการสั่งซื้อสินค้าอุปกรณ์ไอที สอบถามข้อมูล หรือขอใบเสนอราคา ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของอุปกรณ์ใดๆก็ตาม สามารถติดต่อเข้ามาได้ที่

Facebook Inbox : https://goo.gl/9wo8oL
Hotline : 063-819-7299
โทร : 02-713-2261
[email protected] : @addinonline
Email :

ผู้เขียน

อธิบาย ความ หมาย ของ bottle Server

Unnote

อดีตสถาปนิกและนักศึกษาจบปริญญาโทสาขาอสังหาริมทรัพย์ ผันตัวมาคลุกคลีในวงการไอที เพื่อเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ

Server คืออะไร มีความสําคัญอย่างไร

Server ทำหน้าที่เป็นเหมือนผู้ให้บริการต่าง ๆ ในโครงข่ายอินเตอร์เน็ต หรือโครงข่ายที่มีลูกข่าย เมื่อมีผู้ใช้งานมาขอใช้บริการ Server เครื่อง Server จะจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่ในเครื่องเพื่อให้บริการในทันที

คอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Sever) หมายถึงข้อใด

นิยามของ Server นั้น คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ ที่ทำหน้าที่ Service ให้กับ Computer ตัวอื่นๆ และผู้ใช้งาน ในภาษาไทยนั้น คำว่าเซิร์ฟเวอร์แปลว่า คอมพิวเตอร์แม่ข่าย ทำงานเพื่อ Support เครื่อง PC ตัวอื่นๆ ทั่วไปในระบบ เรียกว่าเครื่องลูก โดยคำที่นิยมใช้เรียกเครื่องลูก คือ เครื่อง Client นั่นเอง

ข้อใดหมายถึงเครื่องเซิร์ฟเวอร์ (Server)

Server (เซิร์ฟเวอร์) คืออะไร เซอร์เวอร์ หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหลักในระบบเครือข่าย (network) ทำหน้าที่เป็นตัวคุมคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ที่มาเชื่อมต่อให้เป็นเครือข่ายเดียวกัน และ ยังมีหน้าที่จัดการดูแลคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆอีกด้วย ว่าคอมพิวเตอร์เครื่องใด ขอใช้อุปกรณ์อะไร

Application Server มีหน้าที่อะไร

Application Server คือ เซิร์ฟเวอร์ที่รันโปรแกรมประยุกต์ได้ด้วย โดยการท างานสอดคล้องกับ ไคลเอ็นต์ เช่น Mail Server (รัน MS Exchange Server) Proxy Server (รัน Proxy Server) หรือ Web Server (รัน Web Server Program เช่น Xitami , Apache' )