ป้ายเตือนกล้อง วงจรปิด PDPA

เริ่มแล้ว! "PDPA" หรือ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 บังคับใช้วันนี้วันแรก (1 มิ.ย.65) แต่ยังมีหลายกรณีที่ประชาชนสับสน หนึ่งในนั้นคือกรณี "กล้องวงจรปิด" และ "กล้องหน้ารถ" หากถ่ายติดภาพผู้อื่นโดยไม่ยินยอม จะผิด "กฎหมาย PDPA" หรือไม่?

แม้ว่าก่อนหน้านี้ รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจเเละสังคม จะออกมาชี้แจงแล้วว่า เจตนาของการบังคับใช้ "กฎหมาย PDPA" มุ่งคุ้มครองข้อมูล-สิทธิ์ ประชาชน ไม่ใช่การนำมาจับผิด หากมีการถ่ายรูป-โพสต์รูป แล้วติดใบหน้าผู้อื่นมา หากไม่เกิดความเสียหายต่อเจ้าตัว ก็สามารถทำได้ 

Show

แต่ทั้งนี้ยังมีอีกหนึ่งประเด็น ที่ประชาชนยังมีข้อสงสัย นั่นคือ กรณีติด "กล้องวงจรปิด" และ "กล้องหน้ารถ" หากมีการถ่ายติดผู้อื่นมาโดยเจ้าตัวไม่ยินยอม จะผิดกฎหมาย PDPA หรือไม่? กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ ชวนไปหาคำตอบเรื่องนี้พร้อมกัน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : 

  • PDPA คืออะไร เป็นข้อมูลแบบไหน?

PDPA ย่อมาจาก Personal Data Protection Act ซึ่งหมายถึง พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ที่มีขึ้นเพื่อให้ภาคเอกชนและภาครัฐ(บุคคล/นิติบุคคล) ที่เก็บรวมรวม ใช้ เปิดเผย และ/หรือ โอนข้อมูลส่วนบุคคลในไทยให้เป็นไปตามมาตรการปกป้องข้อมูลของผู้อื่นจากการถูกละเมิดสิทธิส่วนตัว

โดยหลักเกณฑ์หลักๆ คือต้องขอความยินยอมจาก "เจ้าของข้อมูล" ก่อนการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลเสมอ สำหรับข้อมูลส่วนบุคคล ตามกรอบ "กฎหมาย PDPA หมายถึง" ข้อมูลที่เกี่ยวกับบุคคลที่ทำให้ระบุตัวบุคคลได้ ทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น

- เลขประจำตัวประชาชน ชื่อ-นามสกุล
- ที่อยู่
- เบอร์โทรศัพท์
- อีเมล
- ข้อมูลทางการเงิน
- เชื้อชาติ
- ศาสนาหรือปรัชญา
- พฤติกรรมทางเพศ
- ประวัติอาชญากรรม
- ข้อมูลสุขภาพ

ทั้งนี้ ข้อมูลคนตาย ข้อมูลนิติบุคคล ไม่เป็นข้อมูลส่วนบุคคลตามกฎหมายฉบับนี้ 

  • กรณี "กล้องวงจรปิด" แบบไหนไม่ผิดกฎหมาย PDPA ?

กล้องวงจรปิด CCTV มีหน้าที่รักษาความปลอดภัยด้วยการจับภาพเหตุการณ์ต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่มักถ่ายติดภาพบุคคลทั่วไป ซึ่งถือว่าเป็นข้อมูลส่วนบุคคลในรูปของข้อมูลทางชีวภาพตามคำนิยามของ PDPA หรือ พ.ร.บ. ข้อมูลส่วนบุคคลคุ้มครอง จึงจำเป็นต้องขออนุญาตบุคคลอื่นก่อนถ่าย

ทั้งนี้ สำหรับหน่วยงาน องค์กร หรือร้านค้า ที่มีการติดกล้องวงจรปิด สามารถขอความยินยอมได้โดยอัตโนมัติ ด้วยการ "ติดประกาศ" หรือสติกเกอร์ ที่แจ้งให้บุคคลที่จะเข้ามาในสถานที่ทราบว่ามีการบันทึกและติดตั้งกล้องวงจรปิด CCTV

อีกหนึ่งกรณีที่ทำได้ ไม่ผิดกฎหมาย PDPA นั่นคือ การใช้กล้องวงจรปิด เพื่อประโยชน์ส่วนตนหรือเพื่อกิจกรรมในครอบครัว ในการป้องกันอาชญากรรม และใช้งานด้านความปลอดภัย ก็ไม่ต้องติดป้ายเตือนใดๆ

เนื่องจากกรณีนี้ได้รับการยกเว้นไม่อยู่ภายใต้บังคับของ พ.ร.บ. ตามที่มาตรา 4(1) ที่บัญญัติว่า พระราชบัญญัตินี้ไม่ใช้บังคับแก่การเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผย ข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อประโยชน์ส่วนตนหรือเพื่อกิจกรรมในครอบครัวของบุคคลนั้นเท่านั้น

สรุปคือ หากติดกล้องวงจรปิดที่บ้าน สามารถทำได้ ไม่ผิดกฎหมายแต่อย่างใด และไม่จำเป็นต้องติดป้ายแจ้งเตือนใดๆ ทั้งสิ้น

  • กรณี "กล้องหน้ารถ" ถ่ายติดคนอื่น ผิด PDPA ไหม?

ส่วนประเด็น "กล้องหน้ารถ" ที่บางครั้งอาจถ่ายติดผู้อื่นมาโดยไม่ตั้งใจนั้น หลายคนกังวลว่าอาจผิดกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล กรณีนี้ นายไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ นักวิชาการด้านความมั่นคงทางไซเบอร์ เปิดเผยผ่านรายการเจาะลึกทั่วไทย Inside Thailand ระบุว่า 

"กล้องหน้ารถ" ประชาชนสามารถติดตั้งได้โดยที่ไม่ต้องแจ้งให้ใครทราบว่ารถของเรามีกล้อง แต่ให้ระมัดระวังในการใช้ภาพจากกล้อง เนื่องจากอาจจะมีปัญหาได้ หากมีการนำเนื้อหาในกล้องเฉพาะข้อมูลบางส่วนไปใช้เพื่อสร้างความเสียหาย อับอาย ให้แก่บุคคลที่ปรากฏในภาพ หรือนำไปใช้เพื่อการค้า หารายได้ หรือนำไปใช้กรณีอื่นๆ ที่ไม่ใช่เพื่อส่วนตัว แบบนี้จะผิดกฎหมายทันที

  • ส่อง "บทลงโทษ" ตามกฎหมาย PDPA 

1. การกระทำใดๆ กับข้อมูลส่วนบุคคลของผู้อื่น โดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูล มาตรา 83 กำหนดโทษปรับทางปกครองไว้ สูงสุดไม่เกิน 3,000,000 บาท

2. การเก็บข้อมูลที่มีความอ่อนไหว โดยไม่ได้รับความยินยอมโดยชัดแจ้ง และน่าจะทำให้เจ้าของข้อมูลเสียหาย มาตรา 79 วรรคสอง กำหนดโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 1,000,000 บาท

3. การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลโดยไม่ได้รับความยินยอม และน่าจะทำให้เจ้าของข้อมูลเสียหาย มาตรา 79 กำหนดโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 500,000 บาท

4. ถ้าผู้ประกอบการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้ โดยไม่ได้รับความยินยอม มีความผิดมาตรา 79 วรรคสอง กำหนดโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 1,000,000 บาท

5. การกระทำใดๆ กับข้อมูลส่วนบุคคลของผู้อื่นโดยไม่ได้ผ่านการขอความยินยอมตามรูปแบบที่ถูกต้อง รวมถึงไม่ได้แจ้งวัตถุประสงค์ รายละเอียด และแจ้งสิทธิของเจ้าของข้อมูลมาตรา 82 กำหนดโทษปรับทางปกครองไว้ สูงสุดไม่เกิน 1,000,000 บาท

6. การเก็บข้อมูลส่วนบุคคลจากแหล่งอื่นที่ไม่ได้จากเจ้าของข้อมูลโดยตรง โดยไม่มีข้อยกเว้นให้เก็บข้อมูลได้ มาตรา 83 กำหนดโทษปรับทางปกครองไว้ สูงสุดไม่เกิน 3,000,000 บาท

ประเด็นที่ใครหลาย ๆ คนสงสัย เกี่ยวกับการบังคับใช้ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (PDPA) คือคำถามเกี่ยวกับการติดตั้งและบันทึกภาพจากกล้องวงจรปิดเพื่อดูแลความปลอดภัยต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นตามอาคาร บ้านเรือน สำนักงาน สถานที่ราชการ หรือ สถานที่สาธารณะ

โดยประเด็นหลักที่คนส่วนใหญ่มักจะสงสัยกันมีดังต่อไปนี้ บุคคลทั่วไปและนิติบุคคลต่าง ๆ ยังสามารถติดกล้องวงจรปิดได้หรือไม่ และการติดกล้องวงจรปิดนั้นถือเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลหรือไม่ ผิดข้อบังคับของ PDPA หรือเปล่า และจะต้องทำอย่างไรให้สามารถติดตั้งกล้องวงจรปิดเพื่อดูแลรักษาความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สินได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย PDPA และไม่ละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของผู้อื่น สำหรับใครที่กำลังตามหาคำตอบของคำถามเหล่านี้ติดตามอ่านบทความนี้ได้เลย

การติดกล้องวงจรปิดนั้นถือเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลหรือไม่

แน่นอนว่าคำถามแรกเกี่ยวกับการติดกล้องวงจรปิดเมื่อมีการบังคับใช้กฎหมาย PDPA ก็คือการติดกล้องวงจรปิดละเมิดสิทธิส่วนบุคคลหรือไม่ ซึ่งคำตอบก็คือ ใช่ การบันทึกภาพจากกล้องวงจรปิดไม่ว่าจะในรูปแบบภาพถ่าย หรือวิดีโอนั้นถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล เนื่องจากภาพถ่ายนั้นสามารถใช้ระบุตัวตนบุคคลได้ ซึ่งถือว่าเป็นข้อมูลส่วนตัวของแต่ละคนนั่นเอง เพราะเหตุนี้ การติดตั้งและบันทึกภาพวงจรปิดจึงเกี่ยวข้องกับกฎหมาย PDPA ด้วย

การใช้ประโยชน์จากกล้องวงจรปิดแบบใดที่ต้องมีการจัดการให้เป็นไปตาม PDPA

แม้ว่าเราจะกล่าวไว้ข้างต้นว่า การบันทึกภาพจากกล้องวงจรปิดนั้นโดยทั่วไปแล้วถือเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ในทุกกรณีที่การติดตั้งวงจรปิดจะผิดกฎหมาย PDPA เพราะการติดตั้งกล้องวงจรปิดในกรณีที่จะถือเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลได้นั้น จะอยู่ที่การใช้ประโยชน์จากภาพที่บันทึกไว้ โดยสามารถแบ่งการใช้ประโยชน์จากกล้องวงจรปิดได้เป็น 2 กรณีดังนี้

การใช้กล้องวงจรปิดเพื่อประโยชน์ส่วนตนหรือเพื่อกิจกรรมในครอบครัว

หากมีการติดตั้งกล้องวงจรปิดเพื่อประโยชน์ส่วนตัวและเพื่อกิจกรรมครอบครัว เช่น การติดไว้ในบริเวณพื้นที่อยู่อาศัย เพื่อดูแลรักษาความปลอดภัยของคนในบ้าน และทรัพย์สิน จะได้รับข้อยกเว้นตามที่มาตรา 4(1) บัญญัติว่าพระราชบัญญัตินี้ ไม่ใช้บังคับแก่การเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผย ข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อประโยชน์ส่วนตนหรือเพื่อกิจกรรมในครอบครัวของบุคคลนั้นเท่านั้น เพราะฉะนั้น ใครที่ติดกล้องวงจรปิดไว้ในบ้าน เพื่อใช้ประโยชน์ส่วนตน ไม่มีการนำไปใช้ประโยชน์อื่น ๆ จึงไม่จำเป็นต้องกังวลว่าจะผิดข้อกฎหมาย PDPA และไม่ต้องดำเนินการใด ๆ เพิ่มเติมแต่อย่างใด

การใช้กล้องวงจรปิดเพื่อประโยชน์ของหน่วยงาน ร้านค้า บริษัท หรือองค์กร

กรณีที่มีการติดตั้งกล้องวงจรปิดไว้เพื่อประโยชน์ของร้านค้า บริษัท องค์กร หรือหน่วยงานต่าง ๆ จะไม่ได้รับการยกเว้นตามมาตรา 4(1) พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ จึงต้องมีการดำเนินการเกี่ยวกับการจัดเก็บรวบรวม การนำข้อมูลไปใช้ และการเผยแพร่ข้อมูล ให้เป็นไปตามที่กฎหมาย PDPA กำหนด

สามารถติดกล้องวงจรปิดในบ้านตัวเองได้หรือไม่

ไม่ว่าจะเป็นกล้องวงจรปิดที่ติดตั้งไว้ก่อนหรือหลังบังคับใช้กฎหมาย PDPA ก็ตาม สามารถติดกล้องวงจรปิดในบ้านได้เลยโดยไม่ผิดกฎหมาย PDPA และสามารถทำได้โดยไม่ต้องดำเนินการจัดการใด ๆ เพราะการติดกล้องวงจรปิดภายในบ้านและที่อยู่อาศัย เพื่อสอดส่องดูแลความปลอดภัยภายในบ้าน ถือเป็นการติดกล้องวงจรปิดเพื่อประโยชน์ส่วนตนและครอบครัว ซึ่งอยู่ภายใต้ข้อยกเว้นตามมาตรา 4(1) พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ อย่างที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นนั่นเอง

จัดการกับการติดตั้งกล้องวงจรปิดและข้อมูลที่บันทึกให้เป็นไปตามข้อบังคับของ PDPA ได้อย่างไร

สำหรับร้านค้าและหน่วยงานต่าง ๆ ที่มีการปิดตั้งกล้องวงจรปิดเอาไว้ ก็สามารถจัดการกับกล้องวงจรปิดของคุณให้เป็นไปตามข้อบังคับของ PDPA ได้ไม่ยากเลย โดยมี 2 สิ่งที่คุณจะต้องทำ ซึ่งได้แก่

  • การแจ้งให้บุคคลที่จะเข้ามาในสถานที่ของคุณได้ทราบอย่างชัดเจนว่าบริเวณต่าง ๆ มีการติดตั้งและทำงานของกล้องวงจรปิด
  • จัดทำและประกาศนโยบายความเป็นส่วนตัวสำหรับการใช้กล้องโทรทัศน์วงจรปิด หรือ CCTV Policy ที่ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับการเก็บ การบันทึก และการใช้ข้อมูลที่ได้จากกล้องวงจรปิด ตามรายละเอียดที่ PDPA กำหนดไว้

หากมีการแจ้งให้ทราบถึงการติดตั้งและบันทึกภาพจากกล้องวงจรปิดในพื้นที่ และมีการประกาศนโยบายความเป็นส่วนตัวไว้แล้ว ไม่ว่าจะประกาศด้วยแผ่นป้ายบนเว็บไซต์ หรือ QR Code หรือช่องทางใดก็ตาม และไม่ได้นำข้อมูลจากกล้องวงจรปิดไปใช้โดยละเมิดสิทธิของผู้ที่เข้ามาในพื้นที่ คุณก็สามารถบันทึกภาพผู้ที่เข้ามาในพื้นที่ได้โดยไม่ต้องขอความยินยอมอีก เพราะถือว่าคุณสามารถใช้งานกล้องวงจรปิดได้ตามฐานผลประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมายนั่นเอง

หากไม่แจ้งให้ทราบว่าสถานที่นั้น ๆ มีการติดตั้งและบันทึกภาพจากกล้องวงจรปิด จะมีโทษหรือไม่ อย่างไร

หากคุณทำการติดตั้งกล้องวงจรปิดไว้ โดยไม่มีการแจ้งให้ผู้ที่เข้ามาในพื้นที่ได้ทราบ ถือว่าผิดและมีโทษทางปกครองใด โดยหากผู้ที่เข้ามาในพื้นที่ของเราพบว่า เราไม่มีประกาศการติดตั้งกล้องวงจรปิด และไม่ได้ประกาศนโยบายความเป็นส่วนตัวเอาไว้ ก็สามารถยื่นร้องเรียนต่อคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลได้ โดยจะมีโทษปรับไม่เกินหนึ่งล้านบาท


จะเห็นได้ว่าการติดกล้องวงจรปิดนั้น เกี่ยวข้องกับพ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ในหลากหลายแง่มุม อีกทั้งยังมีรายละเอียดข้อปฏิบัติมากมายที่ต้องปฏิบัติตามให้ครบถ้วน โดยเฉพาะการจัดทำ CCTV Policy ที่จำเป็นสำหรับการใช้กล้องวงจรปิดเพื่อประโยชน์ของหน่วยงาน ร้านค้า บริษัท หรือองค์กร

อย่างไรก็ตาม การจัดทำ CCTV Policy จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป หากคุณมีผู้ช่วยดี ๆ อย่าง PDPA Pro ที่จะทำให้การปรับตัวสอดคล้องกับ PDPA ง่ายและสะดวกมากยิ่งขึ้น โดยคุณสามารถจัดทำ CCTV Policy ที่ถูกต้องตาม พ.ร.บ. PDPA และนำไปใช้งานได้จริงภายในไม่กี่นาที

ยิ่งกว่านั้น PDPA Pro ยังมีนโยบายความเป็นส่วนตัวอื่น ๆ ให้เลือกได้ตามความต้องการพร้อมรูปแบบสองภาษา เพื่อตอบโจทย์ทุกนโยบายความเป็นส่วนตัวขององค์กรของคุณ สร้าง Privacy Policy เพื่อให้ธุรกิจคุณสอดคล้องกับ PDPA ได้แล้ววันนี้ที่ PDPA Pro

กล้องวงจรปิดผิด Pdpa ไหม

กรณีที่มีการติดตั้งกล้องวงจรปิดไว้เพื่อประโยชน์ของร้านค้า บริษัท องค์กร หรือหน่วยงานต่าง ๆ จะไม่ได้รับการยกเว้นตามมาตรา 4(1) พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ จึงต้องมีการดำเนินการเกี่ยวกับการจัดเก็บรวบรวม การนำข้อมูลไปใช้ และการเผยแพร่ข้อมูล ให้เป็นไปตามที่กฎหมาย PDPA กำหนด

ติดกล้องวงจรปิด ต้องแจ้งไหม

พื้นที่ส่วนบุคคล เราสามารถติดกล้องวงจรปิดได้เพื่อความปลอดภัยของผู้อยู่อาศัยหรือบุคคลนั้นๆ โดยไม่ต้องแจ้งหรือบอกว่าพื้นที่นี้มีกล้องนะ เพราะเป็นประโยชน์ของเจ้าของพื้นที่นั้นๆ เว้นแต่การติดตั้งกล้องวงจรปิดพื้นประโยชน์ด้านอื่น คือ ติดไว้เพื่อสืบส่องข้อมูลของบุคคลที่อยู่อาศัยใกล้เคียง

ป้าย Pdpa คืออะไร

พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หรือกฎหมาย PDPA (Personal Data Protection Act) จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มิ.ย.นี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ บัญชีธนาคาร อีเมล ลายนิ้วมือ ข้อมูลสุขภาพ เป็นต้น และยังให้สิทธิประชาชนในการขอให้ลบ ทำลาย หรือระงับใช้ข้อมูลส่วน ...

ถ่ายรูปคนอื่นผิดกฎหมายไหม

ตอบสั้น ๆ คือ ถ่ายรูป-ถ่ายคลิป ติดภาพคนอื่นในที่สาธารณะยังสามารถทำได้ หากเป็นการถ่ายใช้งานเพื่อประโยชน์ส่วนตน และไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายกับผู้ที่ถูกถ่าย และไม่นำไปใช้ทางการค้า แบบนี้จะไม่ถือว่าผิดกฎ PDPA.