โครงงาน เครื่องกรองน้ำ บ่อปลา

เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่จัดทำขึ้นโดยมีที่มาจากการเปลี่ยนถ่ายน้ำภายในตู้ปลาหรือบ่อปลา ซึ่งปกติแล้วเราจะต้องนำปลาออกมาจากตู้ปลาแล้วจึงจะสามารถเปลี่ยนถ่ายน้ำได้ และเมื่อทำการ เปลี่ยนถ่ายน้ำเสร็จแล้วเราจะต้องใส่เกล็ดลดคลอรีนและทำการพักน้ำเป็นเวลาอย่างน้อย 1 คืนเพื่อให้คลอรีน ที่มากับน้ำประปาระเหย แต่ก็ต้องเปลี่ยนน้ำบ่อยเพราะน้ำจะสกปรกเพราะ สิ่งปฏิกูลจากปลาและเศษอาหาร ที่ปลากิน ม่หมดสามารถเกิดขึ้นได้ทุกวัน ซึ่งเราต้องนำปลาออกจากตู้ทุกครั้งที่ทำการเปลี่ยนถ่ายน้ำ  ซึ่งเราไม่ควรเอาปลาออกจากตู้บ่อย เพราะการเอาปลาออกจากตู้บ่อยๆปลาจะปรับตัวไม่ทัน แล้วจะช็อคตาย หรือถ้าปลาไม่ตายก็จะช้ำ ซึ่งทำให้เราประดิษฐ์สิ่งประดิษฐ์นี้ขึ้นซึ่งหลักการทำงานคือ สามารถดูดสิ่งสกปรก ไม่พึงประสงค์ในตู้ปลาออกมาได้โดยไม่ต้องนำปลาออกจากตู้ปลา ทั้งยังประหยัดน้ำเพราะไม่ต้องเปลี่ยน ทั้งตู้ปลาและสามารถนำน้ำที่ผ่านการกรองจากเครื่องนำกลับมาใช้ได้ใหม่ และยังส่งผลดีต่อการปรับตัว ของปลา เพราะเราไม่ได้เปลี่ยนถ่ายน้ำเดิมทั้งหมด ลดอัตราการเสี่ยงช็อคน้ำตายของปลาอีกด้วย ซึ่งขั้นแรกทางคณะผู้จัดทำได้มีการประชุมหารือกันในเรื่องวิธีทำ อุปกรณ์ การออกแบบรูปร่างของ สิ่งประดิษฐ์ให้เหมาะสมกับระบบนิเวศภายในตู้ปลา  คำนวณค่าความต่างของความดันอากาศระหว่าง ลูกสูบกับกระบอกน้ำที่สามารถทำให้น้ำที่มีการตกตะกอนของสิ่งปฏิกูลถูกดูดขึ้นมาได้  อีกทั้งทำการ คำนวณถึงปริมาตรของน้ำที่มีสิ่งปฏิกูลที่สิ่งประดิษฐ์สามารถดูดได้และคุณภาพของน้ำที่จะนำกลับไปสู่ตู้ ปลา  เพื่อสุขภาพที่ดีของปลา จึงเริ่มลงมือทำโดยการซื้ออุปกรณ์โดยใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง ไม่ฟุ่มเฟือย และเมื่อทำชิ้นงานนี้เสร็จแล้วเราก็นำเสนอวิธีการทำ อุปกรณ์และข้อมูลต่างๆของโครงงานบูรณาการ 8 กลุ่มสาระทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษลงในบล็อกในอินเทอร์เน็ตที่เราสร้างขึ้นเพื่อเผยแพร่ให้ผู้ที่สนใจ ได้ศึกษาต่อยอดต่อไป คณะผู้จัดทำได้รับทั้งความรู้ในด้านต่าง ๆ  อีกทั้งยังมีประสบการณ์จริงที่ได้ลงมือทำ และการแก้ไขปัญหาด้วยตนเองและความสามัคคีในหมู่คณะซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งในการทำงานโครงงานบูรณาการ 8 กลุ่มสาระนี้ 

*วัตถุประสงค์ของโครงงาน

1.สามารถเปลี่ยนถ่ายน้ำภายในตู้ปลาโดยไม่ต้องนำน้ำออกมาจากตู้ปลาทั้งหมด  และกรองน้ำเพื่อสามารถนำกลับไปใช้ได้อีกครั้งเป็นการประหยัดน้ำและลดอัตราการช็อคคลอรีนของปลา

2.นำโครงงานนี้ไปบูรณาการกับทั้ง 8 กลุ่มสาระเพื่อให้คณะผู้จัดทำได้นำความรู้ที่เรียนมามาประยุกต์ใช้กับการทำโครงงานบูรณาการนี้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด


3.ให้คณะผู้จัดทำได้ลงมือทำด้วยตนเอง และเรียนรู้ถึงวิธีการแก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเอง    

*ระยะเวลาดำเนินงาน

 ทำเครื่องดูดสิ่งปฏิกูลในตู้ปลาสวยงาม ( Fish pellets sucker ) ใช้เวลาในการประดิษฐ์ 2 วัน

*สถานที่ดำเนินงาน

บ้านของสมาชิกภายในกลุ่ม นางสาวมนัสวี โจชิ

*ผลที่คาดว่าจะได้รับจากโครงงาน

1.ทำให้เราสามารถเปลี่ยนถ่ายน้ำได้โดยไม่ต้องนำปลาออก และสามารถประหยัดน้ำโดยการนำน้ำที่ผ่านการกรองนำกลับไปใช้ใหม่ได้อีกด้วย

โครงงานระบบกรองน้ำ from ศจิษฐา ทองถม