เคยปรับโครงสร้างหนี้ กู้ได้ไหม

ในสถานการณ์วิกฤตอย่างกรณีโควิด-19 หลายคนอาจมีปัญหาการเงินแบบชักหน้าไม่ถึงหลัง เพราะรายได้ลดลง บางคนอาจถึงขั้นขาดรายได้ไปเลย ทำให้ต้องต่อสู้ดิ้นรนเพื่อความอยู่รอด และประหยัดกันให้มากขึ้น สำหรับใครที่มีหนี้ต้องจ่าย ก็อย่าเพิ่งหมดหวัง เพราะสามารถขอปรับโครงสร้างหนี้ได้ การคิดว่า ไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย อาจทำให้เรื่องบานปลายจนถึงขั้นถูกยึดทรัพย์สิน และเสียประวัติเครดิตไปเลยก็เป็นได้

การขอปรับโครงสร้างหนี้เป็นทางเลือกหนึ่งที่จะทำให้ไม่ผิดนัดชำระ และรักษาทรัพย์สินไว้ได้ โดยในเว็บไซต์ของศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้แนะนำการปรับโครงสร้างหนี้ไว้ 4 แบบ แต่ละแบบก็เหมาะกับสถานการณ์ที่แตกต่างกันไป

เคยปรับโครงสร้างหนี้ กู้ได้ไหม

1. จ่ายไหว แต่อยากประหยัดรายจ่ายที่เป็นดอกเบี้ยลง

สามารถขอปรับโครงสร้างหนี้ ดังนี้

  • เปลี่ยนประเภทหนี้ จากสินเชื่อที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงเป็นสินเชื่อที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำลง โดยการเปลี่ยนประเภทหนี้ในลักษณะนี้ ต้องมั่นใจว่าจะสามารถชำระคืนตามงวดที่กำหนดได้ ซึ่งบางกรณีอาจต้องจ่ายหนี้แต่ละงวดมากขึ้น หรือน้อยกว่าขั้นต่ำที่เคยจ่าย ขึ้นอยู่กับยอดค้างจ่าย และระยะเวลาการชำระคืนที่ได้รับอนุมัติมาใหม่
     
  • รีไฟแนนซ์ โดยการปิดสินเชื่อจากเจ้าหนี้รายเดิมแล้วย้ายไปขอกู้กับเจ้าหนี้รายใหม่ที่มีเงื่อนไขดีกว่า ซึ่งสามารถใช้ได้ทั้งหนี้บ้าน หนี้บัตรเครดิต หนี้บัตรกดเงินสด แต่การรีไฟแนนซ์จะมีค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนเจ้าหนี้ด้วย เช่น ค่าจดจำนองหลักประกัน ค่าใช้จ่ายในการประเมินมูลค่าหลักประกัน ค่าทำประกันใหม่ ค่าปรับให้แก่เจ้าหนี้รายเดิมตามสัญญา ซึ่งต้องคำนวณให้ดีว่าเปลี่ยนแล้วคุ้มกับอัตราดอกเบี้ยใหม่ที่ลดลงหรือไม่

 

2. จ่ายได้ไม่เต็มจำนวนที่ถูกเรียกเก็บ หรือจ่ายไม่ได้ตามสัญญา

สามารถขอปรับโครงสร้างหนี้ ดังนี้

  • ขอลดอัตราดอกเบี้ย เพื่อลดภาระดอกเบี้ยที่จ่าย เหมาะกับคนที่รายรับลดลงชั่วคราว เช่น 3 - 6 เดือน  เพราะสถาบันการเงินมักลดอัตราดอกเบี้ยให้เป็นระยะเวลา 3 เดือน หรือ 6 เดือน

  • ขอพักชำระเงินต้น เหมาะสำหรับคนที่รายรับลดลงชั่วคราวเช่นเดียวกัน ซึ่งสถาบันการเงินมักจะพักชำระเงินต้นให้ประมาณ 3 – 12 เดือน โดยลูกหนี้จ่ายเฉพาะส่วนที่เป็นดอกเบี้ย แต่การพักชำระเงินต้นอาจทำให้ภาระหนี้ช่วงหลังจากพักชำระเพิ่มขึ้น หรืออาจต้องขยายเวลาการชำระหนี้ เนื่องจากต้องนำเงินต้นที่พักชำระไปจ่ายในช่วงหลังการพักชำระเงินต้นด้วย ทำให้อาจจะมีภาระดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากยอดเงินต้นไม่ได้ลดลงตามกำหนดเวลาเดิม ดังนั้นต้องตกลงกับสถาบันการเงินหรือดูเงื่อนไขด้วยว่า หลังสิ้นสุดการพักชำระเงินต้นแล้ว จะต้องจ่ายคืนอย่างไร โดยต้องดูความสามารถในการชำระคืนของตัวเราประกอบด้วย

  • ขอลดอัตราผ่อนและขยายเวลาชำระหนี้ เหมาะกับคนที่รายรับลดลงในระยะยาว เช่น เปลี่ยนงานใหม่ที่รายรับน้อยกว่าเดิม ทำให้ไม่สามารถจ่ายหนี้ในจำนวนเท่าเดิมได้ ยิ่งขยายเวลานาน ยิ่งต้องจ่ายดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น แม้จำนวนผ่อนต่อเดือนจะลดลงก็ตาม ดังนั้นควรขอขยายเท่าที่จ่ายไหวและใช้เวลาน้อยจะดีกว่า

เคยปรับโครงสร้างหนี้ กู้ได้ไหม

3. มีเงินก้อนแต่ไม่พอปิดหนี้ทั้งหมด

สามารถขอปรับโครงสร้างหนี้ ดังนี้

  • เจรจาขอส่วนลด เพื่อจ่ายทั้งหมดแบบปิดบัญชีด้วยเงินก้อน เช่น มียอดหนี้คงค้าง 120,000 บาท ขอลดเหลือ 100,000 บาท  หากตกลงกันได้ด้วยวิธีนี้ ก็จะทำให้หมดหนี้ทันที แต่การปิดจบด้วยเงินก้อน มักมีเงื่อนไขว่าจะต้องจ่ายให้ครบภายในเวลาที่กำหนด เช่น 1 – 6 งวด หากไม่มั่นใจว่าจะจ่ายได้ทั้งหมดภายในเวลาที่กำหนด ให้พิจารณาทางเลือกอื่นแทน

 

4. จ่ายไม่ไหวเลย

สามารถขอปรับโครงสร้างหนี้ด้วยการ

  • ขอพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยในช่วงเวลาหนึ่ง เช่น 3 เดือน หรือ 6 เดือน เมื่อครบกำหนดแล้ว ค่อยจ่ายคืนเงินต้นและดอกเบี้ยในช่วงที่พักไป (ดอกเบี้ยยังคงเดินอยู่ตลอดเวลาที่พักชำระ) ซึ่งอาจจะขอเจรจาเป็นการขยายเวลาการชำระหนี้ เฉลี่ยผ่อนชำระตามงวดที่เหลือ หรือชำระคืนเงินต้นที่พักชำระทั้งหมดคราวเดียวในงวดสุดท้ายก็ได้


การปรับโครงสร้างหนี้ เป็นการเปลี่ยนเงื่อนไขการจ่ายหนี้เพื่อให้ยังสามารถจ่ายหนี้ได้โดยไม่ผิดนัดชำระ จึงต้องดูความสามารถในการชำระคืนประกอบด้วย หากเงื่อนไขใหม่ที่ได้มาก็ยังเกินความสามารถในการจ่ายคืน ให้เลือกเจรจากับสถาบันการเงินอีกครั้ง เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาจ่ายหนี้ไม่ได้อีก และการปรับโครงสร้างหนี้อีกครั้งอาจทำได้ยากขึ้น ทั้งนี้การปรับโครงสร้างหนี้แต่ละแบบที่กล่าวมาข้างต้น ก็มีผลแตกต่างกันต่อประวัติในเครดิตบูโร จึงต้องสอบถามสถาบันการเงินในประเด็นนี้ด้วย ก่อนตัดสินใจ


ที่มา: ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย

เคยปรับโครงสร้างหนี้ กู้ได้ไหม

สิ่งที่คนอยากมีบ้านกังวลที่สุดก็คือ การ กู้ซื้อบ้าน ไม่ผ่าน ใครกำลังเผชิญปัญหานี้อยู่ อย่าเพิ่งถอดใจ แล้วจะทำยังไงให้กู้ผ่าน มาดูวิธีจัดการเมื่อ กู้ซื้อบ้านไม่ผ่าน กัน เพื่อให้แน่ใจว่าคุณจะสามารถกู้ผ่านและมีบ้านในฝันได้ง่ายขึ้น 

1.กู้ไม่ผ่านเพราะมีหนี้สิน

เมื่อยื่นขอกู้เงิน ทางสถาบันการเงินจะตรวจสอบหนี้สินที่มีอยู่ทั้งหมดของคุณ ไม่ว่าจะ หนี้ผ่อนรถ หนี้บัตรเครดิต  และหากรวมยอดแล้วคุณมีภาระหนี้สินมากกว่า 40% ของรายได้ส่วนใหญ่ จะมีโอกาสโดนปฏิเสธสูงมาก ดังนั้นควรรีบปิดหนี้ให้หมดก่อนที่จะขอยื่นกู้ ซึ่งถ้าไม่สามารถจัดการหนี้ได้ทั้งหมด แนะให้ทำการรีไฟแนนซ์เพื่อให้จำนวนเงินผ่อนต่อเดือนลดลง ก่อนทำการยื่นกู้อีกครั้ง

2.ติดเครดิตบูโร

ประวัติการชำระเงินของคุณจะปรากฏอยู่ในเครดิตบูโร ซึ่งสถาบันการเงินจะเช็กประวัติการชำระเงินของคุณจากเครดิตบูโรเพื่อใช้ในการพิจารณา โดยบางธนาคารอาจดูย้อนไปถึง 3 ปี ดังนั้นต้องพยายามรักษาวินัยทางการเงิน ถ้าเคยมีการประนอมหนี้หรือการปรับโครงสร้างหนี้เกิดขึ้น จะไม่สามารถขอกู้สินเชื่อส่วนบุคคลได้อีก จนกว่าจะปิดบัญชีหนี้ที่เคยปรับโครงสร้างหนี้จนครบ 3 ปี และข้อมูลหายไปจากเครดิตบูโร หากปิดยอดเรียบร้อยแล้วอย่าลืมขอเอกสาร และแนบเอกสารเมื่อยื่นกู้สินเชื่อครั้งใหม่

3.ติดผ่อนรถยนต์คันแรก

หลายคนอาจไม่ทราบว่า นี่เป็นปัญหาหนึ่งที่ทำให้ยื่นกู้ไม่ผ่าน ดังนั้นหากมีภาระผ่อนรถยนต์คันแรกอยู่ ก่อนยื่นกู้ให้สอบถามกับทางสถาบันการเงินให้ชัดเจนว่าเรายังมีความสามารถที่จะผ่อนชำระหนี้เพิ่มได้อีกหรือไม่

4.หาผู้กู้ร่วม 

ไม่ใช่ว่าใครก็จะสามารถมาเป็นผู้กู้ร่วมได้ เพราะคน ๆ นั้นต้องมีความน่าเชื่อถือ มีอาชีพที่มั่นคง เช่น ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ อัยการ แพทย์ ส่วนผู้กู้ร่วมที่ไม่ได้เป็นพนักงานประจำ  หรือประกอบอาชีพอิสระต่าง ๆ หากไม่มีทุนทรัพย์หนา ไม่มีกิจการเป็นของตัวเอง และเสียภาษีเข้ารัฐอย่างถูกต้อง ก็ยากที่จะกู้ผ่านได้

5.ไม่มีเงินออม

การมีเงินออม โดยเฉพาะการออมเงินอย่างสม่ำเสมอทุกเดือน ทำให้สถาบันการเงินเห็นว่าคุณมีวินัยทางการเงินที่ดี  และถ้าเงินออมมีจำนวนมากพอสมควร ก็ยิ่งเพิ่มความน่าเชื่อถือเรื่องความสามารถในการชำระหนี้ได้ ดังนั้นหากยังไม่ออมเงิน ก่อนยื่นกู้ซื้อบ้าน ควรออมเงินในบัญชีเงินฝากประจำก่อน 1-2 ปี

หากคุณยื่นกู้ซื้อบ้านแล้วไม่ผ่าน กลับมาดูว่าปัญหาของคุณคืออะไร ถ้าอยู่ใน 5 ข้อนี้ก็จัดการแก้ไขให้พร้อมเสียก่อน ทีนี้ไม่ว่าจะยื่นกู้กับสถาบันไหนรับรองผ่านฉลุย