ผู้นำ สมัยรัตนโกสินทร์ ได้ สร้างความมั่นคง ปลอดภัย ให้ กับ บ้านเมือง อย่างไร

ขณะเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชขึ้นครองราชย์นั้น  บ้านเมืองยังอยู่ในสภาพทรุดโทราเสียหายมาก  หลังจากพระองค์ตัดสินพระทัยย้ายราชธานี  มาตั้งใหม่ที่บางกอก  ทางฝั่งตรงข้ามของแม่น้ำเจ้าพระยาก็โปรดให้สร้างกำแพงเมืองและป้อมปราการแข็งแรงมั่นคงสำหรับป้องกันข้าศึก  และทรงสร้างวัดพระศรีรัตนศาสนดารามขึ้นในบริเวณพระบรมมหาราชวังเป็นหลักพระนคร  เพื่อให้เป็นมิ่งขวัญและกำลังใจแก่ประชาชนว่า  ไทยเราได้ฟื้นฟูขึ้นแล้วเหมือนเมื่อครั้นสมัยบ้างเมืองดี  ทรงฟื้นฟูประเทศทุกด้านทุกสาขา  โดยเฉพาะทางด้านศาสนาโปรดให้ทำการสังคายนาสอบสวนพระโตรปิฏกให้ถูกต้องสมบูรณ์เช่นเดียวกับกฎหมายก็โปรดให้ชำระเรียบร้อยใหม่ให้ถูกต้องดังเดิม  เพราะทั้งสองอย่างนี้ถูกพม่าเผาทำลายไปเสียมาก  ส่วนการรักษาเอกราชและความมั่นคงของประเทศนั้น  ได้ทรงทำศึกสงครามกับประเทศเพื่อนบ้านที่มุ่งรุกรานไทย  และได้เจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศมหาอำนาจตะวันตกที่เริ่มจะเข้าติดต่อกับไทยด้วย

การฟื้นฟุชาติบ้านเมืองในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น  จึงเป็นการฟื้นฟูในทุกด้าน  พอสรุปเป็นหัวข้อได้ ดังนี้

  1. การดำเนินการด้านการเมือง
  2. การดำเนินการด้านการปกครอง
  3. การฟื้นฟูและวางรากฐานด้านเศรษฐกิจ
  4. การฟื้นฟูและพัฒนาด้านสังคมวัฒนธรรม

1.  การดำเนินการด้านการเมือง

การดำเนินการด้านการเมืองในสมัยฟื้นฟูบ้านเมือง  (รัชกาลที่ 1-2-3)  มีหัวข้อควรศึกษา  ดังนี้

1.  การสงครามกับพม่า

2.  ความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านอื่นๆ

3. ความสัมพนธ์กับประเทศตะวันตก

1. การทำสงครามกับพม่า

                         ในสมัยรัตนโกสินทร์  ไทยทำสงครามกับพม่ารวมทั้งสิ้น  10  ครั้ง  ในรัชกาลที่ 1  มีถึง  7  ครั้ง  เหตุที่ต้องรบพม่าถึง  7  ครั้ง  ในรัชกาลนี้ก็เนื่องจากพม่าเริ่มจะพ้นจากความวุ่นวายภายใน  โดยพระเจ้าปะดุง (โบดอพญา)  ปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์  ใน  พ.ศ. 2324  มีกำลังเข้มแข็งสามารถปราบปรามหัวเมืองต่างๆ  ในพม่าได้ราบคาบ  เห็นว่าไทยก่อตั้งอาณาจักรใหม่ขึ้น  จึงต้องการแผ่อำนาจมาปราบปรามไม่ให้เติบใหญ่ได้อีก

พระเจ้าปะดุง  คงจะทรงล่วงรู้ถึงพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ 1  จึงยกทัพมาเป็นทัพใหญ่  ใน  พ.ศ. 2328  ประกอบด้วยกองทัพใหญ่น้อย  รวมกันถึง  9  ทัพ  กรีธาเจ้ามาแบบปูพรมจากเหนือสุดถึงใต้สุด  หวังจะแผ่อำนาจครอบคอรงทั่วดินแดนแหลมทองให้จงได้  แม้สงครามครั้งแรกที่เรียกว่า  สงคราม  9  ทัพ  นี้  พระเจ้าปะดุงจะพ่ายแพ้กลับไปอย่างผิดหวังที่สุด  แต่ก็มิได้ลดละความพยายาม  ในปีรุ่งขึ้น คือ ปี พ.ศ. 2329   ก็ยกทัพใหญ่อีก  คราวนี้ไม่ประมาทฝีมือคนไทย  พยายามแก้ไขยุทธวิธี  โดยยกทัพใหญ่มาตั้งที่ท่าคิดแดง  (กาญจนบุรี)  สร้างค่ายใหญ่สะสมเสบียงอาหาร ขุดคูทำหอรบอย่างแข็งแรง  แต่ไทยไม่กลัวพม่าเสียแล้ว  พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช  ยกทัพไปตีค่ายที่ท่าดินแดงนี้ เพียง  3  วัน  ก็ตีแตกหมดทุกค่าย  พม่าพ่ายแพ้คราวนี้เป็นการสูญเสียอย่างยับเยิน  กองทัพไทยจับพม่าเป็นเชลยศึกและยึดได้ช้าง  ม้า  พาหนะ  เสบียงอาหาร  และศัตราวุธเป็นอันมาก

สงครามไทยกับพม่าในสมัยรัชกาลที่ 1  ที่นับว่าสำคัญมี  2  ครั้ง  คือ  สงครามเก้าทัพ  และสงครามท่าดินแดง  จึงสมควรศึกษาสงครามทั้งสองครั้ง  พอสังเขปดังนี้

        สงครามเก้าทัพ  (พ.ศ. 2328)

        สงครามครั้งนี้  มีขึ้นหลังจากพระเจ้าปะดุง (ดบดอพญา)  ปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์ได้  4  ปี  และพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก  ปราบดาภิเษกขึ้น

ครองราชย์ได้  3  ปี

เหตุผล  พระเจ้าปะดุงทรงต้องการแผ่อำนาจครอบคลุมดินแดนสุวรรณภูมิ และทำลายอาณาจักรไทยไม่ให้เติบโตเป็นอาณาจักรใหญ่อย่างกรุงศรีอยุธยาได้อีก

ยุทธวิธีฝ่ายพม่า   พระเจ้าปะดุงจัดทัพเป็น  9  ทัพ  หวังจะให้กองทัพเหล่านี้  รุกเข้าทำลายหัวเมืองต่างๆ  ตั้งแต่เหนือจดใต้  แล้วบรรจบกับเข้าตีกรุงเทพมหานคร  ตามยุทธวิธีดั้งเดิมที่เคยใช้ได้ดีในสมัยอยุธยา

ทัพพม่าทั้ง  9  ทัพ  มีดังนี้

ทัพที่ 1   แบ่งเป็นทัพบกและทัพเรือ  ทัพบกมีหน้าที่ตีหัวเมืองปักษ์ใต้  ตั้งแต่เมืองชุมพรถึงสงขลา  เป็นการตัดความช่วยเหลือจากทางใต้  ส่วนทัพเรือมีหน้าที่ตีหัวเมืองชายทะเลฝั่งตะวันตก  ตั้งแต่เมืองตะกั่วป่าลงไปจนถึงเมืองถลาง  และยังมีหน้าที่หาเสบียงอาหารให้แก่กองทัพด้วย

ทัพที่ 2  ให้รวบรวมพลที่หวายและให้เดินทัพเข้าทางด่านบ้องตี้ (ราชบุรี)  ให้ตีเมืองราชบุรี  เพชรบุรี  ไปบรรจบกับทัพที่ 1  ที่ชุมพร

ทัพที่ 3  เข้ามาทางเมืองเชียงแสน  ตีเมืองลำปาง  สวรรคโลก  สุโขทัย  นครสวรรค์  ลงมาบรรจบกันทัพหลวงที่กรุงเทพฯ

ทัพที่ 4, 5, 6, 7, 8  ชุมนุมทัพที่เมืองเมาะตะมะก่อน  ต่อจากนั้นจึงเดินทัพตามลำดับกับเจ้าเมืองไทยทงด้านพระเจดีย์สามองค์  ลงมาตีกรุงเทพฯ

ทัพที่ 9   มีหน้าที่ตัวเมืองเหนือริมฝั่งแม่น้ำปิง  ตั้งแต่เมืองตาก  กำแพงเพชร  ลงมาบรรจบกับทัพหลวงที่กรุงเทพฯ

ยุทธวิธีฝ่ายไทย    พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก  รัชกาลที่ 1  ทรงเห็นว่าสงครามคราวนี้พม่ามีรี้พลมากกว่าไทยมาก  ยกมาทุกทิศทาง  แต่จุดประสงค์ก็คงจะต้องเข้าตีกรุงเทพมหานครในที่สุด  หากรอรับศึกในกรุงจะรักษากรุงไว้ไม่ได้เพราะกำลังน้อยกว่า  จึงเปลี่ยนยุทธวีธีใหม่ ไม่ตั้งรับในกรุงเหมือนที่เคยทำในสมัยอยุธยา  แต่ให้จัดทัพออกไปรับมือข้าศึก  ไม่ให้มีโอกาสเข้าประชิดกรุง  แต่จะแบ่งกำลังของไทยออกไปรับศึกทุกจุดไม่ได้  จะต้องโจมตีเฉพาะจุดที่สำคัญก่อน  เมื่อชนะแล้วจึงค่อยนำกำลังไปโจมตีจุดอื่นๆ ต่อไป  จนกว่าจะทำลายทัพพม่าได้หมดสิ้น

การจัดทัพตามยุทธวิธีนี้  ไทยจัดทัพเป็น  4 ทัพ  ดังนี้

ทัพที่ 1  (กองทัพวังหน้า)    รับผิดชอบทิศตะวันตก  กรมพระราชวังบวรฯ  เป็นแม่ทัพ  ยกไปโจมตีพม่าที่จะยกเข้ามาทางด่านพระเจดีย์สามองค์ (จังหวัดกาญจนบุรี)  ทัพวังหน้านี้เป็นทัพใหญ่ที่สุดของไทยเพราะคาดว่าพระเจ้าปะดุงจะยกทัพหลวงหนุนเนื่องเข้ามาด้านนี้

ทัพที่ 2  (กองทัพวังหลัง)   รับผิดชอบทิศเหนือ    กรมพระราชวังบวรสถานพิมุข  (วังหลัง)  ขณะยังดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระเจ้าหลานเธอ  เจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ (พระยาสุริยอภัย)  เป็นแม่ทัพยกไปโจมตีทัพพม่าซี่งจะมาจากทางเหนือ  ที่เมืองนครสวรรค์  สกัดไม่ให้ยกมาถึงกรุงเทพฯ ได้

ทัพที่ 3  รับผิดชอบทิศใต้   เจ้าพระยาธรรมา (บุญรอด)  เป็นแม่ทัพร่วมกับเจ้าพระยายมราช  มีหน้าที่ช่วยกันโจมตีทัพพม่าที่จะยกมาทางใต้  และทางด่านบ้องตี้ (ราชบุรี)

ทัพที่ 4 (ทัพหลวง)   พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก  รัชกาลที่ 1   ทรงเป็นจอมทัพ  ตั้งมั่นอยู่  ณ  กรุงเทพมหานคร  ทำหน้าที่เป็นกองหนุน  ศึกหนักด้านใดจะยกไปช่วยด้านนั้น

สงครามครั้งนี้แม้วาจะกำลังฝ่ายไทยจะน้อยกว่าพม่า  แต่อาศัยที่มีผู้นำดีมีความสามารถ  ทหารจึงมีกำลังใจเข้มแข็งในการสู้รบ  ประกอบกับทหารไทยส่วนใหญ่ได้ผ่านศึกในสงครามกู้ชาติเมือ่ครั้งกรุงธนบุรีมาแล้ว  จึงมีความพร้อม  สามารถตีทัพพม่าแตกพ่ายไปทุกทัพ

สรุปการรบในสงครามคราวนี้  ได้ดังนี้

การรบของกองทัพวังหน้าที่ทุ่งลาดหญ้า (กายจนบุรี)

                             กองทัพพม่าที่ยกมาทางด่านพระเจดีย์สามองค์ (กาญจนบุรี)  มีถึง  5  ทัพ  รวมทั้งทัพหลวง ด้วยกำลังพลรวมกันนับเป็นเรือนแสน  กำลังฝ่ายไทยไม่สามารถจะเทียบได้เลย  กรมพระราชวังบวรฯ จึงทรงนำวิธีการรบแบบกองโจร  และสงครามจิตวิทยามาใช้  โดยจัดกำลังเป็นหน่วยยอ่ย  รบแบบจรยุทธ์ซุ่มโจมตี  ตัดกำลังเสบียงอาหาร  และจัดกลลวง  ทำลายขวัญทหารพม่า  โดยกลางคืนให้ทหารบางส่วนลอบหลบออกจากค่าย  ตกเช้าจึงเดินถือธงทิวเป็นขบวนกลับเข้าค่ายจนถึงบ่ายเย็น  ทำให้พม่าเสียขวัญ  ดว่าทหารไทยมีจำนวนมาก  ยกมาสมทบทุกวัน  เมือ่ทรงเห็นว่าพม่าระส่ำระสายมากแล้ว  ก็สให้เข้าโจมตีทัพต่างๆ  ของพม่าพร้อมๆ กัน เพียงชั่วเช้าจรดเย็นค่ายพม่าก็แตกทั้งหมด  ทหารไทยรุกไล่ไปจนถึงชายแดนจับเชลยและช้าง  ม้า  ศัสตราวุธ  ได้เป็นอันมาก

การรบของกองทัพวังหลังทางภาคเหนือ

                            เมื่อกองทัพวังหน้าชนะศึกที่ลาดหญ้า  จนพระเจ้าปะดุงต้องถอยทัพหลวงเข้าเขตพม่าไปแล้ว  กองทัพวังหน้าจึงยกลงไปช่วยทัพภาคใต้  ส่วนทัพหลวงของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก  ก็ยกขึ้นไปช่วยกองทัพวังหน้งทางภาคเหนือ  กองทัพวังหลังตีทัพพม่าแตกพ่ายถอยร่นขึ้นไปจนถึงลำปาง  ทัพหลวงจังหยุดยั้งคุมเชิงอยุ่ที่นครสวรรค์  ในที่สุดกองทัพวังหลังก็สามารถรุกไล่ให้พม่าหนีออกไปทางเมืองเชียงแสน

ศึกเมืองถลาง

กองทัพที่ 3  ของไทย  ซี่งมีพระยาธรรมา และเจ้าพระยายมราชเป็นแม่ทัพ  ได้เข้าสู้รบกับกองทัพ ที่ 2  ของพม่า  ที่ยกเข้ามาทางด่านบ้องตี้(ราชบุรี)  จนพม่าแตกพ่ายไป  แต่กองทัพที่ 1  ของพม่านั้น  สามารถเข้ายึดเมืองชุมพร  และนครศรีธรรมราชได้  และแบ่งกำลังส่งกองเรือตีเมืองถลาง  ได้เมืองตะกั่วป่า   ตะกั่วทุ่ง   ขณะนั้นพระยาถลาง เจ้าเมืองถลางถึงแก่กรรม  ยังไม่ได้ตั้งเจ้าเมืองใหม่  คุณหญิงจัน ภรรยาเจ้าเมือง  กับนางมุกน้องสาว  จึงนำไพร่พลราษฎรชายหญิงเข้าต่อสู้ป้องกันเมืองอย่างเข้มแข็ง  ทัพพม่าล้อมอยู่เดือนเศษก็ตีเอาเมืองถลางไม่ได้  ต้องยกทัพกลับไป

ในระหว่างนั้น  กองทัพวังหน้าซึ่งยกลงไปช่วยด้านใต้  ได้ปะทะกับกองทัพพม่าที่เมืองไชยา (สุราษฎร์ธานี)  พม่าแตกพ่ายล้มตายเป็นอันมาก  และหนีกลับไปทางเมืองกระบี่   เสร็จศึกแล้วคณหญิงจัน ภรรยาพระยาถลาง  และนางมุกน้องสาวได้รับพระราชทานบำเหน็จ ความชอบ คุณหญิงจันได้เป็นท้าวเทพกระษัตรี  และนางมุกได้เป็นท้าวศรีสุนทร

สงครามท่าเดินแดน  (พ.ศ. 2329)

                            การพ่ายแพ้สงคราม  9  ทัพ  ทำให้พระเจ้าปะดุง (โบดอพญา)  รู้สึกอัปยศอดสูมาก  เพราะพระองค์ไม่เคยแพ้สงครามครั้งใดมาก่อน  จึงยกทัพมาตีเมืองไทยใหม่ในปีรุ่งขึ้นนั้นเอง

คราวนี้พระเจ้าปะดุงแก้ไขข้อผิดพลาดทางยุทธวิธี  โดยยกพลเป็นทัพใหญ่มาทางด่านพระเจดีย์สามองค์ทางเดียว  สร้างยุ้งฉางสะสมเสบียงอาหาร  ตั้งค่ายถาวรเป็นระยะๆ  จากท่าดินแดงถึงสามสบ  ขุดคู  ปักขวากแน่นหนา  ชักปีกกาค่ายเข้าถึงกัน  หมายว่าเมื่อพักผ่อนบำรุงกำลังไพร่พลจนกล้าแข็งแล้ว  จึงจะตรงเข้าตีกรุงเทพมหานครจุดเดียวพร้อมกันทั้งหมด  คาดว่าไพร่พลที่สมบูรณ์เต้มที่และมีจำนวนมากกว่าจะสามารถตีเอากรุงเทพมหานครได้ไม่ยาก

สำหรับฝ่ายไทยนั้น  ชัยชนะในสงคราม  9  ทัพ  ทำให้รู้ว่า  การเข้าโจมตีพม่าเสียก่อนนั้นดีกว่าตั้งรับอยู่ใสนกรุง  จึงยกทัพตรงไปยังค่ายพม่าทันที่ไม่ปล่อยให้พม่าตั้งตัวได้มั่นคง  โดยแบ่งกำลังเป็น  2  ทัพ  ทัพหน้ามีกรมพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า)  เป็นแม่ทัพ  ตามด้วย ทัพหลวง  ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก  ตีค่ายทั้งหมดของพม่า  เพียง  3  วัน  ก็แตกหมดทุกค่าย  ทหารไทยซึ่งมีขวัญกำลังใจดียิ่งก็รุกไล่ติดตามจับเชลย  ยานพาหนะ  เสบียงอาหาร และศัสตราวุธได้เป็นจำนวนมาก

ชัยชนะคราวนี้  เป็นชัยชนะที่เด็ดขาด  สร้างความหวาดหวั่นแก่ทหารพม่าอย่างยิ่ง  แต่นั้นมาจนพม่าตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ  กองทัพพม่าก็ไม่มีความสามารถที่จะยกทัพมาตีกรุงเทพมหานครได้อีกเลย

2.  ความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านอื่นๆ

นอกจากพม่าซี่งเป็นคู่ศึกสงครามกับไทยมาตลอดระยะเวลาอันยาวนานหลายร้อยปี  ยังมีประแทศเพื่อนบ้านอื่นๆ  ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับไทยในสมัยฟื้นฟูบ้านเมือง (รัชกาลที่ 1-2-3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์)  เท่าที่ควรทราบ  มีดังนี้

ความมสัมพันธ์กับล้านนาไทย

                          หัวเมืองที่เรียกว่า  ล้านนาไทย  ซี่งประกอบด้วยเมืองเชียงใหม่  ลำปาง  ลำพูน  ฝาง  น่าน  เชียงแสน  และเมืองเล็กเมืองน้อยต่างๆ  ทางเหนือนั้น  ตกอยู่ในอารักขาหรือเป็นประเทศราชของไทยโดยปริยายมาตั้งแต่สมัยธนบุรี

เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเสด็จขึ้นครองาชย์นั้น  ทรงเห็นว่าดินแดนล้านนาเป็นแหล่งสำคัญที่พม่าอาศัยเป็นฐานในการรุกรานอาณาจักรไทย  โดยพม่ามักจะยกทัพมายึดล้านนาไทยไว้ก่อน  แล้วจึงยกลงมารุกรานหัวเมืองฝ่ายเหนือของไทย  จำเป็นต้องรักษาดินแดนล้านนาไทยไว้  เพื่อเป็นปราการป้องกันการรุกรานของพม่าจึงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งพระยากาวิละซี่งช่วยไทยขับไล่พม่ามาตั้งแต่สมัยธนบุรีเป็นพระยาวชิรปราการ  เจ้าเมืองเชียงใหม่  ในฐานะเจ้าประเทศ  ซี่งพระยากาวิละก็สามารถขยายอาณาเขตล้านนาออกไปกว้างขวางถึงสิบสองปันนาและเมืองเชียงรุ้ง

ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นไทยดูแลล้านนาไทยในฐานะประเทศราช  มีข้อผูกพันซี่งกันและกันคือ ล้านนาต้องส่งบรรณาการให้กรุงเทพมหานคร  3  ปีครั้งหนึ่ง  และมีหน้าที่ช่วยราชการสงครามตามแต่กรุงเทพฯ จะมีใบบอกไป  ฝ่ายกรุงเทพมหานครมีหน้าที่ให้ความคุ้มครองป้องกันล้านนาจากข้าศึกศัตรู (โดยเฉพาะพม่า)  และให้ความช่วยเหลือล้านนาด้านสิ่งของเครื่องอุปโภค  เช่น  ยารักษาโรค  ถ้วย  ชาม  ของใช้จำเป็นต่างๆ  และช่วยเหลือสร้างบ้านเมืองให้แข็งแรง เช่น ช่วยตั้งเมืองเชียงใหม่  และลำพูน  ซี่งภายหลังยกย่องให้เกียรติเจ้าเมืองในล้านนาเสมือนเป็นเจ้าแผ่นดิน  โดยแต่งตั้งพระเจ้าเชียงใหม่  พระเจ้านครลำปางและพระเจ้านครลำพูน  เป็นต้น  นอกจากนี้ยังช่วยเหลือเกื้อกูลเสมือนหนี่งเป็นพระญาติของราชวงศ์จักรี  ทำให้ล้านนาเอนเอียงมาทางไทย  อิทธิพลของพม่าที่มีอยุ่เดิม  จึงค่อยๆ ลดลง  จมในที่สุดก็หมดไปเจ้าต่างๆ ในเมืองเหนือ  หรือล้านนาไทย  ยังคงมีเชื้อสายมาถึงปัจจุบัน

ความสัมพันธ์กับหัวเมืองมลายู

หัวเมืองมลายู ได้แก่ ปัตตานี  ไทรบุรี  กลันตัน  และตรังกานู  นั้น  เคยเป็นประเทศราชของไทยมาแต่สมัยอยุธยา  เมื่อกรุงศรีอยุธยาแตก ใน พ.ศ. 2310  หัวเมืองเหล่านี้จึง

พากันแข็งเมือง  เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช  เสด็จยกทัพไปปราบหัวเมืองภาคใต้นั้น  ไม่มีเวลาพอที่จะยกไปถึงเมืองมลายู  คงได้เพียงเมืองนครศรีธรรมราชลงไปถึงเมืองสงขลามาอยู่ในอำนาจเท่านั้น

ครั้นถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1  เมื่อเสร็จจากสงครามเก้าทัพแล้ว  ไทยจึงมีโอกาสยกทัพไปตีเมืองปัตตานีใน พ.ศ. 2328

แล้วตั้งชาวพื้นเมืองเป็นสุลต่านปกครองในฐานะเมืองประเทศราช  บรรดาหัวเมืองมลายูที่เหลือคือ ไทรบุรี  กลันตัน  และตรังกานู  เกิดความเกรงกลัวจึงพากันแต่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายยอมอ่อนน้อมเป็นประเทศราชต่อกรุงเทพมหานครดังเดิม

ตลอดช่วงเวลาในรัชสมัยของรัชกาลที่ 1-2-3  แห่งกรุงรัตนโกสินทร์  มีการก่อกบฏในหัวเมืองมลายูเหล่านั้นหลายครั้ง  แต่กรุงเทพฯก็ปราบได้ทุกครั้ง  หลังจากนั้นจึงดำเนินนโยบายลดอำนาจปกครองของสุลต่านแต่ละเมืองให้น้อยลง  เช่น  แยกเมืองให้เป็นส่วนย่อยๆ มากขึ้น  พร้อมกันนั้นก็ทำนุบำรุงหัวเมืองไทยตอนบน เช่น เมืองสงขลา  พัทลุง และตรัง  ให้เข้มแข็งเป็นที่น่าเกรงขาม  เพื่อปราบการก่อกบฏแข็งเมืองของหัวเมืองมลายูนั้น

ความสัมพันธ์กับอาณาจักรลาว

ลักษณะของอาณาจักรลาวแยกออกเป็น  3  ส่วน  ได้แก่  ลาวตอนเหนือมีศูนย์กลางอยู่ที่หลวงพระบาง  ลาวตอนล่างมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองจำปาศักดิ์  และลาวตอนกลางมีศูนย์กลางอยู่ทีเวียงจันทน์  แต่ละเมืองมีอำนาจปกครองตนเอง  และตกอยู่ใต้อำนาจของไทยมาตั้งแต่สมัยธนบุรี

ถึงรัชกาลที่ 1  แห่งกรุงรัตนโกสินทร์  พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช  โปรดเกล้าฯ ให้เจ้านันทเสนไปปกครองเวียงจันทน์  และได้พระราชทานพระพุทธรูป  พระบาง  ที่ยึดมานั้นคืนไปด้วย  แต่พระแก้วมรกตยังคงเก็บรักษาไว้ที่กรุงเทพฯ ไม่ได้ส่งคืนไปด้วย  ต่อมาเจ้านันทเสนเป็นกบฏ  พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1  จึงให้นำไปประหารชีวิต  และให้เจ้าอินทร์ปกครองแทน  เมื่อเจ้าอินทร์ถึงแก่พิราลัย  จึงโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าอนุวงศ์ครองเมืองเวียงจันทร์สืบต่อไป

ถึงรัชกาลที่ 2  นี้เอง  เขมรได้คบคิดกับญวนให้เข้ามามีอำนาจในเขมร  ขณะนั้นไทยต้องทำศึกกับพม่า  จึงวางเฉยเสียไม่ยกทัพไปปราบปราม  เจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ต้องการจะกอบกู้เอกราชลาวอยู่แล้ว  จึงเอาอย่างเขมร  ส่งทูตไปทำไมตรีกับญวน  หวังจะใช้อิทธิพลญวนมาถ่วงดุลอำนาจกับไทย

กบฏเจ้าอนุวงศ์

ครั้นถึง พ.ศ. 2369   ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ 3  มีข่าวลือไปถึงเวียงจันทน์ว่าไทยขัดใจกับอังกฤษ  และอังกฤษกำลังเตรียมทัพเรือมายึดกรุงเทพฯ  เจ้าอนุวงศ์เห็นเป็นโอกาส จึงยกทัพเข้ามาตี่เอาดินแดนไทย และถ้ามีโอกาสก็จะตีเอากรุงเทพมหานครเสียด้วย

เจ้าอนุวงศ์จัดทัพมาเป็น  3  ทัพ  ได้แก่  ทัพเมืองจำปาศักดิ์ของราชบุตร  เข้ามาทางเมืองอุบล  ทัพของพระอุปราช (พระอนุชาของเจ้าอนุวงศ์)  เข้าทางเมืองร้อยเอ็ด  ส่วนทัพหลวงของเจ้าอนุวงศ์ยกตรงมายังเมืองนครราชสีมา  ขณะเดินทัพได้ออกอุบายบอกเมืองต่างๆ  ว่าจะยกไปช่วยกรุงเทพมหานครทำศึกกับอังกฤษ  หัวเมืองทางอีสาน  เช่น  ร้อยเอ็ด  กาฬสินธุ์  ขอนแก่น  สุรินทร์  ขุขันธ์  อัตตะปือ  ต่างพากันหลงเชื่อ  และสนับสนุนเจ้าอนุวงศ์ทั้งสิ้น  เจ้าอนุวงศ์ได้ทีก็กวาดต้อนผู้คนและทรัพย์สินเพื่อนำกลับไปยังเวียงจันทน์

คุณหญิงโม – ท้าวสุรนารี

ขณะที่กองทัพเจ้าอนุวงศ์ถึงเมืองนครราชสีมานั้น  ปลัดเมืองนครราชสีมาติดราชการอยู่ที่กรุงเทพมหานคร  จึงยึดได้โดยง่าย  และกวาดต้อนผู้คนทรัพย์สินต่างๆ แต่ระหว่างทางที่พักอยู่  ณ  ทุ่งสำริด  คุณหญิงโม ภรรยาปลัดเมืองนครราชสีมาออกอุบายเลี้ยงสุราอาหารแก่นายทหาร  ไพร่พลลาว  พอได้โอกาสชายหญิงชาวไทยที่ถูกกวาดต้อนเป็นเชลยก็ลุกขึ้น  ใช้อาวุธมีดทำครัว  และไม้หลาวไม้พลอง  จู่โจม  ฆ่าฟันทหารลาวโดยไม่ทันรู้ตัว  บาดเจ็บล้มตายเป็นอันมาก  จึงแตกทัพหนีไป      วีรกรรมของคุณหญิงโมครั้งนี้  ภายหลังเมื่อเสร็จศึกแล้ว  พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3  ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เป็น “ท้าวสุรนารี”

ปราบกบฏเจ้าอนุวงศ์

เมื่อกองทัพเจ้าอนุวงศ์แตกพ่ายกลับไปแล้ว  พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ 3  ก็โปรดเกล้าฯ  ให้จัดทัพไปตีเมืองเวียงจันทน์  มีกรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพ  เป็นจอมทัพยกไปทางสระบุรี  ผ่านนครราชสีมามุ่งตรงไปยังเวียงจันทน์  ใน พ.ศ. 2370  ตีได้เมืองต่างๆ  ตามรายทางที่เคยสวามิภักดิ์ต่อ  เจ้าอนุวงศ์  พอถึงเวียงจันทน์ก็ยึดได้โดยง่าย  เพราะเจ้าอนุวงศ์หนีไปลี้ลัยในญวน

แต่ครั้นไทยยกกองทัพกลับ  เจ้าอนุวงศ์ก็กลับมาเวียงจันทน์อีก  คราวนี้ทหารญวนหนุนหลังด้วย  ทำให้พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3  ต้องทรงส่งกองทัพไปเวียงจันทน์อีกใน พ.ศ. 2371  มีพระราชสุภาวดีเป็นแม่ทัพ

พระยาราชสุภาวดี ได้จัดส่งพระยาพิไชยสงครามนำทหารส่วนหน้าข้ามฟากไปดูเหตุการณ์ในเมืองเวียงจันทน์ก่อน  เจ้าอนุวงศ์ทำทำเป็นขอโทษไทยและยอมสวามิภักดิ์ต่อไทยดังเดิม  ทำให้พระยาพิไชยสงครามตายใจ  ครั้นตกกลางคืนเจ้าอนุวงศ์ก็ใช้กลศึกแบบเดียวกับคุณหญิงโม  นำทหารญวน  ทหารลาว  เข้าจู่โจมกองทหารส่วนหน้าของไทยและฆ่าเสียแทบหมดสิ้น  รวมทั้งพระยาพิไชยสงครามด้วย  ทหารไทยส่วนที่เหลือตายก็ข้ามแม่น้ำโขง กลับมารวมกับกองทัพไทย  ตั้งมั่นอยู่ที่เมืองยโสธร

ฝ่ายเจ้าอนุวงศ์เมื่อได้รับชัยชนะเช่นนั้น  จึงจัดทัพติดตามมา  หวังจะบดขยี้กองทัพไทยของพระยาราชสุภาวดีที่ยโสธรให้หมดสิ้น  แต่กลับถูกตีพ่ายหนีกลับไป  กองทัพไทยติดตามจนถึงเวียงจันทน์  เจ้าอนุวงศ์จึงหนีเข้าไปในญวนอีก  แต่คราวนี้แม่ทัพไทยไม่ยอมให้หลุดพ้น  ตามไปจับตัวได้ที่ชายแดนลาว-ญวน  นำมาจำขังที่กรุงเทพมหานคร และเสียชีวิตในเวลาต่อมา

สำหรับแม่ทัพที่จับเจ้าอนุวงศ์มาได้  คือ  พระยาราชสุภาวดี  นั้นก็ได้รับบำเหน็จเลื่อนขึ้นเป็นเจ้าพระยาบดินทรเดชา  ลาวจึงตกเป็นประเทศราชของไทยเรื่อยมา  จนไทยเสียให้แก่ฝรั่งเศสภายหลัง

ความสัมพันธ์กับเขมร

                     เขมรหรือขอมเคยเป็นชนชาติที่ยิ่งใหญ่  มีอำนาจมั่นคงมาแต่โบราณ  เมื่อสมเด็จพระเจ้าอู่ทองสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ใน พ.ศ. 1893  เป็นช่วงเวลาที่เขมรเสื่อมอำนาจ พระองค์จึงยกกองทัพไปตีนครธม  ได้เขมรเป็นประเทศราช  ตั้งแต่ พ.ศ. 1896  แต่ไม่เป็นการถาวร  เพราะเขมรพยายามตั้งตนเป็นอิสระ  ไทยจึงต้องยกทัพไปราบอยู่เนื่องๆ

เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าใน พ.ศ. 2310  เขมรก็เอาใจออกห่างจากไทยไปฝักใฝ่ญวน  และเกิดจลาจลแย่งอำนาจกันขึ้น  สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จึงยกทัพไปปราบ  ได้เขมรกลับมาเป็นประเทศราชดังเดิม ใน พ.ศ. 2315

แต่เหตุการณ์ในเขมรก็มิได้ราบรื่น  มีการก่อกบฏชิงอำนาจกันเองอยู่เสมอ  ทำให้ไทยต้องเข้าไปจัดการบ้านเมืองให้สงบ  เหตุที่ไทยจำเป็นต้องเข้าไปปราบปรามเขมรให้สงบราบคายอยู่เสมอนั้น  อาจเนื่องด้วยสาเหตุ  2  ประการ คือ         ประการแรก   เพื่อรักษาอำนาจเหนือเขมรในฐานะเป็นประเทศราชไว้ดังเดิม  เป็นการแผ่พระบรมเดชานุภาพของพระมหากษัตริย์ไทย เช่นที่เคยเป็นในอดีต          ประการที่สอง  เพื่อสกัดกั้นอิทธิพลของญวน  ซึ่งสร้างความนิยมในหมู่พระราชวงศ์ และขุนนางบางส่วนในราชสำนักเขมร  หากเขมรตกเป็นของญวนแล้วอาจเป็นภัยแก่ไทยได้  ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นมูลเหตุทำให้เกิดสงครามไทยกับญวนขึ้น    ความสัมพันธ์กับเขมรในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (รัชกาลที่ 1- 3)  มีเหตุการณ์สำคัญพอสรุปได้ดังนี้

เขมรเป็นประเทศราชในสมัยรัชกาลที่ 1

                       เมื่อสมเด็จเจ้าพระยามหากัตริย์ศึกขึ้นครองราชย์  เป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1  นั้นเหตุการณ์จลาจลในเขมรยังไม่สิ้นสุด  กองทัพไทยได้พาตัวพระราชวงศ์เขมรมาที่กรุงเทพฯ  รัชกาลที่ 1  ทรงรับนักองเองเป็นพระราชบุตรบุญธรรม  เมื่อเหตุการณ์ในเขมรสงบลง  ขุนนางเขมรกราบทูลขอนักองเองกลับไปเป็นกษัตริย์ แต่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ทรงเห็นว่ายังทรงพระเยาว์อยู่  จึงให้เจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ (แบน)  ไปเป็นผู้สำเร็จราชการกรุงเขมรแทนไปพลางก่อน  ภายหลังจึงทรงส่งนักองเองไปเป็นกษัตริย์  ทรงพระนามว่า สมเด็จพระนารายณ์รามาธิบดี   ส่วนเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ให้มาปกครองเขมรส่วนใน  คือ  เมืองพระตะบองกับเมืองเสียมราฐ  โดยแยกสองเมืองนี้ออกมาขึ้นต่อกรุงเทพฯ ไม่ขึ้นต่อเขมร

ถึง พ.ศ. 2349   สมเด็จพระนารายณ์รามาธิบดี (นักองเอง)  สิ้นพระชนม์  พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ  จึงโปรดเกล้าฯ ให้นักองจัน (โอรสของนักองเอง)  ขึ้นเป็นกษัตริย์แทน ทรงพระนามว่า สมเด็จพระอุทัยราชาธิราช  ปกครองเขมรสืบต่อมา

เขมรในสมัยรัชกาลที่ 2

                  สมเด็จพระอุทัยราชาธิราช (นักองจัน)  เริ่มไม่พอใจไทยในตอนปลายรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ  เมื่อทรงกราบทูลของนนักองอีกับนักองภา  ผู้เป็นป้าที่อยู่ในกรุงเทพฯ กลับไปยังเขมร  แต่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ  ไม่ทรงอนุญาต  เพราะทั้งสองพระองค์มีพระเจ้าลูกเธอกับสมเด็จพระอนุชา  กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท  นอกจากนี้ยังอาจขุ่นเคืองเรื่องที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ทรงขอเมืองพระตะบองและเสียมราฐมาปกครองเป็นของไทยโดยตรง  เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ เสด็จสวรรคต  ก็ไม่มาถวายบังคับพระบรมศพด้วยตนเอง  แต่มอบให้นักองสงวนกับนักองอิ่ม  ซึ่งเป็นพระนุชามาแทน  ความมไม่พอใจของพระอุทัยราชามีมากยิ่งขึ้น  เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย  รัชกาลที่ 2  โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้นักองงสงวนเป้นพระมหาอุปโยราช  และนักองอิ่มเป็นพระมหาอุปราช  พระอุทัยราชาจึงหันไปคบค้าสนิทสนมกับญวน  หวังจะได้ยวนเป็นที่พึ่งปกป้องคุ้มครองเป็นการคานอำนาจกับไทย  ราชสำนักเขมรจึงแบ่งเป็น  2  ฝ่าย  คือ  ฝ่ายพระอุทัยราชาเป็นฝ่ายนิยมญวน  กับฝ่ายนักองสงนกับนักองอิ่มซึ่งเป็นฝ่ายจงรรักภักดีต่อไทย  ในที่สุดก็ปะทะกันด้วยกำลังใน พ.ศ. 2353  นักองสงวนกับนักองอิ่มต้องหนีออกจากเมืองหลวง (พุทไธเพชร)  ไปอยู่ที่เมืองโพธิสัตว์

พระอุทัยราชานำเขมรไปขึ้นต่อญวน

                        เมื่อกรุงเทพฯ เห็นเขมรแตกแยกเช่นนั้น  จึงส่งกองทัพขั้นไปไกล่เกลี่ย  พระอุทัยราชาจึงพาครอบครัวลี้ภัยไปอยู่ที่ไซ่ง่อน  เท่ากับยอมเป้นเมืองขึ้นของญวน  ฝ่ายญวนเกรงว่าจะถูกครหาจากไทย  จึงออก  อุบายแก้เกี้ยวแจ้งให้กรุงเทพฯ  ส่งทูตไปรัรบพระอุทัยราชากลับ  เมื่อไทยส่งทัพไปรับ  พระอุทัยราชา  ก็ให้กองทัพญวนตามอาอารักขา  และเสด็จไปประทับที่พนมเปญไม่กลับไปที่พุทไธเพชรดังเดิม  เนื่องจากพนมเปญนั้นอยู่ใกล้ญวนสามารถเดินทางทางเรือไปยวนได้สะดวกรวดเร็ว  และญวนก็ไม่ถอนทัพกลับไป คงคุมเชิงอยู่ที่พนมเปญ

ตั้งแต่นั้นมาพระอุทัยราชาก็ไม่เข้ามาเฝ้าที่กรุงเทพฯ  อีกเลย  กรุงเทพฯ จะบังคับบัญชาสิ่งใดไปก็ไม่เชื่อฟัง  แม้จะยังส่งเครื่องราชบรรณาการมากรุงเทพฯ ทุกปี  แต่ก็ส่งเครื่องราชบรรณาการไปให้ญวนทุกปีเช่นเดียวกัน  ญวนได้ทีก็กะเกณฑ์แรงงานชาวเขมรจนได้รับความเดือดร้อนไปทั่ว  เขมรบางพวกทนไม่ได้ก่อกบฏขึ้นก็ถูกญวนฆ่าเสียเป็นอันมาก

เขมรเป็นชนวนสงครามไทยกับญวน ในสมัยรัชกลที่ 3

             ใน พ.ศ. 2372  พระอุทัยราชาทนถูกญวนกดขี่ต่อไปไม่ได้  จึงทำหนังสือติดต่อขอพระราชทานอภัยโทษต่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3  ซี่งก็มิได้ทรงถือโทษ  ถึง พ.ศ. 2376  ขุนนางในไซ่ง่อนก่อกบฎขึ้นและขอให้ไทยยกทัพไปช่วย  พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ทรงเห็นเป็นโอกาสจึงโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)  ซึ่งเคยปราบกบฏเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์มาแล้วยกทัพไปตีไซ่ง่อน  แต่ปะทะกับกองทัพญวนก่อนถึงไซ่ง่อน  นับเป็นการปะทะกันครั้งแรกระหว่างไทยกับญวน

สงครามไทย-ญวน  14 ปี  จบลงด้วยไทยกับญวนปกครองเขมรร่วมกัน

                   สงครามไทย-ญวน  รบสู้ผลัดกันแพ้ชนะ  ตั้งแต่ พ.ศ. 2376  ถึง  พ.ศ. 2390  ต่างฝ่ายต่างเชิดเจ้าเขมรขึ้นเป็นใหญ่  ไทยยกย่องนักองด้วงเป็นกษัตริย์ทางเหนือ  มีราชธานีอยู่ที่พนมเปญ  ญวนยกย่องนักองอิ่มพระเชษฐาของนักองด้วงเป็นกษัตริย์ทางใต้  มีราชธานีอยู่ที่เมืองโจฎก (ใกล้เมืองบันทายมาศซี่งญวนเรียกว่า ฮาเตียน)

ในที่สุด  ฝ่ายญวนซี่งตกอยู่ในฐานะลำบากเพราะกำลังถูกฝรั่งเศสคุกคามจึงส่งคนมาเจรจาหย่าศึก  โดยขอปกคอรงเขมรรร่วมกับไทยเหมื่อนเมื่อครั้งสมเด็จพระอุทัยราชา  ฝ่ายไทยนั้นก็ตกที่นั่งลำบากเพราะต้องมารบในดินแดนห่างไกลเป็นเวลานาน  สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมาก  และทหารก็ระอา  จึงตกลงสงบศึก  แลกเปลี่ยนเชลยกัน ใน พ.ศ. 2390  ร่วมกันปกครองเขมร  นักองด้วง  ซึ่งไทยสนับสนุนได้เป็นพระเจ้ากรุงกัมพูชา  ไทยสถาปนาให้เป็น  สมเด็จพระหริรักษ์รามาธิบดี  ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมาไทยปีละครั้ง  ฝ่ายญวนก็ตั้งให้มียศอย่างญวน  และต้องส่งเครื่องราชบรรณาการให้ญวน  3  ปีต่อครั้ง

พระเจ้ากรุงกัมพูชาส่งพระราชโอรสเข้าถวายตัวในกรุงเทพฯ

                  แม้เขมรจะได้ชื่อว่าเป็นปรแทศราชของไทยและญวน  แต่เขมรก็โอนเอียงมาทางฝ่ายไทยมาก  เพราะสมเด็จพระหริรักษ์ฯ  นั้นเป็นผู้ที่ไทยสนับสนุนมาแต่เดิม  เมื่อได้ขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้ากรุงกัมพูชาจึงส่งนักองราชาวดี  พระราชโอสเข้ามาถวายตัวมาอยู่ในกรุงเทพฯ  และภายหลังได้เป็นพระเจ้ากรุงกัมพูชา  สืบต่อจากพระราชบิดาใน พ.ศ. 2403  ทรงพระนามว่า สมเด็จพระนโรดม  และจงรักภักดีต่อไทยตลอดมา  (จนเมื่อฝรั่งเศสได้ญวนได้ญวนแล้วจึงบังคับเอาเขมรจากไทยโดยอ้างว่าเขมรเคยเป็นเมืองขึ้นของญวนมาก่อน)

ความสัมพันธ์กับญวน

                  เดิมนั้นชนชาติญวนหรือเวียดนามอยุ่ในบริเวณตังเกี๋ย  ตอนเหนือของประเทศเวียดนามปัจจุบัน  และมักจะตกเป้นเมืองขึ้นของจีนเป็นระยะๆ อยู่เสมอ  คราวละหลายร้อยปีก็มี  ราว พ.ศ. 2040  ญวนมีอำนาจกล้าแข็งเข้าครอบอาณาจักรจามปา  และขยายอาณาเขตลงมาทางใต้จนถึงเขมร  พร้อมกับพยายามแผ่อิทธิพลเข้าไปในลาวและเขมร  ซึ่งเป็นประเทศราชของไทย  โดยเฉพาะเขมรนั้นญวนประสบความสำเร็จมากกังกล่าวแล้ว  สำหรับลาวก็ได้ผลอยู่บ้าง  กบฏเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์  พ.ศ. 2390   เกิดขึ้นก็มีสาเหตุส่วนหนี่งจากการสนับสนุนของญวน  ความต้องการเป็นใหญ่เหนือเขมรและลาวนี้มีมาอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา

สาเหตุความขัดแย้งกับไทย

                  ญวนกับไทยไม่มีอาณาเขตติดต่อกัน การเกิดความขัดแย้งถึงขั้นต้องทำสงครามกันในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น  อาจเนื่องจากสาเหตุต่อไปนี้

ญวนต้องการแผ่อิทิพลเข้ามาในเขมร    เดินเขมรมีอาณาเขตกว้างใหญ่ครอบคลุมบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง  ซึ่งเป็นดินแดนที่อุดมสมบูรณ์  ชาวญวนได้แทรกซึมเข้ามาปะปนทำมาหากินอยู่ในบริเวณนี้เป็นเวลานานแล้ว  และค่อยๆ  ขยายอาณาเขตของตนล้ำเข้ามาในเขมร  และต้องการมีอำนาจเหมือเขมรเป็นขั้นสุดท้าย

เขมรต้องการพึ่งญวนให้คานอำนาจกับไทย       ได้กล่าวมาแล้วว่าเขมรได้เสื่อมอำนาจลงและต้องตกเป็นเมืองขึ้นของไทยมาตั้งแต่เริ่มก่อตั้งกรุงศรีอยุธยา  ตลอดเวลาที่ผ่านมาเขมรพายามดิ้นรน  เพื่อหลุดพ้นจากอำนาจของไทย  แต่ก็ถูกกองทัพไทยปราบปรามลงได้อยู่เสมอ  จึงคิดหาหนทางพึ่งญวน  เมื่อญวนแผ่อิทธิพลเข้ามา  และยุยงให้กระด้างกระเดื่องต่อไทย  เจ้านายและขุนนางเขมรบางส่วนจึงยอมรับ

ญวนต้องการแสดงความเป็นชาติที่มีเอกราชอธิปไตย       ใน พ.ศ. 2316  เกิดกบฏ  ไกเซิน  หรือ ไตเซิน  ขึ้นในญวน ทำให้ องเชียงสือ  ซึ่งเป็นพระราชนัดดา (หลาน) ของพระเจ้าแผ่นดินญวนหนีเข้ามาในราชอาณาจักรทางชายทะเลตะวันออก  พระยาชลบุรีจึงพาเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช  รัชกาลที่ 1  ซึ่งก็ทรงชุบเลี้ยงไว้  และส่งกองทัพไปช่วยรบ ใน พ.ศ. 2326  และ  2327  แต่ไม่สำเร็จ   องเชียงสือ  เห็นว่าไทยไม่ได้จึงหลบหนีออกจากกรุงเทพฯ ใน พ.ศ. 2327  นั้นเอง  ไปใช้เกาะกูดเป็นที่ซ่องสุมผู้คน  และขอความช่วยเหลือจากฝรั่งตะวันตก  โดยเฉพาะบาทหลวงชาวฝรั่งเศส  จนสามารถส่งผู้คนแทรกซึมเข้าไปในญวนจนในที่สุดกู้บัลลังก์ได้สำเร็จ  สามารถยึดได้ถึงตังเกี๋ยใน พ.ศ. 2345  องเชีงสือจึงสถาปนาตนเป็นกษัตริย์ญวน  ทรงพระนามว่า ยาลอง หรือ เวียดนามยาลอง  และได้สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ  ส่งทูตนำเครื่องราชบรรณาการมาถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 ถึง  6  ครั้ง ตลอดรัชสมัยของพระองค์

การที่กษัตริย์ญวนเคยส่งเครื่องราชบรรณาการต้นไม้เงินต้นไม้ทองมาถวายกษัตริย์ไทยเสมือนหนี่งเป็นประเทศราชเช่นนี้  อาจทำให้ญวนรู้สึกเสียหน้าอยู่บ้าง  เมื่อสิ้นรัชกาลที่ 1  ญวนจึงหาโอกาสแทรกซึมเข้าไปในเขมรและปลุกปั่นยุยงให้เจ้านายและขุนนางเขมรกระด้างกระเดื่องต่อไทยหนักขึ้น

ไทยต้องการดำรงอำนาจเหนือเขมร  เพื่อรักษาเกียรติภูมิ       ไทยมีอำนาจเหนือเขมรมานานหลายร้อยปีจนอาจถือเป็นประเพณีว่า  เขมรจะต้องเป็นประเทศราชของไทย  เมื่อญวนแผ่อิทธิพลเข้ามาไทยจึงมิอาจนิ่งเฉยอยู่ได้  ประกอบกับไทยไม่พอใจความโลเลไม่แน่นอนของพระอุทัยราชา  กษัตริย์เขมรซึ่งแสดงความไม่จงรรักภักดีต่อไทยอย่างเด่นชัด  เช่น  เมือพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช  เสด็จสวรรคตก็ไม่มาถวายบังคมพระบรมศพ  และยังหันไปอ่อนน้อมต่อญวนถึงขนาดส่งเครื่องราชบรรณาการให้ญวนโดยไม่ส่งให้ไทย  และให้ชาวญวนเข้ามามีอำนาจเป็นขุนนางในกรุงพนมเปญ  เท่ากับเป็นการยกประเทศเขมรให้ญวน  สร้างความไม่พอใจแก่ไทยเป็นอย่างยิ่ง  จึงรอโอกาสที่จะยกทัพไปปราบปรามอยู่

สงครามกับญวน

                  การรบทุกครั้งในสงครามไทย-ญวน เป็นการรบในดินแดนเขมรทั้งสิ้น  จัดเป็นสงครามใหญ่ๆ  3  ครั้ง ประกอบด้วยการรบย่อยๆ หลายครั้ง  กินเวลายือดเยื้อยาวนานถึง  14  ปี  จนในที่สุดเลิกรากันเมื่อญวนตกเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส

สงครามครั้งที่ 1  พ.ศ. 2376  เกิดกบฏที่ไซง่อน  พวกกบฏขอให้ไทยไปช่วย  พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3   เห็นเป็นโอกาสที่จะทำลายอิทธิพลญวนให้หมดสิ้นไปจากเขมร  จึงส่งกองทัพไปช่วย  ขณะยกทัพไปก้ต้องปะทะกับกองทัพญวนในเขมร  และกองทัพเขมรที่นิยมญวน  การรบจึงมีขึ้นในดินแดนเขมรนั้นเอง  ไม่ได้ไปจนถึงเมืองญวน  เริ่มแรกไทยตีได้เมืองโพธิสัตว์  และเมืองพนมเปญแต่ภายหลัง  ถูกตีโต้  ไม่สามารถยึดครองไว้ได้  ต้องถอยทัพกลับ

สงครามครั้งที่ 2  พ.ศ. 2383    ขุนนางเขมรคิดกำจัดญวนออกจากเขมรจึงขอให้ไทยช่วย  พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ 3  โปรดเกล้าฯ ให้เกณฑ์ไพร่พลจากหัวเมืองอีสานยกไปช่วยเข้าโจมตีญวนที่เมืองโพธิสัตว์จนญวนยอมแพ้  แล้วรุกเข้าไปถึงเมืองอุคงลือไทย  ญวนจึงต้องถอยทัพออกจากพนมเปญ  จากนั้นก็มีการรบพุ่งประปรายทั่วไป  เป็นสงครามยืดเยื้อประมาณ   2  ปี  ในที่สุดต่างฝ่ายต่างก็ยึดพื้นที่คุมเชิงกันไว้

สงครามครั้งที่ 3  พ.ศ. 2388     ญวนยกทัพใหญ่มาตีพนมเปญไปได้  ทำให้ไทยต้องถอยไปตั้งมั่นที่เมืองอุคงลือไทย  ญวนตามไปตี  เกิดการสู้รบดุเดือดเสียเลือกเนื้อกันมาก  ในที่สุดญวนต้องพ่ายหนี  ไทยยึดได้อาวุธและกระสุนดินดำเป็นอันมาก  ยวนจึงรอเจรจายุติสงคราม  แต่เจ้าพระยาบดินทรเดชาแม่ทัพไทยไม่ยอม  เพราะเห็นว่ากำลังกองทัพไทยกล้าแข็งพอที่จะขับไล่ญวนให้ออกไปจากดินแดนเขมรได้  แต่การรบก็ยังคงยืดเยื้อต่อไป  จนในที่สุดตกลงสงบศึกโดยให้ทั้งไทยและญวนปกคอรงเขมรร่วมกัน  ดังกล่าวแล้ว

3. ความสัมพันธ์กับประเทศตะวันตก

                       ประเทศตะวันตกที่เข้ามามีบทบาทในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้อน (รัชกาลที่ 1-2-3)  ได้แก่  ปรเทศโปรตุเกส  อังกฤษ  และสหรัฐอเมริกา  โดยเฉพาะอังกฤษนั้นพยายามอย่างยิ่งที่จะเข้ามาเจรจาการค้าขายกับไทยให้เป็นการค้าแบบเสรี  โดยขอให้ไทยยกเลิกระบบที่ผ่านพระคลังสินค้า  แต่ไม่ประสบความสำเร็จเนื่องจากคนไทยยังไม่เห็นความจำเป็นที่จะติดต่อค้าขายกับชาติตะวันตกนัก  ความสัมพันธ์กับประเทศตะวันตก  ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (รัชกาลที่ 1-2-3)  จึงเป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น

โปรตุเกส

                       ฝรั่งชาติแรกที่เข้ามาติดต่อกับไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นเป็นชาวโปตุเกส  ชือ  อันโตนิโอ  เดอ วีเซนท์ (Autonio de Veesent)   คนไทยเรียกว่า  องคนวีเสน  เป็นผู้อัญเชิญพระราชสาสน์จากกรุงลิสบอน  มายังประเทศไทย  พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช  โปรดเกล้าฯ  ให้การต้อนรับอย่างยิ่งใหญ่  และทรงให้  องตนวีเสน เข้าเฝ้าด้วย  และทางไทยก็ได้มีพระราชสาสน์ตอบ  มอบให้องคนวีเสนเป็นผู้อัญเชิญกลับไป

ต่อมาใน พ.ศ. 2361    พระยาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย  รัชกาลที่ 2  ได้ส่งเรือชื่อ มาลาพระนคร  ออกไปค้าขายกับโปรตุเกสที่เมืองมาเก๊า  ในการติดต่อครั้งนี้ไทยได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดี  ขากลับข้าหลวงโปรตุเกสที่มาเก๊าได้ส่ง  คาร์ลอส  มานูเอล  ซิลเวียรา  (Carlos Manuel Siveiera)  เป็นทูตอัญเชิญพระราชสาสน์เข้ามาขอเจริญสัมพนธไมตรีกับไทย  พร้อมทั้งส่งเครื่องราชบรรณาการมาให้มากมาย  ซี่งไทยก็ให้การต้อนรับและอำนวยความสะดวกเป็นอย่างดี  ในขณะนั้นไทยมีความประสงค์จะซื้ออาวุธปืน ซี่งโปรตุเกสก็ยินยอมจัดหาซื้อปืนคาบศิลาให้ไทยถึง  400  กระบอก

ถึง พ.ศ. 2363   กษัตริย์โปรตุเกสมีพระราชประสงค์จะขอตั้งสถานกงสุลขึ้นในประเทศไทย  และขอให้ คาร์ลอส มานูเอล  ซิลเวียรา  เป็นกงสุลโปรตุเกสประจำประเทศไทย  ซี่งไทยก็ยอมรับแต่โดยดี  ซึ่งนับว่าเป็นการตั้งสถานกงสุลต่างประเทศขึ้นเป็นครั้งแรกในสมัยรัตนโกสินทร์  ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย  โปรดเกล้าฯ ต่างตั้งให้  คาร์ลอส  มานูเอล  ซิลเวียรา  รับราชการเป็นขุนนาง พระราชทานตำแหน่งให้เป็น หลวงอภัยพานิช

อังกฤษ

                       ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1  พระยาไทรบุรี คือ อับดุลละ โมกุรัมซะ  ตกลงเซ็นสัญญาให้อังกฤษเช่า  เกาะหมาก (ปีนัง)  และ สมารังไพร ซึ่งเป็นดินแดนที่อยู่ตรงข้ามเกาะหมากปีละ  1,000  เหรียญ   ซึ่งดินแดนเหล่านี้อยู่ในความดูแลของไทย  เหตุที่พระยาไทรบุรีให้อังกฤษเช่าดินแดนทั้งสองนี้  ก็เพื่อหวังพึ่งอังกฤษให้พ้นจากอิทธิพลของไทย  แต่อังกฤษก้พยายามผูกไมตรีกับไทย  โดยให้ ฟรานซิส  ไลท์ (Francis Light)  หรือกัปตันไลท์   นำดาบประดับพลอยกับปืนด้ามเงินมาทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1   จึงทรงพระราชทานบรรดาศักดิ์ว่า  พระยาราชกปิตัน  ซึ่งเป็นชาวยุโรปคนแรก  ในสมัยรัตนโกสินทร์ที่เข้ารับราชการเป็นขุนนาง  และได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์  หลังจากนั้นอังฤษได้ส่งทูตเข้ามาติดต่อเป็นทางการอีก รวม  3  ครั้ง คือ

ครั้งที่ 1  (ในสมัยรัชกาลที่ 2)    ผู้สำเร็จราชการอังกฤษที่อินเดีย คือ  มาร์ควิส  เฮสติงส์  (Marquis  Hestiongs)  ได้จัดส่งทูตชื่อ จอห์น  คอรว์ฟอร์ด  (John  Crawford)  ซึ่งคนไทยเรียกว่า  การะฝัด  นำเครื่องราชบรรณาการเข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีกับไทย  ใน พ.ศ. 2365  ขอเจรจาทำสนธิสัญญาทางการค้ากับไทย  โดยขอให้ไทยยกเลิกการผูกขาดและลดหย่อนภาษีบางอย่าง  และให้ไทยยอมรับอธิปไตยของไทรบุรี  โดยเฉพาะการที่อังกฤษเช่าเกาะหมาก (ปีนัง)  และสมารังไพร  กับขอทำแผนที่ และศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับประเทศไทย เช่น เรื่องพันธุ์พืช   พันธุ์สัตว์  และสภาพประชากรของไทย  เพื่อทำรายงานเสนอรัฐบาลอังกฤษ ปรากกวาการเจรจาคราวนี้ไม่ประสบความสำเร็จ  เนื่องจากเหตุผลต่อไปนี้

(1)  ทั้งสองฝ่ายไม่เข้าใจภาษากันดีพอ  ต้องใช้ล่ามแปลกันหลายต่อ  ทำให้ความปลายคลาดเคลื่อนไป  ล่ามของทังสองฝ่ายเป็นพวกคนชั้นต่ำพวกกะลาสีเรือ  ทำให้ขุนนางออกรับแขกเมืองไม่นิยมสวมเสื้อ

(2)  ครอว์ฟอร์ดไม่พอใจที่ไทยไม่ยอมอ่อนน้อมต่อังกฤษเหมือนพวกชวาและมลายุ  ส่วนไทยก็ไม่พอใจที่อังกฤษแสดงท่าทางเย่อหยิ่งข่มขู่ดุหมิ่นข่มดุหมิ่นไทย  ไม่เหมือนกับพวกจีนที่ปฏิบัติตนอ่อนน้อมยินยอม  ทำตามระเบียบต่างๆ อย่างดี

(3) ไทยไม่ยอมตกลงปัญหาดินแดนไทรบุรีที่อังกฤษขอร้อง

(4) ครอว์ฟอร์ดทำการสำรวจระดับน้ำตามปากอ่าวไทยเพื่อทำแผนที่  ทำให้ไทยไม่พอใจ  หลังจากนั้นครอว์ฟอร์ดได้ส่งผู้สำเร็จราชการอังกฤษประจำสิงคโปร์เข้ามาเจริญสัมพนธไมตรีต่อไทย  ไทยจึงเริ่มมีการค้าขายกับลอังกฤษมากขึ้น  ถึงกับมีพ่อค้าอังกฤษเข้ามาตั้งร้านค้าในกรุงเทพฯ ชื่อ โรเบิร์ต   ฮันเตอร์ (Robert Hunter)  คนไทยนิยมเรียกว่า นายหันแตร  ซึ่งนับว่าเป็นพ่อค้าชาวตะวันตกคนแรกที่เข้ามาตั้งร้านค้าขึ้นภายในประเทศไทย  ต่อมานายโรเบิร์ต ฮันเตอร์ ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น หลวงอาวุธวิเศษ

ครั้งที่ 2  (ตอนต้นรัชกาลที่ 3)     ขณะที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3  เสด็จขึ้นครองราชย์ใหม่ๆ  นั้นอังกฤษกำลังมีข้อพิพาททำสงครามกับพม่า ลอร์ด แอมเฮิร์สต์ (Lord Amherst)   ผู้สำเร็จราชการอังกฤษประจำอินเดียได้ส่งร้อยเอกเฮนรี่  เบอร์นี่ (Henry Berney)  ซึ่งคนไทยเรียกว่า บารนี  เป็นทูตเข้ามาเจรจาขอทำสนธิสัญญากับไทย  จุดมุ่งหมายของอังกฤษในการส่งทูตมาทำสนธิสัญญากับไทยในครั้งนี้ คือ

–  เป็นการเจริญพระราชไมตรีและถวายความยินดีในวโรกาสที่ขึ้นครองราชย์

–  ขอให้ไทยส่งกองทัพไปช่วยอังกฤษรบพม่า

– ต้องการตกลงเรื่องเมืองไทรบุรีและหัวเมืองมลายู

– ชักชวนให้ไทยยอมทำสนธิสัญญาทางการค้ากับอังกฤษ

การเจรจาครั้งนี้  สามารถตกลงกันได้  จึงมีการลงนามกันในวันที่  20  มิถุนายน 2369

                          สนธิสัญญาเบอร์นี่

สนธิสัญญาฉบับนี้นับเป็นสนธิสัญญาโดยสมบูรณ์ฉบับแรกในสมัยรัตนโกสินทร์  เรียกกันโดยทั่วไปว่า สนธิสัญญาเบอร์นี่  มีสาระสำคัญดังนี้ คือ

1.  ไทยกับอังกฤษจะมีไมตรีอันดีต่อกัน  ไม่คิดร้ายหรือรุกรานดินแดนซี่งกันและกัน

2. เมื่อเกิดคดีความขึ้นภายในอาณาเขตประเทศไทย  ก็ให้ไทยตัดสินตามกฎหมายและขนบธรรมเนียมและประเพณีของไทย

3  ทั้งสองฝ่ายจะอำนวยความสะดวกในด้านการค้าซึ่งกันและกัน  และอนุญาตให้ฝ่ายตรงข้ามเช่าที่ดิน  เพื่อตั้งโรงสินค้า  ร้านค้า หรือบ้านเรือนได้

4   อังกฤษยอมรับว่าดินแดนไทรบุรี  กลันตัน  ตรังกานู  เประ  เป็นของไทย

และมีสนธิสัญญาต่อท้าย  เป็นสนธิสัญญาทางการค้า  มีสาระสำคัญดังนี้  คือ

1  ห้ามนำฝิ่นเข้ามาขายในประเทศไทย  และห้ามนำข้าวสาร  ข้าวเปลือกออกนอกประเทศไทย

2  อาวุธและกระสุนดินดำที่อังกฤษนำมา  ต้องขายให้แก่รัฐบาลไทยแต่ผู้เดียว  ถ้ารัฐบาลไม่ต้องการต้องนำออกไป

3  เรือสินค้าที่เข้ามาต้องเสียภาษีเบิกร่องหรือภาษีปากเรือ

4  อนุญาตให้พ่อค้าอังกฤษขายสินค้าทั่วราชอาณาจักร

5  ถ้าพ่อค้าหรือคนในบังคับอังกฤษ  พูดจาดุหมิ่นหรือไม่เคารพขุนนางไทย  อาจถูกขับไล่ออกจากประเทศไทยได้ทันที

ผลของสนธิสัญยาฉบับนี้  ทำให้ไทยกับอังกฤษมีความผูกมัดซึ่งและกัน  มีความเท่าเทียมกัน  ไม่มีใครได้เปรียบหรือเสียเปรียบกัน  แต่ไม่เป็นที่พอใจของอังกฤษนัก  เพราะอังกฤษต้องการค้าขายแบบเสรี

ครั้งที่ 3  (ตอนปลายรัชกาลที่ 3)   ลอร์ด  ปาลเมอร์สตัน  (Lord Palmerston)  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของอังกฤษ  ส่ง เซอร์ เจมส์ บรูค (James Brooke)  เป็นทูตมาขอแก้สนธิสัญญากับไทยใน พ.ศ. 2393  โดยขอลดค่าภาษีปากเรือ  ขอตั้งสถานกงสุลในไทย  ขอนำฝิ่นเข้ามาขาย  และขอนำข้าวออกไปขายนอกประเทศ  แต่ขณะนั้นรัชกาลที่ 3  กำลังประชวร  จึงไม่มีโอกาสได้เข้าเฝ้า  สนธิสัญญาเบอร์นีจึงยังมีผลใช้บังคับต่อไปโดยไม่มีการแก้ไข

สหรัฐอมเริกา

                    ในรัชกาลที่ 3  พ่อค้าอเมริกัน  ชื่อ กัปตันเฮล  (Captain Hale)  เดินทางเข้ามาค้าขายที่กรุงเทพฯ ใน พ.ศ. 2364   นับเป็นชาวอเมริกันคนแรกที่เดินทางเข้ามายังประเทศไทย  และได้นำปืนคาบศิลามาถวายจำนวน  500  กระบอก  จึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น  หลวงภัดีราชกปิตัน  และได้พระราชทานสิ่งของให้คุ้มค่ากับราคาปืนทั้งหมด  ทั้งยังโปรดเกล้าฯ ให้งดเว้นการเก็บภาษีจังกอบอีกด้วย

หลังจากนั้นประธานาธิบดี แอนดรูว์  แจคสัน (Andrew Jackson)  ได้ส่งนายเอ็ดมั้นด์ โรเบิร์ต (Edmund Roberts)  คนไทยเรียกว่า   เอมินราบัด   เป็นหัวหน้าคณะทูต  เดินทางเข้ามาขอทำสัญญาการค้ากับไทย  ซึ่งมีใจความทำนองเดีวกับที่ไทยทำกับอังกฤษ  เมื่อวันที่  26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2375

ปี  พ.ศ. 2393  รัฐบาลสหรัฐอเมริกาเห็นว่าสัญญาที่ทำกันไว้มิได้เกิดประโยชน์จึงได้ส่งนายโจเซฟ บัลเลสเดียร์ (Joseph Balestier)  เข้ามาทบทวนสนธิสัญญาเสียใหม่  แต่การเจรจาไม่ประสบผลสำเร็จ

2. การดำเนินการด้านการปกครอง

                    ระเบียบบริหารราชการแผ่นดินที่พระบาทสมเด้จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช  ทรงใช้ในการปกครองประเทศนั้นทรงเอาแบบอย่างซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแห่งกรุงศรีอยุธยา  กล่าวคือ พระมหากษัตริย์ทรงมีอำนาจสูงสุดและเด็ดขาดในการปกครองประเทศ  มีอัครมหาเสนาบดี  2  ตำแหน่ง  ที่เรียกว่า จตุสดมภ์  ขึ้นอยู่ในบังคับบัญชาโดยตรงที่แตกต่างออกไป  คือ  ทรงแบ่งการปกครองพระราชอาณาเขตออกเป็น  3  ส่วนได้แก่  การปกครองส่วนกลาง  การปกครองหัวเมือง  และการปกครองประเทศราช  โดยให้มีการบังคับบัญชา ดังนี้

การปกครองส่วนกลาง

                                            สมุหพระกลาโหม       มียศและราชทินนามว่า  เจ้าพระยามหาเสนา    ใช้ตราคชสีห์เป็นตราประจำตำแหน่ง  มีอำนาจบังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายใต้ทั้งด้านการทหารและพลเรือน

                   สมุหนายก     ราชทินนามไม่ทรงกำหนดแน่นอน  ที่ใช้อยู่ก็มี  เจ้าพระยาจักรี  บดินทร์เดชานุชิต  รัตนาพิพิธ ฯลฯ  ใช้ตราราชสีห์เป็นตราประจำตำแหน่ง  มีอำนาจบังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายเหนือทั้งด้านการทหารและพลเรือน

จตุสดมภ์    มีดังนี้

กรมเวียง  หรือ  กรมเมือง   เสนาบดี  คือ  เจ้าพระยายมมราช  มีตราพระยมทรงสิงห์เป็นตราประจำตำแหน่ง  มีหน้าที่ดูแลกิจการทั่วไปในพระนคร

กรมวัง    เสนาบดี คือ  พระยาธรรมา  ใช้ตราเทพยดาทรงพระนนทิการ (พระโค)  เป้นตราประจำตำแหน่ง  มีหน้าที่ดูแลพระราชวังและตั้งศาลชำระความ

กรมคลัง  หรือ   กรมท่า    ใช้ตราบัวแก้วเป็นตราประจำตำแหน่งมีเสนาบดีดำรงตำแหน่งตามหน้าที่รับผิดชอบ คือ

– ฝ่ายการเงิน  ตำแหน่งเสนาบดีคือ  พระยาราชภักดี

– ฝ่ายการต่างประเทศ  ตำแหน่งเสนาบดีคือ  พระยาศรีพิพัฒน์

– ฝ่ายตรวจบัญชีและดูแลหัวเมืองชายทะเลตะวันออก  ตำแหน่งเสนาบดีคือ พระยาพระคลัง

กรมนา    เสนาบดีมีตำแหน่าง  พระยาพลเทพ  ใช้ตราพระพิรุณทรงนาค  เป็นตราประจำตำแหน่งมีหน้าที่ดูแลที่นาหลวง  เก็บภาษีข้าว  และพิจารณาคดีความเกี่ยวกับที่นา

กรมปกครองหัวเมือง

การปกครองหัวเมือง  คือการบริหารราชการแผ่นดินในหัวเมืองต่างๆ  ซี่งแบ่งออกเป็นหัวชั้นในกับหัวเมืองชั้นนอก

หัวเมืองชั้นใน   (เดิมเรียกว่าเมืองลูกหลวงหรือเมืองหน้าด่าน)   ได้แก่  หัวเมืองที่กระจายรายล้อมอยุ่รอบเมืองหลวง  ถือเป็นเมืองบริวารของเมืองหลวง  ไม่มีศักดิ์เป็นเมืองอย่างแท้จริง  เพราะไม่มี เจ้าเมือง  มีเพียงผู้รั้ง  ซึ่งไม่มีอำนาจอย่างเจ้าเมือง  จะต้องฟังคำสั่งจากเมืองหลวง

หัวเมืองชั้นนอก    ได้แก่  เมืองทั้งปวง  (นอกจากเมืองหลวง  เมืองชั้นใน  และเมืองประเทศราช)  เมืองเหล่านี้จัดแบ่งระดับเป็นเมืองชั้น  เอก  โท  ตรี  ตามขนาด  จำนวนพลเมืองและความสำคัญ  แต่ละเมืองยังอาจมีเมืองเล็กๆ (เมืองจัตวา)  อยู่ใต้สังกัดได้อีกด้วย  เจ้าเมืองของเมืองเหล่านี้มีอำนาจสิทธิ์ขาดในเมืองของตน  แต่ต้องปฏิบัติตามพระบรมราชโองการและนโยบายของรัฐบาลที่เมืองหลวง  ตามเขตการรับผิดชอบ คือ

– หัวเมืองเหนือและอีสาน  อยู่ในความรับผิดชอบของ  สมุหนายก

– หัวเมืองใต้ (ตั้งแต่เมืองเพชรบุรีลงไป)  อยู่ในความารับผิดชอบของ สมุหพระกลาโหม

– หัวเมืองชายทะลตะวันออก (นนทบุรี  สมุทรปราการ  สมุทรสงคราม  สาครบุรี  ชลบุรี  บางละมุง  ระยอง  จันทบุรี  และตราด)  อยุ่ในความรับผิดชอบของ เสนาบดีกรมพระคลัง  คือ พระยาพระคลัง)

การแต่งตั้งเจ้าเมือง        เมืองเอก  พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งเอง  (พิษณุโลก  นครราชสีมา  นครศรีธรรมราช  ถลาง  และสงขลา)

เมืองโท   ตรี   และจัตวา  เสนาบดีผู้รับผิดชอบเป็นผู้แต่งตั้ง

การปกครองประเทศราช

                                    ประเทศราชของไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น  ได้แด่

1)  ล้านนาไทย  (เชียงใหม่  ลำพูน  ลำปาง  เชียงแสน)

2)  ลาว  (หลวงพระบาง  เวียงจันทน์  จำปาศักดิ์)

3)  เขมร

4)  หัวเมืองมลายู  (ปัตตานี  ไทรบุรี  กลันตัน  ตรังกานู)

ประเทศรชเหล่านี้มีเจ้าเป้นผู้ปกครองกันเอง  ความผูกพันที่มีต่อกรุงเทพฯ คือ  การส่งเครื่องราชบรรณาการต้นไม้เงินต้นไม้ทอง  ตารมกำหนดเวลา  และช่วยราชการทหารตามแต่กรุงเทพฯ  จะมีใบบอกแจ้งไป  ภารกิจของกรุงเทพฯ  คือ  ปกป้องดูแลมิให้ข้าศึกศัตรูโจมตีประเทศราชเหล่านี้

              การชำระแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย

                                พระราชกรณียกิจที่เกี่ยวกับการปกครองที่สำคัญอีกประการหนึ่ง  ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช  ได้โปรดให้ดำเนินการนอกเหนือไปจากการปรับปรุงแก้ไขระเบียบการบริหารราชการแผ่นดินได้แก่  การรวบรวมและชำระกฎหมายเก่า  ที่ใช้กันมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา  เมื่อได้ชำระเรียบร้อยแล้วโปรดเกล้าฯ ให้อาลักษณ์คัดลอกไว้เป็น  3  ฉบับ  ทุกฉบับประทับตราคชสีห์  ตราราชสีห์  และตราบัวแก้ว  ซึ่งเป็นตราประจำตำแหน่งสมุหพระกลาโหม  สมุหนายก  และพระยาพระคลัง  เสนาบดีทั้งสามผู้มีอำนาจหน้าที่ในการปกครอง  ดูแลหัวเมืองทั่วพระราชอาณาจักร  กฎหมายฉบับนี้จึงมีชื่อว่า  กฎหมายตราสามดวง  หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ประมวลกฎหมายรัชกาลที่ 1  ได้ใช้เป็นหลักในการปกครองประเทศมาจนถึงรัชกาลที่ 5  ก่อนที่จะมีการปฏิรูป  กฎหมายและการศาลตามแบบสากล

3. การฟื้นฟูเศรษฐกิจ

เมื่อสถาปนากรุงรัตนโกสิทาร์ขึ้นใหม่ๆ นั้น  การค้าขายกับต่างประเทศยังมีน้อย   เนื่องจากมีปัญหาภายในและยังต้องทำสงครามรบพุ่งกับพม่า  ครั้นภายหลังที่กองทัพไทยเอาชนะพม่าได้อย่างเด็ดขาดในสงครามท่าดินแดนใน พ.ศ. 2329  แล้ว  ขวัญและกำลังใจของประชาราษฎร์ก็อยุ่ในระดับสูงยิ่ง  บรรดาหัวเมืองมลายู เช่น  ไทรบุรี  กลันตัน  ตรังกานู  ซึ่งได้กิตติศัพท์แสนยานุภาพของกองทัพไทย  ต่างพากันสวามิภักดิ์ยอมเป็นข้าขอบขัณฑสีมา  จึงเป็นที่เชื่อถือของประเทศใกล้เคียงและเข้ามาติดต่อค้าขายด้วย  ทำให้การเศรษฐกิจของกรุงรัตนโกสินทร์แจ่มใสขึ้น  นับแต่ปี พ.ศ. 2330  เป็นต้นมา  การค้าขายทางสำเภากับจีนต  อินเดีย  ชวา  มลายู  และญวน  เป็นไปอย่างกว้างขวาง  และต่อมาก็มีชาติตะวันตกต่างๆ  เข้ามาติดต่อค้าขาย

สิ่งที่แสดงให้เห็นว่า  เศรษฐกิจการค้าเริ่มเจริยรุ่งเรืองขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นก็คือได้มีการปรับปรุงจัดทำเงินตราขึ้นใหม่ให้มีจำนวนเพีงพอที่จะใช้เป็นสื่อในการแลกเปลี่ยนค้าขาย  เงินตราที่ใช้ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นเป็นเงินพดด้วง  เช่นเดียวกับที่เคยใช้กันมาตั้งแต่สมัยอยุธยา (โลหะเงิน ทำเป็นแท่งกลมม้วนเข้าหากัน มีลักษณะเหมือนกับตัวด้วง)

รายได้ของประเทศ

                      รายได้ของประเทศในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น  มีแหล่งที่มา  3  ทางด้วยกัน ได้แก่

1) รายได้จากการค้าซึ่งรัฐบาลส่งสินค้าไปขายต่างประเทศ     ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น  การค้ากับต่างประเทศส่วนใหญ่ทำกับจีน  รองลงไปได้แก่ญี่ปุ่น  ชวา  สิงคโปร์  และอินเดีย  และเป็นการค้าโดยใช้เรือสำเภาทั้งสิ้น  มีทั้งสำเภาหลวงและสำเภาเอกชนอยู่ในความกำกับดูแลของกรมท่า (พระคลังสินค้า)  ทั้งหมด  สำเภาหลวงที่ปรากฎชื่อในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 มี 2 ลำ ได้แก่  เรือหูสง  และ  เรืองทรงพระราชสาส์น  เป็นเรือสำเภาต่อในเมืองไทย  ใช้ไม้อย่างดี  มีลักษณะเช่นเดียวกับเรือสำเภาจีน  และว่าจ้างชาวจีนเป็นลูกเรือ

ตกถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย  รัชกาลที่ 2  ปรากกมีเรือสำเภาทั้งไทยและจึนติดต่อค้าขายกันถึง  140  ลำ  สำเภาหลวงที่สำคัญ  คือ  เรือมาลาพระนคร  เรือเหราข้ามสมุทร และ เรืออรสุมพล  เป็นต้น  สินค้ารออกที่สำคัญในเวลานั้น ได้แก่ ดีบุก  งาช้าง  ไม้  น้ำตาล  พริกไทย  รังนก  กระดูกสัตว์  หนังสัตว์  กระวาน  และครั่ง  ส่วนสินค้าขาเข้าที่สำคัญ  ได้แก่  เครื่องถ้วยชามสังคโลก  ชา  ไหม  เงิน  ปืน  ดินปืน  กระดาษ  และเครื่องแก้ว  เป็นต้น   ผู้บังคับบัญชากรมท่า (พระคลังสินค้า)  ที่มีพระปรีชาสามารถมากในเวลานั้น  คือ  กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์  ซี่งทรงสามารถต่อเรือสำเภาได้เอง  และค้าขายได้กำไรเข้าท้องพระคลังเป็นอันมาก

2) รายได้จากภาษีอากร  ทั้งที่เก็บ  จากราษฎรไทยและที่เก็บจากชาวต่างประเทศที่เข้ามาค้าขาย      ภาษีอากรแยกออกได้เป็น  2  ส่วน  ได้แก่  ส่วนที่เก็บภายในประเทศ   คือ  เก็บจากราษฎรไทยทั่วไป  และส่วนที่ได้จากภายนอกประเทศ

ภาษีอากรที่ได้จากภายในประเทศ    มี  4  ชนิด  คือ

จังกอบ   คือ  การเรียกเก็บสินค้าของราษฎร  โดยชักส่วนจากสินค้าที่ผ่านด่านทั้งทางบกและทางน้ำในอัตรา  10  หยิบ  1   (หรือ 1 ส่วนต่อ  10 ส่วน)

อากร   คือ  เงินหรือสิ่งของที่รัฐบาลเรียกเก็บจากผลประโยชน์ของราษฎรที่ได้จากการประกอบอาชีพนอกจากอาชีพค้าขาย  คือ  การทำนา  เรียกว่า  อากรค่านา  การทำสวน เรียกว่า อากรพลากร หรือ อากรสมพัตสร  การจับสัตว์น้ำ เรียกว่า  อากรค่าน้ำ  การเก็บไข่เต่า  รังนก  เรียกว่า อากรค่ารักษาเกาะ  นอกจากนี้ยังวมีการเก็บอากรบ่อนเบี้ย  อากรสุรา  อากรตลาด  อากรเก็บของป่า  อากรขนอน ฯลฯ

ส่วย    คือ  เงินหรือสิ่งของที่ไพร่ส่วนนำมาให้แก่ทางราชการทดแทนการเข้าเดือน  ส่วนเหล่านี้ได้มาจากผลิตผลตามธรรมชาติที่หาได้ภายในท้องถิ่น  เช่น  ดีบุก  พริกไทย  มูลค้างคาว  เป็นต้น

๏  ฤชา    คือ  ค่าธรรมเนียมที่ทางราชการเรียกเก็บเฉพาะรายเป็นค่าบริการที่หน่วยราชการของรรัฐจัดให้ เช่น การออกโฉนดที่ดิน  เป็นต้น

ภาษีอากรที่ได้จากภายนอกประเทศ

                                         ภาษีเบิกร่องหรือภาษีปากเรือ   คือ  ภาษีที่เก็บจากเรือสินต้าต่างประเทศ  โดยคิดจากขนาดคามกว้างของปากเรือหรือยานพาหนะที่บรรทุกสินค้าเข้ามา  สมัยรัชกาลที่ 1  คิดวาละ  12  บาท   ต่อมาเพิ่มเป็นวาละ  20  บาท  สมัยรัชกาลที่  2  คิดเป็นวาละ  80  บาท   ในสมัยรัชกาลที่  3  ถ้าเป็นเรือสินค้าที่ไม่ได้บรรทุกสินค้าเข้ามาคริดวาละ  1,500  บาท  ถ้าบรรทุกสินค้าคิดวาละ  1,700  บาท

ภาษีสินค้าออก     รัฐบาลไทยเรีกเก็บตามประแภทของสินค้า  เช่น  ข้าวสารหาบละ  1  สลึง  น้ำตาลหาบละ  2  สลึง  พอถึงสมัยรัชกาลที่ 3  รัฐบาลเรียกเก็บภาษีขาออกต่างๆ  เพิ่มมากขึ้น  ทำให้รัฐบาลมีรายได้เพิ่มขึ้น เช่น  ภาษีพริกกไทย  ภาษีเกลือ  ภาษีไม้แดง  ภาษีน้ำมันมะพร้าว  ภาษีฝ้าย  ภาษีปอ  ภาษีน้ำตราทราย  ภาษีน้ำตาลอ้อย เป็นต้น

3) รายได้จากสินค้าผูกขาดและสินค้าต้องห้าม       สินค้าผูกขาด  คือ สินค้าที่รัฐบาลผูกขาดเป็นผู้ซื้อขายแต่ผู้เดียว  ห้ามมิให้ราษฎรผู้ใดซื้อหรือขายสินค้านั้นๆ  เพื่อความปลอดภัยและความมั่นคงของประเทศ เช่น  อาวุธปืน  กระสุนปืน  และดินระเบิด เป็นต้น   สินค้าเหล่านี้ถ้านำเข้ามาจากต่างประเทศต้องขายให้รัฐบาลไทยเท่านั้น  และเมื่อจะซื้อก็ซิ้อจากรัฐบาลไทยได้แห่งเดียว       สินค้าต้องห้าม  คือ  สินค้าที่หายาก  มีราคาแพง  เป็นที่ต้องการของต่างประเทศ  เช่น  งาช้าง  รังนก  ฝาง  กฤษณา   เป็นต้น   สินค้าต้องห้ามเหล่านี้แม้ชาวต่างประเทศจะมีสิทธิ์ซื้อได้  แต่ก็ต้องซื้อผ่านรัฐบาลไทย คือ  ราษฎรต้องนำมาขายให้รัฐบาลก่อน  แล้วรัฐบาลจึงนำไปขายให้พ่อค้าต่างประเทศอีกต่อหนึ่ง

ผู้มี่หน้าที่ดูแลรับผิดชอบเกี่ยวกับสินค้าผูกขาด  และสินค้าต้องห้าม  คือ  กรมพระคลังสินค้า  (ซึ่งต่อมาเรียกว่า กรมท่า)  ซึ่งมีหน้าที่ติดต่อกับต่างประเทศ  เก็บภาษีเข้าและภาษีออก  ตรวจตราเรือสินค้าต่างประเทศ  และเลือกซื้อสินค้าตามที่ราชการต้องการ  โดยจะส่งเจ้าหน้าที่ลงไปตรวจเรือสินค้าก่อน  เรียกว่า การเหยียบหัวตะเภา

สินค้าผุกขาดและสินค้าต้องห้ามจึงทำกำไรให้แก่รัฐบาลไทยมาก  ทำให้ต่างประเทศไม่พอใจ  โดยเฉพาะชาติตะวันตก  เช่น  อังกฤษ  ภายหลังจึงพยายามส่งฑูตเข้ามาเจรจาทำสัญญาการค้ากับไทย

4. การฟื้นฟูและพัฒนาด้านสังคมวัฒนธรรม

โครงสร้างของสังคมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นยังมีลักษณะเหมือนกับสังคมอยุธยา  คือ  มีการแบ่งชนชั้น  ถึงแม้จะไม่มีการแบ่งวรรณะอย่างอินเดีย  แต่ฐานะความเป็นอยู่ของผู้คนก็แตกต่างกัน  เช่น  ไพร่ (สามัญชน)  จะมีโอกาสเลื่อนฐานะของตนจนกระทังเป็นขุนนางได้จะต้องเป็นผู้มีการศึกษา  หรือมีความสามารถพิเศษ  หรือมีความดีความชอบ  จนเจ้านายยอมรับเท่านั้น

สภาพสังคม      สังคมไทยแบ่งประชาชน  เป็น  4  ชนชั้น  เช่นเดียวกับสมัยอยุธยา  ได้แก่

เจ้านาย  ได้แก่ พระมหากษัตริยืและพระบรมวงศานุวงศ์

ขุนนางและข้าราชการต่างๆ  พวกนี้มีความเป็นอยู่ดี  ฐานะร่ำรวย  มิสิทธิพิเศษหลายอย่าง

ไพร่   เป็นชนส่วนใหญ่ของประเทศ  ซึ่งประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก

ทาส   เป็นผู้ที่ไม่มีอิสระในตัวเอง  แบ่งเป็นประเภทต่างๆ คือ  ทาสเชลย  ทางในเรือนเบี้ย   ทาสสินไถ่   ทาสได้มาจากบิดามารดา  ทางที่เลี้ยงไว้เมื่อเกิดทุพภิกขภัย  ทาสที่ช่วยมาจากทัณฑโทษ  และทาสท่านให้  ทาสคนใดที่ทำความดีความชอบต่อบ้านเมือง  ก็สามารถเลื่อนฐานะตนเองสูงขึ้นเป็นขุนนางได้  ส่วนขุนนางถ้าทำความผิดร้ายแรงก็อาจถูกลดฐานะลงเป็นทาสได้เช่นนั้น

แม้สังคมไทยจะมีการแบ่งเป็นชนชั้นต่างๆ ดังกล่าวแล้ว  ก็ไม่เป็นอุปสรรคในการอยู่ร่วมกัน  เพราะสังคมไทยมีความแมตตากรุณา  เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่เป็นพี้นฐาน  ทำให้การฟื้นฟูและพัฒนาสังคมในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น  เป็นไปได้อ่างราบรื่น

การฟื้นฟูและพัฒนาสังคมในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น  มีหัวข้อควรศึกษา ดังนี้

การทำนุบำรุงพระศาสนา

พระบาทสมเด้จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช  รัชกาลที่ 1  ได้ทรงประกาศเมื่อสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ว่า  ……..ตั้งใจจะอุปถัมภก  ยอยกพระพุทธศาสนา………    ซึ่งการก็เป็นดังพระราชปฌิธาน  พระพุทธศาสนาในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น  ได้รับการฟิ้นฟูและทำนุบำรุงอย่างดียิ่ง  โดยเฉพาะในเรื่องต่อไปนี้

การสังคายนาพระไตรปิฎก       พระไตรปิฎก  คือคัมภีร์บรรจุพระธรรมคำสั่งสอนทั้งปวงในพระพุทธศาสนา    เมื่อกรุงศรีอยุธยาล่มสลายลง  คัมภีร์เหล่านี้ได้ถุกทำลายสูญหายไปบ้าง  มีผู้คิดทำซ่อมแซมขึ้นใหม่ก็ไม่ลงรอยกัน  พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1  จึงมีพระราชดำรัสให้มีการชำระพระไตรปิฎก คือ มีการทำสังคายนาขึ้นที่วัดมหาธาตุ  ใช้เวลาประมาณ  5  เดือน  เมื่อจดหมวดหมู่พระธรรมดำสั่งสอนได้แล้วก็ให้จาร (จารึก)  ลงบนใบลาน  คัดลอกเป็นพระไตรปิฎกฉบับหลวงขึ้น  ปิดทองทั้งปกหน้าและด้านข้างเรียกว่า     พระไตรปิฎกฉบับทองใหญ่  หรือ  ฉบับทองทึบ   แล้วอัญเชิญประดิษฐานไว้ในตู้ประดับมุกในหอพระมนเทียรธรรมกลางสระวัดพระศรีรัตนศาสดารามในพระบรมมหาราชวัง

การกวดขันพระธรรมวินัย       ในสมัยธนบุรี  สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช  ได้ทรงศึกษาพระธรรม  และได้เข้าไปจัดการทางศาสนา จนเกิดความวุ่นวายขึ้น  เล่ากันว่าพระองค์ได้ทำโท่ษพระสงฆ์ที่ไม่ยอมรรับว่าทรงบรรลุโสดาบัน  การพระศาสนาในสมัยของพระองค์จึงสับสน  พระสงฆ์เกิดแตกหมู่คณะ เกิดหย่อนยานพระธรรมวินัย  พระสงฆ์บางส่วนไม่สนใจเล่าเรียนพระไตรปิฎก  นอกจากนั้นยังมีการเทศน์ด้วยคำหยาบตลกคะนอง  ไม่เป็นไปตามเนื้อหาของธรรมะ  และเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับทรัพย์สมบัติของฆราวาส  เกิดความวุ่นวายขึ้นทั่วไป  พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1  จึงโปรดเกล้าฯ  ให้ออกกฎหมายสำหรับสงฆ์ขึ้นหลายฉบับ  ช่วยให้การศาสนาดีขึ้น  ถึงรัชกาลที่ 3  โปรดเกล้าฯ ให้สำรวจความประพฤติของพระสงฆ์เมือ่พบว่ารูปใดไม่ตั้งอยู่ในพระธรรมวินัย  ก็ให้จับสึกเสีย  ทำให้คณะสงฆ์มีความเป็นระเบียบเรียบร้อยดีขึ้นเรื่อยมา

การสถาปนาธรรมยุตินิกาย       เมื่อพระยาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3  ขึ้นครองราชย์นั้น   สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้ามงกุฎ (ต่อมาคือรัชกาลที่ 4)   ได้เสด็จออกผนวช  และศึกษาพระไตรปิฎกจนแตกฉานทรงพบว่าคำสอนและข้อปฏิบัติต่างๆ  ที่มีมาแต่โบราณวิบัติไปเป็นอันมาก  พระภิกษุสงฆ์ก็มิได้เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของชาวบ้าน  จึงมีพระประสงค์จะสังคายนาคณะสงฆ์เสียใหม่  ประจวบกับมีพระเถระรามัญรูปหนี่งผู้ฉลาดในวินัยและรู้พุทธวจนะดี  ทั้งชำนาญในอักขรวิธีมาแสดงชี้แจงให้เกิดความเลื่อมใส  พระองค์จึงรับเอาวินัยวงศ์นั้นไว้เป็นข้อปฏิบัติรวมถึงเรื่องการครองจีวรด้วย  และได้ทรงประกาศศาสนพรหมจรรย์ให้บรรพชาอุปสมบทแก่กุลบุตรผุ้มีศัทธา  ทรงตั้งฝ่ายคณะสงฆ์ขึ้นใหม่เป็น  ฝ่ายธรรมยุติกนิกาย  เมื่อ พ.ศ. 2372   แต่มิได้ให้เลิกคณะสงฆ์เดิม  และเรียกคณะเดิมว่า ฝ่ายมหานิกาย

หลักธรรมของคณะสงฆ์ฝ่ายธรรมยุตินิกาย  ซึ่งสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ  เจ้าฟ้ามงกุฎได้ทรงตั้งขึ้นใหม่นี้มีผลทำให้คณะสงฆ์ไทยมีการปรับปรุงการปฏิบัติเพิ่มขึ้น  พระพุทธศาสนาวงศ์ซึ่งเสื่อมมาตั้งแต่ครั้งเสียกรุงเก่าได้ค่อยๆ  กลับเข้าสู่ความถูกต้อง  ทำให้พระพุทธศาสนามีความมั่นคงสืบมาตราบเท่าทุกวันนี้

การส่งสมณทูตไปลังกา         สมัยรัชกาลที่ 2  ได้มีพระภิกษุชาวลังกา  ชื่อ  พระสาสนวงศ์   อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุและต้นโพธิ์ลังกามาถวายใน พ.ศ.  2357  ไทยได้ส่งสมณทูตออกไปยังบลังกาทวีป  เพื่อสอบสวนพระศาสนา  ทั้งหมด  9  รุปด้วยกัน  มีพระอาจารย์ดีกับพระอาจารย์เทพเป็นหัวหน้า  และได้นำหน่อพระศรีมหาโพธิ์มาจากลังกา  6  ต้น  ถือว่าเป็นต้นโพธิ์ที่สืบเชื้อสายมาจากต้นโพธิ์ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ที่พุทธคยา  โปรดเกล้าฯ  ให้นำไปปลูกที่นครศรีธรรมราช  2  ต้น  ที่กลันตัน 1 ต้น  วัดสุทัศนเทพวราราม  1  ต้น   วัดสระเกศ  1  ต้น  และวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์  1  ต้น      สมัยรัชกาลที่ 3  พระสงฆ์เดินทางไปลังกาเพื่อขอยืมพระไตรปิฎกมาตรวจสอบกับของไทย  2  ครั้ง  ครั้งที่  1  ใน พ.ศ. 2385  ครั้งที่ 2 ใน พ.ศ.  2387  พระไตรปิฎกสมัยนึ้จึงเป็นที่ยอมรับว่ามีความถูกต้องมากที่สุด

การสร้างและบูรณะวัดวาอาราม          ศาสนาเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนไทย  พระราชกรณียกิจส่วนหนี่งของพระมกัตริย์เกือบทุกรัชกาลในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น  คือ  การสร้างและปฎิสังขรณ์วัด  วัดที่สำคัญมีดังต่อไปนี้

– วัดพระศรีรัตนศาสดาราม      พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช  โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในเขตพระบรมมหาราชวังชั้นนอก  เพื่อใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา  ให้มีลักษณะคล้ายคลึงกับวัดพระศรีสรรเพชญสมัยอยุธยา  และวัดมหาธาตุสมัยสุโขทัย  เป็นที่ประดิษฐานของพระแก้วมรกตหรือพระพุทธมหามณีรัตนปฎิมากร  วัดนี้จึงได้ชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า “วัดพระแก้ว”

–  วัดสุทัศนเทพวราราม        เป็นวัดกลางพระนคร  ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช  โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นนมีขนาดใหญ่เช่นเดียวกับวัดพนัญเชิงสมัยอยุธยา  เพื่อเป็นที่ประดิษฐานของพระศรีศากยมุนีหรือพระโต  หล่อด้วยโลหะ  ซี่งอัญเชิญมาจากวิหารหลวงวัดมหาธาตุ  สุโขทัย  วัดนี้เดิมรัชกาลที่ 1  พระราชทานนามเดิมว่า  วัดมหาสุทธาวาส  ชาวบ้านเรียกว่า “วัดพระโต”

– วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม    เดิมชื่อ  วัโพธาราม  พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช  โปรดเกล้าฯ  ให้บูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นมาใหม่ใช้เวลา  12  ปี  (พ.ศ. 2332 – 2344)   และได้พระราชทานนามว่า  วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาวาส  ต่อมาเปลี่ยนเป็น  วัดพระเชตุพนวิมลมังคราราม   ในสมัยรัชกาลที่ 4  วัดนี้  เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปยืนองค์ใหญ่จากวัดพระศรีสรรเพชญ   กรุงศรีอยุธยา  และพระพุทธสาวกปฏิมากร  วัดคูหาสวรรค์  กรุงธนบุรี  ได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์อีกครั้งหนึ่งในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3   ใช้เวลา  16  ปี  โปรดเกล้าฯ  ให้ประชุมนักปราชญ์  ราชบัณฑิตและช่างทุกสาขา  ให้ช่วยกันชำระตำราในแขนงวิชาแพทย์แผนโบราณ  ยาแก้โรค  ตำราหมอนวด  กวีนิพนธ์ ฯลฯ  โดยจารึกไว้บนแผ่นศิลาตามเสาและผนังรายรอบบริเวณวัดเพื่อให้ประชาชนได้ศึกษาค้นคว้า  วัดนี้จึงจัดว่าเป็น มหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทย

– วัดอรุณราชวราราม        เป็นวัดโบราณซึ่งสร้างแต่ครั้งอยุธยา  เดิมเรียก  วัดมะกอก  แล้วเปลี่ยนเป็นวัดแจ้ง  ในสมัยพระเจ้าตากสินมหาราช  ครั้งถึงสมัยรัตนโกสินทร์  รัชกาลที่ 2   เมื่อครั้งยังดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ  เจ้าฟ้ากรมหลวงอิสรสุนทร (ต่อมาคือพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ร. 2)  ได้ทรงสร้างพระอุโบสถใหม่ และเมื่อขึ้นครองราชย์เป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้โปรดเกล้าฯ  พระราชทานนามวัดว่า  วัดอรุณราชธาราม   ภายหลังเปลี่ยนเป็น  วัดอรุณราชวราราม  วัดนี้  มีพระปรางค์ใหญ่  ที่เป็นปูชนียสถานที่สำคัญและงดงามมาก

การฟื้นฟูขนบธรรมเนียมประเพณี

ขนบธรรมเนียมประเพณีเป็นสิ่งแสดงให้เห็นวัฒนธรรมความเจริญรุ่งเรืองของชาติ  พระมหากษัตริย์ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น  จึงทรงฟื้นฟูขนบธรรมเนียมประเพณีที่ถือปฎิบัติมาช้านานตังแต่สมัยอยุธยา  นำมาปรับใช้ในทุกด้าน  พอสรุปได้ดังนี้

–  ประเพณีเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์     มีพระราชพิธีบรมราชาภิเษก  (พิธีขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์)   พระราชพิธีโสกันต์  (พิธีโกนจุกของพระราชวงศ์)  พระราชพิธีพระเมรุมาศ (พิธีเผาศพ)   พระราชพิธีฉัตรมงคล (พิธีฉลองพระเศวตฉัตรในวันคล้ายวันบรมราชาภิเษก)  พระราชพิธีสมโภชช้างเผือก ฯลฯ

–  ประเพณีเกี่ยวกับบ้านเมือง     มีพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา  พระราชพิธีอาพาธพินาศ (พิธีปัดเป่าโรคภัยมิให้เบียดเบียน)  พระราชพิธีพืชมงคล (พิธีปลูกพืชเอาฤกษ์ชัย)  ฯลฯ

– ประเพณีเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา    มีพิธีวิสาขบูชา   พิธีอาสาฬหบูชา  พิธีมาฆบูชา  พิธีเข้าพรรษา-ออกพรรษา  พิธีบวชนาค  เทศน์มหาชาติ  สวดภาณยักษ์ ฯลฯ

–  ประเพณีพราหมณ์    มีพิธีโล้ชิงช้า  พิธีวางศิลาฤกษ์  พิธีโกนจุก ฯลฯ

–  ประเพณีชาวบ้าน     มีพิธ๊ในโอกาสสำคัญๆ เช่น  แต่งงาน  ขึ้นบ้านใหม่  ทำขวัญนาค  เผาศพ  พิธีตรุษสงกรานต์  พิธีสารท  การละเล่นต่างๆ  เช่น  การเล่นเพลงสักวา  เพลงเรือ  เพลงฉ่อย  ลิเก  ลำตัด  ฟ้อนเล็บ  หนังตะลุง  หมอลำ

การส่งเสริม  วรรณกรรม  ศิลปกรรม  และการศึกษา

วรรณกรรม      สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น  ราชนำนักจัดว่าเป็นศูนย์กลางของวรรณกรรมและเป็นที่ชุมนุมบรรดากวีทั้งหลาย  ซึ่งมีทั้งองค์พระมหากษัตริย์  เจ้านาย  และบุคคลธรรมดา  วรรณคดีที่สำคัญในสมัยรัชกาลที่ 1  ได้แก่ รามเกียรติ์  ราชาธิราช  และสามก๊ก  พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2  ในฐานะที่ทรงเป็นกวี  ได้ทรงพระราชนิพนธ์บทละครไว้หลายเรื่อง  แต่ที่ได้รับการยกย่องมากที่สุดคือ  บทละครเรื่องอิเหนา  กวีเอกสมัยนี้คือ  สุนทรภู่  ซึ่งมีผลงานชั้นเยี่ยมหลายประการด้วยกัน  มีทั้งบทละคร  เสภา  นิราศ  บทเห่   และกลอน  อาทิเช่น  เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน  นิราศภูเขาทอง  กลอนสุภาษิตสอนหญิง  ที่ดีเด่นที่สุด  คือ  พระอภัยมณี

สถาปัตยกรรม       ศิลปะต่างๆ ได้รับการฟื้นฟูอย่าง  จริงจังจนกลับเจริญรี่งเรืองเหมือนดังสมัยอยุธยา  สถาปัตยกรรมที่สร้างอย่างประณีตงดงาม  ทรงคุณค่ายิ่งของชาติ  ได้แด่  พระบรมหาราชวัง  วัดพระศรีรัตนศาสดาราม  วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม  วัดอรุณราชวราราม  และวัดราชโอรสาราม  ซึ่งทั้ง  3  วัดหลังนี้เป็น  วัดประจำพระองค์รัชกาลที่ 1, 2, และ  3   ตามลำดับ  นอกจากนี้แล้ว  พวกช่างสิบหมู่  ยังร่วมกันสร้างผลงามไว้มากมาย  อาทิ  เครื่องราชูปโภคของพระองค์พระมหากษัคริย์  เครื่องราชกกุธภัณฑ์  เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์  ตู้พระไตรปิฎกลายรดน้ำ  และเครื่องถ้วยชามเบญจรงค์ เป็นต้น

จิตกรรม       งามจิตรกรรมในสมัยรัตนโกสนิทร์ตอนต้น   ยังคงเลียนแบบกรุงศรีอยุธยา  เช่น  ภาพวาดในพระอุโบสถ  หรือพระวิหาร  ตั้งแต่เหนือระดับหน้าต่างขึ้น ไปจนถึงเพดาน  มักจะเป็นภาพเทพชุมนุม  ส่วนช่วงระหว่างช่องหน้าต่างจะวาดภาพพุทธประวัติ  หรือทศชาติชาดก  ผนังด้านหลังพระประธานวาดภาพเรื่องไตรภูมิ  และเผนังตรงหน้าพระประธานวาดภาพพระพุทธเจ้าตอนมารผจญ  เช่น  ภาพจิตรกรรมในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์   พระราชวังบวรสถานมงคล  และภาพจิตรกรรมที่วัดระฆังโฆษิดาราม  และวัดดุสิดาราม  ธนบุรี  ฝาผนนังด้านตะวันออกและตะวันตกในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม  ผลงานในรัชกาลที่ 1

ในรัชกาลที่ 2  ผลงานด้านจิตรกรรมไม่มีให้เห็นเด่นชัด  เนื่องจากงานก่อสร้างที่สำคัญจะแล้วเสร็จ  ในรัชกาลที่ 3  ผลงานด้านจิตรกรรมในรัชกาลที่ 3  จึงมีปรากฏเป็นอันมาก  จัดเป็นรัชสมัยที่รุ่งเรืองด้านจิตรกรรมที่สุดในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น    งานจิตรกรรมในรัชกาลนี้มีอิทธิพลของศิลปะจีนเข้ามาเกี่ยวข้องอย่างมาก  ทั้งนี้เพราะในขณะนั้นมีการติดต่อค้าขายกับจีน  ประกอบกับรัชกาลที่ 3  เองก็ทรงนิยมด้วย  เห็นได้ชัดจากพระอารามหลวง  ซึ่งสร้างในรัชกาลนี้  อาคารจะสร้างแบบจีนเป็นส่วนมาก  จิตรกรเอกที่มีฝีมือชั้นครูมีผลงานดีเด่นในรัชกาลนี้  คือ  หลวงวิจิตรเจษฎา  หรือที่เรียกทั่วไปว่า ครูทองอยู่  และ  ครูคง  หรือที่เรียกทั่วไปว่า  คงเป๊ะ   ผลงานของท่านทั้งสองนี้ถือว่าเป็นมรดกทางจิตรกรรมที่ล้ำค่าอย่างยิ่งภาพจิตรกรรมที่สำคัญในรัชกาลนี้ ได้แก่ ภาพเขียนในพระอุโบสถและพระวิหารวัดสุทัศนเทพวราราม และในพระอุโบสถ  วัดสุวรรณาราม และที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม  วัดพระสรีรัตนศาสดาราม  วัดอรุณราชวราราม  วัดบางยี่ขัน เป็นต้น

การศึกษา      ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น  ลักษณะระบบการศึกษายังคงคล้ายคลึงกับในสมัยอยุธยาตอนปลายและธนบุรี  ศูนย์กลางของการศึกษาที่สำคัญมีอยู่  2  แห่ง  คือ  วัง  และ  วัด   พวกขุนนางหรือผู้ดีมีตระกูลมักส่งบุตรหลานของตนเข้าไปฝึกอบรมตามวังและราชสำนัก  ถ้าเป็นชายมักฝากตัวเข้าเป็นมหาดเล็กเพื่อจะได้ศึกษาวิชาการต่างๆ  และเรียกรู้การใช้อาวุธในยามสงคราม  ผู้หญิงฝึกอบรมวิชาแม่บ้านแม่เรือน  การเย็บปักถลักร้อย  สำหรับการศึกาในวัด  พวกสามัญชนมักนำลูกหลานที่เป็นผู้ชายไปฝากตัวไว้กับพระตามวัด  เป็นลูกศิกย์สำหรับใช้สอย  หรือบวชอยู่กับพระที่วัดแล้วแต่ความเหมาะสม  ส่วนพระจะเป็นผู้สอนให้หัดเขียนอ่าน  วิชาหนังสือ  วิชาด้านพระศาสนา เช่น ภาษาบาลี  สันสกฤต  และขอม  และฝึกอบรมให้รู้จัก  ขนบธรรมเนียม  ประเพณีต่างๆ  ด้วย  สำหรับเด็กผู้หญิงนิยมให้ได้รับการฝึกอบรมที่บ้าน

การเรียนหนังสือภาษาไทย  เดิมยังใช้หนังสือ  จินดามณี  เป็นแบบเรียน  ต่อมาหมอบรัดเลย์ (Bradley)   มิชชันนารีชาวอเมริกัน  ซึ่งเข้ามาในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้พิมพ์หนังสือ  ประถม  ก  กา  ออกจำหน่าย  ระยะนี้ยังไม่มีโรงเรียนเป็นหลักแหล่ง    ต้องไปศึกษาตามสำนักต่างๆ เช่น สำนักเจ้าพระยาศรีธรรมราช  สำนักพระพุทธโฆษาจารย์แห่งวัดพุทไธสวรรย์  การเรียนที่สำคัญอีกแบบหนึ่ง  คือ  การศึกษาวิชาชีพตามบรรพบุรุษสืบตระกูลถ่ายทอดกันต่อๆ มา เช่น  แพทย์  นักกฎหมาย  ครุอาจารย์  หรือมีการสืบทอดอาชีพกันเป็นกลุ่มตามอาชีพของท้องถิ่นนั้นๆ เช่น ช่างถม  ช่างทอง  ช่างปั้น  ช่างแกะสลัก  โดยจะอยู่กันเป็นแหล่งๆ เช่น บ้านหมอ  บ้านบาตร  บ้างช่างหล่อ  เป็นต้น

สำหรับการศึกษาสมัยใหม่  โดยเฉพาะภาษาต่างประเทศ  เริ่มมีปรากกบ้าง  โดยพวกมิชชั่นนารี  ซึ่งเจ้ามาสอนศษสนาเป็นผู้ดำเนินการ  แต่จำกัดอยู่เฉพาะในแวดวงพระราชววงศ์และขุนนางข้าราชการชั้นสูงเท่านั้น