วิธีแก้ไขอุปสรรคในการเรียน

ปัญหาความน่าท้าทายในการจัดการเรียนการสอน คือ ทำอย่างไรที่จะทำให้เกิดดุลยภาพระหว่างความคุ้มทุน (cost effective) และคุณภาพในการเรียนการสอน (quality of teaching and learning) โดยยังคงสามารถตอบสนองความหลากหลายของผู้เรียน (learner difference) ได้ปัญหาในการดำเนินการสามารถประมวลได้เป็น 3 กรอบใหญ่ คือ ด้านประสิทธิภาพ (Effect) ด้านอารมณ์ความรู้สึก (Affect) และด้านความพยายามในการดำเนินกิจกรรม (Effort) ซึ่งจากการศึกษาของ McLeod (1989) พบว่าจากเหตุผลทั้งหมด 333 ประการที่คณาจารย์อ้างถึง เป็นประเด็นปัญหาจากเรื่องประสิทธิภาพการสอน รวมความถี่มากถึง 144 หรือ 43.3% คณาจารย์แสดงความคิดเห็นในเรื่องอุปสรรคการสอนชั้นเรียนขนาดใหญ่ที่สะท้อนจากเรื่องความพยายามดำเนินการมากขึ้นกว่าการสอนในชั้นเรียนปกติ 110 หรือ 33% และอุปสรรคที่สะท้อนแง่มุมในเรื่องอารมณ์ คือ 79 หรือ 23.7% อุปสรรคที่ผู้สอนมีความกังวล คือความไม่มั่นใจว่าจะสามารถดำเนินการจัดกระบวนการเรียนการสอนในชั้นเรียนขนาดใหญ่ได้ดีเท่าชั้นเรียนที่เคยได้สอน ซึ่งอาจสะท้อนได้จากบันทึกของอาจารย์ท่านหนึ่งดังนี้

“พรุ่งนี้จะต้องสอนห้องเรียนขนาดใหญ่ ยังไม่รู้ว่าจะเป็นอย่างไร คิดว่าไม่น่าจะสอนได้ แต่ทำอย่างไรได้ เราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงสิ่งใดได้เนื่องจากเป็นนโยบายมหาวิทยาลัย และเราก็ได้รับมอบหมายให้สอนในเทอมนี้ เรารู้สึกว่าอาจต้องมีปัญหาอุปสรรคมากมาย และผู้เรียนอาจไม่ได้รับประโยชน์จากการเรียนรู้ในชั้นเรียนขนาดใหญ่ เราจะจัดกิจกรรมอย่างไร เราจะจำชื่อผู้เรียนได้หรือไม่ เราจะตรวจสอบการเข้าเรียนได้อย่างไร เราจะจัดโอกาสให้ผู้เรียนได้พูดโต้ตอบอย่างไร เราจะควบคุมชั้นเรียนอย่างไร เราจะทำอย่างไร เราจะทำอย่างไร เราจะทำอย่างไร”

(บันทึกครู อ้างถึงโดย Boonmoh, 2005: 14)

ที่มา : สุมาลี  ชิโนกุล

         ปัญหาที่เกิดจาก ตัวผู้เรียน เป็นผลทำให้การเรียน ไม่มีประสิทธิภาพในหลาย ๆ ลักษณะพอสรุปได้ดังนี้

1)       ไม่มีสมาธิในการเรียน

2)       ไม่อยากอ่านหนังสือ

3)       อ่านหนังสือแล้ว แต่จำไม่แม่น

4)       เรียนไม่ทันเพื่อน ไม่เข้าใจในเนื้อหา

5)       เร่งดูหนังสือ แค่ช่วงก่อนสอบ

6)       ละเลย หรือ ทิ้งวิชาที่ยากๆ

7)       ไม่รู้สึกสนุก หรือ รื่นรมย์กับการเรียน

8)       ทิ้งการบ้านค้างไว้จนนาทีสุดท้าย

9)       ไม่เคยทำตาราง สำหรับการเรียน การพักผ่อน

10)   ไม่เคยอ่านหนังสือ ล่วงหน้าก่อนเข้าชั้นเรียน

11)   เกลียดคณิตศาสตร์ อ่อนภาษาอังกฤษ

12)   อยากและโดดเรียนในวิชาที่ไม่ชอบ

13)   มักผัดวันประกันพรุ่ง

14)   ไม่เคยใช้เวลาว่าง ให้กับการอ่านหนังสือ

15)   มองตัวเองในแง่ลบ หมดความเชื่อมั่น คิดว่า

ตนเองไม่มีความสามารถในการเรียน         

16)  สภาพแวดล้อมและปัจจัยอื่นๆ

* ที่มา  -    เคล็ดลับ เรียนดีสอบได้ : ไพลิน:2543.

อย่างที่พี่บัวลี่เคยรวบรวมอุปสรรคอันจะขัดขวางระหว่างเรียนของเราไปแล้วนะคะ วันนี้พี่บัวลี่นำเอาแนวทางที่จะ เอาชนะอุปสรรคในการเรียนมาฝากกันค่ะคราวนี้แล้ว หึ หึ ความสำเร็จอยู่ไม่ไกลเกินมือคว้า ถ้าน้องๆพร้อมแล้วไปติดตามกันเลยจ้า ^^

วุฒิชัย จำนงค์ (2523) กล่าวว่า การตัดสินใจเป็นเรื่องของการจัดการที่หลีกเลี่ยงไม่ได้และในการจัดการนั้น การตัดสินใจเป็นหัวใจในการปฏิบัติงานทุกๆ เรื่องทุกๆ กรณีเพื่อดำ เนินการไปสู่วัตถุประสงค์ อาจมีเครื่องมือมาช่วยในการพินิจพิจารณา มีเหตุผลส่วนตัวอารมณ์ ความรักใคร่ ชอบพอ เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในการตัดสินใจ และมีลักษณะเป็นกระบวนการอันประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ต่อเนื่องกันไป ดังนี้

1) การแยกแยะตัวปัญหา(problem identification) ในขั้นตอนแรกของการตัดสินใจนั้น จึงเป็นเรื่องราวของการสร้างความแน่ใจ มั่นใจ โดยการค้นหาความเข้าใจกับตัวปัญหาที่แท้จริง ก็เพราะเหตุว่ากระบวนการตัดสินใจจะเริ่มต้นตามขั้นตอนแรก เมื่อผู้ทำ การตัดสินใจมีความรู้สึกว่าได้เกิดปัญหาขึ้นมา นั่นก็คือ เป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นภายในว่าได้มีปรากฎบางสิ่ง บางอย่างมิได้เป็นไปตามที่คาดคิด

2) การหาข่าวสารที่เกี่ยวกับตัวปัญหานั้น(information search) การเสาะหาข่าวสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับตัวปัญหานั้นก็คือ การเสาะหาสิ่งที่เป็นสาเหตุหรือสิ่งที่ก่อให้เกิดปัญหานั้น ซึ่งอาจจะไม่ใช่สาเหตุโดยตรงก็ได้

3) การประเมินค่าข่าวสาร(evaluation of information) เป็นความจำ เป็นที่จะต้องประเมินค่าดูว่า ข่าวสารที่ได้มานั้นถูกต้อง เหมาะสมเพียงพอตรงกับเวลา และสามารถที่จะนำไปวิเคราะห์ปัญหาได้หรือไม่

4) การกำหนดทางเลือก(listing alternative) เป็นขั้นตอนสำคัญของการตัดสินใจ คือ การกำหนดทางเลือกมากที่สุดเท่าที่จะมากได้ เป็นการที่พยายามจะครอบคลุมวิถีทางที่จะแก้ปัญหาได้หลาย ๆ วิธีถ้าเรามีข่าวสารสมบูรณ์สำหรับปัญหาแต่ละเรื่อง เราอาจจะกำหนดทางเลือกได้เหมาะสมและครอบคลุมอย่างแท้จริงได้

5) การเลือกทางเลือก(selection of alternative) เมื่อได้กำหนดทางเลือกต่างๆออกมาแล้ว พร้อมทั้งกำหนดลำ ดับความสำคัญและความเหมาะสมในการแก้ปัญหา ขั้นตอนต่อไป คือ การเลือกทางเลือกที่จะปฏิบัติการต่อไป (selection of a course of action) และขั้นนี้เองที่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า เป็นการตัดสินใจอย่างแท้จริง

6) การปฏิบัติตามการตัดสินใจ(implement of decision) เมื่อทางเลือกได้ถูกเลือกเข้ามาแล้ว ก็เป็นการปฏิบัติตามผลของการตัดสินใจหรือทางเลือก