ฉนวน กัน ความ ร้อน ผนัง เบา

ผนังกันความร้อนคือ การทำให้ความร้อนนั้นไม่สามารถผ่านจากผนังภายนอก ไปสู่ภายในห้องได้ซึ่ง มีหลายวิธี เช่น นำวัสดุที่ความร้อนไม่สามารถผ่านได้หรือวัสดุที่เป็นฉนวนมาทำผนัง อีกวิธีหนึ่งคือ การทำให้ผนังสามารถให้อากาศร้อนไหลเวียนออกจากผนังได้
ผนังกันความร้อนที่ใช้กันแพร่หลายทั่วๆไป ได้แก่
ผนังอิฐมวลเบา ผนังฉนวนกันความร้อนและการติดตั้งโฟมกันความร้อน จากการทดสอบวัดอุณหภูมิภายในห้อง ที่สร้างจากผนังอิฐมวลเบาพบว่ามีค่าต่ำกว่าห้องที่สร้างจากอิฐมอญเฉลี่ย 1.0-1.5 องศาเซลเซียส อิฐมวลเบามีคุณสมบัติในการเป็นฉนวนกันความร้อนที่ดี และทนไฟได้นานกว่าผนังที่ทำด้วยอิฐมอญ เพราะอิฐมวลเบาทำมาจากซีเมนต์ ปูนขาว ทรายและน้ำ มีคุณสมบัติการเป็นฉนวนที่ดี เนื่องจากในเนื้อวัสดุจะมีฟองอากาศขนาดเล็กกระจายอยู่ทั่วไปอย่างสม่ำเสมอ จึงป้องกันการถ่ายความร้อนและทนไฟได้นานกว่าอิฐมอญประมาณ 4-6 เท่า การใช้อิฐมวลเบาทำผนัง จึงทำให้ความร้อนเข้าอาคารได้น้อยลง เครื่องปรับอากาศทำงานน้อยลงทำให้ประหยัดพลังงาน อิฐมวลเบามีขนาด 20X60 เซ็นติเมตร ความหนา 7.5,10,12.5,15,20 และ 25 เซ็นติเมตร ราคาขึ้นอยู่กับขนาด โดยมีราคาตั้งแต่ 14-23 บาทต่อก้อน ปัจจุบันมีผู้ผลิตรายใหญ่ๆ เช่น SUPER BLOCK, SMART BLOCK ฯลฯ เป็นต้น
สำหรับผนังฉนวนกันความร้อนก็มีหลายประเภท เช่น
ผนังกันความร้อนโพลีสไตรีน เป็นผนังกันความร้อนที่มีประสิทธิภาพสูง สามารถลดการถ่ายเทความร้อนจากภายนอกอาคารได้ดี ทำให้บ้านประหยัดพลังงาน การใช้ฉนวนกันความร้อนกับผนัง ทำได้โดยการพ่นกาวติดฉนวนเข้ากับผนังโดยหันด้านสะท้อนความร้อนออกด้านนอก หรืออาจจะใช้ชนิดไม่มีแผ่นสะท้อนความร้อนก็ได้ การติดตั้งฉนวนกันความร้อนกับผนัง จะช่วยป้องกันการแผ่รังสีความร้อนเข้าสู่ด้านในอาคาร ตัวฉนวนเป็นโพลีเอทธีลีนปิดด้วยอลูมิเนียมฟิล์มหรืออลูมิเนียมฟอยล์ 1 ด้าน มีความหนา 5 และ 10 เซ็นติเมตร มีค่าการสะท้อนรังสีความร้อนสูงและมีค่าการคลายความร้อนต่ำ สามารถป้องกันการส่งผ่านความร้อนได้ถึง 15-20 องศาเซลเซียส
ผนังกันความร้อนอีกชนิดหนึ่งคือ การติดตั้งโฟม EPS เป็นฉนวนด้านใน โฟม EPS มีคุณสมบัติเป็นฉนวนชั้นดีที่ช่วยรักษาอุณหภูมิความเย็นภายในบ้าน และป้องกันความร้อนไม่ให้เข้ามาภายในบ้าน โฟม EPS สามารถติดตั้งได้กับพื้นผิวของอิฐทุกชนิด โดยติดกับผนังด้านในแล้วฉาบปูนลงบนผิวโฟมแล้วจึงติดวัสดุตกแต่งผนัง โฟม EPS ยังสามารถติดตั้งกับผนังด้านนอก เพื่อป้องกันความร้อนเข้าสู่ตัวบ้านได้อีกด้วย จุดเด่นของการใช้ฉนวน EPS คือ การติดตั้งฉนวนโฟมระหว่างผนัง เป็นการป้องกันไม่ให้ความร้อนจากภายนอกเข้าสู่ภายในบ้าน การติดตั้งโฟมระหว่างผนังควรเว้นช่องว่างระหว่างอิฐก่อผนังด้านนอกและแผ่นโฟมฉนวนประมาณครึ่งนิ้ว เพื่อเป็นช่องว่างป้องกันไม่ให้อากาศร้อนจากภายนอกผ่านเข้าสู่ตัวบ้านได้
นอกจากที่กล่าวมาแล้ว ยังมีผนังกันความร้อนในรูปแบบอื่นๆ เช่น ผนังกระจกติดฟิล์มกันแสง ที่ช่วยลดความร้อนจากภายนอกได้ และยังมีกระจกสองชั้นที่มีคุณสมบัติเป็นฉนวนกันความร้อนที่ดี ผนังแบบฉาบปูนทาสีหรือบุแผ่นกระเบื้อง ก็สามารถช่วยลดความร้อนให้กับอาคารได้ในระดับหนึ่ง นอกจากนั้นการใช้วัสดุกันความร้อนประเภทสะท้อนความร้อนออกมา เช่น วัสดุที่เป็นแผ่นโลหะผิวมันวาว หรือการทำผนังก่ออิฐฉาบปูน แต่ทาทับด้วยสีอ่อนก็จะช่วยสะท้อนรังสีความร้อนออกไปด้นนอก ซึ่งจะช่วยลดความร้อนที่จะเข้ามาในบ้านหรือตัวอาคารได้ด้วยเช่นกัน

00 atome / icon / printCreated with Sketch.00 atome / icon / mailCreated with Sketch.00 atome / icon / fbCreated with Sketch.twitterCreated with Sketch.00 atome / icon / linkedinCreated with Sketch.

Close

Share

Reading time: 1 min

ใช้ฉนวนกันร้อนแบบไหน เหมาะสำหรับบ้านคุณ

Posted on 05.04.2021 - updated on: 15.06.2021

ฉนวน กัน ความ ร้อน ผนัง เบา

ปัจจุบันหลายท่านประสบปัญหากับอากาศที่ร้อนอบอ้าวภายในบ้านเนื่องจากอุณหภูมิที่สูงขึ้น ทำให้ฉนวนกันความร้อนหรือแผ่นกันความร้อนได้รับความนิยมขึ้นเรื่อยๆ เพราะนอกจากจะสามารถกันร้อนได้แล้ว ยังช่วยลดการใช้เครื่องปรับอากาศทำให้ประหยัดค่าไฟฟ้าได้อีกด้วย

ฉนวนกันความร้อนหรือแผ่นกันความร้อนตามท้องตลาดมีให้เลือกหลายชนิด เช่น ฉนวนใยแก้ว โฟมกันความร้อน แผ่นยิปซัม และแผ่นสะท้อนความร้อน เป็นต้น การเลือกใช้ฉนวนกันความร้อนหรือแผ่นกันความร้อนควรพิจารณาจากประสิทธิภาพในการต้านทานความร้อนและสภาพการนำความร้อนของวัสดุ ฉนวนกันความร้อนที่ดีควรมีค่าการต้านทานความร้อนสูง ในทางกลับกันจะมีสภาพการนำความร้อนที่ต่ำ นอกจากนี้ไม่จำเป็นต้องติดตั้งฉนวนกันความร้อนแบบเดียวกันทั้งหมดภายในบ้าน ควรคำนึงถึงงบประมาณและความจำเป็นของแต่ละพื้นที่ อาจจะติดตั้งผนังยิปซัมและใส่ฉนวนใยแก้วตรงกลางเพื่อเป็นผนังกั้นห้อง คุณจะได้ทั้งผนังกันความร้อนและกันเสียงรบกวน หรือใช้ฉนวนที่มีค่าต้านทานความร้อนสูงเฉพาะบริเวณทิศตะวันตกของบ้านเพื่อลดการสะสมความร้อนในช่วงบ่าย

ประเภทของฉนวนกันความร้อน

ฉนวนใยแก้ว: ประกอบด้วยเส้นใยไฟเบอร์เล็กๆ มีประสิทธิภาพทนความร้อนสูง ภายในมีโพรงอากาศเล็กๆ จำนวนมหาศาลแทรกอยู่ระหว่างเส้นใยแก้ว ทำหน้ากักเก็บความร้อน สามารถลดปริมาณความร้อนที่ผ่านเข้าสู่ตัวอาคารได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติกันเสียงรบกวนได้อีกด้วย

โฟมกันความร้อน: เป็นฉนวนที่สามารถกันได้ทั้งความร้อนและความเย็น โดยจะกันความร้อนที่เข้ามาจากภายนอกไม่ให้เข้ามาภายในบ้าน ในทางกลับกันเมื่อเปิดเครื่องปรับอากาศสามารถกันความเย็นให้อยู่ภายในห้อง ด้วยคุณสมบัติที่ไม่อมความร้อนมาก จึงช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าได้เป็นอย่างดี ปัจจุบันมีการใช้โฟมหลายชนิดในการทำฉนวน

  • โฟมโพลีสไตรีน: เป็นฉนวนโฟมที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน มักนำมาติดคู่กับแผ่นยิปซัม เนื่องจากเป็นวัสดุน้ำหนักเบา เคลื่อนย้ายง่าย จึงทำให้การติดตั้งสะดวกและรวดเร็ว สามารถทำเป็นฝ้าเพดานชั้นใต้หลังคาได้โดยไม่ต้องมีฉนวนอื่นเพิ่ม
  • โฟมโพลีเอทิลีน: ลักษณะเป็นแผ่นเหนียวนุ่ม มีแผ่นฟอยล์บางๆ เคลือบผิวอยู่อีกชั้น ต้านทานความร้อนได้ดี มีน้ำหนักเบา เหนียว และทนต่อแรงกระแทกได้ดี
  • โฟมโพลียูริเทน: เป็นเทคโนโลยีการฉีดโฟมเพื่อป้องกันความร้อน โฟมชนิดนี้เหมาะสำหรับใช้ในทำโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ มีคุณสมบัติป้องกันน้ำและความชื้น แต่มีข้อเสียตรงที่มีจุดหลอมเหลวต่ำ หากสัมผัสอุณหภูมิที่สูงจนเกินไปอาจทำให้เปลี่ยนสภาพได้

อลูมิเนียมฟอยล์: แผ่นเคลือบอลูมิเนียมที่ถูกทำให้หนาขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันความร้อนและรังสียูวี มีลักษณะเหนียวคงทน ไม่ขาดง่าย

นอกจากนี้ ยังสามารถใช้ผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่มีคุณสมบัติป้องกันความร้อนช่วยให้บ้านของคุณเย็นสบาย เช่น ปูนฉาบภายในและสีทาบ้าน เป็นต้น

ฉนวนกันความร้อนผนัง มีอะไรบ้าง

ฉนวนกันความร้อนมีกี่ชนิด.
1. ฉนวนใยแก้วหรือไฟเบอร์กลาส ... .
2. ฉนวนประเภทโฟมโพลียูริเทน (PU Foam) ... .
3. ฉนวนประเภทโฟมโพลีเอทิลีน (PE Foam) ... .
4. ฉนวนเยื่อกระดาษ (Cellulose).

แผ่นฉนวนกันความร้อน ยี่ห้อไหนดี

ฉนวนกันความร้อนที่ดีที่สุด เหมาะสมที่สุดกับสภาพอากาศเมืองไทย.
1. พี.ยู.โฟม เป็นฉนวนป้องกันความร้อน-เย็น ... .
2. พี.ยู.โฟม ลดเสียงดัง กั้นเสียงเข้า-ออก ... .
3. พี.ยู.โฟม ทนต่อกรดและด่าง ... .
5. พี.ยู.โฟม มีน้ำหนักเบา และแข็งแรง ... .
6. พี.ยู.โฟม ไม่อุ้มน้ำ ไม่ซึมน้ำ ... .
9. พี.ยู.โฟม ไม่มีสารพิษเจอปน ปลอดภัยกับผู้ใช้.

ฉนวนกันความร้อนใต้หลังคา แบบไหนดี

2 | ติดตั้งใต้แผ่นหลังคา ฉนวนที่ติดตั้งใต้แผ่นหลังคาได้แก่ ฉนวนใยแก้วแบบแผ่น อะลูมิเนียมฟอยล์ พอลิเอทิลีนโฟม,พอลิเอทิลีน บับเบิลฟอยล์ และฉนวนชนิดฉีดพ่น พอลิยูรีเทนโฟมและเยื่อกระดาษ ทำหน้าที่หน่วงความร้อนไม่ให้เข้าสู่ใต้หลังคา ฉนวนแบบนี้ต้องติดตั้งไปพร้อมๆ กับสร้างหลังคาตั้งแต่สร้างบ้าน ในเมืองไทยยังไม่เป็นที่นิยม แต่ ...

หลังคากันความร้อนมีกี่แบบ

10 หลังคากันร้อน สะท้อนแดด เหมาะกับอากาศเมืองไทย.
1. หลังคาเมทัลชีทสีขาว ... .
2. กระเบื้องหลังคาแผ่นเรียบสีขาว ... .
3. กระเบื้องหลังคาแบบลอน ... .
4. หลังคายาง ... .
5. หลังคาแผ่นโซลาร์เซลล์ ... .
6. หลังคาหญ้า ... .
7. กระเบื้องหลังคาคอนกรีต ... .
8. กระเบื้องหลังคาดินเผา.