Job description นักโภชนาการ

�ѹ��Ԩ

Mission

1. ��ü�Ե����÷���դس��ҷҧ����ҡ�� ����ǹ����㹡���ѡ�� �դس�Ҿ ��ʹ��� ����ҳ��§�� ��ԡ�õç���� ������� ����Ѻ��ԡ�þ֧���

2. ����ԹԨ��»ѭ������ҡ���»����Թ��������ҡ�âͧ������ ��������   ����ҧἹ�����������ӺѴ ������ӻ�֡�� �Դ��� �����Թ�� ������� ��п�鹿���������ҡ�� ��� ��ôѴ�ŧ�����੾���ä�����仵��Ἱ����ѡ�����������������Ѻ�ä�����������ҡ�� �¤ӹ֧�֧�س�Ҿ  ������ʹ��¢ͧ������ ����ҵðҹ�ԪҪվ

3. �֡�� �Ǻ��� ���蹡�ͧ�������Ԫҡ�ô�ҹ����� ����ҡ�� �����ӺѴ ���������оѲ�Һؤ�ҡõ��˹觹ѡ�Ԫҡ������ҡ�� ��ҹ�ԪҪվ�ѡ��˹����������դ������ �ѡ��   ���ʹѺʹع�������ǹ����㹧ҹ�Ԩ�¡Ѻ������Ң��ԪҪվ  ���;Ѳ�Ҵ�ҹ��ô����ѡ�������������� �ӻ�֡�Ҽ�����

รับสมัครด่วน

นักโภชนาการ,พนักงานกุ๊ก ประจำสาขา สมิติเวช สุขุมวิท

Job description นักโภชนาการ
Location

Job description นักโภชนาการ

Vadhana, Bangkok

Job description นักโภชนาการ
Salary

Job description นักโภชนาการ
13,000-15,000

Job description นักโภชนาการ
Vacancies

Job description นักโภชนาการ
5

Job Descriptions

ตำแหน่งนักโภชนาการ • สั่งอาหาร จัดเตรียมบัตรอาหารและตรวจสอบอาหารก่อนส่งไปยังห้องผู้ป่วย • ใช้ซอฟท์แวร์ของโรงพยาบาลและโซเด็กซ์โซ่ ในการเปรียบเทียบ แก้ไข รวบรวมข้อมูลรายละเอียดของผู้ป่วย, ลักษณะของอาหาร และสิ่งที่ต้องการในการประกอบอาหาร • เยี่ยมห้องพักผู้ป่วยทุกวันเพื่อรับคำสั่งอาหาร และให้คำแนะนำด้านโภชนาการ • จบสาขาที่เกี่ยวข้องกับโภชนาการและอาหารโดยตรง ตำแหน่งกุ๊ก • ทำอาหารตามเมนู • ตรวจรับจัดเก็บวัตถุดิบของสด เนื้อสัตว์ทุกชนิดและวัตถุดิบแช่แข็ง • สามารถหั่นเนื้อสัตว์ได้ทุกชนิดและปลาชนิดต่างๆ • การเบิก-จ่ายวัตถุดิบของสด • การจดบันทึกงานเอกสารประจำวัน • ตรวจนับสต๊อกประจำเดือน

Qualifications

  1. เพศหญิง,ชาย อายุ 18 ปี ขึ้นไป
  2. มีวุฒิการศึกษา ม.6 ขึ้นไป
  3. มีทักษะในการสื่อสาร พูด อ่าน เขียน เป็นอย่างดี
  4. มีใจรักบริการ ทำงานเป็นทีม ขยันและซื่อสัตย์
  5. สามารถทำงานเป็นกะได้

How to apply

- สมัครผ่าน JobThai - สมัครทาง E-mail

Contacts

คุณมลทิรา (สาขา รพ.สมิติเวช สุขุมวิท)

บริษัท โซเด็กซ์โซ่ เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) จำกัด

Location

สาขาโรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท

Khlong Tan Nuea Vadhana Bangkok

Directions

ลงรถไฟฟ้าสถานีเอกมัย เข้าซอยสุขุมวิท63 (ฝั่งเดียวกับสหกรณ์) เดินเข้าซอยประมาณ 250 เมตร จุดสังเกต อาคารสรชัยจะอยู่ใกล้ ๆ กับ Park Lane (Max Value) อาคารสรชัย คือ อาคารสีส้ม-ขาว ด้านหน้ามีธนาคารกรุงเทพ

Application Methods

Apply Now

Apply by sending JobThai resume.

Upload Files

Apply by uploading resume, portfolio, etc.

Send Email

Apply by sending email.

Easy Form

Apply by filling your brief profile in the form.

Other positions at this company

นักโภชนาการ

ผู้วางแผนงานควบคุมและสั่งงาน เตรียมกำหนดอาหารตามหลักโภชนาการให้กับผู้ป่วยในโรงพยาบาล คณะบุคคล ชุมชนในท้องถิ่น และโรงงานหรือสถานประกอบกิจการอุตสาหกรรมผลิตอาหาร โดยการคำนวณคุณค่าของอาหาร ให้คำแนะนำในการถนอมอาหาร การแปรรูปอาหาร การแปรรูปผลิตผลเกษตรเพิ่มคุณค่าผลิตภัณฑ์อาหารและการบริโภคให้ถูกสุขลักษณะ

ลักษณะของงานที่ทำ

1.แนะนำและให้ความรู้พื้นฐานในการแก้ปัญหาด้านสุขอนามัยเกี่ยวกับโภชนาการ และความปลอดภัยของอาหารที่บริโภคต่อสาธารณชน หรือผู้ประกอบกิจการ หรือผู้ผลิต 

2.วิเคราะห์วิจัยคุณค่าทางอาหาร คุณสมบัติ สรรพคุณ และศักยภาพของอาหารที่ต้องการนำมาแปรรูป เช่น เนื้อสัตว์ พืช ผักและผลไม้ที่ต้องการนำมาประกอบอาหาร และแปรรูปในห้องปฏิบัติการทดลอง อาจใช้การทดลองทางเคมีเพื่อหาคุณค่ากรดหรือด่างในอาหาร หรือจำนวนสารผสมอาหารทางเคมีที่สามารถใช้เจือปนในอาหารได้ หรือหาสารตกค้างต่างๆ จัดทำฉลากคุณค่าทางโภชนาการ

3.ทำหน้าที่เป็นวิทยากรในการสาธิตการประกอบอาหาร และการผลิตผลิตภัณฑ์อาหารที่ใช้บริโภคการถนอมอาหาร การแปรรูป และคิดค้นวิธีการแปรรูปใหม่ๆ เพื่อเพิ่มคุณค่าผลิตผลการเกษตรเมื่อผลิตผลมีราคาต่ำ โดยนำเทคโนโลยีชาวบ้านหรือเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาช่วยในกระบวนการผลิตให้ถูกอนามัยและปลอดภัย 

4.จัดทำประมาณการต้นทุนการผลิต จัดหาแหล่งวัตถุดิบ และแหล่งตลาดที่เหมาะสม และให้ข้อมูลด้านการผลิตเพื่อการอุตสาหกรรม การส่งออก และการกีดกันทางการค้าจากสัญญาต่างๆ 

5. เก็บรวบรวมข้อมูลและผลิตเอกสารเผยแพร่เกี่ยวกับโภชนาการให้กับกลุ่มผู้บริโภค หรือกลุ่มเป้าหมายให้ได้ทราบเพื่อสุขภาพที่ดี และให้ความรู้ในการป้องกันการแพ้สารอาหารต่างๆ 

ทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่ต่างหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการทำงาน เช่น นักวิทยาศาสตร์การอาหาร นักเทคโนโลยีอาหาร (Food Technologist)นักวิทยาศาสตร์สาขาจุลชีวะ และนักวิชาการเกษตร

สภาพการจ้างงาน

โภชนากรอาจปฏิบัติหน้าที่ในภาครัฐบาล เช่น เคหกิจเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงอุตสาหกรรม ได้รับเงินเดือนตามวุฒิการศึกษาและความสามารถในการทำงาน ในภาคเอกชนอาจมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามตำแหน่งหน้าที่และสาขาที่มีความเชี่ยวชาญ หรือหน้าที่ในโครงการต่างๆ ที่ได้รับการ ในส่วนเอกชนอาจได้รับโบนัสและสิทธิพิเศษอื่นๆ ตามผลประกอบการของบริษัท

สภาพการทำงาน

อาจทำงานในโรงพยาบาล โรงแรม สถานประกอบกิจการอาหารสำเร็จรูป สถานประกอบการทางด้านอาหารเสริม ในศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อการเกษตรชุมชนทุกจังหวัด โรงงานผลิตน้ำผลไม้และเครื่องดื่ม บริษัทยาและเคมีภัณฑ์ ซูเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่ เป็นต้น จะปฏิบัติงานในห้องเรียน ห้องเตรียมอาหาร ห้องปฏิบัติการทดลอง หรือมีการออกแนะนำให้คำปรึกษานอกพื้นที่ในชุมชน อำเภอ และต่างจังหวัด หรือในห้องทดลองในโรงงานอุตสาหกรรมผลิตอาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งมีการใช้อุปกรณ์และเครื่องมือทางเทคโนโลยีการอาหาร การใช้คอมพิวเตอร์เข้าช่วยในการปฏิบัติงาน ตรวจวัดค่าอาหารและการบันทึก

คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ

สำเร็จการศึกษาอย่างน้อยประโยควิชาชีพชั้นสูงทางด้านคหกรรมศาสตร์สาขาอาหาร และระดับปริญญาตรีสาขาโภชนาการ วิทยาศาสตร์การอาหาร หรือสาขาที่เกี่ยวข้องกับอาหาร 

รักการประกอบอาหาร วิเคราะห์ วิจัยอาหาร 

มีความรู้ในการใช้ภาษาอังกฤษ ได้ดี 

มีความเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี 

เป็นนักวางแผนงานที่ดี 

มีมนุษยสัมพันธ์ดี เป็นนักประสานผลประโยชน์และประสานงานที่ดี 

เป็นนักคิดค้นนวัตกรรมใหม่ในการผลิตและแปรรูปอาหาร 

การเตรียมความพร้อมสู่อาชีพ

เมื่อสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายสายอาชีพ อาจศึกษาต่อในวิทยาลัยของกรมอาชีวศึกษา ส่วนผู้สำเร็จมัธยมศึกษาตอนปลายสายสามัญอาจศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี ในคณะคหกรรมศาสตร์สาขาอาหารและโภชนาการ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตเทคนิคกรุงเทพฯ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง

โอกาสในการมีงานทำ

ปัจจุบันนี้อาชีพโภชนากรกำลังเป็นที่ต้องการในการผลิตอาหารในชุมชนตามเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้ชุมชนพึ่งตนเองได้ โดยใช้วัตถุดิบและภูมิปัญญาในท้องถิ่น เช่น อาหารและเครื่องดื่มที่ผลิตจากสมุนไพร การหมักดอง เชื่อม หรือการทำเครื่องสำอางจากผลิตภัณฑ์พื้นบ้านก็เข้าข่ายการยกระดับเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพของผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเช่นกัน และยังต้องขออนุญาตผลิตและจำหน่ายจากคณะกรรมการอาหารและยาอีกด้วย นับเป็นการช่วยส่งเสริมให้ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ผลิตจากชุมชนมีมาตรฐานและมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค และมีความสามารถในการแข่งขันเพื่อการส่งออกสู่ตลาดโลกได้มากขึ้น ซึ่งคาดว่าจะมีตลาดแรงงานทั่วประเทศรองรับผู้ที่สำเร็จการศึกษาในสาขาดังกล่าว 

การว่าจ้างบุคลากรที่มีความรู้ในด้านโภชนาการ วิทยาศาสตร์การอาหารและเทคโนโลยีการอาหารเข้าทำงานในตำแหน่งหน้าที่ต่างๆ มีมากขึ้น เพราะสถานการณ์การส่งออกสินค้าอาหารไทยได้ขยายตัวมากขึ้น เนื่องจากประเทศไทยมีศักยภาพสูงในการผลิตสินค้าอาหาร มีพื้นฐานทางด้านเกษตรกรรมที่มั่นคง ผลผลิตการเกษตรเพียงพอที่จะใช้เป็นวัตถุดิบในการแปรรูปเป็นสินค้าอาหาร รัฐบาลไทยจึงจำเป็นต้องดูแลไม่ให้เกิดผลกระทบต่อการส่งออกและเพื่อให้การส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้น ไทยต้องดูแลในมาตรการทางสุขอนามัย มาตรการด้านสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีการตัดต่อทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต (GMOs) และใบรับรองสุขอนามัยพืช ด้วยเหตุนี้กระทรวง สาธารณสุขจึงได้ออกกฎหมายให้มีการใช้หลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร (Good Manufacturing Practice หรือ GMP) ซึ่งเป็นระบบประกันคุณภาพพื้นฐาน สำหรับโรงงานผลิตอาหารที่ช่วยป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับผลิตภัณฑ์อาหาร และทำให้สินค้านั้นมี คุณภาพ และปลอดภัยในการบริโภคอาหาร และสอดคล้องกับกระแสการค้าของโลกในปัจจุบัน ซึ่งผู้ประกอบกิจการอาหารทุกแห่งเพื่อการบริโภคในประเทศและเพื่อการส่งออกได้ตระหนักถึงกระบวนการในการผลิตที่มีคุณภาพ ดังนั้นเพื่อยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์อาหารและเพื่อให้ได้เปรียบในเชิงแข่งขันจึงต้องมีการว่าจ้างบุคลากรที่มีความรู้ในด้านโภชนาการ 

ผู้ที่สำเร็จการศึกษาทางด้านนี้สามารถทำธุรกิจของตนเองทางด้านอาหารที่ใช้ต้นทุนน้อยหรือสามารถรวมกลุ่มเป็นชมรม เพื่อนำโครงการและงบประมาณที่ต้องการผลิตผลิตภัณฑ์ เสนอของบประมาณการลงทุนจากธนาคารเพื่อการเกษตร โดยเจาะเฉพาะกลุ่มผู้บริโภคที่มีการตื่นตัวเรื่องสุขภาพกันมากขึ้น เช่น ผลิตอาหารจากผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ ผลิตอาหารแปรรูป ผลิตน้ำผักและผลไม้ หรือคิดค้นกรรมวิธี ผลิตใหม่ จากวัสดุ ท้องถิ่น เป็นต้น

โอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ

ผู้ปฏิบัติงานในภาครัฐ ถ้ามีความสามารถ หรือได้รับการอบรม หรือศึกษาเพิ่มเติมจะได้รับการเลื่อนขั้นจนถึงตำแหน่งผู้อำนวยการได้ สำหรับในภาคเอกชนเมื่อมีประสบการณ์ มีความสามารถและมีความรู้หรือได้รับการอบรมในเรื่องของระบบควบคุมคุณภาพ และการจัดทำระบบ HACCP อาจได้รับการเลื่อนขั้นเลื่อนชั้นตามสายงานในองค์กรคือเป็นผู้อบรมระบบการจัดการ HACCP ผู้จัดการแผนกวิเคราะห์ข้อมูล ผู้จัดการ ผู้อำนวยการโรงงานผลิต อุตสาหกรรม

ตัวอย่างมหาวิทยาลัยและคณะที่เกี่ยวข้อง

1. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะสหเวชศาสตร์ สาขาวิชาโภชนาการและการกำหนดอาหาร

2. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะเกษตร สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ 

3. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ คณะอุตสาหกรรมเกษตร สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การอาหารและโภชนาการ

4. มหาวิทยาลัยพะเยา คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ สาขาวิชาโภชนาการและโภชนบำบัด

5. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม คณะสาธารณสุขศาสตร์ สาขาวิชาโภชนาการและการจัดการความปลอดภัยในอาหาร

6. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ - อาหารและโภชนาการ

7. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การอาหารและโภชนาการ

8. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ วิชาเอกอาหารและโภชนาการ

9. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ

10. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ

11. มหาวิทยาลัยคริสเตียน คณะสหเวชศาสตร์ สาขาวิชาเทคโนโลยีการอาหารและโภชนาการ

ที่มา: กองส่งเสริมการมีงานทำ

นักโภชนาการ มีหน้าที่อะไรบ้าง

นักโภชนาการ” หมายถึงผู้จบการศึกษาทางด้านโภชนาการ และเป็นผู้มีความรู้ความสามารถในการดูแลจัดบริการอาหารสำหรับผู้ป่วยในโรงพยาบาล และสามารถให้คำแนะนำโภชนาการทั่วไปได้ แต่เมื่อใดที่มีประสบการณ์การทำงานในโรงพยาบาลจนถึงขั้นมีความรู้ความชำนาญเพียงพอ ก็สามารถขอสอบเพื่อขึ้นทะเบียนรับรองเป็น “นักกำหนดอาหารวิชาชีพ” ได้เช่นกัน

นักโภชนาการเป็นอาชีพที่ต้องใช้ทักษะด้านใด

– สำเร็จการศึกษาอย่างน้อยประโยควิชาชีพชั้นสูงทางด้านคหกรรมศาสตร์สาขาอาหาร และระดับปริญญาตรีสาขาโภชนาการ วิทยาศาสตร์การอาหาร หรือสาขาที่เกี่ยวข้องกับอาหาร – รักการประกอบอาหาร วิเคราะห์ วิจัยอาหาร – มีความรู้ในการใช้ภาษาอังกฤษ ได้ดี – มีความเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี

งานโภชนาการคืออะไร

ฝ่ายโภชนาการ เป็นหน่วยงานสนับสนุนที่สำคัญของโรงพยาบาลกลาง รับผิดชอบจัดบริการอาหารผู้ป่วย เพื่อเป็นการดำรงชีวิตให้อยู่รอด และมีสุขภาพดีตลอดระยะเวลาที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ทั้งนี้ต้องอยู่ในความควบคุมของนักโภชนาการ ที่จัดอาหารให้ถูกหลักโภชนาการ และตามคำสั่งของแพทย์

นักกำหนดอาหารต่างจากนักโภชนาการอย่างไร

มักมีการเข้าใจผิดเกี่ยวกับบทบาทของนักโภชนาการ และ นักกำหนดอาหาร นักโภชนาการ คือ ผู้ที่ทำหน้าที่ให้คำแนะนำเกี่ยวกับผลกระทบอาหารและสารอาหารต่อสุขภาพ แตกต่างจากนักกำหนดอาหารที่นอกจากจะต้องมีความรู้ด้านโภชนาการแล้ว ยังต้องมีความรู้ในด้านการให้คำปรึกษาผู้ป่วยด้วย