Marantz pm6006 เสียง ดี ไหม

มีคำถามเข้ามาเยอะพอสมควร กับความสงสัยที่ว่า หลักการเลือกซื้อเครื่องเล่นประเภทเน็ทเวิร์ค สตรีมเมอร์ หรือเน็ทเวิร์ค ออดิโอ เพลเยอร์ ควรจะต้องให้ความสำคัญกับอะไรมากที่สุด.? ถ้าเป็นเลือกซื้อแอมป์, ลำโพง, เครื่องเล่นซีดี หรือแม้แต่เครื่องเล่นแผ่นเสียง ผมว่านักเล่นฯ แทบทุกคนคงไม่มีความสงสัยในการเลือกซื้อมากเท่ากับเครื่องเล่นประเภทเน็ทเวิร์ค สตรีมเมอร์ ซึ่งสาเหตุก็ไม่ได้เป็นเพราะว่าเป็นของแปลกใหม่ที่ไม่คุ้นเคย แต่เป็นเพราะว่า เครื่องเล่นประเภทนี้มีพฤติกรรมแบบเดียวกับ คอมพิวเตอร์ คือมันจะมีคุณสมบัติที่สำคัญอยู่อย่างหนึ่งที่ไม่เหมือนเครื่องเสียงประเภทอื่นๆ นั่นคือ “compatible” คือถ้าเป็นยี่ห้อ+รุ่นที่ออกแบบมาไม่ครอบคลุมจริงๆ คุณอาจจะเล่นไฟล์เพลงของคุณไม่ได้เพราะมันไม่ compatible กัน ซึ่งนั่นส่งผลร้ายมากกว่าคุณภาพเสียงซะอีก.!!

ผมมีคำถามอยู่ 3 คำถาม ซึ่งจะใช้วัดประสิทธิภาพของเครื่องเล่นไฟล์เพลงทุกประเภท เป็นสามคำถามสำคัญที่ต้องหาคำตอบให้ได้ก่อนจะไปพิจารณาเรื่องคุณภาพเสียงในลำดับต่อไป คำถามแรกคือ (1) มีอินพุตอะไรให้ใช้บ้าง.? และ (2) เล่นไฟล์เพลงฟอร์แม็ตอะไรได้บ้าง.? สุดท้ายคือ (3) รองรับสัญญาณ PCM และ DSD สูงสุดได้เท่าไร.? ซึ่งบอกเลยว่า คำตอบของสามคำถามนี้มีผลต่อ คุณค่าของเครื่องเล่นเน็ทเวิร์ค ออดิโอ เพลเยอร์ตัวนั้นมาก ซึ่งมักจะส่งผลต่อเนื่องไปถึงบทสรุปทางด้าน คุณภาพเสียงของมันด้วย

Marantz NA6006
เน็ทเวิร์ค ออดิโอ เพลเยอร์ในระดับราคา 20K +/-
ที่ออกแบบได้ครอบคลุมมาก!

ทำไมเรื่องของอินพุตจึงสำคัญ.? แน่นอนว่า เครื่องที่ให้อินพุตมาเยอะพอ ก็สามารถครอบคลุมการเล่นไฟล์เพลงจากแหล่งต่างๆ ได้กว้างขวางครบถ้วนมากกว่า ซึ่งความสามารถดึงไฟล์เพลงจากเน็ตเวิร์คมาเล่นที่ตัวมันแบบนั้นถือว่าเป็นคุณสมบัติพื้นฐานที่ Network Audio Player หรือ Network Streamer ทุกตัวจะต้องทำได้อยู่แล้ว ไม่ว่าจะดึงจาก Music Server (NAS & Computer) หรือดึงจากอินเตอร์เน็ต (TIDAL, Spotify, Internet Radio ฯลฯ) คุณสมบัติที่ต้องฟาดฟันกันก็คือ นอกจากสตรีมไฟล์เพลงจาก Music Server และอินเตอร์เน็ตได้แล้ว เครื่องเล่นฯ ตัวนั้นยังสามารถเล่นไฟล์เพลงจากช่องทางไหนได้อีก.?

Marantz pm6006 เสียง ดี ไหม

เครื่องเล่นไฟล์เพลงของ Marantz ที่ผมนำมาทดสอบตัวนี้คือรุ่น NA6006 ซึ่งผมตรวจเช็คแล้วพบว่า มันมีอินพุตอยู่ทั้งหมด 5 ช่องทาง ที่ใช้ในการดึงไฟล์เพลงเข้ามาเล่นในตัวมัน ขั้วต่อ Ethernet และเสา Wi-Fi/Bluetooth สองต้นที่อยู่บนแผงด้านหลัง ทำให้ NA6006 สามารถสตรีมไฟล์เพลงจาก music server คือจาก NAS (1) กับ คอมพิวเตอร์ เซิร์ฟเวอร์ (2) และจากอินเตอร์เน็ต (3) มาเล่นเป็นเพลงได้ผ่านทางอินพุตบนตัว NA6006 ที่ชื่อว่า “Music Servers” นอกจากนั้น เสา Wi-Fi ทั้งสองต้นยังใช้เป็นอินพุตสำหรับการเล่นไฟล์เพลงผ่านทางระบบไร้สาย Wi-Fi ด้วย AirPlay และ Bluetooth ได้อีกทางหนึ่ง

ความเป็นจริงแล้วอินพุต “Internet Radio” ก็ใช้ช่องทางเข้าของสัญญาณผ่านขั้วต่อ Ethernet หรือทางเสา Wi-Fi ช่องทางเดียวกับอินพุต Music Servers นั่นเท่ากับว่า สองช่องอินพุตนี้คือ Music Servers กับ Internat Radio ควรจะนับรวมกันเป็นหนึ่งช่อง ดังนั้น เท่ากับว่าในแง่ของอินพุตรวมของ NA6006 จึงเหลือแค่ 4 อินพุต นั่นคือ Network (Music Servers + Internat Radio) กับอีก 3 อินพุตคือ Bluetooth, Optical และ USB

ช่องอินพุต USB
คือเซอร์ไพร้ซ์!

NA6006 ให้ช่องเสียบ USB-type-A มาให้หนึ่งช่อง อยู่บนแผงหน้า ทำไมผมจึงว่าช่อง USB ของ NA6006 คือเซอร์ไพร้ซ์.?

Marantz pm6006 เสียง ดี ไหม

ก็เพราะว่าช่อง USB-type-A ช่องนี้สามารถดึงไฟล์เพลงจาก external USB Storage ออกมาเล่นได้น่ะซิ.. น่าสังเกตตรงที่ NA6006 ยกย่อง “USB” ช่องนี้ให้ขึ้นมาเป็นหนึ่งใน 5 อินพุตที่มีมาให้เลือกเล่น นั่นก็แสดงว่า ที่ช่องอินพุต USB-type-A ช่องนี้มันมีโปรแกรมเล่นไฟล์เพลงเฉพาะของมันเอง ไม่ได้ใช้โปรแกรมเล่นไฟล์เพลงจากภายนอก ความหมายก็คือ ถ้าคุณเอา USB storage ที่มีไฟล์เพลงอยู่ในนั้นไปเสียบเข้าที่ช่อง USB-type-A ของ NA6006 คุณสามารถใช้รีโมทกดเลือกอินพุต USB แล้วเลือกไฟล์เพลงใน USB storage นั้นขึ้นมาเปิดฟังได้เลยโดยไม่ต้องต่อเน็ทเวิร์คใดๆ

Marantz pm6006 เสียง ดี ไหม

นั่นก็หมายความว่าทีมวิศวกรของ Marantz ตั้งใจที่จะออกแบบช่อง USB-type-A บนตัว NA6006 มาให้ทำหน้าที่เป็นอินพุตที่คุณสามารถใช้เล่นไฟ์เพลงจาก external USB storage ได้โดยตรง ถือว่าเป็นการเพิ่มความสะดวกในการเล่นไฟล์เพลงให้กับผู้ใช้งาน NA6006 ได้เป็นอย่างดี นี่แหละที่ผมบอกว่าช่อง USB-type-A ของ NA6006 ช่องนี้คือเซอร์ไพร้ซ์ เหตุผลก็เพราะว่า ไม่ใช่ Network Audio Player ทุกตัวที่มีช่องเสียบ USB storage แบบนี้แล้วจะสามารถใช้เล่นไฟล์เพลงจาก USB storage ได้ เพราะตัว Music Streamer ส่วนใหญ่มักจะใช้งานช่องเสียบ USB storage ในลักษณะของ music server มากกว่า คือหลังจากเสียบ USB storage เข้าไปแล้ว คุณต้องเชื่อมต่อสตรีมเมอร์ตัวนั้นเข้ากับเน็ทเวิร์คก่อน จึงจะสามารถใช้แอพฯ ดึงไฟล์เพลงจาก USB storage อันนั้นออกมาเล่นได้ ถ้าไม่ได้ต่อเน็ทเวิร์คเอาไว้ ก็เล่นไฟล์ใน USB-type-A ไม่ได้ ในขณะที่สตรีมเมอร์บางตัวใช้ช่องเสียบ USB-type-A แบบนี้เป็นช่องที่รองรับการเล่นไฟล์จากอุปกรณ์ iOS ของแอ๊ปเปิ้ลอย่างเดียว คืออาศัยแอพฯ เล่นไฟล์เพลงในตัว iOS เป็นตัวเล่นไฟล์ ส่วนช่อง USB-type-A ใช้รองรับสัญญาณอย่างเดียว เล่นเพลงด้วยตัวมันเองไม่ได้!

ช่องอินพุต USB ของ NA6006 จะอ่านข้อมูลจาก USB storage ที่ฟอร์แม็ตเป็น FAT16 หรือ FAT32 เท่านั้น และจะไม่ยอมเล่นผ่าน USB Hub คุณต้องเสียบ USB storage เข้าที่ช่อง USB-type-A โดยตรง อินพุต USB ช่องนี้สามารถรองรับสัญญาณ PCM ที่แพ็คอยู่ในไฟล์เพลงที่เป็นฟอร์แม็ตหลักๆ ได้ครบ ไม่ว่าจะเป็น WMA, MP3, WAV, AAC, FLAC, ALAC และรับได้สูงถึงระดับ 24/192 นอกจากนั้น ยังรองรับสัญญาณ DSD ที่แพ็คอยู่ในไฟล์ฟอร์แม็ต DSF ได้สูงถึงระดับ DSD5.6MHz ซะด้วย นั่นก็พอจะตั้งเป็นข้อสังเกตได้ว่า Marantz เอาจริงกับช่องอินพุต USB-type-A ช่องนี้มาก เพราะถ้าไม่ตั้งใจจริงๆ คงจะไม่ทำให้ช่อง USB-type-A รองรับสัญญาณได้สูงถึงระดับนี้ ส่วนเสียงจะออกมาเป็นอย่างไร เดี๋ยวเราจะไปทดลองฟังกัน..

นอกจากนั้น NA6006 ยังทำหน้าที่เป็น external DAC ให้กับการเล่นไฟล์เพลง หรือเล่นแผ่นเพลง จากเครื่องเล่นตัวอื่นแล้วส่งสัญญาณดิจิตัลเข้ามาที่อินพุต Optical ของ NA6006 เพื่ออาศัยภาค DAC ในตัว NA6006 ทำการแปลงให้เป็นสัญญาณอะนาลอกเพื่อส่งออกไปเข้าแอมป์ได้ด้วย ซึ่งในแง่ของอินพุตที่ NA6006 ให้มานี้ก็ถือว่าครอบคลุมการใช้งานได้กว้างขวางมากแล้ว

หน้าตาของ NA6006
มาตรฐานของ Marantz

ทั้งรูปร่างและหน้าตาของ NA6006 ก็ยังคงรักษาเอกลักษณ์การออกแบบของ Marantz เอาไว้อย่างเหนียวแน่น

Marantz pm6006 เสียง ดี ไหม

A = ปุ่มกดเปิด/ปิดการทำงานของตัวเครื่อง
B = กลุ่มของปุ่มกดที่ใช้ในการปรับตั้งหัวข้อต่างๆ ในเมนูเครื่อง
C = ปุ่มกดเลือกอินพุต
D = ช่องเสียบ external USB storage (อินพุต USB)
E = หน้าจอแสดงผล
F = ช่องเสียบแจ๊คหูฟังขนาด 6.3mm
G = ปุ่มหมุนปรับวอลลุ่มสำหรับขยายเสียงให้กับหูฟัง
H = กลุ่มของปุ่มกดที่ใช้ในการควบคุมการเล่นไฟล์เพลง

ช่องอินพุต USB-type-A (D) จ่ายไฟ 5V กระแส 1A ซึ่งอาจจะไม่พอสำหรับ external HDD ขนาดใหญ่ ซึ่งถ้าต้องการเสียบฮาร์ดดิสขนาดใหญ่ แนะนำให้ใช้ USB storage ที่มีไฟเลี้ยงพ่วงมาด้วย เมื่อเสียบ USB storage เข้าไปที่ช่อง D นี้แล้ว คุณมีวิธีควบคุมการเล่นไฟล์เพลงใน USB storage ได้ 3 ทาง ทางแรกคือควบคุมด้วยปุ่มกดบนแผงหน้าปัดทั้งหมด เริ่มด้วยกดปุ่มเลือกอินพุต (C) เพื่อเลือกอินพุตไปที่ USB จากนั้นก็กดปุ่ม Enter ที่อยู่ตรงกลางของกลุ่ม B เพื่อเข้าไปเลือกไฟล์เพลงที่ต้องการเล่น เมื่อเจอแล้วก็กดที่ปุ่ม Play และใช้ปุ่มต่างๆ ที่อยู่ในกลุ่ม H ด้านขวามือของแผงหน้าเครื่องในการควบคุมการเล่นไฟล์เพลง

Marantz pm6006 เสียง ดี ไหม

วิธีที่สองคือใช้ฟังท์ชั่นควบคุมบนรีโมทไร้สายที่แถมมาให้ โดยมีปุ่มที่สามารถใช้งานได้ตามภาพด้านบนนี้ ส่วนวิธีที่สามคือควบคุมการเล่นไฟล์เพลงของอินพุต USB ได้จากแอพลิเคชั่น HEOS บนสมาร์ทโฟนหรือแท็ปเล็ต ซึ่งเป็นวิธีที่สะดวกมากที่สุด เพราะไม่ต้องไปคอยจ้องอ่านตัวหนังสือบนจอแสดงผลของเครื่อง แต่กรณีที่สามนี้คุณต้องมีระบบโฮมเน็ทเวิร์คที่บ้านและมี Wi-Fi access poit เพื่อเป็นช่องทางให้สมาร์ทโฟน/แท็ปเล็ตสามารถเจาะเข้าสั่งงานเครื่องได้

เอ๊าต์พุตที่เป็นภาคขยายสำหรับหูฟังสามารถปิดการใช้งานได้ผ่านทางเมนูเครื่อง ซึ่งต้องเริ่มต้นด้วยการกดปุ่ม Setup บนตัวรีโมทไร้สาย แล้วเจาะเข้าไปในเมนูของเครื่อง

อินพุต & เอ๊าต์พุต

ช่องต่อเชื่อมสัญญาณและอินเตอร์เฟซอื่นๆ จะอยู่ที่แผงหลังของ NA6006

Marantz pm6006 เสียง ดี ไหม

I = ขั้วต่อสัญญาณ analog output
J = ขั้วต่อสำหรับสาย LAN
K = ขั้วต่อสายดิจิตัล Optical สำหรับส่งสัญญาณออก
L = ขั้วต่อสายดิจิตัล Optical สำหรับรับสัญญาณเข้า
M = ขั้วต่อ In/Out สำหรับสัญญาณรีโมท และสวิทช์เลือกใช้สัญญาณรีโมทภายใน/ภายนอก
N = ขั้วต่อปลั๊กไฟสำหรับสายไฟเอซี
O = ขั้วต่อเสารับคลื่น Wi-Fi และ Bluetooth

Marantz pm6006 เสียง ดี ไหม

NA6006 ให้ขั้วต่อสำหรับสัญญาณ analog out มาสองชุด (I) แยกเป็นชุดที่ผ่านวอลลุ่มในตัว (variable) กับชุดที่ต่อตรง (fixed) ออกมาจากภาคอะนาลอก เอ๊าต์พุต ไม่ผ่านวอลลุ่ม ซึ่งช่องที่ผ่านวอลลุ่มนั้นมีมาให้สำหรับคนที่ต้องการต่อตรงเข้าเพาเวอร์แอมป์ หรือต่อเข้าอินพุตของลำโพงแอ๊คทีฟ โดยใช้ปุ่มวอลลุ่มที่รีโมทไร้สายในการควบคุมความดัง ส่วนช่อง Fixed ไว้ใช้กับอินติเกรตแอมป์ หรือปรีแอมป์ที่มีปุ่มวอลลุ่มควบคุมความดัง

ในกรณีที่คุณใช้วิธีเชื่อมต่อ NA6006 เข้ากับโฮมเน็ทเวิร์คด้วยสาย LAN เสียบเข้าที่ช่อง Network (J) คุณก็สามารถสั่งปิดการทำงานของภาครับคลื่น Wi-Fi ได้ ปล่อยให้เสารับคลื่น Bluetooth อย่างเดียว ช่องอินพุต Optical ของ NA6006 สามารถรองรับสัญญาณดิจิตัลที่เป็นฟอร์แม็ต PCM ได้สูงสุดถึงระดับ 24/192 แต่ไม่รองรับฟอร์แม็ต DSD

Marantz pm6006 เสียง ดี ไหม

Marantz pm6006 เสียง ดี ไหม

คุณสามารถควบคุมสั่งงาน NA6006 ผ่านทางรีโมทภายนอกได้ อย่างเช่นควบคุมผ่านจากอุปกรณ์เครื่องเสียงของ Marantz ตัวอื่น จากตัวอย่างข้างบน เมื่อเชื่อมต่อ NA6006 กับอินติเกรตแอมป์ของ Marantz เอง คุณก็เอาสายสัญญาณรีโมทที่แถมมาในกล่อง (แจ๊คสีส้ม) มาเชื่อมต่อระหว่างช่อง Remote Control: IN ของ NA6006 (M) ไปเข้าที่ช่อง Remote Control: OUT จากตัวอินติเกรตแอมป์ แล้วสับสวิทช์ (ศรชี้ภาพล่าง) ไปที่ตำแหน่ง External ด้วยการปรับตั้งนี้ จะทำให้คุณใช้รีโมทของตัวแอมป์ฯ ควบคุม NA6006 ได้โดยไม่ต้องใช้รีโมทของตัว NA6006 เอง

NA6006 ให้รีโมทไร้สายมาตัวหนึ่งรุ่น RC005NA ซึ่งบนนั้นมีปุ่มกดเพื่อใช้งานฟังท์ชั่นอื่นๆ ได้ครบทุกฟังท์ชั่น ให้ความสะดวกในการใช้งานมากกว่ากดปุ่มบนแผงหน้าปัดโดยตรง

ไฮไล้ท์ ดีไซน์

นอกจากความสามารถในการรองรับไฟล์เพลงได้หลากหลายช่องทางอินพุตแล้ว NA6006 ยังมีความสามารถในการเล่นไฟล์เพลงที่เป็นฟอร์แม็ตมาตรฐานได้ครบถ้วน ทั้ง FLAC, WAV, AAC, MP3 และ DSF อีกทั้งยังรองรับสัญญาณเสียงดิจิตัล PCM ได้สูงสุดถึงระดับ 24/192 และรองรับ DSD ได้สูงสุดถึงระดับ DSD5.6MHz ซึ่งถือว่าสูงสุดแล้วในปัจจุบัน ซึ่งในแง่นี้ถือว่าสอบผ่านสบาย

Marantz pm6006 เสียง ดี ไหม

ต่อไปคือเจาะเข้าไปดูเทคนิคการออกแบบด้านในกัน ซึ่งหัวใจสำคัญในส่วนนี้ต้องพิจารณาในแง่ของ คุณภาพเสียงเป็นหลัก จุดแรกที่ต้องเข้าไปดูก็คือ ภาค DAC ซึ่งพบว่า NA6006 ใช้ชิป DAC ของ ESS Technology เบอร์ ES9016 ซึ่งว่ากันด้วยคุณสมบัติตามสเปคฯ แล้ว แอลกอริธึ่มในชิปตัวนี้สามารถรองรับการประมวลผลสัญญาณ PCM ได้สูงสุดถึงระดับ 32bit/384kHz และรองรับสัญญาณ DSD ได้สูงสุดถึงระดับ DSD11.2MHz แต่วิศวกรของมาร้านท์จัดการให้มันรับมือกับสัญญาณที่มีเพดานต่ำกว่าความสามารถสูงสุดของชิป จึงมั่นใจได้ระดับหนึ่งว่า ระบบประมวลผลในตัวชิปจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความผิดพลาดต่ำเพราะไม่มีโอกาสจะโอเว่อร์โหลดแน่ๆ

นอกจากนั้น วิศวกรของมาร้านซ์ยังใช้ตัวกำเนิดสัญญาณ clock ถึง 2 ตัว แยกกันควบคุมกระแสสัญญาณที่ส่งเข้าสู่ภาค DAC ออกเป็นสองสปีด ระหว่างอินพุตที่มาจากแซมปลิ้งเรตฐาน 44.1kHz สำหรับสัญญาณขาเข้าที่ใช้แซมปลิ้ง 44.1, 88.2 และ 176.4 กับฐาน 48kHz สำหรับสัญญาณขาเข้าที่ใช้แซมปลิ้ง 48, 96 และ 192kHz เพื่อให้วงจรอัพแซมปลิ้งในตัว NA6006 ทำการ scale สัญญาณขึ้นไปได้ลงตัวก่อนส่งให้ภาค DAC ทำการแปลงเป็นสัญญาณอะนาลอก นั่นส่งผลให้ภาค DAC ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ได้เอ๊าต์พุตออกมาเป็นสัญญาณอะนาลอกที่มีคุณภาพ ปราศจากความผิดพลาดจากปัญหา sampling error เข้ามาปน จากนั้น ก่อนส่งสัญญาณอะนาลอกออกไปให้แอมป์ฯ ทางวิศวกรของมาร้านซ์ยังได้เลือกใช้วงจรขยายสัญญาณอะนาลอก เอ๊าต์พุตแบบ HDAM เข้ามาเป็นบัฟเฟอร์ในภาค analog output ซึ่งเป็นวงจรขยายแบบดีสครีตที่มาร้านซ์คิดค้นขึ้นมาใช้เอง และได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในแง่คุณภาพเสียงที่ดีกว่าอ๊อปแอมป์ทั่วไปมาก (Marantz ใช้ในเครื่องเล่นดิจิตัล เพลเยอร์แทบทุกรุ่นมานานแล้ว)

แอพลิเคชั่น HEOS

Marantz pm6006 เสียง ดี ไหม

ไฮไล้ท์โดนๆ สำหรับ NA6006 อีกอย่างนึ่งก็คือแอพลิเคชั่นที่ใช้ในการควบคุมการเล่นไฟล์เพลงและจัดการปรับตั้งการทำงานของตัว NA6006 นั่นคือแอพลิเคชั่นที่ชื่อว่า HEOS

* ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับแอพฯ HEOS

แอพลิเคชั่นตัวนี้ถูกออกแบบให้มีหน้าที่ครอบคลุมทุกอย่างที่จำเป็นทั้งหมด โดยเฉพาะหน้าที่ในการเล่นไฟล์เพลงกับตัว NA6006 กับการปรับตั้งค่าที่จำเป็นในตัว NA6006 ด้วย

ทดสอบ

แม้ว่าจะสามารถควบคุมการใช้งาน NA6006 ผ่านทางรีโมทไร้สายได้ แต่จากการทดสอบจริงๆ จังๆ แล้ว ผมพบว่า การควบคุมใช้งาน NA6006 ผ่านแอพลิเคชั่น HEOS เป็นอะไรที่สมบูรณ์แบบมากกว่า ได้อรรถประโยชน์จาก NA6006 เต็มที่กว่า ต่อไปจะเป็นขั้นตอนการใช้งานเพื่อควบคุมการฟังเพลง และขั้นตอนการปรับตั้งค่าบนตัว NA6006 ที่จำเป็นผ่านทางแอพฯ HEOS

วิธีปรับตั้ง NA6006 ให้ได้เสียงที่ดีที่สุด

เป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้ามเป็นอันขาดสำหรับคนที่เป็นนักเล่นเครื่องเสียงที่ต้องการคุณภาพเสียงที่ดีที่สุดจาก NA6006 ตัวนี้ เมื่อได้ทดลองเล่น NA6006 จนครบทุกจุด ผมพบว่า เครื่องเล่นไฟล์เพลงผ่านเน็ทเวิร์คของ Marantz ตัวนี้มีสิ่งที่คุณต้องทำการปรับตั้งค่าให้ถูกต้องหลายประการ ถ้าต้องการให้ได้ คุณภาพเสียงที่ดีที่สุดจาก NA6006 ตัวนี้จริงๆ

ปรับตั้งที่ตัวเครื่อง NA6006

ให้กดปุ่ม Setup ที่รีโมทคอนโทรล แล้วปรับตั้งตามนี้โดยดูที่จอแสดงผลของ NA6006 ประกอบไปด้วย

1 – Filter : เลือก Filter 1 (Setup > Filter > Filter 1)
2 – Lock Range : เลือก Narrow (Setup > Audio > Lock Range > Narrow)
3 – Variable Out : เลือก Off (Setup > Audio > Variable Out > Off)
4 – Volume Limit : เลือก Off (Setup > Audio > Volume Limit > Off)
5 – Phones : เลือก Off (Setup > Audio > Phones > Off)
6 – H/P Amplifier Gain : เลือก Low (Setup > Audio > H/P Amplifier Gain > Low)
7 – Auto Standby : เลือก Off (Setup > General > Auto Standby > Off)
8 – Wi-Fi : เลือก Disabled (Setup > Network > Wi-Fi > Disabled)
9 – Bluetooth : เลือก Disabled (Setup > Network > Bluetooth > Disabled)
10 – Digital out : เลือก Off (กดปุ่ม DIG. OUT บนรีโมท > เลือก Digital Out : Off)
11 – Display : เลือก Off (กดปุ่ม DIMMER บนรีโมท จนกว่าจอดับ)

ปรับตั้งที่แอพฯ HEOS

1 – เข้าไปปรับหัวข้อ “Qualityในแอพ HEOS ไปที่ “High” (Music > Settings > My Device > NA6006 > Quality > High)
2 – เข้าไปปรับหัวข้อ “Line Out Levelในแอพ HEOS ไปที่ “Fixed” (Music > Settings > My Device > NA6006 > Line Out Level > Off)

สำหรับวงจร Filter ที่ NA6006 ให้มาเลือกใช้ระหว่าง Filter 1 กับ Filter 2 ทาง Marantz อธิบายไว้ว่า ตัว Filter 1 ที่ให้มาเป็นค่าเริ่มต้น (default) จากโรงงานนั้น เป็นฟิลเตอร์ที่ดีในอุดมคติ คือใช้แล้วเกิดการประเพื่อมของสัญญาณทั้งในส่วนของ pre-echo และ post-echo น้อยที่สุด พูดง่ายๆ คือให้เสียงที่ตรงไปตรงมาตามต้นฉบับสัญญาณมากที่สุด ส่วนฟิลเตอร์ตัวที่สองชื่อว่า asymmetrical impulse response ซึ่งจะให้ post-echo ที่ยืดยาวออกไปมากกว่า pre-echo นิดหน่อย ทำให้ได้บุคลิกเสียงที่ทอดยาวคล้ายลักษณะของสัญญาณอะนาลอกมากกว่าฟิลเตอร์แบบแรก แนะนำให้ลองฟังเทียบกันดู ชอบแบบไหนก็เลือกแบบนั้น แม้ว่าแบบแรก (Filter 1) จะให้ความถูกต้องทางทฤษฎีมากกว่า แต่ความผิดเพี้ยนที่ Filter 2 ให้ออกมาก็ไม่ได้มากจนถึงขั้นเลวร้าย อยู่ในระดับ สีสันพอยอมรับได้ (สำหรับคนที่ชอบ) ส่วนผมลองฟังแล้ว ชอบ Filter 1 มากกว่า เพราะมันให้เสียงที่จริงกว่า โฟกัสคมกว่า เฟสแม่นกว่า แต่ก็ขี้ฟ้องมากกว่าด้วย (แต่ผมไม่กลัว!)

หัวข้อ Lock Range ผมเดาว่าน่าจะหมายถึงปริมาณของ buffer ที่ใช้ในขั้นตอนกักสัญญาณก่อนป้อนให้ภาค DAC ซึ่งถ้าใช่ตามที่ผมคาด การตั้งไว้ที่ Narrow จะทำให้เกิดความผิดพลาดทางด้านเวลา (jitter) ต่ำกว่าการตั้งไว้ที่ระดับ Mid หรือ Wide แต่ถ้าระบบลำเลียงสัญญาณทางเน็ทเวิร์คของคุณไม่เปิดกว้างมากพอ มีคอขวดตรงจุดใดจุดหนึ่ง อาจทำให้เกิดอาการสำลักของสัญญาณได้เมื่อเลือกไว้ที่ Narrow ซึ่งหากคุณพบว่ามีอาการเช่นนั้นเกิดขึ้น ก็ให้ลองเปลี่ยนมาตั้งไว้ที่ Mid ถ้ายังไม่หายให้เลือกไว้ที่ Wide เสียงโดยรวมจะน่วมนุ่มลง สปีดของเพลงจะอ่อนยวบลง แต่ปัญหาสำลักจะหายไป

วิธีเลือกเล่นไฟล์เพลงให้กับ NA6006 ผ่านทางแอพฯ HEOS

บนแอพลิเคชั่น HEOS มี source ให้เลือกค้นหาเพลงมาฟังได้จากหลายแหล่ง มาดูวิธีค้นหาเพลงฟังกัน

Marantz pm6006 เสียง ดี ไหม

ที่หน้าต่างชื่อ “Rooms” เลือกไปที่ NA6006 แล้วจิ้มไปที่ “Music” ด้านล่าง (ศรชี้)

Marantz pm6006 เสียง ดี ไหม

Marantz pm6006 เสียง ดี ไหม

ในหน้าต่างที่ชื่อว่า Music มีตัวเลือกให้มากถึง 9 ตัวเลือก ซึ่งทางแอพฯ ใช้ชื่อเรียกตัวเลือกเหล่านี้ว่า “Music Tab”

Tunein = เป็นอินเตอร์เน็ต เรดิโอ ที่ติดตั้งมาให้เป็นมาตรฐานในแอพฯ นี้ สามารถจิ้มเข้าไปเลือกฟังได้จากสถานีวิทยุบนอินเตอร์เน็ตทั่วโลกจำนวนมาก
This iPad = ดึงเพลงที่อยู่ใน iTune มาฟัง
Music Server = ดึงเพลงจากคอมพิวเตอร์ หรือ NAS เข้ามาฟัง
USB Music = ดึงเพลงที่อยู่ใน USB storage ที่เสียบอยู่บน NA6006 ออกมาฟัง
Playlists = ดึงเพลงจาก Playlists ที่เลือกไว้ออกมาฟัง
History = ดึงเพลงจากรายชื่อที่เคยเล่นไปก่อนหน้ากลับมาฟัง
Input = เลือกฟังจากอินพุต Optical ของ NA6006
Favorite = ดึงจากรายชื่อเพลงที่เลือกเป็น Favorite เอาไว้
Marantz NA6006 = เลือกฟังจากอุปกรณ์ตัวอื่นที่รองรับ HEOS และเชื่อมต่ออยู่ในเน็ทเวิร์คเดียวกัน

วิธีเลือกไฟล์เพลงจาก Music Server

Marantz pm6006 เสียง ดี ไหม

Marantz pm6006 เสียง ดี ไหม

Marantz pm6006 เสียง ดี ไหม

Marantz pm6006 เสียง ดี ไหม

Marantz pm6006 เสียง ดี ไหม

แอพลิเคชั่น HEOS ออกแบบมาตามมาตรฐาน UPnP AV (DLNA) จึงมีความยืดหยุ่นสูง โดยเฉพาะความสามารถในการเชื่อมต่อกับแหล่งเก็บไฟล์เพลง (music server) ที่ใช้มาตรฐาน UPnP AV ทุกชนิดที่บนเน็ทเวิร์คเดียวกัน ประจักษ์พยานมาจากการทดสอบด้วยการลงโปรแกรม Asset UPnP (DLNA) ไปบนคอมพิวเตอร์ Mac mini ของผมที่อยู่ในวงเน็ทเวิร์คเดียวกับ NA6006 เพื่อให้แอพฯ HEOS ดึงไฟล์เพลงใน USB storage ที่ผมเสียบอยู่ที่ช่อง USB ของ Mac mini ไปเล่นกับ NA6006 ซึ่งพิสูจน์แล้วว่า ได้ผลที่ดี แอพฯ HEOS สามารถดึงไฟล์เพลงที่อยู่ใน USB storage บน Mac mini ไปเล่นได้อย่างราบรื่น ทั้ง PCM และ DSD

คุณภาพเสียงที่ออกมาจากการใช้อินพุต Music Servers อยู่ในเกณฑ์ที่ดีมาก โดยเฉพาะเมื่อเล่นไฟล์ไฮเรซฯ ทั้ง PCM และ DSD มันให้เสียงที่ลอย เปิดโปร่ง รายละเอียดดี ไดนามิกสวิงได้เต็มที่โดยไม่มีอาการอั้น ตอบสนองทรานเชี้ยนต์ได้ฉับไวและพั้นชี่ เนื้อเสียงแน่นพอประมาณ ที่โดดเด่นที่สุดก็คงจะเป็นความสดของเสียงที่ให้ความรู้สึกมีชีวิตชีวา ฟังสนุก ไม่มีอาการอืด หน่วง ทุกเสียงตอบสนองได้ฉับไว น่าฟัง ติดตามไปกับอารมณ์ของเพลงได้อย่างใกล้ชิด

ลงทะเบียนสำหรับการใช้งาน TIDAL, Spotify ฯลฯ

ผมลืมบอกไปว่า ครั้งแรกที่เปิดแอพฯ HEOS ขึ้นมาหลังจากดาวน์โหลดมาลงบน iPad mini 2 แล้ว ที่หน้าต่าง Music ของแอพ HEOS จะยังไม่มี Tab ที่เป็นชื่อของผู้ให้บริการเช่าฟังบนอินเตอร์เน็ตอยู่ในนั้นเลย ไม่ว่าจะเป็น TIDAL หรือ Spotify วิธีเพิ่มรายชื่อผู้ให้บริการเหล่านั้นเข้ามาใน Tab ที่หน้าต่าง Music นี้ ต้องมีขั้นตอนปฏิบัติอีก 3-4 ขั้นตอน ดังนี้

Marantz pm6006 เสียง ดี ไหม

ที่หน้าต่าง Music จิ้มลงไปที่รูปเฟือง ที่มุมซ้ายบน (ศรชี้)

Marantz pm6006 เสียง ดี ไหม

หน้าต่างจะเปลี่ยนไปเป็น “Settings” ซึ่งในนั้นมีหัวข้อให้เลือกทั้งหมด 7 หัวข้อ ให้จิ้มเลือกไปที่ “Music Source”

Marantz pm6006 เสียง ดี ไหม

ที่หน้าต่าง “Music Source” มีตัวเลือกอยู่ 5 ตัวเลือก ให้จิ้มไปที่ “Online Music”

Marantz pm6006 เสียง ดี ไหม

ที่หน้าต่าง “Online Music” มีชื่อผู้ให้บริการอยู่ 5 แบรนด์ ต้องการฟังจากแบรนด์ไหนก็จิ้มไปที่คำว่า “sign in” ที่อยู่ด้านหลังของแบรนด์นั้นๆ สมมุติว่าเลือกลงทะเบียน TIDAL

Marantz pm6006 เสียง ดี ไหม

มาถึงหน้าต่าง “TIDAL Setup” ถ้าคุณมี account ของ TIDAL อยู่แล้วก็จิ้มที่หัวข้อ “I have a TIDAL Account” เลย (ศรชี้)

Marantz pm6006 เสียง ดี ไหม

กรอก user name กับ password ลงไปในสองช่องนี้ เป็นอันเสร็จ ส่วนผู้ให้บริการเจ้าอื่นๆ ถ้าต้องการเปิดใช้งานก็ให้เข้าไปทำคล้ายๆ กัน

Marantz pm6006 เสียง ดี ไหม

เมื่อกลับมาที่หน้า Music (จิ้มที่รูปตัวโน๊ตด้านล่าง) จะเห็นว่า ในหน้านี้มี Music Tab ของ TIDAL เพิ่มขึ้นมาตามที่เราเข้าไปลงทะเบียนไว้ ต้องการฟังเพลงจากเจ้าไหนก็จิ้มลงไปที่ Tab ของเจ้านั้นได้เลย ในที่นี้สมมุติเลือกฟังจาก TIDAL

Marantz pm6006 เสียง ดี ไหม

Marantz pm6006 เสียง ดี ไหม

Marantz pm6006 เสียง ดี ไหม

Marantz pm6006 เสียง ดี ไหม

Marantz pm6006 เสียง ดี ไหม

Marantz pm6006 เสียง ดี ไหม

Marantz pm6006 เสียง ดี ไหม

ถ้าต้องการทราบว่าไฟล์เพลงที่กำลังเล่นให้เราฟังมีสเปคฯ เป็นอย่างไร.? ให้จิ้มที่เครื่องหมายคำถามในวงกลมที่อยู่ตรงมุมซ้ายบนของหน้าต่าง “Now Playing” (NA6006 ไม่มีดีโค๊ดเดอร์ MQA) ซึ่งเสียงที่ได้จากการลองฟังจาก TIDAL และ Spotify ผมพบว่ามันจะแตกต่างกันไปตามคุณภาพของไฟล์เพลงแต่ละอัลบั้ม โดยเฉลี่ยก็ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดีพอสมควร ใช้เปิดฟังคลอไปตอนนั่งทำงานถือว่าดีเลย ยอมรับได้ แต่ถ้าฟังตอนกลางคืนแบบตั้งอกตั้งใจ ผมจะฟังจากอินพุต USB และ Music Servers โดยให้ NA6006 ดึงไฟล์เพลงที่ผมเก็บไว้บน SSD ผ่านเข้าทางอินพุต USB หรือ Music Servers เป็นหลัก ซึ่งเสียงที่ได้ออกมาอยู่ในเกณฑ์ที่ดีมาก เมื่อเครื่องเบิร์นฯ เข้าที่แล้ว (ใช้เวลาเผาไปประมาณ 120 ชั่วโมงก่อนตั้งใจฟังเก็บรายละเอียดจริงจัง) ผมพบว่า เสียงของ NA6006 ตอนเล่นไฟล์ไฮเรซฯ ทั้งตระกูล PCM และ DSD ออกมาดีมาก รายละเอียดระยิบระยับ โฟกัสเสียงแม่นยำมาก ไดนามิกสวิงได้เต็มจริงๆ ฟังแล้วสนุก ไม่ง่วงนอนเลย เสียงโดยรวมออกแนวเปิดกระจ่าง สมดุลเสียงดี ไม่รู้สึกขาด ปลายเสียงทอดไปได้ไกล ไม่กุดด้วน ออกมาในแนวเสียงแบบไฮเรซฯ จริงๆ ขึ้นอยู่กับแอมป์+ลำโพงของคุณแล้วล่ะว่าจะไปได้ไกลแค่ไหน เวทีเสียงก็ออกมาดี ถึงแม้ว่าจะเป็นเครื่องเล่นดิจิตัลที่มีราคาแค่ 20K +/- นิดๆ แต่เวทีเสียงไม่แบน มีเลเยอร์ที่ถอยร่นลงไปด้านหลังระนาบลำโพงให้เห็น แม้จะยังไม่ถึงกับลึกลงไปได้สุดถึงก้นบึ้งอย่างที่ดิจิตัล เพลเยอร์ระดับไฮเอ็นด์ทำได้ แต่สิ่งที่มาทดแทนได้อย่างสาสมก็คือ รายละเอียดที่กระจ่างพร่างพรายตลอดย่านตั้งแต่ทุ้มขึ้นไปถึงแหลมสุดๆ เป็นอะไรที่สดใสซาบซ่ามากๆ !!

ในการทดสอบครั้งนี้ ผมใช้วิธีเชื่อมต่อเน็ทเวิร์คเข้ากับตัว NA6006 ด้วยสาย LAN (wired connection) ซึ่งให้ความเสถียรในการเชื่อมต่อสูงกว่าทางเสา Wi-Fi และเสียงที่ได้ก็นิ่งและเข้มข้นกว่าด้วย

สรุป

สำหรับคนที่บ้านยังไม่มีระบบโฮมเน็ทเวิร์ค คุณสามารถใช้ NA6006 เล่นไฟล์เพลงได้ 3 หนทาง คือ (1) – เล่นไฟล์เพลงจาก USB storage ทางช่องอินพุต USB (2) – เล่นไฟล์เพลงจากสมาร์ทโฟน หรือ Digital Audio Player แล้วส่งมาผ่านภาค DAC ในตัว NA6006 โดยส่งเข้าทางอินพุต Bluetooth และ (3) เล่นแผ่นซีดี บนเครื่องเล่นซีดี, เครื่องเล่นดีวีดี หรือเครื่องเล่นบลูเรย์ แล้วส่งสัญญาณดิจิตัล PCM มาใช้ภาค DAC ในตัว NA6006 ทางช่องอินพุต Optical ซึ่งช่องทางการเล่นไฟล์เพลงทางอินพุต USB นั้นสามารถรองรับสัญญาณ PCM และ DSD ได้ถึงระดับสูงสุดเท่าที่ NA6006 สามารถรรับได้ ซึ่งถือว่าเป็นคุณสมบัติเด่นของเน็ทเวิร์ค ออดิโอ เพลเยอร์ของ Marantz ตัวนี้! (แนะนำให้หา SSD มาสักตัว ไว้ใส่ไฟล์เพลงแล้วเล่นทางอินพุต USB แล้วสวรรค์จะมาอยู่แทบเท้าคุณ.. บอกเลย!)

แต่ถ้าบ้านคุณมีโฮมเน็ทเวิร์ค คุณจะได้อรรถประโยชน์จาก NA6006 แบบล้นเหลือ โดยเฉพาะการสตรีมไฟล์เพลงจากผู้ให้บริการทางอินเตอร์เน็ตหลากหลายเจ้า รวมถึงเลือกฟังเพลงจาก Internat Radio ได้ฟรีจากสถานีวิทยุบนอินเตอร์เน็ตที่มีให้เลือกฟังมากมายมหาศาลจากทั่วโลก ทั้งหมดนี้ ด้วยคุณภาพเสียงที่ดีเยี่ยมตามมาตรฐาน