วิจัย พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์

กาญจนา หาญศรีวรพงศ์ และพระมหามิตร ฐิตปญฺโญ. (2562). สมาธิกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตมนุษย์. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น. ปีที่ 19 ฉบับที่ 1 (มกราคม–มีนาคม 2562). กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ์.

ฐิติวัสส์ สุขป้อม, ณัฏฐกรณ์ ปะพาน, สันทนา วิจิตรเนาวรัตน์, ปิยาภรณ์ เตชะเรืองรอง และอุดม ตะหน่อง. (2562). สมาธิกับจิตวิญญาณความเป็นครู. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ปีที่14 ฉบับที่ 1 (มกราคม–มิถุนายน 2562). กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

ราชกิจจานุเบกษา. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 เล่ม 116 ตอนที่ 74 ก

รศ.ดร.สมพร กันทรดุษฎี - เตรียมชัยศรี. (2561). การปฏิบัติสมาธิ เพื่อการเยียวยาสุขภาพ. จัดพิมพ์โดยกองการแพทย์ทางเลือกกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข.

ศุภกฤษ ไชยศร. (2564) การเรียนรู้โดยใช้สมาธิเป็นฐาน(Concentration - Based Learnin). โรงเรียนไทยรัฐวิทยา95 (วัดโพธิ์ทองบน).

สุภาพรรณ เพิ่มพูน, อนุชา โสภาคย์วิจิตร์ และณฐภัทร อ่าพันธุ์. (2563). การฝึกสมาธิแนวพุทธเชิงสร้างสรรค์ในชีวิตประจำวันสำหรับเยาวชนไทย. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ปีที่ 16 ฉบับที่ 1 มกราคม–เมษายน 2563.

วิจัย พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์

Downloads

  • PDF

เผยแพร่เมื่อ

30-09-2021

How to Cite

บริบูรณ์ ส. (2021). สมาธิ: กับการแก้วิกฤตพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียน. วารสารวิจัยศรีล้านช้าง, 1(2), 35-50. https://ojs.mbuslc.ac.th/index.php/srj/article/view/45

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อแสดงให้เห็นสภาพเกี่ยวกับปัจจัย และสภาพเกี่ยวกับพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียนกลุ่มเสี่ยง (2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยต่างๆที่มีผลต่อพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียนกลุ่มเสี่ยง และ (3) เพื่อได้แนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาพฤติกรรมไม่พึงประสงค์นักเรียน การวิจัยครั้งนี้เป็นการพัฒนาแนวทางการป้องกันพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จากระบบช่วยเหลือนักเรียนโดยในขั้นแรกเป็นการค้นคว้าวิจัยทางแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมีเนื้อหาดังนี้ ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับพฤติกรรมพัฒนาการและพฤติกรรมวัยรุ่นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมนักเรียนวัยรุ่นลักษณะและการก่อกำเนิดพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ และการป้องกันพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ ขั้นต่อมาเป็นการศึกษาปัจจัยที่ทำให้เกิดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ วิเคราะห์ด้วย Multiple Regression Analysis โดยกลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนที่ไม่ผ่านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในโรงเรียนสามเสนวิทยาลัย โรงเรียนสตรีวิทยา 2 โรงเรียนนวมินทราชินูทิศสตรีวิทยา 2 จำนวน 400 คน วิเคราะห์ได้ว่าปัจจัยเกี่ยวกับตัวเองครอบครัว เพื่อน โรงเรียน ชุมชน และสื่อมวลชนมีผลต่อพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียน เมื่อได้ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ผนวกกับการค้นคว้าวิจัยทางแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จึงกลายมาเป็นแนวทางการป้องกันพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียน โดยแนวทางการป้องกันมีอยู่ด้วยกันสองส่วนคือทางโรงเรียน และทางครอบครัว โดยภารกิจหลักของโรงเรียน กำกับดูแลในเรื่องปัจจัยด้านเพื่อน ปัจจัยด้านสื่อ และปัจจัยด้านโรงเรียน ภารกิจหลักของครอบครัวกำกับดูแลในเรื่องปัจจัยด้านตนเอง ปัจจัยด้านชุมชน ปัจจัยด้านครอบครัว ปัจจัยด้านเพื่อน และปัจจัยด้านสื่อ หากจะให้แนวทางการป้องกันดำเนินไปได้ด้วยดีควรที่จะอาศัยความร่วมมือจากทั้งสองฝ่ายอย่างใกล้ชิดโดยการถ่ายทอด หรือแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกัน

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตเทศบาลนางรอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์เขต 3 2) เปรียบเทียบปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตเทศบาลนางรอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์เขต 3 โดยจำแนกตามเพศอาชีพของผู้ปกครอง ลักษณะการอบรมเลี้ยงดูของบิดา/มารดา/ผู้ปกครองประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่4-6 ปีการศึกษา2551 โรงเรียนในเขตเทศบาลเมืองนางรอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์เขต 3 ได้แก่ โรงเรียนนางรอง และโรงเรียนทีโอเอวิทยา (เทศบาล1)จำนวน 1,512คน กลุ่มตัวอย่างได้แก่นักเรียน 310 คนโดยทำการสุ่มตามลำดับชั้นอย่างมีสัดส่วน(Proportional Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยซึ่งเป็นแบบสอบถามประกอบด้วย แบบตรวจสอบรายการ (Checklist) แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale)และแบบคำถามปลายเปิด (Open From) แบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่น .9760 สถิติที่ใช้ในการวิจัยข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมุติมาตรฐาน independe Samples t- test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way ANOVA).ในการเปรียบเทียบรายคู่ในแต่ละด้าน ใช้วิธีการของเชฟเฟ (sehefee‘Method) โดยกำหนดค่าสถิติที่ระดับนัยสำคัญ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1. เมื่อนำรายการปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของกลุ่มตัวอย่างมาให้กลุ่มตัวอย่างได้ให้น้ำหนักจากส่งผลพฤติกรรมน้อยที่สุดไปถึงมากที่สุด ผู้วิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างให้น้ำหนักโดยเฉลี่ยของทุกปัจจัยในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ เรียงลำดับจากมากที่สุดไปยังน้อยที่สุด คือด้านลักษณะการบริโภคสื่อ(โทรทัศน์ โทรศัพท์มือถือ อินเทอร์เน็ต วิทยุ ภาพยนตร์ นิตยสาร ฯลฯ)ด้านลักษณะการอบรมเลี้ยงดูของบิดา/มารดา/ผู้ปกครองของนักเรียน และด้านลักษณะกฎระเบียบของโรงเรียนและครู 2.ผลการเปรียบเทียบปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตเทศบาลเมืองนางรองสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์เขต 3พบว่านักเรียนที่มีเพศต่างกันให้น้ำหนักปัจจัยพฤติกรรมที่ส่งผลแตกต่างกัน โดยความแตกต่างมีนัยระดับสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อวิเคราะห์จากตัวแปรด้านอาชีพลักษณะการอบรมเลี้ยงดูบิดา/มารดา/ผู้ปกครอง ผู้วิจัยไม่พบความแตกต่างทางสถิติในการให้น้ำหนักปัจจัย ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ 3.กลุ่มตัวอย่างให้ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติมว่า การทะเลาะเบาะแว้งกันในครอบครัว การเรียนแบบพฤติกรรมและค่านิยมต่างๆ จากเพื่อน การเลียนแบบจากดารนักแสดงภาพยนตร์ โทรทัศน์ การลงโทษของครูทำให้อายเพื่อน มีต่อพฟติกรรมที่ไม่พึงประสงค์มากที่สุด สำหรับข้อเสนอแนะในการป้องกันและก้ไขปัญหาพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ มากที่สุด3ลำดับแรกคือ ครูควรให้ความรักและความเอาใจใส่ต่อนักเรียนให้มากขึ้น ผู้ปกครองควรเอาใจใส่ ให้คำปรึกษาสร้างความสนิทสนมภายในครอบครัว และครูควรจัดให้มีการทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกันเพื่อหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ เช่นจัดเข้าค่ายการอบรมพัฒาคุณะรรม