การร่วมกิจกรรมกับเพื่อนบ้าน

การมีเพื่อนบ้านที่ดี นับว่าเป็นสิ่งที่จะช่วยคุณได้ในหลายๆ เรื่อง ถ้าคุณอยากมีเพื่อนบ้านที่ดี คุณก็ต้องเริ่มต้นที่ตัวคุณเองก่อน ใช้เทคนิคเหล่านี้เพื่อสร้างมิตรรอบบ้าน  

1. เพื่อนบ้านที่ดี มีของฝากให้บ้าง  

ไม่ว่าคุณจะเพิ่งย้ายเข้ามาใหม่ หรือไม่ได้ติดต่อกับเพื่อนบ้านนานแล้ว การนำเบเกอรี่ที่คุณเพิ่งอบเสร็จใหม่ๆ ไม่ว่าจะ คุกกี้ เค้ก พาย ก็เป็นวิธีที่ดีในการเริ่มต้นความสัมพันธ์ที่ดี และให้เพื่อนบ้านรู้ว่าคุณนึกถึงพวกเขาอยู่เสมอ

หรือถ้าคุณไม่ทำเบเกอรี่ คุณอาจทำอาหาร หรือซื้อของฝากจากร้านเด็ด เล็กๆ น้อยๆ ให้แก่เพื่อนบ้านบ้างในบางโอกาส อย่างน้อย การส่งของกินให้เพื่อนบ้านก็ทำให้พวกเขาจดจำคุณได้ และพร้อมช่วยเหลือคุณ

2. เพื่อนบ้านที่ดี ไม่นินทา

ถ้าเพื่อนบ้านของคุณดูเหมือนจะพูดถึงแต่เรื่องแย่ๆ ของคนในซอย ก็มั่นใจได้ว่าเขาก็จับตาดูเรื่องของคุณอยู่เช่นกัน

ถ้าครั้งต่อไป คุณป้าเพื่อนบ้านจอมเม้าส์ของคุณ เริ่มต้นจะนินทาใครต่อใคร ให้คุณฟังอีก คุณก็พยายามเปลี่ยนหัวข้อสนทนาให้โฟกัสที่ตัวของคุณป้าเอง อย่างเช่น “ปีนี้ คุณป้า ปลูกต้นไม้อะไรใหม่ๆ บ้างมั้ย”

คุณไม่ใช่เด็กมัธยมอีกแล้ว ดังนั้น เคารพความเป็นส่วนตัวของเพื่อนบ้าน รักษาความสัมพันธ์ที่ดี และหลีกเลี่ยงการนินทาผู้อื่นดีที่สุด

การร่วมกิจกรรมกับเพื่อนบ้าน

3. เพื่อนบ้านที่ดี แลกเปลี่ยนเบอร์โทรศัพท์

ในยุคสมัยที่เราเชื่อมต่อกันมากขึ้นนี้ คุณควรจะตั้งคำถามว่าทำไมคุณไม่มีเบอร์โทรศัพท์ของเพื่อนบ้านคุณ ยังไงซะ ในสถานการณ์บางอย่างคุณก็จะได้ติดต่อกันง่ายขึ้น เช่นถ้าเกิดพัสดุส่งผิดไปที่บ้านของเพื่อนบ้าน หรือน้ำท่วมบ้านคุณในช่วงที่คุณออกไปเที่ยว หรือถ้าคุณไม่อยู่บ้าน ตอนที่พัสดุสำคัญมาส่ง เพื่อนบ้านก็ช่วยเหลือคุณได้

แต่ถ้าคุณลำบากใจที่จู่ๆ จะเดินไปพูดถึงการแลกเปลี่ยนเบอร์โทรศัพท์ คุณอาจจะถามพวกเขาระหว่างที่คุณให้ขนมพวกเขา (จำข้อที่ 1 ได้ใช่ไหม) หรือคุณอาจจะให้ ชื่อ เบอร์โทร อีเมล์ เอาไว้ในกระดาษตอนที่ยื่นของฝากให้ และถามพวกเขาว่าสะดวกใจที่จะให้ข้อมูลติดต่อของพวกเขากับคุณหรือเปล่า

4. เพื่อนบ้านที่ดี “ให้” ความช่วยเหลือ ก่อน “ขอ”ความช่วยเหลือ

เพื่อนบ้านบางคนแม้จะบอกว่า “ถ้ามีอะไรให้ช่วยก็บอกได้” อาจไม่ได้จะช่วยคุณ เมื่อคุณต้องการจริงๆ ดังนั้น คุณในฐานะเพื่อนบ้านที่ดี ควรเสนอการช่วยเหลืออย่างจริงใจ

ทำมากกว่าแค่ชวนคุยเป็นมารยาท คุณสามารถคาดเดาว่าเพื่อนบ้านของคุณต้องการความช่วยเหลือด้านไหน และเสนอความช่วยเหลือก่อน เช่น ถ้าเพื่อนบ้านคุณดูตะกุกตะกักในการตัดหญ้า คุณอาจแนะนำเทคนิคแก่พวกเขา เป็นต้น

5. เพื่อนบ้านที่ดี รักษาความสะอาด

แม้ว่าคุณจะไม่ใช่คนที่แคร์เรื่องความสวยงาม แต่ได้โปรดมองเรื่องนี้อย่างละเอียดอ่อนสำหรับผู้อื่น บางครั้งหญ้าที่ขึ้นสูงเป็นทุ่งหญ้าสะวันนา หรือถังขยะที่ล้นจนแมลงวันตอมก็ทำให้สภาพแวดล้อมของละแวกบ้านดูไม่ดีไปทั้งหมดด้วย

ดังนั้น พยายามตัดหญ้าให้เรียบ ไม่ปล่อยให้พุ้มไม้ กิ่งไม้ เลื้อยโตไปรบกวนบ้านอื่นๆ เก็บถังขยะให้มิดชิด และดูแลการตกแต่งหน้าบ้านให้ดี ถ้าเป็นไปได้ คุณอาจจะฉีดล้างหน้าบ้าน หรือทาสีบ้านใหม่บ้าง เมื่อสีเก่าจนดูไม่ได้แล้ว

การร่วมกิจกรรมกับเพื่อนบ้าน

6. เพื่อนบ้านที่ดี มีความเกรงใจ

การเอาใจเขามาใส่ใจเรา เป็นวิธีปฏิบัติที่สร้างมิตรได้เป็นอย่างดีเยี่ยม  

ปัญหาหลักๆ ของเพื่อนบ้านที่พบบ่อยๆ หนีไม่พ้น เสียงดัง สัตว์เลี้ยง ที่จอดรถ การเป็นเพื่อนบ้านที่ดีทำได้ง่ายๆ เพียงมองปัญหาในมุมของเพื่อนบ้านและไม่รบกวนเพื่อนบ้านมากเกินไป

ทั้งการไม่ส่งเสียงดังรบกวนเพื่อนบ้านในยามวิกาล โดยเฉพาะบ้านที่ต้องใช้กำแพงร่วมกันอย่าง คอนโด ตึกแถว หรือ ทาวน์เฮ้าส์ และควบคุมสัตว์เลี้ยง เช่น เก็บอุจจาระของสัตว์เลี้ยงเมื่อถ่ายนอกบ้านทุกครั้ง รวมไปถึงไม่จอดรถขวางหน้าบ้านคนอื่น   

7. เพื่อนบ้านที่ดี รู้จักที่จะสื่อสาร

การพูดคุยถึงแนวทางในการรักษาของที่ต้องดูแลร่วมกัน ตั้งแต่เนิ่นๆ ช่วยลดปัญหาที่จะเกิดขึ้นกับเพื่อนบ้านในระยะยาวได้ ไม่ว่าจะกำแพงรั้ว ท่อระบายน้ำ หรือต้นไม้ที่ปลูกไว้ใกล้กัน   

ถ้าคุณเห็นปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต หรือปัญหาที่มีอยู่ปัจจุบัน ลองพูดคุยกับเพื่อนบ้านของคุณถึงทางแก้ที่ทั้งสองฝ่ายสามารถเห็นพ้องกันได้   

          การสร้างความสัมพันธ์ในที่ทำงานเป็นสิ่งสำคัญสำหรับความสำเร็จในอาชีพ ความสัมพันธ์อาจส่งผลในทางบวกหรือทางลบต่อความพึงพอใจในงาน ความสามารถในการก้าวไปข้างหน้าและรับการยอมรับ เมื่อสร้างความสัมพันธ์เชิงบวกจะรู้สึกสบายใจกับการพูดคุยเจรจาต่อรอง และลดการกระทบกระทั่งกันในการทำงานกับผู้อื่นน้อยลง 

1.กล้าแสดงความคิดเห็นในที่ประชุม
แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความรู้และประสบการณ์ด้วยบุคลิกภาพที่ดีในการประชุม หากกลัวที่จะแสดงความคิดเห็นในการประชุมให้เตรียมพร้อมมากขึ้น

2.พูดในเชิงบวกเกี่ยวกับคนที่คุณทำงานด้วย
ฝึกพูดเชิงบวกให้เป็นนิสัยกับผู้อื่นและให้พูดเกี่ยวกับคนที่ทำงาน ในด้านที่ดี 

3.พัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลของคุณด้วยการสนับสนุนงานของคนอื่น
การมีทัศนคติที่ดีต่อทีม ช่วยเหลือให้บรรลุเป้าหมาย 

4.ขอให้ผู้อื่นมีส่วนร่วมในโครงการหรือกิจกรรมของคุณ
อย่ากลัวที่จะขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นและทำงานร่วมกัน

5.เขียนคำขอบคุณ
เขียนคำขอบคุณ  ไม่ว่าเกี่ยวกับงาน หน้าที่ หรือคนที่คอยช่วยเหลือไม่ว่าในด้านใด ทุกคนจะรู้สึกดีกับการได้รับคำชื่นชม

6.เริ่มบทสนทนาด้วยคำถาม
การถามคำถามเป็นวิธีที่ดี และให้คู่สนทนาพูดสิ่งที่เขาตอบ  สามารถแสดงความคิดเห็นและพูดคุยตอบโต้ ช่วยสร้างความสัมพันธ์ได้เป็นอย่างดี

7.การมีปฎิสัมพันธ์ต่อกันเรื่อยๆ
การมีปฎิสัมพันธ์กันอย่างต่อเนื่อง จะทำให้มีความสัมพันธ์ที่สนิทกันมากขึ้น

8.เข้าร่วมกิจกรรมที่มีกับผู้อื่น แม้ไม่เกี่ยวข้องกับงานก็ตาม
อาจพบความสนใจ ความชอบที่เหมือนกัน ซึ่งสิ่งนี่สามารถส่งผลต่อความสัมพันธ์เป็นอย่างมาก 

9.แบ่งปันข้อมูล
ข้อมูลที่แบ่งปันอาจเกี่ยวข้องโดยตรงกับงาน หรืออาจเป็นเรื่องที่ชอบ และเป็นประโยชน์

10.แนะนำตัวเองในงานกิจกรรมต่างๆ
แนะนำตัวกับเพื่อร่วมงาน ในกิจกรรมทางสังคมต่าง ๆ หรือกิจกรรมที่บริษัทจัด เพื่อมีส่วนร่วมกับผู้อื่น

ที่มา FDI Recruit