ปัญหาสังคมผู้สูงอายุ ผลกระทบ

เห็นรัฐบาลนี้จะได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์ในอีก 20 ปี ข้างหน้านี้แล้ว ก็อยากจะร่วมแสดงความคิดเห็นด้วย

 ซึ่งเป็นปัจจัยท้าทายที่เกิดขึ้นกับประเทศ และกำลังเป็นแนวโน้มของประเทศอื่นๆ ทั่วโลก คือ การก้าวเข้าเป็นสังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบ หมายถึงการที่สัดส่วนของประชากรผู้สูงอายุ (60ปี+) คิดเป็น 20% ของประชากรรวม ซึ่งจากการคาดการณ์ของสภาพัฒน์และหน่วยงานอื่นๆ ทั้งภายในประเทศและองค์กรระหว่างประเทศพบว่าในอีกเพียง 3 ปีข้างหน้านี้ คือในปี 2563 นี้ประเทศไทยจะมีประชากรสูงวัย จำนวน 12.6 ล้านคนจากจำนวนประชาชนรวม 66.0 ล้านคน และคิดเป็น 19.1% ของประชากรรวม ในขณะเดียวกัน จำนวนประชกรในวัยเริ่มเข้าทำงาน (15-19 ปี) และ 20-24 ปี จะมีจำนวนน้อยกว่าประชากรวัยที่จะออกจากวัยแรงงาน (รุ่น 50-54 ปี และ 55-59 ปี)

ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างรวดเร็ว เมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน ที่เป็นรองแต่เพียงประเทศสิงคโปร์ สิ่งท้าทายของการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรดังกล่าว จะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยก็คือ (1) การลดลงของจำนวนประชากรโดยรวม ที่จากข้อมูลของสหประชาชาติได้มีประมาณการณ์ คาดการณ์ว่าจำนวนประชากรของไทยจะลดลงจาก 67.2 ล้านคนในปี 2557 เป็น 67.6 ล้านคนในปี 2573 และ 61.7 ล้านคนในปี 2593 ตามลำดับ และ (2) สัดส่วนของประชากรในวัยแรงงาน ที่จะเป็นกำลังสำคัญในการผลิต และผลักดันการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ จะเริ่มลดลง

จากการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างประชากรข้างต้นจึงเป็นโจทย์ว่า หากจะขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้ขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องแล้ว เราจะต้องเตรียมการรองรับต่อปัญหาแรงงานที่มีแนวโน้มลดลงนี้อย่างไร เพราะในปัจจุบันก็มีความชัดเจนว่า ประเทศไทยต้องพึ่งพาแรงงานต่างด้าวจากประเทศเพื่อนบ้านที่ถูกกฏหมาย และแรงงานลักลอบเข้ามาจำนวนนับหลายล้านคน และในหลายๆ ประเภท ตัวอย่างเช่นแรงงานทำงานในบ้านที่พึ่งพาแรงงานจาก ลาวและพม่า และประมง เป็นต้น ที่จังหวัดตามชายฝั่งทะเลไม่ว่าจะเป็นสมุทรสาคร สมุทรสงคราม ซึ่งเราจะพึ่งพาแรงงานต่างด้าวนี้ไปได้อีกนานเท่าไร และการมีแรงงานต่างด้าวจำนวนมากๆ ก็ทำให้เกิดปัญหาทางสังคมอื่นๆ ตามมา เช่นการเกิดของบุตรหลานแรงงานต่างด้าว โรคภัยหลายประเภทที่มากับแรงงานแรงงาน หรือภาระการดูแลรักษาพยาบาลแรงงานต่างด้าวเหล่านี้

ปัญหาที่ท้าทายที่สำคัญยิ่งของการเป็นสังคมผู้สูงอายุ คือ จะทำให้ผู้สูงอายุมีชีวิตที่มีคุณภาพที่ดีได้อย่างไร? เพราะผลการสำรวจไม่ว่าจะเป็นการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติและอื่นๆ พบว่า ผู้สูงอายุมากกว่า 80%  มีเงินไม่เพียงพอต่อการเลี้ยงชีพในวัยหลังเกษียณ แหล่งรายได้ที่สำคัญของผู้สูงอายุคือ การเกื้อหนุนทางการเงินจากบุตรซึ่งก็มีแนวโน้มลดลงด้วยเช่นกัน คือลดลงจาก 54.1% ของรายได้รวมในปี 2537 ลงเหลือเพียง 40.1% ในปี 2554 อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจและสังคมที่เดิมประเทศไทยเป็นครอบครัวขยายที่อยู่ร่วมกัน อันประกอบด้วย รุ่นปู่/ย่า ตายาย พ่อแม่ ลูกหลานที่มีการพึ่งพาอาศัยกันทางเศรษฐกิจที่พ่อแม่เลี้ยงลูก และเมื่อสูงวัย ลูกที่ทำงานก็เลี้ยงพ่อแม่สืบต่อกันมา ก็จะเปลี่ยนแปลงไป เพราะครอบครัวก็จะมีขนาดเล็กลงที่ครอบครัวจะแยกไปอยู่กันเป็นพ่อแม่ ลูก และมีการไปมาหาสู่พ่อแม่เป็นครั้งคราว ดังนั้นการหวังพึ่งพาทางการเงินจากลูกหลานจึงลดน้อยลง

โจทย์จึงอยู่ที่ว่าจะทำให้ผู้สูงอายุมีรายได้เพียงพอสำหรับดูแลตัวเองได้อย่างไร เป็นสิ่งที่ยากมากที่ในปัจจุบันรัฐบาลได้ให้ความช่วยเหลือในรูปของเบี้ยยังชีพรายเดือนสำหรับผู้สูงอายุ ซึ่งหากจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นภาระเงินค่าเบี้ยยังชีพจะพลอยสูงขึ้นตามไปด้วย ภาระสำคัญอีกประการอีกประการคือ ค่ารักษาพยาบาลที่ผู้สูงอายุจะสูงขึ้นตามวัยที่มากขึ้น และค่ารักษาพยาบาลที่ปรับสูงขึ้น ภาระค่าใช้จ่ายส่วนนี้จะเป็นเพิ่มขึ้นและจะมีผลกระทบต่องบประมาณของรัฐบาลที่จะต้องวางแผนรองรับ

การจะทำอย่างไรให้ผู้สูงวัยหรือผู้เกษียณ จากการทำงานประจำให้มีรายได้ที่เพียงพอ คือการเตรียมความพร้อมทางการเงินของผู้สูงอายุ ที่จะต้องมีการออมสำหรับไว้ใช้ในยามเกษียณ ที่จะต้องเริ่มต้นเสียแต่เนิ่นๆ นับตั้งแต่เริ่มเข้าทำงาน ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องง่ายด้วยเช่นกันเพราะจะมีแรงงานส่วนหนึ่งที่จะแย้งว่าจะให้มีเงินออมได้อย่างไร แค่จะให้มีรายได้พอใช้เดือนชนเดือนก็ยากอยู่แล้ว ในเรื่องนี้ต้องมีวินัยทางการเงินอย่างเคร่งครัด ที่เมื่อมีรายได้จะต้องหักเงินไว้ส่วนหนึ่งไว้ก่อนก่อนแล้วค่อยใช้จ่าย ไม่ใช่การใช้จ่ายเหลือเงินเหลือเท่าไรจึงเป็นเงินออม และเมื่อมีเงินออมแล้วก็ต้องหาวิธีการทำเงินให้งอกเงินเพิ่มขึ้นด้วยการลงทุน

ในปัจจุบันแม้จะมีระบบการออมภาคบังคับ สำหรับข้าราชการที่ผ่านกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และเอกชนที่ผ่านระบบประกันสังคมแล้ว ประชาชนจำนวนอีกเกือบ 30 ล้านคนก็ไม่มีระบบการออมสำหรับเวลาที่เจ็บป่วยหรือเมื่อยามเกษียณ ซึ่งการจัดตั้งกองทุนการออมแห่งชาติก็เป็นจุดเริ่มต้นที่กระตุ้นให้ประชาชนได้มีการออม เพราะจากอดีตที่ผ่านมาจะเป็นการกระตุ้นให้ประชาชนใช้จ่ายๆ ต่างๆ ที่ทำให้สัดส่วนหนี้ของครัวเรือนเพิ่มขึ้น อย่างรวดเร็ว การสร้างหนี้เป็นการนำเอาเงินในอนาคตมาใช้จ่ายในปัจจุบัน มีความสุขกับการบริโภคในปัจจุบัน ในขณะที่การออมคือการยอมอดการใช้จ่ายในปัจจุบันไว้สำหรับอนาคต

คนรุ่นตั้งแต่ Gen Y เป็นต้นไป มีภาระที่จะต้องดูแลพ่อแม่น้อยลง เพราะมีพี่น้องช่วยเหลือ แต่ค่าใช้จ่ายลูกสูงขึ้น และอาจถูกเก็บภาษีสูงขึ้นอีกในอนาคต
  • การรอพึ่งรัฐบาล รอพึ่งลูกหลานอาจจะเป็นความเสี่ยงเกินไป ควรวางแผนเก็บเงินเพื่อให้ตัวเองสามารถเกษียณได้อย่างสุขสบาย

  • รูปบน ของ desktop
    รูปล่าง ของ mobile

    ปัญหาสังคมผู้สูงอายุ ผลกระทบ

    ปัญหาสังคมผู้สูงอายุ ผลกระทบ

    ปัญหาเรื่อง “สังคมผู้สูงอายุ” ในประเทศไทยเรานั้น ดูแล้วน่าเป็นห่วงมากกว่าประเทศอื่น ๆ ในโลกซะอีก เพราะ ณ ปัจจุบันนี้อัตราการเกิดของประเทศเราอยู่ต่ำมากแต่รายได้ของเรายังไม่อยู่ในจุดที่น่าพอใจสักเท่าไหร่เมื่อเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว

    ปัญหาสังคมผู้สูงอายุ ผลกระทบ

    จากกราฟจะเห็นได้ว่าอัตราการเกิดของไทยเรานั้นต่ำเทียบเท่ากับ สวิตเซอร์แลนด์และฟินแลนด์เลย แต่สิ่งที่ต่างกันอย่างชัดเจนเลยคือทั้ง 2 ประเทศนี้เป็นประเทศที่ร่ำรวยติดอันดับท็อปของโลกเลยทีเดียว แต่ประเทศไทยกลับอยู่แถวหลังสุดในมุมของรายได้ต่อประชากร 

    ปกติแล้วประเทศที่ “กำลังพัฒนา” แบบประเทศไทยเราเศรษฐกิจจะเติบโตได้ส่วนใหญ่จะต้องอาศัยคนวัยทำงานหรือที่เราเรียกว่า “แรงงาน” เนี้ยแหละในการผลักดันเศรษฐกิจต่าง ๆ ให้เจริญเติบโต โดยเฉพาะประเทศไทยที่เป็นประเทศที่อิงแรงงานเป็นหลักหรือที่เรียกว่า Labor Intensive (แรงงานเข้มข้น) การที่อัตราการเกิดของไทยต่ำนั้น ยิ่งทำให้ประเทศเสียโอกาสในการเติบโตของประเทศเรามากขึ้น 

    และที่น่ากลัวเลย คือ ในช่วงนี้อัตราการเกิดของประเทศไทยในปัจจุบันที่ลดต่ำลงมาทั้งที่มีมาตรการให้คนมีลูก ซึ่งเป็นอัตราการเกิดที่ต่ำกว่าของประเทศจีนในช่วงที่จีนมีนโยบายลูกคนเดียว เพราะตั้งใจไม่อยากให้คนในประเทศมีลูกเยอะ กลัวคนล้นประเทศ

    ปัญหาสังคมผู้สูงอายุ ผลกระทบ

    นอกจากนั้นประเทศไทยเรายังติดโผหนึ่งในประเทศที่มีแนวโน้มเสี่ยงประชากรลดลง โดยประชากรไทยจะลดลงถึง 34.1% ในปี 2100 อีกด้วย และผลกระทบต่อประเทศนั้นอาจจะไม่ต้องรอนาน เพราะส่งผลกระทบหนักตั้งแต่ช่วงปี 2030 ที่จะถึงนี้เลย ซึ่งประเทศไทยเหลือเวลาไม่มากแล้ว

    และหากอัตราการเกิดต่ำแบบนี้ในระยะยาวนั้น แนวโน้มที่จะเก็บภาษีจากแรงงานต่าง ๆ ได้ก็จะยิ่งมีสัดส่วนที่ลดลงเมื่อเทียบกับสัดส่วนที่ไม่ใช่แรงงานหรือเด็กและผู้สูงอายุนั่นเอง ยิ่งเพิ่มโอกาสที่รัฐบาลเราจะปฏิรูปโครงสร้างภาษีต่าง ๆ ให้เพิ่มขึ้น แรงงานในอนาคตอาจจะโดนภาษีที่เยอะมากขึ้นจากภาระค่าใช้จ่ายที่รัฐต้องใช้ในการดูแลสุขภาพและเป็นเบี้ยเลี้ยงให้ผู้สูงอายุที่มากขึ้นทุกปี รวมถึงตัวแรงงานในไทยเองก็จะถูกบังคับให้ทำงานนานขึ้น การกำหนดวัยเกษียณอายุก็ยิ่งสูงมากขึ้นด้วย

    ปัญหาสังคมผู้สูงอายุ ผลกระทบ

    เด็กแรกเกิดน้อยลงมาก แรงงานขาดแคลน และคนแก่มีมากเกินไป จากกราฟจะเห็นได้ชัดเลยว่าก่อนหน้านี้ประชากรวัยทำงาน (20-59 ปี) เติบโตอย่างมาก ในขณะที่ตั้งแต่ช่วง 1980 เป็นต้นไป จำนวนเด็กเกิดใหม่ลดลงอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งเด็กเกิดใหม่เหล่านี้เองก็คือแรงงานในวันหน้าที่หายไป ส่วนวัยทำงานจำนวนมากในปัจจุบันก็จะค่อย ๆ กลายเป็นผู้สูงอายุ และมีแนวโน้มจะอายุยืนมากขึ้นอีกด้วย ทำให้อัตราส่วนผู้สูงอายุจะสูงขึ้นมากจนเกือบเท่าแรงงานในปัจจุบันเลยทีเดียว

    ถ้าดูตามค่าสถิติกลุ่มคน Gen Y เป็นต้นไปหนีปัญหานี้ไม่พ้นแน่ ๆ นอกจากจะเป็น Sandwich Generation ที่คนสมัยก่อนมีพี่น้องหลายคนช่วยกันดูแลพ่อแม่ ปัจจุบันก็จะมีตัวคนเดียวดูแลพ่อแม่ที่ไม่พร้อมด้านการเงินในเกษียณอายุของตัวเอง ต้องดูแลลูกที่มีแนวโน้มการเติบโตของค่าใช้จ่ายอย่างสูงลิบ แถมยังต้องรับภาระภาษีที่สูงขึ้นตามไปอีกด้วย

    พอเป็นแบบนี้พี่ทุยกลับมองว่าปัญหาเรื่อง “แรงงานต่างด้าว” เราจะอาจจะต้องมองว่าเค้ามาช่วยเพิ่มเติมกับแรงงานที่ไม่เพียงพอของเราซะมากกว่า แล้วยิ่งเวลาผ่านไปสัดส่วนแรงงานต่างด้าวก็จะยิ่งมากขึ้นไปเรื่อย ๆ 

    แต่ถ้ามองในระยะยาวประเทศไทยเราตอนนี้มีปัญหาเชิงโครงสร้างในหลาย ๆ รูปแบบเลยก็ว่าได้นะ ปัญหาอย่างนึงที่สอบตกแทบจะทุกอุตสาหกรรมเลยก็คือการ “เพิ่มมูลค่า” การเพิ่มมูลค่าจะช่วยทำให้เกิดการพัฒนาในตัวสินค้า และทำให้เราเพิ่มราคาขายได้กำไรได้มากกว่าที่เราจะไปสนใจแต่เรื่องของปริมาณเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ถ้าเราเพิ่มราคาขายของเราได้ การพัฒนาสินค้าและบริการก็จะช่วยทำให้เราเข้มแข็งในการแข่งขันในตลาดโลกและทำให้เศรษฐกิจเติบโตได้ด้วยเช่นกัน 

    เรื่องของระบบการศึกษาก็เช่นกันที่ต้องมีปรับปรุงและพัฒนาอย่างเร่งด่วนตั้งแต่วันนี้ เดี๋ยวนี้ นั่นก็เพราะว่าการปรับเปลี่ยนระบบการศึกษากว่าจะเห็นผลไม่ใช่ 3 – 6 เดือน แต่การปรับเปลี่ยนระบบการศึกษาแล้วกว่าจะเห็นผลนั้นใช้เวลามากกว่า 10 – 15 ปี 

    ง่าย ๆ ก็คือกว่าเด็กคนนึงจะเข้าเรียนตั้งแต่ประถมจนเรียนจบอย่างน้อยก็ต้องจบปริญญาตรีกัน ถึงจะเห็นดอกผลของระบบการศึกษานั้น ๆ การเปลี่ยนแปลงกลางคัน เด็กที่อยู่ที่ช่วงเปลี่ยนระบบจะไม่ได้สะท้อนผลลัพธ์ของระบบสักเท่าไหร่ ซึ่งปัจจุบันระบบการศึกษาบ้านเราเละเทะขนาดไหนคงไม่ต้องพูดถึงกัน

    จริง ๆ แล้วเราแทบไม่ต้องคิดอะไรใหม่เลยด้วยซ้ำเกี่ยวกับระบบการศึกษา เพราะมีหลายที่ในโลกที่ระบบการศึกษาเป็นตัวอย่างที่ดีมาก แค่เราลอกมาวางและปรับให้เรารับวิถีของคนไทยก็ได้แล้ว แต่ก็ไม่เข้าใจว่าทำไมไม่ทำกันสักที คิดแล้วก็ได้แค่สงสัย 

    สุดท้ายพี่ทุยว่าเสียงของเราอาจจะปรับเปลี่ยนอะไรในภาพใหญ่มากไม่ได้ แต่อย่างน้อยเราก็สามารถปรับตัวเตรียมพร้อมกับอนาคตที่จะมาถึงได้ เพราะปัญหาเรื่อง “สังคมผู้สูงอายุ” ยังไงก็ต้องเจอ ยังไงก็ต้องเกิดเพราะเรื่องโครงสร้างประชากรเป็นสิ่งที่คาดการณ์ได้ค่อนข้างแม่นยำ นอกจากจะเกิดภัยธรรมชาติ ภัยพิภัยนั้นแหละ

    ดังนั้นหยุด เลิก ฝัน คาดหวังว่ารัฐบาลจะสามารถดูแลเรายามแก่ได้หรือจะให้ลูกหลานมาเลี้ยงดูตัวเราได้ ลูกหลานดูแลตัวเองให้รอดยังเหนื่อยเลยล่ะ การเริ่มต้นวางแผนเกษียณของตัวเอง ตั้งแต่เดี๋ยวนี้เป็นสิ่งที่ต้องทำ เกมการเกษียณไม่สามารถกด Restart ได้เหมือนกับการเล่นเกมอื่น ๆ นะ 

    ปัญหาสังคมผู้สูงอายุ มีอะไรบ้าง

    ปัญหาด้านสังคมพบว่า มีผู้สูงอายุยากจน จานวนมากที่เจ็บป่วยและถูกทอดทิ้ง ส่งผลต่อด้าน จิตใจ คือ กังวลใจ ท้อแท้ เหนื่อยหน่าย ผู้ให้ข้อมูล มีความเห็นว่าสาเหตุเนื่องจากการเปลี่ยนแปลง ของสังคมทั้งโครงสร้าง ค่านิยมและเศรษฐกิจโดย สังคมชนบทปัจจุบันก าลังกลายเป็นสังคมเมือง ขนาดครอบครัวเปลี่ยนจากครอบครัวขยายเป็น ครอบครัวเดี่ยว ...

    ปัจจัยใดที่ส่งผลต่อการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ

    สำหรับสาเหตุที่ทำให้มีสัดส่วนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเนื่องจากการพัฒนาทางเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศเจริญก้าวหน้าทำให้สามารถเพิ่มสวัสดิการแก่ประชาชนได้มากขึ้น มีการพัฒนาทางด้านสาธารณสุข อนามัยโรงพยาบาลและการคมนาคมขนส่งได้อย่างทั่วถึง ขณะที่ประชาชนมีฐานะความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นมีการบริโภคที่ถูกหลักโภชนาการ มีการศึกษารู้จักดูแล ...

    สังคมผู้สูงอายุคืออะไร จะส่งผลต่อสภาพสังคมและเศรษฐกิจของประเทศอย่างไรบ้าง

    ทางด้านอุปทาน การเป็นสังคมผู้สูงอายุอาจนำไปสู่ปัญหาการขาดแคลนแรงงานในภาคการผลิต เนื่องจากอัตราการเกิดที่ต่ำและการชราภาพของแรงงานจะทำให้กำลังแรงงานในอนาคตมีจำนวนที่ลดลง และยิ่งประชากรมีอายุมากขึ้นเลยวัยกลางคนก็ยิ่งมีแนวโน้มที่จะมีส่วนร่วมในกำลังแรงงานน้อยลง ทั้งนี้ ในกลุ่มของผู้สูงวัยจากสถิติมีเพียงร้อยละ 37.9 ของ ...

    สังคมผู้สูงอายุ หมายถึงอะไร

    สังคมสูงอายุ (Aged Society) หมายถึง สังคมที่มี ประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป เกินกว่าร้อยละ 10 ของ ประชากรทั้งประเทศ หรือเป็นสังคมที่มีประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไป เกินกว่าร้อยละ 7 ของประชากรทั้งหมด