ปัญหาสารพิษตกค้างในอาหารและ สิ่งแวดล้อม

เพื่อเป็นการป้องกันและเตรียมความพร้อม เราไปดูกันสิว่าสารปนเปื้อนชนิดใดบ้างที่มักปนเปื้อนมากับอาหารที่เรากินอยู่ทุกวัน!

การปนเปื้อนในอาหาร คืออะไร

ในแต่ละวันเราต้องเผชิญกับสารพิษต่างๆ มากมาย ทั้งในอากาศ ควัน ไอเสีย หรือกระทั่งในอาหาร ใครจะไปรู้ว่าอาหารที่เรากินอยู่ทุกวันนี้อาจมีสารปนเปื้อนอยู่ก็ได้

เพื่อเป็นการป้องกันและเตรียมความพร้อม เราไปดูกันสิว่าสารปนเปื้อนชนิดใดบ้างที่มักปนเปื้อนมากับอาหารที่เรากินอยู่ทุกวัน!

การปนเปื้อนในอาหาร คืออะไร

สารปนเปื้อนในอาหาร (Contaminants) คือสารที่ปนเปื้อนมากับอาหาร โดยอาจมาจากกระบวนการผลิตไม่ว่าจะเป็นกรรมวิธีการผลิต โรงงาน การดูแลรักษา การบรรจุ ตลอดจนการขนส่งและการเก็บรักษา หรือเกิดจากการปนเปื้อนจากสิ่งแวดล้อม ยิ่งไปกว่านั้นคือผู้ผลิตบางแห่งมีการนำสารเคมีผสมในอาหาร ซึ่งสารเคมีบางอย่างนั้นเป็นอันตรายต่อร่างกาย บางชนิดหากบริโภคเข้าไปในปริมาณมากอาจถึงแก่ชีวิตได้

สารเคมีที่พบปนเปื้อนได้บ่อย ได้แก่

- สารบอแรกซ์ พบมากในอาหารประเภทเนื้อหมู เนื้อปลา เนื้อวัว ฯลฯ เมื่อใส่สารนี้ไปแล้วจะทำให้อาการมีสีสันที่สวยงาม รสชาติดี และเก็บไว้ได้นาน สารนี้เป็นสารที่ก่อให้เกิด สารไนโตรซามีน (nitrosamine) ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง

- สารกันรา (กรดซาลิซิลิค) พบได้ในอาหารประเภท แหนม หมูยอ และผักผลไม้ดอง เช่น มะม่วงดอง ผักกาดดอง มะกอกดอง มะดันดอง ขิงดอง เป็นต้น หากกินอาหารที่มีสารกันราปนเปื้อนพิษของมันก็จะเข้าไปทำลายเซลล์ต่างๆ ทำให้ความดันโลหิตต่ำ เป็นผื่นคันตามตัว อาเจียน หูอื้อ หรือมีไข้

- สารฟอกขาว (โซเดียมไฮโดรซัลไฟต์) ส่วนใหญ่จะใส่อยู่ในอาหารพวก ดอกไม้จีน เห็ดหูหนูขาว เยื่อไผ่ หน่อไม้ ถั่วงอก แป้ง หรือเส้นก๋วยเตี๋ยว ฯลฯ หากสารชนิดนี้สะสมในร่างกายมากๆ จะทำให้หายใจติดขัด ปวดท้อง ท้องร่วง เวียนศีรษะ อาเจียน หรือหมดสติได้

- ฟอร์มาลิน เป็นสารอันตรายที่ถูกนำมาใช้กับอาหารสดไม่ว่าจะเป็นอาหารทะเล เนื้อสัตว์ หรือกระทั่งผัก เพื่อให้มีความสดได้นาน หากถูกปนเปื้อนเข้าไปในร่างกายปริมาณมาก จะทำให้เกิดพิษต่อระบบทางเดินอาหาร ส่งผลให้ปวดหัว ปวดท้อง แน่นหน้าอก คลื่นไส้ อาเจียน หรือมีอาการเหงื่อออก ร่วมด้วย

- สารตกค้างพวกยาฆ่าแมลง ที่มักตกค้างมากับผักหรือผลไม้สด ซึ่งสารเหล่านี้มีพิษต่อระบบประสาท ส่งผลให้มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ ทำให้ร่างกายอ่อนแอเจ็บป่วยง่าย โดยอาการจะรุนแรงมากหากได้รับสารโดยตรง

วิธีสร้างความปลอดภัยง่ายๆ ด้วยตัวเอง

- เลือกซื้ออาหารจากแหล่งคุณภาพและเชื่อถือได้

- แช่ผักและผลไม้ในสารละลายน้ำส้มสายชู หรือสารละลายด่าง ก่อนนำมาบริโภคทุกครั้ง

- เลือกรับประทานอาหารที่ใช้สีปรุงแต่งจากธรรมชาติ หลีกเลี่ยงอาหารจากสารเคมี

- เลือกซื้อสินค้าที่ได้รับอนุญาตจากองค์การอาหารและยาเพื่อรับรองคุณภาพความปลอดภัยของอาหาร

ดูเหมือนว่าสารปนเปื้อนเหล่านี้จะพบได้ทั่วไปกับอาหารแทบทุกประเภท วิธีที่ดีที่สุดคือการเลือกซื้ออาหารจากแหล่งผู้ผลิตที่เชื่อถือได้ และหากมีอาการแพ้ใดๆ เกิดขึ้น ควรรีบปรึกษาแพทย์ให้เร็วที่สุด!

สยามธุรกิจ - นับวันความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ ทั้งด้านการแพทย์ สาธารณสุขอุตสาหกรรม และเทคโนโลยีการสื่อสารมีวิวัฒนาการเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์สะดวกสบายยิ่งขึ้น แต่สิ่งที่สำคัญ คือเรื่องอาหารการกิน ไม่ว่าจะเป็นสังคมเมือง หรือชนบทต่างก็แทบจะมีวิถีชีวิตที่ไม่แตกต่างกันมากนัก เพราะอาหารที่นิยมก็มาจากร้านสะดวกซื้อ หรือร้านอาหารตามสั่ง ซึ่งวัตถุดิบส่วนใหญ่ก็มาจากภาคเกษตร ดังนั้นการเกษตรจึงมีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันของผู้คนในทุกระดับชั้น

วัตถุดิบ หรือผลผลิตที่มาจากภาคเกษตรนั้นแน่ใจแล้วหรือว่าปลอดภัย ไร้สารตกค้าง ไม่ว่าจะเป็นเนื้อสัตว์ หรือพืชผัก ผลไม้ อาจจะมีการปนเปื้อนสิ่งเจือปน และสารแปลกปลอม เช่น สารเร่งเนื้อแดงเป็นสารกลุ่มเบต้าอะโกนิสต์ ปกติใช้เป็นยารักษาหอบหืดในคน แต่มีผู้ลักลอบนำมาใช้ผสมในอาหารสุกรเพื่อเพิ่มเนื้อแดง และลดไขมันในเนื้อ

สารบอแรกซ์ หรือชื่อทางการค้าทั่วไปว่า น้ำประสานทอง ผงกรอบ ผงเนื้อนิ่ม สารข้าวตอก และผงกันบูด มีลักษณะไม่มีกลิ่น เป็นผลึกละเอียด หรือผงสีขาว ละลายน้ำได้ดี ไม่ละลายในแอลกอฮอล์95% มีการนำมาใช้ประโยชน์ในทางอุตสาหกรรม และมีคุณสมบัติทำให้เกิดสารประกอบเชิงซ้อนกับสารประกอบอินทรีย์โพลีไฮตรอกซี เกิดเป็นสารหยุ่นกรอบและเป็นวัตถุกันเสีย จึงมีการลักลอบนำมาผสมลงในอาหารหลายชนิด เช่น เนื้อหมู ปลาบด ลูกชิ้น และผลไม้ดอง

สารฟอร์มาลิน สารกันรา หรือกรดซาลิซิลิคเป็นสารเคมีตัวหนึ่งที่นำมาใช้เป็นวัตถุกันเสีย กันรา มีการลักลอบใส่ในน้ำผักผลไม้ดอง

สารฟอกขาว หรือสารโซเดียมไฮโดรซัลไฟต์

เป็นสารเคมีที่มีคุณสมบัติในการฟอกสีของอาหาร และยับยั้งการเจริญเติบโตของ ยีสต์ รา แบคทีเรีย มักจะถูกนำมาใช้เพื่อให้อาหารมีสีขาว คุณภาพดี

สุดท้ายคือ ยาฆ่าแมลง หรือสารเคมีกำจัดศัตรูพืช คือวัตถุมีพิษที่นำมาใช้ เพื่อป้องกัน กำจัดศัตรูพืชซึ่งได้รับอนุญาตให้ใช้ได้บางชนิด แต่ต้องทิ้งระยะให้สารหมดความเป็นพิษก่อนการเก็บเกี่ยว เพราะเมื่อสารเข้าสู่ร่างกายจะเกิดปฏิกิริยาทางเคมีกับเอนไซม์ในร่างกายมีผลให้เกิดการขัดขวางการทำหน้าที่ตามปกติของระบบประสาท ทั้งในคนและสัตว์

อย่างไรก็ตาม สารพิษที่สะสมตกค้างมากับอาหารนั้น ทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บในรูปแบบต่างๆมากมาย ทั้งผลเสียทางตรงต่อผู้ที่นำไปฉีดพ่นในแปลง เรือกสวน ไร่นา ทำให้ปากเบี้ยว มือหงิกอัมพฤกษ์ อัมพาต เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ อีกทั้งภัยต่อผู้บริโภคทำให้เกิดมะเร็ง เซลล์ผิดปกติโรคหัวใจ สารพิษสะสมในเลือด

โลหะหนักที่เราเผชิญในชีวิตประจำวัน อาจส่งผลต่อร่างกายโดยไม่รู้ตัว ก่อให้เกิดภาวะต่าง ๆ เช่น สมองล้า เซลล์เสื่อมสภาพ และการอักเสบ จึงจำเป็นต้องกำจัดสารพิษอย่างเหมาะสม

อ่านเพิ่มเติม

ปัญหาสารพิษตกค้างในอาหารและ สิ่งแวดล้อม

ปัญหาสารพิษตกค้างในอาหาร เกิดจากอะไร

สารปนเปื้อนในอาหาร (Contaminants) คือสารที่ปนเปื้อนมากับอาหาร โดยอาจมาจากกระบวนการผลิตไม่ว่าจะเป็นกรรมวิธีการผลิต โรงงาน การดูแลรักษา การบรรจุ ตลอดจนการขนส่งและการเก็บรักษา หรือเกิดจากการปนเปื้อนจากสิ่งแวดล้อม ยิ่งไปกว่านั้นคือผู้ผลิตบางแห่งมีการนำสารเคมีผสมในอาหาร ซึ่งสารเคมีบางอย่างนั้นเป็นอันตรายต่อร่างกาย บางชนิด ...

สารพิษตกค้าง มีอะไรบ้าง

4 สารพิษตกค้าง อันตรายที่ต้องระวัง.
คาร์โบฟูราน (Carbofuran) ... .
เมโทมิล (Methomyl) ... .
ไดโครโตฟอส (Dicrotophos) ... .
อีพีเอ็น (EPN).

สารปนเปื้อนในอาหารมีอะไรบ้าง

ข้อเขียนที่นำมาลงไว้ให้นี่เกี่ยวกับสารเคมีที่ปนเปื้อนอยู่ในอาหาร ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเฝ้าระวังติดตามสถานการณ์อยู่ ตามนโยบายอาหารปลอดภัย หรือ food safety. มีสารเคมีเฝ้าระวัง 6 ชนิด คือ สารบอแรกซ์ สารกันรา สารฟอกขาว สารฟอร์มาลีน ยาฆ่าแมลง สารเร่งเนื้อแดง

ผลกระทบที่เกิดจากสารพิษ มีกี่อย่าง

ความอันตรายของสารเคมีสามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1. ความอันตรายทางกายภาพ เช่น การระเบิด การติดไฟ เป็นต้น 2. ความอันตรายต่อสุขภาพ เช่น การระคายเคือง แสบ คัน ก่อโรคต่างๆ เป็นต้น 3. ความอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ทำลายระบบนิเวศน์ สะสมในสิ่งมีชีวิต เป็นต้น