การ อ่าน ทำนองเสนาะ กลอนบทละคร เรื่อง รามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ ปราบ น นท ก

การ อ่าน ทำนองเสนาะ กลอนบทละคร เรื่อง รามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ ปราบ น นท ก

กลอนบทละคร  

หมายถึง กลอนที่แต่งขึ้นเพื่อใช้ในการแสดงละครหลักเกณฑ์ในการแต่งโดยทั่วไปก็เหมือนกับการแต่งกลอนสุภาพแต่ละวรรคมีคำได้ตั้งแต่ 6-9 คำ  การนับกลอนบทละครจะนับเป็นคำกลอน นั่นคือ  2 วรรคเท่ากับ 1 คำกลอน การจะใช้คำมากน้อยขึ้นอยู่กับทำนองร้องเป็นสำคัญ

การขึ้นต้นกลอนบทละคร

"เมื่อนั้น" ใช้เมื่อขึ้นต้นกับตัวละครที่สำคัญ เช่นตัวเอกหรือกษัตริย์

"บัดนั้น "ใช้ขึ้นต้นตัวละครที่เป็นตัวรอง เช่นเสนา อำมาตย์หรือตัวละครธรรมดา

"มาจะกล่าวบทไป"ใช้ขึ้นต้นเมื่อเริ่มตอนใหม่ นอกจากนั้นยังมีการขึ้นต้นด้วยวลี ตั้งแต่ 2 คำ -4 คำหรืออาจมากกว่าก็ได้

การอ่านกลอนบทละคร

       การอ่านกลอนบทละคร ควรอ่านเป็นจังหวะ โดยมีช่วงจังหวะหยุดสั้น ๆ ภายใน แต่ละวรรคดังนี้

     •ถ้าคำในวรรคมี 7 คำ ควรอ่านเป็นจังหวะ ooo/oo/oo หรือ oo/oo/ooo เช่น

        หนุมาน / องคต / แข็งขัน
คือศรี / สุครีพ / ชมพูพาน

ถ้าในวรรคมี 8 คำ ควรอ่านเป็นจังหวะ ooo/oo/ooo เช่น

         อันทหาร / ทั้งสอง / นัคเรศ

ถ้าคำในวรรคมี 9 คำ ควรอ่านเป็นจังหวะ ooo/ooo/ooo เช่น
นางมณโฑ / เยาวยอด / เสน่หา