วิจัย นิ่ว ใน ถุง น้ำ ดี

นิ่วในถุงน้ำดีแบบมีอาการ, การผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีแบบเปิดช่องท้อง, การผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีแบบส่องกล้องวีดีทัศน์ 3 แผล, ปริมาณเลือดที่เสียไประหว่างการผ่าตัด, ความเจ็บปวดหลังการผ่าตัด, ระยะเวลาการนอนโรงพยาบาลหลังการผ่าตัด

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: การผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีแบบส่องกล้องวีดิทัศน์ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย และถือว่าเป็นมาตรฐานของการผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีในปัจจุบัน เนื่องจากมีข้อดีกว่าหลายประการเมื่อเปรียบเทียบกับการผ่าตัดแบบเปิดช่องท้อง

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบระยะเวลาในการผ่าตัด, ปริมาณเลือดที่เสียไประหว่างการผ่าตัด, ระดับความเจ็บปวดหลังการผ่าตัดที่ 2, 4, 8, 24 และ 48 ชั่วโมง และระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาลหลังการผ่าตัด ของการผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีชนิดมีอาการด้วยวิธีการแบบเปิดช่องท้อง(Open cholecystectomy, OC ) และการผ่าตัดแบบผ่าด้วยกล้องวีดีทัศน์ 3 แผล(Three-port Laparoscopic cholecystectomy, Three-port LC ) ในโรงพยาบาลจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ

วิธีการ: Retrospective analysis study

แหล่งข้อมูล: สืบค้นจากเวชระเบียนของผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีชนิดมีอาการ แบบเปิดช่องท้อง (Open cholecystectomy , OC ) และผ่าตัดแบบผ่าด้วยกล้องวีดีทัศน์ 3 แผล (Three-port Laparoscopic cholecystectomy,Three-port LC ) ที่โรงพยาบาลจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ ตั้งแต่ เดือนตุลาคม พ.ศ. 2554 จนถึง เดือนตุลาคม พ.ศ. 2559 จำนวน 60 ราย แบ่งเป็นผ่าตัดแบบเปิดช่องท้อง 30 ราย และผ่าตัดด้วยกล้องวีดีทัศน์แบบ 3 แผล 30 ราย โดยเก็บข้อมูลด้านเพศ, อายุ, ดัชนีมวลกาย(BMI) ระดับความเสี่ยงจากการดมยาสลบ(ASA)ระยะเวลาในการผ่าตัด ปริมาณเลือดที่เสียไประหว่างการผ่าตัดระดับความเจ็บปวดหลังการผ่าตัดที่ 2, 4, 8, 24 และ 48 ชั่วโมง และระยะเวลานอนโรงพยาบาลหลังผ่าตัดเป็นวัน หลังจากนั้นนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้มาวิเคราะห์ค่าทางสถิติ โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปทางสถิติ (Stata version: Stata Corp, TX, USA) การวิเคราะห์ข้อมูลอธิบายลักษณะของกลุ่มตัวอย่างใช้ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) ค่ามัธยฐาน (Median) ค่าสูงสุด (Maximum) และค่าต่ำสุด (Minimum) รวมทั้งใช้การทดสอบแมนวิชนี (Mann-Whiney Test) และทดสอบไคสแคว์ (Chi-square test) มาวิเคราะห์ข้อมูลร่วมด้วย

ผลการศึกษา ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value>0.05) ในเรื่องเพศ อายุ ดัชนีมวลกาย (BMI) ระดับความเสี่ยงจากการดมยาสลบ (ASA) ในผู้ป่วยทั้งสองกลุ่ม ส่วนในเรื่อระยะเวลาในการผ่าตัด ในกลุ่มที่ผ่าตัดด้วยการส่องกล้องวิดีทัศน์ 3 แผล จะใช้เวลานานกว่ากลุ่มผ่าตัดแบบเปิดช่องท้องอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) ในขณะที่เรื่องปริมาณเลือดที่เสียไประหว่างการผ่าตัด ความเจ็บปวดหลังการผ่าตัดที่ 2, 4, 8, 24 และ 48 ชั่วโมง ตลอดจนระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาลหลังการผ่าตัดในกลุ่มที่ผ่าตัดด้วยกล้องวีดิทัศน์ 3 แผล จะน้อยกว่ากลุ่มที่ผ่าตัดแบบเปิดช่องท้องอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001)

สรุป การผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีแบบส่องกล้องวีดิทัศน์ 3 แผล (Three-port: LC) เสียเลือดระหว่างการผ่าตัด ความเจ็บปวดหลังการผ่าตัดที่ 2, 4, 8, 24 และ 48 ชั่วโมง และใช้เวลาในการนอนโรงพยาบาลหลังผ่าตัดน้อยกว่ากลุ่มผ่าตัดแบบเปิดช่องท้อง (OC)

เอกสารอ้างอิง

Stiltmimankarnt T. Gallstones in autopsy. Siriaijhosp Gas 1966; 18:7-17.

Vidal O, Valentini M, Ginesta C, Espert JJ, Martinez G, etal. Single-Incision Versus Standard LaparoscopicCholecystectomy:Comperision of Surgical Outcfomes from a Single Institute. J LaparoendoseAdvSurg Tech A 2011;21:683-6.

Dubios F, Icard P, Berthelot G, Levard H. Coelioscopic cholecystectomy. Preliminary report of 36 cases. Ann surg 1990;211:60-2.

วชิระ โรจน์พิศาลวงศ์. การส่องกล้องผ่าตัดถุงน้ำดี. วชิรเวชสาร 2534 ;35: 35-8.

Soper NJ, Barteau JA, Clayman RV, Ashley SW, Dunnegan DL. Comparison of early postoperative result for laparoscopic versus standard open choleccysteetomy. SurgGynecolObstet 1992;174 : 114-8.

Bailey RW, Zucker KA, Flowers JL, Scovill WA, Graham SM, Imbembo AL. Laparoscopic cholecystectomy. Experience with 375 consecutive patients. Ann Surg1991 ; 214 :531 – 40.

SalkyBA . Laparoscopic for surgeons . 1sted. New York ; IGAKU-SHOIN, 1990: 1-16.

Thomas T, Robinson C, Champion D, Mokell M. Prediction ans assessment of the severity of post-operative ain and satisfaction with management . Pain 1998 ; 75 : 177-85.

American Society of Anesthesiogists Task Force on Acute Pain Management. Practice guidelines for acute pain management in the perioperative setting: an updated report by the American Society of Anesthesiogists Task Force on Acute Pain Management. Anestheiology 2004;100:1573-81.

Trichak S. Three-port vs standard four – port laparoscopic cholecystectomy . SurgEndosc2003 ; 17:1434-6.

Al-Azawi D, Houssein N, Rayis AB, McMahon D, Hehir DJ. Three-port versus four-port lapascopiccholeccystectomy in acute and chronic cholecystitis . BMC Surg 2007;7;8.

Poon CM, Chan KW, Ko CW, Chan KC, Lee DW, Cheung HY, et al. Two-port laparoscopic cholecystectomy: initial results of a modified technique. J LaparoendoscAdvSuurg Tech A 2002;12:259-62.

Lee PC, Lai IR, Yu SC. Minilaparoscopic (needlescopic) choleccystectomyA study of 1,011 cases. SurgEndosc 2004; 18: 1480-4.

Hirano Y, Watanabe T, Uchida T, Yoshida S, Tawaraya K, Kato H, et al. Single-incision laparoscopic choleccystectomy : Single institution experience and literature review . World J Gastroenterol 2010;16:270-4.

Deziel DJ, Millikan KW, Economou SG, et al. Complications of laparoscopic cholecystectomy. A national survey of 4,292. Hospitals and an analysis of 77,604 cases. Am J Surg 165:9-14

Hannan EL, Imperato PJ, Nenner RP, et al. Laparoscopic and open cholecystectomy in New York State: mprtality, complications, and choice of procedure. Suegery 125:223-231

Majeed AW, Troy G, Nicholl JP, et al. Randomised, prospective, single-blind comparisoin of laparoscopic versus small-incision cholecystectomy. Lancet 1996; 347: 989-994

McMahon AJ, Russell IT, Baxter JN, et al. Laparoscopic versus minilaparotomy cholecystectomy: a randomized trial. Lancet 1994; 343: 135-138

Trichak S. Three-port vs standard four-port Laparoscopic cholecystectomy .SurgEndosc 2003; 17:1434-6.

Al-Azawi D, Houssein N, Rayis AB, McMahon D, Hehir DJ. Three-port versus four-port laparoscopic cholecystectomy in acute anscholecystitis . BMC Surg 2007;7:8.

Kumar M, Agrawal CS, Gupta RK. Three-port versus standard four-port laparoscopic cholecystectomy: a randomized controlled clinical trial in community-based teaching hospital in eastern Nepal. JSLS 2007;11:358-62.

วิจัย นิ่ว ใน ถุง น้ำ ดี

ดาวน์โหลด

  • PDF

เผยแพร่แล้ว

2019-07-30 — อัปเดตเมื่อ 2021-09-01

เวอร์ชัน

  • 2021-09-01 (2)
  • 2019-07-30 (1)

ฉบับ

ปีที่ 36 ฉบับที่ 3 (ธันวาคม 2559)-ปีที่ 37 ฉบับที่ 1 (เมษายน 2560)

บท

Original Article

การอนุญาต

ลิขสิทธิ์ (c) 2019 ชัยภูมิเวชสาร

วิจัย นิ่ว ใน ถุง น้ำ ดี

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.