เงินเดือน 20 000 วงเงิน บัตรเครดิต

KTC จะทำการปิดปรับปรุงระบบแอป KTC Mobile ในวันจันทร์ที่ 7 พฤศจิกายน 2565 เวลา 01.00 น. - 03.00 น.
ส่งผลให้ไม่สามารถใช้บริการได้ในช่วงเวลาดังกล่าว

หากสมาชิกต้องการความช่วยเหลือ สามารถติดต่อ KTC PHONE 02 123 5000 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ขออภัยในความไม่สะดวก

KTC Mobile application will be temporarily closed for maintenance on November 7, 2022 at 01:00 a.m. - 03:00 a.m.,
and the application will not be able to access during that period.

Should you require any assistance, kindly contact KTC PHONE at 02 123 5000.

We apologize for the inconvenience.

เงินเดือน 20 000 วงเงิน บัตรเครดิต
เงินเดือน 20 000 วงเงิน บัตรเครดิต
เงินเดือน 20 000 วงเงิน บัตรเครดิต

อยากทำบัตรเครดิตใบแรก มนุษย์เงินเดือนอย่างเราต้องเตรียมตัวอะไรบ้าง ต้องดูอะไร มีข้อควรระวังอย่างไร ใช้แบบไหนจึงจะเกิดประโยชน์สูงสุด

1.สำรวจตัวเอง
สำรวจตัวเองว่าก่อนสมัครบัตรเครดิตเรามีฐานเงินเดือนเท่าไร? มีหนี้สินที่ต้องชำระในแต่ละเดือนมากน้อยแค่ไหน?

1.1 ฐานเงินเดือน 
คุณสามารถสมัครบัตรเครดิตได้เมื่อมีฐานเงินเดือนขั้นต่ำอยู่ที่ 15,000 บาท และเงินเดือนดังกล่าวต้องเป็นรายได้ประจำ

1.2 ระยะเวลาการทำงาน 
นอกจากการสมัครบัตรเครดิตจะมีการกำหนดฐานเงินเดือนขั้นต่ำแล้ว อีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันได้แก่หลักฐานที่ยืนยันว่าผู้สมัครได้ทำงานมาแล้วอย่างน้อย 6 เดือน เพราะการยื่นเอกสารสมัครจำเป็นต้องยื่นสลิปเงินเดือนและ Statement

1.3 ประวัติการผิดนัด 
ต้องไม่มีประวัติการผิดนัดชำระหนี้มาก่อน

2.สำรวจเงื่อนไขของบัตรเครดิต
เนื่องจากแต่ละธนาคารต่างก็มีการกำหนดเงื่อนไขในการสมัครบัตรเครดิตที่แตกต่างกันออกไป เช่น ผู้สมัครบัตรเครดิตควรมีฐานเงินเดือนเท่าไร ไปจนถึงรายละเอียดว่าด้วยเรื่องของอายุงาน  ส่วนข้อมูลสำคัญอื่นๆ ที่จะผู้สนใจสมัครจะดูกันต่อ มีทั้งหมด ดังนี้

2.1 ค่าธรรมเนียม
บัตรนั้นมีค่าธรรมเนียม หรือไม่  ไม่ว่าจะเป็น ค่าธรรมเนียมแรกเข้า, ค่าธรรมเนียมการใช้บัตร, ค่าธรรมเนียมรายปี
บางบัตรจะมีเงื่อนไขว่าต้องใช้ขั้นต่ำเท่าไหร่ ถึงจะใช้ยกเว้นค่าธรรมเนียม

2.2 วันที่ต่างๆ
บัตรเครดิตจะมีวันที่ที่สำคัญอยู่ 2 วัน คือ วันสรุปยอดบัญชี กับ วันชำระเงิน
วันสรุปยอดบัญชีคือวันที่จะสรุปค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เราใช้ไปในแต่ละเดือน 
วันชำระเงินก็ตรงตัว คือวันที่เราต้องจ่ายเงิน
เช่น วันสรุปยอดบัญชีเป็นวันที่ 20 เดือนตุลาคม วันชำระเงินเป็นวันที่ 5 เดือนพฤศจิกายน
ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 21 เดือนกันยายนจนถึงวันที่ 20 ตุลาคมจะถูกสรุปยอดบัญชีค่าใช้จ่าย  และเราต้องชำระเงินภายในวันที่ 5 พฤศจิกายน   แต่หากเราชำระช้าหรือจ่ายแค่ขั้นต่ำ ก็จะต้องเสียดอกเบี้ย

2.3 อัตราดอกเบี้ย
สิ่งจำเป็นต้องรู้ ในกรณีที่เราจะจ่ายแค่ขั้นต่ำหรือ 10% ของยอดค่าใช้จ่ายทั้งหมด หากจ่ายไม่ครบจำนวน หรือจ่ายเงินล่าช้า  ทุกกรณีเราต้องเสียดอกเบี้ยตามอัตราที่กำหนด

สมมุติว่า เราซื้อโน้ตบุ๊คราคา 30,000 บาทในวันที่ 13 ตุลาคม หลังจากนั้นไม่ได้ใช้บัตรนั้นซื้ออะไรอีก
โดยวันสรุปยอดบัญชีเป็นวันที่ 20 เดือนตุลาคม วันชำระเงินเป็นวันที่ 5 เดือนพฤศจิกายน อัตราดอกเบี้ย 18% ต่อปี

ถ้าวันที่ 5 พฤศจิกายน เราเลือกจ่ายเต็มจำนวน 30,000 บาท เราจะไม่ต้องเสียดอกเบี้ยใด ๆ

แต่หากเราเลือกจ่ายยอดขั้นต่ำ (10%ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด) เป็นจำนวนเงิน 3,000 บาท
ถึงเราจะไม่ได้ใช้บัตรนั้นซื้ออะไรอีก ในรอบบิลเดือนถัดไป เราจะต้องเสียดอกเบี้ยตามสูตรคำนวณนี้

(ยอดใช้จ่ายบัตรเครดิต x อัตราดอกเบี้ยต่อปี x จำนวนวันที่ค้างชำระ)
                                                 365
โดยธนาคารเจ้าของบัตรจะแยกคิดดอกเบี้ยเป็น 3 ส่วน

ส่วนที่ 1 - ดอกเบี้ยในที่เกิดขึ้นก่อนวันสรุปยอดบัญชีเดือนตุลาคม
คือตั้งแต่วันที่เราซื้อสินค้า (13 ตุลาคม) จนถึงวันสรุปยอดบัญชี (20 ตุลาคม) ระยะเวลา 8 วัน

30,000 x 18% x8        

= 118.36 บาท  
          365
ดอกเบี้ยในส่วนที่ 1 เป็นจำนวนเงิน 118.36 บาท

ส่วนที่ 2 - ดอกเบี้ยที่เกิดหลังวันสรุปยอดบัญชีถึงก่อนวันชำระเงิน
หลังวันสรุปยอดบัญชี 1 วัน (21 ตุลาคม) ถึงวันก่อนชำระเงิน (4 พฤศจิกายน) ระยะเวลา 15 วัน

30,000 x 18% x 15             

= 221.92 บาท
           365
ดอกเบี้ยในส่วนที่ 2 เป็นจำนวน 221.92 บาท

  ส่วนที่ 3 - ดอกเบี้ยจากยอดคงค้างจากวันที่ชำระเงินถึงวันสรุปยอดบัญชีเดือนถัดไป
วันที่รับชำระเงิน  (5 พฤศจิกายน) ถึงวันสรุปยอดบัญชีเดือนถัดไป (20 พฤศจิกายน)

27,000 x 18% x 1

6   =  213.04  บาท
           365
ดอกเบี้ยในส่วนที่ 3 เป็นจำนวน 213.04 บาท

รวมแล้วดอกเบี้ยทั้งหมดที่เราต้องจ่าย 118.36 + 221.92 + 213.04 =  553.32 บาท  

ดังนั้น กรณีที่เราจ่ายยอดขั้นต่ำ 10% ในวันที่ 5 พฤศจิกายน
ในวันสรุปยอดบัญชีเดือนถัดไป (20 พฤศจิกายน) จะมียอดเรียกเก็บ
27,000 (ยอดค้างชำระ) + 553.32 (ดอกเบี้ย) = 27,553.32 บาท

แต่ถ้าเราชำระเงินเต็มจำนวนตั้งแต่วันที่ 5 พฤศจิกายน ธนาคารก็ไม่สามารถเก็บค่าดอกเบี้ยในส่วนนี้ได้

ถ้าใครขี้เกียจคิดก็จำไว้ง่ายๆ ฉลาดคิด ฉลาดใช้ จ่ายเต็มจำนวนแค่นี้เราก็ไม่ต้องมาคำนวณดอกเบี้ยให้ปวดหัว

  3.เลือกบัตรที่ใช่
โดยทั่วไป บัตรเครดิตจะให้สิทธิประโยชน์ที่แตกต่างกัน ทั้งแบบที่เป็นคะแนนสะสม Gift Voucher  เครดิตเงินคืน  หรือแบบสะสมไมล์สายการบินต่างๆ โดยเราสามารถเลือกแบบที่เหมาะสมกับไลฟ์สไตล์ของเรา เช่น หากเราชอบซื้อของที่ไฮเปอร์มาร์เก็ตหรือห้างสรรพสินค้า ก็อาจเลือกบัตรเครดิตที่มีโปรโมชั่นส่วนลดการซื้อสินค้าที่ไฮเปอร์มาร์เก็ตหรือห้างที่เราจับจ่ายเป็นประจำ หรือถ้าเราเดินทางบ่อย อาจจะเลือกใช้แบบที่สะสมไมล์ได้ หรือมีสิทธิพิเศษหลากหลายสำหรับนักเดินทาง แต่อย่างไรก็ตามเราอยากจะฝากบอกว่าการสมัครบัตรเครดิตแต่ละประเภทมักมีการกำหนดฐานเงินเดือนของผู้สมัครที่แตกต่างกันออกไปด้วย

Checklist ทั้ง 3 ข้อก็เป็นข้อมูลให้มือใหม่ในการเริ่มสมัครบัตรเครดิตว่ามีจุดไหนที่ต้องคำนึงก่อนจะสมัครบัตร
เพราะที่จริงแล้ว บัตรเครดิตถ้าเราใช้ด้วยความมีสติ ฉลาดคิด และฉลาดใช้ ก็ไม่มีปัญหา กลับจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ถือบัตรเครดิตได้อีก

งั้นเรามาดูกันว่าเจ้าบัตรเครดิตเนี่ยสามารถให้ประโยชน์อะไรได้บ้าง

1.จ่ายรายจ่ายประจำได้ส่วนลด
หากคุณมีรายจ่ายที่ต้องเสียทุกเดือน เช่น ค่าโทรศัพท์ , ค่าอินเทอร์เน็ต , ค่าเติมบัตรรถไฟฟ้า BTS ถ้าเราเลือกบัตรเครดิตประเภทที่ได้เงินคืน เราก็จะได้ส่วนลดนิดๆ หน่อยๆ แต่ถ้ารวมเป็นปีมันก็ได้เยอะอยู่นะ

2.สะสมแต้ม ได้เงินคืน
บัตรเครดิตจะมีผลตอบแทนทั้งแบบที่เป็นคะแนนสะสม , แลกของ , เครดิตเงินคืน เช่น ทุกๆ การใช้จ่าย 25 บาทจะได้แต้ม 1 แต้ม ทุกๆ 1000 แต้มจะใช้แทนเงินสดได้ 100 บาท
ตรงนี้แหละ ที่เป็นประโยชน์กับเรา ถ้าเราจ่ายผ่านบัตรเครดิตเอาแต้ม แล้วค่อยเอาเงินสดจ่ายค่าบัตรอีกที เท่านี้เราก็จะได้เงินคืนมา หรือเราจะเอาแต้มไปแลกของใช้ เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าได้อีกด้วย

3.สร้างความน่าเชื่อถือให้ตัวเอง
ถ้าเรามีบัตรเครดิต เราก็จะมีข้อมูลในประวัติการชำระหนี้ ถ้าเราชำระหนี้ตรงเวลาเสมอ ในอนาคต หากเราจะกู้เงินเพื่อซื้อบ้านหรือซื้อรถ ข้อมูลตัวนี่แหละ จะช่วยให้เรากู้เงินผ่านง่ายกว่าคนที่ไม่เคยมีข้อมูลมาก่อนด้วย

‘บัตรเครดิต’ จะมีประโยชน์หรือไม่ อยู่ที่คนใช้ว่ามีวินัย ควบคุมตัวเองได้ดีมากแค่ไหน ถ้าจ่ายครบ จ่ายตรงเวลา ฉลาดใช้ ก็ไม่มีปัญหา แถมได้ประโยชน์กลับมาอีกต่างหาก หวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความที่เราได้นำเสนอไปคงจะช่วยตอบคำถามที่คุณกำลังสงสัยได้อย่างรอบด้านตั้งแต่ ผู้สมัครบัตรเครดิตควรมีฐานเงินเดือนเท่าไรไปจนถึงรายละเอียดอื่นๆ ที่สำคัญ