เอกสารที่เกี่ยวข้องน้ำเน่าเสีย

เป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตน้ำถูกนำมาใช้ในการอุปโภคและบริโภค และน้ำเมื่อใช้แล้วก็จะถูกปล่อยทิ้ง ออกสู่แหล่งน้ำธรรมชาติอีกครั้งหนึ่งระบบหมุนเวียนดังกล่าว ได้ก่อให้เกิดปัญหาขึ้น

เมื่อถูกนำมาใช้ในครัวเรือนการเกษตร และการอุตสาหกรรม ในอัตราสูงและถูกปล่อยทิ้งลงสู่แหล่งน้ำในลักษณะ ของน้ำเสียที่มีปริมาณมากเกินขีดความสามารถที่แหล่งน้ำธรรมชาติจะปรับตัวได้ทัน ทำให้แหล่งน้ำมีคุณภาพเลวลงและในที่สุดก็กลายเป็นน้ำเน่าเสียสิ่งมีชีวิตที่เคยอาศัยอยู่ในน้ำก็ไม่อาจดำรงชีวิต อยู่ต่อไปได้อีก


น้ำเสียมาจากไหน?

น้ำเสีย หมายถึง น้ำที่มีสารใด ๆ หรือสิ่งปฏิกูลที่ไม่พึงปรารถนาปนอยู่ การปนเปื้อนของสิ่งสกปรกเหล่านี้ จะทำให้ คุณสมบัติของน้ำเปลี่ยนแปลงไปจนอยู่ในสภาพที่ไม่สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้ สิ่งปนเปื้อนที่อยู่ในน้ำเสีย ได้แก่
น้ำมัน ไขมัน ผงซักฟอก สบู่ ยาฆ่าแมลง สารอินทรีย์ที่ทำให้เกิดการเน่าเหม็นและเชื้อโรคต่าง ๆ สำหรับแหล่งที่มาของ น้ำเสียพอจะแบ่งได้เป็น 2 แหล่งใหญ่ ๆ ดังนี้

1.       น้ำเสียจากแหล่งชุมชน มาจากกิจกรรมสำหรับการดำรงชีวิตของคนเรา เช่น อาคารบ้านเรือน หมู่บ้านจัดสรร คอนโดมิเนียม โรงแรม ตลาดสด โรงพยาบาล เป็นต้น จากการศึกษาพบว่าความเน่าเสียของคูคลองเกิดจากน้ำเสียประเภทนี้ ถึงประมาณ 75%

2.       น้ำเสียจากกิจกรรมอุตสาหกรรม ได้แก่น้ำเสียจากขบวนผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมรวมทั้งน้ำหล่อเย็นที่มี ความร้อนสูง และน้ำเสียจากห้องน้ำห้องส้วมของคนงานด้วยความเน่าเสียของคุคลองเกิดจากน้ำเสียประเภทนี้ประมาณ 25% แม้จะมีปริมาณไม่มากนัก แต่สิ่งสกปรกในน้ำเสียจะเป็นพวกสารเคมีที่เป็นพิษและพวกโลหะหนักต่าง ๆ รวมทั้งพวก สารอินทรีย์ต่าง ๆ ที่มีความเข้มข้นสูงด้วย


1.1จุดประสงค์

1.2.1  เพื่อประดิษฐ์น้ำยาล้างจาน

1.2.2  เพื่อบำบัดน้ำเสียที่เหลือทิ้งจากการล้างจานก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำ

1.2.3  เพื่อเป็นแนวทางในการประดิษฐ์อ่างล้างจานบำบัดน้ำเน่าเสีย และผู้อื่นสามารถ ศึกษาและนำไปพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น
1.2.4  เพื่อศึกษาทักษะกระบวนการแก้ปัญหาด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ คือ ฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์และสร้างสรรค์

1.2.5    เพื่อฝึกการทำงานเป็นหมู่คณะ

1.1สมติฐาน

น้ำตามคลองตามสถานที่ต่างจะสะอาดไม่มีสิ่งสกปรกในน้ำไม่มีขยะ



1.2ตัวแปร

1.3นิยามคำสัพท์

น้ำเสีย หมายถึง น้ำ ที่มีสารใด ๆ หรือสิ่งปฏิกูลที่ไม่พึงปรารถนาเจือปนอยู่ การปนเปื้อนของสิ่งสกปรกเหล่านี้ จะทำให้คุณสมบัติของน้ำเปลี่ยนแปลงไป จนอยู่ในสภาพที่ไม่สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้ สิ่งปนเปื้อนที่อยู่ในน้ำเสีย ได้แก่ น้ำมัน ไขมันผงซักฟอก สบู่ ยาฆ่าแมลง รวมทั้งสารอินทรีย์ที่ทำให้เกิดการเน่าเหม็นและเชื้อโรคต่าง ๆ

1.1ขอบเขตการดำเนินงาน

1.1.1น้ำเหลือจากการล้างจานที่นำมามทดลองได้มาจากน้ำล้างจานของร้านข้าวแกงในโรงเรียน

1.1.2การตรวจสอบคุณภาพของน้ำในที่นี้   ตรวจสอบสารที่ปนเปื้อนน้ำเพียง 5 ชนิด ได้แก่ แป้ง ,น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว , ไขมัน , โปรตีน , แคลเซียม


1.1.3คุณภาพของน้ำที่ได้จากการทดลองครั้งนี้ หมายถึง น้ำที่ใส ไม่มีสี ไม่มีเศษตะกอน  มีคุณสมบัติเป็นกลาง ไม่มีสารตกค้าง ซึ่งทดสอบได้โดยใช้สารเคมี ใช้ประสาทสัมผัส ใช้การดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก และใช้เครื่องมือวัดค่า 

ปัญหาน้ำเน่าเสีย from พัน พัน

การวิจัยการศึกษาการบำบัดน้ำเสียโดยใช้ชุดแบบจำลองระบบบำบัดน้ำเสียขนาดเล็ก เป็นการศึกษา เพื่อประยุกต์แนวทางการบำบัดน้ำเสียที่ผู้ทำการออกแบบระบบบำบัดน้ำเสียเคยทำมาในอดีตโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดแนวทางในการออกแบบระบบบำบัดน้ำเสียที่สามารถนำไปเป็นแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียให้สามารถบำบัดน้ำเสียจากแหล่งกำเนิดน้ำเสียชุมชน และแหล่งกำเนิดน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมได้โดยทั่วไป การวิจัยครั้งนี้ได้อาศัยหลักการทางวิศวกรรมออกแบบระบบบำบัดน้ำเสียร่วมกับการใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมในการวิเคราะห์คุณภาพน้ำเสีย คุณภาพน้ำทิ้ง โดยผู้วิจัยได้เลือกน้ำเสียจากแหล่งกำเนิดน้ำชุมชนโดยใช้น้ำเสียจากแหล่งรองรับน้ำทิ้งจากอาคารเรียนของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และน้ำเสียจากแหล่งกำเนิดน้ำเสียอุตสาหกรรมจากโรงงานอุตสาหกรรมฟอกย้อมเส้นด้าย ในจังหวัดสมุทรปราการ เป็นน้ำเสียเริ่มต้นในการกำหนดเกณฑ์การออกแบบชุดแบบจำลองระบบบำบัดน้ำเสียขนาดเล็ก และผลการศึกษาสามารถกำหนดเกณฑ์การออกแบบระบบบำบัดน้ำเสียสำหรับแบบจำลองระบบบำบัดน้ำเสียขนาดเล็ก

ลักษณะของมลพิษทางน้ำ

 น้ำที่เกิดภาวะมลพิษจะมีองค์ประกอบของคุณภาพน้ำที่แตกต่างจากน้ำดี ซึ่งจะมีดัชนีต่างๆ เป็นตัวบ่งบอก สามารถแยกออกเป็น 3 ลักษณะใหญ่ ๆ คือ       1.  ลักษณะทางกายภาพ ลักษณะทางกายภาพ หมายถึง ลักษณะของมลพิษทางน้ำที่สามารถรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้า  2.  ลักษณะทางเคมีภาพลักษณะทางเคมีภาพ หมายถึง ลักษณะของมลพิษทางน้ำที่เกิดจากการที่น้ำมีสารเคมีเจือปนจนทำให้เกิดสภาวะทางเคมีขึ้นในน้ำ มีดัชนีบ่งบอกลักษณะทางเคมีภาพที่ 3. ลักษณะทางชีวภาพ ลักษณะทางชีวภาพ หมายถึง ลักษณะของมลพิษทางน้ำที่เกิดจากการมีสิ่งมีชีวิตชนิดใดชนิดหนึ่งปะปนในน้ำ และเป็นพิษต่อมนุษย์และสัตว์น้ำได้ ดัชนีบ่งบอกลักษณะทางชีวภาพ ได้แก่ แพลงก์ตอนพืช-สัตว์ แบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคติดต่อทางน้ำและอาหาร เชื้อไวรัส เชื้อราและพวกหนอนพยาธิต่าง ๆ


ผลกระทบเนื่องจากมลพิษทางน้ำ


ผลกระทบต่อการเกษตรกรรม ผลกระทบต่อการประมง ผลกระทบต่อการสาธารณสุข ก่อให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บ ผลกระทบต่ออุตสาหกรรม ผลกระทบต่อการผลิตน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค ผลกระทบต่อการคมนาคม ผลกระทบต่อทัศนียภาพ ผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคม