แบบประเมินการจัดการความเครียด

ความเครียดนั้นเกิดขึ้นได้กับทุกคน สาเหตุที่ทำให้เกิดความเครียดมีหลายอย่างเช่น รายได้ที่ไม่พอเพียง หนี้สิน ภัยพิบัติต่างๆ ที่ทำให้เกิดความสูญเสีย ความเจ็บป่วยเป็นต้น ความเครียดมีทั้งประโยชน์ และโทษหากมากเกินไปจะเกิดผลเสียต่อร่างกายและจิตใจของท่านได้ ขอให้ท่านลองประเมินตนเองโดยให้คะแนน 0-3 ที่ตรงกับความรู้สึกของท่าน

ทำแบบประเมิน >> คลิกที่นี่ <<

Download PDF >> คลิ๊กที่นี่ <<

คะแนนชีวัดความเครียดจากแบบประเมินความเครียด ST5

คะแนน 0 หมายถึง แทบไม่มี

คะแนน 1 หมายถึง เป็นบางครั้ง

คะแนน 2 หมายถึง บ่อยครั้ง

คะแนน 3 หมายถึง เป็นประจำ


ความเครียดคืออะไร…?

ความเครียดเกิดขึ้นเมื่อบุคคลอยู่ในสภาวะกดดัน จนไม่สามารถจะแก้ปัญหากับสถานการณ์นั้นๆ ได้ โดยสามารถสังเกตได้ ดังนี้

  • ด้านร่างกาย
    มักเจ็บป่วยบ่อยๆ ปวดหัว ไมเกรน ปวดท้อง เป็นไข้ ภูมิแพ้ ปวดหลัง ปวดไหล่ อ่อนเพลีย ใจสั่น นอนไม่หลับ ความดันโลหิตสูง ทำให้ต้องลาป่วย ขาดงาน
  • ด้านจิตใจ
    วิตกกังวล คิดมาก ฟุ้งซ่าน หลงลืมง่าย หงุดหงิด โกรธง่าย ไม่มีสมาธิ ใจน้อย ซึมเศร้า หวาดระแวง ทำให้ไม่มีความสุข สีหน้าเศร้ามอง
  • ด้านพฤติกรรม
    มักสูบบุหรี่จัด กินเหล้ามาก ส่งผลให้ทะเลาะกับคนใกล้ชิดในครอบครัว รวมถึงมีผลกระทบต่อหน้าที่การงานด้วย

แบบประเมินการจัดการความเครียด


แล้วจะทำอย่างไรให้ชีวิตเป็นสุข…?

จากสภาวะเศรษฐกิจและการเมืองของประเทศในปัจจุบันที่บีบคั้น ทำให้คนเกิดความเครียดและเป็นทุกข์ ซึ่งความเครียดอาจจะเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น การย้ายบ้าน การเปลี่ยนงาน ความเจ็บป่วย การหย่าร้าง ภาวะว่างงาน ความสัมพันธ์กับเพื่อนและครอบครัว เป็นต้น

โดยเฉพาะบุคคลที่อยู่ในวัยทำงานเป็นวัยที่จะต้องรับผิดชอบและเผชิญกับปัญหาเหล่านี้อยู่บ่อยครั้ง ดังนั้นโอกาสในการเกิดความเครียดในวัยำางานจึงมีอัตราที่สูงขึ้นตามมาด้วย ความเครียดที่เป็นอันตราย คือ ความเครียดในระดับสูงที่คงอยู่เป็นเวลานานจะส่งผลเสียต่อสุขภาพกาย สุขภาพจิต พฤติกรรม ครอบครัว การทำงาน และสังคมได้ ดังนั้น เราจึงควรรู้จักการผ่อนคลายความเครียดที่ถูกวิธี เพื่อให้การดำเนินงานชีวิตของเราเป็นสุข

วุฒิชัย จำนงค์ (2523) กล่าวว่า การตัดสินใจเป็นเรื่องของการจัดการที่หลีกเลี่ยงไม่ได้และในการจัดการนั้น การตัดสินใจเป็นหัวใจในการปฏิบัติงานทุกๆ เรื่องทุกๆ กรณีเพื่อดำ เนินการไปสู่วัตถุประสงค์ อาจมีเครื่องมือมาช่วยในการพินิจพิจารณา มีเหตุผลส่วนตัวอารมณ์ ความรักใคร่ ชอบพอ เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในการตัดสินใจ และมีลักษณะเป็นกระบวนการอันประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ต่อเนื่องกันไป ดังนี้

1) การแยกแยะตัวปัญหา(problem identification) ในขั้นตอนแรกของการตัดสินใจนั้น จึงเป็นเรื่องราวของการสร้างความแน่ใจ มั่นใจ โดยการค้นหาความเข้าใจกับตัวปัญหาที่แท้จริง ก็เพราะเหตุว่ากระบวนการตัดสินใจจะเริ่มต้นตามขั้นตอนแรก เมื่อผู้ทำ การตัดสินใจมีความรู้สึกว่าได้เกิดปัญหาขึ้นมา นั่นก็คือ เป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นภายในว่าได้มีปรากฎบางสิ่ง บางอย่างมิได้เป็นไปตามที่คาดคิด

2) การหาข่าวสารที่เกี่ยวกับตัวปัญหานั้น(information search) การเสาะหาข่าวสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับตัวปัญหานั้นก็คือ การเสาะหาสิ่งที่เป็นสาเหตุหรือสิ่งที่ก่อให้เกิดปัญหานั้น ซึ่งอาจจะไม่ใช่สาเหตุโดยตรงก็ได้

3) การประเมินค่าข่าวสาร(evaluation of information) เป็นความจำ เป็นที่จะต้องประเมินค่าดูว่า ข่าวสารที่ได้มานั้นถูกต้อง เหมาะสมเพียงพอตรงกับเวลา และสามารถที่จะนำไปวิเคราะห์ปัญหาได้หรือไม่

4) การกำหนดทางเลือก(listing alternative) เป็นขั้นตอนสำคัญของการตัดสินใจ คือ การกำหนดทางเลือกมากที่สุดเท่าที่จะมากได้ เป็นการที่พยายามจะครอบคลุมวิถีทางที่จะแก้ปัญหาได้หลาย ๆ วิธีถ้าเรามีข่าวสารสมบูรณ์สำหรับปัญหาแต่ละเรื่อง เราอาจจะกำหนดทางเลือกได้เหมาะสมและครอบคลุมอย่างแท้จริงได้

5) การเลือกทางเลือก(selection of alternative) เมื่อได้กำหนดทางเลือกต่างๆออกมาแล้ว พร้อมทั้งกำหนดลำ ดับความสำคัญและความเหมาะสมในการแก้ปัญหา ขั้นตอนต่อไป คือ การเลือกทางเลือกที่จะปฏิบัติการต่อไป (selection of a course of action) และขั้นนี้เองที่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า เป็นการตัดสินใจอย่างแท้จริง

6) การปฏิบัติตามการตัดสินใจ(implement of decision) เมื่อทางเลือกได้ถูกเลือกเข้ามาแล้ว ก็เป็นการปฏิบัติตามผลของการตัดสินใจหรือทางเลือก

เป็นอาการที่ผู้ป่วยรู้สึกเหมือนตัวเองหมุน หรือสิ่งแวดล้อมรอบตัวหมุนได้แม้จะยืนหรือนั่งอยู่กับที่ จนทำให้ไม่สามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ตามปกติ บ้านหมุนมักเป็นอาการที่ไม่รุนแรง เกิดขึ้นแบบเป็น ๆ หาย ๆ แต่อาจส่งผลกระทบให้สูญเสียการทรงตัว และเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ เนื่องจากผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมร่างกายของตนเองได้ ซึ่งอาการนี้สามารถเกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ  

แบบประเมินการจัดการความเครียด

อาการบ้านหมุน

ผู้ป่วยที่มีอาการบ้านหมุนจะรู้สึกว่าสภาพแวดล้อมรอบตัวหมุนหรือตัวเองหมุน ทั้งที่ไม่มีการเคลื่อนไหวใด ๆ โดยอาจมีอาการวิงเวียนศีรษะ เดินเซ ล้ม หรือทรงตัวไม่ได้ รวมไปถึงรู้สึกคลื่นไส้ อาเจียน มีการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติของลูกตา ตากระตุก และอาจมีอาการหูอื้อ หรือมีเสียงดังรบกวนในหูร่วมด้วย โดยอาการจะขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดบ้านหมุนเป็นหลัก และมักเกิดอาการเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ ไม่กี่วินาทีไปจนถึงหลายชั่วโมง หรือบางครั้งก็มีอาการเป็นพัก ๆ แล้วหายไป

อย่างไรก็ตาม หากเกิดอาการบ้านหมุนขึ้น ควรรีบไปพบแพทย์แต่เนิ่น ๆ เพราะอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงมากขึ้น ควรรีบไปพบแพทย์เช่นกัน เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้องตรงตามสาเหตุ เช่น อาเจียนบ่อยจนไม่สามารถรับประทานอาหารได้ มีปัญหาการได้ยินร่วมกับอาการเวียนศีรษะ หรือเดินเซและไม่สามารถควบคุมการทรงตัวได้ เป็นต้น

สาเหตุของบ้านหมุน

อาการบ้านหมุนสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน โดยสาเหตุที่พบได้บ่อยของอาการเวียนศีรษะมาจากความผิดปกติของอวัยวะการรับรู้ในหูชั้นในจากโรคต่าง ๆ เช่น

  • โรคตะกอนหินปูนในหูชั้นในหลุด หรือโรคหินปูนในหูชั้นในเคลื่อน (Benign Paroxysmal Positional Vertigo : BPPV)
  • โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน (Meniere’s Disease) เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของน้ำและแรงดันที่อยู่ภายในหูชั้นใน ทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะ หูอื้อ และการได้ยินลดลง
  • โรคประสาทการทรงตัวอักเสบ (Vestibular Neuronitis) หรือประสาทหูชั้นในอักเสบ (Labyrinthitis) เป็นภาวะของประสาทหูชั้นในอักเสบจากการติดเชื้อไวรัส ซึ่งการอักเสบของหูชั้นรอบ ๆ เส้นประสาทนี้จะส่งผลต่อระบบการทรงตัวของร่างกาย 

สาเหตุอื่นของอาการบ้านหมุนที่พบได้ไม่บ่อย เช่น การใช้ยาบางชนิดที่มีผลต่อระบบประสาททรงตัวในหูชั้นใน การบาดเจ็บที่ศีรษะและบริเวณคอ โรคไมเกรน หรือโรคที่เกี่ยวข้องกับสมอง เป็นต้น

การวินิจฉัยบ้านหมุน

การวินิจฉัยต้องทำอย่างระมัดระวัง เนื่องจากอาการบ้านหมุนมีความซับซ้อน โดยแพทย์จะซักประวัติผู้ป่วย สอบถามอาการ ตรวจร่างกายอย่างละเอียด โดยมีการตรวจหู ตรวจการเคลื่อนไหวของลูกตาในลักษณะต่าง ๆ ตรวจระบบการทรงตัวของร่างกาย หรือทดสอบการทำงานของอวัยวะการทรงตัวด้วยการเปลี่ยนท่าทางอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้แพทย์อาจตรวจด้านอื่นเพิ่มเติมตามอาการของผู้ป่วยแต่ละรายดังนี้

การตรวจการได้ยินสำหรับผู้ที่มีอาการหูอื้อ มีเสียงดังในหู หรือมีปัญหาการได้ยิน โดยอาจใช้ส้อมเสียง (Tuning Fork) หรือตรวจโดยผู้ชำนาญเฉพาะทาง เพื่อวัดความสามารถของการได้ยินเสียง ซึ่งวิธีการตรวจมีหลายแบบ เช่น การวัดการได้ยินด้วยเครื่องทดสอบการได้ยิน เป็นต้น

การตรวจดูการทำงานเชื่อมต่อกันระหว่างหู ตา และสมอง (Caloric Testing) โดยใช้น้ำอุ่น น้ำเย็น หรือลมเข้าไปกระตุ้นการทำงานของอวัยวะการทรงตัวในหู 

การตรวจการทรงตัว (Posturography) เป็นการตรวจการทรงตัวของร่างกายในภาวะต่าง ๆ เพื่อประเมินการทำงานร่วมกันของการมองเห็น การได้ยิน และการรับรู้ตำแหน่งของร่างกายซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทรงตัว

ตรวจการทำงานของอวัยวะทรงตัวของหูชั้นใน (Videonystagmography : VNG) เป็นการทดสอบเพื่อดูความผิดปกติของหูชั้นในและสมองส่วนกลางของผู้ป่วยด้วยการดูการกระตุกของลูกตาผ่านทางแว่นตา ในระหว่างการทดสอบนี้ ผู้ป่วยจะสวมใส่แว่นตาแบบพิเศษที่ติดกล้องเอาไว้ แพทย์จะทดสอบโดยการให้ผู้ป่วยกลอกตาไปมาหรือมองไปในทิศทางต่าง ๆ เพื่อบันทึกการเคลื่อนไหวของตา

การตรวจสมอง เพื่อหาสาเหตุของอาการบ้านหมุนด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น การตรวจสมองด้วยคลื่นแม่เหล็ก (MRI Scan) เพื่อช่วยค้นหาเนื้องอก ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดอาการบ้านหมุน หรือการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan)

การรักษาบ้านหมุน

เมื่อเริ่มมีอาการบ้านหมุน ผู้ป่วยสามารถรักษาหรือบรรเทาอาการในเบื้องต้นได้ด้วยตนเองที่บ้าน โดยมีวิธีการ ดังนี้

  • เคลื่อนไหวศีรษะอย่างช้า ๆ และระมัดระวังขณะทำกิจกรรมต่าง ๆ
  • เมื่อเริ่มมีอาการเวียนศีรษะควรนั่งพักทันที
  • นอนโดยให้ศีรษะยกขึ้นสูงเล็กน้อยหรืออาจใช้หมอนหนุน 2 ใบ
  • นอนพักผ่อนในห้องที่เงียบและมืดสนิทเพื่อบรรเทาอาการเวียนศีรษะ
  • หากตื่นนอนขึ้นกลางดึกควรเปิดไฟ
  • ค่อย ๆ ลุกออกจากเตียงอย่างช้า ๆ หลังตื่นนอน โดยอาจนั่งพักที่ขอบเตียงสักครู่ก่อนลุกขึ้นยืน
  • ใช้อุปกรณ์ช่วยพยุงในการเดินเพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการลื่นล้มหรือเกิดอุบัติเหตุ
  • ทำกิจกรรมที่ช่วยให้รู้สึกผ่อน เพราะความวิตกกังวลอาจทำให้อาการบ้านหมุนแย่ลงได้
  • ไม่เงยศีรษะมากเกินไปขณะเอื้อมหยิบของที่อยู่สูง
  • ไม่โน้มตัวลงเพื่อก้มเก็บของ โดยอาจค่อย ๆ นั่งย่อตัวลงเพื่อเก็บของแทน

กรณีที่ผู้ป่วยมีอาการเรื้อรังหลายเดือนหรือเป็นปีควรไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษา โดยแพทย์จะพิจารณาการรักษาให้เหมาะกับรายบุคคลด้วยวิธีต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

การรักษาด้วยยา เพื่อช่วยบรรเทาอาการคลื่นไส้  วิงเวียน รู้สึกโคลงเคลงจากการเคลื่อนไหวศีรษะ เช่น ยาไดเมนฮัยดริเนต ยาซินนาริซีน หรือยาเบตาฮีสทีน เป็นต้น หากอาการบ้านหมุนมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อหรือการอักเสบ แพทย์อาจสั่งจ่ายยาปฏิชีวนะหรือยาสเตียรอยด์เพื่อรักษาการติดเชื้อและบรรเทาอาการบวมตามลำดับ

การเคลื่อนตะกอนหินปูนเคลื่อนให้กลับเข้าที่ (Canalith Repositioning Maneuvers) ด้วยการขยับศีรษะและคอด้วยท่าทางเฉพาะ เพื่อช่วยเคลื่อนตะกอนหินปูนเคลื่อนกลับเข้าที่เดิม วิธีนี้เป็นวิธีที่ค่อนข้างปลอดภัย และได้ผลดี เหมาะสำหรับโรคที่พบบ่อยอย่างโรคตะกอนหินปูนในหูชั้นในหลุด (Benign Paroxysmal Positional Vertigo-BPPV)

การฟื้นฟูระบบการทรงตัว (Vestibular Rehabilitation) เป็นวิธีการทำกายภาพด้วยท่าทางการบริหารร่างกายหลากหลายรูปแบบที่เป็นระบบ เพื่อฟื้นฟูประสาทส่วนที่มีหน้าที่ในการควบคุมการทรงตัว เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการบ้านหมุนเป็นซ้ำ ๆ  เพื่อบรรเทาอาการบ้านหมุนให้ดีขึ้น

การผ่าตัด เป็นวิธีที่ใช้น้อยมาก เฉพาะในกรณีที่การรักษาด้วยยาและทำกายภาพไม่ได้ผลดี ผู้ป่วยยังคงมีอาการรุนแรงมากขึ้น หรือมีปัญหาจากสาเหตุอื่น เช่น เนื้องอก การได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะหรือคอ เป็นต้น ซึ่งอาจช่วยบรรเทาอาการบ้านหมุนให้ดีขึ้น

ภาวะแทรกซ้อนของบ้านหมุน

โดยทั่วไป อาการบ้านหมุนเพียงอย่างเดียวจะไม่มีภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรง แต่มักจะเสี่ยงต่ออุบัติเหตุอย่างการลื่นล้มมากที่สุด โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ เนื่องจากไม่สามารถควบคุมการทรงตัวของตนเองได้ และอาจก่อให้เกิดการบาดเจ็บที่ร้ายแรงตามมาจากการหกล้มหรืออุบัติเหตุ เช่น กระดูกสะโพกหัก อุบัติเหตุจากการขับรถหรือทำงานในสภาวะอันตราย เป็นต้น อีกทั้งยังรบกวนการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันได้    

การป้องกันบ้านหมุน

อาการบ้านหมุนจะป้องกันโดยขึ้นกับแต่ละสาเหตุที่แตกต่างกันออกไป โดยทั่วไปการดูแลตนเองให้มีสุขภาพดีอยู่เสมอและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่างในชีวิตประจำวัน อาจมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงการเกิดบ้านหมุนได้

  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มจำพวกแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ น้ำอัดลม ซึ่งมีสารที่อาจทำให้เลือดไปเลี้ยงหูชั้นในได้น้อยลง    
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อให้ระบบต่าง ๆ ในร่างกายทำงานได้อย่างปกติ
  • เคลื่อนไหวอย่างระมัดระวัง ไม่รีบร้อนหรือทำอะไรที่รวดเร็วเกินไป
  • ระวังการลื่นล้ม หรือเกิดอุบัติเหตุรุนแรงกับศีรษะและสมอง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่ออวัยวะที่ควบคุมระบบการทรงตัวภายในหูชั้นใน
  • ไม่ควรรับประทานอาหารที่เค็มมากเกินไป เนื่องจากความเค็มอาจส่งผลให้มีน้ำคั่งในร่างกาย และในหูชั้นในมากขึ้น ซึ่งอาจเป็นสาเหตุหนึ่งของอาการเวียนศีรษะบ้านหมุนได้