รูป แสดง ระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติใน ประเทศไทย

ก๊าซธรรมชาติ คืออะไร ก๊าซธรรมชาติ เกิดจากการทับถมของซากพืชซากสัตว์ภายใต้ความร้อนหลายร้อยล้านปี และแรงกดดันมหาศาลจนแปรสภาพเป็นปิโตรเลียม มีทั้งในสถานะของแข็ง คือ ถ่านหิน, ของเหลว คือ น้ำมันดิบ และก๊าซ ซึ่งก็คือก๊าซธรรมชาติ

รูป แสดง ระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติใน ประเทศไทย

• เป็นเชื้อเพลิงปิโตรเลียมที่นำมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง มีการเผาไหม้สมบูรณ์
• ลดการสร้างก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อน
• มีความปลอดภัยสูงในการใช้งาน เนื่องจากเบากว่าอากาศ จึงลอยขึ้นเมื่อเกิดการรั่ว
• มีราคาถูกกว่าเชื้อเพลิงปิโตรเลียมอื่นๆ เช่น น้ำมันและก๊าซปิโตรเลียมเหลว
• สามารถสร้างมูลค่าเพิ่ม ช่วยขับเคลื่อนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ
• ก๊าซธรรมชาติส่วนใหญ่ในประเทศไทยผลิตได้เอง จากแหล่งในประเทศ จึงช่วยลดการนำเข้าพลังงานเชื้อเพลิงอื่นๆ และประหยัดเงินตราต่างประเทศได้มาก
• เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เนื่องจากปล่อยมลพิษน้อยกว่าเชื้อเพลิงปิโตรเลียมอื่น
• มีปริมาณสำรองที่ค้นพบแล้วทั่วโลกในระดับที่เพียงพอต่อการใช้ไปอีกเป็นร้อยปี ทั้งนี้ยังไม่นับรวมปริมาณก๊าซที่แทรกอยู่ตามชั้นหินหรือถ่านหิน (Unconventional Gas)

รูป แสดง ระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติใน ประเทศไทย


ในปัจจุบัน ระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ มีความยาวกว่า 4,252 กิโลเมตร ประกอบด้วย ระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติบนบก ความยาวประมาณ 2,119 กิโลเมตร และท่อในทะเล ความยาวประมาณ 2,133 กิโลเมตร (ข้อมูล ณ ธันวาคม 2562) โดยระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติจะเชื่อมต่อจากแหล่งก๊าซธรรมชาติต่างๆ ในอ่าวไทย และแหล่งยาดานา เยตากุน และซอติก้า ในสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา นอกจากนี้ยังมีการนำเข้าก๊าซธรรมชาติจากประเทศในตะวันออกกลาง ในรูปแบบก๊าซธรรมชาติเหลว หรือ LNG ส่งผ่านระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติให้กับผู้ผลิตไฟฟ้า ลูกค้าอุตสาหกรรมต่างๆ และสถานี NGV

รูป แสดง ระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติใน ประเทศไทย


โดยข้อควรปฏิบัติ หากพบอุบัติเหตุท่อส่งก๊าซรั่วมีข้อควรปฏิบัติของชุมชนดังนี้

1. ให้ออกจากบริเวณที่เกิดอุบัติเหตุท่อส่งก๊าซธรรมชาติรั่วไปทางเหนือลมทันที
2. หลีกเลี่ยงการทำให้เกิดประกายไฟหรือความร้อน ซึ่งเป็นสาเหตุให้ก๊าซติดไฟ รวมทั้งอย่าสตาร์ตเครื่องยนต์ หรือแม้แต่เปิด-ปิดสวิตช์ไฟฟ้า
3. โทรศัพท์แจ้งหมายเลขโทรศัพท์ที่อยู่ในป้ายเตือนให้เร็วที่สุด หรือศูนย์ควบคุมการส่งก๊าซ (Gas Control) หมายเลข 1540 ตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมบอกสถานที่เกิดเหตุและลักษณะการรั่วของก๊าซที่พบเห็น

ทั้งนี้ ท่อส่งก๊าซที่อยู่ใต้ดินจะมีความลึกตามมาตรฐานอย่างน้อย 1.5 เมตร มีการเคลือบผิวท่อเพื่อป้องกันสนิมและการผุกร่อน และหลังการฝังกลบท่อ จะมีป้ายเตือนแสดงแนวท่อส่งก๊าซธรรมชาติที่แสดงหมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉินที่สามารถติดต่อได้ ตลอด 24 ชั่วโมง

ดังนั้น เพื่อให้มีพลังงานพร้อมใช้อย่างเพียงพอ เราจะต้องมีการจัดหาพลังงานพร้อมทั้งหาแหล่งพลังงานทดแทน หรือพลังงานทางเลือกที่มีปริมาณตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานของประชาชน การมีโครงข่ายระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติจึงเป็นทางเลือกหนึ่งเพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายแห่งความมั่นคงทางพลังงานได้อย่างยั่งยืน