ผลกระทบภัยแล้งในทวีปแอฟริกา

80-90% ของภัยธรรมชาติในช่วง 10 ปีที่ผ่านมานั้น มีทั้งอุทกภัยและภัยแล้งเป็นตัวการสำคัญ ดังนั้นจึงอย่าแปลกใจว่าในขณะที่อุทกภัยถล่มหลายพื้นที่ในปากีสถาน แต่วิกฤต “ภัยแล้ง” ก็กำลังเกิดขึ้นทั่วโลกในขณะนี้เช่นกัน นั่นหมายความว่าสภาพอากาศสุดขั้วที่นำไปสู่ภัยพิบัติทางธรรมชาติได้เกิดขึ้นบ่อยครั้ง อันเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยภัยแล้งมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นบ่อยครั้งและรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ภายในไม่กี่ปีข้างหน้า ความเสี่ยงของการเกิดภัยแล้งทางการเกษตรและระบบนิเวศมีโอกาสเกิดขึ้นเกือบ 2.4 เท่าภายใต้ภาวะโลกร้อนเพิ่มขึ้นที่ระดับ 2 องศาเซลเซียส นี่จึงปัญหาใหญ่ที่สร้างความหนักอกให้กับผู้นำทุกประเทศในโลกในการที่จะต้องหาทางรับมือและแก้ไขอย่างเร่งด่วน


ผลกระทบภัยแล้งในทวีปแอฟริกา
อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทำให้พื้นที่แห้งแล้งอยู่แล้วแห้งแล้งยิ่งขึ้นส่วนบริเวณที่เปียกชื้นอยู่แล้วก็ยิ่งเปียกชื้นขึ้นไปอีก โดยเฉพาะในพื้นที่แห้งแล้งนั้น เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น น้ำจะระเหยเร็วขึ้น และเพิ่มความเสี่ยงต่อความแห้งแล้งหรือทำให้เกิดฤดูแล้งยาวนานขึ้น ระหว่าง 80-90% ของภัยพิบัติที่บันทึกไว้ทั้งหมดจากภัยธรรมชาติในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เป็นผลมาจากน้ำท่วม ภัยแล้ง พายุหมุนเขตร้อน คลื่นความร้อน และพายุรุนแรง
ในขณะที่แม่น้ำและทะเลสาบหลายแห่งทั่วโลกกำลังแห้งผากและอ่างเก็บน้ำต่างๆ ก็ว่างเปล่ามากขึ้น ทางตอนเหนือของอิตาลีกำลังเผชิญกับภัยแล้งครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 70 ปี  เป็นเหตุให้รัฐบาลอิตาลีประกาศภาวะฉุกเฉินใน 5 ภูมิภาคในช่วงต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ประมาณหนึ่งในสามของประชากรอิตาลี (17 ล้านคน) อาศัยอยู่รอบๆ แม่น้ำโปซึ่งเป็นแม่น้ำที่ยาวที่สุดของอิตาลี และเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งที่สำคัญตลอดระยะเวลาประวัติศาสตร์อันยาวนานของแดนมักกะโรนี ได้รับผลกระทบ
ด้านฝรั่งเศสก็กำลังประสบกับภัยแล้งที่เลวร้ายที่สุดนับตั้งแต่เริ่มมีการบันทึกในปี 2501 ตามการระบุของนายกรัฐมนตรีเอลิซาเบธ บอร์น เป็นเหตุให้มีการจำกัดการใช้น้ำในหลายพื้นที่ของประเทศ และคาดว่าการเก็บเกี่ยวข้าวโพดจะลดลงเกือบ 20% จากปี 2564
เช่นเดียวกับสุกรและวัวควายมากกว่าครึ่งของประเทศ ขณะที่มากกว่า 43% ของรัฐในสหรัฐอเมริกา กำลังประสบกับภัยแล้ง
ความแห้งแล้งอย่างยิ่งยวดนี้ได้เผยให้เห็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ที่ทอดตัวสงบนิ่งอยู่ใต้ผืนน้ำมาช้านาน ขณะเดียวกันก็มีการค้นพบครั้งใหม่เกิดขึ้นเช่นกัน
ผลกระทบภัยแล้งในทวีปแอฟริกา
เมื่อภัยแล้งมาเยือน เผยให้เห็นซากอารยธรรมโบราณและหลักฐานที่เกี่ยวเนื่องกับการฆาตกรรม
ในสเปน เช็ก อิตาลี อิรัก และจีน สถานที่ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ไม่เคยปรากฏให้เห็นมาก่อน โดยบางแห่งมีอายุย้อนไปถึงสมัยจักรวรรดิโรมันหรือแม้แต่ยุคสำริด นักโบราณคดีพยายามใช้ประโยชน์จากภัยแล้งเช่นในกรณีของโบราณสถานเคมุเนในอิรัก ส่วนในแคว้นกาลิเซียและคาตาโลเนียของสเปน และเฮสส์ของเยอรมนี ก็นำไปสู่การค้นพบใหม่ๆ เมื่อแหล่งกักเก็บน้ำได้ระบายออกจากหมู่บ้านที่ถูกทิ้งร้าง ขณะที่การค้นพบใหม่ที่น่าจะเป็นการค้นพบที่เก่าแก่ที่สุดในห้วงเวลาใกล้เคียงกันนี้ก็คือ การพบซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์ซึ่งมีอายุประมาณ 113 ล้านปี โผล่ขึ้นมาจากก้นแม่น้ำที่แห้งแล้งในอุทยานไดโนเสาร์ วัลเล่ย์ สเตท พาร์ค ที่เท็กซัส สหรัฐอเมริกา
นอกจากนี้ ในปี 2565 สหรัฐอเมริกายังพบศพหลายศพ ในเดือนพฤษภาคม กรกฎาคม และสิงหาคม เมื่อระดับน้ำในทะเลสาบมี้ดลดลง ซากศพหนึ่งถูกระบุว่าเป็นเหยื่อคดีฆาตกรรมที่อาจเชื่อมโยงกับความรุนแรงของมาเฟียในลาสเวกัสในปี 2493-2503 ไม่เพียงเท่านั้น ยังมีการค้นพบที่น่าสะพรึงกลัวอีกอย่างหนึ่งคือสิ่งที่เรียกว่า “หินแห่งความหิวโหย” ซึ่งมองเห็นได้อีกครั้งในท้องแม่น้ำเอลเบใกล้เมืองเดซินในเช็ก
หินแห่งความหิวโหยเป็นสถานที่สำคัญทางอุทกวิทยา ที่พบได้ทั่วไปในยุโรปกลาง ทำหน้าที่เป็นอนุสรณ์และการเตือนความอดอยากและถูกสร้างขึ้นในเยอรมนี และในการตั้งถิ่นฐานของชาวเยอรมันที่แพร่ชาติพันธุ์ทั่วยุโรปในช่วงศตวรรษที่ 15-19 หินเหล่านี้ซึ่งมีจำนวนมาก จะมีการแกะสลักข้อความหรืองานศิลปะอื่นๆ สลักบนหิน มันถูกสร้างขึ้นหลังจากวิกฤตความหิวโหย อันเป็นผลกระทบเนื่องมาจากการปะทุของภูเขาไฟแทมโบรา
“ถ้าคุณเห็นฉัน คุณจะร้องไห้” นี่คือจารึกบนหินแห่งความหิวโหยที่ผุดพรายขึ้นมาจากแม่น้ำเอลเบบ่งบอกถึงความแห้งแล้งที่รุนแรงและความอดอยากที่เกิดขึ้น เป็นเครื่องเตือนใจถึงพลังและความน่ากลัวของภัยพิบัติทางธรรมชาติ
ผลกระทบภัยแล้งในทวีปแอฟริกา
ผลกระทบภัยแล้งในทวีปแอฟริกา
ทั้งนี้ จากข้อมูลล่าสุดที่ Statista รวบรวมพบว่า ประเทศที่มีความเสี่ยงจากภัยแล้งมากที่สุดในปี 2563 คือ โซมาเลีย โดยประเทศที่มีความเสี่ยงมากที่สุดหลายแห่งอยู่ในทวีปแอฟริกา รวมทั้งซิมบับเว จิบูตี และแอฟริกาใต้ โดยภัยแล้งส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสุขภาพ การเกษตร เศรษฐกิจ พลังงาน และสิ่งแวดล้อม
มีการประเมินจาก WHO ว่ามีผู้คนประมาณ 55 ล้านคนทั่วโลก ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งเป็นประจำทุกปี และภัยแล้งถือเป็นอันตรายร้ายแรงที่สุดต่อปศุสัตว์และพืชผลในเกือบทุกภูมิภาคของโลก ไม่เพียงเท่านี้ ภัยแล้งยังคุกคามชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน เพราะเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคและนำไปสู่การสูญเสียชีวิต
ผลกระทบต่อสุขภาพจากภัยแล้งเกิดขึ้นทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง ไม่ว่าจะเป็นภาวะทุพโภชนาการเนื่องจากการขาดแคลนอาหาร รวมถึงการขาดสารอาหารรอง เช่น โรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก รวมถึงเพิ่มความเสี่ยงของโรคติดเชื้อ เช่น อหิวาตกโรค ท้องร่วง และปอดบวม อันเนื่องมาจากภาวะทุพโภชนาการเฉียบพลัน การขาดน้ำและการสุขาภิบาล ตลอดจนเกิดความเครียดที่มาจากจิตใจและสังคม และความผิดปกติทางสุขภาพจิต

ผลกระทบภัยแล้งในทวีปแอฟริกา

ขณะเดียวกัน ภัยแล้วยังทำให้เกิดการหยุดชะงักของบริการสุขภาพในท้องถิ่น เนื่องจากการขาดแคลนน้ำประปา การสูญเสียกำลังซื้อ การอพยพ และ/หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขถูกบังคับให้ออกจากพื้นที่
ภัยแล้งที่รุนแรงยังส่งผลต่อคุณภาพอากาศโดยทำให้มีโอกาสเกิดไฟป่าและพายุฝุ่นมากขึ้น เพิ่มความเสี่ยงต่อสุขภาพในผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโรคปอดอยู่แล้ว เช่น โรคหอบหืดหรือโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) หรือโรคหัวใจ
นอกจากนี้ ยังเป็นปัจจัยเร่งเร้าให้เกิดการการอพยพครั้งใหญ่ การขาดแคลนน้ำดื่ม น้ำใช้ ส่งผลกระทบต่อ 40% ของประชากรโลก และคาดจะมีประชากรราว 700 ล้านคนทั่วโลก มีความเสี่ยงที่จะกลายเป็นผู้พลัดถิ่นจากภัยแล้ง ภายในปี 2573
หากผู้นำและรัฐบาลประเทศต่างๆ ยังนิ่งนอนใจหรือไม่มีทางออกที่ดีพอสำหรับปัญหาภัยแล้ง หายนะที่เปรียบเสมือนภัยเงียบนี้จะค่อยๆ คืบคลานมาเยือนและจู่โจมชีวิตของพวกเราทุกคนบนโลกใบนี้

ที่มา :

  • Droughts are getting worse around the world, here’s why and what needs to be done
  • Drought
  • What Droughts Have Revealed

Post Views: 495