การเคลื่อนที่ของตะกอนธารน้ําแข็ง ทฤษฎี

พบว่ารูปร่างของทวีปสามารถรวมเข้ากันได้อย่างพอเหมาะแต่ไม่สมบูรณ์ เนื่องจากผลของการกัดเซาะชายฝั่งและการสะสมของตะกอนทำให้ทวีปเปลี่ยนไป

2. หลักฐานจากความคล้ายคลึงกันของกลุ่มหินและแนวภูเขา

การเคลื่อนที่ของตะกอนธารน้ําแข็ง ทฤษฎี

รูปที่ 7 รูปแสดงกลุ่มหินและแนวภูเขา

http://www.rmutphysics.com/charud/naturemystery/sci3/geology/6/index_ch_6-1.htm

 

กลุ่มหินที่พบในทวีปอเมริกาใต้ ทวีปแอนตาร์กติการ์ ทวีปแอฟริกาและอนุทวีปอินเดีย เป็นกลุ่มกินที่เกิดในช่วง 359-146ล้านปี และมีการระเบิดของภูเขาไฟเหมือนกัน

 

3. หลักฐานจากหินที่เกิดจากการสะสมตัวของตะกอนจากน้ำแข็ง

 

การเคลื่อนที่ของตะกอนธารน้ําแข็ง ทฤษฎี

 

รูปที่ 8 รูปแสดงการสะสมตัวของตะกอนธารน้ำแข็ง

http://www.google.co.th/imgres?imgurl=http://elearning.stkc.go.th/

 

ในช่วงประมาณ 280 ล้านปี ที่ผ่านมา (ปลายของมหายุคพาลีโอโซอิก) พบหลักฐานว่าแผ่นดินบริเวณที่เคยเป็นส่วนประกอบของกอนด์วานา (Gondwana) ถูกปกคลุมด้วยแผ่นน้ำแข็ง และเมื่อนำหลักฐานเกี่ยวกับหินตะกอนซึ่งเกิดจากตัวกลางที่เป็นน้ำแข็งอายุเดียวกันและทิศทางการเคลื่อนที่ของธารน้ำแข็งพบว่ามีความสอดคล้องกันซึ่งสังเกตได้จากรอยขูดหินที่พบในทวีปต่างๆ จึงเป็นหลักฐานว่าทวีปต่างๆเคยต่อเป็นทวีปเดียวกัน

นักวิทยาศาสตร์เรียกสมัยน้ำแข็งที่เกิดขึ้นในช่วงปลายมหายุคพาลีโอโซอิกว่า สมัยน้ำแข็งคะรู (Karoo Ice Age)

4. หลักฐานจากซากบรรพชีวิน

 

การเคลื่อนที่ของตะกอนธารน้ําแข็ง ทฤษฎี

 

รูปที่ 9รูปแสดงการค้นพบฟอสซิลของสัตว์ต่างๆในทวีปต่างๆ

http://www.thaichristians.net/today/index.php?option=com_content&view=article&id=347:-continental-drift&catid=45:latest-news&Itemid=218

 

มีการพบซากบรรพชีวินชนิดเดียวกันในหลายทวีป ในขณะที่ทวีปต่างๆยังรวมติดกันอยู่สิ่งมีชีวิตเหล่านี้ได้แพร่กระจายและเมื่อทวีปแยกตัวออกจากกันดังเช่นปัจจุบันจึงทำให้พบซากบรรพชีวินนี้กระจายอยู่ตามทวีปต่างๆ

 

2.2 หลักฐานและข้อมูลทางธรณีวิทยา ที่สนับสนุนการเคลื่อนที่ของทวีป

 

2.2.1 เทือกเขาใต้สมุทร (mid-oceanic ridge)

 

การเคลื่อนที่ของตะกอนธารน้ําแข็ง ทฤษฎี

 

รูปที่ 10 รูปแสดงเทือกสันเขาใต้สมุทรแอตแลนติก

http://www.google.co.th/imgres?imgurl

 

ลักษณะที่โดดเด่นของพื้นมหาสมุทร คือ ลักษณะเทือกสันเขาใต้สมุทรที่มีฐานกว้างมากเมื่อเปรียบเทียบกับความสูง เช่นเทือกสันเขาใต้มหาสมุทรแอตแลนติกเป็นเทือกเขาจากตอนเหนือถึงตอนใต้ของหมาสมุทร แนวเทือกเขาขนานไปตามรูปร่างของทวีปโดยด้านหนึ่งขนานไปกับชายฝั่งของทวีปอเมริกา และอีกด้านหนึ่งขนานกับชายฝั่งของทวีปยุโรปและแอฟริกา

 

2.2.2ร่องลึกก้นสมุทร(trench)

การเคลื่อนที่ของตะกอนธารน้ําแข็ง ทฤษฎี

รูปที่ 11รูปแสดงร่องลึกก้นสมุทร

http://www.google.co.th/imgres?imgurl=http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb

e/e2/Atlantic-trench.JPG/300px-Atlantic-

 

ร่องลึกก้นสมุทรเกิดเป็นแนวแคบแต่ลึกมาก เช่น ร่องลึกก้นสมุทรมาเรียนา (Mariana trench) มีความลึกประมาณ11กิโลเมตร ร่องลึกก้นสมุทรพบอยู่บริเวณขอบของทวีปบางทวีป เช่น บริเวณด้านตะวันตกของทวีปอเมริกากลาง และอเมริกาใต้ หรือเกิดใกล้กับแนวหมู่เกราะภูเขาไปรุปโค้ง เช่นหมู่เกาะญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์และเกาะสุมาตรา

 

2.2.3อายุหินบริเวณพื้นสมุทร

การเคลื่อนที่ของตะกอนธารน้ําแข็ง ทฤษฎี

รูปที่ 12 รูปแสดงอายุหินบะซอลต์บริเวณรอยแยกกลางมหาสมุทรแอตแลนติก

http://www.maceducation.com/e-knowledge/2502201100/02.htm

 

จากการสำรวจมหาสมุทรแปซิฟิก มหาสมุทรแอตแลนติก และมหาสมุทรอินเดีย รวมทั้งทะเลใกล้เคียงพบหินบะซอลต์ที่บริเวณหุบเขาทรุดหรือรอยแยกบริเวณสันเขาใต้สมุทร ซึ่งหิน
บะซอลต์ที่อยู่ไกลจากรอยแยกมีอายุมากกว่าหินบะซอลต์ที่อยู่ใกล้หุบเขาทรุด

นักวิทยาศาสตร์อธิบายได้ว่า เมื่อแผ่นธรณีเกิดรอยแยก แผ่นธรณีจะเกิดการเคลื่อนตัวออกจากกันช้าๆ ตลอดเวลา ในขณะเดียวกันเนื้อของหินบะซอลต์จากส่วนล่างจะแทรกเสริมขึ้นมาตรงรอยแยกเป็นชั้นธรณีภาคใหม่ ทำให้บริเวณรอยแยกเกิดหินบะซอลต์ใหม่เรื่อยๆ ดังนั้นแผ่นธรณีบริเวณเทือกสันเขาใต้สมุทร จึงมีอายุอ่อนที่สุดและแผ่นธรณีใกล้ขอบทวีปจะมีอายุมากกว่า นักวิทยาศาสตร์ตั้งข้อสังเกตว่า โลกมีการสร้างชั้นธรณีภาคบริเวณเทือกสันเขาใต้สมุทรขึ้นมาใหม่ตลอดเวลา

 

2.2.4 ภาวะแม่เหล็กโลกบรรพกาล (palaeomagnetism)

การเคลื่อนที่ของตะกอนธารน้ําแข็ง ทฤษฎี

รูปที่ 13 รูปแสดงการกลับขั้วของสนามแม่เหล็กโลก

http://beebeedome.myfri3nd.com/blog/2010/11/16/entry-1

ภาวะแม่เหล็กโลกบรรพกาล หมายถึง ร่องรอยสนามแม่เหล็กโลกในอดีตมักศึกษาจากหินบะซอลต์ที่มีแร่แมกนีไทต์ (Fe3O4) เป็นองค์ประกอบ ในขณะที่ลาวาบะซอลต์ไหลบนผิวโลกอะตอมของธาตุเหล็กที่อยู่ในแร่แมกนีไทต์จะถูกเหนี่ยวนำโดยสนามแม่เหล็กโลกทำให้มีการเรียงตัวในทิศทางเดียวกับเส้นแรงแม่เหล็กโลก

ภาวะของสนามแม่เหล็กโลกบรรพกาลในบางช่วงเวลาทางธรณีวิทยาเป็นสนามแม่เหล็กแบบกลับขั้ว (Reverse Magnetism) หมายถึง ขั้วเหนือของแม่เหล็กโลกจะอยู่บริเวณใกล้ขั้วโลกใต้และขั้วใต้ของแม่เหล็กโลกจะอยู่บริเวณใกล้ขั้วโลกเหนือ

ความเป็นแม่เหล็กอย่างอ่อนของหิน ซึ่งอาจมีตั้งแต่ตะกอนสะสมตัวหรือขณะหินหนืดกำลังแข็งตัว ในขณะที่เกิดสารแม่เหล็กในเนื้อหินจะวางตัวตามทิศทางสนามแม่โลก ด้วยคุณสมบัติดังกล่าวจึงถูกนำไปใช้หาทิศของขั้วแม่เหล็กโลกในช่วงเวลาต่าง ๆ ของหินและเป็นหลักฐานสำคัญที่สนับสนุนทฤษฎีการขยายตัวของพื้นมหาสมุทร