ภัยจากโลกออนไลน์ มีอะไรบ้าง

Cyber Sexual Harassment คือ การใช้ภาษาลวนลามทางเพศผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย ปัจจุบันพฤติกรรมคุมคามทางเพศผ่านสังคมออนไลน์สามารถพบเห็นไปแทบทุกช่องทาง เนื่องจากโซเชียลมีเดียเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของคนในสังคม และไม่สามารถระบุตัวตนที่แท้จริงของผู้ใช้งานได้ ทำให้การกระทำความผิดเป็นเรื่องง่ายมากขึ้น เพราะผู้กระทำความผิดสามารถ ลบทำลายหลักฐานบนโซเชียลมีเดียได้ ทำให้ยากในการติดตาม

และยังมีแนวคิดบางส่วนมองว่า พฤติกรรมดังกล่าวเป็นการพูดเล่น พูดติดตลก หรือเป็นการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคนอื่นไปในแนวลามก “เป็นเรื่องปกติที่ใคร ๆ ก็ทำได้ เพราะเราต่างไม่รู้จัก” ไม่ใช่เรื่องผิดแปลก

ภัยจากโลกออนไลน์ มีอะไรบ้าง
Social networks. Friends texting on their smartphones, standing in row

พฤติกรรมแบบใดเข้าข่าย Cyber Sexual Harassment?

การเหยียดเพศ

การแสดงความคิดเห็นในเชิงดูถูกเหยียดหยามรสนิยมทางเพศ หรือเพศสภาพของผู้อื่น โดยเห็นว่าเป็นเรื่องตลก และนำมาล้อเลียนให้อับอาย อาทิ สายเหลือง, ล้างตู้เย็น, ขุดทอง หรือเปลี่ยนทอมให้เป็นเธอ ฯลฯ

การลวนลามทางเพศ

การแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องเพศ การพูดถึงอวัยวะเพศ (ชาย/หญิง) เสนอหรือขอทำกิจกรรมทางเพศกับบุคคลดังกล่าว โดยไม่สนใจเรื่องเพศ หรืออายุของผู้ถูกกระทำ อาทิ อยากเลีย/อม_ให้ล้ม, ได้น้อง_สักครั้ง จะตั้งใจเรียน, เห็นกล้ามแล้ว อยาก_ซักคำ, ช่วงนี้ พี่หิวขอกินข้าวหลามน้องได้ไหม หรือเห็นน้องแล้ว พี่อยากเป็นผู้ประสบภัย เป็นต้น

การข่มขู่ทางเพศ

การข่มขู่ผู้ถูกกระทำและคนสนิทบนโลกออนไลน์ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ทางเพศ โดยพฤติกรรมดังกล่าว ถือว่าเป็นการเกาะติดชีวิตออนไลน์ของผู้อื่น (Cyberstalking) หรืออีกกรณี คือ Revenge Porn เป็นการนำรูปโป๊ของเหยื่อมาข่มขู่หรือแก้แค้น และเหตุการณ์ที่พบบ่อย คือ เมื่อฝ่ายหญิงเลิกกับฝ่ายชาย แล้วฝ่ายชายนำภาพโป๊ที่เคยถ่ายตอนเป็นแฟนกันมาข่มขู่ หรือแก้แค้นฝ่ายหญิง โดยไม่สนใจว่าฝ่ายหญิงจะได้รับความเสื่อมเสียหรืออับอายเพียงใด

สื่อออนไลน์ที่พบข้อความ Cyber Sexual Harassment

  • ทวิตเตอร์
  • เฟซบุ๊ก
  • ยูทูป
  • อินสตาแกรม
  • พันทิป
  • การแสดงความคิดเห็นผ่านการไลฟ์สด ฯลฯ

ภัยจากโลกออนไลน์ มีอะไรบ้าง
sexual harassment conceptual

ตัวอย่างพฤติกรรมที่เข้าข่าย Cyber Sexual Harassment

  • การแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคนอื่นไปในแนวลามก
  • การกระจายข่าวลือเรื่องการร่วมเพศ หรือนินทาคนอื่นด้วยข้อความบนสื่อออนไลน์
  • การโพสต์แสดงความคิดเห็นทางเพศภาพหรือวิดีโอลามกบนสื่อออนไลน์
  • ส่งข้อความและภาพลามกผ่านข้อความ
  • กดดันให้คนอื่นมีส่วนร่วมในการส่งข้อความลามก
  • ส่งต่อข้อความและภาพลามกผ่านข้อความหรืออีเมล
  • แอบอ้างเป็นบุคคลอื่นบนสื่อออนไลน์ เพื่อแสดงความคิดเห็นลามกหรือเสนอการร่วมเพศ ฯลฯ

 สิ่งที่ควรย้ำเตือน เพื่อไม่ให้เกิด Cyber Sexual Harassment

  • คนหน้าตาดี ไม่ว่าจะเพศใด อายุเท่าใด หรือสัญชาติไหน ท่องไว้ว่า บุคคลเหล่านั้นไม่ใช่เหยื่ออารมณ์หื่นที่คุณจะนำมาเล่นสนุกบนโซเชียลได้
  • การแต่งตัวเซ็กซี่ หรือล่อแหลม ไม่ใช่ใบอนุญาตคุกคามทางเพศ
  • การแสดงความหื่น ไม่ว่าจะทำกับใครก็ตาม การกระทำของคุณไม่ได้ดูเท่ หรือดูเก่งเหนือใคร แต่เป็นเรื่องน่าอายที่เข้าข่ายผิดกฎหมาย
  • หากคุณไม่เคารพ “สิทธิส่วนตัว” ของผู้อื่น ก็ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้คนอื่นเคารพสิทธิส่วนตัวของคุณเช่นกัน ฯลฯ

Cyber Sexual Harassment เข้าข่ายความผิดอะไรบ้าง

ปัจจุบันยังไม่มีตัวบทกฎหมายที่กำหนดเรื่องการเอาผิดกับผู้กระทำผิดเรื่องลวนลามทางเพศในสังคมออนไลน์ เนื่องจาก พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ หรือ พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ 2560 ไม่ได้บัญญัติความผิดเกี่ยวกับการคุกคามทางเพศบนอินเทอร์เน็ตไว้เป็นการเฉพาะ อีกทั้งประมวลกฎหมายอาญา ก็ไม่มีบทบัญญัติโดยเฉพาะเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวเช่นกัน มีเพียงบทบัญัติทั่วไปที่อาจนำมาปรับใช้ตามกรณีที่เกิดขึ้น อาทิ

พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ 2560

มาตรา 14 ข้อ (4) ที่กล่าวไว้ว่า การนำข้อมูลที่มีลักษณะอันลามกเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ การกระทำดังกล่าวถือว่า มีความผิด อาจต้องรับโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ปัจจุบันเยาวชนไทยมีการใช้อินเตอร์เน็ตกันมากขึ้น โดยร้อยละ 83 เข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้ง่าน ผ่านเครื่องมือสมาร์ทโฟน ในขณะเดียวกันในโลกออนไลน์ที่เด็กและเยาวชนกำลังใช้งานอยู่นั้น กลับมีภัยที่อาจทำให้พวกเขามองไม่เห็นได้

คู่มือแนวทางป้องกันคุ้มครองเด็กจากภัยออนไลน์ โดยศูนย์ประสานงานขับเคลื่อนการส่งเสริมและปกป้องเด็กและเยาวชนในการใช้สื่อออนไลน์ ได้แนะนำเกี่ยวกับภัยในโลกออนไลน์ไว้ดังนี้ 1.ถูกติดตามคุกคามออนไลน์ 2. ถูกติดต่อสื่อสารเรื่อเพศที่ไม่เหมาะสม 3. เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวมากเกินไป 4. ถูกแบล็กเมลทางเพศ 5. ถูกล่อลวงทางเพศ 6. ใช้สื่อโดยอายุไม่ถึงเกณฑ์ 7. เล่นพนันออนไลน์ 8. เกิดการเสพติดเกมและอินเตอร์เน็ต 9. มีเนื้อหาที่ผิดกฎหมายหรืออันตราย 10. ถูกกลั่นแกล้งหรือรังแกทางออนไลน์

      อ.สมพงษ์ กล่าวเสริมว่า “การที่บ้านเรามีการตั้งกลุ่มจิตอาสา ในการเฝ้าติดตามสื่อที่ไม่เหมาะสมที่มีอยู่หลากหลายรูปแบบอาจจะยังไม่เพียงพอ และไม่ทันกับปัญหาที่เกิดขึ้นกับเด็ก เพราะโซเชียลค่อนข้างรวดเร็ว แต่สิ่งสำคัญที่สุดบริบทของครอบครัว และการระบบการศึกษา ศาสนา เป็นแนวทางป้องกันปัญหาโลกออนไลน์ไปสู่เด็กที่สำคัญ และสื่อโซเชียลมีเดียต้องเฝ้าระวังกันเองในการนำเสนอข้อมูลที่ไม่เหมาะสมไปสู่เด็กและเยาวชน ที่สำคัญภาครัฐต้องเข้ามาดูแลปัญหานี้ และต้องเจ้าภาพหลักในการช่วยแก้ไขปัญหา”.

การกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ มี อะไร บ้าง

Cyberbullying คือ การระรานทางไซเบอร์ หมายถึงการกลั่นแกล้ง ให้ร้ายล้อเลียน ระรานบนโลกอินเทอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นการโพสหรือพิมพ์ด่าว่ากล่าว แต่งเรื่องราวหลอกลวงให้ผู้อื่นเสียหาย หรือการตัดต่อภาพหรือคลิป VDO ที่ส่อถึงการเจตนาล้อเลียน รวมถึงการสวมรอยเป็นผู้อื่นบนโลกออนไลน์อีกด้วย

การคุกคามทางโลกออนไลน์ มีกี่รูปแบบ

จากการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพประเด็นการกลั่นแกล้งทางออนไลน์ ด้วยการจัดสนทนากลุ่มนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ของโรงเรียนในกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 50 คน ในช่วงเดือน ส.ค. 2562 พบว่า การกลั่นแกล้งทางออนไลน์มีอยู่ทั้งหมด 7 รูปแบบ ได้แก่ การก่อกวน ข่มขู่คุกคาม การให้ร้ายใส่ความ การแกล้งแหย่ การเผยแพร่ความลับ

ภัยออนไลน์หมายถึงอะไร

เป็นภัยของสังคมที่นับวันเริ่มน่ากลัวมากขึ้นในโลกยุคโซเชียลมีเดีย กลุ่มมิจฉาชีพใช้สังคมออนไลน์สร้างความน่าเชื่อถือ และร่วมกันหลอกลวงเหยื่อ ร่วมลงทุนหรือทำธุรกิจ พอได้เงิน ปิดการติดต่อในกลุ่มโซเชียลหลบหนีไป มีข่าวให้เห็นกันมาตลอด คนถูกหลอกมีไปทั่ว ไม่เคยหมดไป กลายเป็นรูปแบบอาชญากรรมใหม่

Cyberbullying เกิดจากอะไร

Cyberbullying เกิดขึ้นได้ทั้งจากการแกล้งกันเล็ก ๆ น้อย ๆ ล้อกันเล่นขำ ๆ แล้วบานปลายไปด้วยความไม่ตั้งใจ หรืออาจเกิดจากความขัดแย้งกันในโรงเรียน ความเกลียดชัง ทั้งที่มีเหตุผลและไม่มีเหตุผล อาจแค่ไม่ชอบหน้า หรือความคิดเห็นบางอย่างไม่ตรงกัน แล้วใช้พื้นที่ในโลกออนไลน์โจมตีกัน รูปแบบของ Cyberbullying ที่พบบ่อย ๆ ได้แก่