ความสามารถทางด้านดนตรีมีอะไรบ้าง

ในปัจจุบันมีงานวิจัยจำนวนมากศึกษาถึงประโยชน์ของดนตรีต่อพัฒนาการของเด็กในด้านต่าง ๆ ส่วนใหญ่พบว่าการเลี้ยงลูกด้วยการให้ทำกิจกรรมทางดนตรีตั้งแต่ยังเล็ก อย่างการร้องเพลงหรือเล่นเครื่องดนตรี มีส่วนช่วยเสริมพัฒนาการและทักษะความสามารถด้านต่าง ๆ ของเด็กได้มาก 

ตามปกติแล้ว เด็กจะมีพัฒนาการด้านอารมณ์ สังคม และร่างกายไปตามลำดับ การส่งเสริมให้ลูกเติบโตและเรียนรู้อย่างสมวัยในแต่ละช่วงอายุ จึงมีผลต่อพัฒนาการและความสามารถของเด็ก และส่งผลมาจนถึงวัยผู้ใหญ่ได้ ซึ่งดนตรีนับเป็นอีกทางเลือกในการเสริมพัฒนาการเด็กที่พ่อแม่ยุคใหม่ให้ความสนใจอยู่ไม่น้อย

ความสามารถทางด้านดนตรีมีอะไรบ้าง

นอกจากดนตรีจะช่วยให้เด็กเพลิดเพลินแล้ว การที่เด็กได้ทำกิจกรรมทางดนตรีชื่นชอบ สนใจ หรือมีความถนัดอาจส่งผลดีต่อพัฒนาการทางด้านต่าง ๆ ต่อไปนี้

1. ความสามารถในการรับรู้และความสามารถทางภาษา

พ่อแม่ที่อยากให้ลูกมีพัฒนาการด้านการรับรู้สิ่งต่าง ๆ หรือทักษะทางภาษาและการสื่อสารที่รวดเร็ว ลองมองการเล่นดนตรีไว้เป็นทางเลือกได้เลย การใช้เวลากับการเล่นดนตรีสามารถช่วยเสริมความสามารถในการรับรู้ด้านภาษาและส่งผลไปถึงทักษะการอ่านที่ดี เนื่องจากเสียงดนตรีและคำพูดนั้นมีระบบการทำงานร่วมกัน 

การเล่นดนตรีบ่อย ๆ จึงช่วยฝึกการถอดเสียงและรูปแบบคำต่าง ๆ ให้ง่ายขึ้น ยิ่งเด็กใช้เวลากับดนตรีนานเท่าไหร่ก็ยิ่งทำให้สมองส่วนภาษาศาสตร์พัฒนาไปด้วย โดยจะสามารถจำคำศัพท์และมีการรับรู้ด้านการอ่านที่ดี

2. ทักษะคณิตศาสตร์

ทักษะการคิดคำนวณเป็นประโยชน์ดี ๆ ที่ได้มาจากการเล่นดนตรี งานวิจัยจากสหรัฐอเมริกาทดลองแบ่งเด็กชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ออกเป็น 2 กลุ่ม พบว่าเด็กกลุ่มที่มีประสบการณ์เล่นดนตรี 2 ปีขึ้นไป สามารถทำคะแนนทดสอบคณิตศาสตร์ขั้นพื้นฐานได้สูงกว่าเด็กกลุ่มที่ไม่เคยเล่นดนตรีมาก่อน 

นอกจากนี้ ในกลุ่มที่เคยเล่นดนตรีมาก่อน เด็กที่เล่นคีย์บอร์ดมีคะแนนการทดสอบสูงกว่าเด็กที่เล่นเปียโนและร้องเพลงมาก ดังนั้นหากลูกสนใจเล่นคีย์บอร์ดก็น่าสนับสนุนทีเดียว เพราะเป็นไปได้ว่าเขาจะมีทักษะการคิดคำนวณที่ยอดเยี่ยมตามมาด้วย

3. พัฒนาการทางสติปัญญา

ไม่มีพ่อแม่คนไหนไม่อยากเห็นลูกเติบโตเป็นเด็กฉลาด การเล่นดนตรีเป็นอีกทางที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านนี้ได้ มหาวิทยาลัยโทรอนโตแห่งแคนาดาทดลองแบ่งเด็กออกเป็น 4 กลุ่ม โดย 2 กลุ่มแรกเรียนคีย์บอร์ดและร้องเพลง 5 วันต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 7 เดือน 

ส่วน 2 กลุ่มหลังทำกิจกรรมอื่น ๆ ที่ไม่ใช่การเล่นดนตรี ปรากฏว่าทั้งกลุ่มที่เรียนดนตรีและไม่เรียนดนตรีมีไอคิวสูงขึ้นตามพัฒนาการ แต่ข้อแตกต่างคือ เด็กกลุ่มที่เรียนดนตรีมีไอคิวสูงขึ้นถึง 7 จุด ขณะที่อีกกลุ่มที่ไม่ได้เรียนดนตรีนั้นมีไอคิวเพิ่มขึ้น 4.3 จุด 

ทั้งนี้ยังพบว่าการเล่นเครื่องดนตรีประกอบจังหวะอย่างคีย์บอร์ด จะสร้างพัฒนาการทางสติปัญญาได้ดีกว่ามาก เมื่อเทียบกับการเล่นเปียโนหรือการร้องเพลง

4. การพัฒนาด้านร่างกาย และสุขภาพที่ดี

ไม่เพียงการพัฒนาทางสติปัญญาและจิตใจเท่านั้น ประโยชน์ของดนตรีที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ ช่วยเพิ่มทักษะการประสานงานของส่วนต่าง ๆ ในร่างกายได้ การทดสอบทางวิทยาศาสตร์พบว่า ในวัยก่อนเข้าเรียน การเล่นดนตรีมีประโยชน์พอ ๆ การเล่นพละด้วยซ้ำ 

นอกจากนี้งานวิจัยล่าสุดยังพบประโยชน์ของการร้องเพลงที่มีต่อระบบภูมิคุ้มกัน หัวใจ การหายใจและการทำงานของปอด ช่วยปรับท่าทางที่ดีขึ้นให้ร่างกาย ทำให้อารมณ์ดีขึ้น ลดความตึงเครียด เพิ่มความสุขสนุกสนาน ซึ่งแม้จะทดลองกับผู้ใหญ่แต่ประโยชน์เหล่านี้ก็น่าจะเกิดขึ้นกับเด็กได้เช่นกัน

5. การพัฒนาตนเองและทักษะด้านสังคม

แน่นอนว่าการเล่นดนตรีเป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์ในด้านการพัฒนาตนเองและทักษะการเข้าสังคม ในด้านการพัฒนาตนเอง การเล่นดนตรีจะทำให้เด็กรู้สึกประสบความสำเร็จจากความมุ่งมั่นและอดทนที่เกิดจากการฝึกซ้อมจนทำได้ รวมถึงเป็นการสร้างวินัยให้ตัวเองไปในตัว เมื่อทำได้สำเร็จ จึงเกิดความนับถือและเชื่อมั่นในตัวเอง และยังส่งผลให้เติบโตเป็นคนที่กล้าแสดงออกอีกด้วย

ทักษะและการเรียนรู้ในการพัฒนาตนเองเหล่านี้ยังนำไปสู่พัฒนาการทางสังคม ความมั่นใจและเชื่อมั่นในตนเองจากการเล่นดนตรีส่งผลให้เด็กมีทักษะทางสังคมที่ดียิ่งขึ้น การเล่นดนตรีเป็นทีมหรือการเรียนรู้ร่วมกับเด็กคนอื่น ๆ ช่วยสร้างมิตรภาพและความรู้สึกในการเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม ได้เรียนรู้การทำงานเป็นทีม ความมีระเบียบวินัยและความรับผิดชอบต่อส่วนรวมเพื่อไปสู่เป้าหมายร่วมกัน

ประโยชน์ของดนตรีต่อพัฒนาการของเด็กนั้นมีไม่น้อยเลย การส่งเสริมให้ลูกเล่นดนตรีตั้งแต่ยังเล็กนับเป็นอีกตัวช่วยของพ่อแม่ในการเพิ่มพัฒนาการหลาย ๆ ด้านของลูกได้อย่างยอดเยี่ยม นอกจากนี้ยังเป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ลูกได้ผ่อนคลายจากเสียงดนตรีและพบปะเพื่อนใหม่ไปในตัว หากลูกของคุณมีความสนใจทางด้านดนตรีก็ถือเป็นเรื่องที่ดีและควรสนับสนุนมากเลยทีเดียว

ดังพระราชนิพนธ์แปลในรัชกาลที่ 6 จากต้นฉบับ วิลเลี่ยม เช็คสเปียร์ ว่า ‘ชนใดไม่มีดนตรีกาล ในสันดานเป็นคนชอบกลนัก’ พอเราได้ฟังคำบอกเล่าจาก ‘ครูฟ้าใส’ คุณครูสอนดนตรีสำหรับเด็ก ก็ถึงบางอ้อดังเช่นที่เหล่านักปราชญ์กล่าว การพัฒนาความสามารถทางดนตรีไปพร้อมกับช่วงวัยพัฒนาการนั้น ให้อะไรมากกว่าที่คุณคาดคิด ประโยชน์ล้นทะลักจากการเรียนดนตรีตั้งแต่เด็กมีอะไรบ้าง The States Times ขอแชร์ประสบการณ์ตรงจาก ‘คุณครูฟ้าใส’ ผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนดนตรีในเด็ก มาบอกเล่าสู่กันฟังตรงนี้ค่ะ...

ประโยชน์ของการเรียนดนตรีในวัยเด็กมีอะไรบ้าง

นอกจากเด็กจะเล่นดนตรีเป็นแล้ว ในกระบวนการเรียนและฝึกฝนด้านดนตรีนั้น เด็กต้องใช้ทักษะหลายด้านมากเพื่อนำไปสู่บทเพลงเพลงหนึ่ง อันดับแรกคือ ไม่ว่าจะเล่นเครื่องดนตรีชนิดไหนหรือแม้แต่การร้องเพลง จะได้ฝึกสมาธิทั้งนั้น แม้แต่การเล่นเพลงง่าย ๆ เพียงหนึ่งเพลง เด็กยังต้องใช้สมาธิ ต่อมาเด็กต้องมีความรับผิดชอบและอดทนต่อการฝึกซ้อม ฝึกความจำในการจำเนื้อร้อง จำโน้ตเพลง ได้ฝึกประสาทหูที่ดีส่งผลให้สำเนียงเสียงภาษาดีไปด้วย 

ประโยชน์เหล่านี้คุณพ่อคุณแม่หลายคนอาจจะพอทราบกันมาบ้างแล้ว และนอกจากนี้ ถ้าเด็กได้ฝึกร้องเพลงจะได้เรื่องสุขภาพอีกด้วย เพราะต้องฝึกลมหายใจ ทำให้ได้ร่างกายได้รับออกซิเจนที่เพียงพอ เท่านั้นยังไม่พอ ประโยชน์ที่คาดไม่ถึงคือ การฝึกดนตรีนั้นทำให้เป็นคนมีเหตุมีผล เพราะดนตรีนั้นมีกฎมีเกณฑ์ที่เป็นเหตุเป็นผล เด็กต้องทำความเข้าใจจึงจะพัฒนาความสามารถทางดนตรีต่อไปได้

การเล่นเครื่องดนตรีที่ดูรุนแรงอย่างเช่น ตีกลอง ส่งผลต่ออารมณ์ที่รุนแรงไหม

การเล่นดนตรีแนวร็อค เมทัล ฮาร์ดคอร์ หรือเล่นเครื่องดนตรีอย่างเช่น กลอง แท้จริงส่งผลให้เด็กได้ปลดปล่อยอารมณ์และผ่อนคลายได้ดีกว่าการเล่นดนตรีที่เบากว่าด้วยซ้ำ โดยเฉพาะการตีกลองยิ่งจะช่วยให้เด็กได้ฝึกควบคุมอารมณ์ เพราะมือกลองคือคนควบคุมจังหวะของวง ควบคุมความหนัก เบา ช้า เร็วของเพลง ซึ่งคืออารมณ์ของดนตรี ประโยชน์อีกอย่างของการอยู่กับดนตรีที่ไม่พูดถึงไม่ได้เลยคือ ได้ความผ่อนคลาย อารมณ์สดใส ไม่ว่าคุณจะเป็นผู้เล่น ผู้ร้อง ผู้เต้น หรือผู้ฟัง ย่อมได้รับความผ่อนคลายจิตใจด้วยกันทั้งนั้น

ความสามารถทางด้านดนตรีมีอะไรบ้าง

หากคุณพ่อคุณแม่ไม่มีสตางค์ส่งลูกเรียนดนตรี 

ปัจจุบันนี้มีคอร์สเรียนเบื้องต้นสอนในยูทูบฟรีเต็มไปหมดเลยค่ะ หรือถ้าไม่มีเครื่องดนตรีให้เล่น ก็ไม่จำเป็นต้องเสียเงินซื้อเครื่องดนตรี เพียงการร้องเพลงเด็กก็ได้รับประโยชน์จากดนตรีแล้ว

อายุเท่าไหร่ที่เริ่มเรียนดนตรีได้

เริ่มได้ตั้งแต่ 3 ขวบขึ้นไป ในวัยนี้จะยังเล่นดนตรีไม่ได้เหมือนเด็กวัย 8 ขวบ แต่เด็กจะได้ฝึกระบบประสาทการฟัง ซึ่งถ้าได้ฝึกตั้งแต่เล็กจะได้ผลดีมากกว่าคนที่มาฝึกทีหลัง ส่วนชนิดของเครื่องดนตรีสามารถเลือกให้เหมาะสมกับทางกายภาพและกล้ามเนื้อของเด็กได้

ปัจจัยของการเล่นดนตรีให้เก่งมี 2 องค์ประกอบ คือ พรสวรรค์และการฝึกซ้อม หากมีพรสวรรค์แต่ไม่ฝึกซ้อม ไม่สามารถเล่นดนตรีให้ดีได้ แต่หากไม่มีพรสวรรค์แต่หมั่นฝึกซ้อมก็สามารถเป็นนักดนตรีที่เก่งได้ 

ความสามารถทางด้านดนตรีมีอะไรบ้าง

หากคุณพ่อคุณแม่เชื่อว่าดนตรีนั้นดีต่อลูก อยากหาเครื่องดนตรีให้ลูกฝึกสักชิ้น แนะนำว่าให้เด็กได้ลองเลือกเครื่องดนตรีเอง ให้เด็กมีแรงขับที่อยากจะฝึกหรือมีความรักดนตรีจากภายใน เด็กจะหาเครื่องดนตรีที่เหมาะสมกับตัวเองได้ ยิ่งครอบครัวที่รักในเสียงเพลงอยู่แล้ว เด็กจะรักดนตรีไปเอง เมื่อเด็กเลือกเครื่องดนตรีที่เขาชอบและเหมาะสมกับเขาเอง ได้เรียนกับครูที่ส่งเสริมและกระตุ้นเด็ก เด็กซ้อมอย่างสม่ำเสมอ มีเป้าหมายว่าทำไมต้องฝึก มีโอกาสได้โชว์ความสามารถ พ่อแม่ชื่นชมให้กำลังใจ ได้เข้าร่วมการแข่งขันทางดนตรี อย่างนี้มีแววไปไกลแน่นอน

หากเด็กขาดความกล้า กลัวคำวิจารณ์ คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยลูกปรับความเข้าใจของคำวิจารณ์ได้ คำวิจารณ์มี 2 ฝั่ง ฝั่งที่เป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ นำมาปรับปรุงให้เราดีขึ้นได้ ส่วนคำวิจารณ์ที่ไม่เกิดประโยชน์ก็ปล่อยไป หรือทำให้เป็นประโยชน์ได้โดยแปลงคำวิจารณ์เป็นพลังใช้ในการฝึกฝนพัฒนาตัวเราต่อไป

ปัจจุบันอุตสาหกรรมดนตรีนั้นเปลี่ยนไปจากเดิมมาก มีอาชีพทางดนตรีที่หลากหลายและรายได้ดี ความสามารถทางดนตรีเป็นทักษะสากล ขอเพียงมีวิชาชีพติดตัว ก็สามารถเติบโตทั้งในประเทศและยังต่างประเทศได้อย่างไม่มีข้อจำกัด ทุกคนสามารถพัฒนาความสามารถทางดนตรีได้ เพราะเราทุกคนมีดนตรีในหัวใจอยู่แล้ว เพียงแค่ยังไม่ถูกดึงออกมา 

ยังมีเนื้อหาดี ๆ เพื่อคนที่เรารักและคนที่รักเราให้ติดตามกันนะคะ


สามารถย้อนไปฟังการ LIVE หัวข้อที่น่าสนใจเหล่านี้เพิ่มเติมได้ที่ เพจดีต่อลูก

หัวข้อ ไขข้อข้องใจ ดนตรีกับการเลี้ยงลูก โดยครูฟ้าใส

https://www.facebook.com/299800753872915/videos/568577534091375

เขียนและเรียบเรียงเรื่องโดย: พิมพ์นารา สุวรรณไตรย์ 

ความสามารถทางด้านดนตรีมีอะไรบ้าง

The States Times FAMILY Team
ทีมงานสร้างสรรค์คอนเท้นทางด้านครอบครัว ทั้งเรื่องความสัมพันธ์ มุมมองและวิธีการเลี้ยงดูลูก ตลอดจนนานาสาระที่จะช่วยส่งเสิรมให้ ‘สถาบันครอบครัว’ มีความมั่นคง และเต็มไปด้วยคุณภาพ ติดตามเรื่องราวดีๆ ที่นี่กันได้เลย