จํานองที่ดินกับธกสใช้เอกสารอะไรบ้าง

สินเชื่อจํานองที่ดิน ธ.ก.ส. – สวัสดีค่ะทุกคนกลับมาพบกับพวกเรา iMoney ที่มาพร้อมกับสาระน่ารู้ที่เกี่ยวกับการเงิน และถ้าตอนนี้ใครที่กำลังทุกข์ใจมีปัญหาเรื่องการเงิน เงินไม่พอใช้ ชักหน้าไม่ถึงหลัง ครั้นจะไปหยิบยืมใครช่วงนี้นั้นแสนยากลำบากเหลือเกิน เชิญมาอ่านบทความนี้ได้เลยค่ะ เพราะวันนี้เรามีสินเชื่อดีๆจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธ.ก.ส. ที่จะมาช่วยต่อลมหายใจให้กับทุกคน ซึ่งสินเชื่อส่วนใหญ่ของ ธ.ก.ส. ก็จะมุ่งเน้นช่วยเหลือพี่น้องชาวเกษตรกร หรือกลุ่มคนรุ่นใหม่ หรือใครที่สนใจอยากจะหันหน้ามาทำงานที่เกี่ยวกับการเกษตร นอกจากนี้แล้วบุคคลทั่วไปที่ไม่ได้ทำงานด้านการเกษตรก็ขอกู้สินเชื่อกับธนาคารได้เช่นกัน และวันนี้สินเชื่อที่เราได้นำมาฝากนั้นจะตอบโจทย์ได้ดีสำหรับกลุ่มคนที่มีที่ดินเป็นของตัวเอง สามารถนำที่ดินนั้นมาจำนองเพื่อขอกู้เงินกับธนาคารได้ จะมีสินเชื่ออะไรบ้างนั้น แล้วต้องทำยังไงถึงจะกู้ได้ มาอ่านกันเลยค่ะ

Show

จํานองที่ดินกับธกสใช้เอกสารอะไรบ้าง

รับคำปรึกษาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ทางการเงินได้ที่ Line@ ของ iMoney

จํานองที่ดินกับธกสใช้เอกสารอะไรบ้าง


Advertising :


หัวข้อ (คลิ้กที่ Link เพื่อดูรายละเอียด)

สินเชื่อสานฝันเกษตรกรรุ่นใหม่

สินเชื่อสานฝันเกษตรกรรุ่นใหม่ สินเชื่อที่ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ที่มีใจรักอยากทำงานที่เกี่ยวกับการเกษตร อยากจะนำนวัตกรรมใหม่ๆมาพัฒนาต่อยอดในการเกษตรเดิมของตัวเองที่อยู่ให้ดีขึ้นไปอีกนั้น แต่ยังขาดเงินทุนที่จะใช้ในการลงทุนซื้ออุปกรณ์หรือเครื่องมือทางการเกษตรที่จะต้องใช้ในการทำงาน ธนาคารพร้อมให้วงเงินกู้ที่สูงถึง 1 ล้านบาท และดอกเบี้ยก็แสนจะถูก ใครที่มีที่ดินเป็นของตัวเองก็สามารถนำมาจำนองกับธนาคารเพื่อขอกู้เงินไปได้เลย ซึ่งจะช่วยทำให้ฝันของคุณได้เป็นจริงอย่างแน่นอน มาดูรายละเอียดกันเลยค่ะ

รายละเอียดสินเชื่อสานฝันเกษตรกรรุ่นใหม่

จํานองที่ดินกับธกสใช้เอกสารอะไรบ้าง

วัตถุประสงค์ในการยื่นกู้สินเชื่อ >>> ตอบโจทย์สำหรับคนที่ต้องการใช้เงินไปเป็นค่าใช้จ่ายหรือต้องการเงินทุนมาลงทุน หรืออยากจะไปพัฒนารูปแบบด้านทางการเกษตร หรืออยากจะนำเทคโนโลยีนวัตกรรมใหม่ๆมาปรับเปลี่ยนใช้กับทางด้านการเกษตรของตนเอง

วงเงินในการปล่อยกู้ของสินเชื่อ >>> ธนาคารให้วงเงินกู้สูงสุด 1,000,000 บาท ทั้งนี้ จะขึ้นอยู่กับมูลค่าของหลักประกันที่นำมาค้ำประกัน ซึ่งแต่ละคนอาจจะได้วงเงินที่ไม่เท่ากัน ซึ่งสามารถเข้าไปสอบถามกับเจ้าหน้าที่เพื่อให้ประเมินวงเงินคร่าวๆก่อนที่ธนาคารได้เลยนะคะ

อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อ >>>> อัตราดอกเบี้ยนั้นจะอ้างอิงกับดอกเบี้ย MRR ของธนาคารที่ประกาศ ณ ปัจจุบัน ซึ่งปัจจุบันอัตราดอกเบี้ย MRR = 6.625 ต่อปี (ประกาศ ณ วันที่ 1 เมษายน 2563) ถ้าหากจะคิดเป็นรายเดือนก็นับว่าเป็นอัตราดอกเบี้ยที่ไม่แพงนะคะ

ระยะเวลาในการผ่อนจ่ายสินเชื่อ >>> สำหรับการจ่ายหนี้คืนนั้นธนาคารจะจัดหมวดหมู่แล้วแต่จุดประสงค์ในการขอกู้ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ

  • กรณีที่ขอกู้เงินเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการหมุนเวียน >>> ธนาคารจะให้ผ่อนจ่ายได้เริ่มตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป และให้ผ่อนจ่ายได้นานสูงสุดไม่เกิน 18 เดือน
  • กรณีที่ขอกู้เงินเพื่อไปลงทุนภาคการเกษตร >>> ธนาคารจะให้ผ่อนจ่ายได้อย่างยาวนานสูงสุด 10 ปี แต่ถ้าในกรณีพิเศษธนาคารก็อาจจะให้ผ่อนจ่ายได้นานมากถึง 15 ปี

ใครบ้างที่มีสิทธิ์กู้สินเชื่อสานฝันเกษตรกรรุ่นใหม่

  • ผู้ที่ยื่นกู้จะต้องเป็นทายาทเกษตรกรรุ่นไหนก็ได้ หรือเด็กจบใหม่ หรือเกษตรกรรุ่นใหม่ที่บรรลุนิติภาวะแล้ว โดยจะต้องมีอายุไม่เกิน 45 ปี
  • ผู้ที่ยื่นกู้จะต้องมีความตั้งใจที่มุ่งมั่นที่จะสืบสานและต่อยอดอาชีพเกษตรกรรม หรืออาชีพที่มีความเกี่ยวเนื่องทางภาคการเกษตร
  • ผู้ที่ยื่นกู้จะต้องผ่านการเรียนหรือได้รับการอบรมความรู้ที่เกี่ยวกับด้านการเกษตรหรือธุรกิจเกษตร
  • ผู้ที่ยื่นกู้จะต้องขึ้นทะเบียนเป็นลูกค้าของ ธ.ก.ส. ตามข้อบังคับฉบับที่ 44

แน่นอนว่าใครที่จะมากู้สินเชื่อสานฝันเกษตรกรรุ่นใหม่กับธนาคารนั้น จะต้องมีหลักประกันมายื่นเพื่อใช้ในการค้ำประกันจึงจะได้รับอนุมัติ แต่ถ้าใครที่มีหลักทรัพย์ไม่เพียงพอก็อย่าพึ่งหมดหวังนะคะ เพราะ ธ.ก.ส. ยังให้คุณสามารถใช้บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) มาช่วยค้ำประกันในการขอสินเชื่อให้กับคุณได้ เรามาดูกันต่อเลยว่ามีหลักประกันอะไรบ้างที่สามารถนำมาค้ำประกันได้ มาดูกันเลยค่ะ

หลักประกันที่ใช้การยื่นขอสินเชื่อสานฝันเกษตรกรรุ่นใหม่

จํานองที่ดินกับธกสใช้เอกสารอะไรบ้าง

  • สามารถใช้หลักประกันหนี้เงินกู้ตามข้อบังคับและวิธีปฏิบัติปกติของธนาคารเป็นอันดับแรก
  • ในกรณีที่เลือกใช้ที่ดินเปล่า หรือ บ้านพร้อมที่ดิน จำนองเป็นหลักประกัน เมื่อรวมกับวงเงินกู้ทุกสัญญาที่ใช้เป็นหลักประกันประเภทเดียวกันนี้ ธนาคารจะให้วงเงินกู้ได้ไม่เกินร้อยละ 100 ของวงเงินจดทะเบียนจำนอง
  • กรณีให้บุคคลมาค้ำประกัน ซึ่งจะต้องใช้บุคคลค้ำอย่างน้อย 2 คนขึ้นไป และเช่นเดียวกันเมื่อรวมกับวงเงินกู้รวมทุกสัญญาที่ใช้หลักประกันประเภทเดียวกัน ธนาคารจะให้วงเงินกู้ได้ไม่เกิน 300,000 บาท
  • กรณีที่ใช้บุคคลรับรองรับผิดชอบอย่างลูกหนี้ร่วมกัน เมื่อรวมกับวงเงินกู้ทุกสัญญาที่ใช้หลักประกันประเภทเดียวกัน ธนาคารจะให้วงเงินกู้ได้ไม่เกิน 300,000 บาท
  • ในกรณีที่หลักประกันไม่เพียงพอที่จะมาค้ำประกันตามที่ธนาคารกำหนด สามารถเลือกให้ บสย. มาค้ำประกันเงินกู้ร่วมกันได้

ช่องทางสมัครสินเชื่อสานฝันเกษตรกรรุ่นใหม่

  • ใครที่สนใจอยากจะสมัครแนะนำให้ไปติดต่อกับเจ้าหน้าที่ที่ธนาคารทุกสาขา ทั่วประเทศ ที่ใกล้บ้าน หรือเลือกไปสาขาที่สะดวก หรือใครที่มีข้อสงสัยอยากจะสอบถามเพิ่มเติมก็สามารถโทรไปสอบถามได้ที่ Call Center 02-555-0555 หรือจะเข้ามาอ่านรายละเอียดต่างๆ ที่เว็บไซต์ของธนาคารก็ได้เช่นกัน https://www.baac.or.th

สินเชื่อธุรกิจแฟรนไชส์ (Franchise Credit)

ใครที่อยากจะมีธุรกิจเป็นตัวเอง แต่ไม่มีเงินมาลงทุน ถ้าคุณมีที่ดินก็สามารถนำมาเปลี่ยนเป็นเงินทุนเพื่อใช้ในการลงทุนได้กับ สินเชื่อธุรกิจแฟรนไชส์ ที่จะช่วยทำให้ฝันที่อยากมีธุรกิจเป็นตัวเองให้เป็นจริงได้ โดยสินเชื่อนี้จะเหมาะสำหรับคนที่ต้องการลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์ หรือใครที่มีกิจการแฟรนไชส์อยู่แล้ว แต่ต้องการเงินเพื่อมาเป็นค่าใช้จ่ายในการหมุนเวียน ถ้าสนใจเรามีรายละเอียดของสินเชื่อมาฝากกันค่ะ

รายละเอียดสินเชื่อธุรกิจแฟรนไชส์

จํานองที่ดินกับธกสใช้เอกสารอะไรบ้าง

วัตถุประสงค์ในการยื่นกู้สินเชื่อ >>> ตอบโจทย์กลุ่มคนที่ทำธุรกิจแฟรนไชส์ ที่ต้องการใช้เงินมาเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อนำมาหมุนเวียนในธุรกิจ เช่น ใช้เป็นค่าเช่าที่ดินหรืออาคาร หรือจะเป็นค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ที่จ่ายเป็นรายเดือนหรือรายปี ค่าธรรมเนียมที่จะต้องใช้ในการตลาด รวมไปถึงค่าวัตถุดิบ ค่าจ้างแรงงาน ค่าน้ำ ค่าฟ้า ค่าโฆษณา ค่าขนส่งและค่าบริการ เป็นต้น นอกจากนี้แล้วสินเชื่อนี้ยังส่งเสริมให้สำหรับใครที่อยากลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์

วงเงินในการปล่อยกู้ของสินเชื่อ >>> สำหรับสินเชื่อนี้ธนาคารจะให้วงเงินกู้ที่สูงถึง 10 ล้านบาท ซึ่งจะขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของคุณที่ต้องการกู้เงินไปทำอะไร ธนาคารจะแบ่งจุดประสงค์ไว้ 2 กรณี ดังนี้

  • กรณีที่ขอกู้เงินเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายหรือลงทุนเพิ่มเติมในกิจการ >>> ธนาคารจะให้วงเงินกู้ไม่เกินร้อยละ 25 ของค่าใช้จ่ายทั้งหมดในรอบหนึ่งปีที่ผ่านมา ซึ่งเกิดขึ้นจริงทั้งหมดในธุรกิจแฟรนไชส์
  • กรณีที่ขอกู้เงินเพื่อไปลงทุนในการกิจการ >>> ธนาคารจะให้วงเงินกู้ไม่เกินร้อยละ 80 ของค่าลงทุนทั้งหมด ฉะนั้นคุณเองก็จะต้องมีเงินทุนบางส่วนอย่างน้อยก็ 20% ของวงเงินที่จะต้องใช้ในการลงทุน

อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อ >>>> สำหรับอัตราดอกเบี้ย ธนาคารจะแยกประเภทของผู้กู้ออกเป็น 2 กลุ่ม ทำให้อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารคิดนั้นจะไม่เหมือนกัน มีรายละเอียด ดังนี้

  • กรณีที่ผู้กู้เป็นเกษตรกร หรือ บุคคลทั่วไป อัตราดอกเบี้ย ดังนี้
    • ในช่วง 3 ปีแรกของสัญญาเงินกู้ ดอกเบี้ยจะอยู่ที่ร้อยละ MRR – 2 ต่อปี
    • ตั้งแต่ปีที่ 4 ขึ้นไป ธนาคารจะคิดดอกเบี้ยไปตามความเสี่ยงของประเภทธุรกิจนั้นๆ
  • กรณีที่ผู้กู้เป็นนิติบุคคล/วิสาหกิจชุมชน/องค์กร/กลุ่มเกษตรกร/สหกรณ์การเกษตร อัตราดอกเบี้ย ดังนี้
    • ในช่วง 3 ปีแรกของสัญญาเงินกู้ ดอกเบี้ยจะอยู่ที่ร้อยละ MLR ต่อปี
    • ตั้งแต่ปีที่ 4 ขึ้นไป ธนาคารจะคิดดอกเบี้ยไปตามความเสี่ยงของประเภทธุรกิจนั้นๆ

ทั้งนี้ ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ย MRR = 6.625 ต่อปี และอัตราดอกเบี้ย MLR = 4.875 ต่อปี (ประกาศ ณ วันที่ 1 เมษายน 2563)

ระยะเวลาในการผ่อนจ่ายสินเชื่อ >>> สำหรับการผ่อนจ่ายคืนนั้น ธนาคารจะแบ่งออกเป็น 2 กรณี ซึ่งจะขึ้นอยู่กับว่าจุดประสงค์ในการยื่นกู้เพื่ออะไร ดังนี้

  • กรณีที่กู้เงินเพื่อไปใช้จ่ายหมุนเวียนในกิจการ >>> ธนาคารกำหนดให้จ่ายคืนได้ไม่เกิน 12 เดือน ยกเว้นถ้าเป็นกรณีพิเศษธนาคารจะเพิ่มระยะเวลาการผ่อนจ่ายคืนได้นานถึง 18 เดือน
  • กรณีที่กู้เงินเพื่อใช้เป็นค่าลงทุน เพื่อซื้อกิจการแฟรนไชส์ >>> ธนาคารกำหนดให้จ่ายคืนได้นานสูงสุด 10 ปี โดยการจ่ายคืนนั้นสามารถเลือกได้ว่าจะจ่ายคืนเป็นรายเดือน หรือรายไตรมาส

ใครที่มีสิทธิ์ยื่นกู้สินเชื่อธุรกิจแฟรนไชส์

  • ผู้กู้จะต้องเป็นเกษตรกร หรือเป็นทายาทของเกษตรกร หรือจะเป็นบัณฑิตจบใหม่ รวมไปถึงเกษตรกรคนรุ่นใหม่ที่อยากจะทำเกษตรกรรม หรือกลุ่ม Start Up และคนที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจที่อยากจะมีธุรกิจเป็นของตัวเองอย่างธุรกิจแฟรนไชส์
  • ผู้ที่กู้ได้จะต้องเป็นสหกรณ์ภาคการเกษตร หรือจะเป็นวิสาหกิจชุมชน
  • ผู้กู้จะต้องได้รับอนุมัติสิทธิ์ (Franchisee) หรือจากผู้ที่ให้สิทธิ์ (Franchisor)

หลักประกันที่สามารถนำมาค้ำประกันในการขอสินเชื่อธุรกิจแฟรนไชส์

จํานองที่ดินกับธกสใช้เอกสารอะไรบ้าง

  • ที่ดินเปล่าหรือบ้านพร้อมที่ดินมาจำนองเป็นหลักประกันหนี้ได้สูงสุดไม่เกินร้อยละ 100 ของวงเงินจดทะเบียนจำนอง
  • เลือกให้บุคคลมาค้ำประกันสินเชื่อ ซึ่งจะต้องใช้ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป และในการค้ำประกันหนี้เงินกู้สูงสุดได้ไม่เกิน 200,000 บาท
  • หลักประกันอื่นๆเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนดให้ค่ะ ซึ่งสามารถเข้าไปสอบถามโดยตรงกับเจ้าหน้าที่ธนาคารได้เลยค่ะ

ช่องทางสมัครสินเชื่อธุรกิจแฟรนไชส์

  • สำหรับใครที่สนใจอยากสมัครสินเชื่อนี้ล่ะก็ ให้ไปติดต่อได้ที่ธนาคารทุกสาขา หรือจะโทรสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Call Center 02-555-0555 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง หรือจะดูรายละเอียดที่เกี่ยวกับสินเชื่อนี้ได้ที่เว็บไซต์  https://www.baac.or.th

สินเชื่อ SME เกษตร

สำหรับสินเชื่อต่อไปที่อยากแนะนำสำหรับใครที่อยากลงทุนมีกิจการเป็นของตัวเอง หรือมีภาระหนี้ในปัจจุบันค่อนข้างสูง ขาดสภาพคล่องทางการเงิน แต่คุณมีที่ดินที่เป็นของตัวเอง สามารถนำมายื่นขอกู้กับ ธ.ก.ส. ได้ในสินเชื่อ SME เกษตร ที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการในเรื่องของการเงินให้กับคุณได้ ด้วยวงเงินที่ปล่อยให้กู้นั้นก็ค่อนข้างสูง และให้ผ่อนจ่ายได้นานถึง 10 ปี นับว่าเป็นอีกหนึ่งสินเชื่อที่น่าสนใจมากจาก ธ.ก.ส. ใครที่อยากรู้รายละเอียดของสินเชื่อนี้ มาดูกันเลยค่ะ

รายละเอียดสินเชื่อ SME เกษตร

จํานองที่ดินกับธกสใช้เอกสารอะไรบ้าง

วัตถุประสงค์ในการยื่นกู้สินเชื่อ >>> สินเชื่อเพื่อ SME ที่ต้องการใช้เงินในการหมุนเวียน เพิ่มสภาพคล่องทางการเงินให้กับธุรกิจที่จะสามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ หรือใครที่อยากจะลงทุนทำกิจการเป็นของตัวเอง แต่ยังขาดเงินทุน ก็สามารถมาขอกู้สินเชื่อนี้ได้เช่นกัน นอกจากนี้แล้วสินเชื่อยังสามารถตอบโจทย์ให้กับกลุ่ม SME ที่ต้องการรีไฟแนนซ์กับธนาคารอื่นๆที่เป็นหนี้อยู่ เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายจากหนักให้เป็นเบา บอกเลยว่าสินเชื่อนี้เป็นอีกหนึ่งสินเชื่อที่ดีให้กับกลุ่ม SME

วงเงินในการปล่อยกู้ของสินเชื่อ >>> วงเงินสินเชื่อธนาคารจะให้ขั้นต่ำอยู่ที่ 200,000 บาท หรือให้กู้สูงสุดไม่เกิน 20,000,000 บาท นับว่าธนาคารยังให้วงเงินกู้ที่สูงมากเลยหากเทียบกับสินเชื่อตัวอื่นของธนาคาร

อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อ >>>> ธนาคารจะกำหนดอัตราดอกเบี้ยเป็น 2 กลุ่ม ของผู้ที่ยื่นกู้ซึ่งจะพิจารณาประเภท ดังนี้ กลุ่มของผู้กู้ที่เป็นเกษตรกร หรือบุคคลธรรมดาทั่วไป กับอีกกลุ่มก็คือ ที่เป็นผู้ประกอบการที่จดทะเบียนนิติบุคคล หรือวิสาหกิจชุมชน หรือองค์กร หรือกลุ่มเกษตรกร หรือสหกรณ์ภาคการเกษตร จะมีอัตราดอกเบี้ยดังนี้

  • กลุ่มของผู้กู้ที่เป็นเกษตรกร หรือบุคคลธรรมดาทั่วไป >>> ในช่วง 3 ปีแรก ดอกเบี้ยจะอยู่ที่ร้อยละ 4 ต่อปี และในปีที่ 4 ขึ้นไป ดอกเบี้ยจะอยู่ที่ร้อยละ MRR – 2 ต่อปี หรืออาจจะถูกปรับให้เป็นดอกเบี้ย MOR ต่อปี
  • กลุ่มของผู้กู้ที่เป็นผู้ประกอบการที่จดทะเบียนนิติบุคคล หรือวิสาหกิจชุมชน หรือองค์กร หรือกลุ่มเกษตรกร หรือสหกรณ์ภาคการเกษตร >>> ในช่วง 3 ปีแรก ดอกเบี้ยจะอยู่ที่ร้อยละ 4 ต่อปี และในปีที่ 4 ขึ้นไป ดอกเบี้ยจะอยู่ที่ร้อยละ MLR ต่อปี หรืออาจจะถูกปรับให้เป็นดอกเบี้ย MOR ต่อปี

ทั้งนี้ ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ย MRR = 6.625 ต่อปี อัตราดอกเบี้ย MLR = 4.875 ต่อปี และอัตราดอกเบี้ย MOR = 6.500 ต่อปี (ประกาศ ณ วันที่ 1 เมษายน 2563)

ระยะเวลาในการผ่อนจ่ายสินเชื่อ >>> ธนาคารจะกำหนดให้ผ่อนจ่ายได้นานสูงสุด 10 ปี แต่ด้วยเงื่อนไขอาจจะมีแตกต่างกันตามวัตถุประสงค์ในการขอกู้ ซึ่งถ้าเป็นการขอกู้เงินเพื่อใช้จ่ายหมุนเวียน ธนาคารจะเป็นผู้กำหนดระยะเวลาเป็นครั้งๆ ในช่วงตลอด 10 ปีของสัญญาเงินกู้ หรือถ้าเป็นการขอกู้เงินเพื่อไปเป็นค่าลงทุนนั้น  ในช่วงที่จ่ายหนี้ 12 เดือนแรกจะเป็นการจ่ายเงินแบบไม่มีเงินต้น นั่นก็คือจ่ายแต่ดอกเบี้ยอย่างเดียว

ใครที่มีสิทธิ์ยื่นกู้สินเชื่อ SME เกษตร

  • ผู้สมัครจะต้องมีสัญชาติไทย
  • กรณีที่ผู้สมัครเป็นเกษตรกร หรือบุคคลธรรมดาทั่วไป จะต้องดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวกับการเกษตร ไม่น้อยกว่า 3 ปี
  • กรณีที่ผู้สมัครเป็นผู้ประกอบการที่จดทะเบียนนิติบุคคล ถ้าเป็นการแจ้งจดบัญชีชุดเดียว จะต้องดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวกับการเกษตรไม่น้อยกว่า 1 ปี แต่ถ้าไม่มีการจดแจ้งบัญชีชุดเดียว จะต้องดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวกับการเกษตรไม่น้อยกว่า 3 ปี ทั้งนี้ โดยจะต้องจดทะเบียนก่อตั้งเป็นนิติบุคคลไม่น้อยกว่า 1 ปี และจะต้องเป็นกิจการที่มีกำไรในช่วงที่ผ่านมา
  • กรณีที่ผู้สมัครเป็นสหกรณ์ภาคการเกษตร วิสาหกิจชุมชน หรือกลุ่มเกษตรกร จะต้องดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวกับการเกษตร ไม่น้อยกว่า 1 ปี และจะต้องมีตลาดในการค้าขายที่แน่นอน

หลักประกันที่ใช้ในการยื่นขอกู้สินเชื่อ SME เกษตร

จํานองที่ดินกับธกสใช้เอกสารอะไรบ้าง

  • บ้านพร้อมที่ดินหรือที่ดินเปล่านำมาจองเป็นหลักประกันหนี้ได้สูงสุดไม่เกินร้อยละ 100 ของวงเงินจดทะเบียนจำนอง
  • บุคคลค้ำประกันได้ไม่เกิน 300,000 บาท
  • บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) มาค้ำประกันในกรณีที่ไม่มีทั้งอสังหาริมทรัพย์หรือบุคคล

ช่องทางสมัครสินเชื่อ SME เกษตร

  • สามารถสมัครสินเชื่อได้ที่ธนาคารทุกสาขา ทั่วประเทศ หรือถ้ามีข้อมูลสงสัยต้องการสอบถามเพิ่มเติมสามารถทำได้ทั้งโทรสอบถามที่ Call Center 02-555-0555 หรือเข้าไปดูในเว็บไซต์ https://www.baac.or.th

เป็นยังไงกันบ้างค่ะกับสินเชื่อจำนองที่ดินของ ธ.ก.ส. ที่เราได้มาฝากกันในวันนี้ หวังว่าข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ให้สำหรับผู้ที่ต้องการใช้เงินกันนะคะ ซึ่งต้องบอกว่าปัจจุบันนี้มีสินเชื่อมากมาย หลากหลายสถาบันการเงินที่พร้อมจะปล่อยสินเชื่อเงินกู้ให้กับคุณ แต่ถ้าอยากจะเลือกสินเชื่อดีๆ ที่เหมาะกับคุณอย่างแท้จริง ลองเข้ามาหาข้อมูลในเว็บไซต์ iMoney.in.th พวกเราได้รวบรวมข้อมูลทุกประเภทที่เกี่ยวกับการเงินทั้งสินเชื่อ รีไฟแนนซ์ หรือแม้กระทั่งของข้อมูลที่เกี่ยวกับประกันต่างๆ สุดท้ายนี้เราขอเอาใจช่วยสำหรับใครที่กำลังยื่นขอกู้สินเชื่อ ขอให้ผ่านการอนุมัติและได้รับวงเงินตามที่ต้องการกันทุกคนเลยนะคะ สำหรับวันนี้ขอลาไปก่อน แล้วพบกันใหม่ในครั้งหน้า สวัสดีค่ะ

ธกส รับจํานองที่ดิน ไหม

- กรณีสงวนที่ดินทำกิน รายละไม่เกิน 150,000 บาท โดยผู้กู้ต้องนำที่ดินดังกล่าวมาจดจำนองกับธนาคาร ✅ อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 12 ต่อปี ชำระหนี้เป็นรายเดือน หรือรายไตรมาส หรือราย 6 เดือน โดยให้ชำระหนี้คืนเสร็จไม่เกิน 12 ปี นับจากวันกู้ ✅ สิทธิประโยชน์

จํานองที่ดิน ธกส ใช้เอกสารอะไรบ้าง

จำนองที่ดิน ธกส. ใช่เวลาทำกี่วัน.
บัตรประจำตัวประชาชน.
ทะเบียนบ้าน.
เอกสารการสมรสหรือหย่า,ใบเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล (ถ้ามี).
เอกสารแสดงรายได้ (ถ้ามี) เช่น รายการเดินบัญชี สลิปเงินเดือน ใบรับรองเงินเดือน เป็นต้น.
เอกสำรของหลักประกัน เช่น สำเนาโฉนดที่ดิน เป็นต้น.

จํานองที่ดินกับธกส ได้กี่บาท

ที่ดินเปล่าหรือบ้านพร้อมที่ดินมาจำนองเป็นหลักประกันหนี้ได้สูงสุดไม่เกินร้อยละ 100 ของวงเงินจดทะเบียนจำนอง เลือกให้บุคคลมาค้ำประกันสินเชื่อ ซึ่งจะต้องใช้ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป และในการค้ำประกันหนี้เงินกู้สูงสุดได้ไม่เกิน 200,000 บาท

จํานองที่ดินต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง

เอกสารที่ใช้ในการจำนอง.
บัตรประจำตัวประชาชน ตัวจริง (พร้อมสำเนา).
สำเนาทะเบียนบ้านของตนเอง และของคู่สมรส ตัวจริง (พร้อมสำเนา).
ทะเบียนสมรส (สำเนา).
หลักฐานการเปลี่ยนชื่อตัว-ชื่อสกุล ตัวจริง (พร้อมสำเนา).
ทะเบียนหย่า , ใบมรณะบัตร (สำเนา).
หนังสือยินยอมให้ทำนิติกรรมของคู่สมรส.