ข้อใดหมายถึงเศรษฐศาสตร์มหภาค

         เศรษฐศาสตร์มหภาค เป็นการศึกษาหน่วยกิจส่วนรวม เช่น การผลิต รายได้ประชาชาติ การบริโภคการออม การลงทุน การจ้างงาน ภาษีอากร การคลังสาธารณะ การค้าระหว่างประเทศและการพัฒนาเศรษฐกิจ

         การศึกษาเศรษฐศาสตร์ระดับมหภาค เป็นการศึกษาที่ได้เน้นด้านการเพิ่มขึ้นของผลผลิตประชาชาติ การเพิ่มรายได้ให้แก่แรงงานและการมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

ความหมายของเศรษฐศาสตร์มหภาค
         จอห์น เมนารด เคนส์ “ทฤษฏีเศรษฐศาสตร์มิได้ให้ข้อสรุปที่จะนำมาใช้ได้กับนโยบายได้ทันทีโดยทฤษฏี เศรษฐศาสตร์เป็นวิธีการมากกว่าเป็นกฎเกณฑ์ และเป็นเทคนิคในการคิดซึ่งจะช่วยให้ได้ข้อสรุปที่ถูกต้อง”
         ลีออลเนล รอบบินส์ เป็นศาสตร์ที่ศึกษาถึงพฤติกรรมของมนุษย์ในการเลือกหาหนทางที่จะใช้ปัจจัยการผลิตที่มีอยู่อย่างจำกัด เพื่อบำบัดความต้องการของมนุษย์ซึ่งมีอยู่มากมายนับไม่ถ้วน
         โดยทั่วไปแล้วเป็นการศึกษาถึงวิธีการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด เพื่อผลิตสินค้าและบริการ มาสนองความต้องการของมนุษย์ที่มีอยู่ไม่จำกัด เพื่อผลิตสินค้าและบริการ มาสนองความต้องการของมนุษย์ที่มีอยู่ไม่จำกัด

         เศรษฐศาสตร์มหภาค (Macroeconomics) เป็นการศึกษาถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจส่วนรวม เช่น ผลิตผลรวมของประเทศ การจ้างงาน การเงินและการธนาคาร การพัฒนาประเทศ การค้าระหว่างประเทศ อัตราดอกเบี้ย ซึ่งทั้งหมดนั้นเป็นปัญหาที่กว้างขวางกว่าเศรษฐศาสตร์จุลภาค เพราะว่าไม่ได้กระทบเพียงหน่วยธุรกิจเท่านั้น แต่จะกระทบถึงบุคคล หน่วยการผลิต และ อุตสาหกรรมทั้งหมด และเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ เศรษฐศาสตร์มหภาคนั้นจะมุ่งเน้นที่ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติเบี้องต้น(GNP) และการว่าจ้างงาน จะหาว่าอะไรเป็นสาเหตุให้ผลิตผลรวมและระดับการว่าจ้างงานมีการเคลื่อนไหวขึ้นลง เพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาต่างๆได้ตรงจุด เช่น ภาวะเงินเฟ้อเงินฝืด และ ปัญหาการว่างงาน เป็นต้น

ความสำคัญของเศรษฐศาสตร์มหภาค
         เนื่องจากเศรษฐศาสตร์มหภาคเป็นความสัมพันธ์ของตัวแปรต่างๆ ของระบบเศรษฐกิจโดยรวม ซึ่งมีผลต่อความเป็นอยู่ของประชาชนทุกคน ดังนั้นเศรษฐศาสตร์มหภาคจึงมีความสำคัญดังนี้         1. ประชาชนทั่วไป ในฐานะเป็นพลเมืองส่วนใหญ่ของประเทศ ถ้ามีความเข้าใจในภาวะเศรษฐกิจ ก็จะสามารถปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจได้อย่างทันท่วงที ช่วยให้ประชาชนเข้าใจการบริหารประเทศของรัฐบาลและสามารถที่จะให้ความร่วมมือกับรัฐบาลได้ดียิ่งขึ้น
         2. ผู้ประกอบการ ไม่ว่าผู้ประกอบการอาชีพใดก็ต้องอาศัยความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ ในการประกอบการตัดสินใจบริหารงานต่างๆ ซึ่งจะสามารถปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจได้ และเป็นการลดความเสียงจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจได้อีกด้วย
         3. เป็นเครื่องมือวิเคราะห์ สำหรับผู้ที่มีความรู้ในทางเศรษฐศาสตร์ในระดับสูงใน "ทฤษฏีเศรษฐศาสตร์มหภาค" เกี่ยวกับรายได้ประชาชาติ การเงินการคลัง และการธนาคาร วัฎจักรเศรษฐกิจ การค้าระหว่างประเทศ และการพัฒนาเศรษฐกิจ จะเป็นเครื่องมือขั้นต้นประกอบการวิเคราะห์เศรษฐกิจในขั้นต่อไป 

ที่มา:http://www.sainampeung.ac.th/chalengsak/units/unit3/chapter3/chapter3_3/mi_macroeconomics/macroeconomics.html

ที่มารูปภาพ : https://www.google.co.th/search?q=%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C+%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99&espv=2&biw=1242&bih=602&source=lnms&tbm=isch&sa=X&ved=0ahUKEwjdj5CU9_zQAhWIO48KHTB4AIQQ_AUIBygC&dpr=1.1#imgrc=PfTDm4409OCFuM%3A

����������������ɰ��ʵ���繡���֡�����ɰ�Ԩ����к� ������������������������� ��觡���֡�����觷��ʹ��դ�������Ǿѹ�ѹ�繨ӹǹ�ҡ��§� ��������ҡ��ЫѺ��͹�������ҡ��ҹ�� �ѧ��� ���������� 㹡���֡�����ɰ��ʵ�����Ҥ��дѺ�� ���֡��੾�л���繷���դ�������Ǿѹ�ѹ�Ѵਹ ����դ����Ӥѭ��͹ �ҡ��鹨֧���¢��¤�������ѹ����ѧ���������ʹ������ѧ

��ҹ����������ɰ��ʵ�����Ҥ�������


Create Date : 12 ���Ҥ� 2549Last Update : 23 ���Ҥ� 2549 22:33:32 �.0 commentsCounter : 64615 Pageviews.
ข้อใดหมายถึงเศรษฐศาสตร์มหภาค


�������ɰ�Ԩ�����ǵ�ҧ�����

���������ɰ�Ԩ㹻����
���������ɰ�Ԩ��ҧ�����
�鹤��Ң����ŷ����
����������§��������ʹ�