วรรณกรรมออนไลน์ มีอะไรบ้าง

“วรรณกรรมดิจิทัล (Digital Literature)” จัดเป็นความบันเทิงในโลกดิจิทัล (Digital Entertainment) ของมนุษย์ในรูปแบบหนึ่ง ตามคำนิยามของแคทเธอรีน เฮลส์ (Katherine Hales) วรรณกรรมดิจิทัลต้องถูกประพันธ์ขึ้นเพื่ออ่านบนระบบของคอมพิวเตอร์และอาศัยลักษณะเฉพาะของสื่อดิจิทัลสร้างประสบการณ์เชิงสุนทรีย์แก่ผู้อ่าน โดยไม่นับวรรณกรรมประเภทสิ่งพิมพ์ที่ถูกแปลงให้เป็นระบบดิจิทัล (Digitized book) เช่น หนังสือสแกน หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book)

เสน่ห์ของวรรณกรรมดิจิทัลก็คือ แปลก ไม่เหมือนเดิม เพราะวรรณกรรมดิจิทัลไม่ใช่แค่เรื่องตัวบทหรือเนื้อหา (Text) แต่ยังเกี่ยวข้องกับการออกแบบประสบการณ์การอ่านที่พึ่งพาระบบดิจิทัลในการสื่อสาร ซึ่งเป็นอะไรที่ท้าทายความรู้สึกและความเข้าใจต่อวรรณกรรมที่เราเข้าใจแบบเดิมที่เป็นหนังสือ เป็นกระดาษ หรือเป็นรูปเล่ม แต่พอเป็นวรรณกรรมดิจิทัล ดูเหมือนทุกสิ่งอย่างสามารถเป็นวรรณกรรมได้

วรรณกรรมออนไลน์ มีอะไรบ้าง
อาจารย์อรรถพล อรรถพล ปะมะโข

อาจารย์อรรถพล อรรถพล ปะมะโข คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง หัวหน้าโครงการวิจัย “วิธีวิทยาการศึกษาวรรณกรรมดิจิทัล” ชี้ว่า วรรณกรรมเปลี่ยนผ่านจากยุคสมัยของการเล่าเรื่อง ไปสู่การบันทึกตัวอักษร การพิมพ์หนังสือเล่ม และกระโดดไปสู่หน้าจอสกรีนในยุคดิจิทัล เราจึงได้เห็นวรรณกรรมในรูปแบบแปลกใหม่ ไม่ว่าจะในรูปแบบเกมที่มีการเล่าเรื่อง (Narrative structure) ไซเบอร์เท็กซ์ (Cybertext) ที่ให้โปรแกรมแชตบ็อตสร้างบทสนทนาขึ้นมา นิยายบนทวิตเตอร์ที่เล่นกับข้อจำกัดของการพิมพ์ตัวอักษรโดยที่คนอ่านพูดคุยโต้ตอบกับผู้เขียนได้อิสระ หรือแม้แต่ AI แต่งนิยายเรื่องสั้นก็มี

ประสบการณ์การอ่านแบบใหม่ที่ไม่สามารถทำได้บนกระดาษ

วรรณกรรมดิจิทัล เป็นวรรณกรรมที่เกิดมาบนระบบดิจิทัล และต้องอ่านผ่านอุปกรณ์ดิจิทัล อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทั้งหลาย เช่น การคลิ๊กลิงค์ (Hyper link) ซึ่งในวรรณกรรมดั้งเดิมจะไม่มีลักษณะแบบนี้ อาจกล่าวได้ว่า Hyper link เป็นลักษณะพิเศษของสื่อดิจิทัล

วรรณกรรมออนไลน์ มีอะไรบ้าง
Bandersnatch ภาพยนตร์ Interactive

รูปแบบสื่อที่เปลี่ยนไปย่อมส่งผลต่อพฤติกรรมและประสบการณ์การอ่าน อ.อรรถพล อธิบายว่า ปกติแล้ว การอ่านหนังสือรูปแบบเล่มมักจะมีลำดับของการอ่านอยู่ แต่ในกรณีวรรณกรรมดิจิทัล คนอ่านสามารถคลิกไฮเปอร์ลิงก์เพื่อข้ามไปอ่านเนื้อหาอื่นได้ไม่สิ้นสุด รวมถึงมีลักษณะสำคัญที่สื่อรูปแบบเดิมทำไม่ได้ หรือ ทำได้ไม่ดีเท่า คือ รูปแบบ ‘Interactive’ ผู้ใช้งานมีปฏิสัมพันธ์กับตัวบทได้ทันที ถือเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะว่าสิ่งนี้ทำให้ขอบเขตของวรรณกรรมก้าวเข้าไปสู่ หรือ เหลื่อมล้ำกับสิ่งที่เรียกว่า ‘เกม’ เพราะแม้ว่าผู้สร้างจะมีการโปรแกรมไว้แล้ว แต่ผู้ใช้งานสามารถมีส่วนในการเลือกตัวบท หรือตัววรรณกรรม ซึ่งเราถือว่าเป็น ‘Machine’ ตัวอย่างเช่น ‘Bandersnatch’ ที่เป็นภาพยนตร์ Interactive ของ Netflix ก็เป็นอีกลักษณะหนึ่งที่ก้ำกึ่งระหว่าง ภาพยนตร์ และ เกม รวมไปถึงสิ่งที่เรียกว่าวรรณกรรมด้วย

นอกจากนี้ วรรณกรรมดิจิทัลยังมีองค์ประกอบอื่นๆ ใส่เข้ามาเสริมเพิ่มอรรถรส ความสนุก หรือให้ความรู้สึกสมจริง เช่น เสียง กราฟิก และภาพเคลื่อนไหว ซึ่งสร้างประสบการณ์การอ่านแบบใหม่ที่ต่างออกไปจากที่เคยเป็น

ภาษาที่เปลี่ยนไป โดนใจวัยรุ่น

วรรณกรรมออนไลน์ มีอะไรบ้าง

ภาษาวิบัติ การพิมพ์ตกหล่น อาจเป็นความด่างพร้อยทางภาษาในขนบนิยายหรือวรรณกรรมเดิม หากแต่เป็นความ ‘สละสลวย’ และ ‘สมจริง’ ของวรรณกรรมดิจิทัลบางรูปแบบ ที่นักเขียนจงใจใส่ลงไป อย่างเช่น ‘จอยลดา’ แอพพลิเคชั่นเขียนและอ่านนิยายรูปแบบ UGC (User-Generated Content) ซึ่งเป็นวรรณกรรมดิจิทัลที่น่าจับตามอง ด้วยการเป็นแพลตฟอร์มที่นำเสนอนิยายในรูปแบบ ‘หน้าต่างแชท’ ซึ่งเป็นการใช้ลักษณะพิเศษของสื่อดิจิทัลมาเป็นเครื่องมือในการเล่าเรื่อง ทำให้เป็นที่นิยมมากในหมู่วัยรุ่น เพราะใช้ภาษาที่มีความร่วมสมัย เข้าใจง่าย สะท้อนภาพสังคมและวิถีชีวิตของคนในยุคคุยกันผ่าน ‘แชท’ ได้ชัดกว่า ซึ่งคนรุ่นใหม่ก็เติบโตมากับสื่อเหล่านี้ บวกกับเอกลักษณ์การตั้งชื่อเรื่องซึ่งจะพิจารณาถึงความเหมาะสมที่จะกลายเป็น # (แฮชแท็ก) สำหรับใช้พูดคุยต่อบนทวิตเตอร์ ซึ่งต่างจากนิยายหรือวรรณกรรมขนบเดิมที่นิยมตั้งชื่อจากเนื้อหาหลัก

นักเขียนยุคใหม่ กับการ Coding

อ.อรรถพล ให้ความเห็นว่า การที่เราจะเขียนวรรรกรรมภาษาไทย แปลว่าต้องชำนาญในการใช้ภาษาไทยแล้ว ดังนั้นผู้ที่จะทำงานวรรณกรรมดิจิทัล ก็ต้องมีพื้นฐาน ‘การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์’ หรือ ‘Coding’ ด้วย เพื่อสื่อสารกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งส่วนตัวมองว่านี่คือสิ่งที่จำเป็นที่จะต้องเรียนรู้ สำหรับนักเขียนในอนาคต

เรียกได้ว่าเป็นเสน่ห์อีกอย่างของเทคโนโลยีดิจิทัลบวกกับความคิดสร้างสรรค์ จนเกิดเป็นแนวทางใหม่ของวรรณกรรมที่สร้างสีสันและเข้าถึงกลุ่มคนอ่านเจเนเรชันใหม่ได้อย่างร่วมยุคร่วมสมัย แต่เมื่อหลายอย่างมีความล้ำ และแตกต่างจากวรรณกรรมขนบเดิมเหลือเกิน จึงมีข้อสงสัยว่าผลงานเหล่านี้จัดเป็น ‘วรรณกรรม’ หรือไม่ ซึ่งประเด็นนี้ยังเป็นที่ถกเถียงกันในปัจจุบัน และทำให้คนกลับมาตั้งคำถามถึงความหมายที่แท้จริงของวรรณกรรม และความแตกต่างระหว่างวรรณกรรมกับเกม และวรรณกรรมกับศิลปะ

ในยุคที่อินเทอร์เน็ตได้เข้ามามีบทบาทมากประหนึ่งส่วนหนึ่งของชีวิตเช่นในปัจจุบัน พลอยทำให้บรรดานักเขียน และนักอยากเขียน ทั้งน้อยใหญ่ต่างหันเหความสนใจมุ่งหมายไปเอาดีในด้านนี้กันเป็นแถว ซึ่งบรรดาผู้ให้บริการความบันเทิงในอินเทอร์เน็ตที่หัวใสหยิบยกเอาประเด็นนี้ มาสรรค์สร้างเว็บไซต์สนองตอบความต้องการเขียนกันอย่างมากมาย ซึ่งนั่นนับว่าเป็นเรื่องดีที่ช่วยทำให้วงการวรรณกรรมในบ้านเราได้มีการปั้นนักเขียนจากอินเทอร์เน็ตขึ้นมาประดับวงการนักเขียนได้อีกหลายต่อหลายคน

จากรูปแบบเดิมๆของการเขียนงานที่ต้องได้รับการยอมรับจากกองบรรณาธิการจึงจะได้ตีพิมพ์หนังสือซักเล่ม แถมยังกินเวลาในการพิจรานาอีกหลายเดือน ประกอบทั้งต้องรอพิมพ์อีกนานโข กลับถูกสื่อที่เรียกว่าอินเทอร์เน็ตแปลงโฉมรูปแบบกระบวนการเหล่านี้ใหม่เสียจนเอี่ยมอ่อง ผู้พิจรานากลายเป็นจำนวนเรทติ้งผู้เข้าชม และเสียงตอบรับในรูปแบบผมโหวตแทน ซึ่งยิ่งผู้ยิ่งได้รับการกล่าวถึงในอินเทอร์เน็ทมากเท่าไหร่ โอกาสที่จะมีแมวมองของสำนักพิมพ์ต่างๆมาติดต่อเซ็นสัญญาให้ได้รับการตีพิมพ์ก็ยิ่งมีมากขึ้นเท่านั้น

ด้วยเหตุผลดังกล่าว บรรดานักอยากเขียนจึงแข่งขันการสร้างสรรค์งาน และโปรโมทผลงานของตนเองในอินเทอร์เน็ทอย่างเอาเป็นเอาตาย โดยทุกคนต่างมุ่งหวังที่จะได้รับโอกาสนั้น และได้ก้าวเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของวงการนักเขียนมืออาชีพของไทยอย่างเต็มภาคภูมิ….

ถึงจะกล่าวว่า การริเริ่มเขียนงานลงในเว็บไซต์ต่างๆในอินเทอร์เน็ทนั้นนับเป็นก้าวแรกในมุ่งเข้าสู่วงการนักเขียนมืออาชีพ แต่ในโลกแห่งความเป็นจริงก็ใช่ว่าผู้ที่มีความสามารถจะได้ไต่เต้าขึ้นไปสู่วงการเหล่านั้นได้อย่างง่ายๆ เพราะบางครั้งถึงแม้ว่างานของบางคนจะถูกสร้างขึ้นมาอย่างตั้งอกตั้งใจ และมีเนื้อหาที่ดีเลิศขนาดไหนก็ตาม ในโลกของอินเทอร์เน็ทที่กว้างขวางเปรียบเสมือนห้องสมุดขนาดใหญ่แล้ว ผลงานหนึ่งชิ้นในนั้นก็ไม้ต่างอะไรไปกับหนังสือเล่มหนึ่งที่ถูกวางแทรกอยู่กลางหนังสือเล่มอื่นนับพันๆเล่มเท่านั้น การที่จะมีคนอ่านเข้ามาหยิบอ่านหนังสือเล่มที่เราเขียนนั้นเป็นไปได้ยากมาก เผลอๆคนอ่านเขาจะเดินผ่านไปเสียดื้อๆอย่างไม่ใยดีเสียด้วยซ้ำ

ดังนั้น นักเขียนในอินเทอร์เน็ทจำนวนมากจึงมีการเรียนรู้ที่จะใช้ปัจจัยอื่นๆเข้ามาเป็นตัวช่วยในการดึงดูดผู้อ่านเข้ามาอ่านงานเขียนของตนให้ได้ เรียกได้ว่าไม่เอาด้วยเล่ห์ก็ต้องเอาด้วยกล เพราะหากมีผู้อ่านหลงเข้ามาอ่านผลงานบางส่วนของเราแล้ว หากงานของเราถูกอกถูกใจผู้อ่าน ก็จะเกิดพฤติกรรมการเข้ามาซ้ำๆจากผู้อ่านเหล่านั้นเอง ดังนั้นวิธีการดึงคนอ่านของนักเขียนใน

อินเทอร์เน็ทจึงนับเป็นการชิงไหวพริบกันเป็นอย่างมาก โดยมีรูปแบบการสร้างจุดเด่นให้กับผลงานของตนเองหลักๆนั้น ได้แก่ การใช้รูปภาพประกอบเรื่องในการดึงดูดผู้อ่าน,การตั้งหัวข้อเกี่ยวกับผลงานของตัวเองในเว็บบอร์ดต่างๆบ่อยๆ เพื่อให้ผู้อ่านเกิดความเคยชินกับชื่อเรื่องของเรา หรือแม้กระทั่งการเข้าไปโฆษณาผลงานกับกลุ่มผู้อ่านโดยตรงผ่านอีเมลย์ก็ยังมี

แต่... สิ่งที่ยากที่สุดในการเขียนงานวรรณกรรมลงในอินเทอร์เน็ทกลับไม่ได้อยู่ที่การดึงดูดให้ผู้อ่านมาอ่านผลงานของเรา แต่มันอยู่ที่การที่เราจะสามารถสร้างสรรค์ผลงานชิ้นนั้นไปได้จนตลอดรอดฝั่งหรือไม่ต่างหาก เพราะเท่าที่ผ่านมามีผลงานทางวรรณกรรมจำนวนมากที่ผู้อ่านให้ความสนใจ พร้อมทั้งเฝ้ารอคอยให้นักเขียน เขียนตอนต่อไป แต่ตัวนักเขียนเองกลับประสบปัญหาในเรื่องต่างๆที่ไม่อาจทำให้สามารถเขียนงานเรื่องดังกล่าวได้จนจบ บางเรื่องถึงขนาดต้องปล่อยทิ้งค้างอยู่นานหลายเดือน หรือ บางเรื่องถึงขนาดที่นักเขียนต้องปล่อยทิ้งให้ถูกลืมไปเลยก็มีตัวอย่างในเรื่องดังกล่าวให้เห็นอยู่อย่างมากมาย

ยิ่งเป็นนักเขียนที่ได้รับการยอมรับมากขึ้นเท่าไหร่ ความกดดันก็ยิ่งมีมากขึ้นเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาที่สำคัญที่สุดอย่างเรื่องของการ “ละเมิดงานเขียน” หรือ การก็อปปี๊ผลงานนั่นเอง ซึ่งนักเขียนส่วนใหญ่มักจะกลัวกันมากในเรื่องนี้กันมาก เพราะหากผลงานที่คนเขียนอุตส่าห์คิดมาจนแทบตายถูกคนอื่นนำไปเผยแพร่ต่อโดยเจ้าตัวมิได้ยินยอมแล้ว ผลกระทบที่ตามมาอาจหนักหนาถึงขั้นฟ้องร้องกันไปมา หรือ ทำให้นักเขียนคนนั้นหมดกำลังใจในการสร้างสรรค์ผลงาน บางคนถึงขนาดเลิกเขียนงานไปเลยก็มีให้เห็นกันอยู่บ่อยๆ

ดังนั้น.... การนำเสนอผลงานเขียนของตนเองทางอินเทอร์เน็ทจึงเปรียบเสมือนดาบสองคม ที่มีทั้งโอกาสที่ดีในการก้าวเข้าไปในสู่วงการนักเขียน แต่บางครั้งก็อาจจะกลายเป็นการทำลายความเชื่อมั่นในการสร้างสรรค์ผลงานของนักเขียนคนนั้นไปเลยก็ได้เช่นกัน

ถึงจะกล่าวว่าการเผยแพร่งานเขียนในอินเทอร์เน็ทจะมีทั้งผลกระทบที่ดี และผลเสียก็ตาม แต่ก็ยังเป็นที่น่ายินดีว่าเด็กไทยในปัจจุบันนั้นหันมารักการเขียนกันมากขึ้น ซึ่งสามารถดูได้จากยอดผลงานวรรณกรรมเรื่องใหม่ๆที่สำนักพิมพ์ต่างๆนำออกมารวมเล่มวางขายในปัจจุบัน ถ้าหากผู้อ่านสังเกตจะเห็นได้ว่าช่วงอายุของคนที่ได้ร่วมเล่มผลงานวรรณกรรมนั้นมีอายุลดลงเรื่อยๆ จนปัจจุบันแม้แต่เด็ก ม.3 ก็ยังสามารถสร้างสรรค์งานเขียนรวมเล่มออกมาได้อย่างสนุกจนน่าทึ่ง

นับว่าอย่างน้อยที่สุดโลกของอินเทอร์เน็ทที่ผู้ใหญ่พากันมองว่าเป็นโลกของความยุ่งเหยิง และมีแต่สื่อที่บุตรหลานไม่น่ารับชม ก็ยังมีเว็บไซต์สำหรับวรรณกรรมที่ช่วยเป็นสื่อกลางในการสร้างเสริมจินตนาการ และช่วยปลูกฝังการรักการเขียนให้เด็กไทยในปัจจุบัน มากขึ้น ซึ่งนับเป็นผลดีที่ช่วยให้เด็กไทยได้พัฒนาตนเองในการเขียนไปได้ในระดับหนึ่ง นอกเหนือจากการเรียนการสอนตามปกติในโรงเรียนไม่น้อยทีเดียว...

วรรณกรรมออนไลน์ มีกี่ประเภท

แหล่งข้อมูลที่ใช้ศึกษาวรรณกรรมบนสื่ออิเล็กทรอนิกส์พบว่า สามารถแบ่งได้เป็น 4 ประเภท ได้แก่ 1) ประเภทเว็บไซต์ 2) ประเภทแอปพลิเคชันนวนิยาย 3) ประเภทละครชุด (Series) 4) ประเภทสื่อ สังคมออนไลน์ ประเภทที่พบมากที่สุดคือประเภทเว็บไซต์ เนื่องจากเป็นแหล่งที่รวบรวมนวนิยายไว้เป็น จำนวนมาก รวมทั้งมีกระทู้ไว้สำหรับแลกเปลี่ยนความ ...

วรรณกรรมออนไลน์มีลักษณะอย่างไร

วรรณกรรมออนไลน์นับเป็นวรรณกรรมรูปแบบใหม่ที่ปรากฏขึ้นในสังคมไทย โดยใช้พื้นที่ใหม่คืออินเทอร์เน็ตในการสร้างและเผยแพร่ผลงาน พื้นที่อินเทอร์เน็ตนี้เปิดทั้งโอกาสและเป็นเวทีให้นักเขียนหน้าใหม่เสนอผลงานของตนได้อย่างอิสระทั้งในด้านรูปแบบและเนื้อหา จากการศึกษาพบว่าแม้ในปัจจุบันงานวรรณกรรมออนไลน์จะพัฒนามานานเกือบสองทศวรรษ จนมีผล ...

วรรณกรรมออนไลน์ในประเทศไทย เกิดขึ้นใน ปี พ.ศ. ใด

จุดตั้งต้นของวรรณกรรมออนไลน์ของไทย วรรณกรรมออนไลน์เรื่องแรกที่สร้างความ ตื่นเต้นในแวดวงวรรณกรรมไทยคือ เอดส์ ไดอารี่ ของ “แก้ว” ซึ่งสำนักพิมพ์ดอกหญ้านำบันทึกชีวิต จริงของผู้เขียนจาก Blog ของเธอไปพิมพ์เป็นเล่ม เมื่อ .. ๒๕๔๔ ในเวลาเพียง ๒ ปีหนังสือเล่มนี้ พิมพ์กว่า ๑๒ ครั้ง และจนปัจจุบัน มีเอดส์ ไดอารี่ เล่มที่๖ แล้ว

วรรณกรรมมีเรื่องอะไรบ้าง

50 เรื่องวรรณกรรม ต้องอ่านก่อนโต วรรณกรรมที่น่าสนใจ ทุกบ้านควรมีให้ลูกอ่าน.
โต๊ะโตะจัง.
เจ้าชายน้อย.
บ้านเล็กในป่าใหญ่.
ต้นส้มแสนรัก.
ชาร์ล็อตต์ แมงมุมเพื่อนรัก.
จินตนาการไม่รู้จบ.
ติสตู นักปลูกต้นไม้.