ตำแหน่งสูงสุดในบริษัทคือตำแหน่งอะไร

**โพสนี้เขียนโดย ผศ. ดร. พราว อรุณรังสีเวช หากพบการละเมิดลิขสิทธิ์ จะทำการแจ้งความและดำเนินคดีให้ถึงที่สุด

Preface

มีคำถามว่า ระหว่างตำแหน่งหน้าที่บางอย่าง ตำแหน่งไหนสูงกว่ากัน เช่น The chief executive officer (CEO) & the president และระหว่างตำแหน่ง The Director & the Vice president (VP) โพสนี้อาจาราย์พราวจะอธิบายเกี่ยวกับตำแหน่งหน้าที่การงานตามลำดับขั้น ที่องค์กรทั่วไปนิยมใช้กัน

There is a question that which functional position is higher such as the chief executive officer (CEO) & the president; and the director & the vice president (VP). Lect. Proud will describe about these functional positions according to normal hierarchical organization.

ตำแหน่งหน้าที่ในองค์กร
The Positions in an Organization

อาจารย์พราวอาศัยผังการจัดองค์กรทั่วไปที่หลายบริษัทวางผังกัน โดยมีลำดับ 9 ขั้นตอนได้แก่
Lect. Proud refers to general organization that many companies normally use it.

(1) Board of Directors; (2) Committees (3) The chief executive officer (CEO); (4) The President; (5) Managing Director; (6) Executive Vice President; (7) Senior Vice President or Vice President; (8) Manager; และ (9) Staff level

วันนี้ มีการรายงานว่าท็อป จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา ซีอีโอ Bitkub ถูกแต่งตั้งให้เป็นกรรมการ กรรมการอิสระ และกรรมการยุทธศาสตร์ของบริษัท สยามราชธานี จำกัด (มหาชน) หรือ SO

โดยภายหลังจากการประกาศ หุ้นของบริษัท SO ได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นถึง +14% ทันที

หลายคนอาจยังสงสัยอยู่ว่า กรรมการบริษัทคืออะไร
แล้วมันแตกต่างจาก ประธานบริษัท หรือ CEO อย่างไร
ลงทุนแมนจะเล่า หน้าที่และความรับผิดชอบแต่ละตำแหน่ง แบบเข้าใจง่าย ๆ ให้ฟัง
ถ้าพร้อมแล้วเริ่มกันเลย
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 2 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
เรามาเริ่มกันจากการทำความเข้าใจตัวละคร
ที่เกี่ยวข้องกับ “การเป็นเจ้าของ” และ “การบริหารบริษัท” กัน

ยกตัวอย่างถ้าเราเปิดบริษัท ที่เป็นร้านขายกล่องสุ่ม ด้วยตัวเราคนเดียว
เราก็คงจะเป็นทั้ง ผู้ถือหุ้น, กรรมการบริษัท, ผู้บริหารบริษัท หรือนั่งทุกตำแหน่งในคนเดียว

แต่จริง ๆ แล้ว ในบริษัทที่มีขนาดใหญ่จะแบ่งบทบาทกันชัดเจน
โดยมี 3 ฝ่ายหลักที่เกี่ยวกับการเป็นเจ้าของ และการบริหาร นั่นก็คือ

1. ผู้ถือหุ้น
2. กรรมการบริษัท
3. ผู้บริหาร

1. ผู้ถือหุ้น
มาเริ่มจาก ผู้ถือหุ้น ความหมายตรงตัวก็คือ ผู้ที่มีความเป็นเจ้าของบริษัท โดยจะมีส่วนแบ่งกำไรหรือขาดทุนตามสัดส่วนการถือหุ้นนั้น เช่น ถ้าเราถือหุ้นอยู่ 70% ถ้าบริษัทกำไร 1 ล้านบาท เราก็จะมีสัดส่วนในกำไรนั้น 7 แสนบาท เมื่อบริษัทจ่ายเงินปันผลออกมา ผู้ถือหุ้นก็จะได้รับตามสัดส่วนหุ้นที่ถืออยู่

2. กรรมการบริษัท
ต่อมาคือ กรรมการบริษัท ซึ่งเราน่าจะเคยได้ยินคำว่า “คณะกรรมการบริษัท” เพราะปกติแล้วในหนึ่งบริษัทจะมีกรรมการหลายคนเป็นหมู่คณะนั่นเอง

คณะกรรมการของบริษัท เปรียบเสมือนเป็น “ตัวแทนของผู้ถือหุ้น” ที่ผู้ถือหุ้นโหวตกันในที่ประชุมว่าจะเป็นบุคคลที่มาควบคุมบริษัทเพื่อทำผลตอบแทนแก่ผู้ถือหุ้นให้ได้มากที่สุด

ซึ่งก็หมายความว่า ผู้ถือหุ้นที่สามารถกุมอำนาจโหวตในมือได้ เช่น เกิน 50% ขึ้นไป ก็จะมีสิทธิ์แต่งตั้งกรรมการบริษัทที่เป็นคนของตัวเองเข้าไปควบคุมบริษัท เพื่อทำในสิ่งที่ต้องการได้ และเรื่องนี้ก็เป็นที่มาว่า ทำไมการถือหุ้น 51% มันสำคัญกว่าการถือหุ้น 49% มาก

โดยปกติแล้ว กรรมการบริษัทจะมีบทบาทในการกำหนดทิศทาง กลยุทธ์ โครงสร้างองค์กร และติดตามการดำเนินงานของฝ่ายจัดการ เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อผู้ถือหุ้นมากที่สุด

ซึ่งจะมีกรรมการบริษัทอีกประเภทหนึ่ง ก็คือ กรรมการอิสระ โดยจะเป็นกรรมการที่ถือหุ้นในบริษัทน้อยกว่า 1% และเป็นอิสระจากผู้ถือหุ้นที่มีอำนาจควบคุม เพื่อการถ่วงดุลอำนาจภายในคณะกรรมการบริษัท โดยตามเกณฑ์ของ ก.ล.ต. ต้องมีกรรมการอิสระอย่างน้อย 1 ใน 3 และไม่น้อยกว่า 3 คน

และล่าสุด ท็อป จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา ได้รับการแต่งตั้งก็จะทำหน้าที่เป็นกรรมการอิสระ ซึ่งหมายความว่าคุณท็อป ไม่ได้ถือหุ้นบริษัทนี้เกิน 1% นั่นเอง

แต่เราก็จะเห็นว่าหลายครั้งผู้ถือหุ้นบริษัท จะแต่งตั้งตัวเองเข้าไปเป็นกรรมการบริษัทเพื่อกำหนดทิศทางบริษัทโดยตรงได้เช่นกัน

แต่ก็มีบางกรณีที่ผู้ถือหุ้นบริษัท จะไม่ได้เข้ามาเป็นกรรมการบริษัทเอง เพราะผู้ถือหุ้นนั้นมีอายุมากแล้ว หรือถือหุ้นหลายบริษัทจนเรียกว่ายุ่งเกินกว่าจะเข้ามาเป็นกรรมการบริษัทเอง

3. ผู้บริหาร
ผู้บริหารก็คือ ผู้ที่มีอำนาจในการบริหารบริษัทและควบคุมพนักงานในบริษัทโดยตรง

ซึ่งก็มีตั้งแต่ CEO ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ที่เป็นผู้บริหารสูงสุดขององค์กร
นอกจากนั้นหลายบริษัท ก็ยังมีตำแหน่ง “C” ที่แตกแขนงออกไปอีก เช่น
CFO หรือประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน
CTO หรือประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยี
หรือ COO หรือประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ
ซึ่งในระดับผู้บริหารสูงสุดในด้านต่าง ๆ จะเรียกกันว่า C-LEVEL

โดยผู้บริหารที่ยกตัวอย่างมาทั้งหมดนี้ ก็จะมีการรายงานผลการดำเนินงาน รายไตรมาส หรือรายปีต่อ คณะกรรมการบริษัท อีกทีนั่นเอง

ดังนั้นก็ไม่น่าแปลกใจที่บางกรณี ผู้ถือหุ้น หรือกรรมการบริษัท จะไม่เคยพบ หรือพูดคุยกับพนักงานในบริษัทนั้นเลยก็ได้ เพราะคนที่พูดคุยโดยตรงคือผู้บริหารของบริษัท

แต่ก็จะมีหลายครั้งที่ ผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัท จะเป็นทั้งกรรมการบริษัท และเป็นผู้บริหารไปด้วย เพื่อกำหนดทิศทางของบริษัทด้วยตนเอง ซึ่งจะเกิดขึ้นกับบุคคลที่ยังมีอายุไม่มาก และยังมีแรงบริหารด้วยตนเองอยู่ เช่น

มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก เป็น CEO ของ Meta
อีลอน มัสก์ เป็น CEO ของ Tesla

ทั้ง 2 คนนี้เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัท เป็นกรรมการของบริษัท และเป็นผู้บริหารของบริษัทด้วย

แต่ถ้าอายุมากแล้วอย่าง บิลล์ เกตส์ ที่เคยเป็น CEO แต่ปัจจุบันลดตำแหน่งเป็นเพียงที่ปรึกษา
ซึ่ง CEO คนปัจจุบันของบริษัทก็คือ สัตยา นาเดลลา

Alphabet เจ้าของ Google ก่อตั้งโดยแลร์รี เพจ และเซอร์เกย์ บริน ก็ถอยไปนั่งเป็นกรรมการบริษัท และได้แต่งตั้งให้ ซุนดาร์ พิชัย เป็น CEO

นอกจากนั้นเมื่อมีการซื้อกิจการเกิดขึ้น
เราก็จะเห็นการที่ผู้ซื้อ จะแต่งตั้งตัวเองเข้าไปเป็นกรรมการบริษัทเพื่อกำหนดทิศทางบริษัทได้

สำหรับตัวอย่างในประเทศไทย ก็เช่น บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน)
หรือ GULF ที่ได้เข้าซื้อ INTUCH 31.4% กลายมาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่

ก็จะมีการนำคนจากทาง GULF หลายคนเข้าไปนั่งเป็นกรรมการในบริษัท INTUCH
เช่น คุณสารัชถ์ รัตนาวะดี ผู้ก่อตั้ง GULF เองก็ได้เข้าไปเป็นรองประธานกรรมการใน INTUCH

และแน่นอน ถ้าดีลที่ SCB ซื้อหุ้น 51% ในบริษัท บิทคับ ออนไลน์ สำเร็จ สิ่งที่จะเกิดขึ้นเป็นเหตุการณ์แรกก็คือ SCB จะส่งคนจากทาง SCB ไปนั่งเป็นกรรมการเพื่อควบคุมบริษัท..

ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ
มีมที่ในโลกโซเชียลชอบเล่นกันว่า รปภ. เป็น “ประธานบริษัท” ที่ปลอมตัวมา รู้หรือไม่ว่า จริง ๆ แล้วตำแหน่งนี้อาจไม่ได้เป็นผู้มีอำนาจมากที่สุดในบริษัท..

ตำแหน่งประธานบริษัท ชื่อเต็มก็คือ ประธานกรรมการบริษัท ซึ่งถูกแต่งตั้งมาจากการโหวตของผู้ถือหุ้นอีกที ให้เป็นหัวหน้าคณะกรรมการบริษัท ซึ่งจะเป็นตัวผู้ถือหุ้นใหญ่เอง หรืออาจจะไม่ใช่ก็ได้